Previous
Next
Downtown
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก Downtown
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก
Results 1 to 7 of 7

Thread: สอบถามเพื่อนๆพี่น้องSBNที่มีสามีเป็นชาวต่างชาติด้วยค่ะ;-)

  1. #1
    Join Date
    Apr 2010
    Posts
    13

    Smile สอบถามเพื่อนๆพี่น้องSBNที่มีสามีเป็นชาวต่างชาติด้วยค่ะ;-)

    เรื่องก็มีอยู่ว่าดิฉันกับสามีแต่งงานกันมาซักระยะแล้ว และเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาคุณสามีชวนไปจดทะเบียนสมรส แต่ดิฉันไม่แน่ใจว่าหลังจากที่จดทะเบียนสมรสกับสามีแล้ว เราต้องเปลี่ยนนามสกุลไปใช้นามสกุลเค้าไหมค่ะ และไม่ทราบว่าเราใช้นามสกุลไทยของเราหรือนามสกุลฝรั่งตามสามีอันไหนดีกว่ากันค่ะ ประกอบกับดิฉันมีธุรกิจส่วนตัวอยู่ที่เปิดไปแล้วได้ซักพักและบ้านที่ซื้อในชื่อของดิฉันที่กำลังจะเตรียมโอนในช่วงมกรานี้ ไม่ทราบว่าถ้าต้องเปลี่ยนไปใช้นามสกุลของสามีจะต้องเปลี่ยนเอกสารอะไรบ้างค่ะ พอดีทราบมาจากเพื่อนสนิทว่าในการจดทะเบียนต้องใช้ใบโสดของคุณสามีไปทำการยืนยันในการจดทะเบียนด้วยใช่ไหมค่ะ และพอจดทะเบียนเสร็จแล้วทางเราต้องไปทำการแจ้งที่สถานฑูตอีกหรือไหมค่ะ หรือเป็นอันเสร็จ ซึ่งตอนนี้บอกตรงๆว่างงมากๆ ขอรบกวนเพื่อนๆพี่น้องที่พอจะทราบหรือพอมีประสบการณ์มาอธิบายให้ฟังได้ไหมค่ะ เพราะยังงงๆว่าข้อดี-ข้อเสียของการเปลี่ยนนามสกุลไปใช้นามสกุลต่างชาติมีข้อดี-ข้อเสียยังไงบ้างค่ะ
    ขอบคุณทุกท่านมากๆค่ะ
    This's my love return to you...

  2. #2
    pepsi5510's Avatar
    pepsi5510 is offline Trusted Member
    Join Date
    Apr 2010
    Posts
    308
    หลักฐานเหมือนกันทุกประเทศ แต่จะต่างกันตรงที่การขอใบรับรองโสดจากประเทศนั้น ๆ
    การจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ กระทรวงการต่างประเทศ



    คุณสมบัติ
    • ชายและหญิงมีอายุ 17 ปี บริบูรณ์
    • ชายหรือหญิงไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
    • ชายหญิงไม่เป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมา หรือเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมาดารเดียวกัน
    • ผู้รับบุตรบุญธรรมจะทำการสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
    • ชายหรือหญิงจะทำการสมรถในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้
    • หญิงที่สามีตายหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะทำการสมร สใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อย กว่า 310 วัน เว้นแต่คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น หรือสมรสกับคู่สมรสเดิม หรือมีใบรับรองแพทย์ประกาศนียบัตรหรือ ปริญญา ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมา ยว่ามิได้มีครรภ์ หรือมีคำสั่งศาลให้สมรสได้
    หลักฐานหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง
    • บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดิมทาง
    • หนังสือให้ความยินยอม(กรณีผู้ร้องขอยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้ม ีอำนาจให้ความยินยอมไม่ได้มาด้วย)
    • คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่ให้จดทะเบียน (ตรงนี้งง อยู่นานว่าทำไมต้องมีด้วย ในกรณี เป็นผู้เยาว์ ค่ะ ต้องมี แต่เกิน 18 ปีแล้วไม่ต้องมีนะค่ะ ไม่ต้องไปขอ)
    • พยานอย่างน้อย 2 คน
    จดทะเบียนภายใต้กฎหมายต่างชาติขั้นตอน
    • ให้คนไทยติดต่อสถานทูตนั้นในไทย สอบถามว่าจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ส่วนใหญ่ จะใช้ใบรับรองความเป็นโสด
    • นำเอกสารดังกล่าวไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ
    • นำมารับรองที่กองสัญชาติและนิติกร โดยนำเอกสารต้นฉบับ(ภาษาต่างประเทศ) และฉบับที่แปลแล้ว (ภาษาไทย) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
    • นำเอกสารไปรับรองที่สถานทูตชาติ ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
    • นำไปใช้ยังต่างประเทศได้
    หมายเหตุ
    • นำเอกสารไปรับรองที่สถานทูตชาติ กรณีไม่สามารถดำเนินการได้สาม ารถทำการมอบอำนาจ ถ้ามอบอำนาจมา ต้องนำหนังสือมอบอำนาจ และ สำเนาบัตรปชช ของผู้มอบด้วย
    • สตรีไทยผู้ถือหนังสือเดินทางในชื่อสกุลเดิม เมื่อทำการส มรสตามกฎหมายต่างประเทศ สามารถร้องขอให้ สอท./สกญ.บันทึกการใช้นามสกุลสามีลงในหนังสือ เดินทาง(ปัจจุบันต้องทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่) แต่ต้อง แก้ไขข้อมูลในบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านให้ถูกต้องในโอ กาสแรกที่เดินทางกลับประเทศไทย หากมิได้ดำเนินการแก้ไขแ ละมาขอหนังสือเดินทางฉบับใหม่ กระทรวงฯ จะออกหนังสือเดินทางโดยใช้คำนำหน้านามและนามสกุลตามข ้อมูลที่ปรากฏตามหลักฐานทะเบียนราษฎรเท่านั้น
    จดทะเบียนภายใต้กฎหมายไทยขั้นตอน
    • ให้คนต่างชาติ ไปขอใบรับรองความเป็นโสด ที่สถานทูตชาติของตนในไทย บางสถานทูตไม่มีสิทธิ์ออกให้ ต้องติดต่อ สำนักงานเขต ในประเทศของตน
    • นำเอกสารดังกล่าวไปแปลเป็นภาษาไทย
    • นำมารับรองที่กองสัญชาติและนิติกร โดยนำเอกสารต้นฉบับ(ภาษาต่างประเทศ)และฉบับที่แปลแล้ว(ภาษาไทย) หนังสือเดินทางของชาวต่างชาติ
    • นำไปจดทะเบียนที่ อำเภอหรือเขต
    เอกสารประกอบการยื่นสำหรับคนต่างชาติ
    • หนังสือเดินทาง หรือหนังสือการอนุญาตให้เข้าเขตแดนของปร ะเทศใดประเทศหนึ่ง (visa) ประเภทเพื่อการท่องเที่ยวหรือประกอบกิจการด้านธุรกิจ
    • หนังสือรับรองสถานภาพของบุคคลจากสถานทูต หรือสถานกงสุล โดยระ บุเกี่ยวกับคุณสมบัติของบุคคลนั้นที่เหมาะสมที่จะสมรสกับคนไทย ระบุอาชีพ, รายได้, ภาวะทางการสมรส และระบุชื่อบุคคลทางราชการ ที่สามารถติดต่อและขอทราบข้อเท็จจร ิงเพิ่มเติมได้ จำนวน 2 คน ซึ่งมีที่อยู่เดียวกับผู้ร้อง โดยนำหนังสือรับรองดังกล่าว แปลเป็นภาษาไทย รับรองคำแปลโดยสถานทูตของประเทศของบุคคลนั้น หรือกระทรวงการต่างประเทศไทย
    กองสัญชาติและนิติกร
    เลขที่ 123 แจ้งวัฒนะ 9 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กทม.10210
    เปิดทำการตั้งแต่เวลา 08.30-15.30 น. เว้นวันหยุดราชการ
    อย่างไรก็ตามเพื่อความสะดวกท่าน ควรมาก่อนเวลา 14.30 น. หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่หมายเลข 0-2575-1056-9

    ปัญหาบางคนแปลเอง
    เจ้าของเอกสารมารับรองเอกสารด้วยตนเอง : คนไทยใช้สำเนาบัตรประชาชน คนต่างชาติใช้สำเนาหนังสือเดินทางต่างประเทศ

    ในกรณีที่ไม่ใช่เจ้ าของเอกสาร : จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของเอกสาร พร้อมสำเนาบัตรประชา ชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ ทั้งนี้ เอกสารที่จะรับรองจะต้องมีต้นฉบับมาแสดงด้วยเสมอ
    เฉพาะภาษาไทยและอังกฤษ

    ถ้าเป็นภาษาอื่นๆ
    นำเอกสารไทยที่จะไปใช้ในประเทศนั้น ๆ มารับรองสำเนาถูกต้องที่กองสัญชาติฯ ก่อน หลังจากนั้นนำไปติดต่อสถานทูตของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทยเพื่อแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส, เยอรมัน และอิตาเลียน เพื่อให้สถานทูตรับรองอีกชั้นหนึ่ง

    สำหรับคนต่างจังหวัด
    ในปัจจุบันกองสัญชาติฯ ให้บริการส่งเอกสารกลับให้แก่ผู้ร้องทา งไปรษณีย์อยู่แล้ว ส่วนการยื่นเอกสารให้รับรองทางไปรษณีย์ก็สา มารถกระทำได้เช่นกัน แต่โดยที่เอกสารของประชาชนมีความหลากหลาย มาก ดังนั้น จึงควรที่จะโทรศัพท์มาสอบถามรายละเอียดเป็นการล่วงหน้ าก่อน (โทร. 0-2575-1056 ถึง 9) และบางกรณีอาจต้อง fax ไปให้เจ้าหน้าที่พิจารณาล่วงหน้าเช่นกัน (หมายเลข 0-2575-1054) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและประกันความผิดพลาดต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

    เีรื่องซื้อที่ดิน
    หากว่าการซื้อที่ดิน หรือห้องชุดนั้นเป็นการจัดซื้อเพื่อให้เป ็นสินส่วนตัวของตนเอง แต่ทั้งนี้ คนไทยผู้ขอซื้อ และคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติต้อง มีหนังสือยืนยันเป็นหนังสือว่าเงินที่นำมาซื้อนั้นเป็นสินส่วนต ัวของคนไทยผู้ขอซื้อ มิใส่สินสมรส ทั้งนี้ ไม่ว่าบุคคลทั้งสองจะจดทะเบียนฯ หรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ ขอให้ผู้นั้นส่งหนังสือยืนยันแก่กรมที่ดินทางไปรษณีย์ได้โดยตรง

    คนต่างด้าวกับที่ดิน
    คนต่างด้าวไม่สามารถถือกรรมสิทธิที่ดินในประเทศไทยได้ ยกเว้น ได้กรรมสิทธิในที่ดินในฐานะทายาทโดยชอบธรรม และต้องไม่เกินจำน วนที่กฎหมายกำหนดไว้ (คือ เพื่ออยู่อาศัยต้องไม่เกิน 1 ไร่/ครอบครัว เพื่อการพาณิชยกรรมต้องไม่เกิน 1 ไร่ เพื่อการอุตสาหกรรมต้องไม่เกิน 10 ไร่ เพื่อการเกษตรกรรมต้องไม่เกิน 10 ไร่/ครอบครัว เพื่อการศาสนาต้องไม่เกิน 1 ไร่ เพื่อการกุศลและสาธารณะต้องไม่เกิน 5 ไร่ และสุสานของตระกูลต้องไม่เกิน 1/2 ไร่) นอกจากนี้ นับแต่ปี 2542 คนต่างด้าวที่นำเงินมาลงทุนในไทยไม่น้อยกว่า 40 ล้านบาท สามารถมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยได้ไม่เก ิน

    ใบขับขี่ของสามี
    ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตข ับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2536 กำหนดให้ชาวต่างชาติที่จะขอรับใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเ ทศของไทย ต้องใช้หลักฐานประกอบคำขอดังต่อไปนี้ &am p;nb sp; 1. ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลหนึ่งปี ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ หรือใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ ตามกฎหมายไทย ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ (โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาต ขับรถดังกล่าวได้จะต้องได้รับใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราวมาแล้วไ ม่น้อยกว่าหนึ่งปี) พร้อมภาพถ่าย 2. หนังสือเดินทาง (VISA ประเภท NON-IMMIGRANT) พร้อมภาพ 3. ใบรับรองถิ่นฐานที่อยู่ในประเทศไทย ออกโดยสถานทูต หรือหน่วยงานราชการ 4. รูปถ่ายขนาด 4x6 เซนติเมตร (2 นิ้ว) จำนวน 2 รูป (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน) 5. หนังสือมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเอง)

    จาก กระทรวงต่างประเทศ



    ข้อมูลจาก
    http://www.weddingsquare.com/forum/f...TID=77441&PN=1
    กาลเวลาเป็นเครื่องชี้ตัวตนแห่งคน.
    ยินดีต้อนรับเพื่อนๆเข้ากลุ่ม Buddha Pra เพื่อเรียนรู้และถามปัญหาต่างๆเกี่ยวกับพระเครื่องที่คุณมี ด้วยความเต็มใจและจริงใจ การแบ่งปันความรู้ เป็นกุศลอันใหญ่หลวง.

    http://siambrandname.com/forum/forumdisplay.php?f=72

  3. #3
    TEDDY07's Avatar
    TEDDY07 is offline Trusted Member
    Join Date
    Apr 2010
    Posts
    3
    Quote Originally Posted by pepsi5510 View Post
    หลักฐานเหมือนกันทุกประเทศ แต่จะต่างกันตรงที่การขอใบรับรองโสดจากประเทศนั้น ๆ
    การจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ กระทรวงการต่างประเทศ



    คุณสมบัติ
    • ชายและหญิงมีอายุ 17 ปี บริบูรณ์
    • ชายหรือหญิงไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
    • ชายหญิงไม่เป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมา หรือเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมาดารเดียวกัน
    • ผู้รับบุตรบุญธรรมจะทำการสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
    • ชายหรือหญิงจะทำการสมรถในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้
    • หญิงที่สามีตายหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะทำการสมร สใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อย กว่า 310 วัน เว้นแต่คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น หรือสมรสกับคู่สมรสเดิม หรือมีใบรับรองแพทย์ประกาศนียบัตรหรือ ปริญญา ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมา ยว่ามิได้มีครรภ์ หรือมีคำสั่งศาลให้สมรสได้
    หลักฐานหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง
    • บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดิมทาง
    • หนังสือให้ความยินยอม(กรณีผู้ร้องขอยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้ม ีอำนาจให้ความยินยอมไม่ได้มาด้วย)
    • คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่ให้จดทะเบียน (ตรงนี้งง อยู่นานว่าทำไมต้องมีด้วย ในกรณี เป็นผู้เยาว์ ค่ะ ต้องมี แต่เกิน 18 ปีแล้วไม่ต้องมีนะค่ะ ไม่ต้องไปขอ)
    • พยานอย่างน้อย 2 คน
    จดทะเบียนภายใต้กฎหมายต่างชาติขั้นตอน
    • ให้คนไทยติดต่อสถานทูตนั้นในไทย สอบถามว่าจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ส่วนใหญ่ จะใช้ใบรับรองความเป็นโสด
    • นำเอกสารดังกล่าวไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ
    • นำมารับรองที่กองสัญชาติและนิติกร โดยนำเอกสารต้นฉบับ(ภาษาต่างประเทศ) และฉบับที่แปลแล้ว (ภาษาไทย) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
    • นำเอกสารไปรับรองที่สถานทูตชาติ ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
    • นำไปใช้ยังต่างประเทศได้
    หมายเหตุ
    • นำเอกสารไปรับรองที่สถานทูตชาติ กรณีไม่สามารถดำเนินการได้สาม ารถทำการมอบอำนาจ ถ้ามอบอำนาจมา ต้องนำหนังสือมอบอำนาจ และ สำเนาบัตรปชช ของผู้มอบด้วย
    • สตรีไทยผู้ถือหนังสือเดินทางในชื่อสกุลเดิม เมื่อทำการส มรสตามกฎหมายต่างประเทศ สามารถร้องขอให้ สอท./สกญ.บันทึกการใช้นามสกุลสามีลงในหนังสือ เดินทาง(ปัจจุบันต้องทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่) แต่ต้อง แก้ไขข้อมูลในบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านให้ถูกต้องในโอ กาสแรกที่เดินทางกลับประเทศไทย หากมิได้ดำเนินการแก้ไขแ ละมาขอหนังสือเดินทางฉบับใหม่ กระทรวงฯ จะออกหนังสือเดินทางโดยใช้คำนำหน้านามและนามสกุลตามข ้อมูลที่ปรากฏตามหลักฐานทะเบียนราษฎรเท่านั้น
    จดทะเบียนภายใต้กฎหมายไทยขั้นตอน
    • ให้คนต่างชาติ ไปขอใบรับรองความเป็นโสด ที่สถานทูตชาติของตนในไทย บางสถานทูตไม่มีสิทธิ์ออกให้ ต้องติดต่อ สำนักงานเขต ในประเทศของตน
    • นำเอกสารดังกล่าวไปแปลเป็นภาษาไทย
    • นำมารับรองที่กองสัญชาติและนิติกร โดยนำเอกสารต้นฉบับ(ภาษาต่างประเทศ)และฉบับที่แปลแล้ว(ภาษาไทย) หนังสือเดินทางของชาวต่างชาติ
    • นำไปจดทะเบียนที่ อำเภอหรือเขต
    เอกสารประกอบการยื่นสำหรับคนต่างชาติ
    • หนังสือเดินทาง หรือหนังสือการอนุญาตให้เข้าเขตแดนของปร ะเทศใดประเทศหนึ่ง (visa) ประเภทเพื่อการท่องเที่ยวหรือประกอบกิจการด้านธุรกิจ
    • หนังสือรับรองสถานภาพของบุคคลจากสถานทูต หรือสถานกงสุล โดยระ บุเกี่ยวกับคุณสมบัติของบุคคลนั้นที่เหมาะสมที่จะสมรสกับคนไทย ระบุอาชีพ, รายได้, ภาวะทางการสมรส และระบุชื่อบุคคลทางราชการ ที่สามารถติดต่อและขอทราบข้อเท็จจร ิงเพิ่มเติมได้ จำนวน 2 คน ซึ่งมีที่อยู่เดียวกับผู้ร้อง โดยนำหนังสือรับรองดังกล่าว แปลเป็นภาษาไทย รับรองคำแปลโดยสถานทูตของประเทศของบุคคลนั้น หรือกระทรวงการต่างประเทศไทย
    กองสัญชาติและนิติกร
    เลขที่ 123 แจ้งวัฒนะ 9 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กทม.10210
    เปิดทำการตั้งแต่เวลา 08.30-15.30 น. เว้นวันหยุดราชการ
    อย่างไรก็ตามเพื่อความสะดวกท่าน ควรมาก่อนเวลา 14.30 น. หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่หมายเลข 0-2575-1056-9

    ปัญหาบางคนแปลเอง
    เจ้าของเอกสารมารับรองเอกสารด้วยตนเอง : คนไทยใช้สำเนาบัตรประชาชน คนต่างชาติใช้สำเนาหนังสือเดินทางต่างประเทศ

    ในกรณีที่ไม่ใช่เจ้ าของเอกสาร : จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของเอกสาร พร้อมสำเนาบัตรประชา ชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ ทั้งนี้ เอกสารที่จะรับรองจะต้องมีต้นฉบับมาแสดงด้วยเสมอ
    เฉพาะภาษาไทยและอังกฤษ

    ถ้าเป็นภาษาอื่นๆ
    นำเอกสารไทยที่จะไปใช้ในประเทศนั้น ๆ มารับรองสำเนาถูกต้องที่กองสัญชาติฯ ก่อน หลังจากนั้นนำไปติดต่อสถานทูตของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทยเพื่อแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส, เยอรมัน และอิตาเลียน เพื่อให้สถานทูตรับรองอีกชั้นหนึ่ง

    สำหรับคนต่างจังหวัด
    ในปัจจุบันกองสัญชาติฯ ให้บริการส่งเอกสารกลับให้แก่ผู้ร้องทา งไปรษณีย์อยู่แล้ว ส่วนการยื่นเอกสารให้รับรองทางไปรษณีย์ก็สา มารถกระทำได้เช่นกัน แต่โดยที่เอกสารของประชาชนมีความหลากหลาย มาก ดังนั้น จึงควรที่จะโทรศัพท์มาสอบถามรายละเอียดเป็นการล่วงหน้ าก่อน (โทร. 0-2575-1056 ถึง 9) และบางกรณีอาจต้อง fax ไปให้เจ้าหน้าที่พิจารณาล่วงหน้าเช่นกัน (หมายเลข 0-2575-1054) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและประกันความผิดพลาดต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

    เีรื่องซื้อที่ดิน
    หากว่าการซื้อที่ดิน หรือห้องชุดนั้นเป็นการจัดซื้อเพื่อให้เป ็นสินส่วนตัวของตนเอง แต่ทั้งนี้ คนไทยผู้ขอซื้อ และคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติต้อง มีหนังสือยืนยันเป็นหนังสือว่าเงินที่นำมาซื้อนั้นเป็นสินส่วนต ัวของคนไทยผู้ขอซื้อ มิใส่สินสมรส ทั้งนี้ ไม่ว่าบุคคลทั้งสองจะจดทะเบียนฯ หรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ ขอให้ผู้นั้นส่งหนังสือยืนยันแก่กรมที่ดินทางไปรษณีย์ได้โดยตรง

    คนต่างด้าวกับที่ดิน
    คนต่างด้าวไม่สามารถถือกรรมสิทธิที่ดินในประเทศไทยได้ ยกเว้น ได้กรรมสิทธิในที่ดินในฐานะทายาทโดยชอบธรรม และต้องไม่เกินจำน วนที่กฎหมายกำหนดไว้ (คือ เพื่ออยู่อาศัยต้องไม่เกิน 1 ไร่/ครอบครัว เพื่อการพาณิชยกรรมต้องไม่เกิน 1 ไร่ เพื่อการอุตสาหกรรมต้องไม่เกิน 10 ไร่ เพื่อการเกษตรกรรมต้องไม่เกิน 10 ไร่/ครอบครัว เพื่อการศาสนาต้องไม่เกิน 1 ไร่ เพื่อการกุศลและสาธารณะต้องไม่เกิน 5 ไร่ และสุสานของตระกูลต้องไม่เกิน 1/2 ไร่) นอกจากนี้ นับแต่ปี 2542 คนต่างด้าวที่นำเงินมาลงทุนในไทยไม่น้อยกว่า 40 ล้านบาท สามารถมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยได้ไม่เก ิน

    ใบขับขี่ของสามี
    ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตข ับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2536 กำหนดให้ชาวต่างชาติที่จะขอรับใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเ ทศของไทย ต้องใช้หลักฐานประกอบคำขอดังต่อไปนี้ &am p;nb sp; 1. ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลหนึ่งปี ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ หรือใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ ตามกฎหมายไทย ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ (โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาต ขับรถดังกล่าวได้จะต้องได้รับใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราวมาแล้วไ ม่น้อยกว่าหนึ่งปี) พร้อมภาพถ่าย 2. หนังสือเดินทาง (VISA ประเภท NON-IMMIGRANT) พร้อมภาพ 3. ใบรับรองถิ่นฐานที่อยู่ในประเทศไทย ออกโดยสถานทูต หรือหน่วยงานราชการ 4. รูปถ่ายขนาด 4x6 เซนติเมตร (2 นิ้ว) จำนวน 2 รูป (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน) 5. หนังสือมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเอง)

    จาก กระทรวงต่างประเทศ



    ข้อมูลจาก
    http://www.weddingsquare.com/forum/f...TID=77441&PN=1
    มาแบบครบเลย อิอิ
    ขอบคุณ SBN จ๊ะ

    หนังสือสวดมนต์ แจกฟรี ฟรี ฟรี
    ขอเชิญเพื่อนๆ SBN รับหนังสือสวดมนต์ฟรี
    เพื่อสวดบูชา ก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล
    แก่ตัวท่านเองและครอบครัว
    หรือจะเอาไปช่วยกันบอกบุญต่อก็ดียิ่งๆขึ้นไปเลยนะจ๊ะ

    ตามลิ้งค์นี้เลย
    http://siambrandname.com/forum/showthread.php?t=390560

  4. #4
    Join Date
    Apr 2010
    Posts
    0
    มาขอฟังด้วยค่ะ

  5. #5
    wnonach's Avatar
    wnonach is offline Trusted Member
    Join Date
    Apr 2010
    Posts
    458
    ขอเล่าจากประสบการณ์ของตัวเองนะคะ เรื่องชื่อสกุล ถ้าคุณ จขกท ไม่อยากเปลี่ยนก็ไม่เป็นไรค่ะ ในกรณีอยู่ที่ต่างประเทศ ถ้าเปลี่ยนไปใช้ของสามีจะสดวกในเรื่องของการทำธุระกรรมต่างๆในประเทศที่สามีอยู่อะค่ะ และคุณ จขกท ก็สามารถใช้ชื่อสกุลของตัวเอง แล้วก็ต่อด้วย ชื่อสกุลของสามีได้เหมือนกัน เช่น นางสาว ใจดี แสนสวย วิลเลี่ยม ถ้าต้องการนะคะ


    การจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย และนีคือขั้นตอนในการทำของประเทศนอร์เวย์ หนึ่งไม่แน่ใจแต่ละประเทศมีขั้นตอนในการทำอย่างไรบ้างนะคะ

    เอกสารจดทะเบียนสมรส ที่ต้องใช้คือ หนังสือเดินทาง ทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน ถ้าเปลียนชื่อ ต้องนำเอกสารไปด้วย ถ้าเคยแต่งงานมาแล้ว ก็ต้องนำเอกสารการหย่า มาด้วย ถ่ายเอกสาร 1 ชุด เพื่อนำเอกสารทั้งหมดไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ และต้องให้บริษัทที่มีใบอนุญาติในการแปลเอกสารเท่านั้นแปลให้ เพราะทางบริษัทที่แปลจะต้องมีตราแสตมป์ของบริษัทบนเอกสารทุกแผ่นด้วยค่ะ

    หลังจากแปลเรียบร้อยแล้วก็ถ่ายเอกสารอีก 1 ชุด แล้วก็นำเอกสารเหล่านั้นไปที่กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้ทางกระทรวงรับรองอีกทีค่ะ คุณ จขกท ไม่ต้องไปเองก็ได้ค่ะ ให้ messenger นำไปที่กระทรวงได้แต่เขาจะต้องถือบัตรประชาชนของคุณ และใบมอบอำนาจ พร้อมเอกสารตัวจริงไปด้วยค่ะ ส่วนนี้ของฝ่ายหญิงน้า


    มาดูของฝ่ายชายกันบ้าง เอกสารทุกอย่างเหมือนของฝ่ายหญิง แต่มีเพิ่มมานิดหน่อยคือ เอกสารการเงินย้อนหลัง 6 เดือน เอกสารรับรองการทำงาน ใบรับรองโสด เอกสารทุกอย่างต้องมีแสตมป์รับรองอะค่ะ คือทำเอกสารเหมือนขอวีซ่าเลย หนึ่งไม่เข้าใจเหมือนกันค่ะแต่ก็ทำตาม


    หลังจากเตรียมเอกสารเรียบร้อยทุกอย่างแล้วก็นำเอกสารไปยื่นที่สถานทูต อ้อลืมบอกควรกรอกข้อมูลไปจากที่บ้านให้เรียบร้อยนะคะ แบบฟอร์มเอกสารการแต่งงานปริ้นท์เองได้ค่ะ หรือถ้าไม่แน่ใจก็ไปขอที่สถานทูตนั้นๆจะได้แน่ใจ


    เมื่อยื่นเอกสารเรียบร้อยก็ต้องรอ อย่างน้อย 90 วัน ทางสถานทูต ที่ประเทศไทย ต้องส่งเอกสารทั้งหมด ไปที่ประเทศของสามีเพี่อทำการตรวจสอบค่ะ ถ้าไม่มีปัญหาอะไร เอกสารครบทุกอย่าง หลังจาก 90 วันทางสถานทูตจะแจ้งให้ไปรับเอกสารอนุญาตแต่งงาน



    โล่งอกไป แต่อย่าเพิ่งดีใจยังๆไม่จบแค่นี้ค่ะ นำเอกสารที่เรามีทั้งหมดนั้นแหละค่ะ ไปทีเขตที่จะทำการจดทะเบียนสมรส เพื่อว่าทางเขตต้องการเอกสารอะไรเพิ่มเติมเราก็ต้องมีพร้อมจะได้ไม่เสียเวลา ขั้นตอนก็ไม่มีอะไรยุ่งยากนะคะ แต่ทางเขตจะให้เราเป็นล่ามถามสามี ทางเขตจะตั้งคำถามเองแล้วก็ให้เราอธิบายอีกที ก็เรียบร้อยแล้วนะคะ



    หลังจากจดทะเบียนสมรสและเปลียนมาใช้ชื่อสกุลสามีแล้ว สิ่งที่จำเป็นต้องเปลียนก็คื่อ ทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน หนังสือเดินทาง ควรเปลี่ยน บัตรประชาชนก่อนนะคะ แล้วค่อยมาเปลี่ยน หนังสือเดินทาง การเปลี่ยนหนังสือเดินทาง ก็ไปที่เซ็นทรัลบางนา ที่ทำหนังสือเดินทาง ไม่แน่ใจตอนนี้ยังทำอยู่ที่นั้นหรือเปล่าค่ะ เตรียมเอกสาร ทะเบียนสมรส บัตรประชาชน เหมือนเดิมค่ะ แฮ่ๆๆ แต่ไม่ต้องแปล แล้วก็รูปถ่ายด้วย ไม่วุ่นวายมากแล้วค่ะ



    แล้วเรื่องทรัพย์สิน บ้าน ทีดิน อะไรพวกนี้หนึ่งไม่ได้เปลี่ยนอะค่ะ เพราะว่าของเราเหล่านั้นเราซื้อก่อนแต่งงานนานแล้ว หรือว่าถ้าเราขาย เราก็มีเอกสารที่เป็นของเราอยู่ ไม่ว่าเราจะเปลี่ยนไปใช้ชื่อสกุลสามีก็ตาม แต่ในกรณีของคุณ จขกท ลองติดต่อไปที่กรมที่ดินแล้วสอบถามดูก่อนนะคะ ว่าเราควรทำอย่างไรบ้าง


    ยังไงคุณ จขกท ติดต่อไปที่สถานทูตก่อน เพื่อถามข้อมูลนะคะ แต่ถ้าโชคไม่ดีเจอคนร้ายๆ ก็จะเหนื่อยและท้อแท้เป็นอย่างมาก หนึ่งใช้วิธีส่งเมลย์ไปที่สถานทูตที่ประเทศนอร์เวย์เลยค่ะ แล้วถามเขาทุกอย่างเป็นข้อๆแล้วทางนั้นก็จะให้ข้อมูลมาทั้งหมด ทำอะไร ยังไง อย่างไร หรือไม่ก็เข้าไปเช็คทางอินเตอร์เน็ท เพื่อหาข้อมูล ให้แน่ใจอีกทีก็ได้นะคะ


    ข้อมูลของหนึ่งอาจจะช่วยเป็นแนวทางให้คุณ จขกท ได้บ้าง แต่อาจจะไม่ทั้งหมดนะคะ
    You Can Try Without Succeeding. But You Can Not Succeed Unless You Try!



    BIG THANKS FOR SBN

  6. #6
    Join Date
    Apr 2010
    Posts
    13
    ขอขอบคุณคุณหนึ่งและเพื่อนๆทุกๆท่านมา ณ.ที่นี้ด้วยค่ะ
    พอจะเริ่มเข้าใจบ้างแล้ว...สงสัยจะต้องถามสถานฑูตAustraliaก่อนน่ะค่ะ
    ขอบคุณมากค่ะ
    อิง.
    This's my love return to you...

  7. #7
    Join Date
    Apr 2010
    Posts
    89
    อิอิ มาตอนตลาดวาย
    เท่าที่ศึกษาข้อมูลมานะคะ

    1.เราต้องเปลี่ยนนามสกุลไปใช้นามสกุลเค้าไหมค่ะ
    - no need to change your last name because in Thai marriage 'laws you can use your own last name ka.
    2. และไม่ทราบว่าเราใช้นามสกุลไทยของเราหรือนามสกุลฝรั่งตามสามีอันไหนดีกว่ากันค่ะ
    - If you 're not stay in Thailand ... I prefer husband's last name , I have a feeling also that it'd be less complicate to get a job or any other business.

    3. ประกอบกับดิฉันมีธุรกิจส่วนตัวอยู่ที่เปิดไปแล้วได้ซักพักและบ้านที่ซื้อใน ชื่อของดิฉันที่กำลังจะเตรียมโอนในช่วงมกรานี้ ไม่ทราบว่าถ้าต้องเปลี่ยนไปใช้นามสกุลของสามีจะต้องเปลี่ยนเอกสารอะไรบ้าง ค่ะ
    - ต้องถามกับกรมที่ดินค่ะ

    4. พอดีทราบมาจากเพื่อนสนิทว่าในการจดทะเบียนต้องใช้ใบโสดของคุณสามีไปทำการยืน ยันในการจดทะเบียนด้วยใช่ไหมค่ะ
    - YES

    5. และพอจดทะเบียนเสร็จแล้วทางเราต้องไปทำการแจ้งที่สถานฑูตอีกหรือไหมค่ะ
    -You MUST inform the Embassy ka , เพราะว่าต้องให้สถานทูติรับรองบุตรเราค่ะ แล้วสถานทูติจะส่งเรื่องไปอำเภอที่แฟนอยู่ แล้วรับรองสภาพบุคคลของแฟนว่า "สมรส" ค่ะ หากไม่ยื่น จะทำให้ บุตรไม่ได้รับการรับรองโดยประเทศของแฟนและ ทำให้ แฟนสามารถจดทะเบียนได้อีกรอบในประเทศเค้าค่ะ

    sorry to type english, i have blurr sight -seeing.
    Love, like a river, will cut a new path
    whenever it meets an obstacle
    .

Posting Permissions

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •