ปัจจุบันการจัดฟันไม่ใช่ทำเพียงเพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เรามีสุขภาพของเหงือกและแข็งแรงได้ในระยะยาว นอกจากนั้นยังมีการจัดฟันร่วมผ่าตัดขากรรไกร ที่สามารถแก้โครงหน้าและฟันที่ผิดปกติ เช่น ฟันไม่สบกัน คางยื่น หน้าเบี้ยว เพื่อทำให้การเคี้ยวอาหารได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับคนที่มีความต้องการที่จะแก้ไขโครงหน้าหรือจุดที่มีความบกพร่องอยู่ หรือหากคุณกำลังหาข้อมูลในเรื่องการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรก่อน เพื่อตัดสินใจเข้าทำการรักษาและแก้ไขในจุดนี้ เรามีข้อมูลมาแนะนำเกี่ยวกับการผ่าตัดขากรรไกร แก้โครงหน้าและฟันที่ผิดปกติ ปลอดภัยระดับสากล ต้องที่โรงพยาบาลนครธนเท่านั้น เพราะที่นี่มีศูนย์ทันตกรรมที่ได้มาตรฐานมีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ลองไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจได้เลยค่ะ


การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรคืออะไร
การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร (Orthognathic Surgery) คือ การผ่าตัดศัลยกรรมเพื่อปรับตำแหน่งของขากรรไกร ร่วมกับการจัดฟันเพื่อช่วยแก้ไขและปรับปรุงโครงหน้าที่ผิดปกติ ซึ่งเป็นการรักษาที่แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การรักษาโครงสร้างใบหน้าขากรรไกร และ รักษาการสบฟันที่ผิดปกติ โดยผู้ที่มีความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรบนและล่าง ได้แก่ ใบหน้าส่วนกลางสั้น ใบหน้าส่วนกลางยาว คางเบี้ยว คางยื่นยาว หรือ ใบหน้าไม่สมมาตร ซึ่งการจัดฟันเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ดังนั้นผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดร่วมด้วย เพื่อให้กระดูกขากรรไกรบนและล่าง อยู่ในตำแหน่งใหม่ที่เหมาะสม โดยจะเป็นการวางแผนการรักษาร่วมกันระหว่างทันตแพทย์ผ่าตัดและทันตแพทย์จัดฟัน โดยทั่วไปจะทำการผ่าตัดเมื่อมีอายุ 20-22 ปีขึ้นไป โดยอาจผ่าตัดที่ขากรรไกรเดียว หรือทั้งสองขากรรไกร และอาจผ่าตัดเสริมที่คางได้ด้วย

ข้อดีของการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร
- ช่วยปรับแก้ไขโครงหน้าที่ผิดปกติ เช่น ฟันไม่สบกัน คางยื่น หน้าเบี้ยว เพื่อทำให้การเคี้ยวอาหารได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- แก้ไขเรื่องความผิดปกติของรูปหน้าได้
- ช่วยให้ริมฝีปากสามารถหุบได้สนิท มีส่วนทำให้การออกเสียงได้ดีขึ้น ชัดขึ้น มีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น
- ช่วยป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาต่อเนื่อง ที่เกี่ยวข้องกับข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ (TMJ)
- ทำให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ทั้งด้าน การสบฟัน การรับประทานอาหาร การพูด การหายใจ รวมถึง การมีใบหน้าที่สมส่วน สวยงาม ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

วิธีการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร
การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร สามารถทำได้ 2 วิธี ซึ่งการเลือกวิธีในการรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับระดับความผิดปกติของขากรรไกร และดุลยพินิจของทันตแพทย์ และในผู้ป่วยบางรายอาจพิจารณาการผ่าตัดกระดูกคางร่วมด้วย เพื่อแก้ไขใบหน้าส่วนล่างให้มีความสวยงามมากขึ้น ได้แก่

1.การจัดฟันก่อนแล้วค่อยผ่าตัดขากรรไกร ผู้ป่วยจะได้รับการจัดฟันให้เรียงตัวได้เหมาะสมก่อน โดยใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี เพื่อแก้ไขการซ้อนเกและปรับแนวแกนฟัน แต่อาจจะทำให้มีรูปร่างใบหน้าและการสบฟันที่ผิดปกติมากขึ้นแต่จะเป็นแค่ชั่วคราว ก่อนการได้รับการผ่าตัดขากรรไกร และเมื่อพร้อมที่จะผ่าตัด ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ปากอีกครั้ง เพื่อจำลองการผ่าตัดในแบบจำลองฟัน และทำเฝือกสบฟันสำหรับใช้ในห้องผ่าตัด ซึ่งข้อดีของการจัดฟันก่อนทันตแพทย์ผ่าตัดจะสามารถประเมินรูปร่างใบหน้า และการสบฟันของผู้ป่วยได้ง่ายกว่า และวางแผนการผ่าตัดได้อย่างเหมาะสม โดยภายหลังการผ่าตัดส่วนใหญ่การกัดสบฟันเกือบจะสมบูรณ์แล้ว แต่ผู้ป่วยจะได้รับการจัดฟันต่อเป็นระยะเวลา 6 เดือน - 2 ปี

2.การผ่าตัดขากรรไกรก่อนและจัดฟันหลังผ่าตัด วิธีนี้จะสามารถลดระยะเวลาขั้นตอนจัดฟันก่อนผ่าตัดได้ 6-12 เดือน และยังเป็นการหลีกเลี่ยงภาวะช่วงที่การสบฟันที่ดูผิดปกติมากจากการจัดฟันก่อนผ่าตัด เมื่อพร้อมที่จะผ่าตัด ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ปาก เพื่อจำลองการผ่าตัดในแบบจำลองฟัน และทำเฝือกสบฟันสำหรับใช้ในห้องผ่าตัด หลังจากนั้นเมื่อผู้ป่วยหายดีแล้ว จึงเข้าสู่กระบวนการ การจัดฟัน เพื่อปรับการเรียงฟัน และการสบฟันให้สมบูรณ์ขึ้น ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี แต่ต้องพิจารณาทำวิธีนี้เป็นกรณีๆ ไป ไม่สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยทุกคนเนื่องจากบางครั้ง ต้องจัดตำแหน่งฟันก่อนผ่าตัดอยู่ดี

ตัวอย่างเคส

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดขากรรไกร
1.ตรวจประเมินสุขภาพทั่วไป ได้แก่ การตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจภาพรังสีทรวงอก รวมกับการประเมินความพร้อมในการดมยาสลบ
2.ผู้ที่มีโรคประจำตัวจะต้องได้รับการเตรียมความพร้อมจากแพทย์ประจำตัวก่อนการผ่าตัด
3.ผู้ป่วยต้องดูแลสุขภาพให้ดีก่อนวันผ่าตัด หากผู้ป่วยมีไข้ ไอ จาม มีเสมหะ อาจต้องเลื่อนการผ่าตัดออกไป
4.ดูแลสุขอนามัยให้พร้อม ทั้งอาบน้ำ สระผม และจะต้องล้างสีเล็บมือ เล็บเท้าออกก่อนการผ่าตัด
5.1 วันก่อนการผ่าตัด ผู้ป่วยจะต้องนอนรพ. เพื่อเตรียมความพร้อม และงดน้ำ และอาหาร 8 ชม. ก่อนเข้าห้องผ่าตัด

ขั้นตอนการผ่าตัดขากรรไกร
ก่อนการผ่าตัดขากรรไกรจะต้องได้รับการดมยาสลบก่อน และทันตแพทย์จะผ่าตัดในช่องปากจึงไม่เกิดแผลเป็นบนใบหน้า ซึ่งจะทำการผ่าตัดเปิดเหงือกด้านใน กรอและเลื่อนกระดูกขากรรไกรให้อยู่ตำแหน่งที่เหมาะสม และยึดกระดูกด้วยแผ่นโลหะดามกระดูก เพื่อให้กระดูกอยู่นิ่งและเชื่อมติดกัน แล้วจึงใส่สายระบายเลือดและเย็บปิดแผลผ่าตัด

การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดขากรรไกร
1.จะใช้เวลาพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 3-4 วันหลังการผ่าตัด ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล
2.ทันตแพทย์อาจใช้ยางยึดขากรรไกรบนและล่างไว้ด้วยกัน ในกรณีที่กัดฟันไม่ลงหรือฟันไม่สบกันประมาณ 2-4 สัปดาห์ เพื่อให้การกัดสบฟันดีขึ้น ทำให้ไม่สามารถอ้าปากได้ แต่สามารถรับประทานอาหารเหลวได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการกัดสบฟันหลังผ่าตัด
3.ภายในสัปดาห์แรกหลังการผ่าตัดอาจมีอาการบวมหรือฟกช้ำบนใบหน้าซึ่งเป็นผลจากการผ่าตัด จากนั้นอาการบวมจะค่อยๆ ลดลงใกล้เคียงภาวะปกติประมาณ 1 เดือน และจะมีรูปร่างใบหน้าที่คงที่ในระยะเวลา 6 เดือนหลังผ่าตัด
4.ประคบเย็นที่แก้มซ้ายและขวา เป็นเวลา 2-3 วัน จากนั้นให้ประคบอุ่นต่ออีก 1 สัปดาห์
5.สามารถเริ่มแปรงฟันได้ในวันที่ 2-3 หลังการผ่าตัด โดยใช้แปรงสีฟันขนาดเล็กขนนิ่ม ของเด็กและควรแปรงอย่างนุ่มนวล ระมัดระวัง อาจใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
6.ผู้ป่วยจำเป็นต้องรับประทานอาหารเหลว ห้ามเคี้ยวอาหาร เป็นเวลา 6-8 สัปดาห์
7.หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมหนัก เช่น เล่นกีฬาที่กระทบกับขากรรไกร 6-8 สัปดาห์
8.ไหมที่อยู่ในช่องปาก จะนัดมาตัดไหมประมาณ 2 สัปดาห์หลังผ่าตัด
9.ต้องมาพบทันตแพทย์ทุกสัปดาห์เป็นเวลา 1 เดือน เพื่อตรวจติดตามอาการ จากนั้นจะนัดทุก ๆ 3 เดือน เป็นเวลา 1 ปี
10.ภายหลังการผ่าตัด 9-18 เดือน ทันตแพทย์จะพิจารณาการผ่าตัดถอดแผ่นโลหะดามกระดูกออก

สำหรับใครที่กำลังมีปัญหาเกี่ยวกับโครงหน้าและฟันที่ผิดปกติ เช่น ฟันไม่สบกัน คางยื่น หน้าเบี้ยว ซึ่งทำให้การเคี้ยวอาหารได้ไม่ดีไม่มีประสิทธิภาพต้องการที่จะแก้ไข อยากสอบถามในเรื่องเกี่ยวกับจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรเพิ่มเติม ทางศูนย์ทันตกรรมโรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/d...ะฟัน