( ความดี ความชั่ว) (ทางถูก ทางผิด) (เข้าใจถูก เข้าใจผิด)
ความดี คือ การรักษาศีล (5,8,10 หรือ 227 ข้อ) เป็นปกติ
ความชั่ว คือ การทุศีล(ผิดศีล) เป็นปกติ
ทั้งความดี และความชั่วชาวพุทธย่อมทราบอยู่แล้ว
ชาวพุทธ รู้ความดีความชั่วอยู่แล้ว แต่ทำไม่จึงยังผิดศีล
ก็เพราะเดินทางผิด ทั้งที่รู้ดีว่าเป็นความชั่ว
เป็นเพราะยอมไหลตามกิเลสตัณหา ความอยาก หรือความกลัว
(กลัวลำบาก กลัวจน กลัวทุกข์ กลัวเสียเกียรติ์ กลัวเสียชื่อ
กลัวเสียหน้า สารพัดที่อ้างเหตุในกับกิเลสของตนเอง)
ผิดในครั้งแรกแล้ว ถ้ายังหลงตามความยาก หรือความกลัว
เมื่อมีโอกาส ก็จะผิดครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 และเรื่อยๆ
จนกลายเป็นความเคยชิน ติดเป็นนิสัย นี้ละทางผิด
ดังนั้น ทางผิด ในความหมายที่กล่าวมาคือ เพราะยอมไหล
ตามกิเลสตัณหา ความอยาก หรือความกลัว(กลัวลำบาก กลัวจน
กลัวทุกข์ กลัวเสียเกียรติ์ กลัวเสียชื่อ กลัวเสียหน้า สารพัดที่อ้างเหตุ
ในกับกิเลสของตนเอง) ผิดในครั้งแรกแล้ว ถ้ายังหลงตามความยาก
หรือความกลัว เมื่อมีโอกาส ก็จะผิดครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 และเรื่อย ๆ
จนกลายเป็นความเคยชิน ติดเป็นนิสัย จึงเป็นคนชั่ว(ในสิ่งนั้นๆ)
หรือคนชั่ว
ผู้ที่ประสงค์ความดี เมื่อทางผิดปรากฏอยู่เบื้องหน้า
ความอยากและความกลัวกำลังยั่วยุ ให้ไปสู่ความชั่ว ผู้นั้นเมื่อปัญญาดี
หรือเรียนรู้มาอย่างดีด้วยจิตที่ตรง ย่อมเห็นทางถูกเอามาปฏิบัติทันที
คือ ระงับ ข่ม อย่างมีขันติ สงบอย่างมีสติ อดทนไม่ให้กิเลสตัณหา
ลุกลามจนกระทำลงไปด้วยกาย และวาจา หรือพฤติกรรม เมื่อกิเลส
ตัณหานั้นอ่อนกำลังลง ก็ผ่อนคลายด้วยปัญญา เมื่อปัญญาเกิดก็
สามารถหลบหลีกทางผิดด้วยปัญญานั้นละ เพื่อไปสู่ ทางถูก แล้ว
พัฒนาไปสู่ความดี ที่เป็นปกติ (มีศีล เป็นปกติ)
ดังนั้น ทางถูก ในความหมายก็คือ การระงับ การข่ม อย่างมีขันติ
สงบอย่างมีสติ อดทน และสุดท้ายปล่อยวางกิเลสตัณหา
ด้วยปัญญา แล้วเจริญใน ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา
ที่กล่าวมาข้างบนนั้นเป็นเรื่องทั่วๆไป เป็นเรื่องพื้นๆ
ชาวพุทธเข้าใจกันอยู่แล้วเป็นส่วนมาก แต่ยังทำผิดอยู่มากเหมือนกัน
ต่อไปจะกล่าวเรื่องที่ละเอียดขึ้นคือ การเข้าใจถูกและเข้าใจผิด กับ ทางถูก
ทางถูกที่กล่าวมา คือ ระงับ ข่ม อย่างมีขันติ สงบอย่างมีสติ
อดทนปล่อยวางกิเลส ละกิเลสในที่สุด ซึ่งได้แก่
1 การรักษาศีล 2. การฝึกสมาธิ 3. การฝึกปัญญา(วิปัสสนา)
ชาวพุทธส่วนหนึ่ง(1) เดินทางถูก เข้าใจถูก มองทางอื่นอย่างเข้าใจถูกในพุทธศาสนา
ชาวพุทธส่วนหนึ่ง(2) เดินทางถูก เข้าใจถูก มองทางอื่น อย่างเข้าใจผิดในพุทธศาสนา
ชาวพุทธส่วนหนึ่ง(3) เดินทางถูก แต่เข้าใจผิด
ชาวพุทธพวกพิเศษ(0) เดินทางผิด แต่กล่าวถูกตามตำรา
กล่าวถึงเรื่องศีล
ชาวพุทธส่วนที่ 1 เดินทางถูกคือ รักษาศีล เข้าใจถูกคือ
ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น มองอย่างเข้าใจถูกคือ หาได้ยกตนข่มผู้อื่น
ด้วยศีล แต่เคารพผู้ที่มีศีล
ชาวพุทธส่วนที่ 2 เดินทางถูกคือ รักษาศีล เข้าใจถูกคือ
ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น มองอย่างเข้าใจผิดคือ ยกตนข่มผู้อื่น
ด้วยศีล และบางครั้งตีเสมอและข่มผู้มีศีลมากกว่า ที่ศีลด่างพลอย
เล็กๆ น้อยๆ
ชาวพุทธส่วนที่ 3 เดินทางถูกคือ พยายามรักษาศีล เข้าใจผิดคือ
เพื่อเอาหน้า เพื่ออำนาจ เพื่อให้รู้ว่าตนเองมีศีลแล้วยกตนข่มผู้อื่น
หลงว่าตนเองดีแล้วด้วยศีล ด่าด้วยคำหยาบกับใครก็ได้
ชาวพุทธพวกพิเศษ 0 เดินทางผิด ไม่รักษาศีล แต่กล่าวเรืองศีล
ได้จ้อด่าผู้อื่นที่มีศีลแต่ศีลด่างพลอยว่าไม่มีศีล
กล่าวถึงเรื่องสมาธิ
ชาวพุทธส่วนที่ 1 เดินทางถูกคือ ฝึกสมาธิถูก เข้าใจถูกคือ เพื่อ
บังเกิด วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกคตา(อุเบกขา,สงบ) มองอย่าง
เข้าใจถูกคือ การฝึกสมาธิมีหลายวิธี ไม่เอาวิธีตนข่มวิธีของผู้อื่น
เคารพในผู้ที่มีสมาธิ
ชาวพุทธส่วนที่ 2 เดินทางถูกคือ ฝึกสมาธิถูก เข้าใจถูกคือ เพื่อ
บังเกิด วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกคตา(อุเบกขา,สงบ) มองอย่าง
เข้าใจผิดคือ การฝึกสมาธิของตนเองแน่ที่สุด เอาวิธีตนข่มวิธีของผู้อื่น
ไม่เคารพในผู้ที่มีสมาธิในแนวอื่น ทั้งที่เป็นแนวในพุทธศาสนา
ชาวพุทธส่วนที่ 3 เดินทางถูกคือ พยายามทำสมาธิ เข้าใจผิดคือ
คิดว่าเป็นนิพพาน คิดว่าเที่ยง คิดว่าสุขอย่างเดียว คิดว่าตนเป็น
ศูนย์รวมของสิ่งทั้งมวล เพื่อฤทธิ์ เพื่ออำนาจ เพื่อข้าเก่ง เพื่อลาภยศ
สรรเสริญ เอาหน้า เพื่อให้รู้ว่าตนเองมีสมาธิแล้วยกตนข่มผู้อื่น หลงว่า
ตนเองดีแล้วด้วยสมาธิ ด่าด้วยคำหยาบกับใครก็ได้ หลงยึดตัวตน
บุคคล อย่างไม่ลืมหูลืมตา จึงเข้าใกล้ความวิปลาส ทำอะไรผิดเพี้ยนได้ง่าย
ชาวพุทธพวกพิเศษ 0 เดินทางผิดคือ ไม่ฝึกสัมมาสมาธิ แต่มีมิจฉาสมาธิ
แต่กล่าวเรืองสมาธิได้จ้อ ด่าผู้อื่นว่าไม่มีสมาธิ เป็นผู้ตำต้อย
ข้าวิเศษกว่าผู้ใด ท่านเหล่านี้เข้าใกล้ความบ้า(น้ำลาย)
กล่าวถึงเรื่องปัญญา(วิปัสสนา)
ชาวพุทธส่วนที่ 1 เดินทางถูกคือ ฝึกวิปัสสนาถูก เข้าใจถูกคือ
เพื่อละกิเลส เพื่อปล่อยวางด้วยปัญญาเห็นไตรลักษณ์ เพื่อละความ
สำคัญมั่นหมายว่าเป็นตนอันเป็นที่ตั้งของตัณหา เพื่อไม่ยึดมั่นถือมั่น
ในสิ่งทั้งปวง หรือเพื่อนิพพาน อันไม่เป็นที่ตั้งของอัตตา มองอย่าง
เข้าใจถูกคือ เห็นเป็นเช่นนั้นเอง สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งมวล ย่อมดับไปเป็น
ธรรมดา หาเป็นที่ตั้งของความยึดมั่นถือมั่น เคารพในผู้มีศีล ในผู้มี
สัมมาสมาธิ ในผู้มีธรรม
ชาวพุทธส่วนที่ 2 เดินทางถูกคือ ฝึกวิปัสสนาถูก เข้าใจถูกคือ
เพื่อละกิเลส เพื่อปล่อยวางด้วยปัญญาเห็นไตรลักษณ์ เพื่อละความ
สำคัญมั่นหมายว่าเป็นตนอันเป็นที่ตั้งของตัณหา เพื่อไม่ยึดมั่นถือมั่น
ในสิ่งทั้งปวง หรือเพื่อนิพพาน อันไม่เป็นที่ตั้งของอัตตา มองอย่าง
เข้าใจผิดคือ แนวทางปฏิบัติของตนเองถูกสุด ตี่ความเข้าข้างตนเอง
กิเลสที่มีอยู่ของตนเองทำเป็นมองไม่เห็น ยกตน(กลุ่มตน)ข่ม โดย
ไม่พิจารณาให้รอบคอบเป็นที่ตั้ง ดูถูกศีล ดูถูกสมาธิ จนกล่าวตำหนิ
ผู้ฝึกสมาธิ ไปก็มี
ชาวพุทธส่วนที่ 3 เดินทางถูกคือ ฝึกวิปัสสนาถูกบางส่วน เข้าใจผิดคือ
เห็นว่าตนเข้าเป็นนิพพาน มีตนตั้งอยู่อย่างเด่นชัด (แสดงความหลง
ให้เห็นชัดเจน)ก็ยังเข้าใจว่าเป็นนิพพาน ยกพวกยกทางสร้าง
กลุ่มขึ้นมาแยกออกมาเพื่อสนองตัณหาความยากเด่นยากดัง ยากยิ่ง
ใหญ่ โดยไม่รู้ตัวบ้างรู้ตัวบ้างกล่าววาจาวางอคติ กับชาวพุทธด้วยกัน
เพราะคิดว่าคติหรือสิ่งที่ตนเห็นตนรู้ ยอดเยี่ยม สูงกว่า โดยเปรียบ
เทียบกับพระไตรปิฏกแบบตีความเข้าข้างตนเอง หรือไม่เปรียบเทียบ
กับพระไตรปิฏกเลย แบ่งกลุ่ม ชูคอ ยกตนให้ยิ่งใหญ่ วาจาฟุ้งด้วย
ธรรมอันเป็นพวกเป็นกลุ่ม ประสงค์เพื่อลาภ ยศ และสรรเสริญ
ทำทุกทางเพื่อให้เห็นว่าตนเป็นผู้ประเสริฐสุด แต่ความจริงไม่หลุดพ้น
จากตัวตนไปได้เลย
ชาวพุทธพวกพิเศษ 0 เดินทางผิด ไม่ปฏิบัติวิปัสสนา หรือ ปฏิบัติ
วิปัสสนาไม่ถูกเลย แต่กล่าวเรื่องวิปัสสนาได้จ้อ ด่าว่าผู้อื่นที่กำลัง
ปฏิบัติวิปัสสนาด้วยความรู้ทางตำราที่มีอยู่ เพื่อสนองภูมิปัญญาทาง
ความคิดและจินตการของตนเอง แสดงความเป็นนักปราชญ์
อันว่างเปล่า
หมายเหตุ ยังมีชาวพุทธที่ยังไม่เดินทาง และยังไม่มีคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็มีอยู่เหมือนกัน
ขอบคุณบทความดีจาก .. www.larndham.net