บทนำ
ปัจจุบัน อาชีพเกษตรกรในประเทศไทย มีจำนวนกว่า 5.6 ล้านครอบครัว ครอบคลุมประชากรถึง 23 ล้านคน จากประชากร 62.8 ล้านคน มีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 125 ล้านไร่ ที่ใช้เพื่อผลิตพืช และสัตว์เศรษฐกิจ จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจเกษตร ในปี พ.ศ. 2549 มูลค่าทางเศรษฐกิจจากผลผลิตของพืชและสัตว์ 5 ลำดับแรก ได้แก่ ยางพารา ข้าว กุ้งทะเล มันสำปะหลัง ไก่ ที่มีมูลค่ารวมกว่า 430,000 ล้านบาท
ดังนั้น อาชีพเกษตรที่ทำอาชีพเป็นธุรกิจ จึงเป็นอาชีพที่สำคัญอย่างมาก เพราะมีคุณค่าไม่แตกต่างกับการเป็นนักธุรกิจ ซึ่งธุรกิจเกษตรสำคัญเพราะเป็นภาคการผลิตที่แท้จริงของสังคมไทย และ ผลผลิตของภาคการผลิตที่แท้จริงฯ เป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรม… วัสดุ พลังงาน อาหาร ยา
ในช่วง 40-50 ปี ที่ผ่านมา อาชีพเกษตรกร รวมถึงธุรกิจเกษตร ซึ่งเป็น ภาคการผลิตที่แท้จริงของสังคมไทย ได้ลดจำนวนลงถึง 6 เท่า ผลการศึกษาของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม แห่ง มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า “สัดส่วนประชากรที่มีประชากรที่มีอาชีพเกษตรกรต่ออาชีพนอกเกษตรกรรม” มีแนวโน้มลดลงอย่างน่าวิตก จากในปี พ.ศ. 2503 ที่เคยมีสัดส่วนฯร้อยละ 80 ต่อ ร้อยละ 20 แต่ในปี พ.ศ. 2548 กลับลดลงเป็นสัดส่วน ร้อยละ 38 ต่อ ร้อยละ 62 คาดว่า อีก 30 ปี ข้างหน้าอาจจะไม่มีอาชีพนี้อีกต่อไป ดังแสดงในรูปที่ 1 ร้อยละของประชากร จำแนกตามอาชีพ พ.ศ. 2503-2548
รูปที่ 1 ร้อยละของประชากร จำแนกตามอาชีพ พ.ศ. 2503 – 2548
ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ และ การประมวลข้อมูลโดย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม แห่ง มหาวิทยาลัยมหิดล