สรุปข้อกล่าวหาการ แปรรูป ปตท กับการผูกขาดธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน

อีกข้อกล่าวหาหนึ่งเกี่ยวกับการผูกขาดธุรกิจพลังงานของปตท. ด้วยประเด็นการแปรรูป ปตท ที่มีการหยิบยกขึ้นมาพูดถึงตลอดเวลาก็คือรัฐบาลได้ให้ปตท.เข้าไปถือหุ้นในโรงกลั่นน้ำมันเกือบทุกแห่งในประเทศ(ห้าในหกแห่ง)ทำให้ปตท.มีอำนาจในการควบคุมการบริหารจัดการโรงกลั่นน้ำมันในประเทศเกือบทั้งหมด ก่อให้เกิดการผูกขาดในธุรกิจการกลั่นน้ำมันและการสั่งน้ำมันดิบจากต่างประเทศซึ่งเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้น้ำมันที่ขายในประเทศมีราคาแพงและทำให้หลายฝ่ายต่างออกมาเปิดโปง ปตทและหยิบยกอีกหลายๆ ประเด็นมาพูดถึงเพราะเนื่องจากมีการผูกขาดตัดตอนเรื่องการผูกขาดธุรกิจพลังงานของประเทศโดยปตท.นั้นเป็นเรื่องที่ติดพันกันมานานตั้งแต่ปตท.ยังมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจเต็มตัวและเข้าไปทำธุรกิจพลังงานในฐานะตัวแทนของรัฐบาลดังนั้นจึงได้รับสิทธิพิเศษต่างๆในฐานะบริษัทน้ำมันแห่งชาติซึ่งก็เป็นเช่นนี้ในทุกประเทศที่มีการจัดตั้งบริษัทน้ำมันแห่งชาติขึ้นเพื่อมาดูแลผลประโยชน์ด้านพลังงานให้แก่รัฐ

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีการแปรรูป ปตท เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และมีการขายหุ้นบางส่วนให้กับเอกชนทุกฝ่ายรวมทั้งปตท.ก็เห็นด้วยว่าควรจะลดการผูกขาดลงโดยเฉพาะในธุรกิจก๊าซธรรมชาติซึ่งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานก็กำลังพิจารณาที่จะให้มีเปิดเสรีมากขึ้นโดยอาจให้เริ่มในกิจการท่อส่งก๊าซและการนำเข้าก๊าซจากต่างประเทศก่อนแต่ในส่วนของธุรกิจการกลั่นน้ำมันซึ่งได้มีการกล่าวอ้างว่ามีการผูกขาดโดยปตท.มากถึง 83% ของกำลังการกลั่นทั้งหมด (โดยคิดง่ายๆว่าปตท.ถือหุ้น 5 ใน 6 โรงกลั่น = 83%) นั้น ผมคิดว่าเป็นการกล่าวอ้างที่ง่ายเกินไปและไม่มีเหตุผลรองรับอย่างเพียงพอ
จากการเข้าไปปรับปรุงกิจการของโรงกลั่นเหล่านี้ ทำให้ปัจจุบันปตท.ถือหุ้นในโรงกลั่นต่างๆดังนี้
ไทยออยล์ 49.1%
PTTGC 48.9%
IRPC 38.5%
SPRC 36.0%
BCP 27.2%

จะเห็นว่าโดยนิตินัยแล้ว ไม่มีโรงกลั่นใดเลยที่ปตท.ถือหุ้นเกิน 50% แต่แน่นอนว่าเราคงจะใช้จำนวนหุ้นเพียงอย่างเดียวมาเป็นตัววัดว่าปตท.มีอำนาจครอบงำการบริหารหรือไม่คงไม่ได้ คงต้องพิจารณาด้วยว่าปตท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดในบริษัทหรือไม่และมีอำนาจในการบริหารจัดการในบริษัทเด็ดขาดหรือไม่โดยเฉพาะในการกำหนดตัวหรือแต่งตั้งผู้บริหารระดับกรรมการผู้จัดการหรือประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร (CEO)ซึ่งถ้าเราใช้เกณฑ์นี้มาวัดการครอบงำการบริหารของปตท.ในโรงกลั่นต่างๆห้าแห่งที่ปตท.ถือหุ้นอยู่เราจะพบว่าปตท.มีอำนาจในการบริหารโรงกลั่นจริงๆเพียงสามแห่งเท่านั้นคือไทยออยล์ (TOP), PTTGC และ IRPC เพราะทั้งสามแห่งนี้ปตท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ถึงแม้จะไม่ใช่เป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมากแต่เป็นผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการอย่างแท้จริงสามารถส่งคนของตนเข้ามาเป็นผู้บริหารระดับสูงสุด (CEO) ได้ส่วนอีกสองแห่งคือ SPRC และ BCP นั้นปตท.เป็นแต่เพียงผู้ถือหุ้นเสียงข้างน้อย โดยในกรณีของ SPRC นั้นชัดเจนว่า Chevron ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ถึง 64% เป็นผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการโรงกลั่นโดยการคัดเลือกและแต่งตั้งผู้บริหารก็ทำโดยคณะกรรมการบริษัท 9 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนของ Chevron (ปตท.มีตัวแทนอยู่ในคณะกรรมการบริษัทเพียง 2 คน) CEO ก็เป็นคนของ Chevronส่วนบางจากนั้นผู้ถือหุ้นใหญ่คือประชาชนซึ่งถือหุ้นบางจากมากถึง 62.8% จึงทำให้บางจากมีลักษณะพิเศษคือเป็นบริษัทมหาชนจริงๆและแม้ปตท.จะถือหุ้นบางจากในสัดส่วนสูงถึง 27.2% และถือว่าบางจากเป็นบริษัทในเครือปตท.แต่ปตท.ก็ไม่ได้มีอำนาจบริหารจัดการในบางจากแม้แต่การแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบางจากก็มีการดำเนินการเป็นอิสระผ่านคณะกรรมการสรรหาและได้ลูกหม้อซึ่งเป็นพนักงานของบางจากมาเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่สองคนติดต่อกัน โดยปราศจากการแทรกแซงจากปตท.แต่อย่างใดอีกทั้งปตท.ยังมีตัวแทนนั่งอยู่ในคณะกรรมการบริษัทเพียงสองคนเท่านั้นจากจำนวนกรรมการทั้งหมด 14 คน และมีกรรมการอิสระถึง 6 คน
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าการที่มีผู้ออกมาพูดว่าปตท.เข้าไปถือหุ้นในโรงกลั่นถึง 5 ใน 6 แห่ง แสดงว่ามีการผูกขาดธุรกิจและสามารถครอบงำกิจการโรงกลั่นน้ำมันของประเทศได้นั้นเป็นการตีความที่เกินจริงเพราะยังมีโรงกลั่นฯอีกสามแห่งที่ปตท.ไม่สามารถเข้าไปบริหารสั่งการอะไรได้นั่นคือโรงกลั่น Esso, SPRC และ BCP
อ่านบทความเกี่ยวกับการแปรรูป ปตท กับการผูกขาดธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน เพิ่มเติมได้ที่ http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/เปิ...ดธุร/