Previous
Next
Downtown
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก Downtown
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก
Results 1 to 6 of 6

Thread: การได้รับกระบวนการ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" จุดเปลี่ยนสำคัญ ของเส้นทางการสร้างงาน สร้างองค์กรธุรกิจ (ตอนที่ 1)

Threaded View

  1. #1
    Join Date
    Jun 2010
    Posts
    336
    Warning Points:
    0/5
    เมื่อปลายปี 2550 ซึ่งเป็นราวๆ ขึ้นปีที่ 2 นับตั้งแต่ผมได้เริ่มเข้ามาประกอบการ ในศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสร์ ในตอนนั้น ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยคุณไพโรจน์ ภู่ต้อง ผู้จัดการศูนย์ฯ ได้มีนโยบาย ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการใหม่ ที่อยู่ในศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ โดย ให้มีตำแหน่ง ที่เรียกว่า "พี่เลี้ยงธุรกิจ" ไว้คอยช่วยเหลือผู้ประกอบการใหม่ แต่ละรายโดยเฉพาะ

    สำหรับคำว่า "พี่เลี้ยงธุรกิจ" นั้น ผมเองก็เพิ่งมารู้ทีหลัง ว่า ทั้ง คำว่า "พี่เลี้ยงธุรกิจ" และ ภารกิจ สิ่งที่ต้องรับผิดชอบ ของ ผู้ที่เป็น "พี่เลี้ยงธุรกิจ" นั้น เป็นผลมาจาก "การสร้างความรู้" ของ คุณเอกราช จันทร์ดอน ที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยผู้ประกอบการในศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่กำลังประสบปัญหาในการสร้างองค์กรธุรกิจ ในขณะนั้น โดยคุณไพโรจน์ ภู่ต้อง ผู้จัดการศูนย์ฯ นำไปใช้ปฏิบัติต่อ จนกำหนดเป็นนโยบายในการช่วยเหลือผู้ประกอบการในศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ในช่วงเวลานั้น


    ขอบคุณรูปจาก http://www.fuzedmarketing.com/motiva...ot-sufficient/

    ภารกิจ และ สิ่งที่ต้องรับผิดชอบ ของ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" จะแตกต่างกับ "ที่ปรึกษาธุรกิจ" อย่างมาก

    "ที่ปรึกษาธุรกิจ" นั้น จะช่วยเหลือผู้ประกอบการ ในพื้นที่จากความรู้ที่ตนมีออกไป อย่างเช่น ที่ปรึกษาด้านกฏหมาย ก็จะคอยช่วยเหลือ เฉพาะด้านกฏหมาย คอยประเมิน คอยดู ว่าผู้ประกอบการนั้น จะต้องแก้หรือป้องกันปัญหาด้านกฏหมายตรงใดบ้าง

    แต่ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" นั้นแตกต่างออกไป พี่เลี้ยงธุรกิจ เข้าไปทำงานกับผู้ประกอบการอย่างใกล้ชิด เพื่อคอยมองปัญหาที่ผู้ประกอบการยังมองไม่เห็น และช่วยผู้ประกอบการในการ "สร้างความรู้" เพื่อแก้ปัญหา ที่เริ่มมองเห็น ตลอดจนถ่ายทอด ความรู้ และ กระบวนการคิดต่างๆ ที่จำเป็น ที่จะทำให้ ผู้ประกอบการ สามารถเดินไปยังภาพที่ตนเองอยากเห็นได้

    ดังนั้น งาน "พี่เลี้ยงธุรกิจ" นั้น จึงเป็นสิ่งที่ต้องคิดใหม่ "สร้างความรู้" ใหม่ ทุกครั้ง ในการเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงธุรกิจ ของผู้ประกอบการแต่ละราย ที่มี ภาพที่อยากเห็น และปัญหาต่างๆกัน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ การช่วยให้ผู้ประกอบการได้มอง "ภาพที่อยากเห็น" และ "การเดินไปสู่ภาพที่อยากเห็น" ของตนเองให้ชัด เพื่อให้ผู้ประกอบการ ได้เริ่มสร้างงาน สร้างองค์กร อย่างมีทิศทาง ไปยังภาพที่ตนอยากเห็น โดยไม่หลงทาง

    ประจวบกับ ในช่วงเวลานั้น ผมได้เริ่มขอคำปรึกษา ซักถามปัญหาที่เกี่ยวกับการสร้างงาน สร้างองค์กร ของผม กับคุณเอกราช อย่างไม่เป็นทางการอยู่แล้ว และเริ่มพบแล้ว ในตอนนั้น ว่า "กรอบคิด" ใน การสร้างงาน สร้างองค์กร ของคุณเอกราชนั้น นำมาใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการสร้างองค์กรที่ผมเจออยู่ ได้จริง ผมจึงแสดงความจำนงค์ ขอให้ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านทางคุณไพโรจน์ ภู่ต้อง ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจฯ ในสมัยนั้น เชิญคุณเอกราช จันทร์ดอน มาเป็นพี่เลี้ยงธุรกิจ ในส่วนบริษัทของผม ที่อยู่ในโครงการบ่มเพาะธุรกิจ กับทางศูนย์บ่มเพาะธุรกิจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    หลังจากเวลาผ่านไปกว่า 8 เดือนในการ รับบริการ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" จากคุณเอกราช โดย ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายนั้น เรียกได้ว่า เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ในการเดินทาง เส้นทางการประกอบการของตัวผมเอง จากคนที่ไม่รู้จะเริ่มต้นสร้างงาน สร้างองค์กรธุรกิจ ได้อย่างไร มาเริ่มมองเห็น เส้นทางที่ถูกต้อง ที่ตัวผมเอง เลือกที่จะเดินต่อ เพื่อสร้างงาน สร้างองค์กรธุรกิจ ของตัวผมเอง

    ซึ่ง หลังจากนั้นไม่นาน ผมได้เชิญคุณเอกราช จันทร์ดอน เข้ามาเป็นที่ปรึกษา ด้างด้าน กรอบคิด คน และวัฒนธรรมองค์กร ของบริษัท พร้อมทั้งเชิญคุณเอกราช เข้ามาถือหุ้นในบริษัทด้วย และยังทำงานร่วมกันเรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน

    คำว่า "พี่เลี้ยงธุรกิจ" นั้น เป็นคำทั่วไป ที่หลายๆคนคงเคยได้ยินมาก่อน ผมเองก็เช่นกัน แต่คำว่า "พี่เลี้ยงธุรกิจ" ที่เป็นผลของการสร้างความรู้ ของคุณเอกราช จันทร์ดอน นั้น ผมเองก็เพิ่งได้รู้ในภายหลัง หลังจากที่ผมเอง ต้องเริ่มฝึกเพื่อเป็น "พี่เลี้ยงธุรกิจ" เพื่อสอนทีมงานในองค์กร ให้สามารถก้าวเข้าสู่เส้นทางการสร้างงานของเขาเอง ทำให้ได้รู้ว่า ภารกิจ ความรับผิดชอบ ของ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" ที่คุณเอกราช เป็นผู้สร้างความรู้ไว้นั้น ได้กำหนดขึ้นจาก กรอบความรู้ ของ "ทฤษฎีการกำเนิดของ ธุรกิจใหม่ ฉบับ สำหรับอุดมศึกษาไทย" ซึ่ง คุณเอกราช เป็นคนเขียนขึ้น เมื่อปี 2548 สมัยที่คุณเอกราช ยังเป็นที่ปรึกษา ของ ศูนย์การเรียนรู้บ้านแก่นวิชา



    Conceptual Model การกำเนิดของธุรกิจใหม่ จาก "ทฤษฎีการกำเนิดของ ธุรกิจใหม่ ฉบับ สำหรับอุดมศึกษาไทย" เอกราช จันทร์ดอน, 2548

    "ทฤษฎีการกำเนิดของ ธุรกิจใหม่ ฉบับ สำหรับอุดมศึกษาไทย" เป็น ความรู้ ที่เกิดจากการสร้างความรู้ ของคุณเอกราช จันทร์ดอน เพื่อเป็นทฤษฏีแม่บท ในการบ่มเพาะธุรกิจ ให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในช่วงที่รัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้สถาบันการศึกษา สนับสนุนให้เกิดการสร้างงาน สร้างองค์กรธุรกิจ จากนิสิต นักศึกษา หรือ ศิษย์เก่า ซึ่ง เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สามารถปิดงาน "โครงการคลีนิกเทคโนโลยี" ที่ คุณเอกราช เป็นคณะทำงานที่ รับผิดชอบในการวางกรอบ และกำหนดแผนในการทำงาน ในสมัยนั้น

    สำหรับคำว่า "พี่เลี้ยงธุรกิจ" ตามการสร้างความรู้ของคุณเอกราชนั้น เมื่อพิจารณาเทียบกับ "Conceptual Model การกำเนิดของธุรกิจใหม่" ด้านบน ก็คือ คนตัวใหญ่ ที่กำลังจูงมือ คนตัวเล็ก ซึ่งหมายถึงผู้ปรกอบการใหม่ เพื่อให้เติบโตแข็งแรง จนสามารถอยู่รอดต่อได้ ในโลกทุนนิยม

    สำหรับ กรอบความคิด ที่ผมมารู้ทีหลัง และเพิ่งได้เริ่มนำมาใช้ เพื่อเริ่มฝึกเป็นพี่เลี้ยงธุรกิจ ให้กับทีมงานในบริษัทของผมนั้น อ้างอิงจาก "ทฤษฎีการกำเนิดของ ธุรกิจใหม่ ฉบับ เริ่มต้น" ซึ่ง เป็นเวอร์ชั่นที่คุณเอกราช เขียนขึ้นก่อน ที่จะแปลงทฤษฏีนี้ ให้เป็น ฉบับ สำหรับอุดมศึกษาไทย เพื่อให้มหาวิทยาลับเกษตรศาสตร์นำไปใช้ ในช่วงเวลานั้น (แต่คุณเอกราช ยังไม่ได้นำฉบับนี้ มาลงบนอินเตอร์เน็ต)
    เหตุที่คุณเอกราช ต้องเขียน ทฤษฎีการกำเนิดของ ธุรกิจใหม่ ให้แตกต่างกัน 2 ฉบับนั้น ก็เพราะสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ระหว่างผู้ประกอบการ ที่เข้าสู่กระบวนการบ่มเพาะธุรกิจ ของสถาบันอุดมศึกษาไทย กับ ผู้ประกอบการ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ในโลกทุนนิยม

    ซึ่งผมเอง เป็นผู้ประกอบการใหม่ ที่เข้าสู่กระบวนการบ่มเพาะธุรกิจของสถาบันอุดมศึกษาไทย ในขณะที่คุณเอกราช มาเป็นพี่เลี้ยงธุรกิจให้นั้น จึงทำตาม ทฤษฎีการกำเนิดของ ธุรกิจใหม่ ฉบับ สำหรับอุดมศึกษาไทย แต่หลังจากที่ บริษัทของผม ได้ออกจากกระบวนการบ่มเพาะธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเริ่มออกมาสู่โลกทุนนิยมอย่างที่ไม่มีผู้สนับสนุนเป็นมหาวิทยาลัย กระบวนการ พี่เลี้ยงธุรกิจ ที่ผมต้องทำให้เกิดขึ้น ภายในองค์กร ภายในบริษัทของผม จึงต้อง เป็นการสร้างผู้ประกอบการใหม่ ที่เกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติ

    (อ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับ ความแตกต่างของ ทฤษฎีการกำเนิดของ ธุรกิจใหม่ ฉบับ เริ่มต้น และ ทฤษฎีการกำเนิดของ ธุรกิจใหม่ ฉบับ สำหรับอุดมศึกษาไทย >>คลิ๊กที่นี่<<)


    ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    ขอบคุณรูปจาก http://pr.ku.ac.th

    เมื่อปลายปี 2551 หลังจากผ่าน การรับบริการ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" จากคุณเอกราช จันทร์ดอน โดยเป็นบริษัทเดียว ในศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในสมัยนั้น ที่แสดงความจำนงค์ ขอใช้บริการ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" ทันที ที่เริ่มมีนโยบาย คุณไพโรจน์ ภู่ต้อง ในฐานะผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ในสมัยนั้น จึงได้ขอให้ผม เขียนบทความ เกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับ จากกระบวนการ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" โดยคุณเอกราช จันทร์ดอน เพื่อเป็นกรณีศึกษา ของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการดำเนินการบ่มเพาะธุรกิจต่อไป

    "คุณเป็นคนเดียว ในศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ได้รับ การถ่ายทอดความรู้ ในการสร้างงาน จาก คุณเอกราช จันทร์ดอน โดยผ่านกระบวนการ พี่เลี้ยงธุรกิจ ผมขอให้คุณช่วยเขียนบทความเกี่ยวกับ สิ่งที่คุณได้รับ และการเปลี่ยนแปลงของวิธีคิด หลังจากผ่านกระบวนการ เพื่อเป็นกรณีศึกษาของทางศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้วยครับ"
    ดังนั้น ผมจึงเขียนบทความหนึ่ง ในช่วงปลายปี 2551 ที่รวบรวมสิ่งที่ผมได้รับ และวิธีคิดที่เปลี่ยนไป หลังจากผ่านกระบวนการพี่เลี้ยงธุรกิจ ตามคำขอ ของคุณไพโรจน์ ภู่ต้อง ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจฯ ในสมัยนั้น และผมเห็นว่า บทความนี้ น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคน ที่อยากจะเลือกเส้นทางชีวิต ในการประกอบการ สร้างงาน สร้างองค์กรธุรกิจ ของตนเอง ตามเจตนาของ "ชมรมผู้ประกอบการใหม่ ด้าน IT" ที่ผมตัดสินใจตั้งขึ้น ผมจึงขอนำบทความที่เคยเขียนไว้นานแล้ว (ปลายปี 2551) มาลงเป็นความรู้เพิ่มเติม ในชมรมผู้ประกอบการใหม่ ด้าน IT แห่งนี้ ด้วยครับ

    (หากสงสัยว่า ทำไมจึงต้องมี ชมรมผู้ประกอบการใหม่ ด้าน IT >> คลิ๊กที่นี่ <<)

    เนื่องจากบทความค่อนข้างยาว (10 หน้ากระดาษ A4) ผมจึงขอตัดบทความออกเป็น 3 ตอน แบ่งเป็น 3 กระทู้ ดังด้านล่างนี้ครับ

    และเนื่องจาก บทความ ที่นำมาลงนั้น เขียนไว้ตั้งแต่ปี 2551 ซึ่ง ความเข้าใจในตนอง ความเข้าใจในโลก ความเข้าใจในการสร้างงาน สร้างองค์กร ของผมในตอนนั้น ยังไม่เท่ากับตอนนี้นะครับ (บทความเลยอ่านค่อนข้างยาก) แต่ผมเลือกที่จะนำบทความมาลงโดยไม่แก้ไข จะได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของตัวผมเอง จากการเขียนครับ

    ในบทความจะมีการให้ความหมายของคำว่า ที่ปรึกษาธุรกิจ กับ พี่เลี้ยงธุรกิจด้วย ซึ่งอาจไม่ชัดเจนเหมือนทที่เขียนไว้ด้านบน (เพิ่งเขียนตอนนี้) ขอให้ยึดสิ่งที่เขียนไว้ด้านบน เป็นหลักนะครับ

    ขอบคุณมากครับ

    ---------------------------------------------------------------------------------------------


    อ่านต่อ >> การได้รับกระบวนการ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" จุดเปลี่ยนสำคัญ ของเส้นทางการสร้างงาน สร้างองค์กรธุรกิจ (ตอนที่ 2)

    อ่านต่อ >> การได้รับกระบวนการ "พี่เลี้ยงธุรกิจ" จุดเปลี่ยนสำคัญ ของเส้นทางการสร้างงาน สร้างองค์กรธุรกิจ (ตอนที่ 3)



    Last edited by bit; 06-18-2012 at 01:37 PM.

Comments from Facebook

Posting Permissions

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •