นายพิชิต ชื่นบาน คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทยและที่ปรึกษากฎหมายนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมร่วมกับคณะทำงานได้ข้อยุติที่จะนำเรื่องเสนอต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ฯ อดีตนายกรัฐมนตรีเพื่อจัดทำเป็น “คำคัดค้านคำสั่งประธาน สนช. เรื่องนำสำนวนคดีถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ฯ อดีตนายกรัฐมนตรีเข้าวาระการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยมีประเด็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่จะคัดค้านคดีถอดถอนดังนี้
1.หลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ คดีถอดถอนมีผลเป็นการจำกัด สิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำมิได้หากรัฐธรรมนูญมิ ได้กำหนดให้อำนาจไว้

2.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มิได้กำหนดให้อำนาจ “เรื่องการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต”

3.ข้อ บังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติพ.ศ.2557เฉพาะหมวด10ว่าด้วยการถอดถอน ผู้ดำรงตำแหน่งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริต ไม่เป็นไปตาม “หลักนิติธรรม”และหลักการตรากฎหมายในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศ(generalwill)

4.ข้อบังคับ การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติพ.ศ.2557 เฉพาะหมวดที่ 10 ว่าด้วย การถอดถอน และการให้บุคคลพ้นจากตำแหน่ง ในส่วนที่ 1การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต “เป็นการขัดหรือล้าง ประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุขและขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พ.ศ.2557มาตรา 5”

5.ประธาน สนช. หรือวิป สนช. ไม่อาจ “เลือกปฏิบัติ” ในการ “เลือกฐานความผิด” ในการดำเนินคดีถอดถอนให้ผิดไปจากมติ ป.ป.ช. ที่ชี้มูลความผิดต่อ อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ถูกกล่าวหาตามข้อบังคับหมวด 10 ส่วนที่ 1 ที่ปรากฏ ตามรายงานคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติหากฝ่าฝืนปฏิบัติถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อ“หลักนิติธรรม”และรัฐธรรมนูญมาตรา5เสียเอง

6.อ้างบทบัญญัติกฎหมายที่ไม่มี“บทบังคับโทษ” มาเป็นเหตุถอดถอนไม่ได้

7. ความเป็นนายกรัฐมนตรีของนางสาวยิ่งลักษณ์ ฯ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้สิ้นสุดลงแล้ว จึงไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 58 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพฤติมิชอบแห่งชาติ พ.ศ. 2542

เหตุที่คัดค้านเพราะคณะทำงานเห็นว่าการตรวจสอบความชอบด้วย กฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่ของอดีตนายกรัฐมนตรีในเรื่องคดีถอดถอนต้องเป็นไป โดยถูกต้องชอบธรรมตามหลักนิติธรรม