ท่อก๊าซ / ศาลปกครอง คดี ปตท คืนท่อก๊าซ
– สตง. ทวงคืนท่อก๊าซ ปตท.
– แปรรูปท่อก๊าซ จากของรัฐให้เป็นของเอกชน
– นโยบายแปรรูปท่อก๊าซกลายเป็นของเอกชนฟรีๆ ไม่ต้องเสียภาษี
– ท่อก๊าซ เป็นสาธารณสมบัติ การยักยอกท่อก๊าซ คือ การปล้นอธิปไตยทางเศรษฐศาสตร์
– สตง. สั่ง ปตท. คืนท่อก๊าซ แล้วลุงตู่เลิกอุ้ม ปตท. ปล้นชาติซะที
– ผู้ตรวจการจี้ รัฐไม่แยกท่อก๊าซก่อนแปรรูปขัดมติ ครม. แนะนายกฯ สั่งทบทวนแบ่งทรัพย์สิน
– แยกท่อก๊าซขาย … อนุมัติไปแล้ว การทบทวนก็แค่ให้ไปตรวจ
– ข้าราชการ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบทวงคืนท่อก๊าซ จาก ปตท. เป็นกรรมการได้รับเงินและโบนัสจากกำไรของกลุ่มบริษัท ปตท.
– 12 ปี ปตท. จ่ายค่าเช่าท่อก๊าซให้รัฐ 5,000 ล้านบาท ฟันรายได้จากการเก็บค่าผ่านท่อ 300,000 ล้านบาท กำไร 6,000% นี่คือสาเหตุที่ ปตท. ไม่ยอมคืนท่อก๊าซและต้องการขายท่อก๊าซให้เอกชน

เหล่านี้คือ “ข้อความ” หรือ “คำถาม” ที่บางกลุ่มใช้เพื่อเรียกความสนใจจากประชาชนทั่วไป โดยมักเป็นคำพูดที่มีการบิดเบือนอยู่ในตัว หรือบางครั้งก็ใช้ลักษณะการพูดความจริงเพียงครึ่งเดียว เพื่อให้สังคมเกิดความเคลือบแคลงใจในเรื่องเหล่านี้ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลถามว่าประเทศชาติได้ประโยชน์มากน้อยเพียงใดกับเรื่องเหล่านี้

ในสังคมประชาธิปไตยการแสดงความคิดเห็นต่างกับรัฐเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ การปลุกระดมเพื่อให้เกิดการตื่นตัวหรือกดดันรัฐในเรื่องต่างๆ ก็สามารถทำได้ในระบอบนี้ หากแต่เรื่องที่นำมาหยิบยกเป็นประเด็นสังคมต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความจริง ไม่ใช่การบิดเบือนเพื่อให้เกิดการแตกแยกกัน โดยไม่สนใจถึงข้อมูลจริงที่วางอยู่ตรงหน้า ยกตัวอย่าง

กรณี สตง. คดี ปตท คืนท่อก๊าซในความเป็นจริง สตง. มีหน้าที่ตรวจสอบ ในขณะที่ศาลมีหน้าที่ตัดสิน ซึ่งประเด็นดังกล่าวศาลปกครองได้พิจารณาตัดสินไปแล้วว่า ปตท. คืนท่อก๊าซครบ การพยายามหยิบยกคำกล่าวของ สตง. มาพูดนั้นไม่ต่างจากการเอาคำให้การของตำรวจมาพูดในคดีที่ศาลตัดสินไปแล้วนั่นเอง

กรณี แปรรูปท่อก๊าซ จากของรัฐให้เป็นของเอกชน … ย้อนไปตั้งแต่แปรรูป ปตท. เมื่อปี 2544 เมื่อ ปตท. แปรรูป มีการขายหุ้นและนำบริษัทเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งทรัพย์สินที่เป็นของรัฐหรือได้มาโดยอำนาจรัฐก็จะถูกส่งคืนให้รัฐ ในที่นี้กรณีท่อก๊าซ ซึ่งมีทั้งส่วนที่ใช้เงินทุนจากการแปรรูป เงินจาก ปตท. เอง เงินจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย รวมไปถึงอำนาจรัฐ ซึ่งหลังจากการแปรรูปท่อก๊าซส่วนใดที่ได้มาจากการใช้อำนาจรัฐหรือเงินของรัฐ ท่อก๊าซส่วนนั้นๆ ก็ถูกส่งคืนให้รัฐ และ ปตท. ได้ทำสัญญาเช่าจากรัฐ ส่วนท่อก๊าซส่วนได้ที่ได้มาจากเงิน ปตท. ก็ถือว่าท่อก๊าซนั้นๆ เป็นของ ปตท. ส่วนในกรณีที่มีการกล่าวถึงท่อก๊าซในทะเลนั้น การวางท่อไม่ใช่การสร้างอสังหาริมทรัพย์ คล้ายการวางสายเคเบิ้ลใต้ทะเล จึงไม่จัดว่าส่วนนี้ใช้อำนาจของรัฐ และท่อก๊าซเป็นของ ปตท.
ติดตามอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ : http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/tag...ก๊าซ/