Previous
Next
Downtown
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก Downtown
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก
Page 1 of 2 1 2 LastLast
Results 1 to 10 of 11

Thread: โครงการฝึกอบรมสืบทอดธุรกิจเกษตรสู่ทายาท เพื่อป้องกันการล่มสลาย ของภาคการผลิตที่แท้จริงของสังคมไทย

  1. #1
    Join Date
    May 2010
    Location
    กรุงเทพ หรือ พังงา
    Posts
    51
    Warning Points:
    0/5

    โครงการฝึกอบรมสืบทอดธุรกิจเกษตรสู่ทายาท เพื่อป้องกันการล่มสลาย ของภาคการผลิตที่แท้จริงของสังคมไทย

    บทนำ

    ปัจจุบัน อาชีพเกษตรกรในประเทศไทย มีจำนวนกว่า 5.6 ล้านครอบครัว ครอบคลุมประชากรถึง 23 ล้านคน จากประชากร 62.8 ล้านคน มีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 125 ล้านไร่ ที่ใช้เพื่อผลิตพืช และสัตว์เศรษฐกิจ จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจเกษตร ในปี พ.ศ. 2549 มูลค่าทางเศรษฐกิจจากผลผลิตของพืชและสัตว์ 5 ลำดับแรก ได้แก่ ยางพารา ข้าว กุ้งทะเล มันสำปะหลัง ไก่ ที่มีมูลค่ารวมกว่า 430,000 ล้านบาท

    ดังนั้น อาชีพเกษตรที่ทำอาชีพเป็นธุรกิจ จึงเป็นอาชีพที่สำคัญอย่างมาก เพราะมีคุณค่าไม่แตกต่างกับการเป็นนักธุรกิจ ซึ่งธุรกิจเกษตรสำคัญเพราะเป็นภาคการผลิตที่แท้จริงของสังคมไทย และ ผลผลิตของภาคการผลิตที่แท้จริงฯ เป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรม… วัสดุ พลังงาน อาหาร ยา

    ในช่วง 40-50 ปี ที่ผ่านมา อาชีพเกษตรกร รวมถึงธุรกิจเกษตร ซึ่งเป็น ภาคการผลิตที่แท้จริงของสังคมไทย ได้ลดจำนวนลงถึง 6 เท่า ผลการศึกษาของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม แห่ง มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า “สัดส่วนประชากรที่มีประชากรที่มีอาชีพเกษตรกรต่ออาชีพนอกเกษตรกรรม” มีแนวโน้มลดลงอย่างน่าวิตก จากในปี พ.ศ. 2503 ที่เคยมีสัดส่วนฯร้อยละ 80 ต่อ ร้อยละ 20 แต่ในปี พ.ศ. 2548 กลับลดลงเป็นสัดส่วน ร้อยละ 38 ต่อ ร้อยละ 62 คาดว่า อีก 30 ปี ข้างหน้าอาจจะไม่มีอาชีพนี้อีกต่อไป ดังแสดงในรูปที่ 1 ร้อยละของประชากร จำแนกตามอาชีพ พ.ศ. 2503-2548

    รูปที่ 1 ร้อยละของประชากร จำแนกตามอาชีพ พ.ศ. 2503 – 2548
    ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ และ การประมวลข้อมูลโดย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม แห่ง มหาวิทยาลัยมหิดล

  2. #2
    Join Date
    May 2010
    Location
    กรุงเทพ หรือ พังงา
    Posts
    51
    Warning Points:
    0/5

    ทัศนคติที่ถูกต้อง และ การถ่ายทอดองค์ความรู้สมัยใหม่ สำหรับทายาทธุรกิจ

    การลดลงอย่างน่าวิตกของอาชีพเกษตรกร และ ธุรกิจเกษตร คือ สัญญาณ อันตรายของสังคมไทย ที่เกิดจากขาดการสืบทอดอาชีพธุรกิจเกษตร ซึ่งเป็นภูมิปัญญาด้านการเกษตรสู่ทายาท เป็นเหตุเริ่มต้นแห่งการล่มสลายของภาคการผลิตของสังคมไทย และ เศรษฐกิจของประเทศ

    บริษัทคนก้าวหน้า รู้ซึ้ง ตระหนัก และ สำนึก ในคุณค่าของการสืบทอดภูมิปัญญาของธุรกิจเกษตรสู่ทายาทธุรกิจ เพื่อป้องกันเหตุแห่งการล่มสลายฯ ด้วยการนำ ทัศนคติที่ถูกต้อง และ การถ่ายทอดองค์ความรู้สมัยใหม่ สำหรับทายาทธุรกิจ ทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกร คือ อะไร ? มีคุณค่าอะไร? มีความสำคัญอย่างไร? มีอนาคตไปสู่ที่ใด? ปัญหาของการสืบทอดธุรกิจเกษตรสู่ทายาท เป็นเหตุเริ่มต้นของการล่มสลายภาคการผลิตของสังคมไทยได้อย่างไร? และจะมีแนวทางหรือ วิธีการในการป้องกันปัญหาการสืบทอดธุรกิจเกษตรสู่ทายาทธุรกิจ ด้วย องค์ความรู้สมัยใหม่ได้อย่างไร ?

  3. #3
    Join Date
    May 2010
    Location
    กรุงเทพ หรือ พังงา
    Posts
    51
    Warning Points:
    0/5

    1.ทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกร 3 ประการ

    1.1 อาชีพ เกษตรกร ไม่ต่างอะไรกับการเป็นนักธุรกิจ
    1.2.ธุรกิจเกษตร มีความสำคัญ เพราะเป็นภาคการผลิตที่แท้จริง ของสังคมไทย
    1.3.ผลผลิตของธุรกิจเกษตรนี่เอง ที่เป็น จุดเริ่มต้น ของ อุตสาหกรรม วัสดุ พลังงาน อาหาร และ ยา

  4. #4
    Join Date
    May 2010
    Location
    กรุงเทพ หรือ พังงา
    Posts
    51
    Warning Points:
    0/5

    1.1 อาชีพ เกษตรกร ไม่ต่างอะไรกับการเป็นนักธุรกิจ

    ในอดีต คุณค่าทางสังคม และคุณค่าที่แท้จริง ของอาชีพเกษตรกรถูกมองในมุมแคบ ๆ สำหรับคุณค่าทางสังคม อาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพที่ถูกมองว่า เป็นงานที่หนัก เหนื่อย แต่ รายได้ไม่ดี ยากจน เป็นหนี้เป็นสิน ไม่ต้องพูดถึงทรัพย์สิน บางคนมองว่า เป็นแค่งานที่อดิเรก ไม่สามารถเป็นรายได้หลักได้ เป็นแค่รายได้เสริม เป็นอาชีพของคนที่ไม่มีงานทำ พอเกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งหนึ่ง เมื่อตกงานก็กลับไปทำอาชีพเกษตรกร
    แต่ในปัจจุบัน เมื่อมองในมุมที่กว้างขึ้นจะเห็นคุณค่าทางสังคมของอาชีพเกษตรกร ชัดเจนขึ้น มีผู้ประสบความสำเร็จจากอาชีพเกษตรกรมากมาย ที่ทำอาชีพเกษตรกรเป็นธุรกิจเกษตร แม้จะยังเป็นงานหนัก แต่รายได้ดี มีฐานะ ไม่เป็นหนี้สิน สร้างและขยายทรัพย์สินได้ ส่งทายาทธุรกิจเกษตรจบการศึกษาสูงๆ บางคนทำธุรกิจเกษตร จนส่งลูกเรียนจบ ปริญญาเอก จากอเมริกา ก็ยังมี..
    ดังนั้น คุณค่าทางสังคมของอาชีพเกษตรกร ที่ทำการเกษตรเป็นธุรกิจเกษตร จึงมีคุณค่าไม่แตกต่างอะไรกับ นักธุรกิจ แต่เป็นนักธุรกิจเกษตร
    ในส่วนของคุณค่าที่แท้จริงของอาชีพเกษตรกร ที่ไม่ได้รับการยอมรับและยกย่องเท่าที่ควร คือ อาชีพเกษตรกร เป็นภูมิปัญญาของสังคมในธุรกิจเกษตร ซึ่งมีคุณค่าที่แท้จริง 4 ประการ
    1. เป็น ภูมิปัญญาที่สะสมมาจากการลองผิดลองถูกด้านการเกษตรมีตลอดชีวิต
    2. คือ ความเข้าใจในธรรมชาติที่มีผลต่อจำนวนผลผลิต อย่างลึกซึ้ง แจ่มแจ้ง
    3. คือ ความเข้าใจด้านธุรกิจเกษตร ในด้านข้อจำกัด การสร้างประโยชน์สูงสุด การลดต้นทุนการผลิต
    4. มีความสามารถใน ทำซ้ำ พัฒนา รวมถึง การขยาย ธุรกิจเกษตรได้ อย่างเหมาะสม
    ด้วยคุณค่าที่แท้จริงของภูมิปัญญาของสังคมในธุรกิจเกษตร จึงมีความสำคัญ เพราะเป็นภาคการผลิตที่แท้จริงของสังคมไทย

  5. #5
    Join Date
    May 2010
    Location
    กรุงเทพ หรือ พังงา
    Posts
    51
    Warning Points:
    0/5

    1.2.ธุรกิจเกษตร มีความสำคัญ เพราะเป็นภาคการผลิตที่แท้จริง ของสังคมไทย

    เมื่อมองให้ลึกลงไป จะเห็นความสำคัญของธุรกิจเกษตรว่า ธุรกิจเกษตรเป็นภาคการผลิตที่แท้จริงของสังคมไทย ภาคการผลิตที่แท้จริง คือ การผลิตที่ใช้ทรัพยากรภายในประเทศ โดย-เฉพาะการใช้ภูมิปัญญาของสังคมในธุรกิจเกษตร จากรุ่นบรรพบุรุษ ที่สืบทอดมาถึงรุ่นพ่อรุ่นแม่ หรือ องค์ความรู้ (Know how) ในสถาบันอุดมศึกษา ใช้วัตถุดิบ ใช้ที่ดิน ใช้แรงงาน เพื่อผลิตผลิตผลทางการเกษตร ความสำคัญของภาคการผลิตที่แท้จริงนั้น คือ การไม่ต้องพึ่งพาต่างชาติ ประโยชน์ทางเศรษฐกิจทั้งหมดอยู่ภายในประเทศไทย รวมถึงการสร้างธุรกิจ หรือ อาชีพ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเกษตร เช่น ธุรกิจปัจจัยการผลิต ธุรกิจการเก็บเกี่ยวผลผลิต ธุรกิจการขนส่ง ธุรกิจลานรับซื้อผลผลิต ด้วยแล้ว ยิ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจต่อสังคมไทยอย่างยิ่ง

    ถ้าเปรียบเทียบกับ ภาคการผลิตในอุตสาหกรรมทั่วไป และภาคธุรกิจการเงิน ที่เป็นตัวอย่างของภาคที่ไม่ใช่การผลิตที่แท้จริง จะเห็นภาพได้ของคุณค่าของภาคการผลิตที่แท้จริง อย่างชัดเจน
    สำหรับภาคการผลิตในอุตสาหกรรมทั่วไปต้องพึ่งพาต่างชาติอย่างมาก ตั้งแต่วัตถุดิบก็ต้องนำเข้า องค์ความรู้ เครื่องมือ อุปกรณ์ ก็ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ใช้เพียงแรงงานราคาถูก และประโยชน์ทางภาษี ที่ประเทศไทยได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพียงแค่ค่าแรงเท่านั้น
    ในส่วนของภาคธุรกิจการเงิน ถ้ามองแค่ราคาน้ำมันในภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน กับ ราคาที่เคยปั่นจากภาคการเงิน ไปเป็นหลักร้อยดอลลาร์ต่อบาร์เรล แล้ว สรุปว่า ธุรกิจการเงินไม่ใช่การผลิตที่แท้จริง ทำให้นึกถึง ประโยคอมตะของ ม.จ. สิทธิพร กฤดากร “บิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่” ที่ว่า “เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง” ขึ้นมาจับใจ

    ในปัจจุบัน ความสำคัญของ “ของจริง” จากภาคการผลิตที่แท้จริง ไม่ได้มีเฉพาะข้าว และปลา เท่านั้น ยังรวมถึง ยางพารา ข้าว กุ้งทะเล มันสำปะหลัง ไก่เนื้อ ที่เป็นพืชและสัตว์เศรษฐกิจ 5 ลำดับแรก จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจเกษตร ใน ปี พ.ศ. 2549 ที่มีมูลค่ารวมกว่า 430,000 ล้านบาท
    และ ประโยชน์จากผลผลิตของธุรกิจเกษตรยังเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรม….

  6. #6
    Join Date
    May 2010
    Location
    กรุงเทพ หรือ พังงา
    Posts
    51
    Warning Points:
    0/5

    1.3.ผลผลิตของธุรกิจเกษตรนี่เอง ที่เป็น จุดเริ่มต้น ของ อุตสาหกรรม วัสดุ พลังงาน อาหาร และ ยา

    ถ้ามองให้ไกล จากภาคการผลิตที่แท้จริง สู่ อุตสาหกรรม จะเห็น อนาคต และจะพบว่า ผลผลิตของธุรกิจเกษตรนี่เอง ที่เป็น จุดเริ่มต้น ของอุตสาหกรรม วัสดุ พลังงาน อาหาร ยา โดยที่อุตสาหกรรมเหล่านี้ ผลิตปัจจัยพื้นฐานสำหรับการอุปโภค และ บริโภค ที่ตอบสนองทั้งในวิถีชีวิตของคนไทย และ ประชาคมโลก

    เริ่มที่ อุตสาหกรรมวัสดุ มี ยางพาราพืชเศรษฐกิจอันดับหนึ่ง ที่เป็น จุดเริ่มต้นของวัสดุ เช่น ยางรถยนต์ และวัสดุอื่นๆ ในอุตสาหกรรมรถยนต์ วัสดุในทางการแพทย์ อื่นๆ รวมถึงมันสำปะหลัง ที่เป็นวัสดุที่นิยมใช้ในหลายอุตสาหกรรม เพราะย่อยสลายได้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    สำหรับ อุตสาหกรรมพลังงาน มี พืชพลังงาน หลายชนิด เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน สบู่ดำ เป็นจุดเริ่มต้น ในอุตสาหกรรมพลังงาน ที่นอกจากจะทดแทนการนำเข้าน้ำมันที่นับวันจะหมดไปแล้ว พืชพลังงานยังสามารถที่ปลูกขึ้นมาใหม่จากแผ่นดินไทยได้อย่างไม่มีวันหมด

    ในส่วน อุตสาหกรรมอาหาร มี ข้าว กุ้งทะเล ไก่เนื้อ เป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งในอุตสาหกรรมนี้ประเทศไทย มีศักยภาพมากพอที่จะเป็นครัวของโลกได้

    สุดท้าย ที่ อุตสาหกรรมยา ที่รวมไปถึง ยา สุขภาพ และ ความงาม ที่มีมูลค่าตลาดสูงมาก สังเกตุจากโฆษณาทางโทรทัศน์ ส่วนใหญ่จะเป็นด้านสุขภาพ ด้านความงาม โดยเฉพาะการชะลอความแก่ ลดริ้วรอยแห่งวัย เชื่อมั่นว่ามีสารสกัดจากธรรมชาติ หลายชนิด เป็นจุดเริ่มต้น และเมื่อดูจากในประเทศไทย มีพื้นฐานการบริการที่ดีเลิศ ในด้านสุขภาพ และ ด้านความงาม อุตสาหกรรมนี้คงเป็นอนาคตที่สดใส สำหรับประเทศไทย

  7. #7
    Join Date
    May 2010
    Location
    กรุงเทพ หรือ พังงา
    Posts
    51
    Warning Points:
    0/5

    2.ปัญหาของการสืบทอด ธุรกิจ เกษตร สู่ทายาท เป็นเหตุเริ่มต้นของการล่มสลายภาคการผลิตของสังคมไทย

    ปัญหาของการสืบทอดธุรกิจเกษตรสู่ทายาทธุรกิจ เกิดขึ้น เมื่อมีการสูญเสียที่สำคัญ คือ การจากไปของนักธุรกิจเกษตร โดยเฉพาะนักธุรกิจเกษตรที่เป็นภูมิปัญญาฯ และ ขาดการสืบทอดจากทายาทธุรกิจเกษตร ที่มีผลต่อทั้งระดับคน และ ระดับประเทศ

    ในระดับคน มีผลต่อ การขายธุรกิจเกษตรทิ้งไป หรือ ถูกยึดกิจการจากธนาคาร เนื่องจากทายาทธุรกิจ ให้เหตุผลว่า ไม่ชอบ ไม่ถนัด ไม่ได้เรียนมา ทำไปก็ไม่คุ้ม ทำงานอยู่ไกลบ้าน ดูแลไม่ทั่วถึง ได้ผลไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ตัวอย่าง 3 กรณี ที่เกิดขึ้นจริงในปัญหาการสืบทอดธุรกิจเกษตร ดังนี้

    1. เมื่อพ่อเสียชีวิตกระทันหัน แต่แม่ไม่มีความรู้เรื่องธุรกิจเกษตร ที่ดินมีเป็นพันไร่ ลูกสาวก็ไม่สืบทอดธุรกิจ เนื่องจากไม่ชอบ ไม่ถนัดงานสวน ชอบค้าขายวัสดุก่อสร้างมากกว่า จึงใช้ที่ดินกู้เงินมาทำธุรกิจอื่น ท้ายที่สุดธุรกิจเกษตรก็โดนธนาคารยึดไป อย่างน่าเสียดาย ….

    2. แม้ว่าพ่อยังมีชีวิตอยู่ พ่อสร้างสวนปาล์มเป็นพันไร่ ส่งลูกชายเรียนจบเมืองนอกเมืองนา พอเรียนจบก็ให้มาดูแลธุรกิจที่บ้าน ปกติลูกชายไม่เคยไปสวน ไม่ชอบสวน มีเรื่องเศร้าเล่าแล้วไม่ตลกว่า วันหนึ่งขณะที่ลูกชาย นั่งรถไปสวนกับคนขับรถ เกิดปวดปัสสาวะ จึงบอกให้คนขับรถจอดไปปลดทุกข์ เขาได้เห็นสวนที่เขาไปปลดทุกข์ว่า เป็นสวนที่สวยมาก เมื่อกลับขึ้นรถ จึงถามคนขับรถว่า ตรงนั้นน่ะสวนใคร คนขับรถอมยิ้มแล้วตอบว่า “สวนแปลงนี้ก็ของพ่อเจ้านายนั่นแหละ” น่าเศร้า ที่ลูกเจ้าของสวนไม่รู้ว่าสวนอยู่ที่ไหนบ้าง …แล้วถ้าพ่อไม่อยู่จะสืบทอดธุรกิจกันอย่างไร …

    3. ในหมู่บ้านหนึ่ง ปลูกยางพารา ส่งเสียให้ลูกเรียนจนจบปริญญาตรี ด้านการจัดการบ้าง วิศวกรรมบ้าง เศรษฐศาสตร์บ้าง ลูก ๆ ไปทำงานในกรุงเทพบ้าง หัวเมืองใหญ่ ๆ บ้าง ปีหนึ่ง 365 วัน กลับบ้านไม่ถึง 20 วัน แม้ว่าวันนี้ พ่อแม่ ยังมีชีวิตอยู่ แต่ถ้าไม่มีพ่อกับแม่แล้ว สวนยางพาราจะเป็นอย่างไร ? พ่อแม่บางคนก็เริ่มทำใจ ว่าทายาทธุรกิจเกษตรคงขายเพราะทำอย่างอื่นดีกว่าทำสวน สืบทอดธุรกิจจาก พ่อแม่ แล้วภูมิปัญญาที่พ่อแม่สะสมมาก็จะหายไปอีก…

    จากระดับคน ถ้าพิจารณาในทุกภูมิภาค และ ประเทศ ก็จะพบปัญหาแบบเดียวกัน ปัญหาการสืบทอดธุรกิจสู่ทายาทธุรกิจเกษตร โดยที่ นักธุรกิจเกษตรที่เป็นภูมิปัญญาฯ มีอยู่ทั่วทุกภูมิภาค ทั่วประเทศ การที่บุคคลที่มีคุณค่าในระดับนี้จากไป โดยที่ไม่มีการสืบทอด ปล่อยให้ภูมิปัญญา สูญหายไปเรื่อยๆ ตามกาลเวลา และ อายุขัย จึงเป็นเหตุเริ่มต้นแห่งการล่มสลายของภาคการผลิตที่แท้จริงของสังคมไทย การล่มสลายของภาคการผลิตของสังคมไทยจะเริ่มสะสมมากขึ้น และในอีก 30 ปี ข้างหน้า การล่มสลายของภาคการผลิตไทยจะรุนแรงมากกว่านี้

  8. #8
    Join Date
    May 2010
    Location
    กรุงเทพ หรือ พังงา
    Posts
    51
    Warning Points:
    0/5

    2.ปัญหาของการสืบทอด ธุรกิจ เกษตร สู่ทายาท เป็นเหตุเริ่มต้นของการล่มสลายภาคการผลิตของสังคมไทย (ต่อ)

    ปัญหาการสืบทอดธุรกิจเกษตรสู่ทายาทธุรกิจทั้งในระดับคน และระดับประเทศ แก้ไขได้ และ ป้องกันได้ ด้วย องค์ความรู้สมัยใหม่ และ ทัศนคติที่ถูกต้อง

    องค์ความรู้สมัยใหม่ คือ การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ เพื่อบริหารจัดการคุณภาพธุรกิจเกษตร ตามวงจรของเดมมิ่ง ประกอบด้วย การวางแผน(Plan) การดำเนินการ(Do) การตรวจสอบ(Check) และ การพัฒนาแผน (Action)

    ทัศนคติที่ถูกต้อง คือ การเห็นคุณค่า ความสำคัญ อนาคต ของอาชีพเกษตรกร ตามที่ได้กล่าวมาในช่วงต้น ในการแก้ไขปัญหาฯ ผู้เขียนในฐานะเป็นทายาทธุรกิจเกษตรคนหนึ่ง ที่มีอาชีพเป็นวิศวกร เป็นผู้จัดการโครงการสร้างผู้ประกอบการใหม่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เขียนมีประสบการณ์จริงในการแก้ปัญหาการสืบทอดธุรกิจเกษตรเมื่อแม่และพ่อเสียชีวิตไป

    ในตอนเริ่มต้น ด้วยความไม่เอาใจใส่ จึงไม่มีทัศคติที่ถูกต้อง และไม่ได้ใช้องค์ความรู้สมัยใหม่ ทำให้ไม่เห็น “สมุดบัญชีเกษตร” ของแม่ ที่ท่านบันทึกธุรกิจเกษตรในช่วงปี 43-ปี 49 จึงทำให้ลองผิดลองถูก ถึง 2 ปี ไม่รู้ว่าสวนแต่ละสวนมีกี่ต้น มีกี่รุ่น ไม่รู้ว่าเวลาไหนต้องทำอะไร ไม่รู้ว่าต้องทำอะไรกี่อย่าง ทำผิดลำดับขั้นตอน เสียประโยชน์ไปเยอะ รู้สึกว่าดูแลไม่ทั่วถึง ได้ผลไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย

    แต่พอเริ่มมีทัศคติที่ถูกต้อง และ ใช้องค์ความรู้สมัยใหม่ ทำให้ผู้เขียนเห็น “สมุดบัญชีเกษตร” เมื่อศึกษาอย่างตั้งใจ กลับพบข้อมูลที่ท่านบันทึกในธุรกิจ 2 ประเภท คือ ยางพารา 2 แปลง และ ปาล์มน้ำมัน 2 แปลง ที่ตอบคำถามได้หมดว่าแต่ละสวนมีกี่ต้น กี่รุ่น และตอบหัวใจสำคัญว่าในทุกช่วงเวลา ต้องทำกิจกรรมใด โดยระบุคนที่ทำงานด้วย ลักษณะงาน ปริมาณงาน ค่าใช้จ่าย และ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ ไว้พร้อมสรรพ เป็นลำดับขั้นตอน มีบัญชีรายรับ ที่ทำให้รู้ว่าต้องดูแลอย่างไรจึงจะทั่วถึง ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย
    เมื่อใช้องค์ความรู้สมัยใหม่ ทำให้เชื่อมโยงข้อมูลที่ท่านบันทึกไว้ นำมาเป็นข้อมูล ในการวางโครงสร้างของธุรกิจ มีวางแผนงานประจำปี วางแนวทางตรวจสอบ ควบคุม ได้ภายใน 1 เดือน เท่านั้น

    ความรู้สึกจากการแก้ปัญหาการสืบทอดธุรกิจหลังจากแม่และพ่อเสียชีวิตไปแล้วนั้นลำบาก และ ยากมาก จึงมีแรงบันดาลใจว่าถ้าป้องกันปัญหาการสืบทอดธุรกิจสู่ทายาทธุรกิจเกษตรได้ นอกจากจะช่วยทายาทธุรกิจเกษตรแล้ว ยังช่วยสังคมในการสืบทอดภูมิปัญญาด้านการเกษตร ที่จะป้องกันการล่มสลายของภาคการผลิตที่แท้จริงของสังคมไทยอีกด้วย

  9. #9
    Join Date
    May 2010
    Location
    กรุงเทพ หรือ พังงา
    Posts
    51
    Warning Points:
    0/5

    3.การป้องกันปัญหาการสืบทอดธุรกิจเกษตร ด้วย องค์ความรู้สมัยใหม่

    ถ้าการแก้ปัญหาการสืบทอดธุรกิจสู่ทายาทธุรกิจทำหลังจาก พ่อแม่ จากไป ซึ่งทำได้ลำบาก และ ยาก ดังนั้น การป้องกันที่ดีที่สุด ก็คือ การสืบทอดธุรกิจสู่ทายาทธุรกิจในช่วงที่ท่านมีชีวิตอยู่ ด้วยองค์ความรู้สมัยใหม่ และ ทัศคติที่ถูกต้อง

    สำหรับองค์ความรู้สมัยใหม่ จะช่วยให้ทายาทธุรกิจเกษตร ที่เรียนจบมาในด้านอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ด้านการเกษตร แม้จะไม่มีความรู้ และ ไม่มีประสบการณ์ด้านการเกษตร ถ้าเติมองค์ความรู้สมัยใหม่แล้ว จะทำให้ทายาทธุรกิจเกษตร เชื่อมโยงภูมิปัญญาของพ่อแม่ มาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจบริหารจัดการธุรกิจ ไม่ต้อง “การลองผิดลองถูก” ในการสืบทอดธุรกิจเกษตร สามารถดูแลธุรกิจเกษตรได้ทั่วถึง ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วยเหมือนเดิม เหมือนรุ่นพ่อรุ่นแม่
    ในส่วนของทัศนคติที่ถูกต้องเป็นการป้องกัน ปัญหาการสืบทอดธุรกิจว่า ถ้านักธุรกิจเกษตร(พ่อแม่) และ ทายาทธุรกิจเกษตร มีทัศนคติที่ถูกต้อง เห็นคุณค่า ว่า อาชีพ เกษตรกร ไม่ต่างอะไรกับนักธุรกิจ เห็นความสำคัญว่า ธุรกิจเกษตร ว่าเป็นภาคการผลิตที่แท้จริงของสังคมไทย และ เห็นอนาคตว่า ผลผลิตของธุรกิจเกษตร เป็น จุดเริ่มต้น ของอุตสาหกรรม วัสดุ พลังงาน อาหาร และ ยา

    การสืบทอดธุรกิจเกษตร สู่ทายาท ก็จะเกิดขึ้น เป็นการป้องกันเหตุเริ่มต้นของการล่มสลายของของภาคการผลิตที่แท้จริงของสังคมไทย

    ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาการล่มสลายของภาคการผลิตไทย จึงต้องนำทายาทของธุรกิจเกษตร ซึ่งเป็นภาคการผลิตที่แท้จริง ของสังคมไทย กลับสู่ การสืบทอดธุรกิจ ของบรรพบุรุษตนอย่างเต็มกำลัง โครงการฝึกอบรมทายาทธุรกิจภาคการผลิตที่แท้จริงของภาคธุรกิจเกษตร จึงเกิดขึ้น เพื่อเติมองค์ความรู้สมัยใหม่ และทัศนคติ ที่ถูกต้องในการสืบทอดธุรกิจเกษตร และ สร้างความมั่นคงและยั่งยืนภาคการผลิตที่แท้จริงของสังคมไทยสืบไป

  10. #10
    Join Date
    Jul 2011
    Posts
    541
    Blog Entries
    37
    Warning Points:
    0/5
    ในฐานะ ที่เป็นคนชนบท และมี ปู่ย่า ตายาย เป็นเกษตรกร ได้อ่านบทความนี้แล้วรู้สึก จริงและเห็นด้วยอย่างยิ่ง ว่า หายนะ และล่มสลาย ของภาคการผลิตที่แท้จริงของสังคมไทย หากไม่ต้องการ เห็น หายนะ ของภาคการผลิต จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ ลูก หลาน ที่ มี ชั้นรู้ ชั้นคิด สูงแล้ว กลับ ไปดำรง ตน เป็น ทายาท ธุรกิจเกษตร


    สังคมที่ไร้มุทิตา...
    คือ สังคม ที่ คนส่วนใหญ่ ไม่รู้ว่า ใครคือคนที่ทำให้

    เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนควรต้องมีหัวใจ
    สังคมนี้ แผ่นดินนี้ คงอยู่ ให้เรา อาศัย อยู่ร่วมกัน ได้ต่อไป
    "ผู้เสียสละทุกคน ที่ตาย ล้วนมีชีวิต และเรา ติดหนี้บุญคุณ"
    ขอบคุณใน ความเสียสละ ที่ทำให้เรา ได้อาศัยอยู่ร่วมกัน

    เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนควรต้องมีหัวใจ
    ด้วยความเคารพในความเสียสละ อย่างสูงยิ่ง
    ประเทศใคร.. ในหนึ่งวัน<Click>


    ความเห็นแก่ตัว ทำให้ คน โง่ ขึ้น

Page 1 of 2 1 2 LastLast

Comments from Facebook

Tags for this Thread

Posting Permissions

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •