http://www.youtube.com/watch?v=hEh945_pLaM
http://www.youtube.com/watch?v=9NZ-iW_aXdA
http://www.youtube.com/watch?v=7IS7hosbNIM
หนังสั้นที่ตัดมาจากสารคดีบันทึกกรรม
สื่อให้เห็น...อะไร
ลองดูกันเอาเองนะครับ
Printable View
http://www.youtube.com/watch?v=hEh945_pLaM
http://www.youtube.com/watch?v=9NZ-iW_aXdA
http://www.youtube.com/watch?v=7IS7hosbNIM
หนังสั้นที่ตัดมาจากสารคดีบันทึกกรรม
สื่อให้เห็น...อะไร
ลองดูกันเอาเองนะครับ
ได้เข้ามาดูแล้วครับ แต่ดูไม่จบครับ เลยยังไม่รู้เรื่องว่าเรื่องอะไรครับ ใครรู้บอกทีครับ :)
อ่อ ชื่อเรื่องว่า มั่นใจคนไทยฯเกลียดเมธาวี
เป็นหนังสั้นที่เอามาจากละครโทรทัศน์เรื่องบันทึกกรรมทางช่อง 3
ผมได้มีโอกาสดูหนังสั้นเรื่องนี้ แล้วรู้สึกว่า หนังสั้นเรื่องนี้พยายามสื่อสาร
บทบาทของสังคมออนไลน์ ที่มีต่อสังคมไทย ในปัจจุบัน
หนังเรื่องนี้พยายามตั้งคำถามว่า คิดอย่างไรต่อคนที่ชื่อว่า เมธาวี
??
หนังทำได้ดีมาก คนเราชอบตัดสินคนจากความคิดตนเอง ทั้ง ๆ ที่ไ่ม่รู้จักตัวตนของคนๆนั้นเลย
เด็กๆนักแสดงๆเนี่ยแสดงดีกว่าในทีวีอีกนะเนี่ย
หนังเก๋ๆ สนุกดี
ชอบตอนช่วงจบ
ทุกคนสรุปกันไปเอง บ้างก็บอกว่าเมธาวีดี แต่หาเหตุผลไม่ได้
บ้างก็ว่าไม่ดี ก็พูดไปมั่วๆ
แต่พอมาถามตัวเมธาวีเอง แล้วเจ้าตัวเค้ายังตอบไม่ได้เลย คนอื่นนี่รู้ดีกันจริงๆ ช่างเหมือนกับเรื่องรอบๆตัว 555
ครับ:D
ขอบคุณที่เข้ามาพูดคุย แสดงความรู้สึกนะครับ
ส่วนของผมดูแล้วรู้สึกว่า
ใน Social Network ในปัจจุปันนี้ สามารถกระจายสารได้เร็วมาก
ยิ่งตอนนี้ อยากจะเขียนอะไรลงไป ก็สามารถทำได้สะดวก รวดเร็วมาก
เร็วจนหลงลืมไปว่าข้อความนั้นจะไปทำร้ายใครรึปล่าว
หากคิดไม่ทัน และไม่คิดรับผิดชอบต่อข้อความนั้น คนที่เข้ามาอ่านก็จะรับสารไป โดยไม่มีข้อมูลเพื่อพิจารณาอย่างอื่นได้ จนตีความสารนั้น และรู้สึกต่อคนที่ถูกกล่าวหาในข้อความนั้นไปแล้ว และหากคนที่รับสารนั้น เผยแพร่ต่อ จะมีคนที่รู้สึกต่อคนที่ถูกกล่าวหานั้นมากขึ้นในระยะเวลาอันรวดเร็ว
ถึงแม้คนที่เขียนข้อความนั้น รู้สึกผิด และอยากรับผิดชอบ จะตามลบ ตามแก้ ก็ไม่ทันแล้ว
ดังนั้น ผมจึงรู้สึกว่า การสื่อสารข้อความในอินเตอร์เน็ต ทุกตัวอักษรมันสำคัญมากๆ ดังตัวอย่างในหนังเรื่องนี้ก็บอกไปแล้ว หน่ะครับ;)
ดูจบแล้ว ให้ความรู้สึกที่ หนัก ใช้ได้ (เพิ่งรู้นะเนี่ยว่าไม่ใช่กระแสเฮฮา facebook เฉยๆ)
ดูเสร็จแล้วยังหนักหัวอยู่เลย
ดูแล้วสงสาร แล้วก็กลับมาคิดถึงตัวเอง ถ้าเราเป็นคนทั่วไปในโรงเรียน แล้วมีคนแบบเมธาวี
เราก็คงตามกระแสแหละเนาะ....
แล้วอย่างงี้ต่อไปจะรู้ได้ไงละ ว่าอะไรดี หรืออะไรไม่ดี...
โอ๊ย ปวดหัว แง่งๆ
ทีแรก ดูแล้ว รู้สึกเหมือนเป็นเรื่องจริงเลย
แสดงกันเก่งมากครับ
ดูแล้ว รู้สึก สงสาร เมธาวี
เขาแค่ใช้ชีวิตปกติ และไม่ได้รู้หรือสนใจเลยว่า ใครคิดกับตนอย่างไร
มีคนสื่อสารตามความรู้สึกตนที่มีต่อเมธาวี
โดยไม่ได้รับผิดชอบต่อสารที่ตนแสดงออกไป
เป็นการทำร้าย เมธาวี และทำลายคุณค่าชีวิตของเมธาวี
และคนเหล่านั้น ก็น่าสงสาร เพราะเขาไม่รู้เลยว่า เขาทำไป ทำไม
การเขียนข้อความในอินเตอร์ ออกไปโดยไม่รับผิดชอบนี่มันส่งผมมหาศาลจริงๆนะครับ
ขอบคุณคุณจขกทสำหรับประเด็นที่น่าสนใจค่ะ
แต่ขอแชร์คหส่วนตัวที่เรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้จะดูลึกซึ้งมากกว่านี้เยอะเลย หากไม่ได้เน้นแค่ ประเด็น social network
เพราะ social network เป็น "เพียงปัจจัยหนึ่ง" ในการสื่อสาร
แต่นามธรรมที่ซ่อนอยู่ในเรื่องราวนี้ คือ นิสัยของมนุษย์ ที่วันๆคิดแต่จะเปรียบเทียบ และตัดสิน อย่างเต็มไปด้วยอคติ ต่างหาก
ดังนั้นหากเรา สรุปแค่ประเด็น social network จะทำให้เราไม่เห็นว่าอะไรคือแรงขับที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมนั้น
ยกตัวอย่างเช่น ทุกครั้งที่มีคนทำให้คุณโกรธ คุณจะโกรธมากจนต่อยคนคนนั้น แต่เมื่อวันนึงอุปกรณ์ที่เรียกว่า"ปืน"ถือกำเนิดขึ้นบนโลก ทุกครั้งที่คุณโกรธ คุณก็จะเอาปืนยิงคนคนนั้นให้ตายเสีย
ต่อมา คนก็จะมาพยายามพูดกันถึงความร้ายแรง ความน่ากลัวของปืน
โดยที่ไม่มีใครพยายามพูดถึงต้นเหตุ ซึ่งก็คือผู้ใช้ปืน หรืออีกนัย "มนุษย์" นั่นเอง
สิ่งประดิษฐก็คือสิ่งประดิษฐ์ มันจะไม่เกิดคุณ หรือ โทษ หากมันไม่ได้ถูกใช้โดยมนุษย์
ดังนั้น ต่อให้มีสิ่งประดิษฐ์ที่ดีหรือชั่วขึ้นมาในโลก หากผู้ใช้มีจิตใจฝักใฝ่อยากให้ผู้อื่น ตกต่ำ และไม่รับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น ไม่ว่าสิ่งประดิษฐ์นั้นจะถูกสร้างออกมาเลิศเลอหรือสมบูรณ์แค่ไหน ก็ย่อมก่อให้เกิดผลเสียในวงกว้างได้พอๆกับความดำมืดของจิตใจของผู้ใช้
ส่วนหนังเรื่องนี้ ก็ถือได้แค่ว่าเป็นอีกเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความผิดซ้ำๆของมนุษย์
เพราะการเปรียบเทียบ แบ่งแยก ตัดสิน อย่างเต็มไปด้วยอคติ เป็นสิ่งที่ล้วนเป็นปัญหาและสร้างความทุกข์ให้มนุษย์มานมนานตั้งแต่อดีตกาลที่เคยบันทึกไว้มาจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เปลี่ยน ดังนั้นหากวันนี้จะเกิดความผิดซ้ำซาก ไม่ว่าจะผ่าน โทรศัพท์ จดหมาย อินเตอเน็ต สื่อต่างๆ หรือปากต่อปาก หรืออะไรก็ตามที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น ก็จะถูกนำมาใช้เพื่อจุดประสงค์เดิมๆ หากผู้ใช้นั้น ยังเป็น "มุนษย์"
ที่ต้องออกมาชี้แจงเพิ่มเติม เพราะเห็นว่า การที่เราสรุปอะไรจากปลายเหตุจะทำให้เราไม่เห็นต้นเหตุของปัญหา
"เพราะหากเราดูแค่รูปแบบการเกิดขึ้นเราจะไม่รู้ถึงนามธรรมที่ซ่อนอยู่"
เพราะวันนี้มี social network ให้พวกเราได้กล่าวโทษ เดี๋ยวพรุ่งนี้ก็มี future network
super network etc. ออกมาให้เราได้กล่าวโทษอีก ทั้งที่ผู้ใช้ก็ยังเป็นคนเดิม เปลี่ยนเครื่องมือไปอีกร้อยอย่าง ปัญหาเดิมจากคนใช้คนเดิมมันก็ย่อมยังอยู่ ไม่เคยคิดจะเปลี่ยนแปลงหรือเรียนรู้ ว่าอะไรคือต้นเหตุแห่งความผิดซ้ำซาก
ขอทิ้งไว้ประมาณนี้ค่ะ อยากจะร่วมแชร์ความเห็น คิดเห็นอย่างไร พูดคุยกันได้ค่ะ