Carpal Tunnel Syndrome (CTS) โรคที่เกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ พบบ่อยในคนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์นานๆ หรือ ทำงานออฟฟิศ

  1. yourfwd
    yourfwd
    Carpal Tunnel Syndrome (CTS)

    CTS เป็นบทความที่ดีครับเพื่อระมัดระวังป้องกันไม่ให้เกิดมีอาการนี้ขึ้นมา
    แต่ขออนุญาตเพิ่มเติมหน่อยครับว่าเนื่องจากโรคนี้เกิดจากเส้นประสาทมีอาการอักเสบ
    จากการบีบรัดดังนั้นในขณะที่มีอาการอักเสบนี้จึงไม่ควรออกกำลังในท่างอมือ
    หรือกระดกข้อมือเพราะเส้นประสาทจะยิ่งไปกระแทกกดกับกระดูกหรือพังผืดที่รัดอยู่
    ทำให้อักเสบมากยิ่งขึ้น ถ้าจะออกกำลังในขณะนั้นให้ใช้ข้อมือในท่าตรงแล้วออกแรงต้านเท่านั้น

    การป้องกันไม่ให้มีอาการเช่นนี้จึงต้องระวังการใช้ข้อมือที่มีการงอมือนานๆ
    เช่นการใช้เมาส์(และอย่าใช้ที่รองมือ โดยวางกดกับข้อมือบริเวณส่วนที่เป็นเส้นประสาท)
    หรือการกวาดบ้านนานๆ การหิ้วถุงที่มีการงอข้อมือ การรีดผ้า ฯลฯ

    โรค Carpal Tunnel Syndrome (CTS) ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ใช้ที่ข้อมือ
    หรือการใช้งานข้อมือท่าเดิมๆ ทำให้เกิดพังผืดตรงบริเวณช่องเส้นเอ็น
    (ตรงข้อมือของคนเราจะมีเส้นเอ็นยึดข้อต่อกระดูกและกล้ามเนื้อรวมทั้งเส้นประสาทวิ่งผ่าน)
    จะสังเกตได้ง่ายมากสำหรับคนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ทุกคนจะเป็นพังผืดบริเวณข้อมือ
    เนื่องจากการใช้เมาส์โดยใช้ข้อมือเป็นจุดหมุน หรือแม้แต่กดคีย์บอร์ด .......

    CTS เกิดจากการที่เส้นประสาทวิ่งผ่านท่อนแขนจากข้อศอกไปยังข้อมือได้รับแรงกดซ้ำแล้วซ้ำเล่า
    หรือเกิดจากพังผืดซึ่งคนเรามีเป็นปกติที่บริเวณอุโมงค์ข้อมือหนาตัวขึ้นจนไปกดทับเส้นประสาทมีเดียน(median nerve)
    ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่ลอดใต้พังผืดนี้ผ่านเข้าไปในอุโมงค์ข้อมือพบได้ในคนที่ต้องใช้มือหรือข้อมือมากๆ
    ในชีวิตประจำวันในคนที่มีโรคประจำตัวที่มีผลต่อปลายประสาท เช่น เบาหวาน
    โรคข้ออักเสบในหญิงตั้งครรภ์ระยะใกล้คลอดรวมไปถึงผู้ที่ใช้งานมือและข้อมือติดต่อกันเป็นเวลานานๆ
    แม้จะเป็นงานเบาๆอย่างเช่นการถักนิตติ้ง ก็เสี่ยงต่อการเกิด CTS ได้ และแน่นอน
    นักท่องเน็ตหรือผู้ที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเวลาก็พบว่าเป้นกันมากขึ้นเรื่อยๆ
    กระทั้งเสียวและชาไปทั้งมือและมันมักจะเป็นตอนนอนหลับกลางคืน
    ก่อนจะรุนแรงถึงขั้นปวดร้าวไปทั้งแขนส่วนอาการอื่นที่อาจจะเกิดขึ้นกับอีกหลายคนก็คือ
    มืออ่อนแรงและกล้ามเนื้อหัวแม่มือลีบเล็กลงเรื่อยๆ







    การรักษาเมื่อเป็น CTS

    มีทั้งแบบให้ยาและผ่าตัด ถ้าเพิ่งเริ่มเป็น
    แค่อาจจะกินยาแก้ปวดแล้วก็พักข้อมือ
    หยุดการเคลื่อนไหว อาการก็อาจทุเลาและหายไปได้เอง แต่ถ้าเริ่มปวดมาก
    ให้กินแอสไพรินหรือไอบูโพรเฟนและแพทย์อาจให้สวมอุปกรณ์ประคองมือเพื่อ
    ลดการเคลื่อนไหวของข้อมือ หรือฉีดcorticosteroids
    เข้าอุโมงค์ข้อมือเพื่อลดการอักเสบโดยตรงส่วนในรายที่เป็นมานานกว่า 6 เดือน
    อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อรักษาเท่านั้น


    คำแนะนำในการป้องกัน

    ขณะใช้คอมพิวเตอร์ ควรผ่อนคลายอิริยาบททุกๆ 15-20 นาที
    ด้วยการบริหารมือและข้อมือดังภาพข้างล่างนี้นะครับ













    ขอบคุณที่มาจากลิงค์ http://www.bknowledge.org/index.php/...h/files/2.html
  2. yourfwd
    yourfwd
    วิธีการป้องกันการเกิดโรคนี้ (เพิ่มเติม)

    1. วางคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากตัวพอดีกับแขน จับเม้าท์และคีย์บอร์ดได้ สบายๆ ไม่เหยียดหรืองอข้อมือ

    2. ขณะพิมพ์คีย์บอร์ดให้ทั้งท่อนแขน วางอยู่ในแนวขนานกับพื้น

    3. ตอนใช้เม้าท์ คุณ อาจจะหาแผ่นรองข้อมือมาวางก็ยิ่งดีเคยเห็นแผ่นรอง เม้าท์ที่มีเบาะนุ่มๆรองตรงข้อมือน่าจะใช้ ได้เคลื่อนไหวให้ถูกท่า

    4. เวลาที่หยิบของให้ ออกแรงทั้งมือและนิ้วมือ

    5. เลี่ยงงานอดิเรก หรือกิจกรรมยามว่างที่ต้องใช้งานข้อมือ มาก ๆ ซ้ำๆโดย เฉพาะท่างอเข้าหรือกระดกมือขึ้นอย่างการถักนิตติ้ง
  3. IAm
    IAm
    ขอบคุณ คุณyourfwd มากค่ะ สำหรับบทความนี้ เป็นประโยชน์มากๆเลยค่ะ

    พอเห็นบทความนี้ก็เลยนึกขึ้นได้ว่า แม่และป้าของแอมก็เป็นโรคนี้เช่นกันค่ะ
    แม่ผ่าตัดเอาพังผืดออกที่ข้อมือไปแล้วทั้งสองข้าง ส่วนป้าผ่าข้างเดียวค่ะ
    แอมก็เลยถามข้อมูล อาการ และวิธีการรักษาเบื้องต้นจากแม่ มาบอกเล่าให้เพื่อนๆค่ะ

    แม่ของแอมเป็นค้าขายเเละแม่บ้านค่ะ ไม่ได้ใช้คอมฯ
    อาการเริ่มแรกก็จะชามือค่ะ ปวดแปร๊บๆ เป็นๆหายๆ ไม่ค่อยบ่อย อาทิตย์นึงเป็นไม่กี่ครั้ง
    แล้วก้เริ่มถี่ขึ้นค่ะ ชาและปวดบ่อยขึ้นในแต่ละวัน ช่วงแรกๆก็บรรเทา โดยเอามือและข้อมือเเช่น้ำอุ่น ก็พอบรรเทาได้บ้าง
    แต่พอเริ่มเป็นมาก ก็ทั้งกินยาแก้ปวด ฉีดยา แต่ก็ไม่หายค่ะ จนหลังๆ ปวดและชามาก แม่จะตื่นกลางดึกบ่อยๆเพราะอาการปวด
    จับไม้กวาดก็ไม่ค่อยได้ ใช้ข้อมือ หมุนข้อมือ ก็จะเจ็บแปร๊บๆ สุดท้ายหมอก็แนะนำให้ผ่าเอาพังผืดออกค่ะ
    ทีแรกเป็นข้างนึงก่อน ผ่าไปแล้ว หลายปีต่อมาก็เป็นอีกข้างค่ะ ค่ารักษาพยาบาล(สมัยนั้นเมื่อประมาณ10ปีมาแล้ว) เป็นหมื่นเลยค่ะ
    แม่ถามหมอว่า ผ่าแล้วจะเป็นอีกไหม หมอก็บอกว่ามีโอกาสเป้นได้อีกค่ะ แต่อีกนาน คงเป็นอีกตอนแก่แล้วล่ะ


    ส่วนสาเหตุที่แม่เป็น แม่บอกว่าน่าจะมาจากสาเหตุนี้เป็นหลัก คือที่บ้านแอมแต่ก่อนขายวัสดุก่อสร้างค่ะ หล่อปูน หล่อเสา
    ซึ่งเปิดร้านแรกๆ คนงานที่บ้านมีน้อย และงานค่อนข้างเยอะ แม่ก็ไปช่วยงาน จะมีงานต้องมัดเหล็ก เพื่อทำโครงของเสาค่ะ
    แม่ก็จะทำงานนี้เป็นหลัก อยู่เป็นปีๆ เป็นงานที่ต้องใช้ข้อมือมากๆค่ะ (แอมเคยไปช่วยแม่มัดเหมือนกัน) ต้องออกแรง หมุน บิด ดึง ทำบ่อยๆข้อมือก็จะล้าค่ะ
    แม่ก็เลยบอกว่า น่าจะเป็นจากสาเหตุนี้น่ะค่ะ


    ส่วนป้าของแอม ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลค่ะ แผนกเปล ทำหน้าที่บันทึกการใช้งานเปลค่ะ แอมยังไม่ได้คุยกับป้าว่าที่เป็นเกิดจากอะไร
    แต่แอมเดาเอาว่า น่าจะเกิดจากการที่ต้องเขียนบ่อยๆ ใช้ข้อมือบ่อย (เดี๊่ยวไว้ถามป้าแล้วจะมาอัพเดตอีกทีค่ะ)


    นอกเหนือจากการใช้คอมฯ งานที่ต้องใช้ข้อมือหนัก ก็ทำให้มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เช่กันค่ะ
    ส่วนคนที่ใช้คอมฯนานๆ ยิ่งมีโอกาสเป็นสูงเลยค่ะ




    ขอบคุณรูปภาพจาก http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:A...PEL-gZud4dBpL7

    ขอบคุณ คุณyourfwd จริงๆค่ะ เพราะสำหรับแอม เมื่อได้อ่านบทความนี้ ก็เริ่มมาสังเกตข้อมือ และแขนของตัวเอง
    เพราะปกติเวลาใช้งาน หรือท่องเน๊ต มือขยับเม้าท์ คลิ๊กอย่างเมามันส์ เวลาshopping ก็จะไม่ค่อยได้เอาใจไปอยู่กับข้อมือสักเท่าไหร่
    พอเริ่มเฝ้าสังเกตก็เจอว่า เริ่มมีอาการปวดๆเหมือนกันค่ะ ก่อนนี้คิดว่า เอ้อ คงแค่เมื่อยๆ ไม่เป็นไร สบัดมือๆ บิดไปบิดมา แล้วก็ คลิ๊กอย่างเมามันส์ต่อ
    พักนี้แอมรู้สึกว่า ปวดแบบตุ๊บๆที่ข้อมือ และ ข้อพับตรงข้อศอกค่ะ ตอนกลางคืนก็ปวดนะ แต่ยังไม่มีอาการชา ก็พยายามใช้ท่าบริหารข้างต้นอยู่ค่ะ ช่วงนี้ก็สลับมาใช้ TouchPad แทนการใช้เม้าท์ค่ะ จะไม่ได้ขยับข้อมือเยอะ ขยับแต่นิ้ว (ปกติไม่เคยใช้เลย มันไม่ถนัด ช้า ไม่ทันใจ) คงต้องสังเกตกันต่อไป ขออย่าให้เป็นเล้ยยยเพี้ยง ดูจากรูปผ่าตัดแล้วน่ากลัวมาก


    ส่วนเพื่อนๆคนไหนที่ยังไม่มีอาการ และรู้ว่าใช้งานข้อมือค่อนข้างหนัก ก็อยากให้ระวังค่ะ ใช้งานให้น้อยลงหรือถูกวิธี และบริหารตามรูปข้างต้นค่ะ จะได้ป้องกันไว้ก่อนดีกว่าค่ะ
    แต่ถ้าเริ่มมีอาการบ่งบอก ว่าเรามีโอกาสเป็นแล้ว ก็คงต้องหาทางบรรเทา รักษาแต่เนิ่นๆค่ะ (บอกกับตัวเองด้วยเช่นกัน) เพราะถ้าปล่อยไป หรือเป็นมากๆ ทานยา ฉีดยาไม่หาย คงต้องผ่าตัดลูกเดียวค่ะ - -'
  4. iDnOuSe4
    iDnOuSe4
    แล้วหลังจากผ่าเอาผังผืดออกแล้ว มือใช้งานได้ปกติรึปล่าวครับ
  5. IAm
    IAm
    Quote Originally Posted by iDnOuSe4 View Post
    แล้วหลังจากผ่าเอาผังผืดออกแล้ว มือใช้งานได้ปกติรึปล่าวครับ
    หลังจากผ่าแล้ว แม่ต้องพันมือและแขน ไว้ราวๆ 2สัปดาห์น่ะค่ะ พอแผลแห้ง เอาผ้าออกก็ใช้งานได้ปกติแล้วค่ะ
  6. iDnOuSe4
    iDnOuSe4
    Quote Originally Posted by IAm View Post
    หลังจากผ่าแล้ว แม่ต้องพันมือและแขน ไว้ราวๆ 2สัปดาห์น่ะค่ะ พอแผลแห้ง เอาผ้าออกก็ใช้งานได้ปกติแล้วค่ะ
    ขอบคุณมากครับ พอดีแม่ผมเป็นครูสอนคอมพิวเตอร์เด็กประถม
    มีปัญหาเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน ไว้จะเอาไปบอกแม่ครับ

    ขอบคุณมากๆ ครับ
  7. IAm
    IAm
    Quote Originally Posted by iDnOuSe4 View Post
    ขอบคุณมากครับ พอดีแม่ผมเป็นครูสอนคอมพิวเตอร์เด็กประถม
    มีปัญหาเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน ไว้จะเอาไปบอกแม่ครับ

    ขอบคุณมากๆ ครับ
    ค่ะ ถ้าเริ่มมีอาการควรหาทางป้องกันแต่เนิ่นๆนะคะ เพราะเป็นแล้วทรมานค่ะ
    ตอนที่แม่มีอาการชาและปวดบ่อยๆ มากๆ ทรมานมากค่ะ
    การใช้ชีวิตหลังผ่าแล้วก็ลำบากค่ะ ยิ่งเป็นมือขวา จะกินข้าว อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้า จะหยิบจับอะไรก็ลำบากค่ะ
  8. IAm
    IAm
    ไปเจอบทความเกี่ยวกับ สาเหตุ อาการ การป้องกัน รักษา ของโรคนี้ เพิ่มเติม เอามาฝากเพื่อนๆค่ะ
    จะได้เอาไว้ป้องกันตัวเอง และคนที่เรารัก จากโรคนี้ค่ะ


    Carpal Tunnel Syndrome - CST (ปวดข้อมือ)

    เป็นโรคซึ่งพบบ่อยมากโรคหนึ่งในวัยกลางคนถึงคนสูงอายุ โรคนี้เกิดขึ้นเพราะเส้นประสาทที่ข้อมือถูกกด
    ทำให้มีอาการ ปวด ชา และ อ่อนกำลังที่มือ โรคนี้ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องแต่เนิ่น ๆ ก่อน 6 เดือน จะหายขายได้




    สาเหตุ

    1. เกิดจากการใช้มือทำงานซ้ำ ๆ เป็นเวลานานหลาย ๆ ปี เช่น การพิมพ์ดีด การใช้แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์การห่อของในโรงงาน เป็นต้น
    2. จากอุบัติเหตุ ทำให้ข้อมือช้ำ กระดูดหัก ข้ออักเสบ
    3. จากโรคทั่วไปของร่างกาย เช่น โรคเบาหวาน ต่อมไทรอยด์ เนื้องอกบริเวณข้อมือ เป็นต้น

    อาการ

    อาการเริ่มต้นมักจะเป็นน้อย ๆ แล้วค่อย ๆ เป็นมากขึ้น เริ่มด้วยอาการปวดที่ข้อมือและมักจะปวดกลางคืนมากกว่ากลางวัน บางครั้งปวดจนตื่นกลางดึกต้องลุกขึ้นสะบัดมือสักพักแล้วค่อยทุเรา พอเป็นมากขึ้นจะมีอาการชาที่นิ้วมือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง ทางด้านอุ้งมืออาจมีความรู้สึกเหมือนนิ้วหนาและหนักและกล้ามเนื้อฝ่อ ถ้าเป็นนาน 4 - 5 เดือน อาการมักจะเป็นตลอดเวลา

    การป้องกัน

    1. พยายยามอย่าใช้ข้อมือเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ นานเกินไป เช่น การใช้คีมหยิบจับอุปกรณ์ชิ้นเล็ก ๆ ซ้ำ ๆ
    2. เวลาที่ใช้เครื่องมือ ด้วยท่าที่ถือข้อมือจับแทนที่จะใช้นิ้วจับ
    3. พยายามใช้มือ ด้วยท่าทีถือข้อมือตรง ไม่งอมาก อาจใช้ที่ดามข้อมือช่วย
    4. เปลี่ยนการใช้มือซ้าย - ขวา พักการใช้มือครั้งคราว พยายามลดความกดดันมือเวลาใช้มือ

    การรักษา

    1. ใช้ที่ดามข้อมือ ตลอดทั้งกลางคืน - กลางวัน
    2. รับประทานยาแก้อักเสบ
    3. การทำกายภาพบำบัด
    4. การฉีดยา
    5. การผ่าตัดผ้าเส้นพักผืดกดเส้นประสาทโดยการฉีดยาชาที่ข้อมือ อาการจะหายเร็วและได้ผลดีมาก
    ในกรณีที่ปวดจากเอ็นข้อมืออักเสบ ซึ่งเป็นโรคปวดข้อมือที่พบบ่อยที่สุด

    ช่วงที่ปวดอยู่

    - หลีกเหลี่ยงกิจกรรมที่ทำแล้วปวด
    - ประคบบริเวณที่ปวดนาน 30 นาที วันละ 1-2 ครั้ง หรือ อาจจะประคบด้วยความเย็น โดยใช้น้ำแข็งห่อผ้าขนหนูประคบที่ปวดนาน 10-15 นาที บ่อย ๆ ได้ตามความต้องการ แต่ควรเว้นช่วงในการประคบมากกว่า 30 นาที แล้วจึงประคบใหม่อีกครั้ง

    ช่วงที่หายปวดแล้ว

    - ใช้หนังยาง (หนังยางเส้นใหญ่) รัดปลายนิ้ว วกางนิ้วออก (ใช้แรงดึงของหนังยางเป็นแรงต้าน) ค่อย ๆ เพิ่มจำนวนหนังยางขึ้นเรื่อย ๆ ตามที่ทำได้ โดยไม่เจ็บ จำนวน 20 ครั้ง ทำบ่อยได้ตามต้องการ
    - สามารถบริหารข้อมือเพื่อผ่อนคลายและป้องกันการปวดข้อมือ สามารถทำได้ง่าย ๆ
    ดังภาพต่อไปนี้



    ขอบคุณบทความและรูปภาพจาก โรงพยาบาลแมคคอร์มิค mccormickhospital.blogspot.com
    http://mccormickhospital.blogspot.co...drome-cst.html
  9. PetiteCloset
    PetiteCloset
    ได้ความรุ้มากๆเลยคะ ปกติทำงานหน้าคอมทูีกวันเลย ปวดข้อมือบ่อยๆ ขอบคุณมากคะ
Results 1 to 9 of 9