ปตท ปล้นชาติ ” อีกหนึ่งวลีจากกลุ่มนักทวงคืนพลังงาน ปตท ปล้นชาติ จริงหรือไม่? สามารถอ้างอิงจากการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยใช้รายงานวิเคราะห์ทรัพยากร Shale Gas/Oil ของประเทศต่างๆออกมา รวมไปถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งในรายงานระบุว่า ประเทศไทยมี “significant prospective shale gas and shale oil potential” สามารถสรุปได้อย่างคร่าวๆและเข้าใจได้ง่ายขึ้น ดังนี้
1. ทรัพยากรปิโตรเลียมที่ EIA นำเสนอคือ Shale Gas/Oil ซึ่งเป็นปิโตรเลียมที่ถูกกักอยู่ในชั้นหินดินดาน จะแตกต่างไปจากก๊าซ-น้ำมันที่ผลิตกันอยู่ทุกวันนี้ซึ่งเรียกว่า Conventional Resource
2. จากข้อสรุปในรายงานเป็นการนำเสนอข้อมูลปริมาณปิโตรเลียมประเภทนี้ที่คาดการณ์ว่าจะพบ ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขที่แน่นอน (Prospective) โดยพิจารณาคาดการณ์จากข้อมูลทางธรณีวิทยาต่างๆ เช่น ความลึก ความหนา ลักษณะชั้นหิน ค่าความร้อน อายุของ และลักษณะทางธรณีวิทยาอื่นๆ จากนั้นจึงนำข้อมูลดังกล่าวไปเทียบเคียง (analogy) กับแหล่งทรัพยากรที่พบในพื้นที่อื่นและมีการผลิตแล้ว
3.ในรายงานนี้ก็ระบุไว้ชัดเจนว่า ปริมาณที่นำเสนอในที่นี้เป็นปริมาณที่คาดว่าจะผลิตได้ภายใต้เทคโนโลยีปัจจุบันเท่านั้น (technically recoverable resource) ไม่ได้บ่งถึงปริมาณที่จะผลิตได้คุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ (economically recoverable resource) อย่าลืมว่าการผลิตปิโตรเลียมในบางแหล่งอาจมีต้นทุนสูงจนไม่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ ตัวเลขที่ดูเหมือนมากนั้นถ้าสำรวจจริงๆก็ไม่แน่ว่าจะเป็นปริมาณที่คุ้มค่าจะขุดเจาะขึ้นมาหรือไม่ ดังนั้นปริมาณที่ถูกระบุในรายงานนี้จึงยังห่างไกลจากคำว่าปริมาณสำรองที่ประเทศไทยมีมากมายนัก
4. ดังได้กล่าวแล้วว่า Shale Gas/Oil ต่างไปจากปิโตรเลียมที่ผลิตแบบ Conventional การผลิตปิโตรเลียมจากหิน Shale จะต้องใช้เทคนิคที่เรียกว่า Hydraulic Fracturing ร่วมกับ Horizontal Drilling ซึ่งเทคนิคนี้เพิ่งจะถูกพัฒนาให้มีความคุ้มค่าในการผลิตเชิงพาณิชย์ไม่กี่ปีมานี้ โดยมีเพียงแคนาดากับอเมริกาเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จในวงกว้างในการผลิต Shale Gas ส่วนในประเทศไทยยังไม่มีการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้แต่อย่างใด และยังไม่มีการสำรวจและผลิตShale Gas/Oil เลย สรุปได้ว่าประเทศไทยยังไม่มีเทคโนโลยีในการผลิตปิโตรเลียมชนิดนี้ในเชิงพาณิชย์
5. เทคนิคในการผลิต Shale Gas/Oil นั้นมีความเสี่ยงในเรื่องสิ่งแวดล้อมอยู่มาก ทำให้ในยุโรปก็ห้ามใช้เทคนิค Hydraulic Fracturing ในการผลิตไปแล้ว ดังนั้นการจะพูดถึงการผลิตปิโตรเลียมจากหิน Shale ในไทยก็ต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วย

จากรายงานอ้างอิงจากการวิเคราะห์สำรวจสามารถที่จะตอบคำถามใครๆหลายๆคนว่า ปตท ปล้นชาติ ตามที่กลุ่มนักทวงคืนได้กล่าวอ้างหรือไม่ ขอบคุณที่มาของข่าวจาก http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/ความจริงมั่วยกแผง-ปตท-ทร/