ถ่ายยาก เบ่งเท่าไหร่ก็ไม่ออก แถมพอออกก็ดันทิ้งความรู้สึกเจ็บและแสบเอาไว้ให้ไม่สบายตัวเล่น ๆ อีก รู้ไหมว่านี่ัญญาณเบื้องต้นที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเผชิญหน้าอยู่กับภาวะ “ท้องผูก” และอาการขับถ่ายยากก็เป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนที่ทำให้คุณต้องระวังตัว!

ท้องผูก ปัญหาสุขภาพสามัญที่ต่อให้คุณดูแลตัวเองดีมากแค่ไหนก็ยังมีโอกาสเป็นได้อยู่เสมอ ซึ่งหลาย ๆ คนก็อาจจะคิดว่านี่คือปัญหาสุขภาพทั่ว ๆ ไปที่ไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่อะไรมากนัก แต่รู้ไหมว่าความจริงแล้วภาวะท้องผูกนั้น เป็นสัญญาณริ่มต้นของโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารและขับถ่ายได้!


ทำความรู้จักกับภาวะท้องผูก

ท้องผูก หนึ่งในภาวะอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบขับถ่าย มีลักษณะของความถี่ในการขับถ่ายที่น้อยลง ก้อนอุจจาระมีลักษณะแข็งหรือเบ่งออกได้ลำบาก ต้องใช้แรงค่อนข้างมากจึงจะเสร็จธุระ ในขณะที่บางคนก็อาจจะรู้ได้ว่าถ่ายไม่สุด มีอาการปวดถ่ายอีกภายหลังแม้จะเพิ่งออกมาจากห้องน้ำก็ตาม และในกรณีที่ร้ายแรงที่สุดก็อาจจะต้องใช้นิ้วหรือน้ำเข้าช่วย เพื่อให้ขับถ่ายได้สำเร็จ

ในส่วนของภาวะท้องผูกนั้น จะมีอาการนั้นจะไล่ลำดับไปตั้งแต่ระดับเบื้องต้นจนถึงระดับที่รุนแรงควรพบแพทย์ โดยจะสามารถสังเกตสิ่งเหล่านี้

อาการน้ำหนักลด
ถ่ายเป็นเลือด
ท้องผูกสลับท้องเสีย
คลำได้ก่อน
ประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
เริ่มมีอาการท้องผูกตอนอายุมากกว่า 50 ปี

แนวทางการดูแลและรักษาภาวะท้องผูก

-รักษาภาวะท้องผูกตามอาการ โดยจะต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยสาเหตุที่เกิดจากโรคทางกายภาพ เช่น ติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ หรือการให้ฮอร์โมนทดแทน ในกรณีที่ต่อมไทรอยด์ทำงานได้ไม่ปกติ เป็นต้น
-ปรับพฤติกรรมการกิน และขับถ่าย แนวทางรักษาภาวะท้องผูกจากภายใน ลดอาการอุจจาระแข็ง ขับถ่ายยากได้อย่างชะงัด แค่ปรับอาหารการกินที่มีประโยชน์ เน้นผักผลไม้ที่มีกากใยสูง และดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อที่จะช่วยให้อุจจาระนุ่ม ขับถ่ายได้ง่าย นอกจากนี้การบังคับตัวเองให้ขับถ่ายเป็นเวลา และตอบสนองทันทีที่เกิดความรู้สึกอยากถ่ายก็สามารถช่วยได้เช่นเดียวกัน
-การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหว การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวเป็นประจำทุกวันจะทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ดีขึ้น ทำให้ถ่ายได้บ่อยขึ้น ผู้ที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวร่างกายอาจเกิดอาการท้องผูกได้ง่าย
-ดื่มดีท็อกซ์ ที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ ที่ช่วยปรับสมดุลการทำงานของระบบลำไส้ และระบบภายในร่างกาย ช่วยให้คุณสามารถขับถ่ายได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องกลัวบาดเจ็บ

สิ่งที่ต้องระวังเมื่อท้องผูก ภาวะอาการแทรกซ้อนน่ากลัวกว่าที่คิด!

ในรายของผู้ป่วยที่เผชิญหน้ากับภาวะท้องผูก และมีอาการขับถ่ายยาก ต้องใช้แรงในการเบ่งอุจจาระเป็นประจำและใช้เวลา จะทำให้เกิดอาการหย่อนหยานของอุ้งเชิงกราน ส่งผลให้เส้นประสาทที่ควบคุมการบีบตัวของกล้ามเนื้อหูรูดทวารนักถูกดึงรั้ง รวมไปถึงเส้นประสาทรับความรู้สึกและผิวหนังโดยรอบทำงานผิดปกติ จนทำให้ไม่สามารถกลั้นอุจจาระได้ นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดอาการปลิ้นของลำไส้ใหญ่ตามมาภายหลัง ในขณะที่ผู้ป่วยบางรายอาจทำให้เกิดแผลขนาดใหญ่ภายในทวารหนัก และเป็นโรคริดสีดวงทวารตามมาอีกด้วย