Previous
Next
Downtown
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก Downtown
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก
Page 2 of 2 FirstFirst 1 2
Results 11 to 16 of 16

Thread: รบกวนถามคุณหมอหรือเพื่อๆที่มีความรู้เกี่ยวกับภูมิแพ้หน่อยค่ะ

  1. #11
    Join Date
    Apr 2010
    Posts
    10

    Talking

    ขอบคุณคุณwaweมากๆค่ะ
    ยาเขียวยังไม่เคยลองค่ะ เพราะเคยได้ยินมาว่าใช้ขับอีสุกอีใส
    นิวลองมาหลายวิธีแล้วค่ะ ทั้งแบบโบราณ และแบบปัจจุบัน
    ประมาณว่าใครบอกว่าทำอะไรแล้วจะหาย หรือให้ลมพิษมันขึ้นน้อยลงก็ยังดี
    นิวก็ทำทุกอย่างน่ะค่ะ( ถ้าดูๆแล้วมันไม่อันตรายนะคะ)

    คุณceehrt คะ นิวพาน้องเค้าไปทำบุญเกือบทุกอาทิตย์เลยค่ะ
    ถวายสังฆทานบ้าง นานๆที แต่ก็ยังเป็นๆหายๆอยู่ค่ะ
    คุณพ่อสามีก็ให้อุทศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรของน้องเค้า
    ก่อนเป็นอันดับแรกก่อนที่จะให้คนอื่นๆด้วยอ่ะค่ะ
    ก็หวังว่าซักวัน พอโตขึ้นแล้วจะค่อยๆหายไปเอง^^
    [SIGPIC][/SIGPIC]

    จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด
    จะรักชาติจนชีวิตเป็นผุยผง
    จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง
    จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา

  2. #12
    Join Date
    Apr 2010
    Posts
    3,485
    น้องนิว ลูกชายของเพื่อนพี่เป้น อาการเดียวกับลูกชายนู๋เลย ส่วนมากจะเป็นตรงข้อพับ แขนขาใช่ป่ะ "อาการคือผิวแห้งและคัน" ของลูกเพื่อนพี่ปรากฎว่าเค้าแพ้ "ไข่" ค่ะทั้งไข่แดงไข่ขาวเลย น้องนิวลองงดไข่ดูนะจ้ะ เพื่อนพี่เมื่อก่อนต้องพา,กไปหาหมอที่บำรุงราษฎร์ ประจำหมอก้อให้ยามาทา มากินแต่ท้ายสุด ยัยแม่มันลองงดไข่ให้ลูกดูก็ดีขึ้นค่ะ
    [SIGPIC][/SIGPIC]


    Good friends are like stars..... You don't always see them, but you know they are always there.

  3. #13
    yai_625's Avatar
    yai_625 is offline Trusted Member
    Join Date
    Apr 2010
    Posts
    254
    ตอนเด็กๆเป็นค่ะแม่ใช้เหล้าขาวทาให้ค่ะ สาวๆก็ยังเป็นอยู่
    แต่พอเริ่มแก่หนังเหนียวหรือไงไม่รู้อะไรก็สะกิดไม่เข้าไม่เคยเป็นอีกเลย

    มันหาสาเหตุยากจริงๆค่ะว่าแพ้อะไรทั้งสิ่งสัมผัสทั้งของกินแพ้ได้หมด
    ลูกสาวก็มาเป็นตอนอายุ13 ตีแบดอยู่ที่คอร์ทดีๆก็คันแล้วหน้าบวมทั้งๆ
    ที่ไปตีมาเป็นสิบครั้งแล้วขับรถไปรับใช้เวลาไม่ถึง5นาทีเพราะใกล้บ้าน
    ไปถึงหน้าบวมจนจำไม่ได้ว่าลูกเรา ตัวแม่เองสั่นไปหมดขับรถแทบไม่ได้
    กลัวจับใจต้องรีบพาลูกไปฉีดยา แดงบวมไปทั้งตัวเลยค่ะ เดี๋ยวนี้ไปไหน
    ต้องให้พกยาไปตลอดค่ะ พอเป็นหลายๆทีลูกจะรู้ค่ะว่าจะเป็นก็รีบทานยาเลย
    มันก็จะหายไป แต่ละคนระดับแพ้ก็ไม่เหมือนกันอีก บางคนเป็นมาก
    บางคนน้อย

  4. #14
    Join Date
    Apr 2010
    Posts
    0
    แวะมาเก็บความรู้ค่ะ...

  5. #15
    orange's Avatar
    orange is offline Trusted Member
    Join Date
    Apr 2010
    Posts
    6
    คุณ Newsguy ถ้าสงสัยว่าแพ้อาหาร น่าจะเจาะเลือด ทดสอบไปเลยนะคะ คือเราจะได้รู้แน่ๆ ว่าลูกแพ้อะไรแล้วงด อาหารตัวนั้น ดีกว่าปล่อยให้เป็นแล้วมาทานยาตาม เราไม่ชอบให้ลูกทานยาเยอะๆ อ่ะ

    ถ้าเรายังทานอาหารที่แพ้ ผื่นมันขึ้น ซึ่งตัวผื่นเป็นแค่ตัวบอกอาการภายนอก นะคะ อาการที่เราอาจไม่ได้สังเกต มีอีกร้อยแปดค่ะ เช่น ลูกไฮเปอร์ ขี้หงุดหงิด งอแง ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก(ลำไส้อักเสบเนื่องจากแพ้อาหาร) ปวดตา ปวดหัว ... เหล่านี้เด็กๆ บอกเราไม่ได้ค่ะ นอกจากเค้าจะงอแงหงุดหงิด

    ตอนนี้เราให้ลูกงดอาหารหลายๆ ตัวที่สงสัยค่ะ ลูกดีขึ้นมาก อารมณ์ดีขึ้นด้วย ไม่ขี้โมโห เหมือนก่อนนี้ค่ะ

    ถ้า HMC ตรวจ alcat test อาหาร 120 ชนิด ประมาณหมื่นต้นๆ นะคะ 170 ชนิด รู้สึกจะหมื่นแปด
    ส่วนอีกตัวที่ลูกเจ็บตัวน้อยหน่อย คือเจาะเลือดแค่ปลายนิ้ว ส่งไปตรวจที่อเมริกาค่ะ ตรวจได้ 96 ชนิด

    http://www.nusasiri.com/2009/privileges/HMC.asp

    ลองอ่านดูนะคะ มีประโยชน์มากๆ ค่ะ จุดประกายให้เราสนใจเรื่องอาหารกับโรคภูมิแพ้เลยค่ะ ดู ความเห็นที่ 10 ค่ะ

    http://www.212cafe.com/freewebboard/...utistic&id=847
    มีแล้วยังอยากมีเพิ่ม ... STOP ME PLEASE!!

  6. #16
    orange's Avatar
    orange is offline Trusted Member
    Join Date
    Apr 2010
    Posts
    6
    "กระบวนการแพ้อาหารเกิดขึ้นได้อย่างไร"
    "อะไรที่เคยแพ้ พอเลิกกินมันจะหายแพ้ได้อย่างไร"

    คำตอบมีดังนี้

    อาการ แพ้อาหาร แท้จริง เป็นอย่างไร

    นพ.ไพบูลย์ เอกแสงศรี เรียบเรียง

    คนเรานั้นมีโอกาสเกิดอาการแพ้อาหารและการรับอาหารบางชนิดไม่ได้เป็นบางช่วงของชีวิต ซึ่งในเด็กประมาณร้อยละ 3 ที่พิสูจน์ได้ว่าแพ้อาหารจริง แต่เมื่อเป็นผู้ใหญ่อาการแพ้อาหารนั้นจะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น

    แท้จริงแล้วอาการหรือปฏิกิริยาทางร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่อกินอาหารบางชนิดเข้าไปนั้น มีความแตกต่างระหว่างคำว่า “การแพ้อาหาร” (Food allergies) กับ “การรับอาหารบางชนิดไม่ได้” (Food intolerance) ทั้งนี้ “การแพ้อาหาร” (Food allergies) จะเกิดจากปฏิกิริยาที่ไวต่ออาหารนั้นๆ เป็นปฏิกิริยาที่ผิดปกติต่ออาหารเนื่องจากมีการกระตุ้นจากระบบภูมิต้านทานของร่างกาย ส่วน “การรับอาหารบางชนิดไม่ได้” ไม่ได้เกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทานแต่อย่างใด แต่ทั้งสองกลุ่มนี้จะมีอาการคล้ายคลึงกัน

    ทั้งนี้การแพ้อาหารจริงๆ มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดที่ต้องพยายามตรวจสอบและป้องกันการเกิดปฏิกิริยาการแพ้ เพราะนอกจากทำให้เกิดภาวะเจ็บป่วยแล้ว บางคนอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

    กลไกการเกิดปฏิกิริยาการแพ้อาหาร
    ปฏิกิริยาการแพ้นั้นมีผลเกี่ยวข้องกับ 2 กลไกทางระบบภูมิต้านทาน คือ การสร้างภูมิต้านทานชนิด อี (Immunoglobulin E: IgE) ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งเรียกว่าแอนตี้บอดี้ที่อยู่ในกระแสเลือด และอีกกลไกหนึ่งเกี่ยวข้องกับมาสต์เซลล์ (Mast cell) ที่อยู่ในทุกเนื้อเยื่อของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณที่เกิดอาการแพ้ เช่น ในจมูก คอ ปอด ผิวหนัง และทางเดินอาหาร

    ความสามารถในการสร้าง IgE ต่ออาหารนั้นมักมีส่วนที่ได้รับจากกรรมพันธุ์ เช่น มีคนในครอบครัวมีอาการแพ้ไม่ว่าจะแพ้อาหาร แพ้ฝุ่น แพ้เกสรดอกไม้ หอบหืด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพ่อแม่เป็นภูมิแพ้ทั้งสองฝ่าย ลูกก็จะมีโอกาสแพ้มากกว่าคนที่มีเพียงพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งที่เป็นภูมิแพ้

    ก่อนที่จะเกิดอาการแพ้นั้น คนที่แพ้ต้องเคยได้รับอาหารชนิดนั้นมาก่อน เมื่อมีการย่อยอาหารก็จะกระตุ้นให้มีการสร้าง IgE จำนวนมาก ซึ่งจะเข้าไปเกาะผิวของมาสต์เซลล์ เมื่อมีการรับประทานอาหารชนิดนั้นอีกครั้ง อาหารจะไปกระตุ้น IgE จำเพาะบนผิวมาสต์เซลล์นั้น ทำให้เกิดการหลั่งสารเคมี เช่น ฮีสตามีน ซึ่งจะทำให้เกิดอาการแพ้ตามแต่บริเวณของเนื้อเยื่อที่มีการหลั่งสารเคมีนั้น เช่น มีการหลั่งสารเคมีที่บริเวณหู คอ จมูก ก็จะมีอาการคันหรือบวมที่ปาก คอ หายใจลำบาก หรือกลืนอาหารลำบาก แต่ถ้าเป็นที่บริเวณทางเดินอาหาร ก็อาจมีอาการปวดท้องหรือท้องร่วงได้

    ส่วนของสารอาหารที่ทำให้เกิดการแพ้นั้น เป็นโปรตีนในอาหารที่มักไม่ถูกสลายด้วยความร้อนในการปรุงอาหารหรือกรดในกระเพาะอาหารหรือน้ำย่อย จึงทำให้สามารถดูดซึมผ่านเข้าสู่กระแสเลือดไปยังบริเวณเป้าหมายที่เกิดอาการแพ้ขึ้นได้ทั่วร่างกาย

    ความซับซ้อนในกระบวนการย่อยอาหารมีผลต่อระยะเวลาและตำแหน่งที่เกิดอาการ ตัวอย่างเช่น อาการจะเริ่มต้นจากมีอาการคันที่ปากก่อนเมื่อเริ่มรับประทานอาหาร พออาหารถูกย่อยในกระเพาะอาหารแล้ว มักจะเกิดอาการทางเดินอาหาร เช่น อาเจียน ท้องร่วง และปวดท้องได้ เมื่อสารที่ทำให้แพ้เข้าสู่กระแสเลือดก็อาจทำให้ระดับความดันโลหิตตกลงได้ หากไปที่ผิวหนังก็เกิดอาการผื่นแพ้ หรือไปที่ระบบทางเดินหายใจก็อาจทำให้เกิดอาการหอบหืดได้ ซึ่งอาการต่างๆ นี้ อาจเกิดได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาทีจนเป็นชั่วโมงก็ได้เช่นกัน

    การแพ้อาหารที่พบบ่อย
    ในผู้ใหญ่อาหารที่พบว่าเกิดการแพ้ได้บ่อย ได้แก่ อาหารทะเล เช่น กุ้ง กั้ง ปู พืชเมล็ดบางชนิด เช่น ถั่ว ส่วนที่แพ้ได้แต่ไม่บ่อย ได้แก่ ปลา และไข่ ซึ่งเมื่อแพ้แล้วอาจมีอาการแพ้เพียงเล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรงได้ คือ อาจจะแค่คัน บวม กระทั่งความดันโลหิตตกอย่างเฉียบพลัน และอาจถึงแก่ความตายได้

    ส่วนในเด็กนั้นอาหารที่พบว่าเกิดการแพ้นั้นแตกต่างจากผู้ใหญ่ คือ มักมีอาการแพ้ไข่ นมวัว และถั่ว ซึ่งอาการแพ้อาหารนี้อาจจะหายไปได้เองเมื่อโตขึ้น แต่หากเป็นการแพ้ปลาและกุ้งก็มักจะไม่หาย ในขณะที่ผู้ใหญ่เมื่อแพ้อะไรแล้วมักจะไม่หาย

    การแพ้อาหารในทารกและเด็ก
    การแพ้นมวัวและถั่วเหลืองพบได้บ่อยในทารกและเด็ก ส่วนมากจะไม่มีอาการหอบหืด แต่มักมีอาการปวดท้อง นอนไม่หลับ มีเลือดออกมากับอุจจาระ ดูเด็กไม่มีความสุข หรือเลี้ยงไม่โต เป็นต้น สาเหตุที่ทำให้เด็กแพ้อาหารเชื่อว่าเกิดจากความไม่สมบูรณ์ของระบบภูมิต้านทานและระบบทางเดินอาหาร อาการแพ้นมหรือถั่วเหลืองนี้เริ่มแสดงอาการได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิด หรือมีอายุเพียงไม่กี่เดือนนับตั้งแต่คลอด เด็กที่มีอาการแพ้อาจพบว่ามีประวัติคนเป็นภูมิแพ้ในครอบครัวด้วย

    หากทารกแพ้นมวัวแพทย์ก็จะแนะนำให้เปลี่ยนเป็นนมถั่วเหลืองแทนหรือให้ดื่มนมแม่เพียงอย่างเดียว หากมีการแพ้นมถั่วเหลืองด้วย ก็อาจต้องใช้นมสูตรพิเศษที่มีการย่อยโปรตีนแบบสมบูรณ์ ในกรณีที่เด็กมีอาการแพ้รุนแรงคุณหมออาจจะให้ยา เช่น สเตียรอยด์ แต่ก็ยังโชคดีที่อาการแพ้ในเด็กนั้นมักจะหายไปได้เองในช่วงปี สองปีหลังเกิดอาการ

    การให้นมแม่อย่างเดียวโดยไม่ให้อาหารอื่นเลยแก่ทารกในช่วง 6-12 เดือนนั้น จะสามารถหลีกเลี่ยงการแพ้นมวัวและนมถั่วเหลืองได้ โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ แต่คุณแม่เองก็ต้องตระหนักด้วยว่าอาหารที่รับประทานนั้นอาจทำให้ลูกเกิดอาการแพ้ได้ ดังนั้นคุณแม่ที่ให้นมลูกควรต้องระมัดระวังเลือกอาหารให้ดีด้วยเพื่อหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ลูกแพ้

    แม้ว่ายังไม่มีการพิสูจน์ว่าการให้นมแม่นั้นสามารถป้องกันการแพ้ในวัยที่โตขึ้นได้ แต่อย่างน้อยการให้นมแม่ก็ช่วยเลื่อนเวลาการเกิดการแพ้อาหารออกไปได้ และหากเลื่อนการให้อาหารเสริมเป็นหลังอายุ 6 เดือน ก็จะช่วยเลื่อนระยะเวลาการเกิดอาการแพ้ได้ด้วยเช่นกัน

    การแพ้อาหาร - การรับอาหารบางชนิดไม่ได้ ต่างกันอย่างไร
    บางคนเมื่อมีอาการหลังจากรับประทานอาหารบางชนิด แล้วไปบอกคุณหมอว่า “ฉันคิดว่าฉันแพ้อาหาร” แพทย์จะต้องแยกแยะวินิจฉัยอาการต่างๆ ก่อนเพื่อไม่ให้สับสนว่าจริงๆ แล้วคุณคนนั้นเขาแพ้อาหาร รับอาหารบางชนิดไม่ได้ หรืออาหารเป็นพิษจากเชื้อโรคปนเปื้อนในอาหารกันแน่ ซึ่งทั้งหมดอาการคล้ายกันแต่ต่างกันที่สาเหตุ จึงต้องจำแนกแยกแยะให้ออกก่อนว่าเป็นอะไรกันแน่

    บางครั้งสารเคมีตามธรรมชาติ เช่น สารฮีสตามีนที่มีอยู่ในอาหารก็ทำให้เกิดอาการคล้ายกับอาการแพ้อาหารได้ เช่น สารฮีสตามีนที่มีมากในเนยแข็ง ไวน์บางชนิด ปลาบางชนิดโดยเฉพาะปลาทูน่าและปลาแมคเคอเรล (คล้ายปลาทู) ซึ่งสารฮีสตามีนในปลานั้นเชื่อว่าเกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะปลาที่ไม่ได้แช่แข็งอย่างดี หากใครรับประทานอาหารที่มีสารฮีสตามีนนี้มากก็จะเกิดอาการเหมือนแพ้อาหารได้ เรียกว่าเกิดพิษจากสารฮีสตามีน (histamine toxicity)

    การแพ้อาหาร จะเกิดจากปฏิกิริยาของระบบภูมิต้านทานในร่างกาย ส่วนการรับอาหารบางชนิดไม่ได้ อาจเกิดจากความบกพร่องของสารบางชนิดในร่างกาย หรือการไม่ถูกกันระหว่างสารในร่างกายกับสารบางชนิดที่มีอยู่ในอาหาร ทั้งสองกรณีต่างจากอาหารเป็นพิษ ที่มีสาเหตุจากเชื้อโรคปนเปื้อนดังที่กล่าวแล้ว

    การรับอาหารบางชนิดไม่ได้ที่มักจะพบบ่อยคือ ภาวะพร่องน้ำย่อยน้ำตาลนม (lactase deficiency) ซึ่งพบได้ถึง 1 ใน 10 คน น้ำย่อยนี้สร้างจากผิวของลำไส้ทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลนม หากคนที่มีน้ำย่อยน้ำตาลนมไม่พอ เมื่อดื่มนมหรือรับประทานผลิตภัณฑ์จากนมเข้าไป น้ำตาลนมที่ไม่สามารถถูกย่อยก็จะถูกแบคทีเรียนำไปใช้ แล้วสร้างก๊าซขึ้น ทำให้ท้องอืด ปวดท้อง และอุจจาระร่วงได้ ซึ่งแพทย์วินิจฉัยได้โดยการให้รับประทานน้ำตาลนม และวัดผลจากเลือด

    การรับอาหารบางชนิดไม่ได้อีกแบบหนึ่งที่เจอคือการมีปฏิกิริยาต่อสารที่ใส่ในอาหารเพื่อปรับแต่งรส กลิ่น หรือป้องกันการเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เช่น สีผสมอาหารเบอร์ 5 ทำให้เกิดอาการหอบ หรือผงชูรส ที่ทำให้เกิดอาการร้อนซู่ซ่า ปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก อ่อนแรง หรือหงุดหงิดได้ในบางคน ซึ่งเกิดจากการรับประทานผงชูรสในปริมาณมาก

    สารซัลไฟต์ เป็นสารที่พบได้ในอาหารหรือได้ถูกใส่เข้าไปในอาหารเพื่อทำให้กรอบหรือป้องกันเชื้อรา หากมีปริมาณมากอาจทำให้บางคนมีอาการหอบหืดได้ เนื่องจากสารนี้ทำให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซึ่งคนที่เป็นหอบหืดสูดดมเข้าไประหว่างรับประทานอาหาร ทำให้เกิดอาการระคายเคืองปอดและเกิดการหดตัวของหลอดลมจึงหอบได้

    บางคนมีอาการรับอาหารบางชนิดไม่ได้ด้วยสาเหตุทางจิต เช่น ในช่วงวัยเด็กเกิดความรู้สึกไม่ชอบหรือต่อต้านอาหารบางชนิดจนฝังใจ เมื่อกินเข้าไปก็จะเกิดปฏิกิริยาในลักษณะเดียวกับการแพ้อาหาร ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการประเมินและบำบัดทางจิตเวชถึงประสบการณ์เลวร้ายที่ผ่านมา

    นอกจากนี้แล้วก็ยังมีโรคอื่นๆ ที่มีอาการแบบเดียวกับการแพ้อาหาร เช่น แผลและมะเร็งในทางเดินอาหาร ทำให้อาเจียน อุจจาระร่วง หรือปวดท้องเมื่อรับประทานอาหาร หรือบางคนมีการแพ้อาหารเพราะถูกกระตุ้นจากการออกกำลังกาย คือ คนที่แพ้มักจะรับประทานอาหารมาก่อนที่จะออกกำลังกาย เมื่อออกกำลังกายจนความร้อนของร่างกายเพิ่มมากขึ้น ก็จะเริ่มมีอาการคัน รู้สึกเบาศีรษะ แล้วเกิดอาการแพ้ เช่น หอบ และอาจรุนแรงได้ถึงแก่ความตายได้ วิธีแก้ง่ายๆ ก็คืออย่ารับประทานอาหาร 2 ชั่วโมงก่อนออกกำลังกาย

    การรักษาการแพ้อาหาร
    การรักษาการแพ้อาหารเมื่อวินิจฉัยได้ว่าแพ้อาหารชนิดใด ก็ควรงดอาหารที่แพ้ชนิดนั้น และก่อนที่จะเลือกซื้ออาหารควรอ่านรายละเอียดส่วนผสมที่ฉลากอาหารก่อนว่ามีสิ่งที่ตัวเองแพ้ผสมอยู่หรือไม่ เช่น ถ้าแพ้นมต้องดูว่าในส่วนผสมมีผลิตภัณฑ์นมผสมอยู่ด้วยไหม หรือถ้าแพ้ไข่ ต้องดูว่าน้ำสลัดที่เลือกมานั้นมีส่วนผสมของไข่หรือไม่ หรือถ้าแพ้ผงชูรสก็พยายามหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ใส่ผงชูรส เป็นต้น

    ในคนที่มีอาการแพ้มากแม้ว่าได้รับสารอาหารที่แพ้เพียงเล็กน้อย ก็สามารถเกิดอาการแพ้ได้ แต่คนที่มีอาการแพ้น้อย อาจทนทานต่อสารอาหารได้หากได้รับในจำนวนน้อยๆ

    คนที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรง ควรมีการเตรียมพร้อมเมื่ออาการแพ้เสมอ เพราะแม้ว่าจะคอยระวังเรื่องอาหารแล้วก็ตาม แต่ก็อาจเกิดความผิดพลาดได้เหมือนกัน ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันในคนที่มีอาการแพ้รุนแรงนี้ ก็ควรพกพายาแก้แพ้ติดตัว หรือห้อยเป็นสายสร้อยเพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน หรืออาจพกยาอะดรินาลีน ไว้ฉีดยามฉุกเฉิน และควรรีบไปโรงพยาบาลทันที เพราะในคนที่แพ้รุนแรงอาการช็อคอาจเกิดได้แม้ว่าจะเริ่มต้นด้วยอาการเพียงเล็กน้อย เช่น แค่คันที่ปากและคอ หรือไม่สบายท้องเท่านั้น

    ทางที่ดีที่สุดคือเมื่อเราทราบแล้วว่าแพ้อาหารชนิดใด ก็คงต้องระมัดระวังการเลือกอาหารให้ดี ควรเลี่ยงและงดสิ่งที่แพ้คือเป็นวิธีที่ดีที่สุด

    ที่มาข้อมูล :
    นิตยสาร Health Today


    ข้างบนเป็นเรื่องของการแพ้อาหารแบบฉับพลัน และ รุนแรง อันเนื่องมาจาก IgE
    ส่วนการแพ้อาหารแฝงเป็นเรื่องของ IgG คุณ Post อธิบายไว้ดังนี้ค่ะ

    ARI อธิบายไว้ว่า
    ๑ Gluten และ Casein เป็นเหตุที่ทำให้เกิดการแพ้อาหารในเด็กและผู้ใหญ่ที่เป็นออทิสซึ่ม
    ๒.Peptide (กลุ่มของโมเลกุลสั้นๆที่จับตัวกันอย่างเป็นลำดับ) บางชนิดจาก Gluten และ Casein
    สามารถไปรวมตัวกับ Opioid-receptors (สารเคมีที่ส่งผลต่อร่างกาย/สมองเหมือนมอฟีน)
    ที่อยู่ภายในสมองและทำให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อพฤติกรรม (เหมือนเฮโลอีนหรือมอฟีน)
    ซึ่งเมื่อรวมตัวกันแล้วก็จะทำให้เกิดปัญหาต่างๆเช่น การนอนหลับไม่ดี, สมาธิสั้น,
    อาการการก้าวร้าวและการทำร้ายตัวเอง

    ปัญหาทั้งสองข้อด้านบนเกิดขึ้นเนื่องจาก
    ๑. การทำงานที่ผิดปกติของระบบย่อยในร่างกายที่ไม่สามารถย่อยโมเลกุลสั้นๆที่จับตัวกันอย่างเป็นลำดับของ Gluten และ Caseinให้เป็นกรดอมิโนโมเลกุลเดี่ยวได้
    ๒. การอักเสษของลำไส้, เป็นการเปิดโอกาสให้ Gluten และ Casein สามารถเข้าสู่กระแสเลื่อดได้โดยตรงและไปรวมตัวกับ Opioid-receptorsภายในสมองจนเกิดผลเสียทางพฤติกรรมดังกล่าว


    อ้างอิงจากกระทู้นี้ค่ะ
    http://www.212cafe.com/freewebboard/...utistic&id=847
    มีแล้วยังอยากมีเพิ่ม ... STOP ME PLEASE!!

Page 2 of 2 FirstFirst 1 2

Posting Permissions

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •