รีวิวบทความวิชาการ: การได้รับโฟเลท และ วิตามิน b12 สามารถช่วยลดโอกาส การเกิดปัญหาหัวใจขาดเลือดในผู้สูงอายุที่ขาดวิตามิน b12 ได้

  1. bit
    bit
    รีวิวบทความวิชาการ: การได้รับโฟเลท และ วิตามิน b12 สามารถช่วยลดโอกาส การเกิดปัญหาหัวใจขาดเลือดในผู้สูงอายุที่ขาดวิตามิน b12 ได้


    ขอบคุณรูปจาก http://retireathome.com/news/know-th...g-senior-care/


    ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสอ่านและแปลบทความทางวิชาการ ซึ่งเป็นการวิจัยผลของการได้รับโฟเลท และ วิตามิน B12 ที่มีต่อโอกาสที่จะเกิดปัญหาหัวใจขาดเลือดของผู้สูงอายุที่ขาดวิตามิน B12ได้ จากบทความต้นฉบับภาษาอังกฤษ ที่มีชื่อว่า

    Folic Acid and Vitamin B12 Supplementation Improves Coronary Flow Reserve in Elderly Subjects with Vitamin B12 Deficiency

    (* หมายเหตุ ผมไม่ได้แปลชื่อของบทความ ภาษาอังกฤษ มาเป็นภาษาไทยอย่างตรงไปตรงมาทุกตัวอักษร เพราะอยากให้ผู้อ่านที่ไม่ได้มีพื้นฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพได้เข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนบทความต้นฉบับเจตนาจะสื่อสาร โดยที่ผู้อ่านยังไม่ต้องรู้จักศัพท์เฉพาะวงการแพทย์ ที่ผู้เขียนบทความต้นฉบับนำมาใช้

    ส่วน สำหรับผู้ที่รู้จักค่า CFR อยู่แล้ว และสงสัยทำไมผมไม่ได้ใส่คำว่า CFR ในหัวข้อของบทความ ที่ผมแปลเป็นภาษาไทย ไม่ต้องกังวลนะครับ เพราะผมตั้งใจจะอธิบายความหมายและเรื่องราวเกี่ยวกับค่า CFR อยู่แล้วในบทความนี้ เพื่อให้ผู้อ่านที่ยังไม่รู้จักค่านี้ ได้รู้จักครับ)


    หลังจากได้รับมอบหมายงานนี้มา ในตอนแรก ผมก็เข้าใจว่าไม่น่าจะยากเย็นอะไร คงเหมือนแปลบทความธรรมดาทั่วๆไปที่เคยแปลอยู่ เลยประมาท ปล่อยเวลาล่วงเลยมาจนใกล้กำหนดส่ง ที่ไหนได้ พอเริ่มอ่านเท่านั้นครับ ถึงขั้นช๊อก ว่าตกลงนี่มันภาษาอังกฤษที่เรารู้จักหรือเปล่า ทำไมมันมีศัพท์ประหลาดๆชนิดไม่เคยได้ยินชื่อเสียงเรียงนาม มาให้เห็นอยู่กันเต็มไปหมด

    ในเวลานั้น สำหรับผมเองซึ่งไม่ได้เรียนมาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และไม่ได้เป็นคนใส่ใจในสุขภาพตัวเองถึงขั้นที่ศึกษาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพไว้เพื่อดูแลตัวเองอยู่แล้วนั้น แค่ลำพังจะอ่านให้เข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนบทความต้นฉบับต้องการจะสื่อนั้น ผมยังไม่มั่นใจเลยว่าจะทำได้

    สุดท้ายผมก็อดไม่ได้ ที่จะชื่นชมบรรพบุรุษชาวไทยในสมัยก่อน ที่เป็นคนสร้างวลี "ไปตายดาบหน้า" มาให้เราได้ใช้ เพราะวลีนี้ ผุดขึ้นมาในหัวผมในเวลานั้นทันที

    จริงๆแล้ว วลี "ไปตายดาบหน้า" หากนำมาตีความแล้ว มีความหมายที่ลึกซึ้ง วลี "ไปตายดาบหน้า" พยายามจะบอกเรา ให้เรายอมรับว่า ที่เป็นอยู่ปัจจุบันนั้น มีปัญหา อยู่ต่อก็ตาย ดังนั้น จึงต้องเดินต่อไปข้างหน้า(หมายถึงต้องหาทางแก้ที่ถูกต้อง ไม่จมอยู่กับปัญหาเดิม) ถึงแม้ข้างหน้าจะเป็นดงดาบ(หมายถึงมีภัยอันตรายอยู่เต็มไปหมด) ก็ต้องเดินไป เพราะอยู่ต่อก็ตาย จึงเลือกขอไปเสี่ยงตายข้างหน้า

    ผมคิดว่า สิ่งที่สำคัญที่สุด ที่วลีนี้พยายามบอกเราก็คือ อย่าเชื่อว่า ปัจจุบันที่เราใช้ชีวิตอยู่นั้น ไม่มีปัญหาใดเลย บางครั้งอาจมีปัญหาที่ถึงขั้นคอขาดบาดตายอยู่ เพียงแต่เรา มองไม่เห็น หรือ ไม่กล้ามอง เท่านั้น

    สำหรับผมในเวลานั้น โชคดีที่ปัญหานี้เห็นง่าย เพราะถ้าผมไม่ทำอะไรสักอย่าง คงจะแปลงานสำเร็จไม่ทัน ที่รับงานเขามาเป็นแน่

    ผมจึงเริ่มนำศัพท์ที่ผมไม่เคยได้ยินชื่อเสียงเรียงนาม มาค้นผ่าน Google.com เพื่อหาคำนิยามที่ผมพอจะเข้าใจได้

    หลังจากค้นไปนับสิบเว็บไซต์ สุดท้ายความพยายามของผมก็เริ่มเป็นผล


    ขอบคุณความรู้ รวมทั้ง รูปจาก http://www.echoincontext.com/2001tel...do-Forster.pdf

    หลังจากได้เห็นรูปด้านบนทำให้ผมได้รู้จักกับคำว่า Anatomy และ Physiology ซึ่ง

    Anatomy คือ สภาพจริงๆของร่างกาย

    Physiology คือ ตัวชี้วัดทางคณิตศาสตร์ ที่ถูกนำมาใช้อธิบาย Anatomy
    ขอสันนิษฐานของผมนะครับ เมื่อแรกเริ่มเดิมทีนั้น การแพทย์แผนตะวันตกคงเริ่มมาจาก การเปรียบเทียบ สภาพจริงๆของร่างกาย (Anatomy) ที่ปกติ และ สภาพจริงๆของร่างกาย ที่ไม่ปกติ และเริ่มกำหนด ตัวชีวัดทางคณิตศาสตร์ (Physiology) ที่ใช้อธิบายความแตกต่างระหว่างร่างกายที่ปกติ และ ไม่ปกติ

    ยกตัวอย่างเช่น Physiology ที่ชื่อว่า ดรรชนีมวลกาย (Body Mass Index, BMI) นั้น ถูกกำหนดขึ้นมาใช้เพื่อ ชีวัดว่า ร่างกายปกติ หรือ ร่างกาย อ้วนไป ผอมไป (ไม่ปกติ)

    และเริ่มกำหนดวิธีการรักษา ที่ทำให้อาการผิดปกติของ Anatomy หายไป โดยที่ Physiology ที่มีค่าไม่ปกติ นั้น จะช่วยให้หมอสามารถกำหนดรายละเอียดในการรักษาได้อย่างแม่นยำขึ้น (อย่างเช่นปริมาณยา) และ Physiology ยังใช้เป็นตัววัดอาการได้อีกด้วย ว่าดีขึ้นหรือไม่

    เหมือนดังที่เวลาเราไม่สบายแล้วไปหาหมอ หมอจะทำการซักถามอาการว่าเจ็บป่วยตรงที่ใด หากเป็นหมอผู้มีประสบการณ์ ก็จะเริ่มจินตนาการออก ว่า อาการนี้ Anatomy น่าจะมีปัญหาอย่างไร แล้วจึงทำการตรวจวัด Physiology ที่เกี่ยวข้องกับ Anatomy เหล่านั้น แล้วดูว่า ไม่ปกติ เป็นไปตามข้อสันนิษฐานหรือไม่ หากใช่ จึงจะกำหนดวิธีการรักษา และนัดมาตรวจวัด Physiology ครั้งต่อไป

    ดังนั้น พอเริ่มปะติดปะต่อความรู้ได้ดังนี้ ผมจึงถึงบางอ้อ ว่าจริงๆแล้ว ความรู้ทางการแพทย์แผนตะวันตก ที่เป็นหนึ่งในความมืดบอดของผมนั้น ถูกสร้างขึ้นมาจากความสัมพันธ์ระหว่าง Anatomy และ Physiology ของร่างกายมนุษย์ นี่เอง ดังนั้น เวลาหมอทำงาน โดยใช้ความรู้การแพทย์แผนตะวันตกนั้น จึงทำงานผ่านเส้นความสัมพันธ์ระหว่าง Anatomy และ Physiology ที่ตนเองรู้

    พอมีการวิจัยเพื่อสร้างความรู้ทางการแพทย์แผนตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเริ่มมีการ เห็น Anatomy ใหม่ๆมากขึ้น และ กำหนด Physiology ค่าใหม่ๆมากขึ้นตามมา ซึ่งเยอะเกินกว่า ที่คนคนเดียวจะสามารถรู้ทั้งหมดได้ ที่เริ่มเป็นที่มา ของการมีแพทย์เฉพาะทาง และ การศึกษาเพื่อเป็นแพทย์เฉพาะทาง จนมาถึงปัจจุบัน

    ซึ่งผมว่า จากนี้ไป ตอนเราป่วยแล้วไปหาหมอ ตอนหมอวินิจฉัยอาการ เราลองถามหมอนะครับ ว่า Anatomy ที่ผิดปกติของเราเป็นอย่างไร และ ต้องวัด Physiology ตัวไหน ค่าที่เรียกว่าปกติคือเท่าไร หากหมอที่เราไปหา ตอบไม่ได้ งานนี้ผมว่า อาจต้อง "ไปตายดาบหน้า" แล้วครับ

    พอเริ่มเข้าใจ หลักการในการสร้างความรู้การแพทย์แผนตะวันตก การทำงานแปลบทความทางวิชการของผมก็ง่ายขึ้นทันตาเห็น พอเจอศัพทย์ทางการแพทย์ที่ผมไม่รู้จัก ผมก็จัดกลุ่มเสียก่อน ว่าอยู่ในกลุ่มของ Anatomy หรือ Physiology แล้วจึงเริ่มทำความเข้าใจกับบทความ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการอธิบายความสัมพันธ์ของ Anatomy และ Physiology ที่ผู้เขียนยกมาใช้ ในบทความอยู่แล้ว สุดท้ายผมก็เลยเริ่มเข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนบทความต้องการจะสื่อผ่านบทความที่อ่าน และรู้สึกว่าบทความที่รับมาแปลนั้น มีเนื้อหาที่น่าสนใจ จึงเป็นเหตุที่ขอหยิบเนื้อหามาฝากกันในกรุ๊ปนี้ครับ

    อวัยวะ ที่ชื่อว่า "หัวใจ" นั้นเป็นอวัยวะสำคัญมาก ของร่างกายชนิดที่ว่า ไม่สามารถขาดได้ อย่างที่เรารู้กันว่า หัวใจ ทำหน้าที่เปรียบเสมือนปั๊มน้ำ ที่ปั๊มให้เลือดไหลเวียนเป็นวงจรอยู่ในร่างกาย ในร่างกายของเรานั้น ประกอบด้วยเส้นเลือดใหญ่น้อย ถักทอเป็นร่างแหอยู่เต็มไปหมด ซึ่ง เลือด นี้เอง ที่ทำหน้าที่ ส่งเสบียง ให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายสามารถคงอยู่ได้ โดยไม่อดเสบียงตาย

    หัวใจ ของเรานั้น มีกันเพียงคนละ 1 ลูก และ 1 ลูกนี้เอง ที่ทำงานอยู่อย่างไม่เคยหยุด แม้ยามที่เราหลับพักผ่อน ทำงานอยู่จนตลอดอายุขัยของเรา

    ถึงแม้ว่า หัวใจ จะทำหน้าที่ ปั๊ม เลือด ให้ไหลเวียนเป็นวงจร เพื่อ ส่งเสบียง ให้อวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย แต่ความจริงข้อหนึ่งก็คือ หัวใจ เอง ก็ต้องการเสบียงเช่นกัน ดังนั้น จึงมีเส้นเลือด ที่ต่ออยู่กับวงจรระบบไหลเวียนเลือดของร่างกาย ที่เข้ามาเลี้ยงหัวใจ


    ขอบคุณรูปจาก http://www.thaiheartclinic.com/data6.asp

    ซึ่ง ผมจะขอเรียกในบทความนี้ว่า เส้นเลือดหัวใจ นะครับ (จริงๆ มีศัพท์เทคนิค เรียกว่าเส้นเลือดโคโรนารี่ แต่ผมขอละ ใช้คำว่าเส้นเลือดหัวใจ แทนนะครับ)

    บทความทางวิชาการที่ผมรับมาแปลนั้น เป็นบทความที่อยู่ในพื้นที่ การแก้ปัญหา เลือดไปเลี้ยงหัวใจ ไม่พอต่อความต้องการของหัวใจ ณ สถานการณ์ที่หัวใจ ต้องการเลือดมากกว่าเวลาปกติ

    ร่างกายของคนเรา โดยปกติแล้ว เส้นเลือดหัวใจ นั้น จะสามารถนำเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ ในอัตราที่มากกว่า อัตราการใช้เลือดของหัวใจในยามปกติ ยกตัวอย่างเช่น ในเวลาที่เราออกกำลังกาย กล้ามเนื้อ ที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย ต้องทำงานหนักมากขึ้นกว่าในยามปกติ จึงต้องการเลือดในอัตราที่สูงขึ้น หัวใจจึงต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสนองความต้องการเลือดของกล้ามเนื้อเหล่านั้น ส่งผลให้หัวใจต้องใช้เลือดมากขึ้นกว่าปกติด้วยเช่นกัน ดังนั้น เส้นเลือดหัวใจ จึงถูกออกแบบมาให้เลือดไหลผ่านได้มากกว่า ความต้องการเลือดของหัวใจในยามปกติ เพราะต้องเผื่อไว้ใช้งานในยามที่หัวใจต้องการเลือดมากกว่าปกติ

    แต่พอต่อมาในช่วงหลังๆ เมื่อเทคโนโลยีเริ่มทำงานหลายๆอย่าง ที่ต้องใช้แรงกาย แทนมนุษย์มากขึ้น อีกทั้งมนุษย์เองกินอาหารที่ประกอบด้วยไขมันมากขึ้น โดยไม่ได้มีการเผาผลาญไขมันโดยการออกกำลังกายเหมือนแต่ก่อน สงผลให้ไขมันเริ่มเข้ามาสะสมในร่างกายมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เส้นเลือด ซึ่งเป็นท่อส่งเสบียงไปยังอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เริ่มถูกไขมันเข้าไปสะสมที่ผนัง ทำให้ท่อที่มีมาแต่เดิมเริ่มแคบลง ซึ่งไม่เว้นแม้แต่เส้นเลือดหัวใจ

    ซึ่ง ปัญหานี้ เป็นปัญหาที่ยากที่จะมองเห็น เพราะในยามใช้ชีวิตปกตินั้น เส้นเลือดหัวใจ ที่เริ่มแคบลงนั้น ยังคงสามารถให้เลือดผ่านด้วยอัตราที่เพียงพอที่หัวใจต้องการอยู่

    แต่พอในยามที่ ร่างกายต้องการเลือดมากกว่าปกติ จึงจะเริ่มเห็นอาการ โดยเฉพาะยามที่ร่างกายต้องการเลือดมากกว่าปกติ อย่างเฉียบพลัน อย่างเช่นเวลาที่ตกใจ หรือ ต้องใช้ความคิดอย่างหนักในทันที

    ช่วงเวลานั้น สมองจะต้องการเลือดมากกว่าปกติ ซึ่ง หัวใจ ก็จะต้องส่งเลือดไปให้ตามที่สมองต้องการ และแน่นอนว่า หัวใจเองก็ต้องการเลือดมากกว่าปกติด้วยเช่นกัน แต่เมื่อเส้นเลือดหัวใจเกิดแคบลง หัวใจไม่สามารถได้รับเลือดตามที่ต้องการ ก็จะไม่สามารถส่งเลือดไปในอัตราที่สมองต้องการได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ เซลล์สมอง บางส่วนจะไม่ได้รับเลือด และ ตายลงเนื่องจากขาดเลือด ซึ่ง การแพทย์แผนตะวันตก เรียกว่า Stroke ซึ่ง เป็นอาการที่อาจร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้ (ผมเดาว่า การที่ร่างกายเกิด Stroke หลายๆครั้ง น่าจะเป็นเหตุหนึ่งของควมผิดปกติทางสมอง อย่างเช่น อัลไซเมอร์ ได้)

    นอกเหนือจากนั้น การที่หัวใจเอง ไม่ได้รับเลือด ตามที่ต้องการใช้หลายๆครั้งเข้า หัวใจเองก็เสียหายเช่นกัน มีงานวิจัยพบว่า ลิ้นหัวใจด้านซ้าย จะเริ่มทำงานไม่ได้ก่อน ซึ่ง ไม่ว่าอาการใดที่เกี่ยวกับหัวใจได้รับเลือดไม่เพียงพอนั้น ล้วนร้ายแรงทั้งสิ้น ไม่ควรให้เกิดขึ้นเด็ดขาด

    เมื่อการแพทย์แผนตะวันตก ค้นพบปัญหานี้ จึงได้กำหนดตัวชี้วัดทางคณิตศาสตร์ตัวหนึ่ง ชื่อว่า CFR (Coronary Flow Reserve)

    CFR คือ อัตราส่วนระหว่าง อัตราการไหลสูงสุดของกระแสเลือดที่สามารถไหล เข้าไปที่เส้นเลือดหัวใจ กับ อัตราการไหลในเวลาปกติของกระแสเลือดที่สามารถไหล เข้าไปที่เส้นเลือดหัวใจ ของคนคนนั้น

    ซึ่ง CFR จะเป็นตัวบอกว่า เส้นเลือดหัวใจของคนคนนั้น มีความสามารถในการรับการไหลของเลือด ได้กี่เท่าของปกติ CFR จึงเป็นตัววัดทางคณิตศาสตร์ที่ สามารถบอกว่าคนคนนั้น มีโอกาสเสี่ยงที่จะมีอาการหัวใจขาดเลือด มากน้อยเพียงใด


    บทความวิชาการทางการแพทย์ ที่ชื่อว่า

    Folic Acid and Vitamin B12 Supplementation Improves Coronary Flow Reserve in Elderly Subjects with Vitamin B12 Deficiency

    ที่ผมรับมาแปลนั้น พูดถึงการทำวิจัย เพื่อพิสูจน์สมมุติฐานที่ว่า การให้สารอาหารเสริม Folic Acid และ วิตามิน B12 นั้น จะช่วยเพิ่มค่า CFR ให้กับ ผู้สูงอายุ ที่มีอาการขาดวิตามิน B12 ได้หรือไม่

    การทำวิจัยนั้น เริ่มจากการ ให้อาสาสมัคร ซึ่งเป็นผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 65 ปี) จำนวน 44 คน ซึ่ง แต่ละคนมี วิตามิน B12 อยู่ในกระแสเลือด ไม่เกิน 180 มิลิกรัม/เดซิลิตร

    สุ่ม 24 คนมาให้อาหารเสริม Folate 5 มิลลิกรัม และ วิตามิน B12 500 ไมโครกรัม ส่วนอีก 20 คน ไม่ได้ให้สารใด โดยทิ้งระยะเวลา 8 สัปดาห์

    วัดผลโดยการตรวจร่างกายคนไข้ จำนวน 2 ครั้ง ตรวจครั้งแรก เป็นการตรวจก่อนทำการให้อาหารเสริม โดยทำการตรวจพื้นฐานทั่วไป และ วัดค่า CFR โดยใช้การอุตร้าซาวน์หัวใจ ตรวจครั้งที่ 2 จะตรวจหลังการตรวจครั้งแรกเป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยทำการตรวจพื้นฐานทั่วไปและตรวจ CFR เหมือนครั้งแรก เพื่อทำการเปรียบเทียบค่า

    ซึ่งหลังกจากการทดลองไปแล้ว พบว่า การให้อาหารเสริม ที่มี Floate และ วิตามิน B12 ส่งผลให้ ปริมาณ คอเรสเตอรอล ลดลงอย่างชัดเจน และ พบ Folate และ วิตามิน B12 ในกระแสเลือด เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเช่นกัน

    หลังจากครบ 8 สัปดาห์ ผู้รับการทดลองกลุ่มที่ได้รับอาหารเสริม มี ค่า CFR เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน (ค่าเดิม 1.7 +- 0.2; หลังการทดลอง 2.1 +- 0.2, p < 0.001) โดยที่ไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้ ในกลุ่มที่ไม่ได้รับอาหารเสริม (ค่าเดิม 1.6 +- 0.2; หลังการทดลอง 1.6 +- 0.2; P = ns) ดังตารางและแผนภาพด้านล่างนี้




    จากที่ได้อ่านมา บทความนี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัยได้อย่างชัดเจนว่า การให้อาหารเสริม Folate จำนวน 5 มิลลิกรัม และ วิตามิน B12 จนวน 500 ไมโครกรัมนั้น ช่วยเพิ่ม CFR ของผู้สูงอายุ ที่มี วิตามิน B12 ในกระแสเลือด ไม่เกิน 180 มิลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่ง ผมว่าเป็นข้อมูลที่น่าสนใจครับ จะได้ไว้ใช้ดูแลญาติผู้ใหญ่ของเรา แล้วอย่าลืมดูแลตัวเราเองด้วยนะครับ ขอบคุณครับ


    บทความวิชาการที่แปล

    Kurt et al. Folic Acid and Vitamin B12 Supplementation Improves Coronary Flow Reserve in Elderly Subjects with Vitamin B12 Deficiency. Archives of Medical Research 2010;41:369-372
  2. iDnOuSe4
    iDnOuSe4
    ได้เข้ามาอ่านเต็มๆ อย่างละเอียดแล้ว รู้สึกว่าเป็นประโยชน์มากๆ เลยครับ
    ขอบคุณความรู้เรื่อง การสร้างความรู้ทางการแพทย์ และเรื่องโฟเลท กับวิตามินบี 12 ที่ช่วยลดโอกาส การเกิดปัญหา
    โรคหัวใจฯ ครับ

    ไปหาหมอครั้งหน้า จะได้ถามคุณหมอ ว่า " Anatomy ที่ผิดปกติของเราเป็นอย่างไร และ ต้องวัด Physiology ตัวไหน ค่าที่เรียกว่าปกติคือเท่าไร" ^ ^"

    ขอนำไปแบ่งปันนะครับ
  3. bit
    bit
    Quote Originally Posted by iDnOuSe4 View Post
    ได้เข้ามาอ่านเต็มๆ อย่างละเอียดแล้ว รู้สึกว่าเป็นประโยชน์มากๆ เลยครับ
    ขอบคุณความรู้เรื่อง การสร้างความรู้ทางการแพทย์ และเรื่องโฟเลท กับวิตามินบี 12 ที่ช่วยลดโอกาส การเกิดปัญหา
    โรคหัวใจฯ ครับ

    ไปหาหมอครั้งหน้า จะได้ถามคุณหมอ ว่า " Anatomy ที่ผิดปกติของเราเป็นอย่างไร และ ต้องวัด Physiology ตัวไหน ค่าที่เรียกว่าปกติคือเท่าไร" ^ ^"

    ขอนำไปแบ่งปันนะครับ
    ขอบคุณมากครับ รู้สึกยินดีเช่นกัน ที่ได้รับประโยชน์จากบทความที่เขียนนะครับ

    ยินดีสำหรับการนำไปแบ่งปันครับ
  4. yourfwd
    yourfwd
    ใน วิถี แห่ง การ "อ่าน" ที่ได้รับมา

    กระทู้ นี้ เป็น ตัวอย่าง การสร้าง ความรู้ จาก การ ศึกษา ที่ถูกต้อง
Results 1 to 4 of 4