รู้ทันก่อนรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
หากคุณกำลังมีอาการปวดหลังร้าวลงขา ตึงหลัง ขาชา เดินลำบากแล้วละก็ อย่าปล่อยให้อาการเรื้อรัง อาจเสี่ยงหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ หรืออาการที่เรียกกันติดปากว่า “กระดูกทับเส้น” โรคยอดฮิตของคนปวดหลัง แต่จริง ๆ แล้วกระดูกไม่ได้ทับเส้นประสาทอย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจ แต่เป็นหมอนรองกระดูกต่างหาก แล้วหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเกิดขึ้นได้อย่างไร ? วันนี้เรามีข้อมูลแบบละเอียดเกี่ยวกับอาการและการรักษา รวมไปถึงการผ่าตัดส่องกล้อง จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โรงพยาบาลเปาโลสมุทรปราการมาให้ความรู้กันค่ะ


หมอนรองกระดูกสันหลัง กดทับเส้นประสาท
กระดูกสันหลัง จะมีหมอนรองกระดูก และข้อต่อกระดูกสันหลังคอยเชื่อมต่อกับกระดูกหลายชิ้น โดยที่ตัวกระดูกสันหลังทำหน้าที่ปกป้องไขสันหลัง ส่วนหมอนรองกระดูกจะทำหน้าที่ให้กระดูกสันหลังยืดหยุ่นและสามารถรับแรงกระแทกของน้ำหนักตัวจากการเคลื่อนไหวได้ ดังนั้นการใช้งานหนักในชีวิตประจำวัน หรืออายุที่เพิ่มขึ้น ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพได้

หมอนรองกระดูก ที่พบว่ามีปัญหาบ่อยที่สุดก็คือ หมอนรองกระดูกสันหลังในระดับเอวข้อที่ 4-5 เนื่องจากเป็นข้อต่อระดับที่มีการเคลื่อนไหว และรับน้ำหนักมากในร่างกาย ซึ่งเมื่อหมอนรองกระดูกมีสภาพเสื่อม ความสูงของหมอนรองกระดูกจะมีขนาดลดลง และมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อหมอนรองกระดูก ทำให้แกนหมอนรองกระดูกหลุดรอดมาภายนอก และกดทับเส้นประสาทไขสันหลังได้

อาการของ โรคหมอนรองกระดูกสันหลัง กดทับเส้นประสาท
- ปวดหลัง สะโพกและปวดร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างรุนแรง ซึ่งจะมีอาการปวดมากขึ้นเวลาไอ หรือจาม
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อสะโพกและขาบางรายมีอาการชาปลายเท้าร่วมด้วย หากอาการรุนแรงมากจะไม่สามารถกระดกปลายเท้า หรือเดินได้
- ปลายเท้าชา โดยเฉพาะบริเวณง่ามนิ้วหัวแม่เท้า
- ระบบขับถ่ายผิดปกติ ในกรณีที่มีอาการรุนแรงมาก จะมีความผิดปกติของระบบขับถ่ายร่วมด้วย เช่น ไม่สามารถควบคุมการอุจจาระ หรือ ปัสสาวะได้ ซึ่งจำเป็นต้องผ่าตัดรักษาอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันระบบขับถ่าย ไม่สามารถฟื้นคืนได้ตามปกติ


การรักษา โรคหมอนรองกระดูกสันหลัง กดทับเส้นประสาท
1.รักษาโดยการลดน้ำหนัก พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอาการหนักขึ้น
- การยกของหนัก
- การนั่งรถยนต์เป็นเวลานาน
- หลีกเลี่ยงอาการท้องผูกหรือเบ่ง ถ่ายอุจจาระแรงเกินไป เป็นต้น เนื่องจากจะทำให้เกิดแรงดัน

ในหมอนรองกระดูกสูง ซึ่งเป็นสาเหตุให้หมอนรองกระดูกทนแรงดันไม่ได้ ทำให้เกิดการแตกของหมอนรองกระดูกตามมา

2.ยาต้านการอักเสบ NSAIDS และ ยาคลายกล้ามเนื้อ
3.ใช้กายภาพบำบัดและใช้เสื้อพยุงหลัง เพื่อช่วยในการลดอาการปวด และทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไป ใช้ชีวิตประจำวัน ได้ปกติเร็วขึ้น และทำให้หน้าท้องกระชับขึ้น เพื่อที่จะจะช่วยลดแรงดันในหมอนรองกระดูกสันหลังได้ นอกจากกนี้ยังต้องลดเคลื่อนไหวของ กระดูกสันหลัง ก็จะทำให้อาการปวดลดลง เช่นกัน
4.การผ่าตัด แพทย์จะพิจารณาตามเกณฑ์ดังนี้
- ผู้ป่วยที่มีอาการปวดมากจนทนไม่ได้ แม้จะรักษาโดยรับประทานยา พักและกายภาพบำบัดเต็มที่แล้วก็ยังไม่เป็นปกติ
- มีอาการชา อ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อขาลีบอย่างเห็นได้ชัด
- มีปัญหาระบบขับถ่ายผิดปกติ ที่เกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาท เช่น กลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ได้

การผ่าตัดส่องกล้องส่องขยาย (Microscopic Spine Surgery)
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทโดยทั่วไป ศัลยแพทย์กระดูกจะใช้เครื่องมือในการตัดกระดูก และเอ็นพังผืดเพื่อขยายโพรงประสาทคลายการกดรัดเส้นประสาท โดยในระหว่างทำการผ่าตัดบางตำแหน่งของโพรงประสาท อาจมีขนาดที่ตีบแคบมาก ทำให้มองเห็นเส้นประสาทได้ไม่ชัดเจนและมีข้อจำกัด ซึ่งการสอดใส่เครื่องมือผ่าตัดอาจเป็นอันตรายต่อเส้นประสาทได้ ซึ่งการผ่าหมอนรองกระดูกสันหลังโดยการส่องกล้องขยายนั้น จะสามารถลดขนาดแผลผ่าตัดให้เล็กลงได้ และที่กล้องขยายจะมาช่วยให้ศัลยแพทย์สามารถ ที่จะมองเห็นรายละเอียดในการผ่าตัดได้อย่างชัดเจนอีกด้วย

ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้อง
1.ช่วยลดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อและอวัยวะภายใน ทำให้มีความเจ็บปวดน้อย และลดการเสียเลือด
2.ขนาดของแผลนั้นเล็กเพียง 1-2 ซม. ซึ่งเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิดจะทำให้มีแผลกว้างถึง 12-20 ซม. ดังนั้น การผ่าตัดแบบ MIS จะช่วยลดขนาดของแผลเป็นที่จะเกิดขึ้นจากการผ่าตัดแบบเปิด
3.พักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียง 1-2 วัน ซึ่งในบางกรณีอาจจะกลับบ้านได้ทันทีหลังการผ่าตัด นับว่าเร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิด ที่ต้องเสียเวลาพักฟื้นนานเป็นสัปดาห์
4.ช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน และโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ถือว่าปลอดภัยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
5.ช่วยลดการเกิดพังผืดจากการผ่าตัดแบบเปิด
6.ทำให้แพทย์มองเห็นรายละเอียดของตำแหน่งที่ต้องการผ่าตัดได้อย่างชัดเจน ด้วยเทคโนโลยีกำลังขยายของกล้อง ซึ่งช่วยให้ผ่าตัดได้ตรงจุดจึงลดการกระทบต่ออวัยวะอื่น ๆ

ข้อจำกัดของการผ่าตัดส่องกล้อง
- มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ที่มีนวัตกรรมพิเศษ
- ยังไม่สามารถใช้วิธีนี้กับผู้ป่วยในบางราย ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีโรคปอดและหัวใจขั้นรุนแรง และผู้ที่เคยผ่าตัด หรือมีพังผืดจำนวนมาก

วิธีการเตรียมตัว ก่อน-หลังการผ่าตัด
ก่อนการผ่าตัดส่องกล้อง

- เตรียมร่างกายให้พร้อม รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ รวมทั้งนอนหลับให้เพียงพอ
- งดน้ำงดอาหาร อย่างน้อย 6 ชั่วโมง
- แจ้งประวัติประจำตัว การแพ้ยา ให้แจ้งแพทย์เมื่อมีอาการป่วยก่อนการผ่าตัด
- งดสูบบุหรี่ และแอลกอฮอล์
- กรณีผ่าตัดลำไส้ แพทย์จะทำการล้างลำไส้ โดยจะให้ยากระตุ้นการขับถ่ายออกมาให้หมด
- ถอดเครื่องประดับเอาไว้ในที่ปลอดภัย เช่น แหวน สร้อยคอ ต่างหู หรือเครื่องประดับจากการเจาะตามร่างกาย เพื่อป้องกันการเสียหายใน ระหว่างการผ่าตัด

หลังการผ่าตัด
- งดน้ำงดอาหาร ประมาณ 12-24 ชั่วโมง ตามแพทย์สั่ง
- งดสูบบุหรี่ และแอลกอฮอล์

นับว่าการผ่าตัดด้วย Minimal Invasive Surgery นั้นจำเป็นต้องอาศัยแพทย์และทีมงานที่มีความชำนาญพิเศษ โดยทางโรงพยาบาลเปาโลสมุทรปราการ มีทีมแพทย์ที่ผ่านการศึกษาอบรมการผ่าตัดด้วยวิธี Minimal Invasive Surgery จากสถาบันการแพทย์ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งพร้อมให้การดูแลรักษาสุขภาพของท่านเป็นอย่างดี

ซึ่งหากแพทย์ตรวจพบโรคแล้วจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัด ทางโรงพยาบาลเปาโลสมุทรปราการ ขอมอบสิทธิ์พิเศษเสริมความปลอดภัยให้ทุกท่านที่จะเข้ารับการผ่าตัดทุกประเภท ให้ได้รับการ ตรวจโรค COVID-19 ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมนวัตกรรมการผ่าตัดแบบส่องกล้อง (Minimally Invasive Surgery - MIS) มาช่วยย่นระยะเวลาการพักฟื้น และลดรอยแผล และความเจ็บปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หากท่านใดสงสัยว่าตนเองกำลังประสบปัญหา มีอาการปวดหลังร้าวลงขา อย่าปล่อยให้อาการเรื้อรัง อาจมีภาวะเสี่ยงโรคหมอนรองกระกดูกทับเส้นประสาท ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางโรงพยาบาลเปาโลสมุทรปราการ ยินดีให้บริการตั้งแต่การให้คำปรึกษา ตรวจวินิจฉัยและรักษาอาการได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ครบครัน รวมถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่ยินดีให้คำปรึกษาด้วยความจริงใจ

สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร 02-363-2000
ขอบคุณข้อมูลจากโรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ https://bit.ly/2XulRUr