ธรรมทาน คืออะไร
ธรรมทาน คือ การให้คำแนะนำสั่งสอนสิ่งที่ดี
บอกศิลปวิทยาที่ดีที่มีประโยชน์ในการดำเนินชีวิต
เป็นเหตุให้มีความสุข รวมถึงการอธิบายให้รู้และเข้าใจในเรื่องบุญบาป
ให้ละสิ่งที่เป็นอกุศล ดำรงตนอยู่ในทางกุศล
ซึ่งจะนำพาตนให้สะอาดบริสุทธิ์ หมดจดจากกิเลสอาสวะทั้งปวงได้


ประเภทของธรรมทาน
ธรรมทาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ วิทยาทาน และ อภัยทาน

1. วิทยาทาน
วิทยาทาน คือ การให้ความรู้ ยังแบ่งออกได้อีกเป็นวิทยาทานทางโลก
และวิทยาทานทางธรรม

‘ วิทยาทานทางโลก คือ การสั่งสอนให้เกิดความรู้ความสามารถในเชิงศิลปวิทยาการ
เพื่อนำไปประกอบสัมมาอาชีพเลี้ยงชีวิต และสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้
ด้วยความสะดวกสบายทุกอย่าง ดังนั้นทางพระพุทธศาสนา
ด้จัดความรู้ว่าเป็นขุมทรัพย์อย่างหนึ่ง
ชื่อ องฺคสมนิธิ แปลว่า ขุมทรัพย์ติดตัวได้ บุคคลผู้มีความรู้ดี
จึงเปรียบได้ว่ามีขุมทรัพย์ติดตัวไป ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็เชื่อมั่น
ได้ว่าจะสามารถใช้ปัญญารักษาตัวเองให้อยู่รอดปลอดภัยได้แน่นอน

‘ วิทยาทานทางธรรม (จัดเป็นธรรมทานแท้) คือ การให้ความรู้ที่เป็นธรรมะนั้น
ยิ่งเป็นสิ่งที่ประเสริฐ ด้วยเหตุที่ว่า การดำเนินชีวิตของแต่ละคนนั้น
ถ้าขาดเสียซึ่งหลักธรรม ชีวิตก็จะพบแต่ความทุกข์ เดือดร้อน ผิดหวังตลอดไป
ต่อเมื่อได้ยินได้ฟังธรรม และนำมาประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสม
ย่อมเกิดความเจริญงอกงามในชีวิตของตน ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง สะอาด
บริสุทธิ์ ผ่องใส ในที่สุดก็ทำให้รู้แจ้งเห็นแจ้งในพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และเข้าถึงความสุขที่แท้จริงได้

การให้คำสอนที่ถูกต้องที่เป็นธรรมะนั้น เปรียบได้กับการให้ขุมทรัพย์ที่เป็นอมตะติดตัวไว้
หรือให้ประทีปแสงสว่างที่คอยติดตามไป ดังนั้น บัณฑิตทั้งหลายจึงกล่าวว่า
การให้ธรรมทาน เปรียบเหมือนการให้ ขุมทรัพย์ หรือประทีปที่จะเป็นเครื่องส่องทางชีวิต
ห้ดำเนินไปในทางที่ถูกต้องดีงาม นำชีวิตไปสู่ความสุขความเจริญ

และเมื่อยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร ย่อมเป็นผู้ไม่ตกต่ำ
มีชีวิตที่ดีงาม ได้เกิดในสุคติภพ เมื่ออบรมบ่มบารมีแก่กล้าแล้ว
ย่อมสละละกิเลสได้โดยสิ้นเชิง เข้าถึงพระนิพพานได้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มี-พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า การให้ธรรมะย่อมชนะการให้ทั้งปวง

2 อภัยทาน
อภัยทาน คือ การให้ความปลอดภัย ให้ความไม่มีภัยแก่ตนและผู้อื่น
ไม่ถือโทษโกรธเคืองในการ ล่วงเกินของผู้อื่น ไม่มีเวร ไม่ผูกเวรกับผู้ใด
ทั้งยังมีจิตเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่นเป็นนิตย์

การให้อภัย เป็นการให้ที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย เป็นการให้ที่ง่าย
แต่ที่บางคนทำได้ยาก เพราะมีกิเลสอยู่ในใจ ต้องอาศัยการฟังธรรม
ประพฤติปฏิบัติธรรมบ่อยๆ จนเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้ง
เห็นคุณประโยชน์ของการให้อภัย แล้วจะให้อภัยได้ง่ายขึ้น
หากมองเผินๆ จะดูเหมือนว่าการให้อภัยเป็นการให้ประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น
ทำให้ผู้อื่นมีความสุขสบายใจ แต่แท้ที่จริงแล้ว
ผู้ที่ได้รับประโยชน์สุขมากที่สุดก็คือตนเอง เพราะทุกครั้งที่ให้อภัยได้
จะรู้สึกปลอดโปร่ง เบากายเบาใจ สดชื่นแจ่มใส มีความสุข

นอกจากนี้ การช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายให้ปลอดภัย
หรือพ้นจากอันตรายนั้นได้ เช่น การช่วยปล่อยสัตว์ที่เขาจะนำไปฆ่าให้พ้นจากการถูกฆ่า
ดังประเพณีปล่อยสัตว์ปล่อยปลา ก็นับว่าเป็นอภัย ทานเช่นกัน
เพราะได้ให้ความไม่มีภัย ให้ความเป็นอิสระแก่สัตว์เหล่านั้น

การให้ความปลอดภัย ให้ความไม่มีเวรไม่มีภัยแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย
ด้วยการไม่เบียดเบียน จัดเป็น การให้ที่สูงขึ้นไปอีก
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า มหาทานŽ ซึ่งท่านจัดไว้ในเรื่องศีล

ส่วนการให้อภัย คือ ทำตนเป็นผู้ไม่มีภัยกับตนเอง ใครที่สามารถสละภัย
คือโทสะออกจากใจได้ มีจิตใจสงบ สะอาด จิตจะประกอบไปด้วยเมตตา
เมื่อทำไปแล้วถึงระดับหนึ่ง จัดว่าเป็นการภาวนา ที่ เรียกว่า เมตตาภาวนา ซึ่งมีอานิสงส์สูงยิ่ง

2 อานิสงส์ของธรรมทาน
ธรรมทานนี้มีอานิสงส์มาก ดังที่มีการพรรณนาคุณไว้ในอรรถกถาธรรมบท1 ว่า
แม้ทายกจะถวายจีวรอย่างดีที่สุดแด่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
และพระอรหันตเจ้าทั้งหลาย ที่นั่งติดๆ กันเต็มห้องจักรวาลนี้
ก็ยังมีอานิสงส์น้อยกว่าการอนุโมทนาของพระพุทธเจ้า ด้วยพระคาถาเพียง 4 บาท
และจีวรทานนั้นมีค่าไม่ถึงเศษส่วน 16 แห่งพระคาถาที่พระพุทธองค์ทรงอนุโมทนา

แม้ทายกจะถวายโภชนะข้าวสาลี กอปรด้วยสูปะพยัญชนะ (แกงและกับข้าว) อันประณีต เป็นต้น
ให้เต็มบาตรพระพุทธเจ้าก็ดี จะถวายเภสัชทาน มี เนยใส เนยเหลว น้ำผึ้ง เป็นต้น
ให้เต็มบาตรพระพุทธเจ้า ที่นั่งติดๆ เต็มห้องจักรวาลก็ดี
ยังมีอานิสงส์น้อยกว่าธรรมทานที่พระพุทธเจ้าอนุโมทนาด้วยพระคาถาเพียง 4 บาท

จักไม่กล่าวคำที่กระทบตนและผู้อื่น คือไม่แสดงธรรมโดยยกความดีของตัวเองเพื่อโอ้อวด
หรือ ยกความผิดพลาดหรือจุดด้อยของคนอื่นขึ้นมาเป็นเหตุเพื่อประจานความผิด
หรือกล่าวล้อเลียนเขา ต้อง กล่าวมุ่งอธิบายธรรมะจริงๆ
และหากต้องยกตัวอย่างประกอบในการอธิบายเพื่อความเข้าใจในธรรมนั้น
ก็ต้องระมัดระวังไม่ให้ผู้อื่นเสียหายได้


ผู้ที่จะให้ธรรมทาน พึงตั้งอยู่ในองค์คุณดังกล่าวมานี้ จะยังประโยชน์ใหญ่
อานิสงส์ยิ่งใหญ่ให้เกิด ขึ้นกับผู้แสดงธรรมได้อย่างเต็มที่
ทำให้ผู้แสดงธรรมได้บุญกุศลมหาศาล
ดังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส สรรเสริญว่า

"บุคคลให้ธรรมเป็นทาน โดยไม่ปรารถนาลาภสักการะ ย่อมมีอานิสงส์ประมาณมิได้"

ขอขอบคุณและอนุโมทนาบุญกับเจ้าของบทความครับ