หากคุณคือบุคคลหนึ่งที่ต้องขับรถยนต์เป็นประจำทุกวัน แน่นอนว่าไอเท็มสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยนั่นก็คือประกันภัยรถยนต์เอาไว้คุ้มครองในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน แต่ทั้งนี้ประกันภัยเองก็มีเงื่อนไขการคุ้มครองตามลำดับขั้นที่แตกต่างกันออกไป และนอกจากประกันภัยที่เจ้าของรถสามารถเลือกทำได้เองตามแต่ทุนประกันที่ตนเองสะดวกแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่เปรียบเสมือนเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยคุ้มครองรถยนต์ของเรา ต่อให้รถยนต์คันนั้นๆ จะมีหรือไม่มีประกันภัยคุ้มครองก็ตามแต่นั่นก็คือ พรบรถยนต์ในราคาต่างๆ ว่าง่ายๆ พ.ร.บ. คือประกันภัยที่จะเข้ามาคุ้มครองรถยนต์ทุกคันตามข้อบังคับของกฎหมาย ไม่ว่าเจ้าของรถจะมีรถยนต์อยู่ในครอบครองกี่คัน พ.ร.บ. คุ้มครองรถยนต์จะต้องได้รับการต่ออายุทุกคัน โดยพรบรถยนต์ก็มีราคาที่หลากหลายแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภทของรถยนต์ แต่จะอยู่ที่ระดับราคาเท่าไหร่ เงื่อนไขการคุ้มครองเป็นอย่างไร บทความนี้มีข้อมูลดีๆ มาฝาก


อัปเดตล่าสุด! พรบรถยนต์ในราคาต่างๆ สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลประจำปี 2564

รถยนต์โดยสารที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง ชำระ 600 บาท/ปี
รถยนต์โดยสารเกิน 7 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 15 ที่นั่ง ชำระ 1,100 บาท/ปี
รถยนต์โดยสารเกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง ชำระ 2,050 บาท/ปี
รถยนต์โดยสารเกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง ชำระ 3,200 บาท/ปี
รถยนต์โดยสารเกิน 40 ที่นั่ง ชำระ 3,740 บาท/ปี

คำถามยอดฮิตที่เจ้าของรถหลายท่านอาจจะสงสัย พรบรถยนต์ระดับราคาต่างๆ ที่กล่าวไปในข้างต้นเมื่อจ่ายไปแล้วจะได้กลับมาเป็นการคุ้มครองภายใต้เงื่อนไขอะไรบ้าง สามารถอธิบายได้คร่าวๆ ดังนี้

1) คุ้มครองในกรณีที่มีผู้เสียชีวิต, ทุพพลภาพโดยถาวร, มีเหตุทำให้ต้องสูญเสียอวัยวะ เช่น มือ แขน ขา เท้า หรือตาบอดจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ตั้งแต่ 2 อย่าง หรือ 2 ข้างขึ้นไป พ.ร.บ. ชดเชยค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 500,000 บาท

2) คุ้มครองในกรณีผู้ประสบเหตุทุพพลภาพโดยถาวรจนไม่สามารถทำงานประจำได้ตลอดชีวิต พรบรถยนต์ตามราคาที่ชำระไปจะทำหน้าที่รับผิดชอบและชดเชยค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท

3) คุ้มครองในกรณีที่ผู้ประสบเหตุหูหนวก, ถูกทำให้เป็นใบ้, สูญเสียความสามารถในการพูด, ลิ้นขาด, สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์, จิตพิการ ตลอดไปจนถึงสูญเสียอวัยวะที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวันอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุบนท้องถนน พ.ร.บ. รถยนต์รับผิดชอบ ชดเชยค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 250,000 บาท

4) คุ้มครองในกรณีผู้ประสบเหตุได้รับบาดเจ็บ พ.ร.บ. คุ้มครองค่าเสียหายตามมูลละเมิดเป็นจำนวนเงิน 80,000 บาท

5) คุ้มครองในกรณีผู้ประสบเหตุจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในฐานะผู้ป่วยใน (Admit) จนทำให้ไม่สามารถออกไปทำงานหรือใช้ชีวิตประจำวันได้ พ.ร.บ. รับผิดชอบชดเชยเป็นค่าเสียหายให้วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน

6) หลังจากพิสูจน์แล้วว่าผู้ประสบเหตุเป็นฝ่ายผิด พ.ร.บ. ยังคงคุ้มครองและชดเชยค่าเสียหาย แต่จะได้รับค่ารักษาพยาบาลไม่เกินบิลละ 30,000 บาท แต่ถ้าหากในกรณีที่ผู้ประสบเหตุเป็นฝ่ายผิดแล้วสูญเสียอวัยวะ, ทุพพลภาพโดยถาวรหรือเสียชีวิต พ.ร.บ. จะรับผิดชอบชดเชยค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 35,000 บาท