เจาะตำนานการ์ตูนไทย

  1. Siambrandname Webmaster
    Siambrandname Webmaster
    ไปเจอกระทู้น่าจะเป็นประโยชน์กับคนชอบการ์ตูนและจำได้ว่าในชุมชนเรามีกรุ๊ปคนชอบการ์ตูนอยู่หนึ่งกรุ๊ป
    เลยขออนุญาตนำกระทู้ เจาะตำนานการ์ตูนไทย จากเว็บ Alepaint.com มาฝากให้ได้อ่านกันที่นี่้ด้วยนะครับ


    http://www.pantip.com/cafe/chalermth.../A8987549.html

    ประวัติศาสตร์การ์ตูนไทยเริ่มจากการเข้ามาของวิทยา การเขียนภาพแบบตะวันตก ซึ่งขรัวอินโข่ง จิตรกรในสมัยรัชกาลที่ 3-4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้นำมาใช้เป็นคนแรกในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังลักษณะเหมือนจริง (มี perspective) หลายคนจึงถือกันว่าท่านเป็นนักเขียนการ์ตูนคนแรกของไทยแม้ว่าจะไม่มีการตี พิมพ์ก็ตาม

    ภาพจิตรกรรมฝาผนังโดยขรัวอินโข่ง




    ล่วงมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 มีการเปิดรับอารยธรรมตะวันตกเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งการ์ตูนเก่าที่สุดในเมืองไทยที่ได้รับการตีพิมพ์ก็ปรากฎในช่วงเวลานี้ นั่นเอง (พ.ศ. 2449)

    นี่คือภาพการ์ตูนเก่าที่สุดของไทยที่ได้รับการตีพิมพ์ ในสมัย ร.5(ร้อยกว่าปีแล้วภาพการ์ตูนนี้)





    ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ หัว รัชกาลที่ 6 ภาพล้อหรือการ์ตูนในเมืองไทยเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น โดยเฉพาะแนวการ์ตูนล้อการเมือง ซึ่งยุคนี้ได้มีนักเขียนการ์ตูนล้อการเมืองคนแรกเกิดขึ้น คือ ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต (เปล่ง ไตรปิ่น)

    ตัวอย่างผลงานของ เปล่ง ไตรปิ่น





    แม้แต่รัชกาลที่ 6 ก็ทรงโปรดการ์ตูนลักษณะดังกล่าว ดังปรากฏหลักฐานว่า มีภาพวาดฝีพระหัตถ์ล้อเหล่าเสนาบดีและข้าราชบริพารในพระองค์อยู่เสมอๆ โดยท่านได้ตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต

    ภาพล้อ ฝีพระหัตถ์ ร.6




    ถึงสมัยรัชกาลที่ 7 วงการการ์ตูนซบเซาลงเนื่องจากพิษเศรษฐกิจ จนถึง พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทำให้นักเขียนการ์ตูนมีเสรีภาพในการเสนอความคิดเห็นมากขึ้น จึงมีนักเขียนการ์ตูนดังๆ เกิดขึ้นในยุคนี้หลายคน อาทิ สวัสดิ์ จุฑะรพ ผู้นำเรื่องสังข์ทองมาวาดเป็นการ์ตูนเรื่องยาวเรื่องแรกของประเทศไทย ลงในหนังสือพิมพ์สยามราษฎร์ การ์ตูนของสวัสดิ์ส่วนมากนำเค้าโครงเรื่องมาจากวรรณคดีไทย แต่ได้ดัดแปลงบทเจรจาใหม่ให้มีความสนุกสนานเข้าใจง่าย และในทุกเรื่องจะมีตัวการ์ตูนตัวหนึ่งชื่อ "ขุนหมื่น" ที่สามารถเรียกเสียงหัวเราะได้ทุกครั้งที่ออกแสดง

    การ์ตูนเรื่องพระสมุทร ของ สวัสดิ์ จุฑะรพ




    ตัวการ์ตูน "ขุนหมื่น" ซึ่งดัดแปลงมาจากป๊อบอาย โดยเป็นตัวตลกแทรกอยู่ในการ์ตูนจักรๆ วงศ์ๆ เรื่องต่างๆ



    นอกจากนี้ยังมีนักเขียนการ์ตูนแนวเดียวกับ สวัสดิ์ จุฑะรพ คนอื่นๆ เช่น วิตต์ สุทธิเสถียร จำนงค์ รอดอริ ส่วนนักเขียนในยุคเดียวกันแต่วาดคนละแนวก็มีเช่นกัน เป็นต้นว่า ฉันท์ สุวรรณบุณย์ ผู้บุกเบิกการ์ตูนสำหรับเด็กเป็นคนแรกของประเทศไทย

    ตัวอย่างการ์ตูนของ ฉันท์ สุวรรบุณย์




    ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 การ์ตูนไทยซบเซาลงจากภัยสงครามเช่นเดียวกับวงการวรรณกรรม เมื่อสิ้นสงครามแล้ว วงการการ์ตูนไทยจึงฟื้นตัวอีกครั้ง ในยุคนี้ปรากฏนักเขียนการ์ตูนที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น ประยูร จรรยาวงษ์ นักเขียนการ์ตูนเจ้าของฉายา "ราชาการ์ตูนไทย" ซึ่งวาดทั้งการ์ตูนตลกและการ์ตูนการเมือง

    ตัวอย่างการ์ตูนของ ประยูร จรรยาวงษ์




    ใน พ.ศ. 2495 ได้มีการ์ตูนสำหรับเด็กเกิดขึ้นเป็นเล่มแรก คือ หนังสือการ์ตูน "ตุ๊กตา" อันเป็นผลงานของพิมล กาฬสีห์ มีตัวละครหลักสี่คน คือ หนูไก่ หนูนิด หนูหน่อย และหนูแจ๋ว และประสบความสำเร็จอย่างสูง (เลิกออกประมาณ พ.ศ. 2530 เนื่องจากพิมล กาฬสีห์ เสียชีวิต) โดยชื่อ "ตุ๊กตา" มาจากชื่อเล่นของลูกสาวพิมล ซึ่งเขานำมาใช้เป็นนามปากกาในการวาดภาพ

    นิตยสารตุ๊กตา




    ด้านในของปกหลัง เป็นตุ๊กตา และเสื้อผ้า สำหรับเด็กผู้หญิง ตัดเอามาแต่งตัวให้ตุ๊กตา




    หลังจากนั้นจึงมีการ์ตูนสำหรับเด็กออกมาอีกหลายเล่ม เช่น การ์ตูน "หนูจ๋า" ของ จุ๋มจิ๋ม (จำนูญ เล็กสมทิศ) ซึ่งเริ่มวางแผงเล่ม แรกเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2500 และที่ได้รับความนิยมตามมาอีกเล่มก็คือการ์ตูน "เบบี้" ของ วัฒนา เพ็ชรสุวรรณ ซึ่งเริ่มวางแผงฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2504





    ตัวการ์ตูนหลักของเบบี้นั้นมีมากถึง สิบกว่าคน บางตัวก็มีการนำไปแสดงหนังโฆษณาก็มี คือคุณโฉลงและคุณแต๋ว หนังสือทั้งสองเล่มนี้อยู่ในเครือสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น และยังคงออกมาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน




    นอกจากนี้แล้วก็ยังมีหนังสือการ์ตูนสำหรับเด็กที่แฝง สาระมากอีกเล่มหนึ่งก็คือ ชัยพฤกษ์การ์ตูน ซึ่งมี ทาร์ซานกับเจ้าจุ่น เป็นตัวชูโรง ผู้วาดก็คือ รงค์ นักเขียนการ์ตูนนิยายภาพที่สร้างชื่อเสียงในชัยพฤกษ์การ์ตูน อย่างเช่น เตรียม ชาชุมพร ที่เขียนเรื่อง "เพื่อน" โอม รัชเวทย์ สมชาย ปานประชา พล พิทยกุล เฉลิม อัคภู ปัจจุบันหนังสือเล่มนี้ได้ปิดตัวไปแล้ว

    ชัยพฤกษ์การ์ตูน




    นักเขียนคนอื่นที่มีชื่อเสียงร่วมสมัยได้แก่ พ.บางพลี (เจ้าของผลงานเรื่อง อัศวินสายฟ้า และศรีธนญชัย) , ราช เลอสรวง, จุก เบี้ยวสกุล ฯลฯ ซึ่งในยุคนี้ส่วนมากจะนิยมวาดการ์ตูนเรื่อง บางเรื่องยาวเป็นร้อยๆ หน้า นับว่าเป็นยุคทองของการ์ตูนเรื่องทีเดียว

    สามารถดาวน์โหลดการ์ตูนอัศวินสายฟ้าไปอ่านได้นะครับ
    http://www.ilovelibrary.com/book_det......6887&group=

    การ์ตูนอัศวินสายฟ้า



    มายุคต่อเนื่องจาก ชัยพฤกษ์การ์ตูน กลุ่มนักการ์ตูนแนวหน้า 5 ท่าน มารวมกลุ่มกันใหม่ชื่อว่า กลุ่มเบญจรงค์ เปิดเป็นสำนักงานเล็กแถวสีแยกเสือป่า ถนนเจริญกรุง โดยมี เตรียม ชาชุมพร, โอม รัชเวทย์, สมชาย ปานประชา, พล พิทยกุล, เฉลิม อัคภู ทำหนังสือการ์ตูนรายเดือน ขึ้นมา ชื่อ "เพื่อนการ์ตูน" อยู่ในตลาดได้พักใหญ่ก็ปิดตัวลง ในเวลาไล่เลี่ยกันนั้น ก็มีกลุ่มทำงานเล็กๆกลุ่มหนึ่ง ซึ่งห้องข้างๆของ กลุ่มเบญจรงค์ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นสำนักพิมพ์คุณภาพผลิตหนังสือสำหรับเด็กมากมายนั่นคือ สำนักพิมพ์ห้องเรียนโดยคนคุณภาพอย่าง คุณศิวโรจน์,คุณเล็ก เป็นกำลังสำคัญตั้งแต่เริ่มต้นยุคที่เงียบหาย

    การ์ตูนรายเดือน - เพื่อนการ์ตูน




    การ์ตูนไทยยังแอบทำหน้าที่เงียบๆ ตามซอกหลืบ เป็นการ์ตูนราคาถูกที่พอให้ผู้อ่านหาซื้อได้โดยเบียดเบียนเงินในกระเป๋าให้ น้อยที่สุด อาจจะลดคุณภาพลงบ้างตามความจำเป็น นี่คือยุคของ "การ์ตูนเล่มละบาท" โดยเริ่มเกิดขึนครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์สากล ต่อมาหลายสำนักพิมพ์ัก็ทำตามออกมา สำนักพิมพ์สุภา,บางกอกสาส์น,สำนักพิมพ์สามดาว เป็นต้น นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่การ์ตูนทำหน้าที่เพื่อต่อผ่านไปยังการ์ตูน ยุคต่อมา แม้กระนั้นนักเขียนการ์ตูนยุคนั้นก็ฝากฝีมือไว้ได้อย่างยอดเยี่ยมหลายท่าน ด้วยกัน โดยบางครั้งก็ได้นักวาดการ์ตูนที่มีชื่อเสียงในยุคก่อนหน้านั้นช่วยเขียนปก ให้ เพื่อเสริมคุณภาพขึ้นอีกระดับหนึ่ง เช่น จุก เบี้ยวสกุล เป็นเหตุทำให้การ์ตูนเล่มละบาท ได้รับความนิยมขึ้นเป็นอย่างมากในยุคหนึ่ง จนสามารถทำให้คำว่า"การ์ตูนเล่มละบาท" กลายเป็นตำนานหนึ่งในการ์ตูนไทย

    การ์ตูนเล่มละบาทของสำนักพิมพ์บางกอกสาส์น



    จากนั้นในปีพุทธศักราช 2516 บ.ก.วิธิต อุตสาหจิต ในวัย 18 ปี ได้สร้างชื่อเสียงให้กับสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ด้วยการให้กำเนิดนิตยสารการ์ตูนชื่อ "ขายหัวเราะ" ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้อ่านอย่างท่วมท้น และตามมาด้วยนิตยสารการ์ตูนชื่อ "มหาสนุก"ในอีกสองปีต่อมา โดยขายหัวเราะเล่ม 1 นั้น บ.ก.วิธิต ได้ลงมือวาดด้วยตัวเอง
    สัมภาษณ์ บ.ก.วิธิต http://www.artgazine.com/shoutouts/viewtopic.php?t=1613



    ซึ่งขายหัวเราะ มียุคหนึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก จนมีของเลียนแบบออกมา เรียกได้ว่าตอนซื้อ ถ้าไม่ดูให้ดีนี่ซื้อผิดซื้อถูกเลยล่ะ

    การ์ตูน ชายหัวเราะ และ สบายหัวเราะ



    ขณะเดียวกันก็เริ่มมีการพัฒนาการ์ตูนไทยรูปแบบคอมมิค ขึ้น จากกลุ่มคนที่มีประสบการณ์การอ่านการ์ตูนแนวมังงะของญี่ปุ่น ซึ่งตลาดของการ์ตูนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เน้นที่กลุ่มวัยรุ่น ในขณะที่การ์ตูนนิยายภาพแบบดั้งเดิมยังคงมีการผลิตอยู่เรื่อยๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะอิงกับตลาดระดับล่าง เช่นหนังสือเล่มละบาท ซึ่งปัจจุบันปรับตัวมาขายในราคาเล่มละห้าบาท

    ตัวอย่าง การ์ตูนไทยสไตล์มังงะ (อัศวินสยาม พ.ศ. 2526) (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://patstudio.exteen.com/ )



    การ์ตูนในเมืองไทยเริ่มพัฒนาต่อเนื่อง หลังจากการ์ตูนแนวญี่ปุ่นเข้ามากระตุ้นตลาดการ์ตูนไทยในช่วงหลายปี่ที่ผ่าน มา นักวาดการ์ตูนที่เป็นเด็กรุ่นไหม่ได้ซึมซับการ์ตูนแนวมังงะจนเกิดการ์ตูนแนว นี้ขึ้นมาอย่างแพร่หลายในตลาด มีหลายสำนักพิมพ์ที่เป็นหัวหอกสำคัญทำหนังสือการ์ตูนไทยในแนวมังงะ เช่นไทยคอมมิก ของวิบูลย์กิจ การตอบรับของผู้อ่านเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเกิดเหตุการณ์การ์ตูนแนวมังงะฟีเวอร์

    การ์ตูนไทยสไตล์มังงะยุคปัจจุบัน - โอริณกับจิณนา
    (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://topicstock.pantip.com/chalerm.../A8251925.html )



    ปัจจุบันเกิดการ์ตูนความรู้ในรูปแบบการ์ตูนภาพเกิด ขึ้น ซึ่งประสบความสำเร็จขายดีถล่มทลาย จนมีหนังสือในแนวนี้ออกมาเต็มตลาดอย่างที่เห็นในปัจจุบัน กระตุ้นให้เกิดนักวาดการ์ตูนมากมายซึ่งเป็นผลดีต่อวงการเป็นอย่างมาก

    การ์ตูนความรู้ของไทยที่ออกมาจำนวนมากในปัจจุบัน



    อีกช่วงของการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดของการ์ตูนไทย คือการ์ตูนที่ไม่เป็นแนวตลาดซึ่งพัฒนาแยกออกจากการ์ตูนแนวมังงะอีกที มีลักษณะการออกแบบมีความเป็นเฉพาะมากขึ้น แนวเรื่องก็เฉพาะเจาะจงมากขึ้น และกำลังได้รับความนิยมของคนอ่านขึ้นเรื่อยๆ สังเกตได้จากเกิดหนังสือการ์ตูนรายเดือนเช่น Let's Comic ในเครือสตาร์พิค และ a book ในเครือ a day

    การ์ตูนที่พัฒนาลายเส้น/แนวทางเฉพาะตัว - Let's Comic (http://www.letcomic.com/topicview.php?id=2736 )



    นอกจากนี้แล้วในขณะที่การ์ตูนญี่ปุ่นเข้ามาในไทยก็ ได้มีชนกลุ่มหนึ่งอยากผลิตการ์ตูนขึ้นเองเป็นเอกลักษ์เฉพาะตัว โดยที่สื่ออินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาฝีมือโดยอาศัยแลกภาพกัน ติชม วิจารณ์ผ่านเว็บบอร์ด หรือสร้างเว็บไซต์แสดงผลงานกันในอินเทอร์เน็ต ซึ่งการ์ตูนในอินเทอร์เน็ตบางเรื่องมีผู้ติดตามนับหมื่นคนต่อเดือน

    การ์ตูนอินเทอร์เน็ต - โอซ่า! จอมป่วนทะลุจักรวาล (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://robokobo.bloggang.com )



    และบทบาทของการ์ตูนไทยก็ยังขยายวงออกไป แม้แต่หน่วยงานราชการ ก็เริ่มให้ความสำคัญกับการ์ตูนในฐานะของสื่อกลางที่สามารถเข้าถึงเยาวชนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ





    ด้วยความสำคัญตรงนี้ แม้แต่ในมหาวิทยาลัยก็มีเริ่มมีวิชาพิเศษที่เน้นไปในการสร้างหนังสือการ์ตูนโดยเฉพาะ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://stoondent.exteen.com/20081105/stoondent-3 )



    ผลงานรวมเล่มจากนักศึกษาวิชาออกแบบการ์ตูน (รายละเอียด http://yerrman.exteen.com/20100303/entry )



    แม้กระทั่งทางด้านศาสนาการ์ตูนก็ถูกใช้ในการถ่ายทอดแนวคิดที่ซับซ้อนได้อย่างลงตัว (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.budpage.com/ )




    ซึ่งปัจจุบันผลงานการ์ตูนไทยก็เริ่มที่จะเป็นที่ยอม รับในต่างประเทศมากขึ้น เช่น ผลงานการ์ตูนของคุณทิววัฒน์ ภัทรกุลวณิชย์ (หมอ) ที่ได้รับรางวัล The Aydin Dogan Foundation's Cartoon Competition Award 2007 "Success Award" ที่ประเทศตุรกี

    ภาพการ์ตูนรางวัล: ผู้โดยสารคู่สุดท้ายบนเรือโนอาห์



    ล่าสุด super dunker สตรีทบอลสะท้านฟ้า ก็สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศจากเวที International MANGA Award ที่ญี่ปุ่นไปเมื่อเดือนธันวาคม 2552 โดยได้อันดับ 1 จากการ์ตูน 300 กว่าเรื่องที่ถูกส่งมาประชันจากทั่วโลก



    คาดว่าจากนี้ต่อไป การ์ตูนของไทยน่าจะมีบทบาทมากขึ้นในฐานะของสื่อที่มีคุณภาพ ที่สามารถใช้ในการถ่ายทอดเหตุการณ์ ความรู้ หรือ แม้กระทั่งบันทึกประวัติศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ



    แม้หลายคนอาจจะคิดว่าการ์ตูนไทยในตอนนี้อาจจะยังไม่ ได้ดีที่สุด แต่หลายคนก็เชื่อว่ามันเต็มไปด้วยอนาคตที่สดใส ซึ่งเมื่อวันนึงเมื่อมันทำหน้าที่ตรงนี้ได้โดยสมบูรณ์แล้ว คนไทยจะอ่านมันด้วยความสนุกและภาคภูมิใจ





    ซึ่งเมื่อวันนั้นมาถึง การ์ตูนไทย จะไม่ได้เป็นเพียงการ์ตูนที่มีเฉพาะในประเทศไทย แต่จะกลายเป็นการ์ตูนไทยที่ให้ความสุขแก่นักอ่านทั่วทุกมุมโลกอย่างแน่ นอน...








    ขอบคุณ คุณ P_MHEE Administrators ของเว็บ Alepaint.com ที่ได้จัดเก็บสาระกระทู้ดีๆ นี้ไว้ครับ
    และขอบคุณ คุณผู้เขียนที่รวบรวมข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อวงการการสร้างสรรค์การ์ตูนของคนไทยอย่างมากครับ ครับ
Results 1 to 1 of 1