คลอเรลล่า "นำมาใช้ทาผิว" ได้ หรือ ไม่ ?


รูป คลอเรลล่า
ขอบคุณรูปจาก http://thescienceofeating.com/vegeta...-of-chlorella/
คลอเรลล่า เป็นพืชน้ำเซลล์เดียว ที่มีคุณสมบัติพื้นฐาน ในการจับพิษหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นพิษจาก จุลินทรีย์ หรือ สารเคมี โดยเฉพาะพิษโลหะหนัก ที่ปนเปื้อนอยู่ในทุกอย่างที่สัมผัสตัวเรา แม้แต่ในอากาศ (ในรูปฝุ่น PM2.5) ที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

นอกจากคุณสมบัติจับสิ่งพิษแล้ว คลอเรลล่า คือ เป็นพืชธรรมชาติ ที่สามารถช่วยให้เซลล์ของมนุษย์สามารถซ่อมบำรุงตัวเองได้สมบูรณ์ขึ้น

ด้วยสารอาหารที่สำคัญที่คลอเรลล่า มี คือ "กรดนิวคลีอิก" ซึ่งเป็นสารอาหารที่เปรียบเสมือน "อะไหล่" ที่เซลล์ ใช้ในการซ่อม DNA ของตนเอง เมื่อได้รับ "อะไหล่ ของ DNA" อย่างเพียงพอ เซลล์จะสามารถซ่อมแซม DNA "ที่มีการวิจัยพบว่า แต่ละเซลล์ถูกทำให้เสียหาย ถึง 10,000 ครั้ง ต่อวัน" ได้สมบูรณ์มากขึ้น (ซึ่ง นอกจาก กรดนิวคลีอิกแล้ว คลอเรลล่า ยังประกอบด้วย กรดอะมิโนครบทุกชนิด ที่เซลล์ต้องการ และ สารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก ที่เป็นสิ่งที่เซลล์ ล้วนต้องการทั้งสิ้น)

อีกประเด็นที่สำคัญ คือ คลอเรลล่า เป็นพืชน้ำเซลล์เดียว ที่มีขนาดเล็กเท่าๆกับเซลล์เม็ดเลือดแดงของมนุษย์ ดังนั้น สารอาหารที่อยู่ในคลอเรลล่า จึงมีขนาดเล็กพอที่เซลล์จะนำไปใช้ได้ทันที ไม่ต้องผ่านการย่อย

คุณสมบัติหลักด้านบนนี้ เป็นคุณสมบัติหลัก ที่ถูกค้นพบ จากการวิจัยคลอเรลล่า อย่างต่อเนื่อง กว่า 50 ปี ในฐานะ "อาหารของมนุษย์"


ขอบคุณรูปจาก http://www.globalhealthlab.com/blogs...ich-in-protein
ซึ่ง หลังจากเริ่มค้นพบคุณสมบัติหลักสำคัญนี้แล้ว จึงเกิดข้อสงสัยว่า "คลอเรลล่า สามารถใช้กับเซลล์โดยตรง ไม่ต้องผ่านระบบย่อยอาหาร (ไม่ต้องทานก่อน) ได้ หรือ ไม่"

ข้อสงสัยดังกล่าว จึงนำมาสู่การวิจัยคุณสมบัติของคลอเรลล่า ที่มีต่อเซลล์โดยตรง โดยไม่ผ่านระบบย่อยอาหาร เพิ่มขึ้นมากในระยะหลัง

ซึ่ง จากการวิจัยดังกล่าว จึงทำให้มี ตัวอย่างงานวิจัย ที่มีพื้นที่เกี่ยวข้อง ที่สามารถใช้อ้างอิง เพื่อตอบคำถามที่ว่า "คลอเรลล่า นำมาใช้ทาผิว ได้ หรือ ไม่" ตามด้านล่างนี้

คลอเรลล่า กับ การเป็นสิว และ การอักเสบเรื้อรัง

ในปี 2015 ได้มีการวิจัย หาความสัมพันธ์ของการใช้ไขมันที่สกัดจากคลอเรลล่า โดยตรง กับ แบคทีเรีย Propionibacterium acnes (P. acnes) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งในรูขุมขนของมนุษย์ ที่ถูกค้นพบว่า แบคทีเรียชนิดนี้จะทำการย่อยไขมันบริเวณต่อมไขมันใต้ผิวหนังให้เป็นกรดไขมันอิสระ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เกิดสิว

การทดสอบนี้ ได้นำแบคทีเรีย P. acnes ชนิดเดียวกับที่พบในมนุษย์ มาเพาะเชื้อในห้องทดลอง และ วัดกิจกรรมการย่อยไขมันของแบคทีเรีย P. acnes, วัดอนุมูลอิสระ (ROS) ที่เกิดจากการหายใจของแบคทีเรีย (เป็นตัวการที่ทำให้ DNA ของเซลล์ที่สัมผัสถูกทำให้เสียหาย) และ วัด TNF-α ซึ่งเป็นโปรตีน ที่จะไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ทำงานและก่อให้เกิดการอักเสบ

ซึ่ง หลังจากได้รับ ไขมันที่สกัดจากคลอเรลล่า (Chlorella vulgaris) พบว่า กิจกรรมการย่อยไขมันของ P. acnes ได้ถูกยับยั้งไปกว่า 60%, อนุมูลอิสระ ถูกยับยั้งไปกว่า 58% รวมถึง TNF-α ถูกยับยั้งไปกว่า 73% (Sibi, 2015)
จากข้อสรุปของงานวัจัยนี้ เราสามารถเห็นได้ว่า การนำไขมันของคลอเรลล่า มาใช้บริเวณผิว ไม่ใช่แค่สามารถยับยั้งพิษที่เกิดจากแบคทีเรีย ที่อยู่ในรูปอนุมูลอิสระที่จะทำให้ DNA ของเซลลผิวเสียหาย ได้เท่านั้น แต่สามารถยับยั้งต้นเหตุของการเกิดสิวและการอักเสบ ได้โดยตรง

ซึ่ง เป็นกระบวนการเดียวกับ ที่เกิดขึ้นในลำไส้ของมนุษย์ หลังจากทานคลอเรลล่า ที่คลอเรลล่า สามารถยับยั้งพิษของแบคทีเรีย และ ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นพิษได้ ได้ด้วยสาร คลอเรลลิน (Chlorellin) (Kumar and Singh, 1971) ซึ่ง จะยับยั้งการเติบโตเฉพาะแบคทีเรีย เฉพาะที่พบว่าเป็นพิษต่อเซลล์ของมนุษย์เท่านั้น (ไม่ยับยั้งการเจริญเติบโต ของแบคทีเรียที่พบว่าเป็นประโยชน์กับเซลล์ของมนุษย์) เป็นสารที่มีเฉพาะในคลอเรลล่า เท่านั้น


คลอเรลล่า กับ การสมานแผล

ในปี 2019 ได้มีการวิจัย หาความสัมพันธ์ของการใช้คลอเรลล่าโดยตรง กับผลการสมานแผล โดยทดสอบกับ หมู จำนวน 9 ตัว โดยทำแผลที่หูขวาของหมู ที่นำมาทดสอบ จำนวน 4 แผล ขนาดเท่ากัน

โดย ทาครีมที่มีส่วนผสม ของคลอเรลล่า จำนวน 5%, 10%, 15% และ ไม่มีส่วนผสม ของคลอเรลล่า (0%) ตามลำดับ ทาแผลวันละ 2 ครั้ง เป็นจำนวน 14 วัน พบว่า แผลที่ ใช้ครีม ที่ผสมคลอเรลล่า 15% ให้ผลการสมานแผล ดีที่สุด และ มีจำนวน เซลล์ ไฟโบรบลาส (fibroblast) ซึ่ง คือ เซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง เพิ่มปริมาณขึ้นมามากที่สุด เทียบกับอัตราส่วนอื่น ทั้งหมด (Machmud และคณะ, 2020)
จากข้อสรุปของงานวัจัยนี้ เราสามารถเห็นได้ว่า การทาคลอเรลล่า ลงบนกลุ่มเซลล์ผิวหนังที่เสียหาย (เป็นแผล) โดยตรง ทำให้กลุ่มเซลล์ผิวหนังที่เสียหาย ฟื้นฟูตนเองได้ดีขึ้น และ ยังฟื้นฟูกลไกการสร้างคอลลาเจน ที่เสียหายได้ดีขึ้นด้วย และ ได้ผลลัพธ์ดีขึ้นตามปริมาณคลอเรลล่า ที่ใช้ นั่นหมายถึง คลอเรลล่า มีส่วนโดยตรง ในการช่วยให้เซลล์ผิวหนังฟื้นตัวได้ดีขึ้นจากการเสียหาย รวมถึงฟื้นฟูกลไกการสร้างคอลลาเจนของผิวหนังบริเวณที่ทา ให้กลับมาทำงานได้ดีขึ้น

ซึ่ง ตรงกับ รายงานจากโรงพยาบาลบางแห่งในญี่ปุ่น ที่ให้ผู้ป่วยทานคลอเรลล่า เพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่ง สารอาหารในคลอเรลล่า สามารถกระตุ้นให้เกิดการสมานแผล ได้ดีขึ้น (Steenblock, 1987)


สำหรับ การจับและขับล้างสิ่งพิษโลหะหนัก ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณสมบัติสำคัญของคลอเรลล่า ในฐานะอาหาร ที่มีการยืนยัน ผ่านการวิจัยมาตลอด 50 ปี (สามารถค้นคำว่า chlorella detoxification research ใน google จะเจองานวิจัยกลุ่ม ขับพิษโลหะหนัก เป็นจำนวนมาก)

ในปัจจุบัน ยังไม่พบงานวิจัย การใช้คลอเรลล่า ขับล้างสิ่งพิษโลหะหนัก ที่เซลล์ผิวโดยตรง แต่มีการวิจัยในปี 2019 ที่นำผงคลอเรลล่า ไปทดสอบการดูดซับอนุภาคโลหะหนักที่ละลายในน้ำ พบว่า ผงคลอเรลล่า สามารถดูดซับอนุภาค แคดเมียม, ตะกั่ว และ ทองแดง ที่ละลายในน้ำ ได้ 87.52%, 90.09% และ 84.75% ตามลำดับ (Sayadi และ คณะ, 2019)

นั่นหมายถึง ผงคลอเรลล่า สามารถจับอนุภาคโลหะหนัก (ซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์ของร่างกายของเรา) โดยตรงได้ จึงมีความเป็นไปได้สูง ที่ผงคลอเรลล่า จะสามารถดูดซับพิษโลหะหนัก ที่อยู่บนผิวหนัง หรือ แม้แต่ในรูขุมขนได้ หากมีการผสมน้ำและทาลงบนผิวโดยตรง

จากตัวอย่างงานวิจัยข้างต้น ที่เป็นตัวแทนคุณสมบัติตามธรรมชาติของคลอเรลล่านั้น พบว่าการใช้คลอเรลล่าโดยตรงกับเซลล์ผิวนั้นสามารถทำได้ และคลอเรลล่ายังสามารถทำงานในกระบวนการแบบเดียวกันกับการใช้แบบทานได้


ซึ่ง กระบวนการนั้นคือ "สะสาง (สิ่งพิษ) ก่อน สะสม (สิ่งดีๆ)" เข้าร่างกาย

ขอบคุณรูปภาพจาก https://aquaionizerdeluxe.com/benefits/
*** ข้อควรระวัง ในการนำ คลอเรลล่ามาใช้ทาผิว ***

ด้วยคุณสมบัติที่ดูดซับพิษได้ดี คลอเรลล่าที่เลี้ยงในแหล่งที่มีการปนเปื้อน จะสะสมพิษจากแหล่งเลี้ยง แทนที่จะสะสมสารอาหาร แล้วนำพิษที่สะสมนั้นมาเข้าสู่ร่างกายเราแทน

** ทำให้นอกจากจะใช้ไม่ได้คุณประโยชน์จากคลอเรลล่าที่ปนเปื้อนแล้ว ยังต้องรับพิษที่ปนเปื้อนมาเข้ามาที่ร่างกายด้วย **

ดังนั้น "คลอเรลล่า ที่ปนเปื้อน" จึง "ไม่สามารถนำมาใช้งานได้" ไม่ว่า จะ "ใช้ทาผิว หรือ ทานก็ตาม"

ทำให้ "เมื่อเลือกคลอเรลล่า จึงต้องเลือกคลอเรลล่าที่ปลอดภัย" เลี้ยงในแหล่งเลี้ยง ที่มั่นใจได้ว่าไม่มีการปนเปื้อน ซึ่งสามารถดูได้จากการรับรองมาตรฐานออร์แกนิค อย่างเช่น USDA ที่เป็นมาตรฐานออร์แกนิคที่ได้รับการยอมรับสูงสุด ในระดับสากล

และ ต้องตรวจสอบการรับรองได้ จากเว็บไซต์ทางการของ USDA เท่านั้น เพราะในปัจจุบัน พบว่ามีการ "แอบอ้างติดตราสัญลักษณ์ออร์แกนิค USDA (USDA ปลอม) มากกว่า 60%" โดยที่สินค้าที่ติดตราออร์แกนิค USDA "ที่ผ่านการรับรองจริง มีไม่ถึง 40%" ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่องค์กร USDA มีอำนาจตามกฏหมาย (USDA คือ กระทรวงเกษตร ของสหรัฐอเมริกา)

ทำให้การเลือก "คลอเรลล่า ที่ปลอดภัย" จึงต้องเลือก ที่ผ่านการรับรองออร์แกนิค USDA ของแท้ สามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ทางการของ USDA เท่านั้น

ยกตัวอย่างคลอเรลล่า ที่ปลอดภัย เช่น ออร์แกนิค คลอเรลล่า จาก เฟบิโก้ ที่เลี้ยงในแหล่งน้ำแร่ธรรมชาติ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานออร์แกนิค USDA ของแท้ ที่ผ่านการรับรองจริง สามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ทางการของ USDA

(สำหรับ วิธีการตรวจสอบ USDA ว่าปลอมหรือไม่ สามารถดูได้ทาง https://youtu.be/pd976MqqpDw)

ดังนั้น จากคำถามว่า คลอเรลล่า "นำมาใช้ทาผิว" ได้ หรือ ไม่ ?

สามารถสรุปจาก ตรรกะ หลักการทางวิทยาศาสตร์ และ ข้อมูลงานวิจัยอ้างอิง ได้ว่า

"คลอเรลล่า ที่ปลอดภัย" สามารถนำมา "ใช้ทาผิวได้" และ ยังสามารถทำงานกระบวนการเดียวกับการใช้แบบทานได้ นั่นคือ "สะสาง ก่อน สะสม"

แต่ในทางกลับกัน "คลอรเลล่า ที่ไม่ปลอดภัย" ไม่สามารถนำมาใช้ได้ ไม่ว่าจะ "ใช้ทาผิว" หรือ "ใช้เป็นอาหาร" ก็ตาม