ทำไมอาชีพ “นักเขียน” ถึงเสี่ยงสุขภาพแย่ ?
อาชีพนักเขียนมักนั่งสร้างสรรค์ผลงาน ทั้งนั่งเขียน นั่งพิมพ์คอมพิวเตอร์ เป็นเวลานานหลายชั่วโมง โดยขยับเขยื้อนร่างกายน้อยมาก แม้ว่าร่างกายจะขยับน้อย แต่ใช้งานสมองหนักมาก เพื่อคิดคำที่ต้องการจะพิมพ์ เรื่องที่ต้องการจะสื่อ หาข้อมูลเพิ่มเติม อ่านทวน แก้ไข ไหนจะไฟแรงหัวแล่นในบางช่วงที่ทำให้นั่งพิมพ์ติดต่อกันเป็นเวลาหลายชั่วโมงโดยไม่ลุกจากที่นั่ง นอกจากเสี่ยงออฟฟิศซินโดรมจากการนั่งหน้าคอมนาน ๆ แล้ว ยังเหนื่อยล้าอย่างหนักต่อการใช้สมองตลอดทั้งวันอีกด้วยวิธีแก้ไขไลฟ์สไตล์ของนักเขียน เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น
คุณมูราคามิ ตัดสินใจดูแลร่างกายให้ดี เพื่อให้สมองทำงานได้ดีที่สุด และไม่เสื่อมไปตามวัย เขาเริ่มต้นเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ใหม่ เขาเลิกสูบบุหรี่ และฝึกวิ่งอย่างจริงจัง กิจวัตรประจำวันของเขาคือ ตื่นนอนตี 4 เพื่อเขียนหนังสือ 5-6 ชั่วโมง แล้วจึงพักด้วยการออกกำลังกาย เขาเลือกที่จะทำอาหารรับประทานเองที่บ้าน เน้นผัก ปลา เต้าหู้ และอาหารสุขภาพต่าง ๆนักเขียนฟรีแลนซ์สามารถทำตาม หรือปรับเปลี่ยนวิธีดูแลสุขภาพจากคุณมูราคามิได้ ส่วนใครที่เป็นนักเขียนประจำที่ต้องเข้าออฟฟิศ ที่อาจจะไม่ได้มีอิสระในการทำงานเท่ากับนักเขียนฟรีแลนซ์ แต่ก็สามารถปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้ดีขึ้นได้เช่นกัน เริ่มจากเวลาในการเข้านอน ตื่นนอน หาช่วงพักเบรคระหว่างทำงานระหว่างวัน พักสายตา สมอง และขยับเขยื้อนร่างกายโดยลุกขึ้นจากเก้าอี้ทุก ๆ 1-2 ชั่วโมง เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ แป้งและน้ำตาลน้อยลง ไขมันจากสัตว์น้อยลง เน้นผักผลไม้ และอย่าลืมหาเวลาออกกำลังกายให้ได้ทุกวัน หรืออย่างน้อย 3-5 วันต่อสัปดาห์ ครั้งละอย่างน้อย 30 นาที ก็จะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ และยังช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น ไม่เหนื่อยล้าเกินไปจนสมองตัน คิดงานไม่ออก อีกด้วยอ่านเพิ่มเติม>>slotxo