Previous
Next
Downtown
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก Downtown
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก
Results 1 to 3 of 3

Thread: แคลเซียมมาจากไหน??? และแบบไหนจึงจะดีที่สุด

  1. #1
    s's Avatar
    s is offline Trusted Member
    Join Date
    Apr 2010
    Location
    มีหัวใจ
    Posts
    3,111
    Blog Entries
    4
    Warning Points:
    0/5
    ภก.ดร.วิรัตน์ ทองรอด นิตยสารหมอชาวบ้าน อธิบายว่า ผลิตภัณฑ์แคลเซียมที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดจะมีหลายรูปแบบทั้งแบบที่เป็นเม็ดฟู่ ชนิดเม็ด และชนิดแคปซูล โดยอยู่ในรูปของเกลือแคลเซียมชนิดต่างๆ เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate) แคลเซียมซิเทรต (calcium citrate) และแคลเซียมฟอสเฟต (calcium phosphate) เป็นต้น เกลือของแคลเซียมแต่ละชนิดจะให้ปริมาณแคลเซียมแตกต่างกัน ดังนี้

    - แคลเซียมคาร์บอเนต ให้แคลเซียมร้อยละ 40 คือ
    ถ้ากินแคลเซียมคาร์บอเนต 500 มิลลิกรัม ร่างกายของเราจะได้รับแคลเซียมเป็นจำนวน 200 มิลลิกรัม

    อ.พญ. จันทนรัศม์ จันทนยิ่งยง ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า
    กรณีผู้ป่วยมีกรดในกระเพาะอาหารน้อยจะทำให้ดูดซึมได้น้อยลง เนื่องจากแคลเซียมคาร์บอเนตต้องอยู่ในสภาวะที่เป็นกรด จึงจะแตกตัวแล้วถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ ดังนั้นควรรับประทานหลังอาหารทันที หรือหลังอาหาร 1 ชั่วโมง เพราะกรดในกระเพาะอาหารจะหลั่งออกมามากในช่วงนี้นั่นเอง หากแคลเซียมคาร์บอเนตไม่แตกตัวและถูกดูดซึม ก็จะเป็นสาเหตุของการเกิดท้องผูกและท้องอืดได้

    - แคลเซียมฟอสเฟต ให้แคลเซียมร้อยละ 38 คือ
    ถ้ากินแคลเซียมซิเทรต 500 มิลลิกรัม ร่างกายของเราจะได้รับแคลเซียมเพียง 190 มิลลิกรัม

    - แคลเซียมซิเทรต ให้แคลเซียมร้อยละ 21 คือ
    ถ้ากินแคลเซียมซิเทรต 500 มิลลิกรัม ร่างกายของเราจะได้รับแคลเซียมเพียง 105 มิลลิกรัม

    ศาสตราจารย์ นพ.อภิชาติ จิตต์เจริญ ภาควิชาสูติศาสตร์ - นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สามารถรับประทานแคลเซียมซิเทรตเวลาใดก็ได้ ไม่มีผลต่อการดูดซึมของแคลเซียม เนื่องจากไม่ต้องอาศัยกรดในกระเพาะในการแตกตัว จึงไม่ทำให้ท้องผูก ท้องอืด และลดอาการเสี่ยงของการเกิดนิ่วในไต จึงใช้กับผู้ป่วยโรคไตได้ แต่มีข้อเสียคือราคาสูง

    ดังนั้น การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์แคลเซียมจึงควรคำนึงถึงเกลือของแคลเซียมว่า เป็นเกลือชนิดใดด้วย
    เพราะเกลือแคลเซียมแต่ละชนิดจะดูดซึมและให้แคลเซียมในปริมาณที่แตกต่างกัน
    Last edited by s; 05-21-2012 at 10:46 AM.

  2. #2
    s's Avatar
    s is offline Trusted Member
    Join Date
    Apr 2010
    Location
    มีหัวใจ
    Posts
    3,111
    Blog Entries
    4
    Warning Points:
    0/5
    รศ. ภ.ญ. บุษบา จินดาวิจักษณ์ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวไว้ว่า ไม่ว่าจะเป็นแคลเซียมรูปแบบใดก็มีประสิทธิภาพเท่ากัน ซึ่งบางผลิตภัณฑ์มีการเติมวิตามินดี หรือวิตามินซีด้วย ทั้งนี้เพื่อให้แคลเซียมถูกดูดซึมได้ดีขึ้น จากทางเดินอาหาร และวิตามินดียังช่วยเก็บแคลเซียมไม่ให้ถูกขับออกทางไตด้วย

    สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า เราสามารถรับประทานแคลเซียมได้อย่างปลอดภัย ทั้งแคลเซียมที่ได้รับจากการรับประทานอาหารและจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่ต้องไม่เกินปริมาณสูงสุดที่ร่างกายต้องการ คือ 2.5 กรัมต่อวัน
    การรับประทานแคลเซียมปริมาณมากเกินไป คือ เกิน 5 กรัมต่อวัน หรือเกิน 3 กรัมต่อวันในผู้ที่มีการทำงานของไตผิดปกติ จะทำให้เกิดผลเสียตามมา โดยผลข้างเคียงที่อาจพบ ได้แก่ นิ่วในไต ปริมาณแคลเซียมในเลือดสูง ไตวาย
    Last edited by s; 05-21-2012 at 10:47 AM.

Comments from Facebook

Posting Permissions

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •