Previous
Next
Downtown
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก Downtown
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก
Page 3 of 3 FirstFirst 1 2 3
Results 21 to 22 of 22

Thread: เกาะติดสถานการณ์น้ำท่วม พฤศจิกายน 2554

  1. #21
    wnonach's Avatar
    wnonach is offline Trusted Member
    Join Date
    Apr 2010
    Posts
    458
    Warning Points:
    0/5

    Thumbs up

    Thank you very much kha. [/COLOR]
    You Can Try Without Succeeding. But You Can Not Succeed Unless You Try!



    BIG THANKS FOR SBN
    Like IAm ถูกใจ ข้อความนี้ ที่สุด

  2. #22
    IAm's Avatar
    IAm is offline Trusted Member
    Join Date
    Jun 2010
    Posts
    448
    Blog Entries
    4
    Warning Points:
    0/5

    1 ธันวาคม 2554
    ==================================================



    ศอส.เผย ยังมีน้ำท่วม 21 จังหวัด เสียชีวิตรวม 666 ราย

    ศอส.ระบุ ไทยตอนบนมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 15 จังหวัด มี ปชช.ได้รับความเดือดร้อน 1,800,043 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 657 ราย สูญหาย 3 ส่วนในภาคใต้มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 6 จังหวัด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 9 ราย

    วันนี้ 1 ธ.ค.ที่กระทรวงมหาดไทย ศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์ อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) รายงานถึงสถานการณ์อุทกภัยและประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ใน 2 พื้นที่ คือ ประเทศไทยตอนบนมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 15 จังหวัด 104 อำเภอ 773 ตำบล 4,898 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,800,043 ครัวเรือน 4,827,958 คน ได้แก่ นครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ นครนายก ฉะเชิงเทรา และ กทม.มีผู้เสียชีวิต 657 ราย สูญหาย 3 คน (จ.แม่ฮ่องสอน 2 ราย จ.อุตรดิตถ์ 1 ราย)

    ส่วนสถานการณ์ในภาคใต้มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 6 จังหวัด 42 อำเภอ 228 ตำบล 1,421 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 100,233 ครัวเรือน 334,361 คน ได้แก่ พัทลุง ตรัง นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา และ ปัตตานี มีผู้เสียชีวิต 9 ราย (จ.พัทลุง 2 ราย สงขลา 2 ราย ยะลา 2 ราย นราธิวาส 3 ราย)

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 ธันวาคม 2554 20:44 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...d3%b7%e8%c7%c1

    >> นราธิวาส <<


    เร่งซ่อมถนนในศรีสาครถูกน้ำเซาะพังเสียหายกว่า 20 เมตร

    นราธิวาส - เร่งขนเครื่องจักรกลหนักจาก อบจ.นราธิวาส เข้าซ่อมแซมถนนใน อ.ศรีสาคร ที่ถูกน้ำท่วมกัดเซาะผิวดินริมถนน กว่า 20 เมตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้าน และถวายเป็นพระราชกุศล 5 ธันวามหาราช

    สืบเนื่องจากกรณี นายการี อูมูมิยง กำนัน ต.เชิงคีรี อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส นำลูกบ้านจาก 3 หมู่บ้าน ใน ต.เชิงคีรี คือบ้านกะดี หมู่ 1, บ้านลาเวง หมู่ 3 และบ้านดาฮง หมู่ 4 ประมาณ 100 คน เข้าร้องทุกข์ผ่านส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ช่วยแก้ปัญหากรณีกระแสน้ำจากคลองไอร์ปาเก๊าะกัดเซาะผิวดินของถนนบ้านดาฮง หมู่ 4 ต.เชิงคีรี จนดินพังเสียหาย กว่า 20 เมตร ซึ่งส่งผลให้ชาวบ้านใน 3 หมู่บ้านประมาณ 1,000 ครัวเรือน รวม 4,500 คน ไม่สามารถใช้ถนนเพื่อขนถ่ายสินค้าทางการเกษตรออกสู่ตลาดได้ โดยได้เข้าร้องเรียนเมื่อวันที่ 26 พ.ย. ที่ผ่านมา

    ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าว่า ล่าสุดในวันนี้ (1 ธ.ค.) นายเดชรัฐ สิมศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ได้ประสานขอเครื่องจักรกลหนัก ได้แก่ รถแมคโคร รถไถเกลี่ยถนน และรถบรรทุกดิน จากสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นราธิวาส เข้าทำการซ่อมแซมถนนสายนี้แล้ว คาดว่า อีก 4- 5 วัน การดำเนินการซ่อมแซมจึงจะแล้วเสร็จ

    โดยการดำเนินการซ่อมแซมครั้งนี้ นอกจากเป็นการช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนแล้ว จังหวัดนราธิวาสได้ถือเป็นการทำงานที่ร่วมมือร่วมใจกันเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวามหาราช ด้วย



    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 ธันวาคม 2554 12:26 น.
    http://www.manager.co.th/qol/viewnew...=9540000138124

    ผู้เลี้ยงปลากระชังนราโอดรัฐปล่อยน้ำจืดลงทะเลปลาตายนับแสนตัว

    นราธิวาส - กลุ่มผู้เลี้ยงปลาในกระชังโอดปลาตายนับแสนตัว หลังรัฐเปิดประตูเร่งระบายน้ำจืดเหนือเขื่อนลงทะเล วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลือด่วน ขณะที่ 26 โรงเรียนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เตรียมเปิดพร้อมกันสัปดาห์หน้า

    วานนี้(1 ธ.ค.)ที่บริเวณชายหาดนราทัศน์ เขตเทศบาลเมืองนราธิวาส กลุ่มเลี้ยงปลากระชังในคลองโคกเคียน ได้ร้องทุกข์ไปยังสื่อมวลชนในพื้นที่เพื่อให้ทำการบันทึกภาพข่าวภายหลังจากทางราชการเปิดประตูระบายน้ำบางนราตอนบน เพื่อระบายน้ำจืดลงทะเล ซึ่งน้ำจืดดังกล่าวเป็นน้ำป่าและน้ำโคลน ขณะที่น้ำคลองโคกเคียน เป็นพื้นที่น้ำเค็มที่ชาวบ้านกว่า 1,000 ครัวเรือนใช้เป็นพื้นที่เลี้ยงปลาในกระชัง เช่น ปลากะพง และปลาเก๋า แต่ภายหลังจากการเปิดประตูระบายน้ำดังกล่าว ทำให้ปลาในกระชัง โดยเฉพาะปลาเก๋า ลอยตัวเหนือน้ำและตายนับหลายแสนตัว

    นายซาการียา เจะยิ ผู้เลี้ยงปลาในกระชังคลองโคกเคียน กล่าวว่า ตนเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดประตูระบายน้ำเขื่อนระบายน้ำป่าที่ไหลหลาก เพื่อป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ตอนบนของเขื่อน ในขณะที่ชาวบ้านผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงปลาในกระชังในแม่น้ำบางนรา และในคลองโคกเคียนต้องได้รับความเดือดร้อน เพราะเงินทุกบาททุกสตางค์ได้ลงทุนซื้อลูกปลาและเลี้ยงปลาลงกระชัง ซึ่งปลากำลังโตเต็มที่แล้วเพียงอีก 2 เดือนก็จะสามารถยกปลาในกระชังทั้งหมดเพื่อนำไปขายแก่พ่อค้าแม่ค้า โดยราคาขายส่งปลาเก๋าอยู่ที่ประมาณ 370 บาทต่อกิโลกรัม

    "แต่ขณะนี้แทบหมดสิ้นเนื้อประดาตัว เนื่องจากปลาที่เลี้ยงโดยเฉพาะปลาเก๋า ลอยตายและตายอืดอยู่ใต้น้ำหลายหมื่นตัวทุกวันตั้งแต่มีการปล่อยน้ำป่า ซึ่งผมเลี้ยงปลา 12 กระชัง กระชังละประมาณ 1,000 ตัว ขณะนี้เหลือไม่กี่ตัวแล้ว ขาดทุนจริงๆ เงินทุนที่กู้มา ยังไม่รู้จะชดใช้หนี้สินได้อย่างไร ทั้งนี้ ไม่เพียงเฉพาะผมเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ กลุ่มเลี้ยงปลาในกระชังอีกหลายรายก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน จึงขอวิงวอนไปยังหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง โปรดเข้าไปดูแลและให้การช่วยเหลือชาวบ้านอย่างเร่งด่วน อย่างจริงจัง และจริงใจด้วย"

    สำหรับความคืบหน้าเกี่ยวกับสภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ จ.นราธิวาส ล่าสุดบริเวณแม่น้ำสุไหงโก-ลก ซึ่งไหลผ่าน 3 อำเภอ คือ อ.ตากใบ อ.แว้ง และ อ.สุไหงโก-ลก พบว่าปริมาณน้ำในแม่น้ำสุไหงโก-ลก ที่เอ่อล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่ทางการเกษตรของราษฎรเป็นเวลานานกว่า 1 สัปดาห์ มีปริมาณน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง จากผลพวงของการเปิดประตูระบายน้ำลงสู่ทะเล ทำให้ปริมาณน้ำท่วมมีความสูงโดยเฉลี่ยล้นจากตลิ่งอยู่ที่ระดับ 30-40 ซม.และชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนหนักที่สุดคือ ชุมชนหัวสะพาน ซึ่งตั้งอยู่เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีผู้อพยพ 227 คน 45 ครัวเรือน ซึ่งยังคงอาศัยปักหลักอยู่ที่ศูนย์อพยพของโรงเรียนเทศบาล 4 เนื่องจากยังไม่มั่นใจในสถานการณ์น้ำ หลังกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเตือนว่าลมมรสุมจะพัดผ่านอีกระลอก

    ในส่วนของสถานศึกษาต่างๆ ที่ประกาศปิดการเรียนการสอนทั้งสิ้น 26 โรงล่าสุดหลายโรงเรียนได้ทยอยเปิดทำการเรียนการสอน โดยบางแห่งคณะครู นักเรียน รวมทั้งนักการภารโรง ได้ร่วมกันเก็บกวาดและทำความสะอาดห้องเรียนแล้ว เพื่อเตรียมตัวเปิดการเรียนการสอนในสัปดาห์หน้า ครบทั้ง 26 โรง



    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 ธันวาคม 2554 19:08 น.
    http://www.manager.co.th/Daily/ViewN...d3%b7%e8%c7%c1

    >> ปัตตานี <<


    ปัตตานีลมแรงพัดบ้านริมชายฝั่งพัง 1 หลัง

    ปัตตานี - ลมพัดบ้านเรือนราษฎรริมชายฝั่ง ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี เสียหาย 1 หลัง ขณะน้ำท่วมเริ่มคลี่คลาย ด้านอุตุฯ เตือนในระยะ 5 วันนี้ทะเลมีคลื่นลมแรง เรือเล็กงดออกจากฝั่ง

    วันนี้ (1 ธ.ค.) นายปัญญาศักย์ โสภณวสุ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ปัตตานี เปิดเผยว่า จากรายงานของสถานีอุตุนิยมวิทยา จ.ปัตตานี ในวันนี้ แจ้งว่า แม้ระยะนี้ใน จ.ปัตตานี จะไม่มีภาวะฝนตกหนักในพื้นที่ แต่ยังคงได้รับอิทธิพลจากร่องความกดอากาศสูงกำลังแรงที่พัดผ่านทะเลอ่าวไทย ส่งผลให้เกิดคลื่นลมแรงในทะเลปัตตานีตั้งแต่วันนี้ไปอีก 5 วัน

    ดังนั้น ในวันนี้ทางศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม จ.ปัตตานี จึงได้ออกประกาศแจ้งเตือนเรือประมงใน จ.ปัตตานี โดยเฉพาะเรือเล็กห้ามออกจากฝั่ง เพราะอาจจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์คลื่นลมแรงในทะเล ความสูงคลื่น 1-2 เมตร

    ขณะเดียวกัน ก็ได้แจ้งเตือนไปยังบ้านเรือนประชาชนที่อาศัยตลอดริมชายฝั่งทะเลปัตตานีในหลายอำเภอให้ระมัดระวังสถานการณ์กระแสลมแรงพัดเข้าสู่ฝั่งในช่วงนี้ ซึ่งรายงานเบื้องต้นพบบ้านเรือนประชาชนเสียหาย 1 หลัง จากลมพัดแรงที่ ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี โดยทางอำเภอได้เร่งเข้าไปสำรวจและให้ความช่วยเหลือเป็นการด่วนแล้ว

    สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในปัตตานีวันนี้ แทบทุกพื้นที่ถือได้ว่ากลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ยังคงมีบางพื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมซ้ำซากที่นำระบายออกยังไม่หมด แต่ในภาพรวมสถานการณ์ดีขึ้นเรื่อยๆ และจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในเร็วๆ นี้ หากไม่มีฝนตกลงมาอีก

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 ธันวาคม 2554 17:37 น.
    http://www.manager.co.th/Local/ViewN...d3%b7%e8%c7%c1
    >> สงขลา <<


    ตลาดน้ำคลองแหยังคงเจิ่งนอง คาดสัปดาห์หน้าสู่ภาวะปกติ

    ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - น้ำยังหนุนท่วมท่าน้ำตลาดน้ำคลองแห แหล่งท่องเที่ยวของ จ.สงขลา สุดสัปดาห์นี้ยังต้องย้ายเรือไปขายริมฝั่งแทน ขณะที่พื้นที่โดยรอบมีร่องรอยของตลิ่งพังต้นไม้ล้มลงมาในคลอง คาดสัปดาห์หน้าพร้อมเปิดให้บริการตามปกติ

    วันนี้ (1 ธ.ค.) สภาพตลาดน้ำคลองแห แหล่งท่องเที่ยวทางน้ำของ จ.สงขลา ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองแห เขตเทศบาลเมืองคลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา บริเวณท่าน้ำซึ่งเป็นทางเดินสำหรับนักท่องเที่ยวเพื่อเลือกซื้อของจากเรือ ยังคงถูกน้ำหนุนท่วมแม้จะลดระดับลงจากเดิมมากแล้ว แต่สภาพทางเดินและที่นั่งยังมีน้ำเจิ่งนองและเต็มไปด้วยโคลนตมสกปรก ทำให้ในสุดสัปดาห์นี้แม้ตลาดน้ำคลองแหจะเปิดให้บริการตามปกติ แต่บรรดาพ่อค้าแม่จำเป็นต้องย้ายเรือไปขายยังริมตลิ่งที่อยู่ใกล้เคียงแทนติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่สอง

    โดยหลังจากนี้ แม้น้ำจะลดลงจนกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่จำเป็นต้องฟื้นฟูบริเวณท่าน้ำครั้งใหญ่ เนื่องจากเต็มไปด้วยโคลน และบริเวณริมตลิ่งมีร่องรอยของดินพัง ต้นไม้ทรุดลงไปอยู่ในคลอง ทั้งนี้ คาดว่าตลาดน้ำคลองแหจะกลับมาสู่สภาพเดิมอีกครั้งภายในสัปดาห์หน้า

    อย่างไรก็ตาม แม้สภาพตลาดน้ำคลองแหจะไม่เหมือนเดิม เพราะไม่สามารถลงไปเดินบริเวณท่าน้ำได้ แต่ในทุกวันศุกร์, เสาร์, อาทิตย์ ที่เปิดให้บริการ ยังคงมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและมาเลเซียเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก





    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 ธันวาคม 2554 21:03 น.
    http://www.manager.co.th/Local/ViewN...=9540000153449


    3 แนวทางแก้น้ำท่วมภาคใต้แบบยั่งยืน สร้างเศรษฐกิจแข็งแกร่ง

    กูรูน้ำแนะแนวทางแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคใต้แบบบูรณาการและนำมาใช้ได้ทันที “บริหารการจัดการโครงสร้างชลประทานรักษาคูคลองและพื้นที่ป่า - ปัดฝุ่นเหมืองเก่า - รวมการบริหารจัดการเมืองหาดใหญ่ ” เพื่อแก้ปัญหาการระบายน้ำในเขื่อนรัชประภาและบางลางลงสู่ทะเลได้มีอย่างประสิทธิภาพ และลดข้อขัดแย้งเวรคืนที่ดินชาวบ้านเพื่อนำมาสร้างแกล้มลิงและผลิตน้ำปะปา ช่วยให้เศรษฐกิจภาคใต้แข็งแกร่ง

    สถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ ที่เป็นธรรมชาติที่มีแนวโน้มความรุนแรงขึ้นทุกปี อีกทั้งพื้นที่การระบายน้ำที่ลดลงจนไม่สามารถระบายน้ำฝนที่เพิ่มปริมาณขึ้นนั้น ได้สร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจภาคใต้ติดต่อกันมาหลายปี โดยความเสียหายล่าสุด ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน จากมีน้ำท่วมใน 4 จังหวัดใต้ ได้แก่ สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวมทั้งหมด 27 อำเภอ 145 ตำบล 606 หมู่บ้าน และมีพื้นที่การเกษตร 33,848 ไร่ สัตว์ปีก 309 ตัว บ่อปลา กุ้งตะพาบ 92 บ่อ

    สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคใต้แบบยั่งยืน “ดร.รอยล จิตรดอน” ผู้อำนวยการ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) กล่าวกับ “ ผู้จัดการ 360 องศารายสัปดาห์ ” ถึงแนวทางการแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ซ้ำซากมานาน ผ่านโครงสร้างระบบชลประทาน โดยการบริหารจัดการคูคลองและพื้นที่ป่า โดยบริหารจัดการคูคลอง ปรับสภาพฟื้นคลองให้กลับมามีประสิทธิภาพในการระบายน้ำจากเขื่อน 2 แห่งของภาคใต้ คือ เขื่อนรัชประภาและเขื่อนบางลางให้มีศักยภาพในการระบายน้ำฝนที่ตกมาในปริมาณมากจนล้นเขื่อนให้สามารถไหลลงสู่ทะเลได้ดี


    เขื่อนทะเลน้อย


    เขื่อนรัชประภา

    ที่ผ่านมา ปัญหาน้ำท่วมที่จังหวัดพัทลุง นับว่าเป็นตัวอย่างพื้นที่ชี้ให้เห็นถึงการบริหารจัดการน้ำในทะเลสาบที่ไม่ดี เพราะมี 1.การบุกรุกที่ดิน 2.สภาพตื้นเขินที่มาจากตะกอน 3.ป่าชายเลนเสียหาย โดยผลที่ตามมา คือ มีน้ำท่วมและน้ำขังในจังหวัดพัทลุง เห็นได้จากตั้งแต่ต้นปีนี้เผชิญน้ำท่วมถึง 3 - 4 ครั้ง

    ปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมานั้นเกิดจากคูคลองมีสภาพตื้นเขินจนทำให้ไม่สามารถระบายน้ำเช่นในอดีต อีกทั้งการขุดลอกคูคลองที่ผ่านมานั้น ไม่ได้มองทางแก้ปัญหาในเรื่องการเกาะเซาะบริเวณตลิ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ใช้วิธีการแก้โดยทำเป็นคลองคอนกรีต ซึ่งต้องมองว่าจะเป็นแนวกันชนได้หรือไม่ แล้วจะทำอย่างไร ซึ่งเวลาขุดลอกบริเวณตลิ่ง ทำให้ต้นไม้บริเวณริมตลิ่งก็ถูกตัดด้วย ซึ่งต้นไม้ช่วยแก้ปัญหาการกัดเซาะได้ ซึ่งถ้าไม่มีอยู่ก็ต้องมีการอนุรักษ์รักษาไว้ แต้ถ้าไม่มีรณรงค์ให้มีการปลูกขึ้นมา

    กรณีตัวอย่างของจังหวัดสมุทสาครมีสภาพดินอ่อน เมื่อมีการขุดลอกจะส่งให้ดินพังลงมา เมื่อมีการขุดลอกในระยะเวลาเพียง 7 - 8 เดือน คลองกับไปตื้นเขินอีกเนื่องจากมีสภาพดินที่อ่อน อย่างไรก็ตามระยะหลังก่อนขุดลอกมีการแก้ปัญหาโดย ปลูกโกงกาง กับแสมที่ริมตลิ่ง ซึ่งจะช่วยเกาะยึดตลิ่งไว้ หลังจากนั้นพบว่าการขุดลอกเริ่มได้ผลตามเป้าหมาย

    ส่วนการแก้น้ำท่วมที่อำเภอหาดใหญ่ ซึ่งระยะหลังมีปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากมาหลายปีติดกัน ผู้อำนวยการ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร บอกว่า แม้จะมีคลองรอบนอกคือคลอง ร.1 -ร.6 ที่มีการระบายน้ำได้ดี แต่พื้นที่ด้านในเป็นแอ่งกะทะ เมื่อมีฝนตกลงมาในปริมาณมากและทำให้บริเวณรอบนอกมีระดับน้ำสูงทำให้น้ำรั่วเข้าไป รวมถึงมีน้ำล้นจากคลองรอบนอกเข้ามาสมทบอีกด้วย

    นอกจากนั้นหลังจากที่มีการขุดคลองรอบนอกขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ระบายน้ำลงสู่ทะเลสาบ ทำให้การความสำคัญกับคลองระบายน้ำที่อยู่ในตัวเมืองหลายๆแห่งลดลง ไม่มีการดูแลสภาพคลองในตัวเมืองไม่ให้ตื้นเขิน ดังนั้นเมื่อน้ำเข้าไปในตัวเมืองทำให้การระบายน้ำเป็นไปได้ยาก

    รวมพื้นที่ปกครองแก้น้ำท่วม

    อีกแนวทาง คือ การบริหารการจัดการการปกครองส่วนท้องถิ่นที่แยกออกไป คือ อำเภอหาดใหญ่ ,คอหงส์ ,คลองแห ถือว่าเป็นจุดอ่อนทำให้การแก้น้ำท่วมไม่เป็นศูนย์รวม ซึ่งพื้นที่ทั้ง 3 ส่วนต้องมีการรวมตัวเป็นเทศบาลเดียวกัน ซึ่งเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด โดยการรวมเป็นเทศบาลเดียวกันจะทำให้มีการบริหารน้ำไปทิศทางเดียวกันเป็น 1 ลุ่มน้ำย่อย จะทำให้การบริหารจัดการน้ำง่ายขึ้น


    เขื่อนบางลาง

    หากไม่แก้ปัญหาเรื่องระบบบริหารในส่วนท้องถิ่น แต่แก้ที่การบริหารจัดการน้ำให้ไปในทิศทางเดียวกันนั้น นับว่าการระบายน้ำลงสู่ทะเลของ หาดใหญ่ คอหงส์ และคลองแห มีความไปได้น้อยมาก ที่สำคัญจะเผชิญปัญหาเช่นเดียวกับปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งปัจจุบันเกิดปัญหาการถกเถียงกันในเรื่องของการระบายน้ำจากนนทบุรีเข้ากรุงเทพฯ และกรุงเทพฯเข้านนทบุรี ซึ่งเป็นปัญหาที่ชัดเจนมาก

    ปรับเหมืองเก่าเสร้างแกล้มลิง

    ทั้งนี้การแก้น้ำท่วมโดยการสร้างเขื่อน-คูคลองเพื่อใช้เป็นเส้นทางการระบายน้ำลงทะเล ที่ผ่านมามักประสบปัญหาเรื่องการเวนคืนที่ดิน ในส่วนนี้ ผู้อำนวยการ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร บอกว่า ที่ผ่านมามีความพยายามผลักดัน โดยสร้างแกล้มลิงจากเหมืองเก่า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ 2 ทาง คือ 1. เพื่อมาแก้ปัญหาน้ำท่วม 2.หลังหาวิธีการแก้เรื่องโลหะหนักได้แล้ว ยังเป็นแหล่งผลิตน้ำปะปา ช่วยแก้ปัญหาการขาดน้ำปะปาดิบในพื้นที่ ซึ่งเผชิญปัญหานี้มานานอีกด้วย

    แนวทางแก้น้ำท่วมนี้ ยังมีการศึกษเพื่อนำมาใช้กับจังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี โดยปรับเหมืองเก่า ชื่อเหมืองตาสา ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 1000 ไร่ให้มาเป็นโครงการแกล้มลิง อย่างไรก็ตามแนวทางนี้ สอดคล้องกับพื้นที่ทางภาคใต้ซึ่งมีเหมืองเก่าหลายแห่ง อาทิ เหมืองลูกรังเก่าตั้งอยู่ในพื้นที่ด้านหลังเขาสิงหนคร จังหวัดสงขลา นับว่าเป็นอีกทางเลือกในการแก้ปัญหาน้ำท่วมที่ภาคใต้

    ส่วนที่จังหวัดภูเก็ตเองก็มีเหมืองเก่าหลายแห่ง ที่ผ่านมีปัญหาน้ำท่วมอยู่บ้าง ควรเอามาใช้ประโยชน์อื่น นอกจากท้องถิ่นนำเหมืองเก่ามาออกโฉนดกัน ที่ผ่านมามีการผลักดันในส่วนนี้ มีการเดินหน้านำเสนอแนวทาวทางเหล่านี้ผ่านสส. มาตลอด และยังพูดกันในเรื่องเดิมๆ ซึ่งในปัจจุบันเมื่อมีปัญหาน้ำท่วมใหญ่ขึ้นในหลายพื้นที่ก็ตาม แต่แนวทางการแก้ไขเหล่านี้มีความเป็นไปได้น้อยมาก

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 ธันวาคม 2554 11:06 น.
    http://www.manager.co.th/mgrWeekly/V...d3%b7%e8%c7%c1
    >> กรุงเทพฯ <<


    แจ้งเส้นทางสัญจรถนนสายหลัก-สายรอง

    บก.จร.แจ้งปิดเส้นทางจราจรมีน้ำท่วมขัง และแจ้งเปิดการจราจรหลังน้ำลดอย่างไม่เป็นทางการ 1 เส้นทาง คือถนนโกสุมร่วมใจ

    วันนี้ (1 ธ.ค.) ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร กองบังคับการตำรวจจราจร หรือ บก.จร. แจ้งระดับน้ำลดลงเปิดการจราจรอย่างไม่เป็นทางการ 1 เส้นทาง คือ ถ.โกสุมร่วมใจ เปิดการจราจรตลอดสาย

    ทิศเหนือ ถนนสายหลัก ปิดการจราจร 2 เส้นทาง

    1. ถ.พหลโยธิน ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่ สะพานข้ามคลองถนน ถึงอนุสรณ์สถาน มีน้ำท่วมขัง

    2. ถ.วิภาวดี-รังสิต ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่ สะพานกลับรถศูนย์ลูกเรือ ถึงอนุสรณ์สถาน มีน้ำท่วมขัง, ถ.วิภาวดีรังสิต รถยนต์ขนาดเล็กใช้ได้ถึงสะพานกลับรถศูนย์ลูกเรือ

    ถนนสายรอง ปิดการจราจร 7 เส้นทาง
    1. ถ.ช่างอากาศอุทิศ ปิดการจราจรตลอดสาย มีน้ำท่วมขัง
    2. ถ.เทิดราชันย์ ปิดการจราจรตลอดสาย มีน้ำท่วมขัง
    3. ถ.กำแพงเพชร 6 ตั้งแต่ทางเข้า สน.ดอนเมือง ถึง สุดเขตนครบาล มีน้ำท่วมขัง
    4. ถ.สรงประภา ปิดการจราจรตลอดสาย มีน้ำท่วมขัง
    5. ถ.เชิดวุฒากาศ ปิดกาจราจรตลอดสาย มีน้ำท่วมขัง
    6. ถ.เตชะตุงคะ ปิดการจราจรตลอดสาย มีน้ำท่วมขัง
    7. ถ.แจ้งวัฒนะ ซอย 14 ปิดการจราจรตลอดสาย มีน้ำท่วมขัง

    ทิศตะวันตก-ใต้ ถนนสายหลัก ปิดการจราจร 1 เส้นทาง

    1. ถ.บรมราชชนนี ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่ ทางลงคู่ขนานลอยฟ้า ถึง ถ.พุทธมณฑลสาย 4 มีน้ำท่วมขัง

    ถนนสายรอง ปิดการจราจร 4 เส้นทาง

    1. ถ.ทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจร ตั้งแต่คลองทวีวัฒนา ถึงตัด ถ.พุทธมณฑลสาย 2 มีน้ำท่วมขัง
    2. ถ.ฉิมพลี ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจร ตั้งแต่แยกทุ่งมังกร ถึงหน้า สน.ตลิ่งชัน มีน้ำท่วมขัง
    3. ถ.บางแวก ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ ถ.พุทธมณฑลสาย 2 ถึงคลองทวีวัฒนา มีน้ำท่วมขัง
    4. ถ.พุทธมณฑล สาย 3 ปิดการจราจรตลอดสาย มีน้ำท่วมขัง

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 ธันวาคม 2554 11:28 น.
    http://www.manager.co.th/Crime/ViewN...d3%b7%e8%c7%c1

    กทม.เร่งหารือแผนกู้หมู่บ้านถูกน้ำท่วมขัง

    กทม.ร่วมมือภาคเอกชนวางแผนกู้หมู่บ้านน้ำท่วมขัง คาดเร็วสุด 5 ธ.ค. แต่หากน้ำท่วมสูงเสร็จ 14 ธ.ค. หวังทุกพื้นที่แห้งทันเป็นของขวัญปีใหม่ ยันเปิด ปตร.คลองพระยาสุเรนทร์ที่ 1.40 เมตร

    วันนี้ (1 ธ.ค.) ที่ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เวลา 14.00 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. แถลงข่าวความร่วมมือกับภาคเอกชนในการกู้พื้นที่น้ำท่วมขังภายในชุมชนและ หมู่บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร โดยการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำจากหน่วยงานภาคเอกชน 8 บริษัท จำนวน 36 เครื่อง สำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร 20 เครื่อง และสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย 1 เครื่อง รวมทั้งสิ้น 57 เครื่อง เพื่อเร่งสูบน้ำในพื้นที่น้ำท่วมขัง 4 พื้นที่ที่สามารถ ดำเนินการได้ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 5 ธ.ค. ได้แก่ 1.หมู่บ้านโกสุมนิเวศน์ 2 เขตดอนเมือง ซึ่งมีน้ำสูง 25 ซม.จากผิวจราจร โดยจะเร่งระบายน้ำในพื้นที่ลงสู่คลองตาอูฐและคลองบางพูด จะทำให้ระดับน้ำในหมู่บ้านลดลงโดยเฉลี่ยวันละ 5 ซม. 2.ซอยแจ้งวัฒนะ 14 เขตหลักสี่ น้ำท่วมขังสูง 50-60 ซม. จะสูบน้ำสู่คลองเปรมประชากร คลองบางตลาด และท่อระบายน้ำ ซึ่งจะทำให้น้ำในพื้นที่ลดลงวันละประมาณ 10 ซม. 3.เคหะชุมชนทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ ระดับน้ำสูง 20-30 ซม.จะระบายน้ำสู่คลองตาอูฐและทำให้น้ำลดลงประมาณ 5-7 ซม. และ 4.ถนนรามอินทรา ซอย 1-39 เขตบางเขน ระดับน้ำสูง 15-20 ซม.จะเร่งสูบน้ำลงคลองถนนและคลองกระเฉด ทำให้น้ำลดลงวันละประมาณ 10 ซม. ส่วนในพื้นที่น้ำท่วมขังสูงกว่านี้คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในวันที่ 14 ธ.ค.นี้

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าวว่า กทม.ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในทุกพื้นที่ แต่การจะเร่งระบายน้ำในพื้นที่น้ำท่วมขังจะต้องทำการปิดล้อมพื้นที่เพื่อไม่ให้น้ำเข้ามาเพิ่มอีก และเร่งระบายน้ำออกโดยใช้เครื่องสูบน้ำจำนวนมากสูบลงท่อระบายน้ำหรือคลองในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้การระบายน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็วยิ่งขึ้น ในส่วนของหมู่บ้านเศรษฐกิจ เขตบางแคนั้น ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากมีขนาดพื้นที่กว้างทำการปิดล้อมพื้นที่ได้ยาก อีกทั้งระดับน้ำในคลองทวีวัฒนายังสูงมาก หากสูบน้ำออกตอนนี้น้ำจะไหลวนกลับเข้ามาในพื้นที่ได้ อย่างไรก็ตาม หากระดับน้ำในคลองทวีวัฒนาลดลงและสามารถทำการปิดล้อมพื้นที่ได้ กทม.จะระดมเครื่องสูบน้ำและทำการระบายน้ำหมู่บ้านเศรษฐกิจ รวมถึงพื้นที่อื่นๆ ที่มีน้ำท่วมขังในกรุงเทพฯ ทันที และทุกพื้นที่ของกรุงเทพฯ จะแห้งภายใน 31 ธ.ค. 2554 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับคนกรุงเทพฯ

    สำหรับภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพื่อกู้หมู่บ้านน้ำท่วม จำนวน 36 เครื่อง ประกอบด้วย บริษัท ริเวอร์ เอนจีเนียริ่ง จำกัด 14 เครื่อง บริษัท อมตะคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 5 เครื่อง ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามประสิทธิ์ 5 เครื่อง บริษัท ซิโน-ไทย เอนจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) 4 เครื่อง บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง จำกัด 2 เครื่อง บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) 2 เครื่อง บริษัท ไออีทีแอล จำกัด 2 เครื่อง และบริษัท เสริมสงวนก่อสร้าง จำกัด 2 เครื่อง

    ส่วนกรณีที่ยังมีชาวบ้านไปกดดันจะปิดถนนให้ กทม.เปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ที่ระดับ 1.50 เมตร นั้น ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ยืนยันว่า จะเปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ที่ระดับ 1.40 เมตร ตามระบบขั้นบันได และได้มอบหมายให้ข้าราชการฝ่ายประจำ กทม.ไปดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีในเรื่องดังกล่าวแล้ว

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 ธันวาคม 2554 16:52 น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...d3%b7%e8%c7%c1


    ฝากติดตาม Business Social Group ของร้านแอมด้วยนะคะ ^^ ขอบคุณค่ะ
    Iam-Better2U เพราะเราใช้ เราดีขึ้น เราจึงสรรสิ่งที่ดีสำหรับคุณ

    ร่วมรณรงค์ใส่ลิ้ง เปิดโลก SBNTown ใน sign
    กระทู้ แนะนำความรู้ในการใช้เครื่องมือของชุมชน SBN Town ที่ทำให้พวกเราสามารถใช้งานได้อย่างเท่าเทียมกัน
    Thanks Siambrandname Webmaster ขอบคุณ ผู้โพสต์ข้อความนี้

Page 3 of 3 FirstFirst 1 2 3

Comments from Facebook

Posting Permissions

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •