ข้อเข่า ข้อสะโพก ไม่แก่ก็เสื่อมได้
โรคข้อเข่าข้อสะโพกเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนภายในข้อ ส่วนมากการเสื่อมนี้จะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุเป็นการเสื่อมสภาพตามธรรมชาติของกระดูกอ่อน แต่ถึงแม้อายุจะไม่เยอะก็สามารถเป็นโรคนี้ได้ ส่วนปัจจัยหนึ่งที่พบบ่อย คือ พันธุกรรม โดยชาวเอเชียเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าฝรั่ง นอกจากนี้นักกีฬา นักวิ่ง โดยเฉพาะนักฟุตบอล ซึ่งใช้เข่าเยอะและเกิดการบาดเจ็บที่หัวเข่าบ่อย ๆ จนส่งผลให้ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควร

ข้อเข่าก็เปรียบเสมือนบานพับที่เชื่อมระหว่างหัวกระดูกต้นขา และเบ้ากระดูกหน้าแข้ง ซึ่งปลายกระดูกทั้งสองจะมีกระดูกอ่อนคลุมไว้ และจะมีน้ำเลี้ยงคอยหล่อลื่นเพื่อช่วยลดแรงกระแทกในขณะที่เราเคลื่อนไหว ดังนั้นการเสื่อมสลายของผิวกระดูกอ่อนบริเวณดังกล่าวนี่เอง จึงเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ข้อเข่าติดขัด และเกิดการอักเสบ บวม และรู้สึกปวดตามมา อาการเหล่านี้คือ “อาการข้อเข่าเสื่อม


สาเหตุสำคัญ “อาการข้อเข่าเสื่อม”
- อายุ โดยอาการข้อเข่าเสื่อมจะพบได้มากในผู้ที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
- เพศ เพศหญิง จะมีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวัยที่หมดประจำเดือน
- น้ำหนักตัว ปกติเวลาเดินบนพื้นราบ ข้อเข่าแต่ละข้างของเราจะต้องแบกรับน้ำหนักประมาณ 3 เท่า ของน้ำหนักตัว ซึ่งหากเรามีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ก็จะส่งผลให้กระดูกอ่อนผิวข้อชำรุด สึกหรอ และเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร
- การบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า การเล่นกีฬาที่เกิดแรงกระแทกในข้อเข่า เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล รวมไปถึงการเกิดอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่า หรือเส้นเอ็นภายในข้อเข่า ก็จะส่งผลให้ความแข็งแรงของข้อเข่าลดน้อยลง และเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้ผิวข้อเข่าชำรุดก่อนวัย

การรักษา ข้อเข่าเสื่อม
ปัจจุบันการรักษาข้อเข่าเสื่อม สามารถทำได้หลายวิธี โดยหากอาการของโรคยังไม่รุนแรง แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้การรักษาด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า เพื่อลดการเสียดสีขณะเคลื่อนไหว โดยวิธีนี้จะสามารถทำได้กับเฉพาะผู้ที่ไม่เคยมีการติดเชื้อในข้อเข่าเท่านั้น อย่างไรก็ตามหากมีอาการปวดที่รุนแรงเรื้อรังมานาน แพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทดแทนข้อเข่าที่เสื่อม

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คือ การผ่าตัดเอาข้อที่เสื่อมสภาพออก จากนั้นแพทย์จะใส่ข้อใหม่ซึ่งทำมาจากวัสดุพิเศษทางการแพทย์ที่มีความแข็งแรงทนทาน นอกจากนี้ไม่เพียงการนำกระดูกที่เสื่อมออก แพทย์จะปรับความตึงหรือหย่อนของเนื้อเยื่อรอบข้อเข่า เพื่อให้ขามีรูปร่างปกติ ไม่โก่งผิดรูป ซึ่งการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจะได้ผลดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับ
- ประสบการณ์และความชำนาญของศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด
- สภาพของข้อเข่าของผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ถ้าข้อเข่าติดแข็งหรือผิดรูป เช่น เข่าโก่ง หรือกล้ามเนื้อข้อเข่าลีบ ต้องมีการบริหารข้อเข่าหลังผ่าตัดเพื่อฟื้นฟูต่อไป
- ความร่วมมือของผู้ป่วยหลังผ่าตัดในเรื่องของบริหารข้อเข่าหลังผ่าตัด

ระยะเวลาของข้อเข่าเทียม
ในผู้ป่วยกว่าร้อยละ 80 ข้อเข่าเทียมจะสามารถอยู่ได้นานกว่า 20 ปี อย่างไรก็ตาม สภาพของข้อเข่าเทียมจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งการใช้งานของผู้ป่วย ความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์กระดูก และคุณสมบัติของข้อเทียม ซึ่งผู้ป่วยควรดูแลน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มขึ้น หลีกเลี่ยงการนั่งแบบยอง ๆ โดยไม่จำเป็น ไม่วิ่งทางไกล ไม่เล่นกีฬาที่ต้องมีการปะทะ และหมั่นดูแลตัวเองไม่ปล่อยให้ตัวเองติดเชื้อที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลานาน รวมทั้งไม่ปล่อยให้ฟันผุ เหงือกอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือเป็นแผลที่เล็บเท้า ก็จะช่วยให้ข้อเข่าเทียมมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นได้

วิธีการเตรียมตัว ก่อน-หลังการผ่าตัด
ก่อนการผ่าตัด

- เตรียมร่างกายให้พร้อม รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ รวมทั้งนอนหลับให้เพียงพอ
- งดน้ำงดอาหาร อย่างน้อย 6 ชั่วโมง
- แจ้งประวัติประจำตัว การแพ้ยา ให้แจ้งแพทย์เมื่อมีอาการป่วยก่อนการผ่าตัด
- งดสูบบุหรี่ และแอลกอฮอล์
- ถอดเครื่องประดับเอาไว้ในที่ปลอดภัย เช่น แหวน สร้อยคอ ต่างหู หรือเครื่องประดับจากการเจาะตามร่างกาย เพื่อป้องกันการเสียหายใน

ระหว่างการผ่าตัด
หลังการผ่าตัด

- งดน้ำงดอาหาร ประมาณ 12-24 ชั่วโมง ตามแพทย์สั่ง
- งดสูบบุหรี่ และแอลกอฮอล์

เพราะข้อเข่า ข้อสะโพกเสื่อม ไม่ใช่โรคสำหรับผู้สูงอายุเท่านั้น อย่าละเลยอาการปวดข้อ โดยเฉพาะข้อเข่าและข้อสะโพก ซึ่งเป็นอวัยวะที่รองรับการทรงตัวของร่างกาย เมื่อเริ่มมีอาการปวดหรือผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์

ซึ่งหากแพทย์ตรวจพบโรคแล้วจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัด ทางโรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ ขอมอบสิทธิ์พิเศษเสริมความปลอดภัยให้ทุกท่านที่จะเข้ารับการผ่าตัดทุกประเภท ให้ได้รับการตรวจโรค COVID-19 ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

ขอบคุณข้อมูลจากโรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ :
https://bit.ly/39phvn0
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมโรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ โทร 02-363-2