Previous
Next
Downtown
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก Downtown
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก
Results 1 to 5 of 5

Thread: การได้รับกระบวนการ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" จุดเปลี่ยนสำคัญ ของเส้นทางการสร้างงาน สร้างองค์กรธุรกิจ (ตอนที่ 2)

  1. #1
    Join Date
    Jun 2010
    Posts
    336
    Warning Points:
    0/5

    << กลับไปอ่าน การได้รับกระบวนการ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" จุดเปลี่ยนสำคัญ ของเส้นทางการสร้างงาน สร้างองค์กรธุรกิจ (ตอนที่ 1)

    อ่านต่อ >> การได้รับกระบวนการ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" จุดเปลี่ยนสำคัญ ของเส้นทางการสร้างงาน สร้างองค์กรธุรกิจ (ตอนที่ 3)




    ขอบคุณรูปจาก http://www.toonpool.com/cartoons/Teamwork_23246
    Last edited by bit; 06-18-2012 at 01:45 PM.

  2. #2
    Join Date
    Jun 2010
    Posts
    336
    Warning Points:
    0/5

    ขอบคุณรูปจาก http://chemist2008.ning.com/forum/to...0:Topic:265005

    2. องค์กรธุรกิจ

    ความเข้าใจก่อน เข้าสู่ระบบพี่เลี้ยงธุรกิจ

    ตอนนั้นผมไม่เข้าใจความหมายของคําคํานี้มากนัก หากย้อนนึกไป คงเข้าใจว่า เป็นองค์กร ที่หวังผลกําไรทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น บริษัท ห้างหุ้ส่วน หรือ อะไรทํานองนั้น

    ความเข้าใจหลัง เข้าสู่ระบบพี่เลี้ยงธุรกิจ

    องค์กร เป็นสิ่งมีชีวิต ที่มีเจตนาในการคงอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่ง เจตนานั้น ได้รับการสืบทอดมาจาก ตัวผู้ก่อตั้งองค์กร อายุขององค์กรนั้น ขึ้นอยู่กับ เจตนาขององค์กร

    หากเจตนานั้น ไม่ได้แก้ปัญหาใดๆ ให้สังคมที่อยู่ องค์กรนั้น ก็ไม่สามารถดํารงชีวิตอยู่ต่อไปได้

    เมื่อมามอง คําว่า องค์กรธุรกิจ องค์กรธุรกิจ นั้นคือ องค์กรที่มีเจตนาในการทําธุรกิจ องค์กรธุรกิจนั้น จําเป็นต้องอยู่ได้ด้วยผลกําไรจากธุรกิจ แต่ไม่ได้หมายความว่า จะต้องแสวงหาแต่ผลกําไรอย่างเดียว ซึ่งก็ขึ้นกับเจตนาขององค์กร ว่าจะ “พอ” ในแง่ของการแสวงหาผลกําไรเมื่อไร และจะ “ให้” คืนกับสังคมที่ตนอยู่ ในรูปแบบใด ซึ่งเจตนานั้น แรกเริ่มเดิมที ก็มาจาก เจตนาของผู้ก่อตั้งองค์กรเป็นสําคัญ ว่าผู้ก่อตั้งคนนั้น มีภาพที่อยากเห็น เป็นแบบใด

    สิ่งที่ได้เรียนรู้ จากระบบพี่เลี้ยงธุรกิจ

    ผมเชื่อว่า คนทุกคน ที่อยากจะเริ่มต้นธุรกิจนั้น ต้องเคยผ่านการ อ่าน และศึกษา เรื่องราวขององค์กรธุรกิจ ที่ประสบความสําเร็จในอดีตมาบ้าง ไม่มากก็น้อย บางองค์กรนั้น มีอายุผ่านมาเป็น ร้อยปี ผู้ก่อตั้งก็ได้เสียชีวิตไปแล้ว แต่ตัวองค์กร ก็ยังมีชวิตอยู่ต่อ นั่นเพราะอะไร

    ผมเชื่อว่า ผู้เริ่มก่อตั้งธุรกิจใหม่ หลายๆคน รวมทั้งผมด้วย ก็มองแค่ผิวเผินว่า ก็ องค์กรเหล่านั้น มีสินค้าอยู่แล้ว เงินก็มี ลูกค้าก็มี คนทํางานก็มีแล้ว ก็ต้องยังอยู่ได้สิ ก็มันตั้งตัวได้แล้วนี่


    หนึ่งในภาพบรรยากาศในห้องประชุม สมัย คุณ โคโนสึเกะ มัตซูชิตะ ยังบริหารงานอยู่
    ขอบคุณรูปจาก http://images.google.com/hosted/life...46279b0c060e80

    คุณเอกราชก็อธิบายให้ผมเข้าใจว่า หากว่ามีเหตุเพียงเท่านี้ ทําให้องค์กรยังอยู่ได้ แล้วทําไม บริษัท หลายๆบริษัท ที่มาถึงรุ่นที่ 2 (ที่เรียนก็สูงกว่า ใช้ความรู้สมัยใหม่กว่า) บริหารแล้วเจ๊ง หรือต้องขายกิจการ ทั้งๆที่รุ่นแรก สร้างองค์กรไว้ ดูจะเจริญรุ่งเรืองเสียด้วยซ้ำ แล้วทําไมองค์กรอย่าง ฮอนด้า โตโยต้า มัสซูชิตะ จึงเจริญงอกงาม กลายเป็นองค์กร ที่สร้างงาน สร้างคน ได้มากมาย ให้แก่ประเทศญี่ปุ่น

    หากว่า เหตุ ที่ทําให้องค์กรยังมีชีวิตอยู่ หลักจากรุ่นผู้ก่อตั้ง มีแค่เพียงที่ผมกล่าวข้างต้น ทุกๆ องค์กร คง สามารถเจริญงอกงามได้อย่าง มัสซูชิตะ แล้วสิ

    คําถามเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ทาให้ผมเริ่มฉุกคิด ถึงความแตกต่าง ระหว่างองค์กร ที่อยู่ด้วยเจตนาตน และองค์กรที่อยู่ได้เพราะผู้ก่อตั้ง แต่ยังไม่ทันที่ผมจะคิดหาคําตอบออก

    คุณเอกราช ก็สอนต่อว่า ทุกๆองค์กร อยู่ได้ด้วยเจตนาของมัน หากว่า เจตนานั้น ยังแก้ปัญหาให้สังคม หรือสิ่งแวดล้อมที่มันอยู่ได้ องค์กร ก็ยังคงอยู่

    อย่างเช่น มัสซูชิตะ ที่เริ่มต้น ผลิตหม้อหุงข้าวคุณภาพสูง แต่ราคาต่ำ ให้คนญี่ปุ่นช่วงหลังสงครามโลกฯ เพราะเป็นห่วงๆ ทุกๆครอบครัว ว่าจะไม่มีหม้อหุงข้าวดีๆ ใช้

    ซึ่งเจตนา ณ ตอนนั้น ของมัสซูชิตะ เป็นเจตนาที่มุ่งแก้ปัญหาให้สังคมที่ตัวเขาอยู่ และหากเจตนานี้ ได้รับการสืบทอดให้แก่ผู้นําองค์กร จากรุ่น สู่รุ่น เจตนาขององค์กร ก็ยังเป็นเจตนา ที่ม่งแก้ปัญหาให้แก่สังคม

    (หมายถึงว่า มีทิศทาง ในการสร้างอุปกรณ์ไฟฟ้า ในการแก้ปัญหา ของชาวญี่ปุ่น ทุกๆบ้าน ไม่ได้หมายความว่า ยังคงมุ่งมันผลิตหม้อหุงข้าวต่อ เพียงอย่างเดียว)

    อย่างนี้องค์กรจึงจะอยู่ได้ ด้วยเจตนาตน

    ลองนึกภาพต่อ หากองค์กรที่สร้าง ถึงแม้มีเจตนาชัด ไม่ได้มเจตนาเพื่อแก้ปัญหาสังคม สมมุติเช่น

    นายหน้าขายข้าวที่กดราคาชาวนาต่ำ แต่ไปขายต่อแพงๆ เจตนาอย่างนี้ นอกจากจะไม่แก้ปัญหาสังคมแล้ว ยังสร้างปัญหาซ้ำเข้าไปอีก ซึ่งถ้าชาวนาเขาไม่มีทางเลือก เพราะไม่มีช่องทางอื่นปล่อยสินค้า ก็จําเป็นต้องเลือก นาหน้ารายนี้ เลือกเพราะไม่มีตวเลือกอื่น

    หากว่า ต่อมา มีคนเล็งเห็นปัญหานี้ เริ่มสร้างองค์กรค้าข้าว โดยมีเจตนา เป็นไปเพื่อ ต้องการให้ ชาวนาระบายสินค้าของตนจริงๆ ไม่ได้เจตนาเพื่อจะเอากําไรอย่างเดียว โดยการกดขี่ชาวนา

    ผมกล้ายืนยันได้เลยว่าเงื่อนไขการรับซื้อขาว ก็จะต่างกับ องค์กรแรก อย่างลิบลับ

    และแน่นอนว่า ทันทีที่ชาวนาเห็นเงื่อนไข ก็คงตัดสินใจเลือกค้าขายกับองค์กรนี้ทันที องค์กรแรก ก็คงจะเจ๊งไปโดยปริยาย


    ขอบคุณรูปจาก http://sbntown.com/forum/showthread.php?t=72289

    อีกสิ่งหนึ่งที่คุณเอกราชย้ำเสมอ ในขณะที่สอนผม และในหนังสือ “ความลับของคน” ที่คุณเอกราชเป็นคนเขียนนั้น คือ

    เวลาที่เรามอง สรรพสิ่งต่างๆ เราต้องมองให้ครบ ทั้ง “ตัวเรา” และ “สิ่งแวดล้อม”
    การสร้างองค์กรธุรกิจก็เช่นกัน ผู้ที่เริ่มสร้างองค์กรนั้น ก็ต้องมองให้เห็นทั้ง ปัญหาที่จะเกิดขึ้น ใน “ตัวองค์กรเอง" และ “สิ่งแวดล้อมขององค์กร”

    ที่ผมได้สื่อสารไปข้างต้น ถึงเรื่องเจตนาขององค์กร ที่แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นเรื่อง “สิ่งแวดล้อมขององค์กร” ทั้งสิ้น บางองค์กร ถึงแม้จะมีเจตนาที่ดี แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้จริง แต่ไม่ได้ระวัง ป้องกัน ปัญหาที่เกิดขึ้น ภายในตัวองค์กรเอง องค์กร ก็ไม่สามารถอยู่ได้เช่นกัน

    เอาหล่ะ ต่อมา เราจะมาพูดถึงเรื่อง “ตัวขององค์กรเอง” นะครับ

    เมื่อเราใช้ วิธีการมอง “ตัวเรา” และ “สิ่งแวดล้อม” ที่คุณเอกราชถ่ายทอดให้ เข้ามามองที่ “ตัวของ องค์กรเอง” เราก็จะพบว่า “ตัวเรา” ก็คือ ตัวเราเอง และ “สิ่งแวดล้อม” ก็คือ ทีมงานคนอื่นๆ ในองค์กร

    ผมเชื่อว่า ผู้ที่เริ่มสร้างองค์กรเกือบทุกคน ก็คงมอง ออกถึงสองสิ่งนี้ แต่ส่วนใหญ่ (รวมทั้งตัวผมเอง) เลือกจะสนใจแต่ ตัวเราเอง ไม่เคยสนใจ ใส่ใจ ถึง ทีมงานคนอื่นๆ ในองค์กร

    คิดว่า องค์กรนี้ เป็นของเราคนเดียว ทีมงานคนอื่น คือคนที่เราใช้ เงิน “จ้าง” มาทํางาน

    ถ้าหาก ณ ตอนนี้ คุณยังคิดอย่างนี้อยู่ ต้องทบทวนตัวเองแล้วนะครับ อย่างนี้ ไม่มีทางสร้างองค์กรสําเร็จได้เลย (ที่ผมกล้าฟันธง เพราะผมก็เพิ่งรู้ตัว และเปลี่ยนทัศนคติ มาเมื่อไม่นานมานี้)

    การมองตัวเราเอง ให้เห็นชัดอย่างถ่องแท้นั้น เป็นเรื่องยาก เพราะต่างคน ก็ถูกหล่อหลอมมาไม่
    เหมือนกัน ความอยากภายใน ก็ย่อมไม่เหมือนกัน นั่นจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ที่ผมจะสามารถอธิบาย ถึงปัญหาที่มาจาก ภายใน ของตัวผู้นําองค์กร ได้ครอบคลุมทั้งหมดทุกคน

    ในบทความนี้ ผมทําได้แค่เพียง อธิบายความเข้าใจของผม ในสิ่งที่คุณเอกราชได้ถ่ายทอดมาตลอด 1 ปีเศษที่ผ่านมา ซึ่ง หากคุณต้องการแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะกับตัวคุณนั้น

    ผมว่า คุณคงต้องเชิญคุณเอกราชมาเป็นพี่เลี้ยงธุรกิจแล้วหล่ะ หรือไม่ก็ ต้องอ่านหนังสือ

    "อ่านก่อน ที่ชีวิตจะหมดความหมาย ไปมากกว่านี้" "ความลับของคน" และ "ความจริงที่ทําให้รวย ที่คุณเอกราช" เป็นคนเขียน

    ผมมั่นใจ ว่าความรู้ ที่มีในหนังสือเหล่านี้ จะช่วยคุณได้อย่างมากทีเดียว


    ขอบคุณรูปจาก http://sbntown.com/forum/group.php?d...scussionid=822

    ถ้าถามถึงความเข้าใจของผม ตลอด 1 ปีเศษ ที่คุณเอกราชพยายามถ่ายทอด เกี่ยวกับตัวผู้นําองค์กร
    เองนั้น คือ

    การยอมรับ และรับผิดชอบ ต่อความอยากของตน
    ถ้าอ่านถึงตรงนี้ หลายๆคน อาจจะงง ถ่ายทอดมา1 ปี มีแค่นี้เองเหรอ

    การยอมรับ และรับผิดชอบ ต่อความอยากของตน ฟังดูเป็นประโยคง่ายๆ แต่กินความหมายลึกล้ำ (ผมเองใช้เวลาปีเศษมาแล้ว ยังทําความเข้าใจ ความหมายของมันได้ไม่หมดเลยครับ) ผมกล้าพูดเลยว่า ด้วยประโยคแค่นี้ หากเข้าใจมันจริงๆ คุณนําไปใช้ฝึกตนได้ค่อนชีวิตเลยเชียวหล่ะ



    มีต่อ Post ถัดไปนะครับ
    Last edited by bit; 06-18-2012 at 01:47 PM.
    ชวนเพื่อนใส่ลิ้ง เปิดโลก SBNTown ใน sign เพื่อแนะนำเพื่อนๆ ในการใช้เครื่องมือของชุมชนให้มีทักษะเท่ากัน

  3. #3
    Join Date
    Jun 2010
    Posts
    336
    Warning Points:
    0/5
    ผมยกตัวอย่าง ตามความเข้าใจของผมนะครับ สมมุติว่า คุณเป็นผู้บริหารบริษัท อยู่บริษัทหนึ่ง แล้วคุณมีเลขาฯ หน้าห้องอยู่คนหนึ่ง คุณง่วงนอน อยากกินกาแฟ เลยให้เลขาฯหน้าห้องคุณ ไปชงกาแฟมาให้คุณ


    ขอบคุณรูปจาก http://www.inmagine.com/maku038/maku038021-photo

    จากเหตุการณ์นี้ ใครเป็นคนอยากกินกาแฟ คุณอยากใช่ไหม แต่คุณใช้คนอื่นไปชงกาแฟ อย่างนี้คุณ รับผิดชอบความอยากของตนไหม แล้วคุณลองนึกภาพดู ในชีวิตประจําวัน ในแต่ละวัน คุณมีพฤติกรรม ที่มีเหตุลักษณะนี้ กี่ครั้ง แล้วถ้าจะแก้ไข จนเหตุเหล่านี้หายไป คุณคิดว่า คุณจะใช้เวลากี่ปี

    ถึงตอนนี้ บางคนอาจจะเกิดคําถามขึ้นมาว่า แล้วไง ทําไมผมต้องแก้ไขเหตุเหล่านี้ด้วย ผมกล้าพูดเลย
    ว่า ถ้าคุณไม่แก้ไขเหตุลักษณะนี้ให้หมด คุณไม่มีวันสร้างองค์กรที่พึ่งเจตนาตน ได้เลย

    ส่วนเหตุผล ว่าทําไมสร้างองค์กรที่พึ่งเจตนาตน ไม่สําเร็จนั้น คุณลองอ่านบทความนี้ต่อไปจนจบ แล้วคุณจะได้คาตอบเองครับ (แต่ถ้าใครยังเถียงต่อว่า อ้าว ก็ผมไม่ได้อยากสร้างองค์กรสําเร็จนี่ ถ้าคุณคิดอย่างนี้จริงๆ ผมแนะนําให้คุณป็ดบทความนี้แล้วไปทําสิ่งที่คุณคิดว่าควรทําดีกว่าครับ)

    คุณเอกราชมักจะยกตัวอย่าง การสร้างองค์กร ก็เหมือนกับการเดินเรือ ภาพที่อยากเห็น คือ แผ่นดิน ที่เราอยากไป ผู้นําองค์กร ก็เหมือนกัปตันเรือ แล้วเหตุที่ต้องออกเรือ ไปแผ่นดินใหม่ ก็เพราะกัปตันอยากไป กัปตันอยากเห็น

    คนที่เป็นกัปตัน ก็ควรต้องใส่ใจ และรับผิดชอบ เหตุทุกเหตุ ที่ทําให้เรือลํานั้นไปถึงแผ่นดินใหม่ ที่เขาอยากเห็นได้

    คนที่เป็นกัปตันเรือส่วนใหญ่ เข้าใจว่า แค่หาเรือ หาบุคคลากรบนเรือให้ครบ หาแผนที่ แล้วก็ออก เดินทาง แล้วตัวเอง ก็บอกเปาหมาย ให้แผนที่แก่บุคคลากรบนเรือ พอให้แล้ว ก็นั่งกินเหล้าทุกวัน นอนรอ เมื่อไรเรือจะถึงแผ่นดินใหม

    ระบบทุนนิยม มักจะทําให้ผู้เริ่มตั้งองค์กรธุรกิจ เข้าใจผิดๆแบบนี้

    เข้าใจว่า ประเมินหาธุรกิจใหม่ ที่จะทําเงินได้ หาคนมาทํางาน ลงเงิน แล้วก็จบ จริงๆ ผมยืนยันว่ามันไม่ใช่ หากว่า กัปตันเรือ มีทัศนคติแบบนี้ พอออกเรือไปสักพัก บุคคลากรในเรือสักคนที่พัฒนาตนเองขึ้นมา จนพร้อมจะเป็นกัปตัน ก็คงจะยึดตําแหน่งกัปตัน แล้วก็หันหัวเรือไปสู่แผ่นดินที่ตัวเขาเองอยากไป

    หรือไม่ บุคคลากรในเรือ ก็คอยๆ ลาออกไปอยู่เรือลําอื่น แผ่นดินที่กัปตันคนเดิมอยากเห็น ก็จะไม่มีทางไปถึง ถึงตอนนี้ บางคน อาจเข้าใจว่า ต้องระวังบุคคลากรในเรือ ไม่ให้พฒนาขึ้นมาเป็นกัปตัน

    อย่าเข้าใจแบบนั้นเป็นอันขาดนะครับ ผมกําลังจะเขียนอธิบาย เรื่อง ทีมงานภายในองค์กร ในอีก 4‐5 ย่อหน้าถัดไปนี่แหละ ไว้รออ่านกันตรงนั้นนะครับ


    ขอบคุณรูปจาก http://www.acclaimimages.com/_galler...0109-2545.html

    ที่ผมกล้ายืนยันว่า กัปตันเรือ ต้องรับผิดชอบความอยากที่จะไปให้ถึงแผ่นดินใหม่ จนสุดทางนั้น เพราะ

    ผมเอง เคยผ่านเหตุการณ์ เรือแตก บุคคลากรลาออก มาแล้ว และสาเหตุที่เรือแตกนั้น ก็เพราะกัปตัน ซึ่งคือผมเอง มัวแต่นั่งกินเหล้าไงครับ (คําว่านั่งกินเหล้านี้คือ ใช้ให้คนอื่นทํางาน ที่เป็นความอยากของเรา)

    ผมยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมง่ายๆ สมมุติว่า บริษัท A มีกันอยู่ 2 คน คนหนึ่งเป็นผู้นํา อีกคนเป็นคนที่มาทํางานด้วย แล้วมีงานเข้ามา 2 งาน ผู้นํารู้อยู่แล้ว ว่างาน อันไหนหนักว่า อันไหนเบากว่า

    แต่ก็เลือก ให้คนที่มาทํางานด้วย ทํางานที่หนักกว่า ตัวเองเลือกทํางานเบา คนที่มาทํางานด้วย จะรู้หรือไม่รู้ ก็แล้วแต่ ว่างานอันไหนหนัก งานอันไหนเบา แต่ก็ถูกใช้ให้ทํางานหนักไปแล้ว แล้วเหตุการณ์นี้ ก็เกิดขึ้นเรื่อยๆ เป็นประจํา

    เมื่อเทียบกับเหตุการณ์ เลขาฯชงกาแฟ ด้านบน เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ละเอียดขึ้น แต่ก็เกิดจากเหตุเดียวกันคือ ไม่รับผิดชอบ ต่อความอยากตน ซึ่ง ถ้าผู้นําองค์กร มีเหตุแบบนี้อยู่ แต่ไม่เร่งแก้ไข องค์กรก็คงจะพัง ในไม่ช้า

    ลองนึกภาพกันต่อนะครับ สมมุติว่า ผู้นําบริษัท A เป็นคนที่ประเมินโอกาสทางธุรกิจแม่น และองค์กร ก็ช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยซ้ำ แล้วธุรกิจ ก็เกิดการขยายตัว รับบุคคลากรเพิ่ม คนที่เข้ามาทํางานด้วย คนเดิม ก็เลยมีลูกน้อง แต่พอ มีงานเข้ามาให้ทํา ตัวเอง ก็เลือกทํางานสบาย ให้ลูกน้องทํางานหนัก อย่างที่ตัวเองเคยประสบมา ตอนเริ่มตั้งองค์กร

    แสดงว่า ผู้นาองค์กรนี้ ได้สร้างวัฒนธรรม “การเกี่ยงงาน” ให้กับองค์กรไปแล้ว
    แล้วต่อมา หากการแข่งขันระหว่างองค์กร ในธุรกิจ ที่บริษัท A ทําอยู่ สูงขึ้น องค์กรที่มีวัฒนธรรมการเกี่ยงงาน จะไปรอดได้อย่างไรครับ

    ปัญหา เรื่องการ ไม่รับผิดชอบ ต่อสิ่งที่ตนอยาก นั้น ผมจึงกล้าบอกว่า กว่าเราจะฝึกตนจนแก้เหตุนี้ได้ หมดนั้น อาจจะกินเวลากันเป็นค่อนชีวิตทีเดียว (ผมเองก็อยู่ในระหว่างการฝึกเช่นกันครับ)

    ต่อมา เป็นเรื่อง ทีมงานคนอื่นๆ ในองค์กร นะครับ เราคงปฏิเสธไม่ได้ ว่าการสร้างองค์กรนั้น ต้องมีทีมงานคนอื่นๆ มาทํางานด้วยกัน แต่สิ่งที่ ผู้เริ่มตั้งองค์กรส่วนใหญ่ มองเห็นคือ มาทํางานแทนเรา แล้วรับค่าจ้าง

    แค่นั้น แค่การเริ่มสร้างองค์กรธุรกิจ โดยมีทัศนคติแบบนี้ ก็ไม่มทางสร้างองค์กรธุรกิจ ที่อยู่ได้ดวยเจตนาตน ไม่ได้แล้วครับ

    คุณเอกราช ย้ำผมเสมอว่า สิ่งสําคัญที่สุด ที่ต้องคํานึงถึงคือ ทีมงานทุกคน ที่เข้ามาทํางานกับเรา นั้น พวกเขาเป็น คน เหมือนเรา เมื่อเป็นคนเหมือนเรา แสดงว่า เขาเองก็ต้องมีภาพที่เขาอยากเห็น เขาเองก็ต้องมีความอยากของเขา และเขามีเวลาชีวิตจํากัด เท่าๆกับ ที่เรามี

    ดังนั้น สิ่งที่สําคัญที่สุด ที่ผู้นําองค์กร ต้องย้ำกับตัวเองอยู่เสมอคือ ต้อง ให้โอกาสทีมงานทุกคน อย่าง น้้อยให้เท่ากับที่ตวเองได้รับโอกาส ทั้งจากคนอื่น และตัวเอง บางคนที่อ่านถึงตรงนี้แล้ว อาจจะเริ่มงง ว่าการให้โอกาสตัวเอง คืออะไร

    ก่อนจะพิจารณาเรื่อง การให้โอกาสตนเองนั้น สิ่งสําคัญที่คุณเอกราชเน้นย้ำผมเสมอ และผมเองก็อยากให้คุณระลึกอยู่เสมอ คือ ไม่ว่าเราจะทําอะไรก็ตาม ไม่ว่าสิ่งนั้น จะสําเร็จ หรือไม่สําเร็จ การที่เราได้เริ่มลง มือทําอะไรสักอย่าง แสดงว่า มีคนให้โอกาสเราอยู่ ไม่มีทางที่คุณจะได้เริ่มทําสิ่งใด โดยที่ไม่มีใครให้โอกาสคุณ

    เพราะฉะนั้น การที่คุณควรจะต้องคอยมองหาอยู่เสมอ ว่าใครกําลังให้โอกาสคุณ และคุณรับผิดชอบต่อสิ่งที่คุณได้รับ มากน้อยเพียงใด หากไม่อย่างนั้น คุณกําลังสร้างวัฒนธรรม “ทรยศ เนรคุณ” ไว้ในองค์กรคุณ

    กลับมาที่เรื่องให้โอกาสตนเอง ผมยกตัวอย่างก็แล้วกัน ถ้าคุณอยาก เกษียณงาน และมีรายได้ในระดับหนึ่ง โดยไม่ต้องทํางาน แล้วคุณกําลังสร้างองค์กรธุรกิจอยู่ เพื่อให้สิ่งที่คุณอยากนั้น เป็นจริง นั่นแหละ นอกเหนือจากโอกาสที่คุณได้รับจากคนอื่นๆ คุณกําลังให้โอกาสตัวเอง ในการไปสู่ สิ่งที่คุณอยาก

    ผมขอกลับไปใช้ตัวอย่าง ผู้บริหารที่ใช้ เลขาฯ ชงกาแฟให้ตัวเองนะครับ บางคน อาจจะบอกว่า การที่ให้เลขาฯ ไปชงกาแฟนั้น เป็นส่วนหนึ่งของงานที่เขาต้องทําอยู่แล้ว หรือว่า ซ้ำร้าย อาจจะบอกว่า ตอนรับเข้ามาทํางาน ก็ได้เขียน ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ว่าต้องชงกาแฟด้วย

    หากคุณคิดแบบนั้นจริงๆ คุณคงต้องตรวจสอบตัวเองแล้วหล่ะ

    ตอนคุณรับ เลขาฯ คุณเข้ามาทํางาน คุณได้ให้โอกาสเขาหาตัวเอง แล้วบอกคุณหรือไม่ ว่าสิ่งที่เขาอยาก ภาพที่เขาอยากเห็น คืออะไร สมมุติว่า สิ่งที่เขาอยาก คือ อยากเป็ดร้านกาแฟ แล้ว คุณก็ให้เขา ชงกาแฟให้คุณทุกวัน แล้วคุณช่วยคอมเมนต์ รสชาติให้ แล้วพร้อมจะสนับสนุนเขาไปเป็ดร้านกาแฟ เมื่อเขาพร้อม นั่นแสดงว่า คุณกําลังเริ่มให้โอกาสเขาแล้วหล่ะ

    แต่ถ้าไม่ใช่ หรือคุณไม่เคยถามเขาเลย ว่าสุดท้าย ภาพทีอยากเห็น คืออะไร และก็ให้เขาทํางานตามที่คุณอยากให้ทํา คุณก็กําลังไม่รับผิดชอบต่อความอยาก ของคุณอยู่นั่นเอง

    คําถามต่อมา แล้วถ้า ไม่ให้โอกาสทีมงาน เท่ากับที่เราให้โอกาสตัวเอง แล้วมันเกี่ยวอะไรกับองค์กรที่เรา กําลังสร้างหล่ะ



    มีต่อ Post ด้านล่างนะครับ
    Last edited by bit; 06-18-2012 at 01:49 PM.
    ชวนเพื่อนใส่ลิ้ง เปิดโลก SBNTown ใน sign เพื่อแนะนำเพื่อนๆ ในการใช้เครื่องมือของชุมชนให้มีทักษะเท่ากัน

  4. #4
    Join Date
    Jun 2010
    Posts
    336
    Warning Points:
    0/5
    กลับมาดูที่ตัวอย่าง เลขาฯ ชงกาแฟอีกครั้ง หากเราลองนึกภาพดู สมมุติว่า บริษัท ที่คุณเป็นผู้บริหารอยู่ เป็นบริษัทก่อสร้างก็แล้วกัน และ เลขาฯ คนนั้น เกิดมีภาพที่อยากเห็น เป็นร้านกาแฟจริงๆ แต่คุณไม่เคยให้เขาได้มีโอกาสตรวจสอบภาพที่อยากเห็นเลย คุณให้เติบโตในการทํางานไปเรื่อยๆ ธุรกิจคุณขยายตัวไปได้ดี เลขาฯคุณ ก็พัฒนาศักยภาพได้ดี จนคุณให้เขาเติบโตเป็นผู้จัดการ ฝ่ายการตลาด คุณคิดว่าองค์กรของคุณเริ่มลงตัว และดํารงอยู่ได้ด้วยเจตนาตน คุณจึงเกษียณจากการทํางาน


    ขอบคุณรูปจาก http://berm-bbt.blogspot.com/

    คุณก็คงคิดว่า ทุกอย่างลงตัว เตรียมจะพักผ่อน แต่คุณกลับไม่รู้ตัวว่า ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของคุณ มีภาพที่อยากเห็นอยู่ทุกวันๆ เป็นร้านกาแฟ ซึ่งตัวเขาเองก็อาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำ แต่ด้วยเหตุนี้ ทิศทางขององค์กรคุณ เริ่มหันเหไปทางการขายกาแฟมากขึ้น ซึ่งไม่ได้อยู่ในภาพที่คุณอยากเห็นตอนเริ่มต้นองค์กรแน่ๆ

    เมื่อเจตนาขององค์กรเพี้ยนไปจากเดิม การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมขององค์กร ก็ยิ่งเพี้ยน
    สุดท้าย คุณยังไม่เข้าใจ ว่าเหตุเกิดเพราะอะไร แต่ทนดูไม่ได้ คุณก็ต้องกลับมาแก้ไขปัญหาองค์กรต่อ แต่ถ้าเข้ามาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าผ่านไป แต่ไม่รู้ว่า เหตุที่ทําให้เจตนาเพี้ยนนี้ เพราะอะไร สักพัก เจตนาก็คงเพี้ยนไปในแนวทางกาแฟเหมือนเดิมอีก

    แล้วคุณก็ต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาอีก แล้วคุณจะได้เกษียณไหม สรุปว่า องค์กรคุณ รักษาเจตนาตนได้ไหม หากคุณเลือกอีกทาง โดยการให้ เลขาฯ ของคุณ ได้มีโอกาส หาภาพที่ตนเองอยากเห็น และพร้อมที่จะสนับสนุนเขา ให้ไปยังภาพที่เขาอยากเห็น ผมเชื่อแน่ว่า เขาจะเป็นมิตรแท้ของทั้งคุณ และองค์กรของคุณ

    มีสิ่งหนึ่งที่คุณเอกราชทั้งสอนผม และเขียนไว้ในหนังสือ “ความลับของคน” คือ

    การตัดสินใจอะไรก็ตาม จะมีเหตุมาจาก 2 ทิศ ทิศมีหัวคิด ที่เห็นแต่ประโยชน์ตน และทิศมีหัวใจ ที่เป็นไปเพื่อคนอื่นบ้าง ทั้ง 2 ทิศ นั้น เมื่อเดินไปจนสุดทางแล้ว ผลของการตัดสินใจจะออกมาเหมือนกัน
    ผมยอมรับ ว่าผมเป็นคนที่เห็นแก่ตัวมากๆ คนหนึ่ง ดังนั้น การตัดสินใจ และเหตุผลในการตัดสินใจ ในบทความที่ผมเขียนนั้น มาจากทิศมีหัวคิดจนสุดทั้งสิ้น คุณลองย้อนกลับไปอ่านก็ได้ ทั้งหมดทั้งปวงที่ผมเขียนอธิบายมา เพราะกลัวว่าตนเองจะไม่ได้เกษียณทั้งสิ้น จึงต้องนึกภาพเสียหลายๆภาพ คิดอะไรซับซ้อนมากมาย

    ผมยกตัวอย่าง เลขาฯ อยากเป็ดร้านกาแฟด้านบนก็แล้วกันครับ

    หากเราใช้ทิศ “มีหัวคิด” ก็ตองคิดเยอะ อย่างที่ผมเขียน

    หากเราใช้ทิศ “มีหัวใจ” ก็แค่รู้สึกว่า อยากให้เลขาฯ ได้ไปสู่ภาพที่เขาอยากเห็น


    ผมรับรองได้ ว่าการตัดสินใจสุดท้าย ออกมาเหมือนกันทุกประการ คุณลองเลือกเอาแล้วกันครับ ว่าจะตัดสินใจด้วยเหตุไหน

    กลับมาที่เรื่อง การให้โอกาสทีมงานต่อนะครับ ตอนนี้ หลายๆคนที่อ่าน คงเกิดคําถามว่า อย่างนี้ ทุกคนออกเดินทางไปสู่ภาพที่อยากเห็นกันหมด แล้วใครจะทํางานอยู่ต่อหล่ะ

    หากคุณคิดแบบนี้จริงๆ คุณก็ต้องรีบตรวจสอบตัวเองนะครับ เพราะหากไม่ระวัง คุณก็จะหาวิธี “ขัง” คนในองค์กรคุณ ไม่ให้ไปสู่ภาพที่เขาอยากเห็นแล้วปัญหาก็จะเกิด อย่างที่ผมยกตัวอย่างไว้ด้านบน

    ต่อมา คุณลองละคําถามด้านบนไว้ก่อน และนึกภาพไปเรื่อยๆ ว่าแต่ละคนเจอภาพที่ตนอยากเห็น แล้ว

    ก็ไปสู่ภาพนั้นกันเรื่อยๆ แล้วก็มีคนใหม่ ที่วนเข้ามาในองค์กรคุณเรื่อยๆ แล้วเกิดมีคนหนึ่ง แล้วเกิดมีภาพที่อยากเห็น เป็นส่วนหนึ่งของภาพที่คุณอยากเห็น หรือตรงกับที่คุณอยากเห็นพอดี แล้วคุณจะทําอย่างไรหล่ะ ก็ลองใช้วิธีเดียวกับ ที่คุณใช้กับคนอื่น ให้โอกาสเขา ไปสู่ภาพที่อยากเห็น แล้วองค์กร ที่เขาจะต้องสร้าง ก็จะหน้าตาเหมือนองค์กรคุณหน่ะสิ แล้วจะสร้างมาเป็นคู่แข่งกันหรืออย่างไร

    แล้วคําถามก็เกิดขึ้นในใจว่า แล้วทําไมไม่ให้เขาดูแลองค์กรคุณต่อหล่ะ นั่นแหละครับ คําตอบ เขานั่นแหละ จะเป็นผู้บริหารที่ไม่ทําให้เจตนาองค์กรของคุณเพี้ยนไปจากที่คุณวางไว้

    แต่สิ่งสําคัญที่สุด คือ คุณต้องให้โอกาสเขา ได้เป็นเจ้าขององค์กรด้วย เพราะขนาดคน อื่นยังได้เป็นเจ้าขององค์กรกัน มาตรฐานโอกาสที่คุณให้กับทุกๆคน ควรจะเท่ากัน จริงไหม

    พอกลับมาดูเรื่องการเป็นเจ้าขององค์กร แล้วคุณที่เป็นผู้ก่อตั้งองค์กรหล่ะ จะทําอย่างไร ต้องโอน กรรมสิทธิ์เจ้าของทั้งหมดไปให้เขาเหรอ คําตอบคือ ไม่ใช่ คุณก็แบ่งหุ้นที่คุณมีอยู่ ให้เขาตามสมควร เพื่อให้เขาได้เป็นเจ้าขององค์กรเช่นกัน

    แต่คําว่าตามสมควรนี้ควรเป็นเท่าไร ผมเอง ณ ตอนนี้ ก็ยังไม่สามารถให้คําตอบคุณได้เช่นกัน

    ผมว่า หากคุณเดินมาถึงจุดนี้แล้ว อยากได้กรอบคิดเพื่อตัดสินใจ ผมแนะนําว่า คุณควร
    เชิญคุณเอกราชมาเป็นพี่เลี้ยงธุรกิจ จะดีที่สุดครับ
    Last edited by bit; 06-18-2012 at 01:53 PM.
    ชวนเพื่อนใส่ลิ้ง เปิดโลก SBNTown ใน sign เพื่อแนะนำเพื่อนๆ ในการใช้เครื่องมือของชุมชนให้มีทักษะเท่ากัน

  5. #5
    Join Date
    Jun 2010
    Posts
    336
    Warning Points:
    0/5

    << กลับไปอ่าน การได้รับกระบวนการ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" จุดเปลี่ยนสำคัญ ของเส้นทางการสร้างงาน สร้างองค์กรธุรกิจ (ตอนที่ 1)

    อ่านต่อ >> การได้รับกระบวนการ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" จุดเปลี่ยนสำคัญ ของเส้นทางการสร้างงาน สร้างองค์กรธุรกิจ (ตอนที่ 3)

    Last edited by bit; 06-18-2012 at 01:54 PM.
    ชวนเพื่อนใส่ลิ้ง เปิดโลก SBNTown ใน sign เพื่อแนะนำเพื่อนๆ ในการใช้เครื่องมือของชุมชนให้มีทักษะเท่ากัน

Comments from Facebook

Posting Permissions

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •