DigitalKnowledge

รวมเคล็ดลับการเลือกฉนวนกันความร้อนที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

Rate this Entry
หลายคนเชื่อว่า ฉนวนกันความร้อนเป็นวัสดุที่ช่วยป้องกันความร้อนภายในบ้านอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ฉนวนดังกล่าวมีประโยชน์มากกว่านั้น เพราะสำหรับประเทศไทยที่อยู่ในเขตร้อนชื้นนั้น การมีฉนวนที่สามารถกันความร้อนได้จะช่วยให้เราไม่ต้องสูญเสียเงินไปกับค่าไฟจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำงานหนักกว่าปกติ นอกจากนี้ ฉนวนบางประเภทยังมีคุณสมบัติกันการเกิดอุบัติเหตุอย่างกันไฟและกันความชื้น เป็นต้น ดังนั้น เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าไฟและการบำรุงรักษา รวมถึงรักษาอุณหภูมิห้องให้เย็นตามต้องการนั้น การเลือกฉนวนกันความร้อนที่เหมาะสมกับบ้านหรืออาคารจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นมากที่สุดเรื่องหนึ่ง และในวันนี้ เราจะขอพาทุกคนไปดูเคล็ดลับการเลือกฉนวนที่ถูกต้องและคุ้มค่าในชนิดที่ช่างและร้านขายไม่เคยบอกคุณมาก่อน


ฉนวนกันความร้อนคืออะไร?
ภายในฉนวนกันความร้อนนั้นประกอบไปด้วยฟองอากาศเล็ก ๆ จำนวนมากที่อัดแน่นอยู่ โดยฟองดังกล่าวจะเป็นตัวสกัดความร้อนไม่ให้ส่งผ่านไปยังส่วนอื่น ๆ ส่วนใหญ่แล้ว ฉนวนประเภทนี้สามารถติดตั้งได้ทั้งหลังคาและผนังห้องเพื่อลดความร้อนของแสงอาทิตย์ที่อาจส่งผ่านเข้ามาภายใน


เลือกฉนวนกันความร้อนยังไงดี?
ฉนวนกันความร้อนตามท้องตลาดมีมากถึง 11 ประเภทที่แตกต่างกันออกไปตามการใช้งานและข้อจำกัด ตัวอย่างเช่น ฉนวนใยแก้วนั้นมีคุณสมบัตินำความร้อนต่ำและซับเสียงได้ดี แต่เส้นใยแก้วนั้นสามารถทำให้เกิดการระคายเคืองเป็นอย่างมาก หรือจะเป็นในกรณีของเซรามิกโค้ดติ้งที่สามารถป้องกันความร้อนของผิวอาคารได้โดยตรง แต่ก็ดันมีค่าใช้จ่ายที่สูงและต้องใช้ช่างผู้เชี่ยวชาญติดเท่านั้น เป็นต้น ในเมื่อเป็นแบบนี้ เราจะขอชวนคุณไปดูว่า จริง ๆ แล้วเราต้องดูอะไรในการเลือกฉนวนกันแน่

ค่ากันความร้อน
วัสดุแต่ละประเภทมีค่ากันความร้อนที่ต่างกัน บนฉลากของผลิตภัณฑ์จะระบุค่า R (Resistivity) หรือตัวเลขที่จะบอกว่าฉนวนชนิดนั้น ๆ กันความร้อนได้ดีขนาดไหน และค่า K (K-Value หรือ Conductivity) หรือตัวเลขที่บอกคุณสมบัติการนำความร้อน โดยเราต้องเลือกวัสดุที่มีค่า R สูง และค่า K ต่ำ

แต่ถ้าฉลากไม่ได้ระบุ คุณสามารถคำนวณค่ากันความร้อนได้จาก
R = ความหนาของวัตถุ / ค่าการนำความร้อน (K)

แต่ถ้าฉลากระบุค่า Thermal Capacity ไว้ด้วยก็ไม่ต้องตกใจ เพราะตัวเลขของค่านี้จะแสดงถึงความสามารถของวัสดุในการเก็บความร้อน ดังนั้น คุณควรเลือกฉนวนกันความร้อนที่มีค่า Thermal Capacity น้อย ๆ เพื่อลดการสะสมความร้อนในตัวอาคาร

งบประมาณที่สัมพันธ์กับวัสดุของฉนวน
หากคุณสามารถเปรียบเทียบค่ากันความร้อนได้ด้วยตัวเองแล้ว งบประมาณในการติดฉนวนนั้นเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณต้องพิจารณาให้ดี เพราะนอกจากวัสดุที่ต่างกันจะมีราคาที่ต่างกันแล้ว การเลือกตำแหน่งของฉนวนให้สัมพันธ์กับชนิดของวัสดุก็ทำให้ราคานั้นยิ่งต่างกันเข้าไปอีก ตัวอย่างเช่น การติดฉนวนที่หลังคาต้องใช้วัสดุที่เบา แต่ก็ต้องเลือกวัสดุที่ทนทานมากพอที่จะกันการเพาะพันธุ์ของหนูและแมลงอีกด้วย

เมื่อเป็นแบบนี้ เราอยากลองให้คุณกลับไปพิจารณางบประมาณสำหรับการติดฉนวนกันความร้อนคร่าว ๆ แล้วดูว่า แต่ละตำแหน่งต้องใช้วัสดุอะไร ขนาดเท่าไหร่ เพราะการทำเช่นนี้จะทำให้คุณเลือกวัสดุที่ตรงกับความต้องการในราคาที่คุณจ่ายไหว และที่สำคัญ อย่าเลือกแต่วัสดุที่มีราคาถูกและคิดว่าค่อยไปเปลี่ยนตอนมีงบ เพราะการเลือกวัสดุฉนวนที่ไม่รอบคอบนั้นอาจมีผลต่อโครงสร้างหลักภายในอนาคตได้ เช่น หากคุณใช้โครงสร้างเหล็กในการสร้างอาคารแต่คุณดันเลือกวัสดุทำฉนวนที่ไม่ป้องกันความชื้น ในอนาคตคุณอาจพบเจอกับปัญหาโครงสร้างเหล็กเป็นสนิมจากความชื้นที่เล็ดลอดเข้ามาจากวัสดุฉนวนก็เป็นได้
Tags: None Add / Edit Tags
Categories
Uncategorized

Comments