Previous
Next
Downtown
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก Downtown
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก
Page 1 of 2 1 2 LastLast
Results 1 to 10 of 13

Thread: ด่วน !!!! พระราชดำรัสให้แจ้งให้ทราบ "ถ้าเขื่อนศรีนครินทร์..แตก!!!

  1. #1
    due's Avatar
    due is offline Trusted Member
    Join Date
    Apr 2010
    Posts
    64

    ด่วน !!!! พระราชดำรัสให้แจ้งให้ทราบ "ถ้าเขื่อนศรีนครินทร์..แตก!!!

    พระราชดำรัสให้แจ้งให้ทราบ "ถ้าเขื่อนศรีนครินทร์..แตก!!!

    ด้วยพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ที่ท่านทรงมีพระราชดำรัสให้แจ้งประชาชนให้ทราบ
    'ถ้าเขื่อนศรีนครินทร์..แตก!!!

    นายสิทธิชัย โควสุรัตน์ (มท.3)
    'อยากชี้แจงให้นักท่องเที่ยวทราบว่าถ้าแผ่นดินไหวแล้วทำให้เขื่อนแตก
    น้ำก็จะใช้เวลาเดินทางไปยังที่ต่างๆประมาณ 15 ชั่วโมง นักท่องเที่ยวยังสามารถหลบหนีได้ทัน'
    นายสิทธิชัย กล่าวว่า การตรวจเขื่อนครั้งนี้
    เนื่องจากประชาชนจังหวัดกาญจนบุรีและพื้นที่ใกล้เคียงวิตกว่าหาก
    เกิดแผ่นดินไหวอาจส่งผลกระทบต่อผู้ที่อยู่ในแนวลุ่มน้ำของจังหวัดได้
    เพราะจังหวัดกาญจนบุรีเป็นที่ตั้งของ เขื่อนกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง
    คือ เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ์ ตั้งอยู่บนแนวแขนงรอยเลื่อน
    ศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์

    ที่แยกจากแนวรอยเลื่อนสะแกงในประเทศพม่า. -สำนักข่าวไทย
    ประเด็นสำคัญสำหรับเรื่องนี้ก็คือ
    ด้วยพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ที่ท่านทรงมีพระราชดำรัสให้แจ้งประชาชนให้ทราบ 'ความจริง' ตรงจุดนี้
    กรณีเขื่อนศรีนครินทร์ ซึ่งหากเกิดแผ่นดินไหว ตรงรอยเลื่อน และเขื่อนแตกออก
    'ผลก็คือ'
    - ด้วยพลังงานของน้ำ ที่มีปริมาณมหาศาล ตัว จ. กาญจนบุรี
    และพื้นที่ใกล้เคียงในแนวเส้นทางน้ำหลากลงมาราบเป็นหน้ากลองแน่นอน
    มีเวลาอพยพ 5 ชั่วโมง ดังนั้นท่านที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงต้องมีการเตรียมตัว กันเอาไว้บ้างแล้วครับ


    - เป้ฉุกเฉิน
    - แผนอพยพของครอบครัว..เส้นทางอพยพ

    - จังหวัด ที่อยู่ในเส้นทางน้ำในระดับต่อลงมา ย่อมเกิดผลกระทบตามไปด้วยแน่นอน
    และระดับพลังงานการ ทำลายล้าง ไม่น้อยกว่าสึนามิ

    - สำหรับกรุงเทพมหานคร หากเขื่อนศรีแตก มีเวลาอพยพ 35 ชั่วโมง
    ซึ่งต้องคำนวนเผื่อกรณีที่ รวบรวมคนทั้งครอบครัว เผื่อรถติดหาเส้นทางอพยพ
    ที่ไม่สวนกระแสน้ำเพราะน้ำวิ่งมาตามถนนสายหลักอย่างเพชรเกษมแน่นอน

    ที่สำคัญหากน้ำทะเลหนุน ระดับน้ำที่คำนวนเอาไว้อาจสูงเกิน 2 เมตร หรือตึก 2 ชั้นได้
    ดังนั้นตั้งสติเอาไว้ ใช้ปัญญาพิจารณา หาแนวทางป้องกันตัวเองอย่าได้ประมาทในการทั้งปวง


    เรารักอะไรก็จะทุกข์เพราะสิ่งนั้น
    เพราะว่าสิ่งทั้งหลายล้วนแปรปรวนทั้งสิ้น
    ไม่มีอะไรคงที่อยู่ได้ตลอดเวลา

  2. #2
    greenpark's Avatar
    greenpark is offline Trusted Member
    Join Date
    Apr 2010
    Posts
    98
    แห แห แห ถ้าแตกจริงเราไม่รอดแน่ๆ ไหนจะของ ไหนจะแมว บ้านเราก็ ถนน เพชรเกษมด้วย

  3. #3
    authentic_only's Avatar
    authentic_only is offline Trusted Member
    Join Date
    Apr 2010
    Posts
    2,832
    อยากทราบแหล่งที่มาและวันที่ที่ออกคำเตือนของข่าวนี้ค่ะ

    จะได้โทรไปบอกที่บ้าน ใจไม่ค่อยดี เพราะคำว่า ด่วน ค่ะ

    ขอบคุณค่ะ
    รักในหลวง และ ครอบครัว...

  4. #4
    TEDDY07's Avatar
    TEDDY07 is offline Trusted Member
    Join Date
    Apr 2010
    Posts
    3
    เหอะๆ ทำไงดี ขอบคุณพี่ดิวมากๆจ๊ะ
    ขอบคุณ SBN จ๊ะ

    หนังสือสวดมนต์ แจกฟรี ฟรี ฟรี
    ขอเชิญเพื่อนๆ SBN รับหนังสือสวดมนต์ฟรี
    เพื่อสวดบูชา ก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล
    แก่ตัวท่านเองและครอบครัว
    หรือจะเอาไปช่วยกันบอกบุญต่อก็ดียิ่งๆขึ้นไปเลยนะจ๊ะ

    ตามลิ้งค์นี้เลย
    http://siambrandname.com/forum/showthread.php?t=390560

  5. #5
    AnnAnnAntz's Avatar
    AnnAnnAntz is offline Trusted Member
    Join Date
    Apr 2010
    Posts
    210
    พี่ดิวค่ะ
    ขออนุญาตมาแบ่งปันข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ค่ะ..

    ส่วนตัวแอนก็กังวลเหมือนกันค่ะเพราะคุณพ่อคุณแม่อยู่ฝั่งธน ก็เลยเข้าไปหาข้อมูลในเนท พยายามหาข้อมูลที่ว่าหากเขื่อนแตกจริงๆ น้ำจะไหลจะมาทางถนนเส้นใดบ้าง และวิธีการรับมือกับเหตุการณ์เขื่อนแตกนี้แต่ก็ไม่มีเลยค่ะ น่าแปลกที่มีการให้ข่าวเพื่อเตือนภัยแต่ไม่มีวิธีบอกเรื่องการรับมือใดๆทั้งสิ้นจากสื่อไหนๆเลยค่ะ

    และในเนทก็จะพบว่าข่าวเขื่อนแตกถูกปล่อยออกมาเป็นระยะตั้งแต่ปี 48
    >>>http://www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid=5181&filename=index
    >>>http://www.kanchanaburi.com/kannews/01329.html
    >>>http://www2.nurnia.com/tag/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81/

    ล่าสุดผอ.เขื่อนศรีนครินทร์ให้ข่าวเขื่อนสามารถรับแรงสั่นสะเทือนได้ถึง8ริกเตอร์
    >>>http://www2.nurnia.com/6772/09/technology-innovation-education-engineering-it/

    ห้องหว้ากอที่พันทิปนะคะ
    http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2008/10/X7065723/X7065723.html

    ที่ดูจะเป็นชิ้นเป็นอันสุดก็ในพันทิปนี่แหละค่ะ ที่มีการคาดคะเนจากเพื่อนๆว่าน้ำจะไหลมาจากทางใดบ้าง และความสูงของน้ำที่จะไหลมา

    ถ้าเพื่อนๆคนไหนมีข้อมูลเพิ่มจากนี้เอามาบอกด้วยเด้อออ อยากทราบเรื่องนี้เหมือนกันค่ะ ^^

    . . . . . . . .
    if u want smthing very badly, set it free.
    if it come back 2u, it's ur 4ever.
    if it doesn't, it was never ur 2 begin with.

  6. #6
    Join Date
    Apr 2010
    Posts
    6

    ทำงานกฟผ. ขอให้ข้อมูลค่ะ

    ข้อเท็จจริงเรื่องความมั่นคงของเขื่อนศรีนครินทร์

    ครั้งแล้ว ครั้งเล่า เกือบจะทุกปีที่ข่าวลือเกี่ยวกับ เขื่อนจะแตกในจังหวัดกาญจนบุรี ได้ถูกเผยแพร่อย่างกว้างขวาง และกลายเป็นประเด็นที่สร้างความสนใจได้ทุกครั้ง โดยเฉพาะในฤดูฝน การแพร่กระจายของข่าวสารที่บิดเบือนและขาดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุน ทั้งโดยสื่อมวลชน นักวิชาการที่มีชื่อเสียง ผู้บริหารประเทศ และบุคคลทั่วไป ซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจผิด และความไม่มั่นใจของนักท่องเที่ยวนั้นได้ก่อให้เกิดการสูญเสีย ทางเศรษฐกิจของประชาชนชาวกาญจนบุรี เป็นมูลค่านับสิบล้านบาท เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ข่าวสารและข่าวลือดังกล่าวได้สร้างผลกระทบด้านลบอื่น ๆ ตามมาด้วยเช่นกัน เช่นความไม่มั่นใจของนักลงทุนในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ความตื่นตระหนกของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้เขื่อน และความรู้สึกที่เป็นลบต่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ดูแลเขื่อน รวมทั้ง การปล่อยข่าวลือที่หวังผลของมิจฉาชีพต่างๆ สิ่งต่างๆเหล่านี้ถ้าความจริงที่ถูกต้องตามหลักทางวิทยาศาสตร์หรือทางวิชาการถูกเปิดเผยออกมา อย่างตรงไปตรงมาต่อสาธารณชน ก็จะสามารถเข้าใจและหายสงสัย เกิดความมั่นใจต่อความมั่นคงของเขื่อนศรีนครินทร์อย่างเต็มเปี่ยม คือ

    1. การก่อสร้างเขื่อนได้ดำเนินการบนพื้นฐานวิศวกรรมศาสตร์ที่เข้มงวด มีการออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างโดยบริษัทที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ EPDC จาก ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีแผ่นดินไหวมาก และก่อสร้างโดยบริษัทผู้มีประสบการณ์ระดับโลก บริษัท VIANINI จากประเทศอิตาลี ภายใต้การตรวจสอบของธนาคารโลก (World Bank) โดยให้ INTERNATIONAL BOARD OF CONSULTANT (IBC) เป็นผู้ตรวจสอบ นอกจากนี้การดำเนินงานเพื่อตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อนได้ยึดถือมาตรฐานสูงสุดด้านวิศวกรรมของสมาคมเขื่อนใหญ่โลก International Commission on Large Dam (ICOLD)

    2. นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวที่มีชื่อเสียง เชื่อถือได้ในประเทศไทยให้ข้อมูลเกี่ยวกับรอยเลื่อนในประเทศไทยว่า ไม่สามารถส่งผลกระทบต่อเขื่อนได้เลยคือ
    โอกาสการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยแทบไม่มีเลย นอกจากนี้ยังไม่มีหลักฐานว่ารอยเลื่อนในประเทศไทยที่มีพลังนี้ยังไม่เกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรง (รอยเลื่อนที่มีพลัง หมายถึง รอยเลื่อนที่มีอายุน้อยกว่า 10,000 ปี รอยเลื่อนจะมีการสะสมของพลังงานไว้ เมื่อถึงจุดๆหนึ่งจะมีการขยับตัว เป็นที่มาของแผ่นดินไหว ส่วนรอยเลื่อนที่ไม่มีพลังหมายถึงรอยเลื่อนที่มีอายุมากเกิน 10,000 ปี ไม่สามารถสะสมพลังงานทำให้เกิดการสั่นไหวของแผ่นดินได้)
    รอยเลื่อนสะแกงในประเทศพม่า ซึ่งเป็นรอยเลื่อนใหญ่และยังมีพลังอยู่ มีการขยับตัวหรือการเคลื่อนตัวจะไม่รุนแรงเท่ากับการขยับตัวของเปลือกโลกบริเวณขอบทวีป เช่น การเกิดสึนามิที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย (เกิดขนาด 9.0 ริคเตอร์) แต่สำหรับรอยเลื่อนที่
    เป็นแขนงของรอยเลื่อนสะแกงที่แยกเข้ามาในประเทศไทยคือ แนวแขนงรอยเลื่อนด่านเจดีย์สามองค์ และแนวแขนงรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ยังไม่พบว่าเกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรง ดังนั้นรอยเลื่อนดังกล่าวจึงไม่มีอันตรายอย่างที่เข้าใจกัน

    3. ด้านการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินทุกเขื่อน มีเครื่องวัดขนาดและระยะห่างของจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว และเครื่องวัดอัตราเร่งหรือวัดแรงสั่นสะเทือน ที่มากระทำกับตัวเขื่อน ทั้งหมดเป็นระบบ DIGITAL ที่ทันสมัยที่เชื่อมโยงกับศูนย์ข้อมูลแผ่นดินไหวของ กฟผ. ที่บางกรวย และถ่ายทอดข้อมูลไปที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มีการเฝ้าระวังต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวตลอดเวลา ถ้ามีเหตุการณ์ที่รุนแรงก็สามารถแจ้งเตือนผู้ที่อยู่ในจุดเสี่ยงได้ทันที เพื่อการอพยพต่อไป สำหรับ กฟผ. มีการดำเนินการ คือ
    - มีการตรวจสอบสภาพเขื่อนเป็นประจำ หากเกิดแผ่นดินไหว ในรัศมี 200 กม. ในระดับ 5.0 ริคเตอร์จะมีการตรวจสอบเขื่อนทันที และถ้ากักเก็บน้ำได้เกิน 90 % ก็จะมีการตรวจสอบทันทีเช่นกัน ในเวลาปกติทุก 2 ปี จะมีการตรวจสอบใหญ่ โดยคณะกรรมการฯและทุกวันจะมีการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ประจำเขื่อน
    - มีมาตรการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ร่วมกับจังหวัดกาญจนบุรี คือจัดทำแผนเตรียมรับสถานการณ์ฉุกเฉิน

    4. กฟผ.ได้ให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทำการศึกษาวิจัย โดยนำแรงกระทำจากแผ่นดินไหวรุนแรง
    ทั่วโลกมาทดลองกระทำต่อเขื่อนศรีนครินทร์ซึ่งผลการทดลองพบว่า เขื่อนสามารถรับแรง
    แผ่นดินไหวได้สูงกว่าที่ออกแบบไว้ถึง 10 เท่า หรือเท่ากับความรุนแรงของแผ่นดินไหวขนาด
    ใหญ่ (7.0 ริคเตอร์)โดยมีความเสียหายเล็กน้อย คือสันเขื่อนมีการทรุดตัวเพียง 3.4 ม. น้อยกว่า
    ความสูงของสันเขื่อนที่เผื่อไว้เหนือระดับกักเก็บน้ำ 5.0 ม. ดังนั้น จึงไม่มีผลต่อการวิบัติ
    ของตัวเขื่อน แกนดินเหนียวของเขื่อนหากเกิดรอยร้าวจากการเคลื่อนตัวจะถูกวัสดุในชั้นวัสดุ
    กรองเคลื่อนตัวมาอุดรอยแยกที่เกิดขึ้นเอง ทำให้แกนดินเหนียวยังคงเก็บกักน้ำได้และมีความ
    มั่นคงเพียงพอ ไม่พังทลายลงมา

    5. สาเหตุหลักที่อาจทำให้เขื่อนเกิดปัญหา อ้างอิงจากหนังสือ DAMS AND PUBLIC SAFETY , 1983 จะเห็นได้ว่าปัญหาจากแผ่นดินไหวมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยที่สุด แม้ว่าเขื่อนจะตั้งอยู่ในเขตพื้นที่แผ่นดินไหวรุนแรงก็ตาม


    สถิติสาเหตุแห่งการพิบัติของเขื่อนในโลก
    ลำดับที่ สาเหตุ แห่งการพิบัติ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์
    1 ความเสียหายจากฐานรากเขื่อน 40 เปอร์เซ็นต์
    2 อาคารระบายน้ำล้นมีขนาดไม่เพียงพอ 23 เปอร์เซ็นต์
    3 การก่อสร้างไม่ดี 12 เปอร์เซ็นต์
    4 การทรุดตัวอย่างรุนแรง 10 เปอร์เซ็นต์
    5 แรงดันน้ำในตัวเขื่อนสูงมาก 5 เปอร์เซ็นต์
    6 เกิดจากสงคราม 3 เปอร์เซ็นต์
    7 การไหลเลื่อนของลาดเขื่อน 2 เปอร์เซ็นต์
    8 วัสดุก่อสร้างไม่ดี 2 เปอร์เซ็นต์
    9 การใช้งานเขื่อนไม่ถูกต้อง 2 เปอร์เซ็นต์
    10 แผ่นดินไหว 1 เปอร์เซ็นต์
    ซึ่งสอดคล้องกับประธานคณะกรรมการด้านแผ่นดินไหวขององค์การเขื่อนใหญ่ระหว่างชาติ คือ ดร.มาติน วีแลนด์ ได้เขียนบทความไว้มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวว่า เขื่อนประเภทหินถมแกนดินเหนียว (เขื่อนศรีฯ) และเขื่อนหินถมดาดหน้าด้วยคอนกรีต (เขื่อนวชิราลงกรณ) จะสามารถทนทานต่อแรงแผ่นดินไหวได้ดีกว่าเขื่อนประเภทอื่น
    6. ในปี 2526 ได้เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.9 ริกเตอร์ มีศูนย์กลางอยู่ที่ห้วยแม่พลู ซึ่งห่างจากเขื่อนศรีนครินทร์ 50 กม. โดยการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนั้น ก็ไม่ได้สร้างความเสียหายใด ๆ แก่เขื่อนศรี-
    นครินทร์
    7. 12 พฤษภาคม 2551 เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในประเทศจีนมีขนาด 8 ริกเตอร์ ประชาชน
    เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก บ้านเรือนเสียหายอย่างหนัก แต่เขื่อนหินถมแกนดินเหนียว และเขื่อนหิน
    ถมแกนดินเหนียวดาดหน้าด้วยคอนกรีต ซึ่งอยู่ห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว 40 และ 20 กม.
    ตามลำดับไม่มีความเสียหายเลย เสียหายแต่ในส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคารบางส่วนเท่านั้น
    จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า เขื่อนศรีนครินทร์ยังมีความมั่นคง แข็งแรง และ
    ปลอดภัยจากแผ่นดินไหวในทุกกรณีที่มีการกล่าวอ้างกันในข่าวที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ดังนั้น เราจึง
    มั่นใจได้ว่าเขื่อนศรีนครินทร์ ยังมีความมั่นคงปลอดภัยต่อแรงกระทำจากแผ่นดินไหวโดยไม่เกิดการ
    พังทลาย และไม่เกิดน้ำหลากลงไปทำลายชุมชนท้ายน้ำอย่างแน่นอน
    *****************
    นายกิตติ ตันเจริญ
    ผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์ เรียบเรียง
    นายวีรชัย ไชยสระแก้ว
    ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์-บริหาร ผู้ตรวจทาน
    8/1/52

  7. #7
    Join Date
    May 2010
    Posts
    6
    ไม่รู้จะหนีไปไหนเพราะอยู่ราชบุรี...โดนเต็ม ๆ ค่ะ

    มันจะท่วมสูงถึงไหนเนี่ย เคยมีประสบการณ์น้ำท่วมที่ราชบุรีรู้สึกว่าน่าจะ 10-13 ปีที่แล้ว ที่เค้าต้องระบายน้ำออกจากเขื่อนศรีนครินทร์ออกเยอะเหมือนกันเนื่องจากเขื่อนรับปริมาณน้ำในปีนั้นไม่ไหวและน้ำทะเลจากทางด้านสมุทรสงครามก็หนุนเข้ามา ผลคือน้ำท่วมทั่วตัวเมืองราชบุรีเลยค่ะ สูงประมาณเข่าได้ ย้ำว่าทั้งจังหวัดเลยเพราะขนาดตรงถนนเพชรเกษมสายใหม่ซึ่งสูงกว่าตัวเมืองน้ำยังสูงถึงประมาณเลยตาตุ่มขึ้นมา มีสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลอง (ซึ่งตรงนั้นเป็นเขื่อนเล็ก ๆ) เชื่อมระหว่างฝั่งถนนเพชรเกษมกับฝั่งเมืองที่เป็นตลาด เป็นสะพานสำหรับรถวิ่งและมีทางรถไฟขนานด้วย ปีนั้นเลยได้เห็นรถไฟวิ่งในน้ำ ตื่นเต้นกันใหญ่เลย

    คนที่ทำงานหนักที่สุดเป็นตำรวจกับทหารเกณฑ์ค่ะ ช่วยกันพยายามสูบน้ำออกจากโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรีเพราะถ้าน้ำท่วมในโรงพยาบาลจะเรื่องใหญ่ เชื้อโรคจะระบาด ปกติรถดับเพลิงเอาไว้บรรทุกน้ำ แต่ตอนนั้นเค้าสูบน้ำจากที่ท่วมเอาใส่รถดับเพลิงไปปล่อยที่อื่นเพราะรอบ ๆ มันก็ท่วมไปหมด ทุลักทุเลน่าดู ดีที่ตอนนั้นท่วมอยู่แค่ 2 วันค่ะ

  8. #8
    authentic_only's Avatar
    authentic_only is offline Trusted Member
    Join Date
    Apr 2010
    Posts
    2,832
    ขอบคุณ คุณ rocky_cb สำหรับข้อมูลมากๆ ค่ะ
    กำลังกังวลใจ เพราะตอนนี้ไม่อยู่บ้าน แต่เปิดดูข่าวทางเน็ทก็ไม่เห็นมีอะไร ค่อยยังชั่วหน่อยค่ะ
    รักในหลวง และ ครอบครัว...

  9. #9
    due's Avatar
    due is offline Trusted Member
    Join Date
    Apr 2010
    Posts
    64
    Quote Originally Posted by rocky_cb View Post
    ข้อเท็จจริงเรื่องความมั่นคงของเขื่อนศรีนครินทร์

    ครั้งแล้ว ครั้งเล่า เกือบจะทุกปีที่ข่าวลือเกี่ยวกับ เขื่อนจะแตกในจังหวัดกาญจนบุรี ได้ถูกเผยแพร่อย่างกว้างขวาง และกลายเป็นประเด็นที่สร้างความสนใจได้ทุกครั้ง โดยเฉพาะในฤดูฝน การแพร่กระจายของข่าวสารที่บิดเบือนและขาดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุน ทั้งโดยสื่อมวลชน นักวิชาการที่มีชื่อเสียง ผู้บริหารประเทศ และบุคคลทั่วไป ซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจผิด และความไม่มั่นใจของนักท่องเที่ยวนั้นได้ก่อให้เกิดการสูญเสีย ทางเศรษฐกิจของประชาชนชาวกาญจนบุรี เป็นมูลค่านับสิบล้านบาท เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ข่าวสารและข่าวลือดังกล่าวได้สร้างผลกระทบด้านลบอื่น ๆ ตามมาด้วยเช่นกัน เช่นความไม่มั่นใจของนักลงทุนในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ความตื่นตระหนกของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้เขื่อน และความรู้สึกที่เป็นลบต่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ดูแลเขื่อน รวมทั้ง การปล่อยข่าวลือที่หวังผลของมิจฉาชีพต่างๆ สิ่งต่างๆเหล่านี้ถ้าความจริงที่ถูกต้องตามหลักทางวิทยาศาสตร์หรือทางวิชาการถูกเปิดเผยออกมา อย่างตรงไปตรงมาต่อสาธารณชน ก็จะสามารถเข้าใจและหายสงสัย เกิดความมั่นใจต่อความมั่นคงของเขื่อนศรีนครินทร์อย่างเต็มเปี่ยม คือ

    1. การก่อสร้างเขื่อนได้ดำเนินการบนพื้นฐานวิศวกรรมศาสตร์ที่เข้มงวด มีการออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างโดยบริษัทที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ EPDC จาก ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีแผ่นดินไหวมาก และก่อสร้างโดยบริษัทผู้มีประสบการณ์ระดับโลก บริษัท VIANINI จากประเทศอิตาลี ภายใต้การตรวจสอบของธนาคารโลก (World Bank) โดยให้ INTERNATIONAL BOARD OF CONSULTANT (IBC) เป็นผู้ตรวจสอบ นอกจากนี้การดำเนินงานเพื่อตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อนได้ยึดถือมาตรฐานสูงสุดด้านวิศวกรรมของสมาคมเขื่อนใหญ่โลก International Commission on Large Dam (ICOLD)

    2. นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวที่มีชื่อเสียง เชื่อถือได้ในประเทศไทยให้ข้อมูลเกี่ยวกับรอยเลื่อนในประเทศไทยว่า ไม่สามารถส่งผลกระทบต่อเขื่อนได้เลยคือ
    โอกาสการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยแทบไม่มีเลย นอกจากนี้ยังไม่มีหลักฐานว่ารอยเลื่อนในประเทศไทยที่มีพลังนี้ยังไม่เกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรง (รอยเลื่อนที่มีพลัง หมายถึง รอยเลื่อนที่มีอายุน้อยกว่า 10,000 ปี รอยเลื่อนจะมีการสะสมของพลังงานไว้ เมื่อถึงจุดๆหนึ่งจะมีการขยับตัว เป็นที่มาของแผ่นดินไหว ส่วนรอยเลื่อนที่ไม่มีพลังหมายถึงรอยเลื่อนที่มีอายุมากเกิน 10,000 ปี ไม่สามารถสะสมพลังงานทำให้เกิดการสั่นไหวของแผ่นดินได้)
    รอยเลื่อนสะแกงในประเทศพม่า ซึ่งเป็นรอยเลื่อนใหญ่และยังมีพลังอยู่ มีการขยับตัวหรือการเคลื่อนตัวจะไม่รุนแรงเท่ากับการขยับตัวของเปลือกโลกบริเวณขอบทวีป เช่น การเกิดสึนามิที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย (เกิดขนาด 9.0 ริคเตอร์) แต่สำหรับรอยเลื่อนที่
    เป็นแขนงของรอยเลื่อนสะแกงที่แยกเข้ามาในประเทศไทยคือ แนวแขนงรอยเลื่อนด่านเจดีย์สามองค์ และแนวแขนงรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ยังไม่พบว่าเกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรง ดังนั้นรอยเลื่อนดังกล่าวจึงไม่มีอันตรายอย่างที่เข้าใจกัน

    3. ด้านการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินทุกเขื่อน มีเครื่องวัดขนาดและระยะห่างของจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว และเครื่องวัดอัตราเร่งหรือวัดแรงสั่นสะเทือน ที่มากระทำกับตัวเขื่อน ทั้งหมดเป็นระบบ DIGITAL ที่ทันสมัยที่เชื่อมโยงกับศูนย์ข้อมูลแผ่นดินไหวของ กฟผ. ที่บางกรวย และถ่ายทอดข้อมูลไปที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มีการเฝ้าระวังต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวตลอดเวลา ถ้ามีเหตุการณ์ที่รุนแรงก็สามารถแจ้งเตือนผู้ที่อยู่ในจุดเสี่ยงได้ทันที เพื่อการอพยพต่อไป สำหรับ กฟผ. มีการดำเนินการ คือ
    - มีการตรวจสอบสภาพเขื่อนเป็นประจำ หากเกิดแผ่นดินไหว ในรัศมี 200 กม. ในระดับ 5.0 ริคเตอร์จะมีการตรวจสอบเขื่อนทันที และถ้ากักเก็บน้ำได้เกิน 90 % ก็จะมีการตรวจสอบทันทีเช่นกัน ในเวลาปกติทุก 2 ปี จะมีการตรวจสอบใหญ่ โดยคณะกรรมการฯและทุกวันจะมีการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ประจำเขื่อน
    - มีมาตรการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ร่วมกับจังหวัดกาญจนบุรี คือจัดทำแผนเตรียมรับสถานการณ์ฉุกเฉิน

    4. กฟผ.ได้ให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทำการศึกษาวิจัย โดยนำแรงกระทำจากแผ่นดินไหวรุนแรง
    ทั่วโลกมาทดลองกระทำต่อเขื่อนศรีนครินทร์ซึ่งผลการทดลองพบว่า เขื่อนสามารถรับแรง
    แผ่นดินไหวได้สูงกว่าที่ออกแบบไว้ถึง 10 เท่า หรือเท่ากับความรุนแรงของแผ่นดินไหวขนาด
    ใหญ่ (7.0 ริคเตอร์)โดยมีความเสียหายเล็กน้อย คือสันเขื่อนมีการทรุดตัวเพียง 3.4 ม. น้อยกว่า
    ความสูงของสันเขื่อนที่เผื่อไว้เหนือระดับกักเก็บน้ำ 5.0 ม. ดังนั้น จึงไม่มีผลต่อการวิบัติ
    ของตัวเขื่อน แกนดินเหนียวของเขื่อนหากเกิดรอยร้าวจากการเคลื่อนตัวจะถูกวัสดุในชั้นวัสดุ
    กรองเคลื่อนตัวมาอุดรอยแยกที่เกิดขึ้นเอง ทำให้แกนดินเหนียวยังคงเก็บกักน้ำได้และมีความ
    มั่นคงเพียงพอ ไม่พังทลายลงมา

    5. สาเหตุหลักที่อาจทำให้เขื่อนเกิดปัญหา อ้างอิงจากหนังสือ DAMS AND PUBLIC SAFETY , 1983 จะเห็นได้ว่าปัญหาจากแผ่นดินไหวมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยที่สุด แม้ว่าเขื่อนจะตั้งอยู่ในเขตพื้นที่แผ่นดินไหวรุนแรงก็ตาม


    สถิติสาเหตุแห่งการพิบัติของเขื่อนในโลก
    ลำดับที่ สาเหตุ แห่งการพิบัติ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์
    1 ความเสียหายจากฐานรากเขื่อน 40 เปอร์เซ็นต์
    2 อาคารระบายน้ำล้นมีขนาดไม่เพียงพอ 23 เปอร์เซ็นต์
    3 การก่อสร้างไม่ดี 12 เปอร์เซ็นต์
    4 การทรุดตัวอย่างรุนแรง 10 เปอร์เซ็นต์
    5 แรงดันน้ำในตัวเขื่อนสูงมาก 5 เปอร์เซ็นต์
    6 เกิดจากสงคราม 3 เปอร์เซ็นต์
    7 การไหลเลื่อนของลาดเขื่อน 2 เปอร์เซ็นต์
    8 วัสดุก่อสร้างไม่ดี 2 เปอร์เซ็นต์
    9 การใช้งานเขื่อนไม่ถูกต้อง 2 เปอร์เซ็นต์
    10 แผ่นดินไหว 1 เปอร์เซ็นต์
    ซึ่งสอดคล้องกับประธานคณะกรรมการด้านแผ่นดินไหวขององค์การเขื่อนใหญ่ระหว่างชาติ คือ ดร.มาติน วีแลนด์ ได้เขียนบทความไว้มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวว่า เขื่อนประเภทหินถมแกนดินเหนียว (เขื่อนศรีฯ) และเขื่อนหินถมดาดหน้าด้วยคอนกรีต (เขื่อนวชิราลงกรณ) จะสามารถทนทานต่อแรงแผ่นดินไหวได้ดีกว่าเขื่อนประเภทอื่น
    6. ในปี 2526 ได้เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.9 ริกเตอร์ มีศูนย์กลางอยู่ที่ห้วยแม่พลู ซึ่งห่างจากเขื่อนศรีนครินทร์ 50 กม. โดยการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนั้น ก็ไม่ได้สร้างความเสียหายใด ๆ แก่เขื่อนศรี-
    นครินทร์
    7. 12 พฤษภาคม 2551 เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในประเทศจีนมีขนาด 8 ริกเตอร์ ประชาชน
    เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก บ้านเรือนเสียหายอย่างหนัก แต่เขื่อนหินถมแกนดินเหนียว และเขื่อนหิน
    ถมแกนดินเหนียวดาดหน้าด้วยคอนกรีต ซึ่งอยู่ห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว 40 และ 20 กม.
    ตามลำดับไม่มีความเสียหายเลย เสียหายแต่ในส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคารบางส่วนเท่านั้น
    จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า เขื่อนศรีนครินทร์ยังมีความมั่นคง แข็งแรง และ
    ปลอดภัยจากแผ่นดินไหวในทุกกรณีที่มีการกล่าวอ้างกันในข่าวที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ดังนั้น เราจึง
    มั่นใจได้ว่าเขื่อนศรีนครินทร์ ยังมีความมั่นคงปลอดภัยต่อแรงกระทำจากแผ่นดินไหวโดยไม่เกิดการ
    พังทลาย และไม่เกิดน้ำหลากลงไปทำลายชุมชนท้ายน้ำอย่างแน่นอน
    *****************
    นายกิตติ ตันเจริญ
    ผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์ เรียบเรียง
    นายวีรชัย ไชยสระแก้ว
    ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์-บริหาร ผู้ตรวจทาน
    8/1/52


    ขอบคุณที่นำเสนอข้อมูลอีกด้านนึงให้ทราบจ้า
    อ่านแล้วค่อยสบายใจและมั่นใจขึ้นมาเยอะเลย
    แต่เพื่อความไม่ประมาท ก็ระวังตัวไว้หน่อยก็ดีค่ะ
    เพราะความแน่นอน คือความไม่แน่นอน
    หนีได้ก็หนี หนีไม่ได้ ก็ปลงค่ะ
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    เรารักอะไรก็จะทุกข์เพราะสิ่งนั้น
    เพราะว่าสิ่งทั้งหลายล้วนแปรปรวนทั้งสิ้น
    ไม่มีอะไรคงที่อยู่ได้ตลอดเวลา

  10. #10
    due's Avatar
    due is offline Trusted Member
    Join Date
    Apr 2010
    Posts
    64
    Quote Originally Posted by authentic_only View Post
    อยากทราบแหล่งที่มาและวันที่ที่ออกคำเตือนของข่าวนี้ค่ะ

    จะได้โทรไปบอกที่บ้าน ใจไม่ค่อยดี เพราะคำว่า ด่วน ค่ะ

    ขอบคุณค่ะ

    เค๊าไม่ได้บอกวันเวลาที่ออกข่าวค่ะ
    เค๊าแค่บอกว่า ถ้าเขื่อนศรีณครินทร์แตก
    คือไม่ได้บอกว่าจะแตกแน่นอน หรือจะแตกเมื่อไหร่
    แต่ถ้าแตก น้ำจะมาถึงแต่ละจังหวัดใช้เวลาประมาณเท่าไหร่
    แล้วเราควรเตรียมตัวทำอย่างไรกันบ้างค่ะ
    แหะแหะแหะ ต้องขอโทษที่ทำให้ตกใจนะคะ
    เรารักอะไรก็จะทุกข์เพราะสิ่งนั้น
    เพราะว่าสิ่งทั้งหลายล้วนแปรปรวนทั้งสิ้น
    ไม่มีอะไรคงที่อยู่ได้ตลอดเวลา

Page 1 of 2 1 2 LastLast

Similar Threads

  1. Replies: 1
    Last Post: 05-19-2021, 02:42 PM
  2. Replies: 1
    Last Post: 05-05-2021, 02:06 PM
  3. Replies: 2
    Last Post: 05-04-2021, 02:04 PM
  4. Replies: 1
    Last Post: 03-29-2021, 04:38 PM
  5. Replies: 1
    Last Post: 03-28-2021, 10:35 PM

Posting Permissions

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •