อาการปวดเข่า อีกหนึ่งโรคอันดับต้นๆกับโรค “ ข้อเข่าเสื่อม ” หลายๆคนอาจจะยังไม่ทราบว่า ตำแหน่งบริเวณที่ปวดในแต่ละที่ กับอายุของเรา สามารถบ่งบอกอาการเริ่มต้นของโรคเกี่ยวกับกระดูกได้ วันนี้เรามีวิธีการสังเกตอาการของโรคนี้มาฝากกัน พร้อมวิธีการเลือกทานอาหารเสริมบำรุงกระดูกให้แข็งแรง


วิธีสังเกตอาการ | จุดเด่นของโรคข้อเข่าเสื่อม มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน ส่วนใหญ่ก็คืออายุ 45 ปีขึ้นไป โดยจะมีอาการปวด มักจะปวดตำแหน่งบริเวณข้อเข่าด้านในมากกว่าส่วนอื่นๆ มีอาการข้อเข่าฝืดในช่วงเช้าหลังตื่นนอน อาการจะเหมือนคนก้าวขาไม่ค่อยออก แต่เมื่อเดินไปสักพักข้อเข่าจะเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ความรู้สึกฝืดน้อยลง อีกทั้งไม่สามารถนั่งขัดสมาธิ งอเข่า พับเข่าได้ ให้ความรู้สึกเข่าตึงๆ ขัดๆ บริเวณข้อเข่าด้านหลังเมื่องอเข่า และอาการปวดรอบๆบริเวณหัวเข่าทั้งหมด ซึ่งในระยะเริ่มแรกที่เป็นอาจมีภาวะข้อเข่าบวม เกิดจากนํ้าเลี้ยงข้อที่เพิ่มขึ้น เพื่อพยายามซ่อมแซมเนื้อเยื่อในเข่าที่เสียหาย และมีเสียงดังกรอบแกรบในข้อเข่า ซึ่งเกิดจากภาวะเข่าหลวมจนทำให้ผิวข้อกระดูกเสียดสีกัน

ด้วยพฤติกรรมการนั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ นั่งคุกเข่าอยู่เป็นประจำ เมื่อบวกกับอายุที่มากขึ้น กล้ามเนื้อที่ใช้งานบางส่วนอ่อนแรงจนทำให้การพยุงข้อเข่าและหมอนรองกระดูกข้อเข่าเสื่อมลง กลายเป็นโรคเข่าข้อเสื่อมในที่สุด ซึ่งอาการนี้จะไม่แสดงให้เห็นในทันที อาการดังกล่าวจะค่อยๆเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ และมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ต่อมน้ำเหลืองโต มีอาการขาชาและอ่อนแรง

โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการใช้ชีวิต ความเคยชินของร่างกายโดยไม่ทันได้สังเกต ซึ่งเราสามารถป้องกัน รู้เท่าทันและหลีกเลี่ยงได้ โดยการเลือกทานอาหารเสริมบํารุงกระดูกประเภทต่างๆ เริ่มจากการดื่มนม แต่รู้หรือไม่ ว่านมที่เราดื่มกันอยู่ทุกๆวันนั้น แท้จริงแล้วยังไม่เพียงพอต่อการซ่อมแซมมวลกระดูก ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป การเลือกทานอาหารเสริมแก้ปวดเข่าก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการบำรุงร่างกาย กระดูก ไขข้อ หรือกำลังมองหาอาหารเสริมให้ผู้สูงอายุในครอบครัว วันนี้เราหยิบยก Calcium L-Threonate อีกหนึ่งแคลเซียมบำรุงกระดูกประเภทดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เกือบ 100% มาฝากกัน

Calcium L-Threonate (แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต , แคลเซียมแอลเทรเนต) ผลิตจากข้าวโพด สามารถละลายแตกตัวในน้ำได้ดีมาก ส่งผลให้การดูดซึมทำได้มากกว่า 95% จึงไม่ตกตะกอนเป็นนิ่วในไต ไม่ทำให้ท้องผูก โดยคำแนะนำจากคณะแพทย์ศาสตร์จุฬาฯ แนะนำว่า คนเราควรได้รับแคลเซียมวันละประมาณ 1,000 – 1,200 มิลลิกรัม โดยในจำนวนนี้มีอยู่ในอาหารที่เรารับประทาน 360 มิลลิกรัม ต้องเสริมด้วย อาหารเสริมแคลเซียมเข้าไปวันละ 600 – 800 มิลลิกรัม เพื่อรักษากระดูกไม่ให้เป็นโรคกระดูกพรุน
ซึ่งในท้องตลาดเรามักเห็นอาหารเสริมแคลเซียมที่มีส่วนประกอบของแคลเซียม คาร์บอเนต วางขายอยู่ ซึ่งแคลเซียมชนิดนี้จะมีกรรมวิธีการผลิตจากแร่หินหรือกระดูก ทำให้การแตกตัวต้องใช้กรดน้ำย่อยในกระเพาะอาหารเพื่อแตกตัวและยังต้องใช้วิตามินดีช่วยในการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย แคลเซียมในส่วนที่ดูดซึมไม่หมดจะทำให้ตกตะกอนและเป็นนิ่วในไตได้ในอนาคต และเมื่อทานเข้าไปจะส่งผลให้ท้องผูก ท้องอืด ไม่สบายท้อง

สำหรับสาระดีๆที่นำมาฝากกันให้รู้เท่าทันอาการปวดเข่า วิธีสังเกตโรคและการเลือกทานอาหารเสริมบำรุงกระดูก แคลเซียม แอล ทรีโอเนต ก็คงเป็นประโยชน์ให้กับหลายๆท่านให้หมั่นสังเกตตัวเอง คนรอบข้าง รวมไปถึงผู้สูงอายุในครอบครัว นอกจากนี้ยังมีบทความดีๆและกิจกรรมจากทางแคลที ตรวจวัดมวลกระดูกสำหรับผู้สูงอายุฟรีเร็วๆนี้ สามารถติดตามกิจกรรมและบทความเพิ่มเติมได้ที่แฟนเพจ https://www.facebook.com/CAL-T-872106819604543/