พอดีเราไปที่ บัลวีเป็นประจำ (คุณหมอให้รับหลายตัวเลยค่ะ PL-Hidose-รวมทั้งกลูต้าไทโอนด้วย) พอเราอ่านอันนี้ http://siambrandname.com/forum/showthread.php?t=96593
เราก็กังวลเรื่อง เกิดผลข้างเคียงหลังใช้
ตกลงมันเป็นตัวเดียวกันป่าวอ่าคะ ใครรู้บ้าง
เพราะเราต้องไปให้ทุกอาทิตย์เลยค่ะ


Glutathione (กลูตาไทโอน)
Glutathione คืออะไร?

Glutathione (กลูตาไทโอน) เป็นสารประเภท Tripeptide ที่ประกอบด้วย

กรดอะมิโน 3 ชนิด ได้แก่ Cysteine, Glycine และ Glutamic acid

หน้าที่หลักของสารตัวนี่ที่เด่นมีอยู่ 3 ประการ คือ

Detoxification : กลูตาไทโอนช่วยสร้างเอ็นไซม์ชนิดต่าง ๆ

ในร่างกายโดยเฉพาะ Glutathion-S-transferase ที่ช่วยในการ

กำจัดพิษออกจากร่างกายโดยไปเปลี่ยนสารพิษชนิดไม่ละลายในน้ำ

(ละลายในน้ำมัน) เช่น พวกโลหะหนัก สารระเหย ยาฆ่าแมลง

แม้แต่ยาบางชนิด ให้เป็นสารที่ละลายน้ำได้ดีขึ้นและง่ายต่อการกำจัดออก

จากร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยป้องกัน

ตับ จากการถูกทำลายโดย แอลกอฮอล์ (สุรา) สารพิษจากบุหรี่

ยาพาราเซตามอลเกินขนาด (Overdose) ฯลฯ

Antioxidant : กลูตาไทโอนมีคุณสมบัติเป็นสารต้านปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น

(Antioxidant) ที่มีความสำคัญตัวหนึ่งในร่างกาย และหากขาดไป วิตามินซีและอี

อาจจะทำงานได้ไม่เต็มที่

Immune Enhancer : ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย

โดยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์หลายชนิดเพื่อให้ร่างกายต่อต้าน

สิ่งแปลกปลอมรวมถึงเชื้อแบคทีเรียและไวรัส นอกจากนี้กลูตาไทโอน

ยังช่วยสร้างและซ่อมแซม DNA สร้างโปรตีนและ protaglandin

แหล่งที่พบ : พบสารชนิดนี้ได้ในพืชผักชนิดต่างๆ ผลไม้ทั่วไปและเนื้อสัตว์

แต่จะพบมากใน Asparagus อะโวกาโด และ Walnut ร่างกายเราก็สามารถสร้าง

กลูตาไทโอนได้และมีสารหลายชนิดที่ช่วยเพิ่มการสร้างได้แก่

Alpha lipoic acid, Glutamine3, Methionine, Whey Protein, Vitamin B-6,

Vitamin B-2 , Vitamin C4 และ Selenium

ภาวะการขาด : โดยปกติแล้วร่างกายเราจะไม่ขาดกลูตาไทโอน

นอกเสียจากจะเป็นโรคบางชนิดที่ทำให้เกิดความต้องการสารตัวนี้มากขึ้น

หรือโรคที่ต้านการสร้าง Glutathione โรคหรืออาการบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับ

การขาด สารนี้หรือต้องการสารนี้ในปริมาณเพิ่มขึ้น ได้แก่ โรคตับ เบาหวาน

โรคความดัน ต้อหิน มะเร็ง เอดส์ ฯลฯ

ในผู้ที่สูบบุหรี่จัดจะพบว่ามีระดับกลูตาไทโอน ในเลือดต่ำ

เนื่องจากอัตราในการใช้กลูตาไทโอน เพิ่มขึ้น

ชนิดและขนาดรับประทาน :

ปัจจุบันกลูตาไทโอนมีวางจำหน่ายในหลายรูปแบบ เช่น ชนิดเม็ดหรือแคปซูล

ชนิดพ่น ชนิดฉีดเข้าเส้นและฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ผู้ป่วยโรคชนิดต่างๆ

ที่ตรวจพบว่ามีการขาดสารนี้ควรใช้ตามแพทย์แนะนำ ในแง่ของการป้องกัน

หรือเพื่อต้านปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น ขนาดที่รับประทานคือ 500-1000 มก. ต่อวัน

ผลข้างเคียง :

ถึงทุกวันนี้ยังไม่พบผลข้างเคียงหรือปฏิกิริยาระหว่างยาของกลูตาไทโอน