ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือโรคที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกน้อยลงจากการสะสมกระดูกน้อยเกินไปในขณะที่กำลังเจริญเติบโต หรือมีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างมากหลังจากเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ทำให้กระดูกเปราะบางไม่สามารถรับน้ำหนักและแตกหักตามมา อาจเกิดมาจาก 2 ปัจจัย คือ พันธุกรรมและการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้เร็วขึ้น โดยปกติมักพบมากในเพศหญิง แต่เพศชายสามารถพบได้ 20 เปอร์เซ็นต์ โรคนี้ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ แต่ก็สามารถพบได้ในวัยหนุ่มสาว


เพราะภาวะกระดูกพรุนระยะแรก “ไม่มีอาการ” รู้ได้ด้วยการตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก (Bone Mineral Density : BMD) ซึ่งการเอกซเรย์ธรรมดาไม่สามารถจะใช้ตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกได้ และอันตรายมากยิ่งขึ้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุกระดูกหัก

ภาวะกระดูกพรุน...ใครบ้างที่ควรตรวจ
- ผู้หญิงที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป / ผู้ชายอายุ 55 ปีขึ้นไป
- ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
- ผู้หญิงที่เคยได้รับการผ่าตัดรังไข่ออกทั้งสองข้างก่อนหมดประจำเดือน
- เคยมีประวัติกระดูกหัก
- ปวดเอว และปวดคอเรื้อรัง

ดูแลตัวเองอย่างไร...ห่างไกลโรคกระดูกพรุน
อาหารป้องกัน “โรคกระดูกพรุน” ปริมาณแคลเซียมที่เหมาะสมของแต่ละช่วงอายุมีดังนี้



แนวทางการรับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน
1.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และแต่ละหมู่ควรหลากหลาย
2.ดื่มนมร่วมกับการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเป็นประจำทุกวัน (ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการประมาณ 800–1200 มิลลิกรัม/วัน)
- นมรสจืดเหมาะกับวัยเด็กและวัยรุ่นในปริมาณ 2-3 แก้ว (กล่อง)/วัน
- นมพร่องมันเนยหรือนมขาดมันเนยเหมาะกับวัยผู้ใหญ่หรือสูงอายุในปริมาณ 1-2 แก้ว (กล่อง)/วัน
- ผู้ที่มีปัญหาการย่อยโปรตีนในนม (ดื่มนมแล้วท้องอืด ท้องเสีย) ควรเลือกรับประทานโยเกิร์ต งาดำ หรืออาหารที่มีแคลเซียมสูงทดแทน
3.รับประทานผักและผลไม้สดเป็นประจำทุกมื้อ
4.ควรรับประทานปลาเป็นประจำ เพราะมีวิตามินดีช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดี
5.หลีกเลี่ยง การดื่มชา กาแฟ เพราะทำให้ขับแคลเซียมออกนอกร่างกายมากขึ้น
6.ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 3-5 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที โดยเลือกวิธีการออกกำลังกายให้เหมาะกับภาวะร่างกาย เพื่อช่วยในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้ในร่างกาย

ตัวอย่างแหล่งอาหารที่มีแคลเซียมสูง

ตัวอย่างปริมาณแคลเซียมในอาหาร

โรคกระดูกพรุน...มีวิธีการรักษาอย่างไร
เราสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ด้วยตนเอง ด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิต ดังนี้
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช้แรงหักโหมจนเกิดความเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อกระดูกและร่างกาย
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามโภชนาการที่ร่างกายควรได้รับ บริโภคโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม
- รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดี
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรดสูงและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชาหรือกาแฟ ไม่สูบบุหรี่
- ระมัดระวังในการใช้ยา โดยเฉพาะยากลุ่มสเตียรอยด์ที่ต้องใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน

ร่วมกับการใช้ยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยพิจารณาจากสาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุน และความเสี่ยงของภาวะกระดูกหัก

โปรแกรมการฉีดยาเพื่อรักษาโรคกระดูกพรุน
ยาฉีดเพื่อรักษาโรคกระดูกพรุน มีประสิทธิภาพในการเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก ใช้ในการรักษาโรคกระดูกพรุน โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำปีละ 1 ครั้ง ใช้ระยะเวลาในการรักษา 3-6 ปี
- การฉีดยารักษาโรคกระดูกพรุนช่วยลดโอกาสการเกิดกระดูกหลังหัก ภายใน 3 ปี ได้ 70%
- การฉีดยารักษาโรคกระดูกพรุนช่วยลดโอกาสการเกิดกระดูกสะโพกหัก ภายใน 3 ปี ได้ 41%

ตรวจเช็คสุขภาพกระดูกของท่านตั้งแต่วันนี้...ด้วยโปรแกรมตรวจเช็คสุขภาพกระดูกด้วยการตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก 2 ส่วน (ส่วนสะโพกและสันหลัง) ด้วยโปรแกรมตรวจเช็คสุขภาพกระดูก หรือนัดหมายแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา เพื่อลดอาการปวด เสริมความแข็งแรง ป้องกันการหักและชะลอการสลายของมวลกระดูกด้วยโปรแกรมแกรมฉีดยารักษาโรคกระดูกพรุน ที่ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนนทเวชศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนนทเวช ยินดีให้คำแนะนำและให้การรักษาอย่างมืออาชีพ ด้วยทีมศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์เฉพาะทาง ร่วมกับวิสัญญีแพทย์ และทีมสหสาขาวิชาชีพทั้งพยาบาล นักกายภาพบำบัด และเภสัชกร

ขอบคุณข้อมูล :
- นพ.ชัชวาล ปิยะวรรณสุทธิ์
ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เฉพาะทางศัลยกรรมกระดูกสันหลัง

ศูนย์กระดูกและข้อ
- แผนกโภชนบำบัด รพ.นนทเวช
- National Osteoporosis Foundation
https://www.nonthavej.co.th/How-to-t...teoporosis.php