Previous
Next
Downtown
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก Downtown
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก
Results 1 to 6 of 6

Thread: การได้รับกระบวนการ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" จุดเปลี่ยนสำคัญ ของเส้นทางการสร้างงาน สร้างองค์กรธุรกิจ (ตอนที่ 1)

  1. #1
    Join Date
    Jun 2010
    Posts
    336
    Warning Points:
    0/5
    เมื่อปลายปี 2550 ซึ่งเป็นราวๆ ขึ้นปีที่ 2 นับตั้งแต่ผมได้เริ่มเข้ามาประกอบการ ในศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสร์ ในตอนนั้น ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยคุณไพโรจน์ ภู่ต้อง ผู้จัดการศูนย์ฯ ได้มีนโยบาย ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการใหม่ ที่อยู่ในศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ โดย ให้มีตำแหน่ง ที่เรียกว่า "พี่เลี้ยงธุรกิจ" ไว้คอยช่วยเหลือผู้ประกอบการใหม่ แต่ละรายโดยเฉพาะ

    สำหรับคำว่า "พี่เลี้ยงธุรกิจ" นั้น ผมเองก็เพิ่งมารู้ทีหลัง ว่า ทั้ง คำว่า "พี่เลี้ยงธุรกิจ" และ ภารกิจ สิ่งที่ต้องรับผิดชอบ ของ ผู้ที่เป็น "พี่เลี้ยงธุรกิจ" นั้น เป็นผลมาจาก "การสร้างความรู้" ของ คุณเอกราช จันทร์ดอน ที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยผู้ประกอบการในศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่กำลังประสบปัญหาในการสร้างองค์กรธุรกิจ ในขณะนั้น โดยคุณไพโรจน์ ภู่ต้อง ผู้จัดการศูนย์ฯ นำไปใช้ปฏิบัติต่อ จนกำหนดเป็นนโยบายในการช่วยเหลือผู้ประกอบการในศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ในช่วงเวลานั้น


    ขอบคุณรูปจาก http://www.fuzedmarketing.com/motiva...ot-sufficient/

    ภารกิจ และ สิ่งที่ต้องรับผิดชอบ ของ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" จะแตกต่างกับ "ที่ปรึกษาธุรกิจ" อย่างมาก

    "ที่ปรึกษาธุรกิจ" นั้น จะช่วยเหลือผู้ประกอบการ ในพื้นที่จากความรู้ที่ตนมีออกไป อย่างเช่น ที่ปรึกษาด้านกฏหมาย ก็จะคอยช่วยเหลือ เฉพาะด้านกฏหมาย คอยประเมิน คอยดู ว่าผู้ประกอบการนั้น จะต้องแก้หรือป้องกันปัญหาด้านกฏหมายตรงใดบ้าง

    แต่ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" นั้นแตกต่างออกไป พี่เลี้ยงธุรกิจ เข้าไปทำงานกับผู้ประกอบการอย่างใกล้ชิด เพื่อคอยมองปัญหาที่ผู้ประกอบการยังมองไม่เห็น และช่วยผู้ประกอบการในการ "สร้างความรู้" เพื่อแก้ปัญหา ที่เริ่มมองเห็น ตลอดจนถ่ายทอด ความรู้ และ กระบวนการคิดต่างๆ ที่จำเป็น ที่จะทำให้ ผู้ประกอบการ สามารถเดินไปยังภาพที่ตนเองอยากเห็นได้

    ดังนั้น งาน "พี่เลี้ยงธุรกิจ" นั้น จึงเป็นสิ่งที่ต้องคิดใหม่ "สร้างความรู้" ใหม่ ทุกครั้ง ในการเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงธุรกิจ ของผู้ประกอบการแต่ละราย ที่มี ภาพที่อยากเห็น และปัญหาต่างๆกัน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ การช่วยให้ผู้ประกอบการได้มอง "ภาพที่อยากเห็น" และ "การเดินไปสู่ภาพที่อยากเห็น" ของตนเองให้ชัด เพื่อให้ผู้ประกอบการ ได้เริ่มสร้างงาน สร้างองค์กร อย่างมีทิศทาง ไปยังภาพที่ตนอยากเห็น โดยไม่หลงทาง

    ประจวบกับ ในช่วงเวลานั้น ผมได้เริ่มขอคำปรึกษา ซักถามปัญหาที่เกี่ยวกับการสร้างงาน สร้างองค์กร ของผม กับคุณเอกราช อย่างไม่เป็นทางการอยู่แล้ว และเริ่มพบแล้ว ในตอนนั้น ว่า "กรอบคิด" ใน การสร้างงาน สร้างองค์กร ของคุณเอกราชนั้น นำมาใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการสร้างองค์กรที่ผมเจออยู่ ได้จริง ผมจึงแสดงความจำนงค์ ขอให้ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านทางคุณไพโรจน์ ภู่ต้อง ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจฯ ในสมัยนั้น เชิญคุณเอกราช จันทร์ดอน มาเป็นพี่เลี้ยงธุรกิจ ในส่วนบริษัทของผม ที่อยู่ในโครงการบ่มเพาะธุรกิจ กับทางศูนย์บ่มเพาะธุรกิจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    หลังจากเวลาผ่านไปกว่า 8 เดือนในการ รับบริการ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" จากคุณเอกราช โดย ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายนั้น เรียกได้ว่า เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ในการเดินทาง เส้นทางการประกอบการของตัวผมเอง จากคนที่ไม่รู้จะเริ่มต้นสร้างงาน สร้างองค์กรธุรกิจ ได้อย่างไร มาเริ่มมองเห็น เส้นทางที่ถูกต้อง ที่ตัวผมเอง เลือกที่จะเดินต่อ เพื่อสร้างงาน สร้างองค์กรธุรกิจ ของตัวผมเอง

    ซึ่ง หลังจากนั้นไม่นาน ผมได้เชิญคุณเอกราช จันทร์ดอน เข้ามาเป็นที่ปรึกษา ด้างด้าน กรอบคิด คน และวัฒนธรรมองค์กร ของบริษัท พร้อมทั้งเชิญคุณเอกราช เข้ามาถือหุ้นในบริษัทด้วย และยังทำงานร่วมกันเรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน

    คำว่า "พี่เลี้ยงธุรกิจ" นั้น เป็นคำทั่วไป ที่หลายๆคนคงเคยได้ยินมาก่อน ผมเองก็เช่นกัน แต่คำว่า "พี่เลี้ยงธุรกิจ" ที่เป็นผลของการสร้างความรู้ ของคุณเอกราช จันทร์ดอน นั้น ผมเองก็เพิ่งได้รู้ในภายหลัง หลังจากที่ผมเอง ต้องเริ่มฝึกเพื่อเป็น "พี่เลี้ยงธุรกิจ" เพื่อสอนทีมงานในองค์กร ให้สามารถก้าวเข้าสู่เส้นทางการสร้างงานของเขาเอง ทำให้ได้รู้ว่า ภารกิจ ความรับผิดชอบ ของ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" ที่คุณเอกราช เป็นผู้สร้างความรู้ไว้นั้น ได้กำหนดขึ้นจาก กรอบความรู้ ของ "ทฤษฎีการกำเนิดของ ธุรกิจใหม่ ฉบับ สำหรับอุดมศึกษาไทย" ซึ่ง คุณเอกราช เป็นคนเขียนขึ้น เมื่อปี 2548 สมัยที่คุณเอกราช ยังเป็นที่ปรึกษา ของ ศูนย์การเรียนรู้บ้านแก่นวิชา



    Conceptual Model การกำเนิดของธุรกิจใหม่ จาก "ทฤษฎีการกำเนิดของ ธุรกิจใหม่ ฉบับ สำหรับอุดมศึกษาไทย" เอกราช จันทร์ดอน, 2548

    "ทฤษฎีการกำเนิดของ ธุรกิจใหม่ ฉบับ สำหรับอุดมศึกษาไทย" เป็น ความรู้ ที่เกิดจากการสร้างความรู้ ของคุณเอกราช จันทร์ดอน เพื่อเป็นทฤษฏีแม่บท ในการบ่มเพาะธุรกิจ ให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในช่วงที่รัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้สถาบันการศึกษา สนับสนุนให้เกิดการสร้างงาน สร้างองค์กรธุรกิจ จากนิสิต นักศึกษา หรือ ศิษย์เก่า ซึ่ง เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สามารถปิดงาน "โครงการคลีนิกเทคโนโลยี" ที่ คุณเอกราช เป็นคณะทำงานที่ รับผิดชอบในการวางกรอบ และกำหนดแผนในการทำงาน ในสมัยนั้น

    สำหรับคำว่า "พี่เลี้ยงธุรกิจ" ตามการสร้างความรู้ของคุณเอกราชนั้น เมื่อพิจารณาเทียบกับ "Conceptual Model การกำเนิดของธุรกิจใหม่" ด้านบน ก็คือ คนตัวใหญ่ ที่กำลังจูงมือ คนตัวเล็ก ซึ่งหมายถึงผู้ปรกอบการใหม่ เพื่อให้เติบโตแข็งแรง จนสามารถอยู่รอดต่อได้ ในโลกทุนนิยม

    สำหรับ กรอบความคิด ที่ผมมารู้ทีหลัง และเพิ่งได้เริ่มนำมาใช้ เพื่อเริ่มฝึกเป็นพี่เลี้ยงธุรกิจ ให้กับทีมงานในบริษัทของผมนั้น อ้างอิงจาก "ทฤษฎีการกำเนิดของ ธุรกิจใหม่ ฉบับ เริ่มต้น" ซึ่ง เป็นเวอร์ชั่นที่คุณเอกราช เขียนขึ้นก่อน ที่จะแปลงทฤษฏีนี้ ให้เป็น ฉบับ สำหรับอุดมศึกษาไทย เพื่อให้มหาวิทยาลับเกษตรศาสตร์นำไปใช้ ในช่วงเวลานั้น (แต่คุณเอกราช ยังไม่ได้นำฉบับนี้ มาลงบนอินเตอร์เน็ต)
    เหตุที่คุณเอกราช ต้องเขียน ทฤษฎีการกำเนิดของ ธุรกิจใหม่ ให้แตกต่างกัน 2 ฉบับนั้น ก็เพราะสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ระหว่างผู้ประกอบการ ที่เข้าสู่กระบวนการบ่มเพาะธุรกิจ ของสถาบันอุดมศึกษาไทย กับ ผู้ประกอบการ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ในโลกทุนนิยม

    ซึ่งผมเอง เป็นผู้ประกอบการใหม่ ที่เข้าสู่กระบวนการบ่มเพาะธุรกิจของสถาบันอุดมศึกษาไทย ในขณะที่คุณเอกราช มาเป็นพี่เลี้ยงธุรกิจให้นั้น จึงทำตาม ทฤษฎีการกำเนิดของ ธุรกิจใหม่ ฉบับ สำหรับอุดมศึกษาไทย แต่หลังจากที่ บริษัทของผม ได้ออกจากกระบวนการบ่มเพาะธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเริ่มออกมาสู่โลกทุนนิยมอย่างที่ไม่มีผู้สนับสนุนเป็นมหาวิทยาลัย กระบวนการ พี่เลี้ยงธุรกิจ ที่ผมต้องทำให้เกิดขึ้น ภายในองค์กร ภายในบริษัทของผม จึงต้อง เป็นการสร้างผู้ประกอบการใหม่ ที่เกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติ

    (อ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับ ความแตกต่างของ ทฤษฎีการกำเนิดของ ธุรกิจใหม่ ฉบับ เริ่มต้น และ ทฤษฎีการกำเนิดของ ธุรกิจใหม่ ฉบับ สำหรับอุดมศึกษาไทย >>คลิ๊กที่นี่<<)


    ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    ขอบคุณรูปจาก http://pr.ku.ac.th

    เมื่อปลายปี 2551 หลังจากผ่าน การรับบริการ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" จากคุณเอกราช จันทร์ดอน โดยเป็นบริษัทเดียว ในศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในสมัยนั้น ที่แสดงความจำนงค์ ขอใช้บริการ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" ทันที ที่เริ่มมีนโยบาย คุณไพโรจน์ ภู่ต้อง ในฐานะผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ในสมัยนั้น จึงได้ขอให้ผม เขียนบทความ เกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับ จากกระบวนการ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" โดยคุณเอกราช จันทร์ดอน เพื่อเป็นกรณีศึกษา ของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการดำเนินการบ่มเพาะธุรกิจต่อไป

    "คุณเป็นคนเดียว ในศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ได้รับ การถ่ายทอดความรู้ ในการสร้างงาน จาก คุณเอกราช จันทร์ดอน โดยผ่านกระบวนการ พี่เลี้ยงธุรกิจ ผมขอให้คุณช่วยเขียนบทความเกี่ยวกับ สิ่งที่คุณได้รับ และการเปลี่ยนแปลงของวิธีคิด หลังจากผ่านกระบวนการ เพื่อเป็นกรณีศึกษาของทางศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้วยครับ"
    ดังนั้น ผมจึงเขียนบทความหนึ่ง ในช่วงปลายปี 2551 ที่รวบรวมสิ่งที่ผมได้รับ และวิธีคิดที่เปลี่ยนไป หลังจากผ่านกระบวนการพี่เลี้ยงธุรกิจ ตามคำขอ ของคุณไพโรจน์ ภู่ต้อง ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจฯ ในสมัยนั้น และผมเห็นว่า บทความนี้ น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคน ที่อยากจะเลือกเส้นทางชีวิต ในการประกอบการ สร้างงาน สร้างองค์กรธุรกิจ ของตนเอง ตามเจตนาของ "ชมรมผู้ประกอบการใหม่ ด้าน IT" ที่ผมตัดสินใจตั้งขึ้น ผมจึงขอนำบทความที่เคยเขียนไว้นานแล้ว (ปลายปี 2551) มาลงเป็นความรู้เพิ่มเติม ในชมรมผู้ประกอบการใหม่ ด้าน IT แห่งนี้ ด้วยครับ

    (หากสงสัยว่า ทำไมจึงต้องมี ชมรมผู้ประกอบการใหม่ ด้าน IT >> คลิ๊กที่นี่ <<)

    เนื่องจากบทความค่อนข้างยาว (10 หน้ากระดาษ A4) ผมจึงขอตัดบทความออกเป็น 3 ตอน แบ่งเป็น 3 กระทู้ ดังด้านล่างนี้ครับ

    และเนื่องจาก บทความ ที่นำมาลงนั้น เขียนไว้ตั้งแต่ปี 2551 ซึ่ง ความเข้าใจในตนอง ความเข้าใจในโลก ความเข้าใจในการสร้างงาน สร้างองค์กร ของผมในตอนนั้น ยังไม่เท่ากับตอนนี้นะครับ (บทความเลยอ่านค่อนข้างยาก) แต่ผมเลือกที่จะนำบทความมาลงโดยไม่แก้ไข จะได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของตัวผมเอง จากการเขียนครับ

    ในบทความจะมีการให้ความหมายของคำว่า ที่ปรึกษาธุรกิจ กับ พี่เลี้ยงธุรกิจด้วย ซึ่งอาจไม่ชัดเจนเหมือนทที่เขียนไว้ด้านบน (เพิ่งเขียนตอนนี้) ขอให้ยึดสิ่งที่เขียนไว้ด้านบน เป็นหลักนะครับ

    ขอบคุณมากครับ

    ---------------------------------------------------------------------------------------------


    อ่านต่อ >> การได้รับกระบวนการ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" จุดเปลี่ยนสำคัญ ของเส้นทางการสร้างงาน สร้างองค์กรธุรกิจ (ตอนที่ 2)

    อ่านต่อ >> การได้รับกระบวนการ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" จุดเปลี่ยนสำคัญ ของเส้นทางการสร้างงาน สร้างองค์กรธุรกิจ (ตอนที่ 3)



    Last edited by bit; 06-18-2012 at 01:37 PM.

  2. #2
    Join Date
    Jun 2010
    Posts
    336
    Warning Points:
    0/5
    สิ่งที่ธุรกิจขนาดเล็ก/ผู้เริ่มธุรกิจใหม่ ได้รับจากระบบพี่เลี้ยงธุรกิจ
    27/12/2008

    ระบบพี่เลี้ยงธุรกิจ คืออะไร?

    ระบบพี่เลี้ยงธุรกิจ คือ ระบบที่มีผู้ที่ มีประสบการณ์ ในการสร้างองค์กรธุรกิจ มาคอยเฝ้าสังเกต และให้ความรู้ ให้ วิธีคิด ตลอดจนฝึกจิตใจ ผู้ท่เริ่มต้นทําธุรกิจใหม่ ให้สามารถถ่ายทอดสิ่งที่มีอยู่ในตนไปสร้างเป็นองค์กรธุรกิจได้

    ความแตกต่างระหว่าง พี่เลี้ยงธุรกิจ กับ ที่ปรึกษาธุรกิจ?

    ที่ปรึกษาธุรกิจ จะมอง ตัวธุรกิจเป็นหลัก จะมองถึงความเป็นไปได้ ในการดําเนินธุรกิจ มองถึง กําไร‐ขาดทุน มองถึงการเติบโตของธุรกิจ ในแง่ของรายได้และการจ้างงาน เป็นรายปี หรือ ไตรมาส
    พี่เลี้ยงธุรกิจ จะมอง ตัวผู้เริ่มธุรกิจใหม่เป็นหลัก จะมองที่ตัวผู้เริ่มธุรกิจใหม่ ว่าขาดอะไร ในการสร้างองค์กรธุรกิจ

    พี่เลี้ยงธุรกิจ จะช่วยให้ผู้เริ่มธุรกิจใหม่ ได้สารวจตนเอง ว่าภาพองค์กรธุรกิจที่อยากสร้างนั้น เป็นอย่างไรกันแน่ จะไดเกษียนณงานเมื่อไร และตัวผู้เริ่มเองนั้น มีเหตุเพียงพอ จะไปถึงภาพนั้นไหม ถ้ามีเหตุพอ ต้องเติมความรู้ วิธีการคิด และฝึกจิตใจ ตรงไหนบ้าง จึงจะสามารถสร้างองค์กรธุรกิจ ตามภาพที่อยากเห็น และได้เกษียณงาน ในที่สุด

    จากประสบการณ์ ที่ผมได้รับจาก ระบบพี่เลี้ยงธุรกิจ และที่ปรึกษาธุรกิจ ซึ่งมี คุณเอกราช จันทร์ดอน เป็นทั้งพี่เลี้ยงธุรกิจและที่ปรึกษาธุรกิจ เป็นเวลา 1 ปีเศษ ที่ผ่านมา สามารถสรุปโลกธุรกิจที่ผมมองเห็นแตกต่างจากเดิม ได้ดังนี้
    Last edited by bit; 06-18-2012 at 01:38 PM.
    ชวนเพื่อนใส่ลิ้ง เปิดโลก SBNTown ใน sign เพื่อแนะนำเพื่อนๆ ในการใช้เครื่องมือของชุมชนให้มีทักษะเท่ากัน

  3. #3
    Join Date
    Jun 2010
    Posts
    336
    Warning Points:
    0/5

    ขอบคุณรูปจาก http://blog.taigacompany.com/blog/su...-your-business

    1.ธุรกิจ

    ความเข้าใจก่อน เข้าสู่ระบบพี่เลี้ยงธุรกิจ

    ความเข้าใจ คําว่า “ธุรกิจ” ของผม ก่อนเข้าระบบพี่เลี้ยงธุรกิจ มีเพียงว่า ธุรกิจ เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลกําไร และผมเชื่อว่า ผู้ประกอบการใหม่ทุกๆ ราย รวมทั้งตัวผมเอง มีความเข้าใจที่เหมือนกัน ว่าเราเพียงแค่ทํากิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลกําไร ที่ไม่ขัดต่อกฏหมาย ไม่ขัดต่อศีลธรรม ก็ถือว่าเดินมาถูกทางในการทําธุรกิจแล่ว

    ความเข้าใจหลัง เข้าสู่ระบบพี่เลี้ยงธุรกิจ

    หลังจากเข้าสู่ระบบพี่เลี้ยงธุรกิจ ความหมายของคําว่าธุรกิจ นั้น ยังเหมือนเดิม แต่เพิ่มเป้าหมายว่า จะ
    ทําธุรกิจอย่างไร จึงจะได้เกษียณ และให้โอกาสเพื่อนร่วมงานได้เกษียณ ดังนั้น การเริ่มประกอบธุรกิจ อย่างมีเป้าหมายในการเกษียณนี้ จึงต้องคิดมากขึ้น รับผิดชอบมากขึ้น และอุตสาหะมากขึ้น ในแต่ละก้าวที่เดิน เพื่อให้ได้ไปถึงเป้าหมาย ที่อยากเห็น


    สิ่งที่ได้เรียนรู้ จากระบบพี่เลี้ยงธุรกิจ

    ผมเชื่อว่า ผู้ที่เลือกมาประกอบธุรกิจ ทุกๆราย รวมทั้งตัวผมเอง อยากที่จะเกษียณจากการทํางาน เร็ว
    กว่าการเข้าไปทํางานในภาครัฐหรือบริษัท แต่คนส่วนใหญ่รวมทั้งตัวผม ไม่ได้นําสิ่งที่ตัวเองอยากนี้ มาเป็น
    เป้าหมาย ในการเริ่มต้นดําเนินธุรกิจ

    ดังนั้น การประกอบธุรกิจ อย่างที่ผมเข้าใจ ก่อนเข้าระบบพี่เลี้ยงนั้น (และเป็นสิ่งที่ผู้เริ่มต้นธุรกิจส่วน
    ใหญ่ เข้าใจ) จึงไม่มีเป้าหมายและทิศทาง ซึ่งสิ่งที่ผมเคยประสบมาแล้ว ก่อนที่จะเข้าระบบพี่เลี้ยง คือ การ
    เปลี่ยนนโยบายรายวัน หรือ การไหลตามประโยชน์ไปเรื่อยๆ ไม่มีเป็าหมายและภาพที่อยากเห็นจริงๆจังๆ เพราะไม่เคยตั้งเป้าหมายถึง ภาพสุดท้ายของการทําธุรกิจ

    สิ่งสําคัญที่สุดที่ คุณเอกราช ย้ําเสมอ คือ การยอมรับความอยากของตนเอง แต่ต้องตรวจสอบเสมอว่าสิ่งที่เราอยากนั้น เบียดเบียนใครหรือไม่ หากไม่เบียดเบียนใคร มันไม่ผิด ที่จะวิ่งตามสิ่งที่เราอยาก (และที่สําคัญ ตองให้โอกาสคนที่ทํางานด้วยกัน ได้ไปถึงสิ่งที่เขาอยากด้วย หากมันไม่เบียดเบียนใคร) ผมคิดว่า สิ่งนี้เป็นกุญแจสําคัญ ในการค้นพบภาพที่อยากเห็น และเป้าหมายในการทําธุรกิจ ของแต่ละคน

    ยกตัวอย่าง เช่น ผมเอง สิ่งที่ผมอยากคือ อยากเกษียณงาน และมีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 400,000
    บาท และต้องให้โอกาสคนที่ทํางานด้วยกัน ได้ไปถึงภาพที่เขาอยากเห็น เพราะฉะนั้น การออกแบบธุรกิจ การดําเนินธุรกิจ จึงต้องตรวจสอบทิศทางเสมอ ว่าจะสามารถตอบความอยากของเรา ได้หรือไม่

    สิ่งที่สําคัญที่สุด เราต้องชัดเจน ว่าความอยากของเราอยู่ที่ระดับใด เราพอที่ตรงไหน ยกตัวอย่างเช่น
    หากผมตั้งว่า ผมอยากมีรายได้ตอเดือนมากกว่า 10,000,000 บาท ผมอาจจะไม่ได้เกษียณเลยตลอดชีวตก็ได้

    ดังนั้น คําว่า “พอ” ที่ในหลวงท่านตรัสบ่อยๆ และคุณเอกราช ก็ย้ําเสมอ ทั้งในขณะที่สอน และใน
    หนังสือ “ความจริงที่ทําให้รวย” จึงมีความสําคัญยิ่ง หากเรารู้ว่า เราพอที่ใด ภาพที่เราอยากเห็น จะชัดเจนมากขึ้น การออกแบบ และดําเนินธุรกิจ ก็จะเริ่มชัดเจน และเราเอง ก็จะเดินทางได้โดยไม่หลงทาง
    ผมเชื่อว่า มาถึงจุดนี้ หากคุณเป็นผู้เริ่มประกอบธุรกิจ คุณคงจะรู้เลาๆ แล้วหล่ะ คําตอบในการดําเนิน
    ธุรกิจของคุณอยู่ที่ไหน ส่วนของผม คําตอบอยู่ในคําว่า “สินทรัพย์"

    "สินทรัพย์" ที่คุณเอกราช ให้คํานิยามไว้ และใช้อธิบายให้ผมฟัง ก็คือ สิ่งที่สร้างรายได้ให้เจ้าของได้ ด้วยตัวมันเอง อย่างเช่น คุณมีเงินนิ่งๆ แล้วสร้างหอพัก ให้คนเช่า โดยที่ไม่ได้กู้เงินมาทํา หอพักนั่นคือ สินทรัพย์์ ของ คุณ

    แต่ถ้าคุณ กู้เงินมาสร้างบ้าน โดยที่ บ้าน ไม่ได้สร้างรายได้อะไรให้คุณเลย อย่างนี้ บ้านไม่ใช่ สินทรัพย์ ของคุณนะครับ

    สินทรัพย์ นั้นมีหลายแบบ แต่ในบทความนี้ ผมจะลงเฉพาะในรายละเอียด ของสินทรัพย์ ที่เป็น
    “องค์กรธุรกิจ” นะครับ
    Last edited by bit; 06-18-2012 at 01:40 PM.

  4. #4
    Join Date
    Jun 2010
    Posts
    336
    Warning Points:
    0/5

    อ่านต่อ >> การได้รับกระบวนการ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" จุดเปลี่ยนสำคัญ ของเส้นทางการสร้างงาน สร้างองค์กรธุรกิจ (ตอนที่ 2)

    อ่านต่อ >> การได้รับกระบวนการ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" จุดเปลี่ยนสำคัญ ของเส้นทางการสร้างงาน สร้างองค์กรธุรกิจ (ตอนที่ 3)

    Last edited by bit; 06-18-2012 at 01:42 PM.
    ชวนเพื่อนใส่ลิ้ง เปิดโลก SBNTown ใน sign เพื่อแนะนำเพื่อนๆ ในการใช้เครื่องมือของชุมชนให้มีทักษะเท่ากัน

  5. #5
    Join Date
    Apr 2010
    Posts
    8,389
    Blog Entries
    9
    Warning Points:
    0/5
    ตามมาอ่านตอนที่ 1 อ่านตอนที่ 1 จบแล้วครับ เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์เป็นโอกาสทางเลือกสำหรับน้องในมหาวิทยาลัย ยินดีกับคุณ bit ที่ได้รับโอกาสนี้ และขอบคุณที่นำมาแบ่งปันให้โอกาสทุกๆ คนได้ เข้าถึงได้ง่ายขึ้นในชุมชนแห่งนี้ครับ

    ขอบคุณสมาชิกทุกคนที่แบ่งปันสร้างสรรค์สาระเก็บไว้ให้ในชุมชนแห่งนี้
    =======================================================
    เปิดโลก SBNTown
    กระทู้ แนะนำความรู้ในการใช้เครื่องมือของชุมชน SBN Town ที่ทำให้พวกเราสามารถใช้งานได้อย่างเท่าเทียมกัน
    จากกระทู้ "ร่วมรณรงค์ใส่ลิ้ง เปิดโลก SBNTown ใน sign เพื่อแนะนำเพื่อนๆ ในการใช้เครื่องมือของชุมชนให้มีทักษะเท่ากัน" โดยคุณiDnOuSe4

    เมื่อใช้เครื่องมือได้อย่างเท่าเทียมแล้ว ดูตัวอย่างและหลักการในการตั้งกระทู้ให้สวยงามน่าสนใจได้ในกระทู้รีวิวของเพื่อนสมาชิก
    กระทู้ มาร่วมสร้างสีสัน สร้างกระทู้ ให้ดูน่าตื่นตาตื่นใจ ทั้ง ภาพ แสง สี เสียง และตัวหนังสือ ได้ในกระทู้เดียว !!! โดยคุณ itasian


    ขอบคุณเพื่อนสมาชิกทุกคนอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเสียสละ สร้างระบบชุมชน SBN แห่งนี้ขึ้นมา
    ทั้งที่อาศัยอยู่ในชุมชน SBN และ SBNTown
    <--คลิ๊กที่นี่เพื่ออ่านคำขอบคุณ

    และ >>คลิ๊กที่นี่เพื่ออ่านเรื่องราวการเกิดขึ้นของชุมชน SBNTown<<

    =======================================================

  6. #6
    Join Date
    Jun 2010
    Posts
    336
    Warning Points:
    0/5
    Quote Originally Posted by Siambrandname Webmaster View Post
    ตามมาอ่านตอนที่ 1 อ่านตอนที่ 1 จบแล้วครับ เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์เป็นโอกาสทางเลือกสำหรับน้องในมหาวิทยาลัย ยินดีกับคุณ bit ที่ได้รับโอกาสนี้ และขอบคุณที่นำมาแบ่งปันให้โอกาสทุกๆ คนได้ เข้าถึงได้ง่ายขึ้นในชุมชนแห่งนี้ครับ

    ขอบคุณสมาชิกทุกคนที่แบ่งปันสร้างสรรค์สาระเก็บไว้ให้ในชุมชนแห่งนี้
    ขอบคุณคุณ WM และทีมงาน sbotown.com เฉกเช่นกันครับ สำหรับ พื้นที่ดีๆ แห่งนี้ ที่ทำให้พวกเราได้อาศัยอยู่ร่วมกันครับ
    ชวนเพื่อนใส่ลิ้ง เปิดโลก SBNTown ใน sign เพื่อแนะนำเพื่อนๆ ในการใช้เครื่องมือของชุมชนให้มีทักษะเท่ากัน

Comments from Facebook

Posting Permissions

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •