“จากการศึกษาเส้นใย ไครโซไทล์พบว่าสามารถย่อยสลายได้โดยไม่ยากในปอดเส้นใยชนิดนี้เป็นเส้นใยธรรมชาติและความสามารถในการย่อยสลายปรากฏว่ามีแตกต่างกันบ้างขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดอย่างไรก็ดีค่าความสามารถในการย่อยสลายจะอยู่ประมาณตำแหน่งปลายๆ(สามารถย่อยสลายได้ดี) โดยพิสัยจะประมาณใกล้เคียงกับเส้นใยแก้วและหินที่ค่าสุดท้ายเส้นใย ไครโซไทล์จะย่อยสลายได้ง่ายกว่าเส้นใยเซรามิกส์เส้นใยแก้วชนิดพิเศษและเส้นใยหินชนิดแอมฟิโบล
การที่เส้นใยไครโซไทล์สามารถย่อยสลายได้ง่ายเป็นผลเนื่องมาจากโครงสร้างทางเคมีทำให้ย่อยสลายจากเส้นใยต่างๆไปเป็นสสารอสัณฐาน(จากDavid m. Bernstein, Fiber Toxicology, Chapter 11 “Toxicology of the lung”, 2006 by CRC Press Taylor & Francis Group, page 467, 468)

“เนื่องจากเส้นใยไครโซไทล์สามารถย่อยสลายได้ดีกว่าเส้นใยโครซิโดไลท์ดังนั้นการตกค้างอยู่ในร่างกายมนุษย์เป็นช่วงระยะเวลาที่สั้นกว่าจากการศึกษาในหลอดทดลองเส้นใยไครโซไทล์ขนาดผ่าศูนย์กลาง1 ไมครอนเมื่อเข้าไปในร่างกายมนุษย์จะย่อยสลายใช้ระยะเวลาประมาณ1 ปีแต่ถ้าเป็นเส้นใยโครซิโดไลท์จะใช้เวลา60 ปีอย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกตว่าถึงแม้จะย่อยสลายง่ายแต่ในควีเบคเมื่อ50 ปีก่อนหลังจากมลภาวะฝุ่นใยหินลดลงจนถึงปัจจุบันก็ยังมีคนงานเสียชีวิตเนื่องจากโรคมะเร็งปอดอยู่ซึ่งสาเหตุอาจเป็นเพราะว่าเนื่องมาจากใยหินแอมฟิโบลหรือการที่จะเป็นโรคนี้เส้นใยหินที่เข้าสู่ร่างกายไม่จำเป็นต้องเป็นชนิดย่อยสลายยากก็เป็นได้จาก

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.chrysotile.co.th
หรือมาเป็นเพื่อนกันได้ที่ https://www.facebook.com/ChrysotileThailand