เมื่อยังเด็ก อยู่ในความอุปการะ เลี้ยงดูของ เจ้าอภัย ราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร แห่งแคว้นมคธ เมื่อโตขึ้นสมควร จะศึกษาวิชาความรู้ ในชั้นสูงต่อไป เจ้าอภัย จึงให้ไปเรียนวิชาที่ ตักษิลา ท่านชีวก เลือกเรียนวิชาแพทย์ อยู่กับอาจารย์ ท่าน หนึ่ง เรียนอยู่ 7 ปี จึงสำเร็จ
วิธีที่อาจารย์ จะสอบความรู้ว่า ศิษย์ คนใด จะออกเป็นหมอ ได้หรือยัง มีกลวิธีการสอบหลายอย่าง แล้วแต่อาจารย์ จะ เห็นควรสอบอย่างไร แก่ศิษย์คนใด เฉพาะ ท่านชีวก อาจารย์ สอบโดยสั่งว่า " ชีวก เธอจงเอาเสียมเล่มนี้ ออกไปตรวจดูบรรดา สมุนไพร รอบกุฎี นี้ โดยรัศมี 1 โยชน์ ให้ตลอด ถ้าพบต้นไม้อะไรที่ไม่เป็นยา จงเอามาให้ดู " ท่านชีวกถือเสียมเข้าป่า ตรวจ ดูบรรดากลิลไม้ ตลอดหมด ในรัศมี 1 โยชนื รอบกุฎี ไม่พบต้นไม้อะไร สักอย่าง ที่ไม่เป็นยา พยายามแล้ว พยายามอีก ที่จะให้ได้ต้นไม้อะไรสักอย่าง เพื่อจะได้เอามาบอกอาจารย์ ว่า ไม่ใช่ยา แต่ก็หาไม่ได้ ในที่สุด ต้องมือเปล่ากับมา บอกอาจารย์ ว่า " ได้ตรวจดูกบิลไม้ หมดทุกอย่าง ในป่่า เห็นเป็นยาทั้งนั้น อ้ายที่ไม่เป็นยา หาไม่ได้เลย "
อาจารย์ได้ทราบดังนั้น ก็พอใจ เป็นที่ประจักษ์ว่า ท่านชีวก สำเร็จวิชาแพทย์ รู้กบิลไม้ในป่า อย่างเจนจบ ว่าเป็นยา ทุกอย่าง จึงประสิทธิ์ประสาท ให้เป็นผู้สำเร็จในวิชา และเป็นหมอได้ อาจารย์ให้เงินเป็นค่าเดินทางเข้าเมือง และแนะให้ หมอชีวกไปหากินที่เมือง สาเกต นครหลวง แห่ง แคว้น อโยธยา ที่อาจารย์ แนะให้ไปเมือง สาเกต ก็เพราะว่า ที่ เมืองนั้น มี หมอมีชื่อเสียงมาก อาจารย์รู้ภูมิของหมอชีวก ตลอดเวลาที่ให้การศึกษา ว่าหมอชีวก เป็นคนฉลาดมาก ภูมิความรู้ดี ความจำดี ทั้งบุคลิกลักษณะ นิสัยใจคอก็ดี ถ้าให้ไปเมืองสาเกต อย่างไรเสีย หมอชีวกต้องเด่นแน่ๆ และเป็นความประสงค์ ของ อาจารย์ที่จะให้หมอชีวก ไปแสดงฝีไม้ลายมือ อวดบรรดาคณาจารย์ และคนทั้งหลาย ให้เห็นภูมิควารู้ ความสามารถ ของ อาจารย์ผู้ให้การอบรมศึกษา ด้วย เพราะศิษย์ ดี ย่อมเป็นศรีแก่ครู หมอชีวก รับพร และลาอาจารย์ แล้วก็ไปเมือง สาเกต
ธรรมดา คนที่เป็นหมอ เมื่อทำการรักษาพยาบาล คนเจ็บไข้ ก็ย่อมจะรักษาคนไข้หาย ไม่มาก ก็น้อยด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งเป็นการปกติ ไม่ค่อยมีใคร เล่าลือ อื้อฉาวประการใด แต่หมอชีวก เมื่อไปเป็นหมอ ที่เมืองสาเกต ได้ทำความชื่นชม ยินดี และเป็นที่พึ่ง ของราษฎร์เป็นอันมาก ผิดกับหมออื่นที่เคยมี คือได้ ช่วยชีวิตของหญิงคลอดลูกและเด็กๆ ให้รอดพ้นจากความตายได้มาก
เพราะแต่ก่อน ไม่เคยมีหมอเก่งเช่นนี้ จนชาวบ้าน ชาวเมือง ให้ฉายา หรือ อภิไธย ว่า " โกมารภัจจ์ " แปลว่า " หมอผู้ชำนาญโรคเด็ก "
และเรียกกันว่า หมอชีวกโกมารภัจจ์ แต่นั้นมาหมอชีวก มีความรู้ ความสามารถ ไม่เฉพาะแต่เรื่องโรคเด็ก และการเอาลูกออก หรือ กุมารผลิต เท่านั้น แต่มีความรู้ ความสามารถ ในโรคทางยา และทางผ่าตัดทั่วไปด้วย รักษาคนไข้ รายสำคัญ ๆ เป็นที่เล่าลือมาก ดังเรื่้องต่อไปนี้
เมียเศรษฐีคนหนึ่ง ที่เมืองสาเกต เป็นโรคมีอาการปวดหัวมานาน ตั้ง 7 ปี เคยให้หมอมีชื่อเสียงรักษา เสียเงินเสียทอง ไปมาก ไม่มีใครรักษาหาย และจนไม่มีใครรับ รักษา หมอชีวกรับรักษา แต่โดยที่หมอ ชีวก ยังเป็นหมอหนุ่ม และเป็นหมอ มือใหม่ คนไข้เอาสัญญาว่า ถ้ารักษาไม่หาย จะไม่สมนาคุณ เพราะเข็ด เสียเงินทองไปมาก ก็รักษาไม่หาย หมอชีวกตกลง ในการรักษา หมอชีวก เอาเนยเหลว 1 ประสาร ( 1 ฟายมือ ) ต้มเข้ากับยาต่างๆ เสร็จแล้ว เอายากรอกเข้าทางจมูกคนไข้ ปรากฎว่า กรอกครั้งเดียวเท่านั้น เมียเศรษฐีหายโรคปวดหัว เศรษฐีให้รางวัล หมอชีวก เป็นเงิน 16,000 กหาปณะ ( เหรียญ เงินโบราณอินเดีย ) และแถมให้รถม้าคันหนึ่ง พร้อมด้วยม้าเทียม และคนรับใช้ เสร็จด้วย เงินจำนวนนี้ หมอชีวก จึงใช้เป็น ค่าเดินทาง ไปเมืองราชคฤห์ อันเป็นเมืองหลวง ของแคว้นมคธ ซึ่งพระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ ปกครองอยู่ และเป็นบ้านเดิมของหมอชีวก และด้วยเงินจำนวนนี้ หมอชีวก เอาไปใช้หนี้ ให้แก่เจ้าอภัย ซึ่งเคยอุปการะคุณท่านมา โดยให้ทุนไปเล่าเรียน วิชา แพทย์ ที่ตักษิลา อีกด้วย จำนวนเงินที่เศรษฐีให้เป็นรางวัล แก่หมอชีวกนั้น เป็นพยานอันแสดงอย่างหนึ่่งว่า เศรษฐีโบราณเขาสมนาคุณหมอ โดยหมอมิได้เรียกร้องเลย เป็นมูลค่าสูงมาก
คนไข้รายสำคัญ ต่อมา คือ พระเจ้าพิมพิสารเอง พระองค์ประชวร เป็นฝีคัณฑสูตร์ ( คือฝีใดๆ ที่เกิดตามริมของทวาร หนัก ) ฝีแตก แล้วกลายเป็นแผลลำราง เป็นเรื้อรังมานาน หมอชีวก รับรักษา หมอใช้น้ำมันชนิดหนึ่งใส่ ในไม่ช้าแผลรำราง ก็หายเป็นปกติ พระเจ้าพิมพิสาร โปรดแต่งตั้ง ให้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ และนำตัว เข้าเฝ้า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า หมอชีวกได้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ พระบรมศาสดา และคณะสงฆ์ แต่นั้นมา ตามพุุทธประวัติ แสดงหลายตอนว่า พระพุทธเจ้า กับหมอชีวก โกมารภัจจ์ ใกล้ชิดสนิทกันมาก การที่พระบรมศาสดา ทรงยกย่อง รับเอาหมอ ชีวก เป็นแพทย์ประจำพุทธองค์ นั้น แสดงว่า หมอชีวก เป็นแพทย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ มากทีเดียว
คนไข้รายต่อมา เป็นพ่อค้า ที่เมือง ราชคฤห์ ป่วยเป็นโรคปวดหัว มานานหลายปี หมอชีวก รักษาด้วยวิธีผ่าตัด คือ มัดตัวพ่อค้าเข้ากับที่นอน แล้วผ่าหนังศีรษะ แหวกออก ดึงหนอนออกมาได้ 2 ตัว แล้วเย็บแผล ใส่น้ำมัน หายเป็นปกติ หนอน ที่หมอชีวก เอาออกได้นั้น ไม่ทราบว่าเป็นหนอนอะไร อาจเป็นเจ้าตัวจิ๊ด ที่เรารู้กันเดี๋ยวนี้กระมัง
รายต่อมาเป็นลูกเศรษฐี ในกรุงพาราณสี เป็นเด็ก ชองเล่นหกคะเมน ตีลังกา ควงตัดลำไส้เกิดบิดกันขึ้น กินอาหารไม่ ย่อย ปวดท้อง จนหน้าท้องเขียว ต้องขอร้องให้หมอ ชีวก ไปรักษา หมอไปทำการผ่าตัด ควักไส้ที่บิดกันนั้น แสดงให้เมีย เศรษฐี ดู แล้ว จัดลำไส้เข้าที่เดิม เย็บแผล แล้วใส่น้ำมันหาย หมอชีวก ได้รับรางวัล ตามแบบที่เคยได้จาก เศรษฐีอีก 16,000 กหาปณะ
คนไข้ที่หมอชีวก รักษาลำบากมาก คือ พระเจ้าปโชติแห่งกรุงอุชญาณี ประชวรเป็น กาฬสิงคลี หรือดีซ่าน ได้ทรงขอร้อง ไปยังพระเจ้าพิมพิสาร ขอหมอชีวก ไปรักษา
หมอชีวก ออกจากกรุงราชคฤห์ ไปยังกรุง อุชญาณี เมื่อหมอตรวจดูอาการ พระเจ้า ปโชติ แล้ว ก็รู้สึก ว่า พระเจ้า ปโชติ เป็นผู้ยากแก่การรักษามาก ยากยิ่งกว่ารักษาโรค เพราะพระเจ้า ปโชติ รับสั่งว่า จะใช้ยาอะไรรักษา ก็ได้ทั้งนั้น ขออย่างเดียว อย่าใช้ ยาที่เข้าเนยเหลว เท่านั้น ถ้าขืนให้กิน เนยเหลว เป็นเล่นงานกัน เผอิญยา ที่หมอ ชีวก จะใช้รักษาโรคชนิดนั้น ก็เป็นยา ต้องเข้าเนยเหลว ครั้นจะไม่รับรักษา ก็จะกลายเป็นหมอใจน้อย ไม่มีปัญญา ชาวเมือง ก็จะดูุถูกว่า หมดภูมิ ครั้นจะรับรักษา ถ้าพระเจ้า ปโชติ เรอ หรือ อ้วก ออกมา ได้กลิ่นเนยเข้า ตนก็จะได้รรับโทษ ถ้าจะ ไม่ใส่เนยเหลว ก็ผิดหลักวิชา และจะไม่ได้ผลดี ลังเลใจอยู่ แต่หมอชีวก เป็นคนไม่สิ้นแต้ม ในที่สุดรับรักษา และตกลงใน ต้องให้พระเจ้าปโชติ กินเนยเหลว ให้ได้ เป็นไรเป็นกัน จึงจัดแจงผสมยา เข้าด้วยเนยเหลว แต่ใช้ยาอื่นๆ ผสมดับกลิ่น ดับรส และสีของเนย ให้กินไม่รู้สึก เมื่อให้ พระเจ้าปโชติ เสวยยา แล้ว หมอ ชีวก ก็ออกอุบาย รีบทูลขอช้างเร็ว 1 เชือก เพื่อไปเก็บยา ในป่าอีก เมื่อพระเจ้าปโชติ สั่งให้แล้ว หมอชีวก ก็ขึ้นช้าง หนีกลับกรุงราชคฤห์ ไม่รอให้พระเจ้าปโชติ เรอ หรืออ้วก ได้กลิ่นเนย ต่อมาไม่ช้า พระเจ้าปโชติอ้วก ได้กลิ่น และรส เนย ก็ทรงพิโรธ หาว่า หมอ ชีวก หลอกให้กินเนยเหลว ขัดพระโองการ จึงสั่ง ให้ทหารเร็ว ออกตามจับ ตัวหมอชีวกให้ได้ ทหารเร็วไปพบ หมอชีวก กำลังพักผ่อนกินอาหารอยู่ในป่า จึงตรงเข้าไปจะจับตัว หมอจึงพูดว่า " ท่านมาจับตัวเราหรือ ได้สิ ไม่เป็นไร รอให้เรากินอาหารเสียก่อน แล้วเราจะให้ท่านจับตัวไป แต่ แนะ ท่านมา กำลังเหนื่อย จงนั่งพักผ่อนและดื่มน้ำ ให้เป็นที่สบายก่อน " ว่าพลางหมอก็ยื่นขันน้ำ ซึ่งหมอเอายาถ่ายอย่างแรง ลอบเจือลง ในขณะนั้น ส่งให้ ทหารรับขันน้ำไปดื่มด้วย ความกระหาย ในไม่ช้า หมอชีวก ก็เสร็จจากการกินอาหาร และทันใดนั้น ทหาร เร็ว ก็มีอาการอุจจาระร่วง อย่างแรง ไม่มีกำลังพอ ที่จะจับตัว หมอได้ หมอชีวกก็ รีบขึ้นช้าง บ่ายหน้าไปกรุงราชคฤห์ ฝ่ายพระเจ้า ปโชิต ปรากฎว่า หายจาก โรคดีซ่านอย่างเด็ดขาด รู้สึกบุญคุณของหมอ จึงให้จัดผ้า สีเวยก ส่งไปประทานแก่หมอชีวกสำรับหนึ่ง ผ้าสีเวยก นั้น พระพุทธโฆษาจารย์ ( อินเดีย) สันนิษฐานว่า อาจเป็นผ้าที่ชาว อุตรกุรุ ใช้ห่อศพไปป่าช้า หรือเป็นผ้าไหม ที่สตรี ชาว สิวิ ทอด้วยฝีมืออย่างดี
โดยปกติหมอชีวก โกมารภัจจ์ คอยดูแลเอาใจใส่ ถวายพระอภิบาล แต่องค์สมเด็จ พระบรมศาสดา และภิกษุสงฆ์ ทั้งหลายอยู่เป็นนิตย์ มีเรื่องว่า คราวหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงรู้สึก ไม่ค่อยสบาย หมอชีวกผสมน้ำมันถวาย ให้พระอานนท์ ทาถู นวดพระพุทธองค์ อยู่ หลายเพลา ไม่หาย หมอชีวกเห็นว่า จำเป็นต้อง ถวายพระโอสถถ่าย การใช้ยาถ่าย หรือยาอะไรๆ แก่ คนไข้นั้น หมอทั่วๆไป ก็โดยมาก คงให้ยา อย่างที่ให้คนทั่วๆ ไป แต่หมอชีวก มีความรอบรู้เท่าถึงการในสภาพ ของบุคคล แต่ละคนที่จะรักษา กับรอบรู้ ในเรื่องยา อย่างพิสดาร การให้ยาถ่าย แก่พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นพระสุขุมาลชาติ ต้องระมัดระวัง และต้องเป็นยา อย่างเบาที่สุด หมอชีวกจึงเอาดอกบัว มาขยี้ ประมาณ 3 กำมือ ผสมเข้ากับยาต่างๆ ถวายให้พระพุทธเจ้า ทรงดม ครั้งละ 1 กำมือ พระพุทธองค์ ทรงดม 1 ครั้ง ก็ไปพระบังคมหนักอย่างสบาย 10 ครั้ง โดยไม่รู้สึกเสียพระกำลังเลย แม่แต่น้อย เมื่อทรงถ่ายแล้ว หมอชีวก ก็สรง พระพุทธองค์ ด้วยน้ำอุ่น และงดถวายจังหันชั่วคราว ไม่ช้า พระบรมศาสดา ก็ทรง พระสำราญ เป็นปกติ การให้ยาถ่าย แบบที่หมอชีวก ถวายพระพุทธเจ้านั้น ถ้าเราไม่คิดให้ลึกซึ้ง อาจเห็นไปว่า หมอชีวกทำ แผลงอวดดี หรืออวดวิเศษ กะสมบัติยาถ่าย ให้ยาถ่ายอะไรๆ ก็ได้ ถ้าคิดอย่างนั้น ก็เป็นความคิดที่ผิด เพราะคนเรามีธาตุ ไม่เหมือนกัน บางคนธาตุเบา บางคนธาตุหนัก ยาถ่ายที่พระพุทธองค์ทรงดมนั้น ถ้าให้คนอย่างเราๆ ดม คิดว่าดมจนตายก็คงไม่ไป นอกจากจะไปเอง คนธาตุหนักหรือพวก สกุลชาติ กินดีเกลือหนัก 1 บาท บางคนไม่สะเทือนท้อง คนธาตุเบา เพียงแค่ น้ำลูกสมอต้ม ก็เดินปราด การวางยา แม้ยาถ่าย แก่ผู้บริสุทธิ์ยิ่ง จึงเป็นเรื่อง ที่เกี่ยวกับความรอบรู้สูงมาก และหมอชีวกคนเดียวที่รู้ถึงเพราะเป็นแพทย์ประจำพระพุทธองศ์
ภิกษุสงฆ์ เจ็บไข้ มักเกี่ยวกับท้องเสีย เพราะอาหารที่ชาวบ้าน พากันถวาย ไม่ค่อยระมัดระวัง ให้สะอาด และไม่พิจารณา ว่าอะไรควร ไม่ควร เหมือนดั่งครั้งหนึ่ง
พวกสุภาพสตรี ชาวเมืองเวสาลี หรือไพสาลี พากันนิยมถวายของหวานแก่ พระภิกษุ จนเอือม ทำเอาพระ เจ็บป่วย กันมาก แต่เคราะห์ดี หมอชีวก ตามไปแก้ไขทันท่วงที
หมอโบราณที่มีชื่อเสียงหลายคน แต่หมอชีวกโกมารภัจจ์ พวกหมอโบราณนับถือ มาก และในกระบวนความรู้เรื่องยา ไม่มีตัวจับ หมอชีวกคนนี้ เขาเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า " เภสัชราชา " คือ พระยายา หรือราชาแห่งยา ขึ้นชื่อว่า กบิลไม้แล้ว ที่ หมอชีวก จะไม่รู้จัก ใช้เป็นยาไม่มี หมอชีวก เป็นหมอเก่งทั้งทางยา และทางผ่าตัด มีชื่อเสียง ไม่เฉพาะในแว่นแคว้น มหาภารตะ และบูรพทิศ ยังมีชื่อเสียง ไป เหยียบถึงประเทศอิยิปต์ คืือ ในครั้งนั้น พระเจ้าปโตเลมี กษัตริย์ แห่งประเทศ อิยิปต์ ทรงประชวร ต้องขอหมอ ชีวก จากพระเจ้าพิมพิสาร ไปรักษา จึงหาย ฮิปปอคราติส หมอฝรั่งโบราณชาติกรีก ซึ่งฝรั่งเดี๋ยวนี้ยกย่องหนักหนา ว่าเป็น บิดาแห่งการแพทย์ของเขา ก็เป็นรุ่นราว คราวเดียว และในสมัยเดียวกันกับ หมอชีวก ฮิปปอคราติส จะ กล่าวอะไรไว้ในวิชาแพทย์ หมอฝรั่งมักพูดถึงบ่อยๆ อย่างไม่เบื่อ แต่ถ้าจะเอาคุณวุฒิ ความรู้ ปรีชาสามารถ ตลอดจนฝีไม้ ลายมือกันแล้ว ฮิปปอคราติส ก็ดี หมอฝรั่งคนอื่นในสมัยนั้น ก็ดี และแถมให้อีก 1,000 ปี ต่อมา มือก็ไม่ถึงข้างซ้ายของหมอชีวกโกมารภัจจ์ หมอชีวก ได้พูดอะไรไว้บ้าง ในวิชาแพทย์ เรามีความเสียใจ ที่ไม่มีหลักฐาน บริบูรณ์ เพราะประเทศอินเดีย ภายหลัง ที่พระบรมศาสดา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดับขันธ์ เข้าปรินิพพาน แล้ว พระพุทธศาสนา ยุกาล ล่วง มาแล้วถึง พ.ศ. 1743 พวก มหมัด ( อิสลาม หรือมุสลิม ) เข้าบุกรุก และยึดครองประเทศอินเดีย ประเทศอินเดีย ก่อนที่มหมัด บุกเข้าไปนั้น เป็นที่รู้กันว่า มีความเจริญมาก ในศิลปวิทยา และวิชาการแพทย์ วิชาเหล่านี้ เจริญอยู่ในมหาวิทยาลัย และในโรงพยาบาลอัน เป็นส่วนเกี่ยวข้อง อยู่กับ โบสถ์ วิหาร ของพระพุทธศาสนา ที่เมือง ปาตลิบุตร
ตักษิลา สารนาธ นาลันทะ วิกรมศิลา และ อุทนตปุระ เมื่อพวกมหมัด เข้าตีประเทศอินเดีย นั้น เมือง อุทนตปุระ และวิกรมศิลา ก็แตก ถึงซึ่งความพินาศ พวกมหมัด ฆ่าภิษุสงฆ์ ในพระพุทธศาสนา เสียมาก ที่หนีได้ ก็ไปเมืองกบิลพัสดุ หนีลงทางอินเดียตอนใต้บ้าง หนีเข้าประเทศพม่าบ้าง สถานที่ โบสถ์วิหาร ทรัพย์สมบัติ ตำรับตำรา ถูกเผาทำลายมาก ถูกเก็บเอาไปบ้าง นับแต่นั้นมา ศิลปวิทยา และการแพทย์ ของอินเดีย ก็เสื่อมโทรมเป็นลำดับ และต่อมา อีกไม่กี่สัตวรรษ อินเดียก็เสีย แก่อังกฤษอีก อังกฤษ ขนเอาทรัพย์สมบัติ ของ อินเดียา ไปเสียอีกมาก ที่เมือง อุทนตปุระ และ วิกรมศิลา เสียแ่ก่มหมัดนั้น ก็แบบเดียวกับ ที่กรุงศรีอยุธยาของไทยเสียแก่ พม่า ทรัพย์สมบัติ ที่ถูกเผาผลาญ เสียหายไป รวมทั้งตำรับตำรา ต่างๆ เป็นอันมาก เป็นอันไม่มีวันได้กลับคืน
วิชาแพทย์ แผนโบราณ ในระบบอายุรเวท ของขาวอาเซียนี้ มุสลิม ได้เอาไป ประเทศอารเบีย ก่อนนานแล้ว และพระ เจ้ากาหลิบ รับสั่ง ให้แปล ออกเป็นภาษาอาหรับ เมื่อ พ.ศ. 1243 ประมาณ 1252 ปีมาแล้ว และที่แปลออกนั้น ก็ได้เป็น ต้นเค้า วิชาแพทย์ของฝรั่งในยุโรปด้วย วิชาแพทย์ของอาเซีย ในระบบอายุรเวท ยังไม่ถึงประเทศจีน อิหร่าน และกรุงโรม และใน ครั้งนั้น ทางประเทศ กัมพูชา ( เขมร ) ก็ได้วิชาแพทย์นี้ไป ปรากฎว่าได้จัดตั้ง อโรคยาศาลา ( สุขศาลา หรือโรงพยาบาล ) ขึ้นถึง 102 แห่ง ดวงอาทิตย์ ขึ้นทางตะวันออก ก่อนฉันใด ศาสดาและ บรรดาวิชาความรู้ ทั้งหลาย ก็เกิดขึ้นทาง ตะวันออก ก่อนฉันนั้น แต่เวลานี้ความเจริญ กำลังรุ่งเรือง อยู่ทางตะวันตก ดูคล้ายกับ ความเจริญ คล้อยตามไปกับดวงตะวันกระนั้น
ความรู้ ความสามารถ ของหมอชีวก ที่กล่าวมาแล้ว แสดงว่า วิชาตรวจโรคของหมอโบราณ มีความแม่นยำมาก ถ้า ไม่แม่นจริง จะผ่าหัว ผ่าท้องคนโบราณไม่ได้
ทั้งแสดงความรู้ ความสามารถ ในการผ่าตัด ยาที่หมอชีวก ใช้ใส่แผล ต้อง เป็นยา อันตุภูตะ หรือภูตหาร( Antiseptic ) และเป็นยาอันวิษมะ หรือ วิษมหาร ( Antitoxic )
มิฉนั้นจะรักษาแผลให้หาย ไม่ได้ ดีเช่นนั้น เครื่องมือผ่าตัด ของหมอโบราณชาวเอเซีย ในเอนไซโคลปีเดีย บริเตนนิกา ( Encycloedia Brittainica ) ฉะบับพิมพ์ครั้ง ที่ 9 ของ อังกฤษ กล่าวไว้ดังนี้
SURGICAL INSTRUMENT
Susrata describes more than one hundred surgical instruments, made of steel. They should have good handles and firm joints be well polished., and sharp enought to divide a hair : they should be perfectly clean, and kept in flannel in a wooden box. They included various shapes of scalpets. bistouries, lancets, scarifiers, saws, bone nippers, scissors, trocars and needles. They were also blunt hooks, loops, probes ( including a caustic holder ) , directors, sounds, scoops, and forceps ( for polypi etc) as well as catheters, syringes, a rectal speculum, and bougies. They were fourteen varieties of bandages. The favourite form of splint was made of thin slips of bamnoo bound together with string and cut to the lenght required. Wise says that he has frequently used this admirable splint, particularly for fractures of the thigh, humerus radius, and ulna, and it has been subsequently adopted in English army under the name of " patent rattan-cane splint "
แปลใจความว่าดังนี้
" ในคัมภีร์ กุสสรุต ชี้แจง เครื่องมือผ่าตัดไว้ มากกว่า 100 ชิ้น ทำด้วยเหล็กอย่างดี มี ด้านและข้อต่อแน่นหนา เกลี้ยง เกลา มีความคม สามารถผ่าเส้นผมได้ เครื่องมือเหล่านั้น สะอาด ห่อผ้าสักหลาด เก็บไว้ในหีบไม้ มีมีดผ่าตัด มีดผ่าฝี มีดผ่า ตัดสองคม มีดเฉือนผิวหนัง เลื่อยตัดกระดูก คีมจับกระดูก กรรไกร เครื่องมือเจาะอวัยวะ เข็มเย็บแผล ขอเกี่่ยวอวัยวะ ห่วง หมุดหยั่งแผล รางนำมีด เครื่องหยั่ง ช้อนขูดแผล และปากคีบ หรือคีม หลอดสวนปัสสาวะ เครื่องฉีด เครื่องเปิด ถ่างทวาร หนัก เครื่องหยั่งเครื่องถ่างทวาร มีผ้าพันธะ ชนิดต่างๆ 14 ชนิด มีเฝือกที่ทำด้วยซี่ไม้ไผ่อย่างน่าชม ไวส์ เคยทำใช้บ่อยๆ ในการเข้าเฝือก กระดูกหัก เช่น กระดูกโคนขา กระดูกโคนแขน กระดูกแขนนอก กระดูกแขนใน และ ต่อมา กองทัพบกของ อังกฤษ ก็ได้เอาแบบอย่างไปใช้ เรียกว่า" เพเท็นท แร็ทแทน-เคน สพลินท "