ขนมพื้นบ้านชาวไทย
มุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้



กินข้าวเที่ยงก็น่าจะมีขนมล้างปากด้วย เอาขนมพื้นบ้านของชาวมุสลิม จ.ชายแดนภาคใต้ (ยะลา, ปัตตานี, นราธิวาส) มาให้ดูกัน เราไม่ใ่ช่คนพื้นที่ แต่สนใจขนมปักษ์ใต้ เราว่าขนมสามารถบอกวัฒนธรรมของท้องถิ่นได้ และภาคใต้ก็มีขนมเยอะมาก ชื่อขนมอาจเพี้ยนเสียงไปบ้างและรายละเอียดเพียงคร่าว ๆ เท่านั้น (บางอย่างบอกแต่ชื่อ) เน้นรูปร่างให้คนต่างถิ่นได้ดูกัน และไม่ได้รวมขนมทุกอย่างเพราะบางอย่างหารูปไม่ได้เลย ถ้าพรุ่งนี้ไม่หลับจะเอาขนมพื้นบ้านปักษ์ใต้มาฝากอีก มีเยอะกว่านี้เพราะหลายจังหวัด...วันนี้วังเวงจัง ขอให้อิ่มหนำสำราญกับมื้อเที่ยงกันนะทุกท่าน ^^



ขนมกอและห์ (กอแหละ, ขนมกวน) ขนมหวานพื้นบ้านของชาวไทยมุสลิม จ.ยะลา ใช้เวลาทำนานมาก ทำจากแป้งข้าวเจ้าแดงกวนกับน้ำตาลทรายและน้ำตาลแว่น นึ่งให้สุกแล้วพักไว้ เคี่ยวกะทิจนมีขี้มันเป็นสีแดงเข้ม จากนั้นก็ตักราดลงบนขนม โรยหน้าด้วยมะพร้าวคั่ว



ขนมกอและละซอ ทำจากแป้งข้าวเจ้าผสมกะทิ กวนกับน้ำตาลทรายและเกลือ พอสุกแล้วพักไว้ โรยหน้าด้วยวุ้นเส้นและกุ้งเป็นตัวที่กวนกับกะทิจนแห้ง สามารถทานเป็นอาหารเช้าหรือเย็นแทนข้าวได้



ตาแปอูปีกายู นิยมทานในโอกาสสำคัญหรือโอกาสพิเศษต่าง ๆ ปัจจุบันมีการนำไปชุบแป้งทอดด้วย



ขนมดู ขนมพื้นบ้านแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสงขลา



โรตีปาแย ชาวยะลามักทานเป็นอาหารเช้า กับน้ำชา กาแฟ



ขนมอาเกาะ (อาเก๊าะ, ตือปงอาเกาะ) ปรุงจากแป้ง ไข่เป็ด น้ำตาล กะทิ เนื้อขนมคล้ายขนมหม้อแกง สังขยา รูปร่างคล้ายขนมไข่ แต่พิมพ์ของขนมอาเกาะใหญ่กว่า นิยมรับประทานในเดือนรอมฎอน



รปะตีแก (ลอปะตีแก, กระโดดแทง) ขนมของชาวไทยมุสลิม จ.นราธิวาส หอมหวานกลมกล่อมจากกะทิที่ราดบนแป้งข้าวเจ้าผสมน้ำใบเตย ราดด้วยน้ำผึ้งโหนด



ขนมบาตาบูโร๊ะ (บาแตบูโร๊ะ, บาตาปูโร๊ะ) ไส้ทำจากน้ำเต้าขูดและต้มแล้วนำไปผัดจนกับกุ้งจนแห้ง ห่อหุ้มด้วยแป้ง ราดด้วยน้ำกะทิ



ขนมซัมบูซะ (ซัมปูซ๊ะ) หน้าตาคล้ายปอเปี๊ยะทอดแต่ทำเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม แป้งห่อทำจากแป้งโรตี ไส้มีไส้ผัก เนื้อ ไก่ กุ้ง ทานกับน้ำจิ้ม



กะโป๊ะ (ข้าวเกรียบปลาสด) ของขึ้นชื่อของนราธิวาส ทำจากปลาทุกชนิดที่ใช้ทำลูกชิ้นปลา นิยมทานเป็นอาหารว่างหรือกับแกล้ม



ฆอเดาะ ทำโดยตีไข่ น้ำตาล ขนุน ให้เข้ากันแล้วนำไปนึ่ง นิยมทานในช่วงรอมฎอน



บูงอ (ขนมดอกไม้) ทำโดยนำแป้งข้าวเหนียว มันเทศต้ม มาผสมรวมกับแป้งและน้ำเกลือ นวดให้เข้ากัน ปั้นเป็นก้อนกลมๆ นำไปชุบไข่แล้วทอดในน้ำมันร้อนๆ ทานพร้อมกับน้ำเชื่อม นิยมทานในช่วงรอมฎอน



ขนมบูงอจีจา ขนมพื้นบ้านของยะลา นำดอกบูงอจีจา มาตากแดดให้แห้ง บดให้ละเอียด แล้วผสมกับแป้งข้าวเจ้า น้ำนิดหน่อย เกลือ น้ำตาลทราย คลุกเคล้าให้เข้ากัน นำมาห่อด้วยใบตองและนึ่งจนสุก



ตือปงปือลีตอ ขนมโบราณดั้งเดิมของชาวไทยมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ คนเก่าคนแก่ชอบมาก ทำจากแป้งข้าวเจ้า เทใส่น้ำตาลแว่นและน้ำตาลทรายที่ใส่ไว้ในกระทง นึ่งจนสุกแล้วราดหน้าด้วยหัวกะทิใส่เกลือ นิยมทานในช่วงรอมฎอน



นาซิกายอ เหมือนสังขยา ทำจากไข่และน้ำตาล สามารถใส่ผลไม้เช่นขนุนลงไปได้ และชื่อจะเรียกต่างกันออกไป



ขนมปูตู ขนมโบราณท้องถิ่นของยะลา นิยมใช้ในงานพิธีเช่นงานแต่งงาน



โรตีซอราย ขนมพื้นเมืองสตูล เส้นขนมอ่อนนุ่ม ผสมกลิ่นเตยหอม มีรสเค็มหวานของกะทิ



ปอลี (ขนมเหนียว) เอาแป้งข้าวเจ้าผสมแป้งข้าวเหนียวผสมน้ำปูนและน้ำดอกอัญชัน แล้วนำไปนึ่งให้สุก พอเย็นแล้วนำไปตัดให้พอดีคำคลุกกับมะพร้าวขูดใส่เกลือป่นและข้าวเหนียวคั่ว ทานกับน้ำตาลโตนด



ตะปงอาแป (อาแป, อาแปบากา) เป็นแพนเค้กแบบไทย ๆ โรยมะพร้าวขูดใส่เกลือนิดนึง ใช้ทานเล่นหรือใช้ประกอบพิธีทางศาสนา เช่น งานศพ งานแต่งงาน งานเข้าสุหนัต



ขนมกอซู เอาน้ำตาลแว่นตั้งไฟจนละลายแล้วกวนกับน้ำตาลทราย พอข้นแล้วยกลงรอให้เย็น จากนั้นเอาแป้งข้าวเจ้าผสมกับน้ำตาลที่เย็นแล้ว ใส่ปูนผสมอาหารเพื่อให้เหนียว นำไปใส่ถ้วยแล้วนึ่งจนสุก กินกับมะพร้าวขูด



ขนมลาแซ ดูคล้ายก๋วยเตี๋ยว มักกินเป็นอาหารเช้าเหมือนข้าวยำ มีขายตามร้านน้ำชาทั่วไป และเห็นเป็นประจำในพิธีจัดเลี้ยงของชาวมุสลิม



ขนมแซแร็ง นิยมทานในเดือนรอมฎอน ทำโดยกวนแป้งกับน้ำตาลให้ข้น เทใส่ถาดรอให้เย็น แล้วราดหน้าด้วยขี้มัน



ขนมคลุกฝุ่น (ฆลอเมาะฮาบู) ขนมพื้นบ้านสำคัญของคนมลายูมาตั้งแต่อดีต จะทำขึ้นเนื่องในโอกาสที่สำคัญเท่านั้น เช่น งานแต่งงาน พิธีเข้าสุหนัต และงานเมาลิด เป็นต้น เป็นขนมที่คนส่วนใหญ่ไม่สามารถทำได้ เพราะกระบวนการทำต้องมีความละเอียดมาก ส่วนผสมที่จะใช้จะต้องต้องพอเหมาะ ถ้ามีส่วนอย่างหนึ่งอย่างใดเกินจากที่กำหนดก็ไม่สามารถทานได้



ขนมปอลี



ขนมนาสิติเน๊ะ



ขนมเจะแมะ มักทำทานในช่วงฤดูฝน ทำจากมันเทศตำละเอียดผสมกับแป้ง น้ำตาล เกลือ นวดให้เข้ากันแล้วปั้นกดให้เป็นวงรี นำไปทอดในน้ำมัน



ขนมอาซูรอ การกวนข้าวอาซูรอ (ขนมอาซูรอ) เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการนำสิ่งของที่รับประทานได้หลายสิ่งหลายอย่างมากวนรวมกัน มีทั้งชนิดคาวและหวาน จะใช้คนในหมู่บ้านมาช่วยกันกวนข้าว กวนโดยนำกะทะใบใหญ่ตั้งไฟ คั้นน้ำกะทิใส่ลงไป ตำหรือบดเครื่องแกงหยาบ ๆ ใส่ลงในน้ำกะทิ เมื่อกะทิเดือดใส่อาหารดิบต่าง ๆ คนด้วยไม้พายจนกระทั่งทุกอย่างเปื่อยยุ่ย กวนต่อไปจนเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อแห้งได้ที่แล้วตักใส่ถาด โรยหน้าด้วยไข่เจียวหั่นบาง ๆ หรืออาจโรยหน้ากุ้ง เนื้อสมัน ปลาสมัน ผักชี หอมหั่นฝอย แล้วตัดเป็นชิ้น ๆ แจกจ่ายกันทาน



โรตีกรอบ



ขนมบอระเพ็ด



ขนมแกลแปะ



ขนมมันไม้กวน



ขนมบัวยอ



ขนมปาโระ



ขนมงาแน



ขนมสาแบ



ขนมอะลังสกะ


ภาพ : อินเตอร์เน็ต
ข้อมูล : wikipedia, manager.co.th, oknation.net, nanajung-varity.blogspot.com, m-culture.in.th, thaigoodview.com, learners.in.th, budutani.com, komchadluek.net, natsasi.wikispaces.com, bloggang.com, yala.go.th


ที่มา : http://www.soccersuck.com/boards/topic/890882