Previous
Next
Downtown
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก Downtown
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก
Results 1 to 6 of 6

Thread: อีก 1 หน้า ประวัติศาสตร์ไทย ของการเผชิญหน้า กับ น้ำ อย่างรับผิดชอบ เพื่อจัดการน้ำ ให้ทุกชีวิตบนแผ่นดินนี้ สามารถอาศัยอยู่ได้

Threaded View

  1. #1
    itasian's Avatar
    itasian is offline Trusted Member
    Join Date
    Apr 2010
    Location
    Usa
    Posts
    1,466
    Blog Entries
    5
    สถานการณ์น้ำท่วม ปี 54 ปีนี้ ควรเป็นที่จดจำ อีกครั้งในประวัติศาสตร์ ของประเทศไทย
    ทุกชีวิต ที่ได้อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทย ในห้วงเวลานี้ ที่เรียกได้ว่า ทั้งประเทศ ประสบอุทกภัย
    ควรจดจำ เพื่อนำเรื่องราวชีวิตตนนี้ ไปทบทวน และเรียนรู้ จากเหตุการณ์นี้
    และควรเล่า เรื่องราว เหล่านี้ ให้ลูกหลาน ได้เรียนรู้ เพื่อใช้ชีวิตกันอย่างไม่ประมาท กันต่อๆ ไป
    จะได้ไม่เกิดปรากฏการณ์ ดังในกระทู้นี้

    "บางใหญ่ซิตี้ น้ำท่วมทั้งพื้นที่ ครั้งหนึ่งในชีวิต กับ ประสบการณ์ หนีภัย น้ำท่วม"

    จากเหตุการณ์นี้ เป็นสิ่งเตือนใจ ให้กับผู้บริหารประเทศ ได้เป็นอย่างดี
    หาก เขาเหล่านั้น มีความรับผิดชอบ ต่อทุกชีวิตที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทย

    ดังตัวอย่าง ที่ปรากฏให้คนทั้งโลกได้เห็น
    ได้ประจักษ์ ถึงบุคคลผู้ซึ่งมีความรับผิดชอบต่อทุกชีวิต ที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินนี้

    "ในหลวง"


    ขอบคุณภาพจาก 12narika.files.wordpress.com


    ผู้ซึ่ง ใช้ชีวิต ตลอดทั้งชีวิต ทำงาน จัดการน้ำ จนไม่เคยเกิดอุทกภัยหนักขนาดนี้
    สิ่งที่ท่านได้ทำ ได้สอนให้เราเรียนรู้ว่า การจะป้องกันปัญหาน้ำท่วม ไม่ให้เกิดหนักทุกพื้นที่นั้น สามารถทำได้
    และทำได้ด้วย การจัดการน้ำ ดังตัวอย่าง โครงการพระราชดำริ หลายๆ โครงการ ที่เกี่ยวกับการจัดการน้ำ

    โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก จ.ลพบุรี,จ.สระบุรี
    โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาว จ.ลำพูน
    โครงการห้วยองคต จ.กาญจนบุรี
    โครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก
    โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิง จ.เชียงใหม่,จ.ลำพูน
    โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี
    โครงการน้ำดีไล่น้ำเสียตามคลองต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร
    โครงการบำบัดน้ำเสียโดยใช้พืช บึงมักกะสัน จ.กรุงเทพมหานคร
    แนวพระราชดำริ "แก้มลิง"
    "ฝนหลวง"
    โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี เน้นการบำบัดน้ำเสียชุมชน โดยวิธีทางธรรมชาติ
    โครงการผันน้ำเข้าที่ส่วนพระองค์ บริเวณพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ทุ่งมะขามหย่อง จ.พระนครศรีอยุธยา
    โครงการป้องกันน้ำท่วมด้วยการเบี่ยงน้ำ คลองลัดโพธิ์ กรุงเทพมหานคร
    โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยทอน จังหวัดหนองคาย
    ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี


    ในหลวงกับปัญหาน้ำท่วม (King of thailand help Flood)


    ขอบคุณ คลิปนี้จาก คุณ alsthom4410 ครับ


    ในโลกนี้ มีซักกี่คน ที่ใช้ทั้งชีวิต จัดการน้ำ ...
    เห็นอย่างนี้แล้ว สามารถเรียกได้ว่า ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำ ชั้นแนวหน้าของโลก คงไม่ได้กล่าวเกินจริง
    ขนาดประเทศทั้งประเทศ ท่านสามารถสร้างความรู้ของท่าน อย่างรับผิดชอบ เพื่อการจัดการน้ำ ให้ทุกชีวิตทั้งประเทศ
    แล้ว หากนำความรู้ที่ท่านสร้างไว้อย่างรับผิดชอบ ไปใช้ อย่างรับผิดชอบ มีหรือ ที่ทั้งโลกไม่สามารถจัดการน้ำได้

    จนในปีนี้ เกิดปัญหาน้ำท่วม ค่อนประเทศ ทุกชีวิตบนแผ่นดินไทย ไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ
    ต้องหนีภัย อพยพ ออกจากพื้นที่น้ำท่วม ซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ ในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์
    เป็นเพราะไม่ยินดีนำความรู้ที่ในหลวงทรงสร้างไว้อย่างรับผิดชอบแล้ว ไปใช้
    และต่างคิดกันไปเองว่า สามารถจัดการเรื่องนี้ได้ด้วยตนเอง
    ทั้งๆที่ ผ่านมาทั้งชีวิต ไม่รู้ว่า ได้ใช้ชีวิตเพื่อการจัดการน้ำอย่างรับผิดชอบ ได้เท่าท่านหรือไม่
    ดังปรากฏในข้อความที่คณะทำงานในการจัดการน้ำของในหลวง ได้กล่าวไว้

    ไทยรัฐออนไลน์มีโอกาสได้พูดคุยกับ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ป
    ระธานกรรมการมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ
    นอกจากถามวิธีแก้ไขที่จะไม่ทำให้กรุงเทพฯ ปราการด่านสุดท้าย
    ศูนย์กลางเศรษฐกิจประเทศไทยหยุดยั้งไม่ทำให้มันจมน้ำตายแล้ว

    คำถามที่น่าใคร่ครวญ ก็คือพวกเราเดินทางมาถึงวิกฤติน้ำกลืนประเทศตรงนี้ได้อย่างไร...?

    “ผมอดีตอธิบดีกรมอุตุฯ กับ อาจารย์ปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน
    อดีตผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เจอกันทำงานด้วยกัน
    หลายอย่างที่เราแนะนำไปเขาก็ไม่เชื่อ ตอนนี้กำลังจะสาย ดังนั้นรัฐบาลต้องฟังเราบ้าง…!”
    ดร.สมิทธ กล่าวด้วยน้ำเสียงผิดหวัง และย้ำคำถามว่าเราเดินทางมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร

    “ข้อผิดพลาดทั้งหมดมันเริ่มเพราะมันเกี่ยวกับการบริหารน้ำ ซึ่งไม่ใช่กรมชลฯกรมเดียว
    ทุกๆหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบทั้งหมด ผิดตรงที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ประมาณปริมาณน้ำฝนที่จะตก
    ในฤดูฝนนี้ มันจะมีพายุเข้ากี่ลูกแล้วปริมาณน้ำที่จะตกในต้นฤดูมีเท่าไหร่ กลางฤดู ปลายฤดูเท่าไหร่
    แล้วการที่จะเก็บน้ำไว้ในเขื่อนตั้งแต่ต้นฤดูควรจะเก็บน้ำเอาไว้กี่เปอร์เซ็นต์ของความจุของเขื่อน
    ไม่ใช่เก็บทีเดียวเต็มเขื่อนตั้งแต่ต้นฤดู เพราะหากกลางฤดูฝนตกมากกลางฤดูน้ำก็จะล้นเขื่อน
    พอล้นก็จำเป็นที่จะต้องปล่อยน้ำ ที่สำคัญไม่ควรจะปล่อยออกมาพร้อมๆกันหลายเขื่อน
    เพราะปริมาณที่ปล่อยออกมาพร้อมกัน พื้นที่ประเทศไทยไม่สามารถรับปริมาณน้ำที่ไหลออกมาพร้อมกันได้แน่นอน
    ทางแก้ไขก็คือควรจะปล่อยน้ำให้เป็นจังหวะ ให้มันไหลออกไปสู่ทะเลธรรมชาติตั้งแต่ต้นฤดู
    แล้วกลางฤดูก็ทำการป้องน้ำเอาไว้ในเขื่อนใหญ่ ปริมาณฝนที่ตกในกลางฤดูที่มันเพิ่มเติม
    ที่มันทำให้น้ำท่วมเก็บเอาไว้บ้างแล้วก็ไม่ปล่อยน้ำ น้ำก็ไม่ท่วมปลายฤดูนี่ก็เหมือนกัน
    แต่นี่ปลายฤดู ขนาดน้ำท่วมหลักๆ ก็ยังปล่อยมาวันละ 200-300 ล้านลูกบาศก์เมตร แบบนี้อยู่กันไม่ได้”

    ดร.สมิทธบอกว่า เคยแนะนำเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่แรกๆ แต่ไม่มีใครเชื่อ
    ซึ่งหากเชื่อประเทศไทยก็ไม่เสียหายขนาดนี้ ซึ่งตนไม่ได้อวดอ้างก็ไม่ได้ว่ารู้คนเดียว
    แต่ได้ศึกษาค้นคว้ามามีประสบการณ์มา ก็ควรจะเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ต่างคนต่างทำต่างคิดต่างปล่อย
    แล้วก็ปล่อยน้ำจำนวนมหาศาลก็ไม่บอกกันด้วยว่าทำไมต้องปล่อยออมาจากทั้ง 3 เขื่อนใหญ่
    เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ แล้วยังมีเชื่อนเล็กๆแถวนครราชสีมา
    ผมบอกว่าก็ควรจะปิดเขื่อนได้แล้ว น้ำท่วมภาคกลางแทบแย่แล้ว อยุธยา นครสวรรรค์ก็ควรจะปิดน้ำแล้ว
    เขื่อนไม่มีพังหรอก มันมีทางออกโดยอัตโนมัติเวลาน้ำขึ้นไปเต็มๆ มันก็ค่อยไหลออกมา
    แต่นี่ปล่อยลงมาเกินน้ำที่จะไหลออกมาตามธรรมชาติมันก็ท่วม”

    ดร.สมิทธ วิเคราะห์ว่า สาเหตุที่เขาไม่สามารถนำ “ดรีมทีม” จัดการน้ำ
    เข้าไปช่วยวางแผนป้องกันน้ำท่วมได้ ก็เนื่องจากติดที่รัฐบาลไม่ชอบคนที่มาติความคิดของตัวเอง

    “ตอนแรกเขาก็ชวนเหมือนกัน แต่เนื่องจากผมไปติเขากรณีใช้เรือไล่น้ำ
    ก็เพราะไม่อยากให้เขาเอาพระราชดำริในหลวงมาใช้เรื่องการเมือง
    ที่พระองค์ทรงทำได้ผลก็เพราะว่าทำในคลองแคบๆ คลองลัดโพธิ์
    เป็นคลองไม่แคบแล้วมันก็ไม่ลึกทำแล้วน้ำมันจะไหลแรงไหลเร็ว
    แต่พอมาทำตรงแม่น้ำเจ้าพระยามันกว้าง แล้วทำไปมันก็ไปผิวน้ำข้างบนเท่านั้น น้ำข้างล่างลึกๆไป 2-3 เมตร
    มันไม่เคลื่อนตัว เพราะใบจักรมันก็ไปไม่ถึง เปลืองน้ำมัน เปลืองพลังงานเปล่า พอไปติเขาก็อย่าเอามาทำงาน
    เพราะติมาก ผมทำกับอาจารย์ปราโมทย์ ไม้กลัด ก็ไม่โดนเชิญเข้าร่วมในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมประเทศในครั้งนี้”

    ซึ่งหากได้มีโอกาสเข้าไปทำงาน ดร.สมิทธเสนอวิธีแก้ไขน้ำล้อมกรุงเทพฯ ศูนย์กลางของประเทศไทยบ้าง
    นอกจากการนั่งตาปริบๆ คอยน้ำกระชับพื้นที่

    “มีทางเดียวต้องระบายน้ำออกสู่ปลายคลองปลายแม่น้ำบางประกงออกทางคลองสำโรง
    คลองแสนแสบ คลองจระเข้ แล้วก็ออกไปทางคลองด่าน ที่นั่นมีระบบระบายน้ำด้วยการสูบที่มีประสิทธิภาพมาก
    อีกที่หนึ่งก็ระบายน้ำออกไปทางแม่น้ำท่าจีนแล้วก็ระดมเครื่องสูบน้ำไปติดตั้งที่นั่น

    “เครื่องสูบน้ำเป็นระบบเดียวที่สามารถระบายน้ำได้มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่ใช้ใบจักรเรือ”

    ตั้งเครื่องปั๊มขนาดใหญ่ที่ปลายคลองปลายแม่น้ำ มันจะระบายออกเลยแล้วก็สูบออกตลอด 24 ชั่วโมง 2-3 อาทิตย์ก็แห้งแล้ว
    แต่ผมย้ำว่าต้องลงทุนเอาเครื่องสูบน้ำทั้งหมดไปช่วยกัน กรมชลประทานก็มีจุดระบายน้ำอยู่แล้วที่ปากคลองบางปะกง
    ประสิทธิภาพมาก มีทั้งหมดเครื่อง 16-17 เครื่อง ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง น้ำออกวันละหลายร้อยลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
    ทำแบบนี้ทุกคลองทุกแม่น้ำ 3- 4 อาทิตย์น่าจะแห้ง”

    ดร.สมิทธ ย้ำว่า ทุกวันนี้แม้รัฐบาลไม่สนใจ
    แต่ทว่าตนเองกับอ.ปราโมทย์ไม่ได้อยู่นิ่ง ยังเจอกัน ทำงานกัน และมีการเตือนภัยไปยังประชาชนทุกวัน

    “เราทำในฐานะมูลนิธิของเอกชน แต่จะให้ไปสอนรัฐบาลเขาก็น่าจะรับฟังเราบ้าง
    ซึ่งผมเสียดายความเสียหายเป็นแสนๆล้าน นี่ยังไม่รวมค่าที่ต้องซ่อมถนน มันเป็นเงินที่ไม่ควรเสีย
    แล้วใครจะรับผิดชอบแล้วความเสียหายทางเศรษฐกิจของพ่อค้าใครจะไปช่วย
    ผมได้รับสัมภาษณ์จากนสพ.นิวยอร์กไทมส์ กับเอพี เขาเป็นห่วงมากๆ แต่นี่ในศูนย์ป้องกันยังมีทะเลาะกันเลย
    บางคนก็บอกท่วม บางคนก็บอกไม่ท่วม คาดการณ์ผิดๆถูกๆจริงๆ
    ดังนั้นก็อยากจะให้รับฟังหน่วยงานที่เขาให้องค์ความรู้ได้ นี่ถ้าหยุดปล่อยน้ำตั้งแต่กลางฤดูฝน
    ฝนจะตกมาบ้างเขื่อนมันจะเต็มก็ให้มันไหลออกโดยธรรมชาติ ไม่ใช่ปล่อยออกมาเยอะๆพร้อมๆกัน มันก็ท่วมกรุงเทพฯหมด”

    ต่อจากนั้น ถ้าเขื่อนดินแตก 24 ชั่วโมง กรุงเทพฯ ก็ต้องรับชะตากรรม
    ถ้าไม่แตกความเสียหายจะน้อยลง แต่ถ้าแตกน้ำจะกระจายไปทั่วกรุงเทพฯ

    “สิ่งหนึ่งที่ผมอยากพูดถึงก็คือคานกั้นน้ำที่ทำด้วยดิน ผมไม่เห็นด้วย เพราะดินแช่น้ำไปนานๆ
    มันก็เป็นเลน ความแข็งแรงไม่มี น้ำสูง 1 เมตรจะมีน้ำหนัก 1 ตัน สามารถจะดันเขื่อนดินไปอย่างสบายๆ
    กระสอบทรายมาวางก็ไม่มีประโยชน์ ยิ่งทำสูงยิ่งอันตราย ทำสูง 3 เมตร น้ำหนักของน้ำ 3 ตัน
    ฉะนั้นในเขื่อนที่ยิ่งทำยิ่งสูงนึกว่ายิ่งรอดไม่รอด ถ้าจะทำสูงอย่างนั้นสันเขื่อนก็ต้องกว้าง
    และต้องมีแก่นเขื่อนที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กลึกลงไป ถึงทำได้ นี่ไม่มีอะไรเลย”

    สุดท้าย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำยังกล่าวด้วยน้ำเสียงเศร้าว่า
    น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ตนได้เห็นสภาพบ้านเมืองเสียหายเพราะน้ำมากอย่างนี้

    “ผมก็สงสัยว่าทำไมไม่มีใครศึกษาโครงสร้างผังเมือง ณ วันนี้มันเปลี่ยนแปลงไปมาก ไม่เหมือนก่อน
    การที่ปล่อยน้ำมาจากเขื่อนออกมาเยอะๆ น้ำมันต้องท่วมแน่นอน
    แล้วสิ่งที่สำคัญ การสร้างนิคมอุตสาหกรรม สร้างสิ่งปลูกสร้างหลายแห่งมันไปเป็นทางกั้นน้ำ
    ทำให้พอปล่อยทีเดียวมันก็ท่วม แม้ไม่มีฝนมันก็ท่วม ดังนั้นหลังจากนี้ต้องมีการศึกษาผังเมือง
    เอาข้อมูลต่างๆ มาใช้ร่วมกัน หน่วยงานที่ควบคุมน้ำของรัฐบาล ไม่ว่ารัฐบาลนี้หรือรัฐบาลที่แล้วมีอยู่ 20 กว่าหน่วยงาน
    ต่างคนก็ต่างมีอธิบดีของตัวเอง มีรองอธิบดี มีนักวิชาการของตัวเอง ก็ใช้ข้อมูลของตัวเองเป็นหลัก
    ไม่มีการเอาข้อมูลมารวมกันแล้วเอามาวินิจฉัย ผมพูดได้เต็มปากว่าหลายเดือนที่ผ่านมามันไม่มีเอกภาพ
    แล้วที่สำคัญเขาไม่เห็นคุณค่าประสบการณ์ของทั้งผมและอาจารย์ปราโมทย์ ถ้ารัฐบาลรู้จักใช้คนที่มีความรู้จริงๆ จะสามารถช่วยเหลือประเทศชาติได้"

    เปิดใจ ปราโมทย์ ไม้กลัด

    "เชื่อว่าการที่ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัยใหญ่ในครั้งนี้
    หลังน้ำลดรัฐบาลควรจะต้องมีการหามาตรการแก้ปัญหาน้ำแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอย่างเป็นรูปธรรมเสียที
    ไม่ควรปล่อยเอาไว้อีก เพราะในอนาคตหากไม่คิดแก้ไข ปัญหาก็จะกลับมาอีก อาจอีก 3 ปี 5 ปีข้างหน้า
    แต่งบประมาณมากแค่ไหนก็จะช่วยอะไรไม่ได้ หากไม่เข้าใจธรรมชาติการไหลของน้ำก็คงไม่เป็นผล
    ยิ่งหากพยายามสร้างอะไรขวางทางน้ำก็จะยิ่งแย่ ทางแก้ที่ดีที่สุดคือ ต้องไม่ฝืนและต้องให้สอดคล้องกับธรรมชาติ
    และต้องฉลาดในการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งตนมีแผนงานอยู่ แต่ก็ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะฟังหรือไม่"

    นายปราโมทย์ ไม้กลัด ให้สัมภาษณ์กับไทยรัฐออนไลน์

    นำมาจากหน้า Facebook ที่ชื่อว่า "รายงานข่าว เฝ้าติดตาม และสังเกตุ "พื้นที่น้ำท่วม ที่ไม่เคยน้ำท่วม"
    เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 54 ในหลวงได้โปรดให้ นายกรัฐมนตรี เข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์
    หลังจากที่ได้เข้าเฝ้าแล้ว ได้ออกมาเปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวดังนี้

    "นายกฯ" เผย "ในหลวง"ทรงเป็นห่วงประชาชน แนะเร่งระบายลงสู่ทะเล

    ต่อมาเวลา 20.00 น. ที่ ศปภ. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ เปิดเผยภายหลังเข้าเฝ้าฯ
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า พระองค์ท่านทรงรับสั่งว่าในเรื่องของน้ำครั้งนี้มากจริงๆ
    กระทบและทำให้เกิดความเสียหายจำนวนมาก พระองค์ทรงเป็นห่วงพี่น้องประชาชน
    ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นขณะนี้ และพระองค์ทรงให้ความสำคัญในการเร่งระบายน้ำทางด้านตะวันออกของกทม.
    ซึ่งที่เรามีการขุดคลองเพื่อเร่งระบายนั้น ก็คงต้องเร่งรัดดำเนินการเพื่อให้ระบายน้ำได้อย่างเต็มที่
    ส่วนทางด้านทิศตะวันตกของกทม. ก็คงจะไปดูในส่วนของการหาพื้นที่ หรือคลองเพื่อระบายน้ำ
    ซึ่งตนจะไปสำรวจในวันที่ 13 ต.ค.นี้ เพิ่มเติม

    ทั้งนี้ การระบายน้ำที่ดีที่สุด คือ การระบายน้ำลงสู่ทะเล
    ดังนั้น การทำงานของประตูปิด-เปิดระบายน้ำถือเป็นสิ่งสำคัญ
    ซึ่งจะต้องบริหารจัดการให้อยู่ในช่วงที่สัมพันธ์กับการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล


    “พระองค์ท่านทรงเป็นห่วงประชาชนอย่างมาก ดิฉันก็ได้กราบทูลพระองค์ท่าน
    ในเรื่องที่เราได้มีการดำเนินการและสั่งการ ดูแลพี่น้องประชาชน” นายกฯ กล่าว

    ขอบคุณข่าวจาก ThaiInsider
    เมื่อ น้ำเกิน น้ำก็ท่วม วิธีการป้องกันไม่ให้น้ำเกิน ต้องมี การจัดการ การระบายน้ำ
    และการระบายน้ำที่ดีที่สุด คือ การระบายน้ำลงสู่ทะเล

    ทั้งนี้ การระบายน้ำที่ดีที่สุด คือ การระบายน้ำลงสู่ทะเล
    ดังนั้น การทำงานของประตูปิด-เปิดระบายน้ำถือเป็นสิ่งสำคัญ
    ซึ่งจะต้องบริหารจัดการให้อยู่ในช่วงที่สัมพันธ์กับการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล


    ในหลวงท่านทรงรับสั่งกับนายกฯ ด้วยข้อความที่ฟังดูเรียบง่าย แต่เป็นความจริง
    การจัดการ การระบายน้ำ ให้ได้ผลสำเร็จ ต้องทำก่อนที่จะเกิดน้ำท่วม ไม่ใช่ทำหลังจากที่น้ำท่วมแล้ว
    เพราะการจัดการ การระบายน้ำ เป็นการป้องกันปัญหา ไม่ใช่ การตามแก้ปัญหา
    เนื่องจากที่ผ่านมา ผู้มีอำนาจทางการเมืองทั้งหลาย ไม่ได้ทำงานนี้ ในปีนี้จึงเกิดวิกฤติ
    ทำให้ในสถานการณ์ยามนี้ ก็ต้องใช้การระบายน้ำเพื่อระบายน้ำที่เกินอยู่ ออกไปจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด
    แต่นี่ ไม่ใช่การป้องกัน เป็นเพียงการตามแก้ปัญหา

    อีกตัวอย่างในพระราชดำริ เพื่อป้องกันปัญหา

    “ในหลวง” ห่วงปัญหาน้ำท่วม-ดินถล่ม ทรงตั้งมูลนิธิน้ำ แนะปลูกพืชอุ้มดิน

    http://www.manager.co.th/Multimedia/...=5540000097781
    ขอบคุณ ข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์นี้ manager


    สิ่งที่ท่านทำมาตลอด งานสร้างแหล่งกักเก็บน้ำ แหล่งพักน้ำ ทั้งเขื่อน ฝาย แก้มลิง
    ตลอดจนการสร้างคลอง เพื่อให้เป็นเส้นทางไหลของน้ำ
    สิ่งเหล่านี้เป็นสร้างโครงสร้างพื้นฐานในการจัดการน้ำ ให้กับทั้งประเทศ
    ท่านได้ทำไว้เสร็จ สำเร็จ เรียบร้อยก่อนแล้ว แม้กระทั่ง เขื่อนขุนด่านปราการชล
    ดังคลิปนี้

    “ในหลวง” ตรัสชมสร้างเขื่อนขุนด่าน เสร็จเร็วมีประโยชน์จริงๆ เมื่อ 19 ก.ย. 54

    http://www.manager.co.th/Multimedia/...=5540000126698
    ขอบคุณ ข่าวจากและอ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์นี้ manager


    เนื่องจาก โครงสร้างพื้นฐานในการจัดการน้ำ มีพร้อม สำเร็จ แล้ว
    จากนี้ จึงเป็น การจัดการ การระบายน้ำ ต้องควบคุมการระบายน้ำ
    นั่นหมายความว่า ต้องคุมการทำงานของประตูน้ำ ให้ เปิด-ปิด เป็นเวลา
    โดยให้สัมพันธ์กับการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล ด้วย

    หากที่ผ่านมาได้ทำงานนี้ ควบคุมการเปิด-ปิด ประตูน้ำ ทั้งประเทศให้ได้ ถูกต้อง ตามเวลา
    ทำงานนี้ อย่างมีวินัย เมื่อถึงเวลาที่ควรเปิด ก็เปิด เวลาที่ควรปิด ก็ปิด มีวินัย ไม่ผิดพลาด
    น้ำ ก็ได้รับการระบายอย่างดี ได้ผล เมื่อเกิดภาวะน้ำเกิน ในพื้นที่ใด พื้นที่หนึ่ง
    ก็ไม่หนักหนา และสามารถระบายน้ำออกไปรวดเร็ว อย่างดี น้ำก็ไม่ท่วมขัง
    จนกลายเป็นวิกฤติขนาดนี้

    ใครล่ะ คือ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการจัดการน้ำ ที่แท้จริง
    ในสถานการณ์ยามนี้ ใครล่ะ ที่เราควรฟังให้ได้ยิน ใครล่ะ ที่เราควรนำความรู้ของเขามาใช้
    ระหว่าง "ผู้ที่ไม่เคยจัดการน้ำ พื้นที่ทั้งประเทศ" หรือ "ผู้ที่ใช้ืทั้งชีวิตทำงาน จัดการ น้ำ"
    ผู้ที่สร้างโครงสร้างพื้นฐานในการจัดการน้ำ ไว้เรียบร้อยแล้ว จนมาในยุคนี้
    สิ่งที่เราควรทำ ก็เป็นงานที่แสนง่ายไปแล้ว "เปิด-ปิด ประตูน้ำ ให้เป็นเวลา"

    หากเราไม่เคยจัดการน้ำ พื้นที่ทั้งประเทศเลย ซึ่งในหลวงท่าน เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้
    แล้วทำไม จึงไม่นำความรู้ที่ท่านสร้างไว้อย่างรับผิดชอบ ไปใช้ อย่างรับผิดชอบ ...

    จากนี้ต่อไป หากสถานการณ์น้ำท่วม ที่วิกฤติอยู่ในขณะนี้ ผ่านพ้นไปแล้ว
    เราได้แค่เฝ้าดูต่อไปว่า ผู้ที่มีอำนาจทางการเมือง ทั้งหลาย จะพึงระลึก และยอมรับได้ว่า
    ตน ไม่มีความรู้เรื่องการจัดการน้ำ จึงควร ฟัง และ นำ ความรู้ที่ได้รับจากในหลวง
    ไปใช้ อย่างรับผิดชอบ และมีวินัย ในการทำงานที่แสนเรียบง่าย "เปิด-ปิด ประตูน้ำ ให้เป็นเวลา"
    ปัญหาน้ำท่วม ที่หนักในปีนี้ คง ไม่เกิด ในปีหน้า และปีถัดๆไป

    ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

    ขอบคุณครับ

    Last edited by itasian; 11-06-2011 at 09:14 PM.
    Thanks Euphrates, iDnOuSe4, yourfwd, IAm, amm0pat, bit, Siambrandname Webmaster ขอบคุณ ผู้โพสต์ข้อความนี้

Posting Permissions

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •