เพื่อนๆที่เข้ามาอ่าน ผมไม่ได้ขอร้องอะไร...แต่อยากจะให้ ตอบกระทู้ หรือจะเขียนอะไรสักอย่างบ้างก็ดี..หรือไม่จําเป็นต้องขอบคุณ...บางครั้งมันก็มีน้อยใจบ้างเหมือนกัน...ทั้งค้นหา ทั้งมานั่งพิมพ์..แต่ผลสุดท้ายก็แค่ ผ่านมาอ่าน...แล้วก็ไป. จะเข้ามาบอกว่า...เออ น่าเบื่อ...เคยอ่าน...หรือไม่ชอบ...ผมรับได้ครับ...สิ่งไหนที่ไม่ดี ไม่ชอบ ผมจะนําไปแก้ไข...สิ่งไหน เรื่องไหนดี...ชอบ ก็จะเป็นกําลังใจให้ผมบ้าง. ขอบคุณจากใจ.


วันนี้ผมหาเรื่องดีๆ....เกี่ยวกับการฝึก ซึ่งมันมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยกับเราบ้าง...คือการฝึกปฎิบัติ ให้รู้ ให้เห็น ในเรื่อง ลางสังหรณ์...ทุกท่านย่อมมีลางสังหรณ์กันทุกๆคนแน่...หรือเรียกว่า สัมผัสที่ 6...

ในเรื่องนี้...ผมจะไม่พูดถึงการเกิดลางสังหรณ์จาก ตาเขม่น หางตากระดิก..แต่ผมจะพูดถึง เหตุการณ์ที่มันน่าจะเกิดขึ้น ไม่ต้องให้ตาเขม่นก่อน หรือจากอะไรก็ตาม...แต่จะคิดออกมาจาก สัมผัสที่ 6 ในตัวเราเองเลยครับ.


เช่นยกตัวอย่าง...ผมขับรถขึ้นเขา จะไปเชียงรายท่ามกลางสายฝน...ซึ่งเป็นเขาคด เลี้ยวไป เลี้ยวมา...ขับมานานแสนนาน..ไม่คิด...ขึ้นเขามาก็หลายลูก....แต่มาฉุกอยู่เขาเบื้องหน้า...ในความคิดว่า...มันต้องถล่มลงมาแน่ๆ...และมันก็อยู่เบื้องหน้า 2-300เมตร...จึงชะลอรถแทบจะหยุด...และมันก็เป็นจริง...ทั้งดิน โคลน ซากต้นไม้ หินก้อนโตๆ...ถล่มมาเบื้องหน้า....แต่ถ้าผมดื้อรั้นขับไป...ป่านนี้ผมคงไม่ได้มานั่งเขียนให้เพื่อนอ่านแน่ๆ....คงตกเขาไปแล้ว......


วันนนี้จะมาสอนวิธี ฝึกสัมผัสที่ 6 หรือลางบอกเหตุกันครับ.

สัมผัสที่หก ก็คือคุณสมบัติทำให้ genius ทั้งหลายต่างจากคนธรรมดาๆ และประสาทสัมผัสที่หกในความหมายนี้ก็คือ การมีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และความรู้ที่เกิดขึ้นมาเองว่า อะไรใช่ ไม่ใช่ อะไรควรทำ ไม่ควรทำ อันเป็นความรู้ที่เกิดมาจากภายใน ไม่มีใครมาบอก ประสาทสัมผัสที่หกจะมีขึ้นได้ คนๆ คนจะต้องมีกำลังสมาธิสูง และสามารถเอาใจไปจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นานๆ เมื่อเราสามารถจดจ่อความคิดอยู่ที่เรื่องบางเรื่องได้นานๆ ความรู้ภายในเกี่ยวกับเรื่องนั้นก็จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ประสาทสัมผัสที่หกเป็นผลจาก power of concentration หรือสมาธิ”

1.ฟังเพลงบรรเลง เพลงที่มีแต่เสียงดนตรีเป็นท่วงทำนอง ไม่มีเนื้อร้อง เช่นเพลงบรรเลงไทยเดิม เดี่ยวระนาด เดี่ยวขลุ่ย เดี่ยวเปียนโน เดี่ยวจูเกิ้ง เดี่ยวไวโอลิน หรือเพลงคลาสสิคต่าง ๆ ให้ฟังก่อนนอน หรือเมื่อมีโอกาส จะทำให้สบายใจ จิตเป็นสุข ท่านจะฝันบอกเหตุการณ์หรือไม่ฝันเลยก็ได้ จิตสงบดี แต่ต้องกำกับด้วยการอธิษฐานจิต ขอให้เป็นคนมีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และมีความรู้ที่เกิดขึ้นมาเองว่า อะไรใช่ ไม่ใช่ อะไรควรทำ ไม่ควรทำ


2.อ่านหนังสือธรรมะ จิตเพ่งที่หนังสือและอ่านข้อความในหนังสือ จนไม่ได้ยินเสียงอะไรนอกจากเนื้อเรื่องในหนังสือ ฝึกให้กำลังสมาธิกล้าและเข้มแข็งขึ้น แต่ต้องกำกับด้วยการอธิษฐานจิต ขอให้เป็นคนมีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และมีความรู้ที่เกิดขึ้นมาเองว่า อะไรใช่ ไม่ใช่ อะไรควรทำ ไม่ควรทำ


3.สวดมนต์ สวดมนต์บทพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ หรือ บทสวดที่ท่านสวดเป็นประจำ เมื่อสวดมนต์จบก็ให้อธิษฐานจิต ขอให้เป็นคนมีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และมีความรู้ที่เกิดขึ้นมาเองว่า อะไรใช่ ไม่ใช่ อะไรควรทำ ไม่ควรทำ


4.อธิษฐานจิต เมื่อไปทำบุญด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้ทำบุญทำทาน สร้างพระประธาน ใส่บาตร ให้ทานคนยากจน บริจาคซื้อโลงศพ ทำบุญช่วยน้ำท่วม หรือรักษาศีล 5 ศีล 8 ให้ตั้งจิตอธิษฐานขอให้เป็นคนมีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และมีความรู้ที่เกิดขึ้นมาเองว่า อะไรใช่ ไม่ใช่ อะไรควรทำ ไม่ควรทำ ให้จิตที่ตั้งความปรารถนาไว้ทุกครั้งเป็นการเสริมพลังจิตให้เข้มแข็ง เรียกว่ามีเป้าหมายในการทำบุญที่ชัดเจน


5.ฝึกโยคะ โยคะจะช่วยฝึกจิตและฝึกกายให้เข้มแข็ง ซึ่งมีวิธีการเฉพาะจำเป็นต้องฝึกฝนเพื่อเพิ่มพลังกายและพลังจิต แต่ต้องกำกับด้วยการอธิษฐานจิต ขอให้เป็นคนมีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และมีความรู้ที่เกิดขึ้นมาเองว่า อะไรใช่ ไม่ใช่ อะไรควรทำ ไม่ควรทำ


6.ฝึกสมาธิ ทำจิตใจให้สบายโดยวิธีบริกรรม อาจจะใช้คำว่า พุทโธ หรือคำบริการที่ตนเองเคยใช้ หรือนั่งดูลมหายใจเข้าออก กำกับคำบริกรรมก็ได้ สมาธิโดยทั่วไปมี 3 ระดับ สมาธิเล็กน้อย ชั่วครั้งชั่วคราว (ขณิกสมาธิ) อุปจารสมาธิ (สมาธิระดับกลาง) อัปนาสมาธิ (สมาธิระดับสูง) การฝึกสมาธิต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไปเริ่มนั่งสมาธิ วันละ 5-10 นาที เริ่มฝึกสมาธิเล็กน้อยไปก่อน แล้วเพิ่มเวลาฝึกคุณก็จะฝึกสมาธิได้ในระดับกลาง และระดับที่สูงขึ้น การฝึกสมาธิ เพื่อพยายามให้ใจสงบ ไม่คิดฟุ้งซ่าน คิดอย่างเดียว นี่เรียกว่าใจจดจ่อเป็นสมาธิกับคำบริกรรม ต้องใช้ความพยายามและอดทนหน่อย แต่ต้องกำกับด้วยการอธิษฐานจิต ขอให้เป็นคนมีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และมีความรู้ที่เกิดขึ้นมาเองว่า อะไรใช่ ไม่ใช่ อะไรควรทำ ไม่ควรทำ


7.หยุดความคิด วิธีการหยุดความคิดทั้งหมดทำใจให้ว่าง ว่าง ว่าง ไม่ว่าจะนั่งหลับตา หรือนั่งลืมตายืนลืมตา หรือยืนหลับตา นอนลืมตา หรือนอนหลับตา ให้หยุดความคิดทั้งหมดไว้ กำหนดให้เป็นความว่างปราศจากการปรุงแต่งของความคิดทั้งหมด วันหนึ่ง ๆ พยายามหยุดความคิดไว้ ให้จิตอยู่กับความว่างเป็นอารมณ์ วิธีนี้เป็นการเพิ่มสัมผัสที่หกดีที่สุด บางคนอาจสงสัยว่า ทำไมต้องอธิษฐานจิต ขอให้มีลางสังหรณ์ ขอให้มีจิตสะอาด ไม่เป็นกิเลสหรือ ตอบว่า ไม่เป็นกิเลสฝ่ายชั่ว แต่เป็นความอยากฝ่ายเหตุผล เป็นความอยากในแง่บวก ทำให้เป็นคนประกอบด้วยเหตุผล สามารถปฏิบัติ และเห็นผลของการประพฤติปฏิบัติได้ไม่เป็นไปเพื่อการเบียดเบียนคนอื่น แต่เป็นการกระทำเพื่อฝึกฝนตนเองให้ค้นพบสัมผัสที่หก เพื่อสร้างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ให้จิตค้นพบความรู้ที่เกิดขึ้นมาเองว่าอะไรใช่ อะไรไม่ใช่ อะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ อันเป็นความรู้ที่เกิดมาจากภายใน


สัมผัสที่หกทำได้ไม่ยากลองทำดู ไม่จำเป็นต้องทำทุกวิธี เลือกวิธีใดที่ชอบทำให้สม่ำเสมอ แต่ข้อสำคัญคุณต้องมีรากฐานที่ดี นั่นคือ ศีล 5 เป็นรากฐานก่อน คือ ต้องไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ไม่พูดปดพูดเท็จ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ดื่มสุราและของมึนเมา จะฝึกสัมผัสที่หกง่ายมาก ๆ ไม่ต้องเชื่อหรอก ลองทำดูเองจะซึ้งแก่ใจ คุณจะพบสิ่งใหม่ แปลกแหวกแนว เหลือเชื่อ และสิ่งที่คาดไม่ได้คิดไม่ถึงจะปรากฏชัดได้ด้วยใจตนเอง สัมผัสที่หกคุณสามารถฝึกได้สร้างได้ด้วยตัวคุณเอง.......


ข้อมูลบางตอนจาก...ดร.บุญชัย โกศลธนากุล "ปรัชญาชีวิต ศาสตร์แห่งความสำเร็จ"