เคยสังเกตคุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้สูงอายุที่บ้านกันบ้างไหมคะ บางท่านเริ่มมีบ่นว่า ปวดขาบ้าง ปวดเข่าบ้าง อาการเหล่านี้เราอย่านิ่งนอนใจไปนะคะ เพราะนั่นอาจจะเป็นสัญญาณของ โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุ มักพบในช่วงวัยอายุ 60 หรือน้อยกว่านั้นค่ะ โดยเฉพาะผู้หญิงจะมีโอกาสเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าผู้ชาย เนื่องจากกระดูก และกล้ามเนื้อมีความแข็งแรงน้อยกว่านั่นเอง

เรามาเช็คอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมผู้สูงอายุกันก่อน
อาการปวดเข่า เป็นอาการต้นๆ ของโรคนี้เลยก็ว่าได้ โดยจะรู้สึกอาการปวดเมื่อย ตึงหัวเข่าทั้งด้านหน้า และหลัง รวมไปถึงบริเวณน่อง กรณีที่มีอาการหนักมากขึ้นก็จะปวดเข่ามากขึ้น โดยเฉพาะเวลาขยับเข่า

ข้อเข่าโก่ง ลักษณะของเข่าสามารถโก่งได้ทั้งด้านนอก และด้านใน ทำให้เปิดอาการขาสั่น การเดินเริ่มยากลำบากขึ้น และยังมีอาการปวดขณะเดินอีกด้วย

สาเหตุหลักอาจเกิดจาก มวลกระดูก หรือแคลเซียมกระดูกลดน้อยลง โดยปกติแล้ว ร่างกายของคนเราเมื่อมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป แคลเซียมที่สะสมในกระดูกจะค่อยๆ ลดลงไปตามอายุ เมื่อแคลเซียมลดลงไปมากขึ้น จะทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม หรือกระดูกพรุนได้ โรคข้อเข่าเสื่อมจะพบได้เกือบทุกคนในวัยสูงอายุ เพราะข้อเข่าจะต้องรับน้ำหนักตัวเวลายืน หรือเดิน ดังนั้นเมื่อเกิดข้อเข่าเสื่อมขึ้น การรับน้ำหนักตัวจะทำได้ยาก ทำให้เกิดอาการปวดตามข้อเข่านั่นเอง

วิธีการเพิ่มแคลเซียมในร่างกาย
-  การทานอาหารที่มีแคลเซียมบำรุงกระดูก (อาหารชนิดใด เสริมสร้าง แคลเซียมบำรุงกระดูก)
- การทานแคลเซียม เสริมกระดูก

เราสามารถทำได้ทั้ง 2 วิธี แต่สำหรับผู้ที่เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม หรือมีอาการปวดขา ปวดเข่า แนะนำว่าการทานแคลเซียม เสริมกระดูก จะเป็นวิธีที่ช่วยได้เช่นกัน เพราะแคลเซียมที่เสื่อมสภาพลง ได้ถูกทดแทนขึ้นจากแคลเซียม เสริมกระดูกที่เรารับประทานไป ก็จะช่วยทำให้มวลกระดูกแน่นขึ้น ลดอาการเสื่อมของข้อเข่า เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงขึ้น

แคลเซียมที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มวลกระดูกน้อย ** แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต ** เป็นแคลเซียมที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างจาก แคลเซียม คาร์บอเนต ที่เราคุ้น และได้ยินชื่อบ่อยๆ

แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต
- ช่วยป้องกันโรคข้อกระดูกเสื่อม
- เสริมสร้างกระดูกอ่อนในข้อกระดูก โดยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในกระดูก
- สร้างน้ำไขข้อ ทำให้ไขข้อ และกระดูกแข็งแรง
- ร่างกายของเราสามารถดูดซึมได้ถึง 95%

หากต้องการเสริมแคลเซียมในกระดูก ก็สามารถทานอาหารที่มีแคลเซียม และอาหารเสริมแคลเซียมเสริมกระดูก แต่อย่าลืมนะคะ แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต สามารถดูดซึม แคลเซียมเข้าร่างกายได้ดีกว่าค่ะ หากต้องการปรึกษาอาการปวดต่างๆ สามารถสอบถาม หรือปรึกษาได้ที่ https://www.facebook.com/CAL-T-872106819604543/
หรือ Line@ : https://line.me/R/ti/p/%40cal-t