ปี 2547 ประวัติศาสตร์ การดำรงอยู่ ของ ศูนย์การเรียนรู้บ้านแก่นวิชา "แก่นวิชา มากกว่า ความรู้" ผ่านการสื่อสารที่เรียกว่า "ใบปลิว"
จากกระทู้ ก่อนหน้านี้
"ปี 2546 ประวัติศาสตร์ การดำรงอยู่ ของ ศูนย์การเรียนรู้บ้านแก่นวิชา "แก่นวิชา มากกว่า ความรู้" ผ่านการสื่อสารที่เรียกว่า "ใบปลิว"
เป็นช่วงปีแรก ของการเริ่มต้น ศูนย์การเรียนรู้บ้านแก่นวิชา
ผ่านไป 1 ปี มีผู้ปกครอง ให้ความสนใจ เชื่อถือ ไว้ใจ ให้แก่นวิชา สอน ลูกหลานตน
ช่วยกัน บอกต่อ ไปยังเพื่อนๆ ให้พาลูกๆ มาเรียน
ทำให้ แก่นวิชา ดำรงอยู่ต่อไปได้ ผ่านพ้น ระยะ Survival Phase ไปได้
ตรงกับ ความรู้ ที่ คุณ Siambrandname Webmaster เขียนถ่ายทอดไว้ในกระทู้
Survival Phase มากกว่าการค้าขาย สรุปความรู้สำคัญจากผู้ขายสู่ผู้สร้างองค์กรธุรกิจ โดย SBN Business Incubation
ราวๆ เดือน กันยายน ปี 2546
ได้มี พี่ๆ ศิษย์เก่า วิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ 2 คน
มาิเปิด โรงเรียนกวดวิชาเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ใน พื้นที่บริเวณเดียวกันกับ แก่นวิชา
โดยใช้ชื่อว่า "R2U" อ่านว่า อาร์ ทู ยู หรือ "Road to University"
ซึ่งโดยทั่วไป หากดูกิจการที่เปิดแล้ว เป็นกิจการประเภทเดียวกันกับ แก่นวิชา
นั่นหมายถึง ต้องมาเป็นคู่แข่งกับแก่นวิชา ต้องมีการแข่งขันเพื่อแย่งชิงนักเรียนมาเป็นลูกค้า
แต่ คุณเอกราช มีกรอบคิด "ไม่คิดเอาชนะ" แทนที่จะ "คิดเอาชนะ"
หากแก่นวิชา "คิดเอาชนะ" แข่งแล้ว ชนะ จะกลายเป็นส่งเสริมให้ แก่นวิชา มีโอกาส เกิดความอหังการ์
แข่งแล้ว ต้องชนะให้ได้ จะได้กลายเป็น ผู้ยิ่งใหญ่ ต่อไปอาจแข่งกับทุกที่ ใน จ.นครปฐม เป็นได้
ยิ่งทำให้ ไม่หยุดแข่ง กลับกลายเป็น ยิ่งแข่งขันต่อไปมากขึ้น
หาก ไม่รู้จักพอ ก็ไม่รู้ว่า เมื่อไหร่จะ หยุด
หากแก่นวิชา แข่งแล้ว แพ้ จะกลายเป็น ส่งเสริมให้ R2U เอง มีโอกาส กลายเป็น เช่นนั้น เช่นกัน
แก่นวิชา เลือก "ไม่คิดเอาชนะ" คุณเอกราช จึงเข้าไปทำงาน เพื่อหาทางที่จะทำงานร่วมกันกับ R2U ให้ได้
จนในที่สุด R2U กลายมาเป็น ร่วมกันทำงาน ไม่ต้อง แข่งขันกัน ไม่ต้องเป็น คู่แข่งกัน
เพราะ ไม่ว่าใครเป็นฝ่ายชนะ หรือ แพ้ ก็ต่างไม่เป็นผลดี และ ไม่เ็ป็นประโยชน์ ต่อทั้ง 2 ฝ่าย
แก่นวิชา เอง มีความแข็งแกร่งกว่า ในการสอน เปิดทำการมานานกว่า 6 เดือน
และสามารถเดินทางผ่าน Survival Phase มาได้แล้ว จึงมีความมั่นคงกว่า R2U ซึ่งเพิ่งเริ่มต้นมากนัก
และที่แก่นวิชามีกลุ่มนักเรียน ตั้งแต่ ประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย
ซึ่งมีกลุ่มเ้ด็ก มัธยมปลาย เป็นกลุ่มนักเรียนเดียวกันกับ R2U
หากยัง "คิดเอาชนะ" อยู่ ก็ต้องมาแข่งขันกับ R2U อีก
แต่ อย่างที่บอก แก่นวิชา ไม่เลือก "คิดเอาชนะ" แต่ เลือก "ไม่คิดเอาชนะ"
จึงยินดี สละ พื้นที่งานสอนกลุ่มเด็ก มัธยมปลาย ให้ักับ R2U
และยินดีร่วมกันทำงาน เพื่อสนับสนุนให้ R2U สามารถผ่านพ้น Survival Phase ไปให้ได้เช่นกัน
และแน่นอนแก่นวิชา ก็ต้องนำสิ่งที่ได้เรียนรู้แล้ว มาถ่ายทอดให้ R2U
1 ในสิ่งที่ถ่ายทอด นั่นคือ การเขียนใบปลิว เพื่อประชาสัมพันธ์ จึงเกิดเป็นใบปลิวนี้ขึ้นมา
ข้อความในใบปลิวหน้าแรก พี่ๆ R2U เลือกมา มาจากเพลงๆ นึง คุ้นๆ หู กันไหม ...
เพลง "Live and Learn" ขับร้องโดย คุณกมลา สุโกศล
ขอขอบคุณ คุณ aimpaga ที่โพสต์เพลงนี้
ที่เลือกข้อความนี้ เหตุหนึ่งมาจาก ช่วงนั้นมีการสอบเข้ามหาวิทยาลัย 2 รอบ"ผิดหวังครั้งนี้ อยู่ที่เรียนรู้ อยู่ที่ยอมรับมัน ตามความคิดสติเราให้ทัน"
เพิ่มเติมข้อความ รวมกับข้อความ ส่วนหนึ่งในบทเพลง "Live and Learn" ขับร้องโดย คุณกมลา สุโกศล
คือ รอบเดือน ตุลาคม และ มีนาคม ซึ่งขณะที่ได้ทำใบปลิวนี้
เราทำเพื่อรองรับ กลุ่มคนที่รู้และยอมรับตนว่า สอบรอบแรกไม่ผ่านแน่ ผิดหวังแน่
เพื่อให้กลับมา พร้อมที่จะสู้ใหม่ ทุ่มเทกันอีกครั้ง แค่ 4 เดือน เพื่อสอบใน มี.ค. 47 ให้ได้
งานนี้ ทางแก่นวิชา ขอเพียงแค่ ให้มี โลโก้ ของแก่นวิชา แปะไว้ในใบปลิวด้วย
เพื่อให้แก่นวิชาได้รับประโยชน์ จากการทำงานร่วมกันครั้งนี้เช่นกัน
ด้วยการทำงานร่วมกันนี้ ทำให้ R2U เริ่มต้นตั้งตัวได้ มีนักเรียน ม.5-6 เข้ามาจากใบปลิว จำนวนมาก
ในการทำงานของเราครั้งนี้ ทำให้เราได้เจอกับน้อง ม.1 คนหนึ่ง
จากคุณแม่ ที่ได้รับใบปลิวนี้ เพื่อเอามาให้ลูกชาย ซึ่งเรียนอยู่ ม.ปลาย
และได้แวะเข้ามาพูดคุยกันที่ แก่นวิชา ระหว่างที่รอ ลูกชายเรียนที่ R2U
จนตัดสินใจ ให้โอกาสแก่นวิชา ได้สอนน้อง ม.1 คนนี้
ซึ่งสามารถอ่านสิ่งที่เรา และน้องคนนี้ ได้เรียนรู้ ผ่านการเรียน การสอน ที่แก่นวิชา ได้จากกระทู้นี้
กิ๊ฟท์ เด็กหญิงที่เรียนหนังสือดีเยี่ยม ดีกรีรางวัลระดับประเทศและระดับโลก
ทั้งยังเรียนแพทยศาสตร์ ศิริราช จาก การเรียนหนังสือที่ดี สู่ การเรียนรู้
ตามแนวทางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ถูกต้องของแก่นวิชา
จึงได้เรียนรู้สิ่งที่สำคัญ มากกว่า ความรู้ สัมผัสชีวิต
คุณแม่ ชื่นชอบแนวทางการเรียน การสอน ที่แก่นวิชา ให้กับ ลูกๆ
จึงช่วยสนับสนุนแก่นวิชา ด้วยการ บอกต่อ กับเพื่อนพ่อแม่ ด้วยกัน
แก่นวิชา ขอขอบคุณ
ซึ่งการบอกต่อครั้งนี้ ช่วยให้ ที่แก่นวิชา มีเด็กนักเรียน เข้ามาเรียน อย่างล้นหลาม
ทำให้ ต้องเตรียมการ สำหรับการ เพิ่มเติมทีมงาน และเริ่มออกแบบการจัดการ การศึกษา
ให้เป็น ระบบ มากขึ้น ซึ่งได้ทำงานนี้ร่วมกันกับ ทาง R2U
ในช่วงนี้ ทำให้แก่นวิชา ได้เจอกับ คุณอาภา เฮงเจริญ
(ปี 2548 ได้เข้ามาทำงานด้วยกัน และตั้งแต่ ปี 2551 เป็นต้นมา
กลายเป็น ผู้เื้อื้ออำนวยการและที่ปรึกษาให้กับแก่นวิชา)
ซึ่งขณะนั้น กำลังศึกษา ระดับปริญญาตรี ปีที่ 4 ใกล้จะจบอีกไม่กี่เดือน
และเข้ามาทำงาน part time พิเศษเพิ่มเติม ที่ R2U
แก่นวิชา ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณอาภา
จึงได้รู้ว่า คุณอาภา เรียนเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์
ซึ่งเป็นวิชาชีพเกี่ยวกับการศึกษา โดยตรง
และกำลังจะจบ แต่ ยังไม่รู้ว่า ชีวิตตัวเองจะเดินไปในทิศทางใด
แก่นวิชา จึงชวนคุณอาภา เข้ามาทำงาน การศึกษาด้วยกัน
ดังนั้น เมื่อเข้าช่วง ปิดเทอมฤดูร้อน ปี 2547 คุณอาภา เรียนจบแล้ว
จึงได้เริ่มเข้ามาทำงานเป็น ทีมงานคนหนึ่งของแก่นวิชา
ในช่วงปีนี้ R2U ได้ปิดตัวลง อย่างรวดเร็ว เนื่องด้วย พี่คนหนึ่ง ในทีมงาน R2U
มีเหตุจำเป็นต้องไปปฏิบัติงาน ในสายวิชาชีพวิศวกรรม ทำให้เหลือทีมงานอีกคนหนึ่ง
คือ คุณไพโรจน์ ภู่ต้อง
(คุณไพโรจน์ ได้เข้ามาเรียนรู้ร่วมทำงานด้วยกันกับแก่นวิชา จนพัฒนาตน กลายเป็น
ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ให้กับ ม.เกษตร ได้ อ่านการเรียนรู้ แก่นวิชา ร่วมกับ คุณไพโรจน์ได้ที่ลิงก์นี้)
ทางแก่นวิชา จึงชวนมาทำการจัดการ การศึกษา ด้วยกัน
ทำให้ แก่นวิชา มีทีมงานเพิ่มขึ้นอีก 1 คน
ซึ่งคุณไพโรจน์ ได้ให้ความรู้ การจัดการคุณภาพ ไว้กับแก่นวิชา
ช่วงปีที่ 2 ของแก่นวิชา งานเดิมที่เรายังต้องทำอยู่ ก็คือ แจกใบปลิว
เพราะ เรายังต้องการให้ มีเด็กเข้ามารับการศึกษา ที่ แก่นวิชา เยอะๆ
ตอนนี้ คุณอาภา เป็นผู้ปรับแต่ง ใบปลิว ที่มีอยู่เดิม จากอันนี้
ให้กลายเป็น อันนี้
หลังจากที่อยู่รอดได้แล้ว ในปีแรก ก็เข้าสู่ช่วงปีที่ 2
ปีแห่งการจัดการ วางระบบการศึกษา ให้กับแก่นวิชา ซึ่งเป็นช่วงเติบโต
หากผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้ แก่นวิชา ก็จะเข้าสู่ช่วงต่อไป ช่วงการขยายตัว
ได้อย่าง ไม่ต้องกังวล ฐานที่มั่น สามารถเดินหน้า รุกได้ต่อไป
มาร่วมกัน ติดตามตอนต่อไป ปี 2548-49 ได้ตามลิงก์นี้ >>>> คลิ๊กได้เลย
(อยู่ระหว่างการจัดทำกระทู้)