เกาะติดสถานการณ์น้ำท่วม พฤศจิกายน 2554

  1. IAm
    IAm
    แนะนำเครื่องมือ ตั้งค่าการแสดงกระทู้
    เพื่อให้ติดตามข่าวสารได้รวดเร็วยิ่งขึ้นค่ะ







    ที่ตำแหน่ง Threaded View จะแสดงรายการโพสต์ทั้งหมดที่อยู่ในกระทู้
    เราสามารถคลิ๊ก เพื่อเลือกอ่านแต่ละโพสต์ได้ค่ะ



    เดี๋ยวเอาไว้ว่างๆแอมจะเขียนอธิบายเกี่ยวกับเจ้าเครื่องมือตัวนี้แบบละเอียด ไว้ในคู่มือการใช้งานเครื่องมือของระบบชุมชน sbntown อีกทีนะคะ
    ขอบคุณระบบชุมชน sbntown ที่ทำให้สามารถอ่านโพสต์ได้ง่าย และประหยัดเวลาในการอ่านกระทู้เยอะเลยค่ะ
  2. IAm
    IAm

    1 พฤศจิกายน 2554
    ==================================================


    >> กรุงเทพฯ <<


    กทม.19 เขตโล่ง!! รองผู้ว่าฯ ยันพ้นจากเงื้อมมือน้ำท่วม

    “ธีระชน” เผยผ่านรายการเจาะข่าวเด่น ระบุมีพื้นที่ใน กทม.19 เขต รอดจากวิกฤตน้ำท่วม ส่วน “คลองสามวา-มีนบุรี-ลาดกระบัง-หนองจอก-บางแค” รับน้ำเต็มๆ เตือน 11 เขตริมน้ำอาจได้รับผลกระทบจากน้ำขึ้น-ลง

    วันที่ 31 ต.ค. นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยในรายการ เจาะข่าวเด่น ทางช่อง 3 ถึงการระบายน้ำลงสู่แม้น้ำเจ้าพระยาว่า จะมีเขตที่จะรอดจากน้ำท่วม 19 เขต คือ

    1.บางขุนเทียน 2.บางบอน 3.ทุ่งครุ 4.ราษฎร์บูรณะ 5.จอมทอง 6.ภาษีเจริญ 7.วัฒนา 8.ดินแดง 9.สาทร 10.ราชเทวี 11.พญาไท 12.ปทุมวัน 13.ป้อมปราบฯ 14.สวนหลวง 15.ประเวศ 16.ห้วยขวาง 17.วังทองหลาง 18.บางซื่อ 19.บางกอกน้อย


    สำหรับ 3 เขตเสี่ยง จากการเปิดคลองสามวาและตามแนวริมคลองที่อยู่ริมคลองแสนแสบ มีดังนี้ 1.สะพานสูง 2.บางกะปิ และ 3.บึงกุ่ม

    ส่วน 11 เขตริมน้ำได้รับผลน้ำขึ้น-ลง มีดังนี้ 1.ดุสิต 2.พระนคร 3.สัมพันธวงศ์ 4.บางรัก 5.บางคอแหลม 6.ยานนาวา 7.คลองเตย 8.พระโขนง 9.คลองสาน 10.บางกอกใหญ่ 11.บางนา


    5 เขตในพื้นที่ กทม.ที่ต้องรับน้ำเต็มๆ ประกอบด้วย 1.คลองสามวา 2.มีนบุรี 3.ลาดกระบัง 4.หนองจอก และ 5.บางแค

    นายธีระชนกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมี 7 เขต ที่ต้องได้รับผลกระทบรุนแรง 1.ดอนเมือง 2.บางพลัด 3.สายไหม 4.ทวีวัฒนา 5.หลักสี่ 6.บางเขน 7.ตลิ่งชัน อย่างไรก็ดี ทาง กทม.จะพยายามยันน้ำในพื้นที่เขตห้วยขวาง วังทองหลาง ให้มากที่สุด

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 พฤศจิกายน 2554 00:13 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1.

    รองผู้ว่าฯ กทม.ระบุ 19 เขตชั้นในอาจถูกน้ำท่วมจากปัญหามวลชน

    นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การดำเนินการผันน้ำไม่ได้คิดเรื่องมวลชนที่คัดค้านไว้ แต่หากยังมีปัญหาเกรงว่าอาจกระทบ 19 เขต ที่เคยประกาศว่าอาจจะไม่ถูกน้ำท่วม ได้แก่ เขตบางขุนเทียน บางบอน ทุ่งครุ ราษฎร์บูรณะ จอมทอง ภาษีเจริญ วัฒนา ดินแดง สาทร ราชเทวี พญาไท ปทุมวัน ป้อมปราบศัตรูพ่าย สวนหลวง ประเวศ ห้วยขวาง วังทองหลาง บางซื่อ และเขตบางกอกน้อย โดยมี 3 เขตเสี่ยง เช่น เขตสะพานสูง บางกะปิ และเขตบึงกุ่ม ที่อยู่ริมคลองแสนแสบ จากการเปิดคลองสามวาที่อยู่ตามแนวริมคลอง จะกระทบมาก
    ส่วน 11 เขตริมน้ำที่ได้รับผลกระทบจากน้ำขึ้น-ลง คือ เขตดุสิต พระนคร สัมพันธวงศ์ บางรัก บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย พระโขนง คลองสาน บางกอกใหญ่ และบางนา
    นอกจากนี้ ยังมี 12 เขตที่ต้องกระทบจากสถานการณ์น้ำทั้งมากและน้อย ได้แก่ เขตคลองสามวา มีนบุรี ลาดกระบัง หนองจอก บางแค ดอนเมือง บางพลัด สายไหม ทวีวัฒนา หลักสี่ บางเขน และตลิ่งชัน ซึ่งกรุงเทพมหานครจะพยายามป้องกันพื้นที่เขตห้วยขวาง และวังทองหลาง ให้มากที่สุด

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 พฤศจิกายน 2554 09:17 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1.

    คนกรุงหนีน้ำท่วมไปพัทยาทำรถติดหนัก - กทพ.ขยายวันงดเก็บค่าผ่านทางพิเศษ

    ชาวกรุงลี้ภัยน้ำท่วม ขึ้นรถออกจาก กทม.มุ่งหน้าเข้าตัวเมืองชลบุรี ส่งผลการจราจรในพัทยาติดขัดอย่างหนัก ด้าน ศปภ.แจ้งขยายเวลาเว้นค่าผ่านทางพิเศษถึงวันที่ 14 พ.ย.นี้ วอน ปชช.งดจอดรถบนทางพิเศษ เหตุเป็นเส้นทางหลักเส้นสุดท้ายในการขนส่งความช่วยเหลือต่างๆ

    วันนี้ (1 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานสภาพการจราจรภายในเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ว่าการจราจรอยู่สภาวะค่อนข้างติดขัดอย่างหนัก เนื่องจากประชาชนจำนวนมากได้เดินทางหนีภัยน้ำท่วมจากกรุงเทพฯ มายังจังหวัดชลบุรี

    นอกจากนี้ ศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม (ศปภ.) ได้แจ้งว่า ตามที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้ยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษของ ทางพิเศษฉลองรัช ทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนพิเศษ (บางพลี-สุขสวัสดิ์) ตั้งแต่วันที่ 23-31 ต.ค.นั้น ทั้งนี้ เนื่องจากขนาดนี้ได้เกิดภาวะน้ำท่วมในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และอีกหลายพื้นที่ กทพ.จึงขอขยายเวลาการงดเว้นค่าผ่านทางของทางพิเศษทั้ง 3 สาย จนถึงวันที่ 14 พ.ย.เวลา 24.00 น. เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้สามารถสัญจรในช่วงที่เกิดอุทกภัยได้สะดวก

    ทั้งนี้ กทพ.ยังขอสงวนเส้นทางบนทางพิเศษทุกสาย เพื่อใช้เป็นเส้นทางส่งกำลังบำรุงวัสดุอุปกรณ์ ในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมยังมีความรุนแรง จนทำให้การจราจรขนส่งอาจต้องหยุดชะงัก ทางพิเศษจึงเป็นเส้นทางหลักสุดท้ายในการขนส่งความช่วยเหลือต่างๆ ไปยังพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อน จึงห้ามจอดรถทุกชนิดบริเวณทางพิเศษ





    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 พฤศจิกายน 2554 11:34 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1.

    กทม.เผยน้ำขึ้นสูงสุด 2.48 ม.เวลา 12.30 น.

    กรุงเทพมหานคร (กทม.) สรุปสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ ว่า วันนี้น้ำทะเลจะหนุนสูงสุดในเวลา 12.30 น. ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ตรวจวัดที่ปากคลองตลาด วัดได้สูงสุดที่ 2.48 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ส่วนปริมาณน้ำในเขื่อนเจ้าพระยา และพระราม 6 รวม 3,195 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยระดับน้ำที่ อ.บางไทร อยู่ที่ 4 เมตร
    ส่วนปริมาณน้ำที่คลองหกวาสายล่าง ประตูระบายน้ำคลองสอง และระดับน้ำที่ประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนา มีระดับที่ทรงตัว
    ขณะที่สถานการณ์น้ำในคลองสำคัญหลายสาย ระดับน้ำยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่คลองเปรมประชากร หน้า สน.ดอนเมือง ระดับน้ำล้นตลิ่ง คลองลาดพร้าว ช่วงซอยเสนานิคม เขตลาดพร้าว ระดับน้ำเสมอขอบตลิ่ง ในคลองทวีวัฒนา เขตหนองแขม ระดับน้ำยังคงเสมอขอบตลิ่ง ส่วนที่คลองรังสิตประยูรศักดิ์ ช่วงฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต ระดับน้ำทรงตัว อยู่ที่ความสูง 3.68 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 พฤศจิกายน 2554 11:51 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1.

    กทม.ประกาศเฝ้าระวังพิเศษแขวงบางชัน-ห่วง 3 เขตฝั่ง ตต.

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงสถานการณ์น้ำ โดยประกาศให้พื้นที่แขวงบางชัน เขตคลองสามวา เฝ้าระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากมีความกังวลจากการเปิดประตูระบายน้ำคลองสามวา ที่ระดับ 1 เมตร ประกอบกับ กรุงเทพมหานครได้รับรายงานอย่างไม่เป็นทางการจาก ศปภ.ว่า ศปภ.ไม่สามารถปิดประตูระบายน้ำคลอง 8 และ คลอง 10 จ.ปทุมธานี ได้ ซึ่งกรุงเทพมหานครต้องการให้ปิดประตูระบายน้ำทั้ง 2 ประตูนี้เหลืออยู่ที่ระดับ 30 เซนติเมตร เนื่องจากประชาชนบางกลุ่มไม่ยินยอม ทำให้กรุงเทพมหานครกังวลว่าอาจทำให้ 3 เขต คือ หนองจอก มีนบุรี และลาดกระบัง จะมีน้ำไหลเข้าท่วม

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 พฤศจิกายน 2554 12:08 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1.

    กรมชลฯ เผยน้ำ กทม.ทรงตัว คาดหลัง 3 พ.ย.ระบายดีขึ้น

    นายทองเปลว กองจันทร์ ผู้อำนวยการส่วนอุทกวิทยา สำนักอุทกวิทยาและบริหารน้ำ กรมชลประทาน กล่าวว่า [COLOR="rgb(65, 105, 225)"]น้ำฝั่งตะวันออกกรุงเทพมหานคร ไหลหลากจากคลองระพีพัฒน์ แยกตก คลองรังสิตประยูรศักดิ์ จนถึงคลองหกวาสายล่าง ขณะนี้ปริมาณน้ำเหลือคลองระพีพัฒน์ แยกตก อยู่ในระดับทรงตัวกับลดลง ส่วนบริเวณคลองหกวาสายล่าง ปริมาณน้ำยังคงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งมีการสูบน้ำระบายออกจากคลองอย่างต่อเนื่อง คาดว่าหลังจากน้ำทะเลหนุนสูงถึงวันที่ 3 พฤศจิกายน ปริมาณน้ำจะทรงตัวและลดลงเป็นลำดับในระยะต่อไป[/COLOR]
    สำหรับพื้นที่ฝั่งตะวันตก ที่มีปัญหาน้ำท่วมเขตบางกอกน้อย เขตบางพลัด การระบายน้ำเป็นไปด้วยดี เนื่องจากใช้เครื่องสูบน้ำช่วยระบายน้ำออกทางแม่น้ำท่าจีน รวมทั้งการระบายน้ำผ่านคลองทวีวัฒนา ออกสู่คลองภาษีเจริญ โดยภาพรวมคาดว่า หลังวันที่ 3 พฤศจิกายน เป็นต้นไป สถานการณ์น้ำท่วมทั้ง 2 ฝั่งของกรุงเทพฯ ปริมาณน้ำจะเริ่มลดลง
    อย่างไรก็ตามก่อนถึงช่วงน้ำทะเลหนุนสูงอีกครั้งกลางเดือนพฤศจิกายน กรมชลประทานจะเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลในช่วงน้ำทะเลต่ำให้ได้มากที่สุด โดยการเพิ่มเครื่องสูบน้ำในจุดที่สามารถระบายน้ำได้เร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ต้องเฝ้าระวังความมั่นคงแข็งแรงของคันกั้นน้ำต่างๆ ด้วย

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 พฤศจิกายน 2554 12:38 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1.

    กทม.เร่งระบายน้ำออกกระทุ่มแบน ช่วยคนฝั่งธนฯ

    กทม.เร่งเสริมแนวคันป้องกันน้ำฝั่งธน ชี้ น้ำเหนือยังมาก ประสาน ศปภ.เพิ่มระบบระบายน้ำเร่งระบายที่กระทุ่มแบน ออกพื้นที่อื่นให้มากที่สุด ขณะที่ฝั่งตะวันออกยังปิดประตูระบายน้ำด้านบนได้เหตุชาวบ้านไม่ยอมคาดพื้นที่ด้านล่างกระทบ ย้ำ ต้องบริหารอีกครั้ง

    วันนี้ (1 พ.ย.) นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กทม.เปิดเผยว่า น้ำในคลองมหาสวัสดิ์ส่วนหนึ่ง น้ำล้นผ่านเข้ามาด้านในของกรุงเทพฯ ทางฝั่งตะวันตกแล้ว ซึ่งระบบระบายน้ำหลักในขณะนี้คือคลองภาษีเจริญ โดยได้เร่งระบายน้ำออกไปยังคลองอื่นๆ เพื่อลงแม่น้ำเจ้าพระยา และ กทม. ได้ประสานขอให้ ศปภ.เพิ่มระบบระบายน้ำที่ กระทุ่มแบน เพื่อระบายน้ำออกไปยังพื้นที่อื่นให้มากที่สุด

    อย่างไรก็ตาม มวลน้ำที่มาจากทางเหนือค่อนข้างมาก ทางฝั่งธนบุรีจึงต้องเร่งป้องกัน ทั้งนี้ กทม.ได้เร่งดำเนินการเสริมแนวป้องกันแล้ว แต่รถบรรทุกเข้าไปได้ยากมาก จึงได้เปลี่ยนมาใช้เรือแทน และเร่งดำเนินการสูบน้ำโดยใช้ปั๊มน้ำ 4 ตัว สามารถระบายได้ 100 กว่า ลบ.ม.ต่อวินาที และที่ จ.นครปฐม ก็สามารถเร่งระบายได้ 100 กว่า ลบ.ม.ต่อวินาที เช่นเดียวกัน

    ทั้งนี้ ในส่วนกรุงเทพฯ ตะวันออก จากการที่ ศปภ.ไม่สามารถปิดประตูระบายน้ำด้านบนได้ เนื่องจาก ประชาชนไม่ยอม ทำให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ด้านล่าง และหากน้ำล้นคันเข้ามาจะทำให้พื้นที่ทั้งหมดมีปัญหา ทั้งนี้ มีหลายตัวแปรทั้งที่ประตูน้ำมีนบุรี ประเวศ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องดูตัวแปรทั้งหมดนี้เข้าด้วยกันด้วย

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 พฤศจิกายน 2554 15:16 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1.

    ถนนทรงวาดน้ำทะลักเหตุเจ้าพระยาขึ้นสูง-มอบเป็ดน้อยตรวจไฟรั่วให้ กทม.

    เจ้าพระยาขึ้นสูง น้ำเอ่อล้นถนนทรงวาด ผุดตามรอยแตกร้าวเขื่อนคันกันน้ำและพื้นถนนที่ชำรุด กทม.เร่งสูบน้ำตลอดแนวเขื่อน ตั้งแต่คลองโอ่งอ่าง ถึงคลองผดุงกรุงเกษม สจล.มอบเป็ดน้อยเตือนไฟรั่วให้กทม.
    วันนี้ (1 พ.ย.) เวลา 13.30 น. : ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจน้ำท่วมบริเวณถนนทรงวาด เขตสัมพันธวงศ์ ว่า ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่บริเวณถนนทรงวาด เกิดจากระดับแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นสูงสุดเมื่อเวลาประมาณ 13.00 น.ที่ระดับ 2.48 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ทำให้มีน้ำเอ่อล้นและผุดขึ้นตามรอยแตกร้าวของเขื่อนคันกันน้ำ พื้นถนนที่ชำรุด และเอ่อล้นแนวเขื่อนคันกั้นน้ำที่ยังไม่สามารถเสริมได้เนื่องจากเป็นของเอกชน ทำให้น้ำท่วมถนนดังกล่าว สูง 15-20 ซม.ความยาวประมาณ 800 เมตร แต่คาดว่าจะสามารถระบายน้ำได้ภายในเวลาไม่นาน เนื่องจาก กทม.มีเครื่องสูบน้ำในพื้นที่รวม 8 จุด ตลอดแนวเขื่อนตั้งแต่คลองโอ่งอ่าง ถึงคลองผดุงกรุงเกษม รวมระยะทาง 2 กม.เพื่อเร่งระบายน้ำ พร้อมเร่งดำเนินการเสริมแนวคันกันน้ำซึ่งเป็นพื้นที่ฟันหลอบริเวณถนนทรงวาดถึงตลาดน้อย มีความยาวประมาณ 700 ม.
    นายกิตพล เชิดชูกิจกุล สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตประเวศ ส่งมอบเป็ดน้อยเตือนภัย (floodduck) จำนวน 50 ตัว ให้แก่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.โดยได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อนำไปมอบให้เจ้าหน้าที่ของ กทม.นำไปตรวจวัดกระแสไฟฟ้ารั่วก่อนเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่น้ำท่วม ซึ่งเป็ดน้อยเตือนภัยนี้จะส่งเสียงและมีไฟแดงขึ้นในตัว เมื่อพบกระแสไฟฟ้ารั่ว และสามารถรับกระแสไฟฟ้าได้ในรัศมี 1 ตารางเมตร และความลึก 50 เซนติเมตร ทั้งนี้ ส.ก.กิตพล จะดำเนินการประสานกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อส่งมอบเป็ดน้อยเตือนภัยให้กรุงเทพมหานคร เพิ่มอีกจำนวน 1,000 ตัว อีกด้วย

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 พฤศจิกายน 2554 16:52 น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...word=%a1%b7%c1.

    ตร.แจ้งปิดถนนในพื้นที่กรุงเทพฯเพิ่ม หลังน้ำเข้าท่วม

    บก.02 แจ้งเส้นทางปิดการจราจร และเส้นทางควรหลีกเลี่ยงจากน้ำท่วมเพิ่ม

    วันนี้ (1 พ.ย.) เมื่อเวลา 16.00 น.ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) แจ้งเส้นทางปิดการจราจร และเส้นทางควรหลีกเลี่ยงจากน้ำท่วมขังตามเส้นทางในพื้นที่ กทม.คือ

    ทิศเหนือ เส้นทางควรหลีกเลี่ยง(ระดับน้ำสูง 40-50 ซม.)

    1) ถ.งามวงศ์วาน ขาเข้า-ขาออก แยกพงษ์เพชร ถึงแยกเกษตร

    2) ถ.รามอินทรา ขาเข้า-ขาออก แยกวงเวียนบางเขน ถึง กม.4 (ซ.รามอินทรา 39)

    3) ถ.พหลโยธิน ขาเข้า-ขาออก แยกวงเวียนบางเขน ถึงแยกเกษตร

    ทิศตะวันออก เส้นทางควรหลีกเลี่ยง (ระดับน้ำสูง 30-40 ซม.)

    1) ถ.สุวินทวงศ์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกไปรษณีย์มีนบุรี ถึงตัด ถ.ร่มเกล้า เส้นทางเลี่ยงไป จ.ฉะเชิงเทรา สามารถใช้ ถ.รามคำแหงเชื่อม ถ.ร่มเกล้า ถ.มอเตอร์เวย์ ถ.บางนา-ตราด ทางยกระดับบูรพาวิถี

    ทิศเหนือ ถนนสายหลัก ปิดการจราจร 4 สาย

    1) ถ.วิภาวดีรังสิต ขาเข้า ตั้งแต่อนุสรณ์สถาน ขาออก ตั้งแต่สะพานกลับรถสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

    2) ถ.พหลโยธิน ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกอนุสรณ์สถาน ถึงวงเวียนบางเขน(ปิดอุโมงค์บางเขน)

    3) ถ.ทางด่วนโทลล์เวย์ ขาเข้า ตั้งแต่แยกหลักสี่ ขาออก ตั้งแต่ทางลงรัชดาภิเษก

    4) ถ.แจ้งวัฒนะ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่วงเวียนบางเขน ถึงแยกคลองประปา

    ทิศเหนือ ถนนสายรอง ปิดการจราจร 11 สาย

    1) ถ.กำแพงเพชร 6 (ถ.โลคัลโรด) ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่หน้าหมู่บ้านเมืองเอก ถึงหน้า สน.ทุ่งสองห้อง

    2) ถ.สรงประภา ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกศรีสมานถึงแยก กสบ.

    3) ถ.เชิดวุฒากาศ ปิดการจราจรตลอดสาย

    4) ถ.โกสุมร่วมใจ ปิดการจราจรตลอดสาย

    5) ถ.เดชะตุงคะ ปิดการจราจรตลอดสาย

    6) ถ.เวฬุวนาราม (วัดไผ่เขียว) ปิดการจราจรตลอดสาย

    7) ถ.แจ้งวัฒนะ ซอย 14 ปิดการจราจรตลอดสาย

    8) ถ.เลียบคลองสอง ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกพลาธิการกองทัพอากาศ ถึงแยกสะพานปูน

    9) ถ.จันทรุเบกษา ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยก รร.นายเรืออากาศ (คปอ.) ถึงแยกจันทรุเบกษา

    10) ถ.วัชรพล ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกตัดถนนเพิ่มสิน ถึงหน้าโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช

    11) ถ.เพิ่มสิน (ถนนเชื่อมพหลโยธิน 54/1 กับถนนสุขาภิบาล 5) ปิดการจราจรตลอดสาย

    ทิศตะวันตก ถนนสายหลัก 7 สาย

    1) ถ.จรัญสนิทวงศ์ ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่แยกบางขุนนนท์ ถึง สะพานพระราม 7

    2) ถ.สิรินธร ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่แยกบางพลัดถึงทางต่างระดับสิรินธร

    3) ถ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่เชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ถึงแยกบรมราชชนนี

    4) ถ.อรุณอัมรินทร์ ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่แยกอรุณอัมรินทร์ ถึงแยก รพ.ศิริราช

    5) ถ.บรมราชชนนี ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรแยกบรมราชชนนี ถึงทางต่างระดับสิรินธร(สายใต้เก่า)

    6) ถ.ทางคู่ขนานลอยฟ้า ขาออก ปิดการจราจรตลอดสาย ไม่สามารถลงพื้นราบได้

    7) ถ.บรมราชชนนี (ช่วงพุทธมณฑล) ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่ต่างระดับกาญจนาภิเษก ถึงแยกพุทธมณฑลสาย 4

    ทิศตะวันตก ถนนสายรอง 4 สาย

    1) ถ.พุทธมณฑล สาย 3 ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตลอดสาย

    2) ถ.อุทยาน ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่แยกอุทยานถึงแยกตัดถนนพุทธมณฑลสาย 3

    3) ถ.ศาลาธรรมสพน์ ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตลอดสาย

    4) ถ.พุทธมณฑลสาย 2 ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกตัดถนนบรมราชชนนี ถึงแยกทศกัณฑ์



    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 พฤศจิกายน 2554 17:16 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1.

    กทม.ให้อพยพเพิ่ม บางเขนทั้งเขต เสนานิเวศน์ 2 และสามวาตะวันออก

    เมื่อเวลา 19.30 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงผลการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมสูง และขยายวงกว้างเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ ดังนั้น กทม. ได้ประกาศพื้นที่อพยพเพิ่มเติม ได้แก่ เขตบางเขนทั้งเขต และเฉพาะหมู่บ้านเสนานิเวศน์ โครงการ 2 แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว และเฉพาะแขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา ส่งผลให้ขณะนี้กทม.มีพื้นที่ประกาศอพยพทั้งเขตแล้ว 7 เขต ประกอบด้วย ดอนเมือง บางพลัด สายไหม ทวีวัฒนา หลักสี่ ตลิ่งชัน และบางเขน นอกจากนี้ กทม. ยังได้ออกประกาศเตือนพื้นที่เฝ้าระวังเพิ่มเติม ได้แก่ เฉพาะแขวงทรายกองดิน และแขวงทรายกองดินใต้ เขตคลองสามวา และเขตหนองจอกทั้งเขต
    ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีความเป็นห่วงประตูระบายน้ำคลองสามวา ที่เกิดชำรุด และประชาชนในพื้นที่ไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่เข้าไปทำการซ่อมแซม ซึ่งหากปล่อยให้ประตูระบายน้ำคลองสามวา ชำรุดเสียหายต่อไป ประตูระบายน้ำก็จะพังลงมา และทำให้พื้นที่รามอินทรา และรามคำแหง เกิดปัญหาน้ำท่วมหนักขึ้นได้

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 พฤศจิกายน 2554 21:08 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1.
  3. bit
    bit
    ขอบคุณคุณ IAm มากครับ ที่รวบรวมข้อมูลข่าวสาร เรื่องน้ำท่วม มาไว้ให้ได้อ่านในกระทู้เดียวครับ

    จะมาตามข่าวน้ำท่วมที่กระทู้นี้ครับ

    ขอบคุณมากครับ
  4. IAm
    IAm

    2 พฤศจิกายน 2554
    ==================================================

    >> กรุงเทพฯ <<


    กทม.เริ่มดำเนินการใช้บิ๊กแบ็กหยุดน้ำฝั่งเหนือ

    นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงแนวทางการใช้บิ๊กแบ็ก หรือถุงทรายขนาดใหญ่ เพื่อจัดการน้ำด้านเหนือนั้น ได้เริ่มดำเนินการแล้ว หากสามารถหยุดมวลน้ำได้จนถึงวันศุกร์นี้ น้ำที่มาจากทางดอนเมืองตามถนนวิภาวดีรังสิตจะหยุดด้วย และจะสามารถสูบออกได้

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 2554 10:41 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1.

    กทม.สรุปสถานการณ์น้ำ มีน้ำล้นตลิ่งหลายคลอง

    สำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร สรุปสถานการณ์น้ำในวันนี้ โดยมีระดับน้ำล้นตลิ่งทางตอนเหนือของคลองเปรมประชากร คลองบางซื่อ คลองบางเขนตอนเหนือ คลองลาดพร้าวตอนเหนือ คลองบางเชือกหนังตอนถนนกาญนาภิเษกและพุทธมณฑลสาย 2 คลองบางพรหมตอนถนนกาญนาภิเษก เขตทวีวัฒนา คลองมหาสวัสดิ์ ตอนพุทธมณฑลสาย 2 คลองบางแวก ตอนคลองทวีวัฒนา และตอนถนนพุทธมณฑลสาย 1 ขณะที่คลองบางเขนช่วงวิภาวดี ระดับน้ำเสมอขอบตลิ่ง ส่วนน้ำท่วมคลองหกวาสายล่าง ระดับน้ำที่ประตูระบายน้ำคลองสองเพิ่มขึ้น 1 เซนติเมตร ฝั่งธนบุรีระดับน้ำที่ประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนา น้ำเพิ่มขึ้น 1 เซนติเมตร
    ส่วนสถานการณ์น้ำในกรุงเทพมหานคร ภาพรวมยังต้องเฝ้าระวังแนวริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์ รวมทั้งเฝ้าระวังพื้นที่ฝั่งธนบุรี เนื่องจากน้ำมาจาก อ.ศาลายา จ.นครปฐม ไหลบ่าเข้าด้านในคลองทวีวัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปริมาณน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา 3,151 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากเมื่อวาน 16 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และมีการคาดการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นสูงสุดวันนี้ เวลา 13.22 น.อยู่ที่ระดับ 2.40 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางลดลงจากเมื่อวานและต่ำกว่าคันกั้นน้ำ
    สรุปขณะนี้ กทม.มีพื้นที่ประกาศอพยพทั้งเขต 7 เขต ประกอบด้วย ดอนเมือง บางพลัด สายไหม ทวีวัฒนา หลักสี่ ตลิ่งชัน และบางเขน นอกจากนี้ กทม.ได้ประกาศเตือนพื้นที่เฝ้าระวังเพิ่มเติมได้แก่ แขวงทรายกองดิน และแขวงทรายกองดินใต้ เขตคลองสามวา และเขตหนองจอกทั้งเขต

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 2554 12:21 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1.

    น้ำท่วมอ่วมกรุงปิดถนนเพิ่มอีก 30 เส้น!

    ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) แจ้งปิดเส้นทางการจราจรและถนนที่ประชาชนควรหลีกเลี่ยงถนนน้ำท่วมขังในพื้นที่ กทม. 30 เส้นทาง

    วันนี้ (2 พ.ย.) ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) แจ้งเส้นทางปิดการจราจร และเส้นทางควรหลีกเลี่ยงจากน้ำท่วมขังตามเส้นทางในพื้นที่ 30 เส้นทาง กทม.ดังนี้

    ทิศเหนือ เส้นทางควรหลีกเลี่ยง (ระดับน้ำสูง 40-50 ซม.)

    1. ถ.งามวงศ์วาน ขาเข้า-ขาออก แยกพงษ์เพชร ถึงแยกเกษตร
    2. ถ.รามอินทรา ขาเข้า-ขาออก แยกวงเวียนบางเขน ถึง กม.4 (ซ.รามอินทรา 39)
    3. ถ.พหลโยธิน ขาเข้า-ขาออก แยกวงเวียนบางเขน ถึงแยกเกษตร

    ทิศตะวันออก เส้นทางควรหลีกเลี่ยง (ระดับน้ำสูง 30-40 ซม.)

    1. ถ.สุวินทวงศ์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกไปรษณีย์มีนบุรี ถึงตัด ถ.ร่มเกล้า เส้นทางเลี่ยงไป จ.ฉะเชิงเทรา สามารถใช้ ถ.รามคำแหงเชื่อม ถ.ร่มเกล้า ถ.มอเตอร์เวย์ ถ.บางนา-ตราด ทางยกระดับบูรพาวิถี

    ทิศเหนือ ถนนสายหลัก ปิดการจราจร 4 สาย

    1. ถ.วิภาวดีรังสิต ขาเข้า ตั้งแต่อนุสรณ์สถาน ขาออก ตั้งแต่สะพานกลับรถสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
    2.ถ.พหลโยธิน ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกอนุสรณ์สถาน ถึงวงเวียนบางเขน(ปิดอุโมงค์บางเขน)
    3. ถ.ทางด่วนโทลเวย์ ขาเข้า ตั้งแต่แยกหลักสี่ ขาออก ตั้งแต่ทางลงรัชดาภิเษก
    4. ถ.แจ้งวัฒนะ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่วงเวียนบางเขน ถึงแยกคลองประปา

    ทิศเหนือ ถนนสายรอง ปิดการจราจร 11 สาย

    1. ถ.กำแพงเพชร 6 (ถ.โลคัลโรด) ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่หน้าหมู่บ้านเมืองเอก ถึงหน้า สน.ทุ่งสองห้อง
    2. ถ.สรงประภา ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกศรีสมานถึงแยก กสบ.
    3. ถ.เชิดวุฒากาศ ปิดการจราจรตลอดสาย
    4. ถ.โกสุมร่วมใจ ปิดการจราจรตลอดสาย
    5. ถ.เดชะตุงคะ ปิดการจราจรตลอดสาย
    6. ถ.เวฬุวนาราม( วัดไผ่เขียว) ปิดการจราจรตลอดสาย
    7. ถ.แจ้งวัฒนะ ซอย 14 ปิดการจราจรตลอดสาย
    8. ถ.เลียบคลองสอง ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกพลาธิการกองทัพอากาศ ถึงแยกสะพานปูน
    9. ถ.จันทรุเบกษา ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยก รร.นายเรืออากาศ(คปอ.) ถึงแยกจันทรุเบกษา
    10. ถ.วัชรพล ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกตัดถนนเพิ่มสิน ถึงหน้าโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช
    11. ถ.เพิ่มสิน (ถนนเชื่อมพหลโยธิน 54/1 กับถนนสุขาภิบาล 5) ปิดการจราจรตลอดสาย

    ทิศตะวันตก ถนนสายหลัก 7 สาย

    1. ถ.จรัญสนิทวงศ์ ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่แยกบางขุนนนท์ ถึง สะพานพระราม 7
    2. ถ.สิรินธร ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่แยกบางพลัดถึงทางต่างระดับสิรินธร
    3. ถ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่เชิงสะพานพระปิ่นเกล้าถึงแยกบรมราชชนนี
    4. ถ.อรุณอัมรินทร์ ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่แยกอรุณอัมรินทร์ถึงแยก รพ.ศิริราช
    5. ถ.บรมราชชนนี ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรแยกบรมราชชนนีถึงทางต่างระดับสิรินธร(สายใต้เก่า)
    6. ถ.ทางคู่ขนานลอยฟ้า ขาออก ปิดการจราจรตลอดสาย ไม่สามารถลงพื้นราบได้
    7. ถ.บรมราชชนนี (ช่วงพุทธมณฑล) ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่ต่างระดับกาญจนาภิเษก ถึงแยกพุทธมณฑลสาย 4

    ทิศตะวันตก ถนนสายรอง 4 สาย

    1. ถ.พุทธมณฑล สาย 3 ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตลอดสาย
    2. ถ.อุทยาน ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่แยกอุทยานถึงแยกตัดถนนพุทธมณฑลสาย
    3. ถ.ศาลาธรรมสพน์ ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตลอดสาย
    4. ถ.พุทธมณฑลสาย 2 ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกตัดถนนบรมราชชนนี ถึงแยกทศกัณ

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 2554 12:25 น.
    http://www.manager.co.th/Crime/ViewN...word=%a1%b7%c1.

    ถ.หทัยราษฎร์น้ำล้นคันท่วมถนน ยาว 3 กม.

    ผู้ว่าฯ กทม.ตรวจการซ่อมแซมประตูระบายน้ำคลองสามวา เร่งป้องกันน้ำไหลบ่าท่วมนิคมอุตสาหกรรมตะวันออก ถนนรามอินทรา และถนนรามคำแหง ถ.หทัยราษฎร์ น้ำล้นคันท่วมถนนยาว 3 กม.

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ได้เดินทางไปตรวจการซ่อมแซมประตูระบายน้ำคลองสามวา ถนนหทัยมิตร เขตคลองสามวา&nbsp; โดยมีกองบัญชาการตำรวจนครบาลส่งกำลังตำรวจคุ้มกันประตูระบายน้ำคลองสามวา และให้เจ้าหน้าที่ กทม.เร่งเข้าไปซ่อมแซมประตูที่ชำรุดเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำบ่าเข้าท่วมนิคมอุตสาหกรรมย่านตะวันออก ถนนรามอินทรา และถนนรามคำแหง พร้อมตรวจคันกั้นน้ำที่ถนนหทัยราษฎร์ น้ำล้นคันแล้วท่วม 5-10 ซม. ยาว 3 กม.

    จากนั้นเวลา 11.30 น. ผู้ว่าฯ กทม.ตรวจความเสียหายบริเวณริมคลองหนึ่งตะวันตก หมู่บ้านราชพฤกษ์ เขตมีนบุรี รวมถึงตรวจคันกั้นน้ำที่ถนนหทัยราษฎร์ ซึ่งมีน้ำล้นคันท่วมถนนประมาณ 5-10 ซม. ยาวประมาณ 3 กม

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 2554 12:59 น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...word=%a1%b7%c1.

    ทบ.จัดรถเมล์ทหาร รับส่งแทนรถเมล์ 5 เส้นทางหลัก

    รถเมล์ทหาร ทบ.จัดรถเรือทหารวิ่งแทนรถเมล์ 5 เส้นทางหลัก 38 เส้นทาง ใน กทม.นนท์-ปทุมฯ

    โซน 1 - ดอนเมือง-หลักสี่-บางเขน 07.00-22.00 น.

    โซน 2 - ลาดกระบัง-หนองจอก-มีนบุรี 06.00-10.00 น.และ 15.30-19.00 น.

    โซน 3 - พุทธมณฑลนครปฐม 07.00-22.00 น.

    โซน 4 - ธัญบุรี ปทุมธานี 08.00-18.00 น.

    กทม.ตะวันออก

    ถ.วิภาวดี-อนุสรณ์สถาน-4 แยกรัชโยธิน

    เส้น 2 - พหลโยธินสนามธูปะเตมีย์ เมเจอร์รัชโยธิน

    เส้น 3 - ถ.แจ้งวัฒนะ ทางด่วนแจ้งฯ รามอินทรา-วัชรพล

    กทม.ตะวันตก..รถต่อเรือ เรือต่อรถ

    เส้น 1 - ถ.เพชรเกษม ตลอดสาย

    เส้น 2 - ถ.กาญจนาภิเษก แยกสุพรรณ-รพ.บางใหญ่

    พร้อมจัดเรือ 15 ลำวิ่งคลองทวีวัฒนา



    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 2554 17:05 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1.

    กทม.ส่งทีมแพทย์ดูแลผู้ประสบภัยน้ำท่วม 31 เขต

    กทม.ส่งทีมแพทย์พยาบาลนักสังคมสงเคราะห์ดูแลผู้ประสบภัยน้ำท่วมในเมืองกรุงในพื้นที่ 31 เขต ช่วยเหลือแล้วกว่า 3.3 หมื่นคน

    พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า สำนักอนามัย กทม.ได้จัดทีมแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของศูนย์บริการสาธารณสุขที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม จำนวน 35 แห่ง เข้าช่วยเหลือดูแลผู้ประสบภัยน้ำท่วมในสถานที่พักพิงของกรุงเทพมหานคร กว่า 140 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 31 เขต ตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค.2554 เป็นต้นมา โดยมีผู้ประสบภัยที่ได้รับการช่วยเหลือ จำนวน 33,016 คน

    สำหรับการบริการให้การช่วยเหลือดูแล ประกอบด้วย ตรวจสุขภาพ บริการรักษาโรคเบื้องต้น หากพบผู้ป่วยที่จำเป็น ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจะดำเนินการประสานศูนย์เอราวัณในการส่งต่อผู้ป่วย แจกชุดเวชภัณฑ์น้ำท่วม และเอกสารคำแนะนำการดูแลสุขภาพ กรณีพบผู้ป่วยเครียดจะให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือตามความจำเป็น และถ้าผู้พักพิงมีสัตว์เลี้ยงให้ปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลสัตว์เลี้ยง

    ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนสามารถขอความช่วยเหลือด้านการป้องกันโรค รวมทั้งเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ผู้พิการออกจากที่อยู่อาศัยได้ที่ สายด่วน กทม.1555 สำนักงานเขตและศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้านทุกแห่ง

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 2554 17:09 น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...word=%a1%b7%c1.

    กทม.เตรียมประกาศพื้นที่อพยพ/เฝ้าระวังเพิ่มเติม

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำเขตสายไหม โดยล่าสุดได้รับรายงานการซ่อมแซมประตูระบายน้ำคลองสามวาว่า เจ้าหน้าที่ดำเนินการซ่อมแซมใกล้แล้วเสร็จ เหลือเพียงบริเวณด้านขวาของประตูเท่านั้น คาดว่าจะแล้วแล้วเสร็จในคืนนี้
    ทั้งนี้ กทม.เตรียมประกาศพื้นที่อพยพเพิ่มเติม ที่แขวงทรายกองดินใต้ และแขวงสามวาตะวันตก เฉพาะพื้นที่นอกแนวคันพระราชดำริ ถึงพื้นที่ติดกับแขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา แขวงหนองค้างพลู เขตหนองเขม หมู่บ้านเสนานิเวศโครงการ 1 เขตลาดพร้าว ส่วนพื้นที่เฝ้าระวังพิเศษคือ เขตภาษีเจริญด้านเหนือ
    ขณะเดียวกันได้รับรายงานอย่างไม่เป็นทางการว่า รัฐบาลได้มอบหมายให้ กทม.เป็นผู้ตัดสินใจในการเปิดประตูระบายน้ำคลองสามวา ซึ่ง กทม.จะต้องคำนึงถึงความสมดุลและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ริมคลอง แต่ยังไม่ได้รับรายงานเป็นลายลักษณ์อักษร จึงยังคงเปิดประตูระบายน้ำคลองสามวาอยู่ที่ 1 เมตร

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 2554 00:13 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1.

    "วิรุฬ"หวั่นน้ำทะลักเข้าศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะกระทบผู้พักพิงกว่า 3 พันคน

    นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ได้สั่งการให้ นายนริศ ชัยสูตร อธิบดีกรมธนารักษ์ มีหนังสือถึงศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) เป็นการเร่งด่วน ขอให้ กทม. รักษาระดับน้ำในคลองอีด้วน ไว้ให้อยู่ในระดับต่ำกว่าปัจจุบัน 40 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำทะลักเข้าท่วมศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 แจ้งวัฒนะ เนื่องจากจะกระทบต่อระบบไฟฟ้า และระบบประปาที่รองรับผู้พักพิงภายในศูนย์ราชการฯ กว่า 3,000 คน
    นอกจากนี้ ได้ให้กรมธนารักษ์ ร่วมมือกับกองทัพไทย ป้องกันน้ำที่เอ่อล้นเข้าท่วมบริเวณถนนสายหลักของศูนย์ราชการฯ เป็นการเร่งด่วนอีกทางหนึ่งแล้ว เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหาร ข้าราชการตุลาการ รวมถึงผู้พักพิงในศูนย์ดังกล่าวกว่า 20,000 คน


    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 2554 19:06 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1.

    สั่งแขวงหนองค้างพลู หนองแขม-ม.เสนาฯ 1 ลาดพร้าว อพยพ น้ำขึ้นสูง

    ผู้ว่าฯ สุขุมพันธุ์ สั่งอพยพชาวบ้านแขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม, หมู่บ้านเสนาฯ 1 เขตลาดพร้าว รวมทั้งแขวงทรายกองดินใต้ เขตคลองสามวาตะวันอก นอกคันกั้นน้ำ พร้อมเตือนเขตภาษีเจริญติดหนองแขมเก็บของพร้อมอพยพ
    (เบื้องต้น) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ประกาศให้ประชาชนในพื้นที่แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม, หมู่บ้านเสนานิเวศน์ โครงการ 1 เขตลาดพร้าว อพยพออกจากพื้นที่ เนื่องจากเกิดภาวะน้ำท่วมสูง รวมทั้งแขวงทรายกองดินใต้ เขตคลองสามวาตะวันตก เฉพาะพื้นที่นอกแนวคันพระราชดำริ และพื้นที่ติดกับแขวงสามวาตะวันออก เป็นพื้นที่อพยพเพิ่มเติม
    นอกจากนี้ เตือนประชาชนเขตภาษีเจริญตอนบนติดกับหนองแขมให้เก็บของเตรียมพร้อมอพยพ เคลื่อนย้ายผู้ป่วยและคนชราออกก่อน



    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 2554 18:56 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000139926

    กทม.เตรียมประกาศเขตภาษีเจริญเหนือ เป็น พท.เฝ้าระวังพิเศษ

    ผู้ว่าฯ กทม.ประกาศพื้นที่อพยพและเฝ้าระวังเพิ่มเติม เร่งซ่อมประตูระบายน้ำคลองสามวาให้เสร็จในคืนนี้ เผยได้รับความร่วมมือจากตำรวจนครบาลอย่างดี

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวภายหลังการลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำเขตสายไหม โดยล่าสุดได้รับรายงานความคืบหน้าการซ่อมแซมประตูระบายน้ำคลองสามวา ว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ดำเนินการซ่อมแซมประตูระบายน้ำใกล้แล้วเสร็จเหลือเพียงบริเวณด้านขวาของประตูเท่านั้นโดยจะเร่งให้แล้วเสร็จในคืนนี้ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากกองบัญชาการตำรวจนครบาลเป็นอย่างดี

    ทั้งนี้ กทม.เตรียมประกาศพื้นที่อพยพเพิ่มเติม คือ แขวงทรายกองดินใต้ และแขวงสามวาตะวันตกเฉพาะพื้นที่นอกแนวคันพระราชดำริถึงพื้นที่ติดกับแขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา แขวงหนองค้างพลูเขตหนองเขม หมู่เสนานิเวศโครงการ 1 เขตลาดพร้าวและส่วนพื้นที่เฝ้าระวังเป็นพิเศษคือเขตภาษีเจริญด้านเหนือ

    ขณะเดียวกัน ได้รับรายงานอย่างไม่เป็นทางการ ว่า ทางรัฐบาลได้มอบหมายให้ทาง กทม.เป็นผู้ตัดสินใจในการเปิดประตูระบายน้ำคลองสามวา โดยจะหารือร่วมกับผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กทม.ทั้งนี้ จะต้องคำนึงถึงความสมดุลและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ริมคลอง แต่ทั้งนี้ ทาง กทม.ยังไม่ได้รับรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรจึงยังคงเปิดประตูระบายน้ำคลองสามวาอยู่ที่ 1 เมตร


    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 2554 19:14 น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...word=%a1%b7%c1.

    ถ.วิภาวดี ระดับน้ำสูง มีประกาศปิดเส้นทางทั้งขาเข้า-ขาออก

    บรรยากาศสถานการณ์น้ำท่วม ที่ถนนวิภาวดีรังสิต บางจุดกระแสน้ำไหลแรงและเพิ่มระดับขึ้น โดยเฉพาะในซอยวิภาวดี 48 สูงกว่า 50 ซม . กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) ประกาศปิดเส้นทางการจราจร ถนนวิภาวดีรังสิต ขาเข้า ตั้งแต่อนุสรณ์สถาน ขาออกตั้งแต่แยกบางเขน เนื่องจากบริเวณแยกเกษตรศาสตร์ มีน้ำท่วมสูง รถเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านได้ โดยรถที่สัญจรมาในเส้นทางนี้ ต้องเลี้ยวซ้ายกลับรถที่ถนนกำแพงเพชร 65 เท่านั้น















    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 2554 22:01 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000139983

    เกิดเหตุรื้อคันคลองประปา 13 จุดน้ำเสียทะลัก วอนหยุดกระทำหวั่นลดการผลิตลงอีก

    เกิดเหตุมีคนรื้อคันกั้นคลองประปาช่วงถนนแจ้งวัฒนะ - สรงประภา รวม 13 จุด ทำให้น้ำเสียไหลลงคลอง การประปาฯวอนหยุดการกระทำ มิฉะนั้นอาจต้องลดการผลิตลงอีก

    วันที่ 2 ต.ค. เมื่อเวลา 23.00 น. กองเผยแพร่ข่าว ฝ่ายสื่อสารองค์กร การประปานครหลวง แจ้งข่าวด่วนว่า ในขณะนี้ เกิดการรื้อกระสอบทรายคันกั้นน้ำคลองประปา ช่วงระหว่าง ถนนแจ้งวัฒนะ - สรงประภา ขนาดกว้าง 1 ถึง 3 เมตร รวมทั้งหมด 13 จุด ทำให้น้ำเสียไหลลงคลองประปา โดยการประปานครหลวง วอนให้หยุดการกระทำ มิฉะนั้นอาจต้องลดการผลิต และจ่ายน้ำลงอีก หลังจากต้องลดการผลิตแล้ววันละ 2 แสนลูกบาศก์เมตรต่อวัน

    ก่อนหน้านี้ โรงงานผลิตน้ำบางเขน ลดกำลังการผลิตน้ำประปาลงอีก 2 แสนลูกบาศก์เมตรต่อวัน เนื่องจากค่าออกซิเจนละลายในน้ำลดต่ำลง หลังน้ำล้นเข้าคลองประปา ทำให้ต้องใช้เวลาปรับปรุงคุณภาพน้ำนานขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้บางพื้นที่น้ำประปาไหลอ่อน หากยังมีการทำลายแนวคันกั้นน้ำ และมีน้ำท่วม อาจจะต้องลดการผลิตน้ำลงเรื่อยๆ

    นางจงกลณี อาศุเวทย์ ผู้จัดการฝ่ายคุณภาพน้ำ การประปานครหลวง ระบุว่า น้ำที่ท่วมจากคลองบางหลวง เชียงราก เมืองเอก วัดนาวง ไหลเข้าคลองประปา ทำให้น้ำประปามีสีและกลิ่น ขณะที่คุณภาพน้ำประปา ณ สถานีสูบจ่ายน้ำเพชรเกษม ค่าสีน้ำอยู่ที่ระดับ 18 สูงกว่าเกณฑ์แนะนำขององค์การอนามัยโลก ที่ระดับ 15 และมีกลิ่นดินในน้ำประปา ส่วนน้ำประปาที่โรงผลิตน้ำบางเขน สามเสน และธนบุรี ยังมีค่าสีต่ำกว่าเกณฑ์ และมีกลิ่นคลอรีน แต่ยืนยันว่า น้ำประปาทุกแหล่งไม่มีเชื้อโรค สารอันตราย และสารพิษปนเปื้อน หากนำไปต้มโดยเปิดฝาภาชนะจะช่วยลดกลิ่นและสี

    การประปานครหลวง ยังติดตั้งจุดบริการน้ำประปาดื่มได้ หน้าสำนักงานประปาทุกสาขา ที่ยังไม่มีน้ำท่วมสูง โดยประชาชนสามารถนำภาชนะไปรองน้ำบริโภคได้ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 2554 23:33 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000140014

    >> นครปฐม <<


    ระดับน้ำนครปฐมยังทรงตัว จระเข้โผล่ที่บางภาษีอีก 2 ตัว

    ครปฐม - สถานการณ์น้ำท่วมเมืองเจดีย์ใหญ่ ระดับน้ำยังทรงตัว ชาวบ้านยังเดือดร้อนกันถ้วนหน้า หลายหน่วยงานระดมกำลังทำงานช่วยเหลือประชาชนไม่หยุด ขณะที่ข้าราชการกลับเกียร์ว่าง บางหน่วยยังไม่ขยับ ด้านชาวบ้านหมู่ 13 ตำบลบางภาษี อำเภอบางเลน ผวาเจอจระเข้โผล่อีก 2 ตัวหลังยิงได้ไปแล้ว 2 ตัว

    วันนี้ (2 พ.ย.) นายนิมิต จันทน์วิมล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย จังหวัดนครปฐม เปิดเผยว่า ปัจจุบันในพื้นที่ จ.นครปฐม มีพื้นที่ประสบอุทกภัยทั้งสิ้น 7 อำเภอ 99 ตำบล 854 หมู่บ้าน และราษฎรได้รับความเดือดร้อน รวม 164,396 คน 45,651 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 4 ราย ที่อำเภอนครชัยศรี 2 คน เนื่องจากถูกไฟฟ้าช็อตและจมน้ำเสียชีวิต อำเภอพุทธมณฑล 1 คน เนื่องจากถูกไฟฟ้าช็อต และอำเภอบางเลน 1 คน เนื่องจากจมน้ำเสียชีวิต

    ส่วนความเสียหายรวมมูลค่าในเบื้องต้นประมาณ 472,018,627.00 บาท ประกอบด้วยด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 23,702 หลัง และด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ ถนน 379 สาย สะพาน 24 แห่ง วัด 21 แห่ง โรงเรียน 17 แห่ง สถานที่ราชการ 15 แห่ง และโรงงาน 9 แห่ง

    ในขณะนี้ที่ศูนย์พักพิงมีผู้ประสบอุทกภัยอพยพเข้ามาอาศัยอยู่กันบ้างแล้วทั้งจังหวัดรวมทั้งสิ้น 6,036 คน 1,753 ครัวเรือน ประกอบด้วยที่อำเภอพุทธมณฑลมี 9 จุด มีผู้ประสบอุทกภัยมาอาศัยอยู่จำนวน 3,055 คน 845 ครัวเรือน ที่อำเภอบางเลน มี 117 จุด มีผู้ประสบอุทกภัยมาอาศัยอยู่ จำนวน 6,886 คน 818 ครัวเรือน อำเภอดอนตูมมี 6 จุด มีผู้ประสบอุทกภัยมาอาศัยอยู่ จำนวน 77 คน 20 ครัวเรือน อำเภอนครชัยศรีมี 20 จุด มีผู้ประสบอุทกภัยมาอยู่ จำนวน 570 คน 142 ครัวเรือน อำเภอกำแพงแสนมี 3 จุด มีผู้ประสบอุทกภัยมาอยู่ จำนวน 482 คน และอำเภอเมืองนครปฐม 3 จุด มีผู้ประสบอุทกภัยมาอยู่ 378 คน

    สำหรับอำเภอพุทธมณฑล รายงานว่า วันนี้ ได้อพยพผู้ประสบภัยจากมหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย ประมาณ 800 คนมายังมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม อ.เมือง มีผู้อพยพคงเหลืออีกประมาณ 1,400 คน จุดพักพิงที่สำนักงานพุทธมณฑล ได้เคลื่อนย้ายผู้อพยพ ประมาณ 150 คนส่งต่อไปยังจุดพักพิงที่มหาวิทยาลัยศิลปากร อ.เมือง แล้ว

    จุดพักพิงที่ยังคงรองรับผู้อพยพคือวิทยาลัยนาฏศิลป์ ระดับน้ำโดยรวมเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม 3-4 ซม.ถนนหน้าอำเภอพุทธมณฑล รถหกล้อสามารถผ่านได้ ถนนศาลายา-นครชัยศรี รถของกองทัพเรือเท่านั้นที่ผ่านได้ และถนนศาลายา-บางภาษี รถสิบล้อสามารถผ่านได้ ขณะนี้ได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนออกจากบ้านพักอาศัย และมารวมตัวกันที่จุดอพยพตามที่อำเภอจัดให้แล้วเพื่อความสะดวกในการแจกจ่ายอาหารและยาเวชภัณฑ์ให้แก่ผู้ประสบภัยได้อย่างทั่วถึง

    ส่วนอำเภอบางเลน มีรายงานว่า ได้อพยพผู้ประสบภัยส่งต่อมายังมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม อ.เมือง และอพยพแรงงานต่างด้าวมายังวัดไร่ขิง อ.สามพราน แล้ว ขณะนี้ได้แจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ ต.บางภาษี อ.บางเลน เตรียมความพร้อมในการอพยพแล้ว ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ยังรับแจ้งการอพยพมา 2 วัน แต่ยังไม่มีการสั่งการชัดเจนชาวบ้านส่วนหนึ่งยังอยู่ในบ้านเรือนที่ติดกับท้องนา ที่มีระดับน้ำลึก 2-3 เมตร

    จระเข้โผล่อีก 2 ตัว-ชาวบ้านผวา

    ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงประจำ ตู่พักสายตรวจอำเภอบางเลน ได้รับแจ้งจากชาวบ้าน หมู่ 13 ตำบลบางภาษี อำเภอบางเลน ว่า ช่วงเช้าพบจระเข้ 2 ตัวอยู่ในพื้นที่ จึงส่งกำลังและเจ้าหน้าที่และชาวบ้าน ซึ่งดูตั้งแต่ช่วงเช้า แต่ยังไม่พบตัว แต่ชาวบ้านหลายคนยืนยันตรงกันว่าพบจระเข้ และเฝ้าติดตามประกอบกับแจ้งข่าวให้ชาวบ้านระวังตัวในการใช้เรือและสัญจรรวมถึงใช้ชีวิตประจำวันอย่างระมัดระวัง

    โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน เนื่องจากจระเข้อาจไม่ได้กินอาหารมาหลายวัน และมีอาการหิวเป็นอันตราย และก่อนหน้านี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้มีการยิงจระเข้ ขนาด 3 เมตร และ 2 เมตร ไป แล้วโดยชาวบ้านที่ช่วยกันไล่ล่าได้

    ส่วนอำเภอนครชัยศรี รายงานว่า ระดับน้ำสูงประมาณ 80 ซม.หน้าโรงไฟฟ้า ระดับน้ำสูงมาก หน้าอำเภอ ระดับน้ำประมาณ 20-30 ซม.ตลาดท่านา ยังป้องกันได้อยู่ อำเภอมีจุดพักพิงทั้งหมด 18 จุด มีผู้อพยพประมาณ 1,350 คน จุดพักพิงที่วัดลานตากฟ้า มีผู้อพยพประมาณ 400 คน และ ร.ร.โสตทัศนศึกษา ประมาณ 200 คน ขณะนี้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนออกจากบ้านพักอาศัย และมารวมตัวกันที่จุดอพยพตามที่อำเภอจัดให้แล้ว

    ทางด้านอำเภอสามพราน ได้มีการประชุมผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลหอมเกร็ด ทรงคนอง บางเตย เพื่อเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วมและเตรียมความพร้อมอพยพหากสถานการณ์วิกฤต อำเภอได้เตรียมการป้องกันน้ำท่วม ในเขตพื้นที่ตำบลกระทุ่มล้ม บางเตย ไร่ขิง อ้อมใหญ่ และอ้อมน้อย เนื่องจากเป็นเขตพื้นที่เศรษฐกิจและมีโรงงานสำคัญหลายแห่ง หลังจากระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีนสูงขึ้นและน้ำเข้าเอ่อหลายแห่ง

    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด รายงานว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในพื้นที่ อ.พุทธมณฑล ต้องเปิดให้บริการที่ชั้น 2 เส้นทางเข้า รพ.พุทธมณฑล มีน้ำท่วมขัง รถผ่านสัญจรลำบาก รพ.หลวงพ่อเปิ่น, รพ.ห้วยพลู ไม่รับผู้ป่วยใน ให้บริการเฉพาะผู้ป่วยนอก สำหรับการให้ความช่วยเหลือ จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ประสบภัยประจำในจุดพักพิงต่างๆ แล้ว

    ส่วนการแจ้งเส้นทางจราจรทำหรับประชาชนล่าสุด

    1.เส้น 346 แยกลาดหลุมแก้ว-บางเลน น้ำท่วมเป็นแห่งๆ ระดับสูง 40-60 ซม.รถใหญ่ผ่านได้ แต่รถเล็กผ่านไม่ได้ ให้ใช้ทางเลี่ยง

    2.เส้นบางหลวง-บางเลน ระดับน้ำสูง 5 ซม.รถสามารถผ่านได้

    3.เส้น 338 ช่วง อ.สามพราน-นครชัยศรี กม.22-23 ระดับน้ำสูง 40-60 ซม.ใช้เส้นทาง ถ.เพชรเกษม เป็นทางเลี่ยง

    4.เส้นถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี (ทล.338) ขาเข้า-ขาออก ช่วงลงถนนบรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา มีน้ำท่วมสูงรถผ่านไม่ได้ ใช้ทางเลี่ยง ถนนเพชรเกษม และถนนพระราม 2 แทน

    5.เส้นพุทธมณฑลสาย 4 น้ำท่วมทั้งสาย ปิดการจราจร (ยกเว้น กม.1-5 น้ำท่วม 1 ช่องทาง รถทุกชนิดผ่านได้)

    6.เส้นแยกบ้านแพ้ว ถ.พระราม 2 น้ำท่วมขัง (ผลมาจากน้ำขึ้น-น้ำลง) ระดับน้ำสูงประมาณ 10 ซม.

    7.จุดกลับรถตรงสะพานโพธิ์แก้ว ไม่สามารถใช้การได้ ให้ไปใช้จุดกลับรถที่สามพรานแทน 8.เส้นทางเพชรเกษมสภาพการจราจรหนาแน่น ขณะนี้ ได้ประสานไปยัง สภ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ให้ปิดสัญญาณไฟจราจรหน้าดับเพลิง ต.อ้อมน้อย แล้ว

    สรุป ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าในพื้นที่มากกว่าปริมาณน้ำที่ไหลออกจากพื้นที่ จ.นครปฐม จำนวน 51.44 ล้าน ลบ.ม./วัน พื้นที่น้ำท่วมเพิ่มขึ้น 43,935 ไร่ และวันนี้มีการระบายน้ำจะมีผลกระทบในช่วงน้ำทะเลหนุน ซึ่งเวลาน้ำทะเลหนุนสูง เวลา 13.00 น.น้ำขึ้นที่บริเวณอำเภอสามพราน และเวลา 07.00 น.น้ำขึ้นที่บริเวณอำเภอนครชัยศรี สำหรับการให้ความช่วยเหลือ ขณะนี้ชลประทานได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังเฉพาะจุดในพื้นที่จังหวัดนครปฐม จำนวน 29 เครื่อง เพื่อระบายน้ำอย่างเร่งด่วนแล้ว

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากสถานการณ์ยังคงวิกฤติยังคงน่าเป็นห่วงในหลายอำเภอ หน่วยราชการที่ทำงานหลานแห่งได้ทำงานอย่างหนักร่วมกับภาคเอกชน ส่วนราชการบ่างแห่งที่ยังไม่มีภารกิจยังไม้ได้แสดงความสามารในการสนับสนุนกำลัง และถึงยังชีพที่ได้รับมาใกล้ครบ 1 เดือนก็ยังคงถูกตั้งอยู่ที่เดิมไม่ได้มีการนำไปสนับสนุนหรือนำออกไปแจกจ่ายให้หน่วยที่ขาดแคลนแต่อย่างใด

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 2554 13:01 น.
    http://www.manager.co.th/Local/ViewN...=9540000139643

    ถนนพุทธมณฑลสาย 4 อ่วม ชาวบ้านเร่งอพยพหนีน้ำ

    นครปฐม - ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณถนนพุทธมณฑลสาย 4 เขตเทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เร่งอพยพหนีน้ำ หลังระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นทำให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อน

    วันนี้ (2 พ.ย.) ช่วงเวลา 13.00 น.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณถนนพุทธมณฑลสาย 4 เขตเทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มีชาวบ้านหลายครัวเรือนเร่งอพยพหนีน้ำออกจากพื้นที่อย่างทุกลักทุเลและโกลาหลไปทั่วเมือง หลังระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีก 20 เซนติเมตร ทำให้หมู่บ้านต่างๆ ที่เป็นบ้านจัดสรรและโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งต้องปิดทำการด่วนเพื่อให้คนงานได้กลับบ้านไปเก็บข้าวของเพื่ออพยพออกจากพื้นที่

    ส่วนที่บริเวณทางเข้าวัดนครชื่นชุ่ม มีชาวบ้านขนข้าวของออกจากพื้นที่เช่นกัน ซึ่งระดับน้ำในซอยสูงถึง 1 เมตร และบางพื้นที่สูงถึง 1.50 เมตร ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถพักอาศัยได้ เนื่องจากน้ำจากคลองทวีวัฒนา คลองมหาสวัสดิ์ และน้ำจากคลองโยง ได้ไหลทะลักเข้าท่วมอย่างหนักในบริเวณดังกล่าว ส่งผลให้ประชาชาได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก

    ด้าน นายนิมิต จันทน์วิมล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัด ได้สั่งการให้ชุดเคลื่อนที่เร็วอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัดนครปฐม เข้ามาให้ความช่วยเหลือชาวบ้านที่ต้องการอพยพออกจากพื้นที่

    นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานราชการจาก กรมการสัตว์ทหารบก กรมยุทธศึกษาทหารเรือ กองพันทหารสื่อสารที่ 102 ค่ายกำแพงเพชรอัครโยธินกรมทางหลวง แขวงการทางนครปฐม และหน่วยนาวิกโยธิน หลายร้อยคนได้ นำรถและเรือเคลื่อนที่ไปตามจุดต่างๆ เพื่อให้บริการประชาชนที่ต้องการอพยพ

    นอกจากนี้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในเขตพื้นที่ต่างๆ ได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการปรับระดับมิเตอร์ไฟฟ้าให้สูงกว่าระดับน้ำแล้ว เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว และคาดว่า จะไม่ตัดกระแสไฟฟ้าอย่างถาวร เนื่องจากยังมีชาวบ้านพักอาศัยอยู่ตามบ้านเรือน แต่อย่างไรก็ตาม จะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจและดูแลความปลอดภัยให้กับชาวบ้านจนกว่าสถานการณ์น้ำจะคลี่คลายลง

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่พื้นที่ต่างๆ มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นทำให้การจราจรบนถนนเพชรเกษม เขตอำเภอเมืองนครปฐม ฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯนั้น เริ่มติดขัดเป็นจำนวนมาก ยานพาหนะที่ต้องเข้ากรุงเทพต้องเลี้ยวขวาขึ้นสะพานแยกพระประโทน เพื่อวิ่งไปถนนสายพระประโทน-บ้านแพ้ว เพื่อมุ่งหน้าเข้าสู่ถนนพระราม 2 ทำให้ถนนภายในเส้นดังกล่าวติดขัดอย่างหนักและเริ่มโกลาหลไปทั่วรอบจังหวัดนครปฐมที่เป็นจุดที่น้ำท่วม

    และจนถึงเวลานี้ยังไม่มีหน่วยงานใดออกมายืนยันได้ว่า เขตอำเภอเมืองนครปฐม ซึ่งเป็นที่ตั้งขององค์พระปฐมเจดีย์ที่กำลังจะมีงานนมัสกาลประจำปีในวันที่ 7-15 พ.ย.นี้ จะมีสภาพน้ำท่วมหรือไม่ ส่วนการตราจรในตัวเมืองนครปฐม และร้านค้า ร้านอาหารต่างๆ เริ่มมีประชาชนมากขึ้น เนื่องจากมีการโยกย้ายของคนจากจังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร เพื่อมาหาบ้านเช่าหลบหนีน้ำในช่วงวิกฤตที่การข่าวไม่มีความแน่นอนในจังหวัดนครปฐม

    ส่วนที่พุทธมณฑล พบว่า ระดับน้ำยังทรงตัวและยังมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น ถนนสายนครชัยศรี ศาลายา น้ำท่วมสูงกว่า 1.50 เมตร รถบรรทุกขนาดใหญ่เท่านั้นที่พอสัญจรได้ ระดับน้ำที่คลองมหาสวัสดิ์ ท่วมสูงมาก กว่า 1.80 เมตร คลองโยงก็มีสภาพไม่ต่างกัน รถที่จะเดินทางเข้าศาลายาสามารถทำได้เพียงเดินทางผ่านพุทธมณฑลสาย 4 เชื่อมเพรชเกษม ซึ่งระดับน้ำกำลังท่วมสูงขึ้นเรื่อยๆ ภายในพุทธมณฑล ไม่สามารถเข้าไปภายในได้ และรถยนต์สามารถมาถึงเพียงด้านหน้ามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา เท่านั้น จากนั้นการสัญจรต้องด้วยเรือท้องแบนและเรือเครื่องยนต์เป็นสิ่งที่ทำใด้อย่างเดียวในขณะนี้

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 2554 18:52 น.
    http://www.manager.co.th/Local/ViewN...=9540000139912

    นครปฐมพร่องน้ำคลองเจดีย์บูชา เตรียมรับท่าจีนล้น

    เทศบาลเมืองนครปฐม เดินเครื่องสูบน้ำ 4 เครื่อง สูบน้ำจากคลองเจดีย์บูชาชั้นในออกชั้นนอก ป้องกันน้ำเอ่อล้นเข้าคลองเข้าท่วมเขตเทศบาล ความจริงคลองเจดีย์บูชา สูงกว่าแม่น้ำท่าจีน แต่ด้วยปริมาณน้ำในแม่น้ำท่าจีนมาก ดันให้น้ำในคลองสูงขึ้นบางจุดปริ่มตลิ่ง การสูบน้ำครั้งนี้เพื่อพร่องน้ำออกจากพื้นที่ชั้นใน โดยผันไปทางคลองท่าผาบางแก้ว ต่อเนื่องไปยังคลองต่างๆ ใน อ.สามพราน และ อ.นครชัยศรี ก่อนลงสู่แม่น้ำท่าจีน
    ระดับน้ำในคลองเจดีย์บูชาที่เพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนริมคลองต้องวางแนวกระสอบทราย พร้อมก่ออิฐบล็อกกั้นหน้าบ้าน บางหลังสูง 1 เมตร

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 2554 19:23 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000139941
  5. iDnOuSe4
    iDnOuSe4
    Quote Originally Posted by IAm View Post
    แนะนำเครื่องมือ ตั้งค่าการแสดงกระทู้
    เพื่อให้ติดตามข่าวสารได้รวดเร็วยิ่งขึ้นค่ะ







    ที่ตำแหน่ง Threaded View จะแสดงรายการโพสต์ทั้งหมดที่อยู่ในกระทู้
    เราสามารถคลิ๊ก เพื่อเลือกอ่านแต่ละโพสต์ได้ค่ะ



    เดี๋ยวเอาไว้ว่างๆแอมจะเขียนอธิบายเกี่ยวกับเจ้าเครื่องมือตัวนี้แบบละเอียด ไว้ในคู่มือการใช้งานเครื่องมือของระบบชุมชน sbntown อีกทีนะคะ
    ขอบคุณระบบชุมชน sbntown ที่ทำให้สามารถอ่านโพสต์ได้ง่าย และประหยัดเวลาในการอ่านเยอะเลยค่ะ
    เย้ย เพิ่งรู้
    ขอบคุณมากครับ
  6. IAm
    IAm

    3 พฤศจิกายน 2554
    ==================================================


    >> กรุงเทพฯ <<


    บก.จร.แจ้งปิดเส้นทาง-ถนนควรเลี่ยงน้ำท่วมขัง

    วันนี้ (3 พ.ย.) เวลา 10.00 น. บก.จร.แจ้งเส้นทางปิดการจราจร และเส้นทางควรหลีกเลี่ยงน้ำท่วมขัง มวลน้ำเข้าท่วมพื้นที่ ดังนี้

    ทิศเหนือ เส้นทางควรหลีกเลี่ยง

    - ถ.สายไหม ขาเข้า-ขาออก น้ำท่วมขังตลอดสาย ระดับน้ำ 40-60 ซม.

    - ถ.ประเสริฐมนูญกิจ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกเกษตร ถึงแยกลาดปลาเค้า ระดับน้ำ 50 ซม.

    - ถ.เสนานิคม 1 ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกเสนานิคม ถึงแยกวังหิน ระดับน้ำ 30 ซม.

    - ถ.นวมินทร์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ ซ.นวมินทร์ 163 ถึงแยกรามอินทรา กม.8 ระดับน้ำ 40 ซม.

    - ถ.รัชดาภิเษก ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกรัชโยธิน ถึงทางต่างระดับรัชวิภา ระดับน้ำ 30 ซม.

    - บริเวณแยกวัดเสมียนนารี ระดับน้ำ 60 ซม.

    ทิศตะวันออก เส้นทางควรหลีกเลี่ยง

    - ถนนสุวินทวงศ์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกไปรษณีย์มีนบุรี ถึงตัด ถ.ร่มเกล้า ระดับน้ำ 50 ซม. (เส้นทางเลี่ยงไป จ.ฉะเชิงเทรา สามารถใช้ ถ.รามคำแหงเชื่อม ถ.ร่มเกล้า ถ.มอเตอร์เวย์ ถ.บางนา-ตราด ทางยกระดับบูรพาวิถี)

    - ถนนราษฎร์อุทิศ มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 20-30 ซม.

    - ถนนประชาร่วมใจ มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 20-30 ซม.

    - ถนนหทัยราษฎร์ตัดสุวินทวงศ์ (แยกพาณิชยการมีนบุรี) ระดับน้ำ 30 ซม.

    ทิศเหนือ ถนนสายหลัก ปิดการจราจร 5 สาย

    1) ถ.วิภาวดีรังสิต ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ซอยวิภาวดี 46

    2) ถ.พหลโยธิน ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกอนุสรณ์สถาน ถึงแยกเสนานิคม

    3) ถ.แจ้งวัฒนะ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่วงเวียนบางเขน ถึงแยกคลองประปา

    4) ถ.รามอินทรา ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกวงเวียนบางเขน ถึง กม.4 (ซ.รามอินทรา 39)

    5) ถ.งามวงศ์วาน ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกพงษ์เพชร ถึงแยกเกษตร

    ทิศเหนือ ถนนสายรอง ปิดการจราจร 12 สาย

    1) ถ.กำแพงเพชร 6 (ถ.โลคัลโรด) ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่หน้าหมู่บ้านเมืองเอก ถึงหน้า สน.ทุ่งสองห้อง

    2) ถ.สรงประภา ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกศรีสมาน ถึงแยก กสบ.

    3) ถ.เชิดวุฒากาศ ปิดการจราจรตลอดสาย

    4) ถ.โกสุมร่วมใจ ปิดการจราจรตลอดสาย

    5) ถ.เดชะตุงคะ ปิดการจราจรตลอดสาย

    6) ถ.เวฬุวนาราม (วัดไผ่เขียว) ปิดการจราจรตลอดสาย

    7) ถ.แจ้งวัฒนะ ซอย 14 ปิดการจราจรตลอดสาย

    8) ถ.เลียบคลองสอง ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกพลาธิการกองทัพอากาศ ถึงแยกสะพานปูน

    9) ถ.จันทรุเบกษา ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยก รร.นายเรืออากาศ (คปอ.) ถึงแยกจันทรุเบกษา

    10) ถ.วัชรพล ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกตัดถนนเพิ่มสิน ถึงห้าแยกวัชรพล

    11) ถ.เพิ่มสิน (พหลโยธิน 54/1-ถ.สุขาภิบาล 5) ปิดการจราจรตลอดสาย

    12)ถ.สุขาภิบาล 5 ปิดการจราจรตลอดสาย

    ทิศตะวันตก ถนนสายหลัก ปิดการจราจร 8 สาย

    1) ถ.จรัญสนิทวงศ์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกบางขุนนนท์ ถึงสะพานพระราม 7

    2) ถ.สิรินธร ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกบางพลัดถึงทางต่างระดับสิรินธร

    3) ถ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่เชิงสะพานพระปิ่นเกล้าถึงแยกบรมราชชนนี

    4) ถ.อรุณอัมรินทร์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกอรุณอมรินทร์ถึงแยก รพ.ศิริราช

    5) ถ.บรมราชชนนี ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกบรมราชชนนีถึงทางต่างระดับสิรินธร (สายใต้เก่า)

    6) ถ.ทางคู่ขนานลอยฟ้า ปิดการจราจรตลอดสาย ไม่สามารถลงพื้นราบได้

    7) ถ.บรมราชชนนี (ช่วงพุทธมณฑล) ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ แยกพุทธมณฑลสาย 4 ถึงแยก ถ.ราชพฤกษ์

    8) ถ.เพชรเกษม ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ แยกพุทธมณฑลสาย 4 ถึงพุทธมณฑลสาย 1

    ทิศตะวันตก ถนนสายรอง ปิดการจราจร 4 สาย

    1) ถ.พุทธมณฑลสาย 2 ปิดการจราจรตลอดสาย

    2) ถ.พุทธมณฑล สาย 3 ปิดการจราจรตลอดสาย

    3) ถ.อุทยาน ปิดการจราจรตลอดสาย

    4) ถ.ศาลาธรรมสพน์ ปิดการจราจรตลอดสาย

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 3 พฤศจิกายน 2554 11:39 น.
    http://www.manager.co.th/Crime/ViewN...=9540000140158

    กทม.ประกาศให้เขตบางแคเป็นพื้นที่อพยพ

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ประกาศพื้นที่เขตอพยพเพิ่มเติมอีก 1 เขต คือ เขตบางแค
    ทั้งนี้ ล่าสุด กทม.ได้ประกาศพื้นที่อพยพแล้ว 8 เขต ได้แก่ เขตดอนเมือง บางพลัด สายไหม ทวีวัฒนา หลักสี่ ตลิ่งชัน บางเขน และบางแค
    ส่วนพื้นที่เฝ้าระวังฝั่งตะวันก ได้แก่ เขตบางบอน บางกอกน้อย ภาษีเจริญ โดยเตือนให้ประชาชนยกทรัพย์สินขึ้นที่สูง และระวังปลั๊กไฟ
    ขณะที่ทางทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร คือ เขตจตุจักร ยังคงเป็นพื้นที่เฝ้าระวังอยู่เช่นกัน

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 3 พฤศจิกายน 2554 12:53 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1

    ประกาศ “บางแค” อพยพทั้งเขต สั่ง “จตุจักร” ขนทรัพย์สินขึ้นที่สูง

    กทม.ประกาศ “เขตบางแค” อพยพทั้งเขต เตือน จตุจักร ขนย้ายสิ่งของค่าขึ้นที่สูง “สุขุมพันธุ์” ยันซ่อมปีกประตูคลองสามวาเสร็จเช้านี้ เผยข่าวดีพื้นที่ฝั่งตะวันออก ศปภ.ปิดประตูคลอง 8-10 ป้องกันปัญหาน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมบางชัน มีนบุรี กทม.ตั้งโรงครัวแจกจ่ายอาหาร
    วันนี้ (3 พ.ย.) เมื่อเวลา 11.20 น. ณ ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการ กทม. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) แถลงภายหลังการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ว่า กทม.จะจัดตั้งโรงครัว กทม.ขึ้น ณ ลานคนเมือง เพื่อประกอบอาหารส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ ของ กทม. โดย กทม.จะให้สำนักงานเขตที่ประสบปัญหาน้ำท่วมสร้างเครือข่ายในพื้นที่ของตนเอง เพื่อจะให้เครือข่ายกระจายอาหารได้ถูกจุด ขณะเดียวกัน กทม.จะร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน และหากประชาชน องค์กรใดมีจิตศรัทธาบริจาคเงิน อาหาร เพื่อนำมาประกอบอาหาร จะดีใจมาก นอกจากนี้ ถ้าหากมีองค์กรใดที่มีจิตอาสาจะรับอาสานำอาหารไปแจกอาหารในพื้นที่เราก็ยินดีให้องค์กรเหล่านั้นเป็นเครื่อข่ายของเรา อย่างไรก็ตาม กทม.จะกำหนดพื้นที่แจกจ่ายอาหารต่อไป

    สำหรับสถานการณ์น้ำ เมื่อวานนี้ (2 พ.ย.) น้ำหนุนสูงสุดอยู่ที่ระดับ 2.32 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง วัดที่ปากคลองตลาด ส่วนวันนี้น้ำจะหนุนสูงสุด 2.28 เมตร ในเวลา 14.05 น. โดยกรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือคาดการณ์

    ส่วนสถานการณ์น้ำในคลองสอง คลองทวีวัฒนา ยังทรงตัว คลองมหาสวัสดิ์น้ำขึ้นสูงมาก สำหรับคลองรังสิตมีการผันแปรเดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลง ซึ่งยังหาสาเหตุไม่ได้ ส่วนปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ ระดับน้ำยังคงเดิมหรือเพิ่มเล็กน้อย ยกเว้นเขตบางพลัดลดลง 5 ซม เขตมีนบุรี เพิ่มขึ้น 5-20 ซม. คลองสามวา เพิ่มขึ้น 5 ซม. คลองรังสิต 5 ซม. หนองจอก เพิ่มขึ้น 5 บางแคเพิ่ม 20 ซม. พื้นที่น่าห่วงฝั่งตะวันตก เพราะว่าน้ำได้เข้าเขตหนองเขมและภาษีเจริญ ด้วยเหตุนี้ กทม.จึงได้มีประกาศอพยพและแจ้งเตือนเฝ้าระวังในหลายพื้นที่

    ล่าสุด วันนี้ตนได้ลงนามให้เขตบางแคเป็นพื้นที่อพยพทั้งเขต เนื่องจากปริมาณน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และในขณะเดียวกันก็ได้แจ้งเตือนเฝ้าระวังเขตจตุจักร ให้ขนย้ายสิ่งของและทรัพย์สินมีค่า และให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่จะก่อให้เกิดอันตรายในชีวิตและทรัพย์สิน เคลื่อนย้ายไปยังศูนย์พักพิงที่ กทม.จัดเตรียมไว้ โดยให้เคลื่อนย้ายเด็ก สตรีมีครรภ์ คนชรา ผู้ป่วยเป็นอันดับแรก

    ทั้งนี้ กทม.ได้ประกาศอพยพไปแล้วทั้งสิ้น 8 เขต ได้แก่ ดอนเมือง บางพลัด สายไหม หลักสี่ ทวีวัฒนา ตลิ่งชัน บางเขน บางแค ส่วนพื้นที่ที่ประกาศให้อพยพบางพื้นที่ มี 4 เขต ได้แก่ ลาดพร้าว จตุจักร คลองสามวา และหนองแขม ดังนั้น พื้นที่มีปัญหาน้ำท่วมในขณะนี้รวมทั้งสิ้น 12 เขต นอกจากนี้ยังประกาศให้เขตภาษีเจริญ บางบอน บางกอกน้อย จตุจักร เป็นพื้นที่เฝ้าระวังด้วย

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าวว่า กทม.ขอขอบคุณ ศปภ.ที่ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่ง โดยเฉพาะเมื่อวานนี้ ขอบคุณ บช.น.ที่ส่งกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจมาดูแลเจ้าหน้าที่ กทม.ที่ปฏิบัติหน้าที่ซ่อมประตูระบายน้ำคลองสามว่า ซึ่งจะซ่อมเสร็จสมบูรณ์เช้าวันนี้ อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือกับ บช.น.ครั้งนี้จะเป็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจที่ดี ให้ทั้งสองหน่วยงานทำงานร่วมกันในอนาคตต่อไป นอกจากนี้ ยังมีความชัดเจนด้วย แม้จะมีการเปิดประตูระบายน้ำคลองสามวา 1 เมตร และปีกทั้งสองข้างชำรุด ทำให้น้ำไหลเข้ามาในพื้นที่เป็นจำนวนมาก แต่ระดับนอกประตู คลองสามวา ก็ยังสูงขึ้นถึง 6 ซม. ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่ประตูระบายน้ำคลองสามวา ความเดือดร้อนของประชาชนไม่ได้อยู่ที่ กทม.เปิดประตูคลองสามวาที่ระดับ 75-80 ซม. ความหมายคือ น้ำมาจากที่อื่น ซึ่งก่อนหน้านี้ กทม.ได้ขอให้มีการลดระดับการเปิดประตูระบายน้ำ คลอง 8 คลอง 9 และคลอง10 ซึ่งล่าสุด ศปภ.ก็ได้ดำเนินการปิดประตูทั้ง 3 คลองแล้ว

    “ดีใจแทนพี่น้องคลองสามวา มีนบุรี และอื่นๆ ใน กทม.ฝั่งตะวันออก ตราบใดที่คลอง 8 ถึง 10 เปิดปริมาณมากจะเกิดปัญหา น้ำท่วมถนนหทัยราษฎร์ หากไม่ปิดทั้ง 3 คลอง พื้นที่ในคันกั้นน้ำทั้งหมดจะไล่ลงมาจนถึงนิคมอุตสาหกรรมบางชัน นอกจากนี้ ความร่วมมือของ กทม.กับ ศปภ.ในการวางบิ๊กแบ็กตั้งแต่หลัก 6 โลคัลโรด จนถึงจันทรุเบกษา ระยะทางกว่า 5 กิโลเมตรเมื่อทำสำเร็จก็น่าช่วยบรรเทาน้ำเข้าถนนพหลโยธินได้ และนายกฯ ยังยืนยันคำบัญชาเดิม คือให้ กทม.บริหารจัดการประตูระบายน้ำของ กทม.ตามความเหมาะสมและไม่ให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน” ผู้ว่าฯ กทม.กล่าว

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 3 พฤศจิกายน 2554 13:00 น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...word=%a1%b7%c1

    “น้องน้ำ” จ่อเข้าบางบอน-บางขุนเทียน หลังทำเพชรเกษมท่วมหนัก

    น้ำท่วมเพชรเกษมขยายวงกว้าง พบมวลน้ำไหลลงคลองภาษีเจริญฝั่งเหนือแล้ว มุ่งหน้าเข้าเขตบางบอนและบางขุนเทียน เตือน ปชช.ริมคลองเฝ้าระวังระดับน้ำ “อ้อมน้อย-ไร่ขิง” ท่วมเต็มพื้นที่ หมู่บ้านเศรษฐกิจท่วมสูงกว่า 1 เมตร เร่งอพยพ ปชช. ผู้ว่าฯ กทม.ประกาศเขตบางแคเป็นพื้นที่อพยพ ขณะที่บ้านบางแคอพยพคนแก่หมดแล้ว

    วันนี้ (3 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมบนถนนเพชรเกษมว่า มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผุดขึ้นมาตามท่อระบายน้ำ และไหลมาจากคลองต่างๆ รวมถึงคลองยายเทียบ ซึ่งเป็นคลองย่อยรับน้ำมาจากคลองสาขา และคลองทวีวัฒนา ทำให้วันนี้น้ำขยายวงกว้างมากขึ้น ท่วมถึงซอยเพชรเกษม 31 แขวงบางหว้าแล้ว เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องปิดการจราจร ตั้งแต่ซอยเพชรเกษม 31 ถึงกระทุ่มแบน

    ทั้งนี้ จุดที่น้ำท่วมสูงสุดอยู่ที่บริเวณถนนมุ่งหน้าหนองแขม ตัดพุทธมณฑลสาย 4 น้ำสูง 0.80-1 เมตร รวมถึงพื้นที่ ต.อ้อมน้อย และ ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม ขณะนี้ถูกน้ำท่วมเต็มพื้นที่แล้วเช่นกัน รถเล็กไม่สามารถผ่านได้ ส่วนถนนสุขาภิบาล 1 ขณะนี้น้ำท่วมถึงถนนกัลปพฤกษ์ รถเล็กผ่านไม่ได้เช่นกัน

    ขณะที่ซอยต่างๆ ของถนนเพชรเกษม ขณะนี้น้ำท่วมสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะหมู่บ้านเศรษฐกิจ ประชาชนยังอพยพอย่างต่อเนื่อง โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งจุดอำนวยความสะดวกแก่ชาวบ้าน ที่ต้องการอพยพคนออกจากพื้นที่ และส่วนใหญ่ไม่สามารถเดินทางไปทำงานได้

    ทั้งนี้ น้ำท่วมขังบริเวณหมู่บ้านเศรษฐกิจ เขตบางแค มีระดับไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร การสัญจรเข้าออกหมู่บ้านต้องใช้เรือ หรือรถขนาดใหญ่เท่านั้น เพราะว่ารถเล็กไม่สามารถผ่านไปยังบริเวณด้านใน เนื่องจากว่าบางจุดระดับสูงกว่า 1 เมตร ซึ่งพื้นที่นี้ได้รับผลกระทบจากน้ำใน จ.นครปฐม ไหล่บ่ามายังบางแค ส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว

    ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า มวลน้ำย่านถนนเพชรเกษมได้ไหลลงคลองภาษีเจริญฝั่งเหนือแล้ว และเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีน้ำเอ่อล้นท่วมบ้านเรือนประชาชนริมฝั่งคลอง ขอให้ประชาชนเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หากน้ำเอ่อมากขึ้น น้ำมวลนี้จะไหลเข้าเขตบางบอน และเขตบางขุนเทียน จึงขอให้ประชาชนเลี่ยงเส้นทางถนนเพชรเกษมไปใช้ถนนพระราม 2

    ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ลงนามให้เขตบางแคเป็นพื้นที่อพยพทั้งเขต เนื่องจากปริมาณน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และในขณะเดียวกันก็ได้แจ้งเตือนเฝ้าระวังเขตจตุจักร ให้ขนย้ายสิ่งของและทรัพย์สินมีค่า และให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่จะก่อให้เกิดอันตรายในชีวิตและทรัพย์สิน เคลื่อนย้ายไปยังศูนย์พักพิงที่ กทม.จัดเตรียมไว้ โดยให้เคลื่อนย้ายเด็ก สตรีมีครรภ์ คนชรา ผู้ป่วยเป็นอันดับแรก

    ทั้งนี้ กทม.ได้ประกาศอพยพไปแล้วทั้งสิ้น 8 เขต ได้แก่ ดอนเมือง บางพลัด สายไหม หลักสี่ ทวีวัฒนา ตลิ่งชัน บางเขน บางแค ส่วนพื้นที่ที่ประกาศให้อพยพบางพื้นที่ มี 4 เขต ได้แก่ ลาดพร้าว จตุจักร คลองสามวา และหนองแขม ดังนั้น พื้นที่มีปัญหาน้ำท่วมในขณะนี้รวมทั้งสิ้น 12 เขต นอกจากนี้ยังประกาศให้เขตภาษีเจริญ บางบอน บางกอกน้อย จตุจักร เป็นพื้นที่เฝ้าระวังด้วย

    สำหรับความคืบหน้าการเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุจากบ้านพักคนชราบางแค ไปยังศูนย์พักพิงวัดหนองหอย จ.ราชบุรี ในวันที่ 3 นี้ เป็นไปอย่างเรียบร้อย โดยนายพฤฒินันท์ เหลืองไพบูลย์ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค ได้ประสานกับสายด่วน สำนักนายกรัฐมนตรี และ ขสมก.ในการเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุ โดยรถปรับอากาศ (ยูโรทู) จำนวน 1 คัน

    นายพฤฒินันท์กล่าวว่า การเคลื่อนย้ายในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากผู้สูงอายุเป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังมีการวางกระสอบทรายทั่วบริเวณ ที่คาดว่าน้ำจะเข้ามา โดยเฉพาะบริเวณที่ติดกับคลองราชมนตรี และหากสถานการณ์บนถนนเพชรเกษมดีขึ้น และกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ก็จะเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุกลับมาบ้านบางแคเช่นเดิม

    ล่าสุด ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเริ่มมีน้ำไหลเข้าท่วมบ้านบางแคแล้ว เจ้าหน้าที่ได้เร่งวางกระสอบทรายและนำเครื่องสูบน้ำมาสูบน้ำออกจากพื้นที่







    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 3 พฤศจิกายน 2554 17:23 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1

    กองทัพสั่งเพิ่มรถทหาร 5 เส้นทางรับ-ส่งชาวบ้าน - ขสมก.ปรับสภาพรถลุยน้ำ

    ผบ.ทบ.สั่งเพิ่มรถทหาร 5 เส้นทางรับ-ส่งประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมสูง ทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออกของ กทม.พร้อมให้บริการครอบคลุมถึงนนทบุรี และปทุมฯ ขณะที่ ขสมก.ปรับสภาพรถเสริมแหนบให้ลุยน้ำได้ 1.10 เมตร

    วันนี้ (3 พ.ย.) พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก เปิดเผยว่า เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ขยายวงกว้างขึ้น ทำให้ประชาชนไม่สามารถใช้ยานพาหนะในการเดินทางได้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) จึงได้สั่งการให้ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย ทบ.จัดพาหนะออกบริการรับ-ส่งประชาชนเพิ่มเติมใน 5 เส้นทาง อาทิ ในพื้นที่ กทม.ฝั่งตะวันออก 3 เส้นทาง คือ เส้นทางที่ 1 ถนนวิภาวดีรังสิต ตั้งแต่อนุสรณ์สถานถึงสี่แยกรัชโยธิน เส้นทางที่ 2 ถนนพหลโยธิน ตั้งแต่สนามกีฬาธูปะเตมีย์ ถึงเมเจอร์รัชโยธิน โดยทั้งสองเส้นทางจะใช้รถบรรทุก 20 คัน และเรือ 10 ลำ เส้นทางที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ ตั้งแต่ทางขึ้นทางด่วนแจ้งวัฒนะ ผ่านถนนรามอินทราถึงแยกวัชรพล

    สำหรับพื้นที่ กทม.ฝั่งตะวันตก จะให้บริการเพิ่มเติมอีก 2 เส้นทาง คือ เส้นทางที่ 1 ถนนเพชรเกษมตลอดสาย ซึ่งจะเป็นการบริการแบบเรือต่อรถ หรือรถต่อเรือแล้วแต่สภาพพื้นที่ และเส้นทางที่ 2 ถนนกาญจนาภิเษก จากแยกสุพรรณบุรีถึงโรงพยาบาลบางใหญ่ นอกจากนั้น ทบ.ยังส่งเรือหางยาวขนาดใหญ่จำนวน 15 ลำออกบริการประชาชนในพื้นที่คลองทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา เพราะเป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมสูงด้วย

    สรุปตารางเวลาและพื้นที่ที่รถเมล์ของทหารวิ่งรับส่งแทนรถเมล์ใน กทม. จ.นนทบุรี และ ปทุมธานี ดังนี้

    กทม.ฝั่งเหนือ
    โซน 1 ดอนเมือง-หลักสี่-บางเขน เวลา 07.00-22.00 น.
    โซน 2 ลาดกระบัง-หนองจอก-มีนบุรี 06.00-10.00 น.และ 15.30-19.00 น.
    โซน 3 พุทธมณฑล-นครปฐม 07.00-22.00 น.
    โซน 4 ธัญบุรี-ปทุมธานี 08.00-18.00 น.

    กทม.ฝั่งตะวันออก
    เส้นทางที่ 1 ถนนวิภาวดีรังสิต-อนุสรณ์สถาน-สี่แยกรัชโยธิน
    เส้นทางที่ 2 สนามธูปะเตมีย์-เมเจอร์รัชโยธิน
    เส้นทางที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ (ใต้ทางด่วน)-รามอินทรา-วัชรพล
    กทม.ฝั่งตะวันตก รถต่อเรือ เรือต่อรถ
    เส้นทางที่ 1 ถนนเพชรเกษมตลอดสาย
    เส้นทางที่ 2 ถนนกาญจนาภิเษก ตั้งแต่แยกสุพรรณบุรีถึงโรงพยาบาลบางใหญ่

    ด้าน นายโอภาส เพชรมุณี ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กล่าวว่า ขสมก.ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ทำหน้าที่ขนส่งประชาชนจากพื้นที่น้ำท่วมไปยังศูนย์อพยพและตามชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่รถเล็กไม่สามารถเข้าถึงได้ โดยขณะนี้ ขสมก.ได้ปรับปรุงสภาพรถจำนวน 4-5 คัน ด้วยการเสริมแหนบเพื่อให้รถสามารถลุยน้ำที่ท่วมสูงถึง 1.10 เมตรได้ เพื่อรองรับการบริการประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย



    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 3 พฤศจิกายน 2554 18:23 น.
    http://www.manager.co.th/Politics/Vi...word=%a1%b7%c1

    ขสมก.จัดรถโดยสารเฉพาะกิจเพิ่มอีก 3 เส้นทาง

    องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้จัดรถโดยสารเฉพาะกิจให้บริการเพิ่มอีก 3 เส้นทาง ดังนี้ 1. เส้นทางคู้ซ้าย ตลาดมีนบุรี-ถ.มิตรไมตรี-หนองจอก รายละเอียดเส้นทาง ตลาดมีนบุรี-ถ.ประชาร่วมใจ-ถ.มิตรไมตรี สน.ประชาสำราญ-สุดเส้นทาง ม.เทียนทอง 2.เส้นทางคู้ขวา ตลาดมีนบุรี-ถ.ประชาราษฎร์อุทิศ-หนองจอก รายละเอียดเส้นทาง เริ่มจากตลาดมีนบุรี-แยกโค้งไฟฟ้า-ถ.ราษฎร์อุทิศ-แยกซ้ายหนองจอก- ม.ฉัตรหลวงวิลล่า-เขตหนองจอก และ 3.เส้นทางมีนบุรี-สุวินทวงศ์-หนองจอก รายละเอียดเส้นทาง เริ่มจากตลาดมีนบุรี-แยกโค้งไฟฟ้า-ถ.สุวินทวงศ์-บริษัท CPF-ม.เทคโนโลยีมหานคร-สุดเส้นทางที่เขตหนองจอก
    ทั้งนี้ รถจะวิ่งให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00 น.-21.00 น. ในช่วงเวลาเร่งด่วน โดยปล่อยรถทุก 30 นาที และนอกเวลาเร่งด่วนจะปล่อยรถทุก 1 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 3 พฤศจิกายน 2554 18:26 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000140451

    คาดคืนนี้ น้ำถึงห้าแยกลาดพร้าว-ฝั่งธนฯอีก 2-3 วันท่วมพระราม 2

    รศ.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการ ศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร กล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ระบุถึงสภานการณ์น้ำท่วมว่า ทางด้านตะวันตกหลังจากน้ำผ่านถนนเพชรเกษม เชื่อว่าอีก 2-3 วัน น้ำจะเข้าท่วมถนนพระราม 2 ซึ่งจะกระทบการจราจรมากขึ้น สำหรับฝั่งตะวันออก หลังจากน้ำมาตามถนนวิภาวดี และถึงแยกรัชโยธินแล้ว คาดว่าคืนนี้ น้ำจะถึงห้าแยกลาดพร้าว หลังจากนั้นจะมุ่งหน้าไปที่ดินแดง

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 3 พฤศจิกายน 2554 19:56 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000140485


    การบินไทยบินปกติพร้อมปรับเส้นทาง-ช่วยผู้ประสบอุทกภัย

    การบินไทยเปิดบินปกติ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พร้อมปรับเปลี่ยนเที่ยวบินบางเส้นทางให้สอดคล้องกับปริมาณการเดินทาง และช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้โดยสารจากกรณีวิกฤติอุทกภัย

    นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากกรณีวิกฤติอุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานครและหลายจังหวัดในประเทศนั้น การบินไทยยังทำการบินตามปกติทุกเส้นทางทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้โดยสาร และจัดทำแผนปรับเปลี่ยนเที่ยวบินบางเส้นทางให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการในการเดินทางระหว่างวันที่ 4 – 30 พฤศจิกายน 2554 อีกทั้งจัดทำมาตรการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

    สำหรับกรณีอุทกภัยในขณะนี้ ส่งผลให้มีผู้โดยสารเดินทางโดยเครื่องบินมากขึ้นโดยเฉพาะเส้นทางภายในประเทศ ทำให้มีอัตราการส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร ( Cabin Factor ) เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผู้โดยสารไม่สามารถเดินทางสัญจรทางบกได้ตามปกติ และที่สำคัญทุกจังหวัดที่เป็นจุดบินของการบินไทยและเป็นจังหวัดที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมา ท่องเที่ยวไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัย ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี สุราษฎร์ธานี สมุย ภูเก็ต กระบี่ และ หาดใหญ่ จึงทำให้นักท่องเที่ยว ชาวไทยออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปท่องเที่ยวยังต่างจังหวัดโดยเครื่องบิน และนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากยุโรปที่เดินทางโดยเที่ยวบินระหว่างประเทศเข้ามายังประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้นและสามารถเดินทางมาต่อเครื่องบินภายในประเทศ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปท่องเที่ยวยังจังหวัดดังกล่าวได้อย่างต่อเนื่อง การบินไทยจึงนำเครื่องบินขนาดใหญ่ขึ้นมาให้บริการเพื่อรองรับปริมาณการเดินทางของผู้โดยสารในช่วงนี้ อีกทั้ง เที่ยวบินตรงของการบินไทยจากต่างประเทศไปยังจังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นจังหวัดท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาตินั้น การบินไทยยังทำการบินตามปกติทุกเที่ยวบิน ได้แก่ เที่ยวบิน โคเปนเฮเกน – ภูเก็ต ฮ่องกง – ภูเก็ต โซล – ภูเก็ต และ เพิร์ธ – ภูเก็ต ส่วนผู้โดยสารในเส้นทางภูมิภาค อาทิ จีน ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ มีอัตราส่วนการบรรทุกลดลงเล็กน้อยเฉลี่ยร้อยละ 8 – 10 จากเดือนกันยายน 2554 ทั้งที่เดือนตุลาคมเป็นเดือนที่เริ่มต้นการเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว

    นอกจากนี้ การบินไทยยังมีมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้โดยสารที่ไม่สามารถเดินทางได้ โดยได้ออกนโยบายเพื่อผ่อนปรนในเรื่องบัตรโดยสารทุกประเภท ที่ออกในประเทศไทยผ่านสำนักงานขายของการบินไทย และตัวแทนจำหน่าย รวมทั้งที่ออกบัตรโดยสารผ่านทางเว็บไซต์ www.thaiairways.com ก่อนหรือภายในวันที่ 28 ตุลาคม 2554 ซึ่งมีกำหนดการเดินทางตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2554 สามารถเปลี่ยนแปลงการเดินทางได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้ ผู้โดยสารสามารถติดต่อแจ้งความประสงค์ขอเปลี่ยนแปลงการเดินทางได้ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 เพื่อระบุวันเดินทางใหม่ต่อไป

    จากกรณีเกิดน้ำท่วมในบางพื้นที่ของกรุงเทพมหานครจนทำให้เส้นทางที่เดินทางไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับผลกระทบ การบินไทยจึงได้เพิ่มจำนวนพนักงานและอุปกรณ์พร้อมให้บริการเช็คอิน เพื่อรองรับการบริการในช่วงวิกฤติอุทกภัย ณ แอร์พอร์ต เรล ลิงค์ สถานีมักกะสัน มากขึ้นจากเดิมที่ได้เปิดให้บริการอยู่แล้ว ซึ่งจะรับเช็คอินเฉพาะผู้โดยสารที่เดินทางโดยเที่ยวบินของการบินไทยและเดินทางไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ซึ่งผู้โดยสารสามารถนำกระเป๋าและสัมภาระมาทำการเช็คอินได้ที่เคาน์เตอร์เช็คอินการบินไทย ณ บริเวณ ชั้น3 อาคารแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ สถานีมักกะสัน ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เคาน์เตอร์เช็คอินเปิดทำการระหว่างเวลา 07.00 - 21.00 น. ของทุกวัน ทำการเช็คอินสำหรับเที่ยวบินที่จะออกเดินทางจากสุวรรณภูมิระหว่างเวลา 10.00 – 01.20 น. ซึ่งผู้โดยสารที่จะเดินทางต้องมาทำการเช็คอินด้วยตนเองก่อนเวลาเครื่องออก 3 ชั่วโมงเพื่อรับบัตรที่นั่งและบัตรสัมภาระ สำหรับผู้โดยสารทีต้องการเดินทางไปเมืองลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา ให้ทำการเช็คอินได้ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเท่านั้น

    ทั้งนี้ ผู้โดยสารสามารถสอบถามรายละเอียดและตรวจสอบตารางการบินได้ที่ THAI Contact Center 02-356-1111 เว็บไซต์www.thaiairways.com สำนักงานขายของการบินไทยทั่วโลก และ ตัวแทนจำหน่ายของการบินไทยทุกแห่ง

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 3 พฤศจิกายน 2554 20:06 น.
    http://www.manager.co.th/StockMarket...=9540000140491

    รถไฟใต้ดิน ปิดประตูสถานีจตุจักร แต่ยังวิ่งรถตามปกติ

    นายรณชิต แย้มสอาด รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มขยายวงกว้างเข้าสู้พื้นที่กรุงเทพฯ และเริ่มเข้าสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เอ็มอาร์ที และจากการประเมินสถานการณ์คาดว่าสถานีรัชดาภิเษกจะเป็นสถานีแรกที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทั้งจากน้ำด้านถนนพหลโยธิน และไหลมาตามคลองน้ำแก้วกับคลองบางซื่อ จึงสั่งการให้ปิดลิฟท์สำหรับผู้พิการ ที่สถานีรัชดาภิเษก เพื่อความปลอดภัย ส่วนทางขึ้น-ลงยังเปิดให้บริการตามปกติ แต่จะต้องป้องกันที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมประเมินสถานการณ์น้ำตลอดเวลา ก่อนจะตัดสินใจว่าจะปิดสถานีหรือปิดการให้บริการ
    ล่าสุด รถไฟใต้ดิน สถานีจตุจักร ปิดประตู 1,3,4 และทางลาดลิฟท์คนพิการ เพื่อป้องกันน้ำท่วม แต่ยังเปิดให้บริการตามปกติ
    คาดคืนนี้ น้ำถึงห้าแยกลาดพร้าว-ฝั่งธนฯอีก 2-3 ท่วมพระราม 2
    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 3 พฤศจิกายน 2554 20:26 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000140496

    รัชโยธินน้ำท่วมสูง 30 ซ.ม. ซ.เสือใหญ่-วังหิน-ม.เสนาฯ ท่วม 40-50 ซ.ม.

    ซอยรัชดาภิเษก 36 หรือเสือใหญ่อุทิศ น้ำท่วมสูง 40 ซ.ม.
    ชุมชนริมคลองลาดพร้าว หลังโลตัสวังหิน ระดับน้ำท่วมขังสูงกว่า 50 ซ.ม.
    ซอยเสนามุ่งหน้าพหลโยธิน น้ำท่วมสูง 50 ซ.ม.
    หมู่บ้านเสนานิเวศน์ โครงการ 1 ระดับน้ำท่วมขังสูงกว่า 50 เซนติเมตร บางพื้นสูงเกือบ 1 เมตร
    แยกวังหิน มีน้ำท่วมขังกว่า 50 ซ.ม.
    ปิดการจราจรแยกรัชโยธินมุ่งหน้าม.เกษตรฯ น้ำท่วมสูง 30 ซ.ม.

    รถไฟใต้ดิน สถานีจตุจักร ปิดประตู 1,3,4 และทางลาดลิฟท์คนพิการ กันน้ำท่วม แต่ยังเปิดให้บริการตามปกติ
    รฟท.หยุดวิ่งรถไฟชานเมืองกรุงเทพ-หลักสี่ หลังน้ำเพิ่มสูง ขณะที่รถไฟสายใต้และสายเหนือเปิดบริการตามปกติ
    บขส. หมอชิต 2 ยังเปิดให้บริการตามปกติ เพราะอยู่สูงกว่าพื้นที่โดยรอบประมาณ 1 เมตร
    ขสมก.เพิ่มบริการรถอีก 3 เส้นทาง 1. เส้นทางคู้ซ้ายจากตลาดมีนบุรี-ม.เทียนทอง 2. เส้นทางคู้ขวาตลาดมีนบุรี-เขตหนองจอก 3. มีนบุรี-หนองจอก

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 3 พฤศจิกายน 2554 20:45 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000140504

    เร่งวาง “บิ๊กแบ็ก” ยาว 6 กม. สกัดน้ำเหนือไหลเข้า กทม.

    เจ้าหน้าที่ทหารและกรมป่าไม้ ระดมกำลังวางบิ๊กแบ็กที่ขนส่งโดยใช้รถไฟจำนวน 3 ขบวน ซึ่งแต่ละขบวนบรรทุกได้ 400 กว่าถุง อย่างต่อเนื่องไม่มีหยุดพัก จากประตูน้ำจุฬาลงกรณ์-สถานีรถไฟดอนเมือง ยาว 6 กิโลเมตร เพื่อป้องกันน้ำเหนือที่จะไหลเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งนี้ แนวกันดังกล่าวจะช่วยให้น้ำไหลออกไปทางทิศตะวันตกและตะวันออก โดยน้ำที่ไหลไปทิศตะวันตก จะไหลเข้าพื้นที่ อ.บางบัวทอง เพื่อไหลลงแม่น้ำท่าจีนต่อไป และน้ำที่ไหลไปทิศตะวันออก ไหลไปทางคลอง 13 คลองด่าน เพื่อสูบลงอ่าวไทยต่อไป













    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 3 พฤศจิกายน 2554 21:47 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000140512

    'ศปภ."รับคุมยากน้ำผุดจากท่อกทม.50เขตจ่อจมคลองสามวาวุ่น2นิคมฯเสี่ยงท่วม

    “ศปภ.ยอมรับน้ำจากท่อระบายน้ำ อาจท่วม กทม.50เขต รับกันถ้วนหน้า! “สุขุมพันธุ์”สั่ง“บางแค” อพยพ จับตาเขตดินแดงเสี่ยงน้ำท่วม เผยปัญหา“คลองสามวา”ยังไม่จบ แม้ซ่อมหูช้างประตูระบายน้ำเสร็จ จ่อท่วมนิคมฯบางชัน-ลาดกระบัง ด้าน “ปฏิบัติการบิ๊กแบ็ค”ช่วยกทม.ชั้นใน ทำฝั่งตะวันตกอ่วมต่อ

    วานนี้ (3 พ.ย.) สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะพื้นที่ที่ยังมีปัญหาระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐ ที่บริเวณประตูระบายน้ำคลองสามวา กทม.ฝั่งตะวันออก เจ้าหน้าที่ตำรวจการกองบังคับการตำรวจนครบาล 3 ประมาณกว่า 100 นาย พร้อมกับเจ้าหน้าที่ทหารจากกองทัพบก ได้ลงเก็บขยะ และผักตบชวา ภายในคลองสามวา เนื่องจากมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และไปขวางทางไหลของน้ำ จากนั้นก็จะนำสิ่งของลงเรือไปบริจาคให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ริมคลองสามวาที่ได้ผลกระทบ

    ส่วนที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ตัวแทนเจรจากับชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อลดการเปิดประตูระบายน้ำจาก 1 เมตร เหลือ 80 ซ.ม. โดยเจ้าหน้าที่ยังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจากับประชาชน ซึ่งขณะนี้ประตูระบายน้ำก็ยังคงเปิดอยู่ในระดับ 1 เมตร ส่วนระดับน้ำเหลือบริเวณประตูระบายน้ำในขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 2 เมตร ขณะที่บริเวณด้านล่างประตูระบายน้ำอยู่ที่ 1.25 ซ.ม. ซึ่งภายหลังจากมีการซ่อมแซมส่วนที่เป็นหูช้างของประตูระบายน้ำเสร็จสิ้น บ้านเรือนของประชาชนที่อยู่บริเวณเหนือประตูระบายน้ำระดับน้ำนั้นได้เพิ่มขึ้น 10 - 20 ซ.ม.

    **คลองหลอแหลข้างนิคมฯบางชันน้ำสูง

    ส่วนพื้นที่ต่อเนื่องจากคลองสามวา ที่บริเวณคลองหลอแหล ซึ่งอยู่ติดกับนิคมอุตสาหกรรมบางชัน ระดับน้ำในคลองมีปริมาณมากขึ้น แต่ยังไม่ถึงกับล้นตลิ่ง แต่การเปิดประตูระบายน้ำคลองสามวา ก็สร้างความวิตกกังวลให้กับประชาชนบริเวณนี้

    ทำให้ระดับน้ำภายในอยู่ที่ 88 เซนติเมตร ภายนอกอยู่ที่ 94 เซนติเมตร ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้มีการเปิดประตูระบายน้ำอยู่ที่ 2.10 เมตร พร้อมกับเดินเครื่องสูบน้ำ เพื่อเร่งระบายน้ำออกไปสู่คลองแสนแสบให้โดยเร็วที่สุด ขณะที่ชุมชนเกาะจวนเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาร่วมป้องกันน้ำล้นตลิ่ง

    มีรายงานว่า ชาวบ้านตำบลลำลูกกา ลำไทร บึงทองหลาง กว่า100 คนชุมนุมประท้วงไม่ให้กรมชลประทานปิดประตูระบายน้ำคลองเก้า หกวาสายล่าง ตามที่ศปภ.สั่ง โดยเห็นว่าหากปิดจะท่วมบ้านประชาชนทั้งหมดรวมทั้งนาและบ่อปลาดุกซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งใหญ่ของประเทศ ทั้งนี้ มีตำรวจมารักษาความปลอดภัยประมาณ 100 นาย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรอรองผู้ว่าฯปทุมธานีมาเจรจา

    ทั้งนี้ หลังการเจรจากับแกนนำประชาชนคลอง 9- 10 คลองหกวาสายล่าง ได้ข้อตกลงประชาชนไม่ให้ปิดประตูระบายน้ำคลอง 9 คลอง 6 วา สายล่าง โดยให้กรมชลประทานไปเร่งระดมติดเครื่องตั้งเครื่องสูบน้ำให้ครบ 27 เครื่อง ภายในวันที่ 7 พ.ย.หากระดับน้ำที่บริเวณคลอง 9 -10 ลดลงค่อยเจรจาอีกครั้ง

    **น้ำฝั่งเหนือ-ตะวันตก กทม.ยังอ่วม

    สำหรับสถานการณ์ด้านเหนือของกทม. มวลน้ำตลอดถ.พลาโยธิน ผ่านแยกเกษตร รัชโยธิน เข้าแยกลาดพร้าวแล้ว บางพื้นที่มีน้ำท่วมขังอยู่ที่ระดับ40ซม.- 1 เมตร บริเวณถนนรัชดาภิเษก ช่วงหน้า scb สำนักงานใหญ่ 3 ช่องทางซ้าย ทั้งขาเข้าและขาออก มีน้ำท่วมขังสูง

    ขณะที่ถนนงามวงศ์วาน ช่วงแยกแคราย ถึงแยกพงษ์เพชร รถเคลื่อนตัวได้ดี ไม่มีน้ำท่วมขัง ส่วนตั้งแต่แยกพงษ์เพชร ถึงแยกเกษตร ยังคงปิดการจราจร เนื่องจากมีน้ำท่วมขังสูง

    ส่วนสถานการณ์ฝั่งตะวันตก ล่าสุดระดับท่วมที่ ศาลายา สูงประมาณ 1 เมตร

    **“บิ๊กแบ็ค”กทม.ชั้นในทำฝั่งตะวันตกอ่วม

    รายงานข่าวจาก ศปภ. แจ้งว่า ในการทำคันกั้นน้ำ เพื่อป้องกัน น้ำเหนือที่จะไหลเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพฯ โดยใช้ “บิ๊กแบ็ค” ทำแนวกันจากประตูน้ำจุฬาลงกรณ์-สถานีรถไฟดอนเมือง ยาว 6 กิโลเมตรนั้น จะทำให้น้ำไหลออกไปทางทิศตะวันตกและตะวันออก โดยทิศตะวันตก ลงไปยังคลองพระยาบันลือ ส่วนทิศตะวันออก ลงไปยังคลองระพีพัฒน์แยกตก โดยน้ำที่ไหลไปทิศตะวันตก จะไหลเข้าพื้นที่ อ.บางบัวทอง เพื่อไหลลงแม่น้ำท่าจีนต่อไป และน้ำที่ไหลไปทิศตะวันออก ไหลไปทางคลอง 13 คลองด่าน เพื่อสูบลงอ่าวไทยต่อไป

    ทั้งนี้การทำแนวบิ๊กแบ็คจะเสร็จในวันที่4 พ.ย. และคาดว่า จะสามารถเร่งสูบน้ำเพื่อระบายออกจากพื้นที่รังสิต ดอนเมือง ได้ภายใน 7 วัน ซึ่งวิธีนี้เพื่อเป็นการป้องกันกรุงเทพฯชั้นใน แต่ในส่วนของพื้นที่ตะวันตก จากเดิมมีการคาดการว่า น้ำจะท่วมขังนานกว่า 1 เดือน แต่ก็จะทำให้น้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตก ท่วมนานขึ้นจากเดิมอีกกว่า 2 สัปดาห์ เพราะไม่สามารถระบายน้ำในส่วนนี้ลงแม่น้ำท่าจีนได้ เพราะแม่น้ำท่าจีนเอ่อล้นอยู่แล้ว จนมีผลทำให้น้ำที่เอ่อล้น เข้าท่วมในพื้นที่พุทธมณฑล บางแค ทวีวัฒนา ในขณะนี้ เพราะไม่สามารถระบายน้ำออกทะเลได้

    ที่ประชุมศปภ.ยังมีการประเมินสถานการณ์น้ำ หลังจากที่น้ำทะเลหนุนขึ้นสูงสุด ในวันที่ 31 ต.ค. ที่ผ่านมา ว่าจากวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำทะเลได้ลดลงเรื่อยๆ ซึ่งทางศปภ.จะใช้เวลาในช่วงนี้ เร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลให้ได้มากที่สุด เพราะน้ำทะเลจะหนุนอีกครั้งในวันลอยกระทง และคาดว่าในวันที่ 4-5 พ.ย.น้ำทะเลจะหนุนต่ำกว่า 2 เมตรจึงต้องเร่งระบาย

    **ประชารับน้ำจากท่ออาจท่วม50เขต

    พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผอ.ศปภ. กล่าวถึง สถานการณ์น้ำในพื้นที่ 50 เขต ของ กทม.ว่า อาจมีเอ่อท่วมขึ้นมาจากท่อระบายน้ำบ้างพร้อมยอมรับว่า การควบคุมน้ำที่เอ่อมาจากท่อระบายน้ำนั้น ทำได้อยาก แต่จะพยายามอย่างเต็มที่ ส่วนการทำงานร่วมกับทางกรุงเทพมหานคร นั้น ไม่มีปัญหาอะไร

    **ผู้ว่ากทม.ลงนามสั่ง“บางแค”อพยพ

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) แถลงช่วงเช้าว่า ขณะนี้ในคลองสอง คลองทวีวัฒนา ยังคงตัว คลองมหาสวัสดิ์น้ำขึ้นสูงมาก สำหรับคลองรังสิตมีการผันแปรเดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลง ซึ่งยังหาสาเหตุไม่ได้ ส่วนปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ ระดับน้ำยังคงเดิมหรือเพิ่มเล็กน้อย ยกเว้นเขตบางพลัดลดลง 5 ซม เขตมีนบุรี เพิ่มขึ้น 5-20 ซม. คลองสามวา เพิ่มขึ้น 5 ซม. คลองรังสิต 5 ซม. หนองจอก เพิ่มขึ้น 5 บางแคเพิ่ม 20 ซม พื้นที่น่าห่วงฝั่งตะวันตก เพราะว่าน้ำได้เข้าเขตหนองเขมและภาษีเจริญ ด้วยเหตุนี้ กทม.จึงได้มีประกาศอพยพและแจ้งเตือนเฝ้าระวังในหลายพื้นที่

    ตนได้ลงนามให้เขตบางแค เป็นพื้นที่อพยพทั้งเขต เนื่องจากปริมาณน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมได้แจ้งเตือนเฝ้าระวัง เขตจตุจักร ให้ขนย้ายสิ่งของและทรัพย์สินมีค่า และเคลื่อนย้ายไปยังศูนย์พักพิง ที่ กทม.จัดเตรียมไว้ โดยให้เคลื่อนย้าย เด็ก สตรีมีภรรค์ คนชรา ผู้ป่วยเป็นอันดับแรก

    รศ.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการ ศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร กล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ระบุถึงสถานการณ์น้ำท่วมว่า ทางด้านตะวันตกหลังจากน้ำผ่านถนนเพชรเกษม เชื่อว่าอีก 2-3 วัน น้ำจะเข้าท่วมถนนพระราม 2 ซึ่งจะกระทบการจราจรมากขึ้น สำหรับฝั่งตะวันออก หลังจากน้ำมาตามถนนวิภาวดี และถึงแยกรัชโยธินแล้ว คาดว่าคืนนี้ น้ำจะถึงห้าแยกลาดพร้าว หลังจากนั้นจะมุ่งหน้าไปที่ดินแดง

    ** ซ่อมปีกคลองสามวาเสร็จแล้ว

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า การเปิดประตูระบายน้ำคลองสามวา 1 เมตร และปีกทั้งสองข้างชำรุด ทำให้น้ำไหล เข้ามาในพื้นที่เป็นจำนวนมาก แต่ระดับนอกประตู คลองสามวา ก็ยังสูงขึ้นถึง 6 ซม. ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่ประตูระบายน้ำคลองสามวา ความเดือดร้อนของประชาชนไม่ได้อยู่ที่ กทม.เปิดประตูคลองสามวาที่ระดับ 75-80 ซม ความหมายคือ น้ำมาจากที่อื่น ซึ่งก่อนหน้านี้ กทม.ได้ขอให้มีการลดระดับการเปิดประตูระบายน้ำ คลอง 8 คลอง 9 และคลอง10 ซึ่งล่าสุด ศปภ.ก็ได้ดำเนินการปิดประตูทั้ง 3 คลองแล้ว

    “ดีใจแทนพี่น้องคลองสามวา มีนบุรี และอื่นๆ ในกทม.ฝั่งตะวันออก ปราบใดที่คลอง 8ถึง 10 เปิดปริมาณมากจะเกิดปัญหา น้ำท่วมถนนหทัยราษฎร์ หากไม่ปิดทั้ง 3 คลอง พื้นที่ในคันกั้นน้ำทั้งหมดจะไล่ลงมาจนถึงนิคมอุตสาหกรรมบางชัน นอกจากนี้ความร่วมมือของ กทม.กับ ศปภ. ในการวางบิ๊กแบก ตั้งแต่หลัก 6 โรโคลโรล จนถึงจันทรุเบกษา ระยะทางกว่า 5 กิโลเมตรเมื่อทำสำเร็จก็น่าช่วยบรรเทาน้ำเข้าถนนพหลโยธินได้ และนายกฯ ยังยืนยันคำบัญชาเดิม คือให้ กทม.บริหารจัดการประตูระบายน้ำของ กทม.ตามความเหมาะสมและไม่ได้เกิดความเดือดประชาชน” ผู้ว่าฯ กทม. กล่าว

    ***ฮือต้านปิดประตูระบายน้ำคลอง9

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประชาชนกว่า100 คน ในตำบลลำลูกกา ลำไทร บึงทองหลาง ชุมนุมประท้วงไม่ให้กรมชลประทานปิดประตูระบายน้ำคลองเก้า คลองหกวาสายล่าง ตามที่ศปภ.สั่ง โดยเห็นว่าหากปิดจะท่วมบ้านประชาชนทั้งหมดรวมทั้งนาและบ่อปลาดุกซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งใหญ่ของประเทศ ทั้งนี้ มีตำรวจมารักษาความปลอดภัยประมาณ 100 นาย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรอรองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีมาเจรจา

    ทั้งนี้ หลังการเจรจากับแกนนำประชาชนคลอง 9- 10 คลองหกวาสายล่าง ได้ข้อตกลงประชาชนไม่ให้ปิดประตูระบายน้ำคลองเก้า คลองหกวา สายล่าง โดยให้กรมชลประทานไปเร่งระดมติดเครื่องตั้งเครื่องสูบน้ำให้ครบ 27 เครื่อง ภายในวันที่ 7 พ.ย.หากระดับน้ำที่บริเวณคลอง 9 -10 ลดลงค่อยเจรจาอีกครั้ง

    **จับตาผลบิ๊กแบ็คช่วยกทม.ฝั่งเหนือ

    สำหรับการประเมินสถานการณ์น้ำที่มาจากทางเหนือของกทม.จะขยายวงกว้างไปถึงจุดไหน นายกฯ กล่าวว่า ในส่วนของน้ำทางเหนือน่าจะลงมาน้อยลง เพราะว่าเราเองก็มีการหน่วงน้ำไว้ วโดยได้มีการสั่งการ และประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำทั้งหมด รวมถึงติดตามในส่วนของบิ๊กแบ็คที่กั้นไว้ที่รังสิต คาดว่าจะสามารถชะลอน้ำที่จะเข้ามาในดอนเมือง และสายไหม

    ดังนั้น ขณะนี้ฝั่งตะวันออกต้องแก้ 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือตรงประตูระบายน้ำตั้งแต่คลองสามวา ยาวไปถึงคลองหกวาสายล่าง และกั้นโดยบิ๊กแบ็ค ตลอดจนการระบายน้ำอย่างเต็มที่ของศูนย์ระบายน้ำของกทม.ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้ต้องทำงานสัมพันธ์กัน

    สำหรับฝั่งตะวันตก ปัญหาที่พบคือมีรอยแตกของฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด 10 กว่าจุด ซึ่งจะต้องแก้ไขให้เสร็จทั้งหมดภายในวันที่ 13 พ.ย. และยังพบว่าบางคลองยังไม่มีการทำแนวกั้นน้ำ ทั้งนี้ฝั่งตะวันตกเป็นคลองที่อยู่ในแนวขวาง ดังนั้นการระบายจึงยากมาก บางพื้นที่แคบ จึงทำให้ฝั่งตะวันตกมีการระบายค่อนข้างยาก อาจต้องค่อย ๆรอระดับน้ำทะเลที่ลดต่ำกว่าคันกั้นน้ำจึงจะสูบระบายน้ำได้

    น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า กระแสย้ายศปภ.กลับไปดอนเมือง ต้องรอดูผลจากการกั้นบิ๊กแบ็คก่อน ยืนยันว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่คิดที่จะย้ายศปภ.ไปที่อื่นอีก

    **"ประชา"สั่งเสริมคันกั้นคลองประปาถาวร

    พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผู้อำนวยการ ศปภ. กล่าวว่า คันที่กั้นไว้เดิมค่อนข้างที่จะบอบบางก็มีการชำรุดไปบ้าง ซึ่งเมื่อคืนนี้ก็มีการซ่อมทั้ง 17จุดแล้ว คลองประปาจึงไม่มีปัญหาแล้ว ทั้งนี้จะมีการเสริมคันถาวรโดยจะทำให้เสร็จภายใน 2 วันโดยได้รับความร่วมมือจากกรมชลประทานที่ส่งแม็คโครมา 3 คัน บริษัทอิตาเลี่ยนไทย ส่งแม็คโคร 5 คัน กรมโยธาธิการ และกรมทางหลวง

    **กปน.ซ่อมคันกั้นน้ำ10จุดเสร็จแล้ว

    นายอุลิช มากไมตรี ผู้ช่วยผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) กล่าวว่า ล่าสุดเจ้าหน้าที่ดำเนินการซ่อมแซม จนแล้วเสร็จ และมีจุดที่คลองประปา รั่วอีก 2 จุดอยู่ห่างจากจุดแรกประมาณ 10-15 เมตร เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างนำกระสอบทรายเข้าไปอุดรอยรั่วดังกล่าวแล้ว

    **ศปภ.แห่งใหม่เสริมความสูงถนน

    ขณะที่น้ำบนถนนวิภาวดีรังสิตได้เข้าขยายเข้าสู่พื้นที่ชั้นในกรุงเทมหานคร ใกล้ที่ตั้งของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ได้นำหินคลุกมาเสริมผิวการจราจรติดทางลงจากทางด่วนดอนเมืองโทลล์เวย์เข้าสู่อาคารเอเนอร์จีคอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน

    พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม กล่าวว่า ทาง ศปภ.ได้ประชุมหารือกันและเห็นชอบที่จะทำทางเชื่อมเข้ามายัง ศปภ. ซึ่งทางกระทรวงคมนาคมได้เร่งดำเนินการทำทางเชื่อมเข้ามายังกระทรวงพลังงาน แล้ว ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ที่จะต้องเดินทางมาปฏิบัติงานใน ศปภ. หากจะมีน้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่ใกล้เคียง โดยเส้นทางเชื่อมจะมีความสูง 1.5 เมตร และจะต้องทำก่อนที่น้ำจะท่วมมาถึงบริเวณนี้

    **เร่งสูบน้ำออกสนามบินดอนเมือง

    พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวถึงกรณีการกู้ท่าอากาศยานดอนเมือง ว่า ทุกฝ่ายจะร่วมมือกันอย่างเต็มที่ โดยจะมีการสูบน้ำออกไปทางคลองรังสิต ซึ่งหากสูบน้ำที่ดอนเมืองได้สำเร็จจะย้าย ศปภ.ไปที่ตั้งเดิมหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี ส่วนกรณีการซ่อมแซมประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ขณะนี้ จะเร่งอุดช่องว่างวางแนวคันกั้นน้ำ โดยใช้กระสอบทรายยักษ์ หรือบิ๊กแบ็ค ซึ่งหากได้ผลจะทำให้ลดปริมาณน้ำที่จะเข้ามายังถนนวิภาวดีรังสิตและดอนเมืองได้

    ***เล็งย้าย'หมอชิตใหม่'ไปสุวรรณภูมิ

    นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) กล่าวว่า ทางกทม.ยืนยันว่าน้ำจะไม่ไหลเข้าท่วมสถานีขนส่งหมอชิต 2 หรือหากมีการไหลเข้าท่วม จะไม่กระทบต่อการปฏิบัติงานของบขส. เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่สูง รวมทั้งหากน้ำไหลเข้าท่วมบริเวณดังกล่าวจริง น้ำส่วนใหญ่จะไหลเข้าท่วมขังบริเวณสนามกอล์ฟสวนรถไฟมากกว่า เพราะเป็นพื้นที่ที่ต่ำกว่า

    "ทั้งนี้ หากจะต้องมีการอพยพ มั่นใจว่าจะสามารถเคลื่อนย้ายรถออกได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยเตรียมสถานีแห่งใหม่เพื่อใช้สำรอง หากสถานี้หมอชิต 2 ถูกน้ำท่วมจนต้องปิดบริการแล้ว คือ บริเวณประตูน้ำพระอินทร์ จ.ปทุมธานี หรือสนามบินสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ"

    **“ธีระ”เล็งลดระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา

    นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จะดำเนินการทุกวิถีทางไม่ให้มีน้ำเข้ามาเติมเพื่อสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน คือ การตัดน้ำออกเพื่อไม่ให้มาเติมคลองมหาสวัสดิ์ พร้อมกับหรี่การเปิดประตูเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เพื่อลดระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน ดังนั้น จะมีน้ำตกค้างอยู่ในพื้นที่ตะวันตกที่จะต้องเร่งระบายออก อีกทั้งจะเร่งติดตั้งเครื่องสูบปลายแม่น้ำท่าจีนที่ออกสู่ทะเล เพื่อเร่งความเร็วการไหลของน้ำในช่วงกลางแม่น้ำให้ออกสู่ทะเลโดยเร็ว เนื่องจากลักษณะภูมิศาสตร์ของแม่น้ำท่าจีนนั้นมีลักษณะคดเคี้ยว คาดว่าจะต้องใช้เครื่องสูบน้ำอีกจำนวน 1,200 เครื่อง

    ทั้งนี้เห็นว่า เป็นเป็นเรื่องที่ดีที่ทางกองทัพอากาศได้นำกระสอบทรายยักษ์หรือบิ๊กแบ๊ก มาวางกั้นน้ำเหนือสนามบิน ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการกั้นน้ำไม่ให้ลงมาสู่ดอนเมืองมากยิ่งขึ้น

    **อภิสิทธิ์แนะรัฐบาลควรชัดเจนจัดการน้ำ

    นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ยอมรับว่า มวลน้ำที่ต้องจัดการยังมีปริมาณมาก และยังคงน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะที่ปทุมธานี และพื้นที่ทางตอนเหนือ ที่ปริมาณน้ำยังไม่ลด พร้อมแสดงความหวังว่า รัฐบาลจะส่งสัญญาณที่ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนเตรียมความพร้อม หากสถานการณ์เลวร้ายลง

    ส่วนแนวทางการแก้ไข หากตนยังคงดำรงตำแหน่งผู้นำรัฐบาล สิ่งแรกๆ ที่ต้องลงมือทำ คือ การบริหารจัดการเอง เช่น การเตือนภัยล่วงหน้า ที่ตอนนี้ยังไม่เพียงพอ การประเมินสถานการร์ที่ต่ำกว่าความเป็นจริง และการใช้อำนาจบริการไม่เต็มที่ โดยที่ผ่านมา จากการที่ได้พบกับนายกรัฐมนตรี ก็ได้นำเสนอแนวทางบางอย่างไป ซึ่งทางรัฐบาลก็นำไปปฏิบัติบ้าง

    ด้านประชาชนที่อพอพออกต่างจังหวัด ทางรัฐบาลต้องมีความชัดเจนเกี่ยวกับสถานการณ์ เพื่อป้องกันการสับสน และเพื่อแจ้งประชาชนให้รับทราบต่อการตัดสินใจเดินทางกลับ แต่เท่าที่ประเมินสถานการณ์ จากมวลน้ำเหนือแล้ว ก็น่าจะต้องอยู่กับน้ำท่วมไปอีกอย่างน้อย 1 เดือน

    ** รบ.เตรียมดัน"แผนฟื้นฟู-เยียวยา"

    นางสุกุมล คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่ากระทรวงวัฒนธรรมจะฟื้นฟู4 ระยะคือ ระยะที่น้ำท่วม น้ำยังไม่ลด น้ำลดแล้ว และฟื้นฟู จากการประเมินพบว่า จ.พระนครศรีอยุธยามีโบราณสถานเสียหายกว่า 97 แห่ง เชียงใหม่ 34 แห่งส่วนจังหวัดอื่นก็ลดหลั่นกันไป ไม่เกินจังหวัดละ 10 แห่ง

    นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า จะทำการฟื้นฟูพื้นที่น้ำเน่าเสียในภาคกลาง ใน 14 จังหวัด ระยะที่สองได้จัดน้ำดื่มให้ประชาชน ใน 28 จังหวัด ระยะที่สามฟื้นฟู ภายหลังน้ำลดก็จะทำการซ่อมแซมระบบกำจัดขยะ และน้ำเสียในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 47 แห่ง ซึ่งจะมีโครงการฟื้นฟูชุมชนประมาณ 2,500 ชุมชน โครงการฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวชุมชนและระบบนิเวศ รวมงบที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะต้องใช้งบทั้งสิ้น 585 ล้านบาท ในส่วนของอีเอ็มบอลประชาชนสามารถมาขอได้ที่กรมทรัพยากรน้ำ

    นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว. ศึกษาธิการ กล่าวว่า สถานศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 2,396 แห่ง มีความเสียหายประมาณ 1,585 ล้านบาท

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 3 พฤศจิกายน 2554 23:13 น.
    http://www.manager.co.th/Daily/ViewN...word=%a1%b7%c1
  7. IAm
    IAm

    4 พฤศจิกายน 2554
    ==================================================


    >> กรุงเทพฯ <<



    ในหลวง พระราชทานถุงยังชีพชาวกทม.

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยพสกนิกรที่เดือดร้อนจากอุทกภัยใน กทม. จึงได้พระราชทานถุงยังชีพ เป็นเครื่องอุปโภคบริโภค ให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ไปมอบให้แก่ราษฎร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ในเบื้องต้น โดย วันนี้ ดร.ดิสธร วัชโรทัย ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ นายประสงค์ พิทูรกิจจา เลขาธิการมูลนิธิฯ พร้อมคณะ เดินทางไปมอบสิ่งของพระราชทานช่วยเหลือราษฎรที่ประสบอุทกภัย ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 3,000 ครอบครัว


    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 4 พฤศจิกายน 2554 21:39 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1

    ทหาร-ตร.คุมเข้มคลองสามวา เผยหากพลาด กทม.ใต้จมน้ำทั้งหมด

    “ยุทธศักดิ์” เผยจัดทหาร-ตร.ดูแลคลองหลักแก้ปัญหาชาวบ้านพังคันกั้นน้ำแล้ว ยันนายกฯ ยึดแนวทางในหลวงตลอด ด้าน “ประยุทธ์” ระบุหากควบคุมน้ำคลองสามวาไม่ได้ นิคมฯ บางชัน ห้วยขวาง ทองหลาง จะท่วมทั้งหมด น้อยใจคนบ่นรอขึ้นรถทหารนาน บอกขอให้อดทนไม่ใช่รถเมล์ อย่าได้หงุดหงิดเพราะทหารทำให้ดีที่สุด ลุยน้ำมาเป็นเดือนแล้ว

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2 รอ.) พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ได้เดินทางด้วยเฮลิคอปเตอร์แบบแบล็กฮอว์ก บินสำรวจพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 9 จุด เริ่มจากหลักหก แนวคันกั้นน้ำ สนามบินดอนเมือง เพื่อดูการวางแผนการวางคันกั้นน้ำเป็นบล็อก เพื่อดูดน้ำออกทีละขั้นตอน ซึ่งทางกองทัพบกส่งกำลังทหารไปช่วยกองทัพอากาศ 500 นาย จากนั้นจะบินไปดูที่คลองสอง คลองสามวา และบินกลับไปททิศตะวันตก เพื่อดูคลองทวีวัฒนา ถนนเพชรเกษมลงสู่แม่น้ำท่าจีน และอ่าวไทย จากนั้นจะไปดูที่คลองมหาสวัสดิ์ และบางพลัด

    พล.อ.ยุทธศักดิ์กล่าวถึงปัญหาที่มีประชาชนพังคันกั้นน้ำบริเวณคลองสามวาว่า มีมาตรการการเฝ้าระวังคันกั้นน้ำตั้งแต่หลักหก รวมถึงคลองสามวาเรียบร้อยหมดแล้ว บริเวณพื้นที่หลักหกมีทหารดูแลอยู่ ส่วนของคลองสามวาที่อยู่ในความรับผิดชอบของตำรวจ ทางผู้บัญชาการทหารบกได้มอบให้กองพันสารวัตรทหาร (สห.) จำนวน 200 คน เข้าไปสนับสนุนดูแลความเรียบร้อย ซึ่งถ้าน้ำลดลง บริเวณดอนเมือง ถนนวิภาวดี และถนนพหลโยธิน น้ำจะลดลงด้วย จึงถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญ ส่วนของคลองประปา ที่มีชาวบ้านไปทำลายคันกั้นน้ำถึง 17 จุดนั้น ได้ให้ทางตำรวจตระเวนชายแดน กับตำรวจ ดูแลแล้ว ขณะนี้ยังไม่ได้ขอร้องมาทางทหาร

    เมื่อถามย้ำว่าจะมีการปรับโครงสร้างศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) หรือไม่ พล.อ.ยุทธศักดิ์กล่าวว่า ยังไม่ทราบว่าจะมีการปรับโครงสร้าง หากปรับก็เป็นเรื่องของระบบการบริหารของ ศปภ. ตนขอพูดในภาพของกระทรวงกลาโหมเท่านั้น จะไม่พูดภาพที่เหนือกว่ากระทรวงกลาโหม เพราะเป็นนโยบายของรัฐบาล แต่ในฐานะที่เป็นผู้ปฎิบัติเราก็เห็นการทำงานของผู้นำประเทศที่เอาใจใส่ตลอดเวลา โดยได้ให้กระทรวงกลาโหมรายงานการทำงานของเหล่าทัพให้ทราบทุกขั้นตอน ทั้งหลังจากตรวจเยี่ยมวันนี้เสร็จก็ต้องชี้แจงให้นายกรัฐมนตรีให้ทราบ ซึ่งคิดว่าการปรับปรุง ศปภ.คงปรับบางส่วนที่ยังไม่ได้ดำเนินการให้เป็นผลให้เกิดผลดีมากกว่าที่จะปรับในภาพใหญ่

    เมื่อถามว่า มีการนำคลิปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ หัวเกี่ยวกับแนวทางในการแก้ไข ปัญหาน้ำท่วมในปี 2538 มาเผยแพร่ จะนำไปหารือกับนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือไม่ พล.อ.ยุทธศักดิ์กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีปฏิบัติตามแนวทางในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อย่างเต็มที่อยู่แล้ว หลังจากที่ได้เข้าเฝ้าฯ ถวายรายงานเรื่องน้ำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ รับทราบ และนายกรัฐมนตรีก็ได้รับแนวนโยบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาโดยตรง ทุกอย่างที่รับสั่งนายกรัฐมนตรีนำมาปฎิบัติอย่างเต็มสติกำลังที่ดำเนินการ อยู่ในขณะนี้

    ด้าน พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ปริมาณน้ำทางทิศเหนือที่มาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา เหนือคลองรังสิตยังมีจำนวนมาก ขณะนี้ได้เร่งระบายน้ำออกทางประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ เพื่อลดระดับน้ำในคลองรังสิต ก่อนจะระบายสู่ประตูน้ำคลองหกวา เพื่อผลักดันออกทางตะวันตกให้มากที่สุด ส่วนประตูระบายน้ำคลองสามวามีการเฝ้าระวังอยู่เพื่อไม่ให้มีการบุกรุก เพราะถือได้ว่ามีความสำคัญต่อการระบายน้ำสู่คลองแสนแสบ หากน้ำเข้าสู่คลองแสนแสบมากเกินไปจะข้ามไปท่วมนิคมบางชัน รวมถึงเขตห้วยขวาง เขตวังทองหลาง ดังนั้นต้องระวังคลองแสนแสบให้ดี จึงอยากขอร้องประชาชนที่คลองสามวาถ้าหากระบายน้ำมากจะกระทบถึงคลองแสนแสบ และน้ำจะท่วม กทม.ใต้ทั้งหมด รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมด้วย สำหรับบริเวณคลองทวีวัฒนา ซึ่งยังมีปัญหาเพราะน้ำท่วมข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ที่มีปริมาณน้ำสูงมากเพราะรับน้ำมาจาก จ.ปทุมธานี นนทบุรี จึงต้องระบายน้ำออกสู่แม่น้ำท่าจีนให้เร็วที่สุด เพื่อให้น้ำฝั่งตะวันตกลดลง มิเช่นนั้นจะเอ่อท่วม

    “หากจุดใดมีปัญหาประชาชนไม่เข้าใจ อยากจะรู้ว่ามีปัญหาอย่างไรทำไมถึงเปิดประตูระบายน้ำตรงนั้นไม่ได้ ผมจะอนุมัติให้ผู้นำตรงจุดนั้นมาขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปดูว่าคลองสามวาหรือคลอง หกวาตรงนั้นเป็นอย่างไร หากเปิดประตูระบายน้ำจะเกิดอะไรขึ้น หากปิดตรงนี้และเปิดตรงนี้บ้านของท่านจะหายท่วมหรือไม่ ต้องให้ไปดูว่ามีน้ำที่มหาศาลทั้งนั้น แต่จะทำอย่างไรถึงจะช่วยระบายน้ำออกไป ซึ่งทุกคนต้องเดือดร้อนมากน้อยเท่านั้น ส่วนเรื่องความเดือดร้อนของประชาชนในการสัญจรไปมาซึ่งขณะนี้ดีขึ้น เพราะเราได้ใช้รถทหารรับส่ง ขอให้ประชาชนอย่าได้หงุดหงิดเพราะทหารลุยน้ำมาเป็นเดือนแล้ว ซึ่งขณะนี้รถได้หมุนเวียนออกไปใช้งานซึ่งได้รับความเสียหาย 30-40% เพราะลุยน้ำมาตลอด จึงต้องนำรถใหม่ออกมาใช้ก่อนส่งไปให้หน่วยในต่างจังหวัดซ่อมบำรุง รถทหารที่ใช้ส่งคน ไม่ใช่รถ ขสมก.ขอให้อดทน ผมก็น้อยใจเหมือนกัน มีทั้งคนชม และตำหนิ ทำไมให้รอรถทหารตั้ง 3 ชั่วโมง ไม่ใช่รถเมล์นะครับ เป็นรถทหาร ไปเสริมให้ เห็นตำหนิว่ารถทหารร้อน ผมก็ให้เอาป้ายโฆษณาลง ให้ลมเข้าแล้ว ก็ทำให้ดีที่สุด” ผบ.ทบ.กล่าว

    พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ทางด้านสนามบินดอนเมือง ได้สั่งการให้เจ้ากรมการทหารช่างวางแผนในการนำเครื่องมือทางการช่างของ ทบ.เข้าไปให้ได้เพื่อทำสะพานให้รถวิ่ง ปัญหาขณะนี้คือ การขนย้ายวัสดุอุปกรณ์ การขนส่งกระสอบทรายขนาด 2.5 ตัน จำนวนหลายหมื่นกว่ากระสอบเพราะมีน้ำท่วมสูงจึงต้องขนส่งทางรถไฟได้ประมาณ วันละ 5,000 กระสอบต่อวันเพื่อสร้างแนวปิดกั้น ถ.จันทรุเบกษา ถ.วิภาวดีรังสิต และ ถ.เลียบทางรถไฟให้ได้ ขณะนี้ได้นำกำลังพลจากกองทัพภาคที่ 2 และ 3 จำนวน 30 กองร้อยเข้ามาพักคอยที่สนามกีฬา ทบ.เพื่อรอรับภารกิจหมุนเวียนช่วยเหลือประชาชน ทั้งนี้ ถือเป็นเรื่องน่ายินดี และถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถทรงเป็นประธานสภานายิกาสภากาชาดไทย ซึ่งพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์มาให้กองทัพบกให้กรมพลาธิการจัดรถครัวสนาม ประกอบอาหารแจกจ่ายประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน

    “ต้องให้กำลังใจทหาร เราไม่ต้องการเป็นพระเอก พร้อมจะเสียสละและส่วนหนึ่งก็สมัครใจ โดยเฉพาะทหารที่ปลดไปแล้วก็ขออยู่ต่อเพื่อช่วยเหลือประชาชนซึ่งเป็นเรื่อง น่ายินดี เราไม่อยากผลักภาระเรื่องค่าเบี้ยเลี้ยงค่าใช้จ่ายงบประมาณ โดยเราจะนำกำลังพลที่มีอยู่ทำงานให้มากขึ้นและเสียสละทุ่มเท ไม่ต้องให้ค่าจ้างเพราะจะทำให้ทหารเสียนิสัย ถ้าใครรับจะถูกลงโทษเพราะกองทัพบกดูแลอยู่แล้ว ส่วนเรื่องเบี้ยเลี้ยงทหารที่เพิ่มมาเป็น วันละ 120 บาทต่อวันนั้น ไม่ต้องกังวลถ้าจะได้ก็ได้ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องมาเรียกร้องให้ทหาร ขอให้เฉยๆ เพราะทหารเราไม่ได้เรียกร้องอะไร ไม่เป็นไรบ้านเมืองขณะนี้เดือดร้อนไม่มีเบี้ยเลี้ยงเราก็ทำให้” ผบ.ทบ.กล่าว

    เมื่อถามว่า กรมชลประทานให้ข้อมูลเพิ่มเติมในการหาวิธีแก้ไขปัญหาที่ดีกว่านี้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ถ้ามองในแง่ของพวกเราทำได้แค่นี้ ซึ่งไม่ได้แก้ตัวให้ใคร แต่สาเหตุเกิดจากมีปริมาณน้ำมากมายมหาศาลต้องไปสอบสวนว่าเหตุใดถึงไม่มีการระบายออก และระบายผิดระบายถูกอย่างไร อยากถามว่าคูคลองได้มีการขุดลอกหรือไม่ ประตูระบายน้ำได้มีการซ่อมแซมหรือไม่ ประชาชนที่อยู่ตามริมคลอง ถูกหรือผิดกฎหมายก็ต้องไปดู พูดไปเดี๋ยวก็ไปทะเลาะกัน นี่คือปัจจัยทั้งหมดที่การระบายออกทางทะเลทำได้น้อย

    “ปริมาณน้ำมากด้วยสาเหตุอะไรไม่รู้ ซึ่งการระบายน้ำทำไม่ได้ตามแผนที่วางไว้ 100% ก็ต้องไปหาสาเหตุมา ขณะนี้ไม่มีอะไรดีกว่านี้ ผมก็คิดเล่นๆ ระบายออกซ้ายขวาไม่ได้ ข้างใต้ก็ กทม. ก็ไปหาสว่านใหญ่ๆ มาเจาะรูให้น้ำลงดินไปดีไหม เพราะไม่มีทางอื่นแล้ว ระบายน้ำออกไม่ได้ปั๊มน้ำก็ไม่ออกก็ต้องเปิดทางน้ำให้น้ำไหล เช่น ผักตบชวา ทหารก็ไปเก็บให้อยู่ ก็ขอให้หน่วยงานและประชาชนช่วยกันเก็บผักตบชวาให้หน่อย ไม่เช่นนั้นก็เป็นภาระให้ทหาร หากน้ำไม่ท่วมก็ไม่ให้ความสำคัญประตูและคลองระบายน้ำ ดังนั้นเมื่อรู้แล้วก็ไปหาหนทางแก้ให้ได้ในครั้งหน้า ผมไม่ได้รบกลับใคร” ผบ.ทบ.กล่าว และว่า ช่วยหาสว่านอันใหญ่ให้ทหารเจาะดินให้น้ำไหลไปสู่ขั้วโลกใต้ให้หน่อย

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 4 พฤศจิกายน 2554 03:34 น.
    http://www.manager.co.th/Politics/Vi...word=%a1%b7%c1

    เช้านี้ แจกน้ำดื่มฟรี 11 จุดในกทม.- กปน.บริการน้ำดื่มที่สนง.สาขา

    กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดเตรียมน้ำดื่มสะอาดแจกจ่ายให้ประชาชนในพื้นที่ 11 จุด ทั่วกรุงเทพฯ ได้แก่
    1. เขตจตุจักร ที่สวนจตุจักร
    2. เขตวังทองหลาง ที่วัดสามัคคีธรรม
    3. เขตบางกะปิ ที่การเคหะคลองจั่น
    4. เขตบึงกุ่ม ที่โรงเรียนประภาสวิทยา
    5. เขตคลองเตย ที่ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ
    6. เขตสะพานสูง ที่วัดลาดบัวขาว
    7. เขตบางบอน ที่วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธิ์
    8. เขตพระโขนง ที่วัดวชิรธรรมสาธิต
    9. อ.บางพลี สมุทรปราการ ที่โรงเรียนพูลเจริญวิทยาคม
    10. อ.เมืองสมุทรปราการ ที่วัดตำหรุ
    11. เขตจตุจักร ที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
    สำหรับน้ำที่แจกจ่ายต่อวันรวม 11 แห่งจะมีไม่ต่ำกว่า 100,000 ขวด เป็นน้ำบรรจุขวด ทั้ง 5, 10 และ 20 ลิตร ขณะนี้อยู่ในช่วงดำเนินการ และจะเริ่มแจกจ่ายได้ภายในวันศุกร์ที่ 4 พ.ย.นี้ ประชาชนที่ต้องการน้ำดื่มสะอาดตั้งแต่วันนี้ ( 2 พ.ย.) กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้แจกจ่ายน้ำดื่มสะอาด 2 จุด คือบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และ ถนนงามวงศ์วาน 54

    ก่อนหน้านี้ การประปานครหลวง แจ้งว่า เพื่อให้บริการประชาชนในเรื่องน้ำดื่ม ขณะนี้ กปน. ได้ติดตั้งจุดบริการน้ำประปาดื่มได้ ที่หน้าสำนักงานประปาสาขาทุกแห่ง (ยกเว้น สำนักงานประปาสาขาบางบัวทอง ซึ่งประสบภาวะน้ำท่วม) โดยประชาชนสามารถนำภาชนะมารองน้ำไปบริโภคได้ฟรี สอบถามเพิ่มเติม ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขวิกฤติคุรภาพน้ำดื่ม การประปานครหลวง (ศอน.กปน.) โทร 0 2503 9776 , 0 2503 9818 โทรสาร 0 2503 9835 ตรวจสอบสาขาที่ให้บริการได้ที่เว็ปไซต์ http://www.mwa.co.th/2010/ewt/mwa_in...ilename=branch
    การประปาปานครหลวง (สำนักงานใหญ่) อาคารสำนักงานใหญ่การประปานครหลวง เลขที่ 400 ถนนประชาชื่น แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร 0 2504 0123
    สำนักงานประปาสาขา
    สำนักงานการประปานครหลวง (สำนักงานใหญ่)
    สำนักงานประปาสาขาสุขสวัสดิ์
    สำนักงานประปาสาขาตากสิน
    สำนักงานประปาสาขาสุขุมวิท
    สำนักงานประปาสาขาทุ่งมหาเมฆ
    สำนักงานประปาสาขานนทบุรี
    สำนักงานประปาสาขาบางกอกน้อย
    สำนักงานประปาสาขาบางเขน
    สำนักงานประปาสาขาบางบัวทอง
    สำนักงานประปาสาขาประชาชื่น
    สำนักงานประปาสาขาพญาไท
    สำนักงานประปาสาขาพระโขนง
    สำนักงานประปาสาขาภาษีเจริญ
    สำนักงานประปาสาขามีนบุรี
    สำนักงานประปาสาขาแม้นศรี
    สำนักงานประปาสาขาลาดพร้าว
    สำนักงานประปาสาขาสมุทรปราการ

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 4 พฤศจิกายน 2554 06:06 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1

    นิคมฯ บางชันขอ กทม.เพิ่มเครื่องสูบน้ำบึงกระเทียม อีก 2 เครื่อง

    ศูนย์ประสานงานและป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมบางชัน ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามรายงานสถานการณ์ล่าสุด และการวางแผนการเตรียมรับมือกับมวลน้ำที่มาถึงอย่างรวดเร็วและมีจำนวนมาก โดยได้มีการพิจารณาการเพิ่มเครื่องสูบน้ำที่บริเวณบึงกระเทียม จำนวน 2 เครื่อง เพื่อดึงน้ำลงสู่คลองบางชัน คลองหลอแหล และคลองแสนแสบ ซึ่งจะต้องมีการขอจากทาง กทม. วันนี้ให้เร็วที่สุด เพื่อเร่งระบายน้ำ เนื่องจากขณะนี้ น้ำภายในบึงกระเทียม ที่ส่วนหนึ่งรับมาจากคลองพระยาสุเรนทร์ เริ่มปริ่มแล้ว ซึ่งหากเกิดการเอ่อล้น จะส่งผลต่อนิคมอุตสาหกรรมเฟสสาม ซึ่งมีโรงงานอยู่เกือบ 30 โรงงาน นอกจากนั้น ยังพิจารณาการขอผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการระบายน้ำ เพื่อให้ขอมูลที่ถูกต้องและชัดเจนมากยิ่งขึ้น

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 4 พฤศจิกายน 2554 12:00 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1

    กทม.ประกาศ 4 แขวงจตุจักรอพยพ เตือนหนองแขมเฝ้าระวังพิเศษ

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงนามประกาศเขตพื้นที่อพยพเพิ่มในเขตจตุจักร จำนวน 4 แขวง ประกอบด้วย ลาดยาว จันทรเกษม เสนานิคม และจตุจักร บริเวณริมคลองเปรมประชากรฝั่งตะวันตก 100 เมตร และริมทางรถไฟสายเหนือฝั่งตะวันออกทั้งหมด พร้อมประกาศแจ้งเตือนไปยังประชาชนที่อาศัยอยู่ในแขวงหนองแขม เป็นพื้นที่เฝ้าระวังพิเศษ เนื่องจากขณะนี้ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง
    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวด้วยว่า มีความเป็นห่วงเรื่องการจัดเก็บขยะ เนื่องจากบางพื้นที่รถเก็บขยะของกรุงเทพมหานคร ไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้เพราะระดับน้ำสูง 60-70 เซนติเมตร และมีเรือจำกัด เบื้องต้นดัดแปลงรถจัดเก็บขยะ จำนวน 60 คัน โดยการยกท่อไอเสียสูงขึ้น พร้อมประสานของเรือไปยังกระทรวงมหาดไทย เข้ามาช่วยอีกทาง จะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 วัน

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 4 พฤศจิกายน 2554 12:08 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1

    กทม.เร่งป้องกัน BTS - มึน!! ท่วมห้าแยกลาดพร้าว

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระบุว่า ปัญหาสำคัญในช่วงบ่ายวันนี้จะต้องเร่งหาทางป้องกันบริเวณรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม และปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้น แต่ กทม.ได้รับการสนับสนุนเรือเก็บขยะจากเทศบาลจังหวัดข้างเคียงเข้ามาช่วยเหลือ ซึ่งจะระดมลงพื้นที่วันนี้
    ส่วนสถานการณ์น้ำที่รุกคืบเข้ามาถึงห้าแยกลาดพร้าว ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 4 พฤศจิกายน 2554 12:11 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1

    กทม.ประกาศ “แขวงลาดยาว-เสนานิคม-จันทรเกษม-จตุจักร” เป็นพื้นที่อพยพ แขวงหนองแขมพื้นที่เฝ้าระวัง

    กทม.ประกาศ “แขวงลาดยาว-เสนานิคม-จันทรเกษม-จตุจักร” เป็นพื้นที่อพยพ เฉพาะพื้นที่ริมคลองเปรมประชากร และริมทางรถไฟ เตือนแขวงหนองแขม เป็นพื้นที่เฝ้าระวัง สั่งกองการช่างกลดัดแปลงท่อไอเสีย เพื่อไปจัดเก็บขยะในพื้นที่น้ำท่วม

    วันนี้ (4 พ.ย.) เวลา 11.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานระบายน้ำ ศาลาว่าการ กทม. 2 ดินแดง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงภายหลังการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ว่า สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาวันนี้ยังไม่มีปัญหา โดยน้ำทะเลหนุนสูงสุดเมื่อวานนี้ (3 พ.ย.) อยู่ระดับที่ 2.32 จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ส่วนวันนี้น้ำทะเลจะหนุนสูงสุดในเวลา 14.00 น. คาดว่าระดับน้ำใกล้เคียงกับเมื่อวานนี้ ส่วนระดับน้ำในคลองต่างๆ ยังทรงตัว โดยที่คลองสอง ระดับน้ำอยู่ที่ 2.88 เมตร คลองทวีวัฒนา 2.76 เมตร คลองมหาสวัสดิ์ 2.85 ม. ซึ่งปริมาณน้ำอยู่ในระดับเท่าเดิม ส่วนคลองรังสิต ระดับน้ำอยู่ที่ 3.60 เมตร ปริมาณน้ำลดลง ส่วนระดับน้ำในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมทรงตัวหรือเพิ่มมากขึ้น ยกเว้นเขตบางพลัด ที่ระดับน้ำลดลง 5 ซม. ส่วนในเขตอื่นๆ ได้แก่ บางเขน ระดับเพิ่มขึ้นสูงมาก อยู่ 20-50 ซม. จตุจักร 20 ซม หลักสี่ 30-1.20 ม. มีนบุรี 10-35 ซม คลองสามวา 60-90 ซม และหนองจอก ระหว่าง 5-10 ซม ทั้งนี้ถือว่าเขตบางเขน จตุจักร มีนบุรี คลองสามวา ปริมาณเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าวว่า วันนี้ตนได้ลงนามประกาศให้เขตจตุจักร เฉพาะพื้นที่แขวงลาดยาว เสนานิคม จันทรเกษม และจตุจักร เฉพาะพื้นที่ริมคลองเปรมประชากร ด้านตะวันตก 100 ม. และตะวันออก ริมทางรถไฟสายเหนือ เป็นพื้นที่อพยพ และยังได้ ประกาศแจ้งเตือเฝ้าระวัง แขวงหนองแขม เป็นพื้นที่เฝ้าระวัง ซึ่งเขตหนองเขม มีจำนวน 2 แขวง คือ หนองค้างพลู ได้ลงนามอพยพไปแล้วเมื่อวันที่ 2 พ.ย. ดังนั้นปัญหาน้ำในเขตนี้รุนแรงมา

    นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้แสดงความเป็นห่วงเรือการจัดเก็บขยะ เนื่องจากรถขยะของ กทม.ไม่สามารถเข้าไปเก็บในพื้นที่ที่น้ำท่วมขังที่มีความสูงของระดับน้ำตั้งแต่ 60 ซม.ขึ้นไปได้ จึงทำให้าสถานการณ์ขยะในพื้นที่น้ำท่วมของ กทม.เข้าสู่สภาวะวิกฤต ดังนั้น เราจึงจะดำเนินการ ตลอด 24 ชม.เป็นเวลา 3 วัน เพื่อเก็ยขยะที่ยังค้างในพื้นที่ ตนสั่งการให้กองการช่างกล ดำเนินการดัดแปลงท่อไอเสียรถเก็บขยะ กทม.ให้สูงขึ้น ซึ่งขณะนี้ดำเนินการเสร็จแล้ว 63 คัน และจะให้เจ้าเหน้าที่จากสำนักสิ่งแวดล้อม รวมถึงสำนักเขตข้างเคียงที่น้ำยังไม่ท่วม จัดส่งบุคลากร และเครื่องมือเข้าไปช่วย เพิ่มจำนวนเรือเข้าไปจัดเก็บเพิ่มในพื้นที่ ซึ่ง กทม.ได้ประสานไปยังปลัด มท.เพื่อประสานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ ในการจัดส่งเรือมาสนับสนุนภารกิจของ กทม.จัดเก็บขยะ และช่วยเหลือประชาชน โดยขณะนี้มี 4 จังหวัดได้ส่งเรือมาแล้ว ได้แก่ ปราจีนบุรี ราชบุรี นครสวรรค์ สุโขทัย พร้อมกันนี้ยังมีอีก 13 จังหวัดที่กำลังจัดส่งเรือมาให้ อย่างไรก็ตาม ต้องขอบคุณ ผู้ว่าราชการจังหวัด และปลัด มท.ที่ให้ความร่วมมือในครั้งนี้

    อย่างไรก็ตาม บ่ายวันนี้ กทม.จะเปิดโรงครัว กทม. ตนเองจะลงพื้นที่ไปที่หน่วยซ่อมบำรุงของรถไฟฟ้าบีทีเอส เพราะเป็นหัวใจสำคัญในการเดินรถไฟฟ้า จากนั้นจะไปเก็บขยะและตรวจน้ำท่วมบริเวณพหลโยธินจนถึงแยกเกษตร

    ส่วนกรณีที่เป็นปัญหาเครื่องสูบน้ำที่ กทม.ได้ยื่นหนังสือขอไปทาง ศปภ.ซึ่ง กทม.ได้ส่งหนังสือครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 พ.ย. และล่าสุดส่ง 3 พ.ย.ที่ผ่านมา กรณีดังกล่าวมีข้อโต้เถียงในที่ประชุม ทางนายกฯ ไม่สบายใจที่หยิบยกเรื่องนี้มาพูด เพราะไม่เกี่ยวกับท่าน นอกจากนี้ ทาง กทม.ยังได้ขอให้ทางกระทรวงคมนาคม ผ่าน ศปภ.จัดส่งเครื่องมือหนัก เช่น รถสิบล้อดัมป์ขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 1 เมตร จำนวน 10 คันรถ มาช่วย กทม.ในการดำเนินการวางบิ๊กแบ๊ก อย่างไรก็ตาม คาดว่าในส่วนพื้นที่โลคัลโรดจะมีการวางถุงบิ๊กแบ็กได้ในวันนี้ ในส่วนกรณีน้ำท่วมบริเวณ 5 แยกลาดพร้าว ถ้าไม่มีแรงดันน้ำมาอีก น้ำจะไม่ขยายไปกว้างกว่านี้ ทั้งนี้ทั้งนั้นคงต้องดูสถานการณ์แบบวันต่อวัน

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 4 พฤศจิกายน 2554 12:17 น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...word=%a1%b7%c1

    รถไฟโก-ลก-กรุงเทพ ยังเปิดวิ่งปกติโดยจอดที่นครปฐมแทน

    นราธิวาส - รถไฟขบวนรถด่วนและรถเร็วสุไหงโก-ลก-กทม.ยังเปิดให้บริการปกติ แต่จะจอดที่สถานีรถไฟนครปฐม และนำรถขนส่งมาให้บริการ เพื่อส่งถึงเขตกรุงเทพฯชั้นใน ขณะที่ไปรษณีย์ สุไหงโก-ลก ขอให้ตรวจสอบพื้นที่ที่ให้จัดส่งสิ่งของก่อนนำฝาก

    วันนี้ (4 พ.ย.) นายอาลาวี อูมา นายสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก ยืนยันการเดินทางในขบวนรถด่วนและรถเร็ว สุไหงโก-ลก-กรุงเทพ ว่า ขณะนี้ยังเปิดให้บริการตามปกติ แต่จะจอดรถที่สถานีรถไฟนครปฐมแทน ซึ่งจะมีการนำรถขนส่งมาให้บริการนำผู้โดยสารไปส่งในเขตกรุงเทพฯโดยไม่มีการเก็บค่าบริการเพิ่ม เนื่องจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นดังกล่าว จึงขออภัยในความไม่สะดวก และขอยืนยันว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย พร้อมให้บริการเต็มระบบเมื่อสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ

    ขณะเดียวกัน นายไซอุเด็ง ฮามิ ผู้จัดการไปรษณีย์ไทย สุไหงโก-ลก กล่าวว่า ขณะนี้ที่ทำการไปรษณีย์มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบสิ่งของที่ประชาชนนำมาฝากส่งไปยังจังหวัดต่างๆ ซึ่งมีบางจังหวัด ประกอบด้วย จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ปทุมธานี จ.นครสวรรค์ และกรุงเทพมหานครบางส่วน เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถนำส่งสิ่งของประเภท EMS และลอจิสติกส์ได้ จึงต้องขออภัยในความสะดวกด้วย

    ทั้งนี้ หากประชาชนยืนยันที่จะต้องฝากส่งสินค้าไปยังพื้นที่ดังกล่าว ไปรษณีย์ไทยสาขาสุไหงโก-ลก ก็จะรับฝากและเก็บไว้เพื่อนำส่งเมื่อสถานการณ์การเกิดอุทกภัยเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ ส่วนการให้บริการในประเภทอื่น ทั้งการโอนเงิน ชำระค่าบริการสินค้า และอื่นๆ ที่นอกเหนือจากการส่งสิ่งของลงทะเบียนก็ยังมีการเปิดให้บริการตามปกติ

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 4 พฤศจิกายน 2554 16:02 น.
    http://www.manager.co.th/Local/ViewN...word=%a1%b7%c1

    กทม.ย้ำน้ำต่ำกว่า 1.60 เมตร ไม่กระทบบีทีเอส

    ผู้ว่าฯ กทม.มั่นใจบีทีเอสยังเดินรถได้หากน้ำ ถ.พหลฯ ต่ำกว่า 1.60 ม. ส่วนขยายบางหว้าหยุด 15 วันอาจเลื่อนเปิดให้บริการประชาชน

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ตรวจเยี่ยมศูนย์ระบบควบคุมการเดินรถและศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าบีทีเอส ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กล่าวว่า ทางบีทีเอสได้มีการเตรียมแผนป้องกันน้ำท่วมเพื่อพร้อมเดินรถบริการประชาชนในภาวะที่ระบบขนส่งอื่นๆ ใช้ไม่ได้ ซึ่งบีทีเอสยืนยันยังสามารถเดินรถได้หากมีน้ำท่วมสูงไม่เกิน 2.15 ม.จากระดับน้ำทะเลปานกลาง หรือเทียบจากระดับพื้นผิวถนนพหลโยธิน 1.60 ม. ถ้าหากน้ำท่วมสูงเกินกว่าปริมาณดังกล่าวจะต้องหยุดเดินรถ ในกรณีที่เกิดกระแสไฟฟ้าขัดข้องหรือไฟฟ้าดับบีทีเอส มีสำรองไฟฟ้าทุกสถานีเพื่อใช้ในด้านความปลอดภัยและการสื่อสารในการนำผู้โดยสารออกจากรถอย่างปลอดภัยได้

    “จากการตรวจเยี่ยมศูนย์นี้ยังสามารถรองรับน้ำได้ไม่มีปัญหา อย่างไรก็ตาม กทม.ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเสริมการป้องกันด้วย ตนห่วงเรื่องของระบบไฟฟ้าหากเกิดปัญหาจะต้องปิดทั้งระบบ หากมวลน้ำจากถนนวิภาวดีไหลมาถึงห้าแยกลาดพร้าว ขณะนี้ยังไม่ส่งผลกระทบแต่อย่างใด เนื่องจากจุดนี้อยู่ใกล้เครื่องสูบน้ำบางซื่อและได้เดินเครื่องสูบน้ำออกตลอดเวลา และระดับน้ำในท่อระบายน้ำยังอยู่ต่ำกว่าผิวถนน 1 เมตร” ผู้ว่าฯ กทม.กล่าว

    ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่า ในส่วนต่อขยายบางหว้า ได้รายงานการดำเนินการก่อสร้างขณะนี้อยู่ระหว่างงานวางเสาเข็มซึ่งติดอุปสรรคปัญหาในเรื่องของการขายส่งปูนสำเร็จรูปเนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วม ผู้รับเหมาจึงขอหยุดงาน 15 วัน หากสถานการณ์ยังรุนแรงไปกว่านี้อาจทำให้การดำเนินงานก่อสร้างล่าช้าไปกว่ากำหนดเดิมที่จะเปิดให้บริการประชาชนในวันที่ 5 ธันวาคมนี้

    สำหรับรถเมล์ด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) สายช่องนนทรี ราชพฤกษ์ หากระดับน้ำสูงเกิน 30 ซม.จะไม่สามารถให้บริการได้

    เร่งเก็บขยะ "บางพลัด"
    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้นำเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำและนำเจ้าหน้าที่ร่วมเก็บขยะในพื้นที่ของเขตบางพลัด ซึ่งนอกเหนือจากที่จะประสบปัญหาน้ำท่วมบ้านเรือนแล้ว ยังต้องประสบปัญหากับขยะจำนวนมากที่ส่งกลิ่นเหม็นและไม่สามารถจัดเก็บได้ตามปกติเนื่องจากว่ารถเก็บขยะของกทม.ไม่สามารถเข้าไปยังพื้นที่ๆมีน้ำท่วมสูงได้ จึงต้องใช้เรือในการจัดเก็บแทน แต่เก็บขยะได้ไม่มากนัก ซึ่งขณะนี้ในส่วนของเขตบางพลัดที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน มีปัญาเรื่องขยะเป็นจำนวนมากที่ยังไม่สามารถจัดเก็บได้ทั้งหมด โดยจากการสำรวจปริมาณขยะในพื้นที่เขตบางพลัดพบว่าภายใน 4 วันมีขยะจำนวนมากถึง 130 ตัน ดังนั้นกทม. จะระดมกำลังเจ้าหน้าที่จากส่วนกลาง ซึ่งประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่สำนักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเขตที่ยังไม่ได้รับผลกระทบรวมถึงอาสาสมัครและประชาชนที่จะเข้ามาร่วมในการเก็บขยะในพื้นที่ๆประสบปัญหาอุทกภัย

    ทั้งนี้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่สามารถร่วมกันในการลดปริมาณขยะ โดยให้ทำการคัดแยกขยะ สำหรับขยะแห้งให้เก็บไว้เพื่อนำมาทิ้งวันหลัง ส่วนขยะเปียกให้ทำการรวบรวมมาทิ้งไว้ ณ จุดเดียวกันเพื่อง่ายต่อการจัดเก็บขยะของเจ้าหน้าที่


    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 4 พฤศจิกายน 2554 17:01 6 น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...word=%a1%b7%c1

    ทหารยังทำแนว"บิ๊กแบ็ค"ไม่สำเร็จ-ฝ่ายค้านชี้ฝั่งตะวันตก กทม.อ่วม!!

    พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงความคืบหน้าการวางกระสอบทรายยักษ์ หรือ บิ๊กแบ็ค จนถึงขณะนี้ยังไม่แล้วเสร็จตามกำหนดการ เนื่องจากมีปัญหาติดขัดเรื่องการลำเลียงกระสอบทรายยักษ์เข้าพื้นที่ คาดว่าเสร็จวันพรุ่งนี้
    อย่างไรก็ตาม พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เชื่อว่า หากวางแนวบิ๊กแบ็คได้สำเร็จจะช่วยลดปริมาณน้ำไหลเข้ากรุงเทพฯ น้อยกว่ากำลังการระบายน้ำออก ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้ากรุงเทพฯ ชั้นในเพิ่มขึ้น
    ในเรื่องนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน เรียกร้องให้รัฐบาลชี้แจงข้อเท็จจริงกับประชาชนที่อยู่นอกแนวบิ๊กแบ็คว่า หากวางแนวบิ๊กแบ็คสำเร็จจะทำให้น้ำถูกผลักไปทางฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ มากขึ้น ซึ่งประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมนานกว่าเดิม

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 4 พฤศจิกายน 2554 17:38 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1

    ห่วง"บิ๊กแบ็ก"เปลี่ยนทางน้ำ ทำกทม.ฝั่งตะวันตกจมยาว

    วานนี้ ( 4 พ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในภาพรวมว่า แนวน้ำรุกคืบมาเรื่อยๆ ขณะที่ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องมวลน้ำทางเหนือ จึงขอให้รัฐบาลทำความเข้าใจกับประชาชน และเตือนให้ประชาชนอยู่ในความพร้อม ไม่ควรพูดว่า พื้นที่ใดจะปลอดภัย 100 เปอร์เซนต์ และต้องติดตามถึงผลจากการนำบิ๊กแบ๊กไปเป็นคันกั้นน้ำ ซึ่งทางรัฐบาลหวังว่าจะชะลอน้ำเหนือไม่ให้ไหลบ่าเข้าท่วม กทม.ชั้นใน ว่าจะได้ผลหรือไม่ แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการใช้บิ๊กแบ๊ก คือ น้ำจะถูกผลักไปทาง กรุงเทพฝั่งตะวันตกมากขึ้น ซึ่งประชาชนจะได้รับผลกระทบเกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วมนานขึ้น จึงต้องสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชน ที่อยู่ด้านหลังบิ๊กแบ๊กด้วย
    หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนได้ประสานไปยัง กทม. เกี่ยวกับการผลักน้ำทางตะวันตก ซึ่งการระบายน้ำทำได้ยากว่า มีวิธีการระบายน้ำอย่างไร และเห็นว่ามีความจำเป็นที่ต้องเร่งดำเนินการให้การระบายน้ำเกิดความสมดุลในฝั่งตะวันออกด้วย แต่ก็ติดปัญหาเรื่องความขัดแย้งของมวลชน ทำให้การระบายน้ำในฝั่งตะวันออกยังทำได้ไม่เต็มที่ โดยยกตัวอย่างกรณีคลองสามวา ที่รัฐบาลต้องตามแก้ปัญหาที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สร้างขึ้น
    นายอภิสิทธิ์ ยังขอให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพในการประสานกับทุกหน่วยงาน เพื่อให้การทำงานมีเอกภาพ หากมีปัญหาว่าหน่วยงานไหนยังมีความเห็นไม่ตรงกัน ก็ต้องทำความเข้าใจ เช่น กรณีที่กทม.ขอเครื่องสูบน้ำจากกรมชลประทาน แต่ไม่ได้รับ โดยกรมชลประทานอ้างว่าไม่มีหนังสือจากกทม. ถึงกรมชลประทาน ทั้งๆ ที่กทม.ได้ส่งหนังสือไปที่ ศปภ.แล้ว สิ่งเหล่านี้ต้องเร่งแก้ไข รวมทั้งการประสานงานระหว่าง กทม.กับกรมชลประทาน เกี่ยวกับการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการระบายน้ำมากขึ้นด้วย ซึ่งจนถึงขณะนี้การแก้ปัญหาของ ศปภ. ก็ยังไม่สามารถบอกได้ว่ามาถูกทางหรือยัง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จนทำให้ประชาชนไม่ทราบสถานการณ์ที่แท้จริง
    นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ตนมีความเป็นห่วงเส้นทางคมนาคมใน กทม. ที่จะถูกตัดขาดมากขึ้น โดยเฉพาะพระราม 2 ซึ่งเป็นถนนสายหลักสายสุดท้ายที่เหลืออยู่ ซึ่งรัฐบาลต้องเตรียม แนวทางรับมือล่วงหน้า ว่า หากถนนเส้นนี้ถูกตัดขาดไป ระบบการกระจายสินค้า และการเดินทางของประชาชน จะทำอย่างไร
    นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงสถานการณ์น้ำที่รุกเข้าพื้นที่กทม.ชั้นในว่า คาดว่าน้ำจะไหลไปรวมกันที่บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ซึ่งจะส่งผลทำให้ กทม.เขตชั้นในมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น
    ทั้งนี้ ตนได้ตรวจสอบเกี่ยวกับระบบการบริการของสถาบันการเงิน ที่สำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ โดยเจ้าหน้าที่ของธนาคารยืนยันว่า มีการเตรียมพร้อมอย่างดี ซึ่งปัญหาน้ำท่วม จะไม่กระทบต่อการให้บริการกับประชาชน
    ส่วนการให้บริการของรถไฟใต้ดิน ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประไเทศไทย หรือ รฟม. ซึ่งได้รับคำยืนยันจากผู้บริหารว่า มีมาตรการป้องกันผลกระทบจากน้ำท่วมไว้แล้ว โดยได้เตรียมการปิดกั้นทางเข้าของน้ำ 5 ด้านไว้แล้ว และโครงส้างของสถานีรถไฟใต้ดิน ได้ออกแบบให้สูงกว่าระดับน้ำทะเล 2 เมตร

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 4 พฤศจิกายน 2554 19:00 น.
    http://www.manager.co.th/Daily/ViewN...word=%a1%b7%c1

    เทิดในหลวงสู้ภัยธรรมชาติ ผบ.ทบ.วอนคนไทยเห็นแก่ส่วนรวม

    วานนี้ (4 พ.ย. ) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ได้รับมอบเงินจำนวน 1 ล้านบาทจากบริษัท ริโก้ไทยแลนด์ จำกัด เพื่อช่วยเหลือกำลังพลกองทัพบก ที่ปฏิบัติการช่วยน้ำท่วม และรับมอบเรือกู้ภัย เรือพาย ถุงยังชีพ และเสื้อชูชีพ จากธนาคารไทยพาณิชย์
    โดยพล.อ.ประยุทธ์ เปิดเผยว่าจะนำเงินที่ได้รับมอบ 1 ล้านบาทไปมอบให้สมาคมแม่บ้านทหารบก จัดของขวัญให้กำลังพลที่ทำงานอย่างหนักในขณะนี้
    พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึงสถานการณ์น้ำในขณะนี้ ว่า เท่าที่ฟัง ศปภ. บอกว่าน้ำเริ่มลดลง ก็เป็นแนวโน้มที่ดี ส่วนพื้นที่ประตูระบายน้ำคลองสามวา ซึ่งนำกำลังสารวัตรทหาร 200 นายเข้าไปควบคุมนั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ต้องให้เครดิตเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ทำงานเต็มที่การทำหน้าที่โดยตรงน่าจะเป็นของตำรวจ ส่วนทหารจะทำงานในยามไม่ปกติ จะดีกว่า

    **เทิดในหลวงสู้ความยากจน-ภัยธรรมชาติ

    เมื่อถามว่า จากคลิปในหลวงฯ ที่มีพระราชดำริฯป้องกันน้ำท่วมเมื่อปี 2538 กระทั่งปัจจุบันไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ได้ทบทวนและศึกษาดูหลายอย่าง ซึ่งต้องทำพนังกั้นน้ำหลายกม. แต่ที่ผ่านมายังทำไม่ครบสมบรูณ์ เช่น 85 ก.ม. ก็ทำได้แค่ 70-75 ก.ม. ที่สำคัญคือ ความเข้าใจของประชาชนว่า ผลประโยชน์ของชาติอยู่ตรงไหน เราจะรักษาบ้านเมืองของเราอย่างไร ทุกคนจะต้องมีส่วนได้ส่วนเสีย ส่วนได้ คือประโยชน์ที่รัฐต้องไปดูแลทุกข์สุขของประชาชน ส่วนเสียคือ ทุกคนต้องยอมเสียสละบ้าง เช่น การเสียภาษี หรือสิ่งอื่นๆ ถ้าคิดแต่ไม่ทำ ก็มีปัญหาเกิดขึ้น หลังจากนี้เราควรจะต้องทบทวนว่า ที่พระองค์ท่านรับสั่งทั้งหมดทำได้ครบหรือยัง อะไรที่ต้องทำให้ครบ ในหลวงฯท่านทรงริเริ่มมาตั้งแต่ทรงครองราชย์ไม่ใช่เพิ่งมาคิดเมื่อปี 2538 ท่านทรงต่อสู้เรื่องน้ำ เรื่องป่าไม้มาตลอด เหมือนกับเป็นองค์พระมหากษัตริย์ ที่ทรงนำประเทศชาติสู้รบกับธรรมชาติ ให้ประเทศไทยปลอดภัย ประชาชนต้องเข้าใจ รัฐบาลใช้กฎหมายอย่างเดียวคงไม่ได้ ต้องใช้ทั้งศาสตร์ และศิลปะ
    "พระองค์ ท่านทรงริเริ่มทั้งหมดในการดูแลประเทศไทย ผมถึงบอกว่าเรามีพระมหากษัตริย์ ที่มีพระคุณอันประเสริฐต่อประเทศไทยมาโดยตลอด ทุกพระองค์ทำเพื่อประเทศชาติมาตลอด และในวันนี้พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์สมัยใหม่ คือ ไม่ได้สู้รบกับข้าศึก แต่สู้กับความยากจน และรบกับธรรมชาติ เพื่อให้คนไทยอยู่รอดปลอดภัย ฉะนั้นรัฐบาลต้องสนองพระราชดำรินี้ และดำเนินงานต่อตามที่พระองค์ท่านเริ่มไว้ ไม่ใช่พระองค์ท่านเริ่มไว้แล้วต้องทำเองจนจบ คงไม่ใช่" ผบ.ทบ.กล่าว

    ** หลังน้ำลดต้องเคลียร์ชุมชนริมคลอง

    เมื่อถามว่า สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ขวางทางน้ำจะทำอย่างไร พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ทุกคนก็รู้อยู่แล้ว แต่วันนี้พูดไม่ได้ ไปตำหนิติติงชาวบ้านที่เขาเดือนร้อนคงไม่ได้ ต้องรอให้ความเดือนร้อนบรรเทาลงก่อน แล้วเรียกมาคุยว่าจะทำอย่างไรต่อไป ถ้ายังอยู่ในคลองระบายน้ำอย่างนี้ ก็กีดขวางทางน้ำไปครึ่งคลองแล้ว ทำอะไรก็ลำบาก ต้องมาพูดคุยหาทางความพอดีมาเจอกัน หากไม่ให้เขาอยู่ที่นี่ แล้วจะให้ไปอยู่ที่ไหน เพราะชาวบ้านที่อยู่ส่วนมากยากจน รัฐบาลก็ต้องดูแลเขา
    ส่วนความคืบหน้าในการกู้สนามบินดอนเมืองนั้น การวางกระสอบมทรายเป็นไปด้วยดี ทางรมว.คมนาคม รับผิดชอบอยู่ ทางทหารสนับสนุนกำลังพลดำเนินการตามแผน ซึ่งตนได้สั่งให้ตรวจสอบว่าถ้ามีคนเข้าไปเพิ่ม จะทำให้งานเดินหน้าได้เร็วขึ้นหรือไม่ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของกระสอบทรายขนาดใหญ่ที่มีอยู่ด้วย แต่เราพยายามเร่งทำให้เร็วที่สุด

    **ติงแผนเปิดคลองสามวาผิดพลาด

    ส่วนที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า รัฐบาลบริหารงานไม่ดี พยายามปัดความรับผิดชอบให้หน่วยงานต่างๆ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า คงไม่ใช่ วันนี้ทุกคนต้องร่วมมือกันแก้ปัญหา ทั้งรัฐบาล กทม. ตำรวจ ประชาชน ปัญหาขณะนี้มีเรื่องเดียวคือ การบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะการพังพนังกั้นน้ำ ซึ่งต้องแก้ไขกันให้ได้ จึงจะเป็นไปตามแผนงาน โดยนายกรัฐมนตรีคงไม่ได้วางแผนเอง เพราะท่านมีคณะทำงานที่มีความรู้เรื่องน้ำคอยให้คำปรึกษา และวางแผน ส่วนจะผิดหรือถูก ขอให้แก้ปัญหาเรื่องน้ำ และฟื้นฟูให้ได้ก่อน ค่อยมาทบทวนว่า เกิดอะไรขึ้น ต้องทำอย่างไรต่อ หรือแก้ปัญหาอย่างไรไม่ให้เกิดขึ้นอีก อย่างกรณีการเปิดประตูระบายน้ำคลองสามวา เปิดแล้วน้ำก็ไม่ลด และยังคงท่วมเหมือนเดิมทั้งข้างบน ข้างล่าง และที่สำคัญน้ำ จะเข้ามายังคลองแสนแสบ และคลองด้านตะวันออกทั้งหมด เมื่อเอ่อล้นขึ้นมา จะท่วมนิคมอุตสาหกรรมบางชัน และลาดพระบัง แล้วเข้ากรุงเทพฯ ทางด้านเขตบางกะปิ
    "ขณะนี้วางแผนแล้วว่า จะป้องกันตรงไหนไม่ให้น้ำเข้าพื้นที่ชั้นใน เหมือนกับการสู้รบ ต้องเปลี่ยนกลยุทธ์ และกลวิธีไปเรื่อยๆ ถ้าน้ำผ่านทางนี้ไม่ได้ ก็ไปทางซ้าย ขวา และตลบหลังคล้ายกับข้าศึก ดังนั้น ต้องวางแผนสกัดกั้น ซึ่งเราจะรั้งหน่วงไปเรื่อยๆ และกำลังทหารจะถอยออกมาทีละขั้น และทิ้งส่วนป้องกันไว้ เพื่อดูแลทุกข์สุขประชาชน ซึ่งการสู้รบ ครั้งนี้ไม่ถือว่าเราแพ้ เพราะเราแพ้ไม่ได้ ถ้าแพ้ประเทศชาติเสียหายกว่านี้ ตอนนี้ยังถือว่าไม่แพ้ เรายังสู้กันอยู่ เพียงแต่ข้าศึกมามาก "

    ** ยอมรับเครียดจนนอนไม่หลับ

    ส่วน ที่กังวลว่าปริมาณน้ำมีมากกว่าพื้นที่กทม.นั้น คิดว่าเดี๋ยวน้ำก็ลง เพราะมีทางลงอยู่แล้ว อย่างไรก็ต้องผ่าน ไม่ให้ผ่านคงไม่ได้ น้ำเหนือต้องลงใต้
    เมื่อถามว่า เหตุใดไม่ปล่อยให้น้ำผ่านตรงๆ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้มีผลกระทบกับศูนย์สั่งการ ศูนย์ราชการ พระราชวัง ซึ่งเป็นโบราณสถาน หากพังจะซ่อมไม่ได้ จึงพยายามเบี่ยงให้มากที่สุด เพื่อให้มีผลกระทบน้อยที่สุด ถ้าปล่อยให้ท่วมทั้งหมดก็ทำได้เหมือนกัน แต่อย่างไหนจะเสียหายมากกว่ากัน เราพยายามให้เสียหายน้อยที่สุด ที่สำคัญอย่าเครียด ตนก็รู้สึกเครียดเหมือนกัน ยังบ่นกับลูกน้องเลยว่า นอนไม่หลับ เพราะห่วงลูกน้อง และประชาชน คิดว่าทุกคนก็เป็นเช่นนี้ ตอนนี้ประเทศไทยเป็นอย่างนั้น
    เมื่อถามว่า เมื่อกองทัพถูกตัดงบประมาณในการพิจารณางบประมาณปี 2555 พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ทุกกระทรวงก็โดนหมด กระทรวงละ 10 % เพื่อนำไปช่วยน้ำท่วม ซึ่งต้องยอมรับว่า ส่งผลกระทบต่อการทำงาน โดยเฉพาะงบซ่อมบำรุง การจัดหาต่างๆ จะลดลง เพราะงบประมาณส่วนใหญ่ 60 -70 % เป็นของกำลังพล ซึ่งไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เราไม่ได้เรียกร้อง เพราะรู้ดีว่าประเทศมีปัญหา ต้องดูแลประชาชน และฟื้นฟู ซึ่งเรายอมรับได้ แต่สิ่งไหนที่สำคัญหากรัฐบาลมีงบประมาณ เราจะขอกลับมาใหม่ ซึ่งเป็นงบกลางของรัฐบาล ตนเข้าใจถึงปัญหาของประชาชน เบี้ยเลี้ยงไม่มี ก็ไม่เป็นไร ถึงไม่มีเงิน ก็ขอให้มีข้าวกินก็พอ
    เมื่อถามว่ารู้สึกอย่างไรที่คนมองว่า บทบาทการแก้ปัญหาน้ำท่วมของ ผบ.ทบ.เปรียบเหมือน นายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า คงไม่ใช่
    " นายกรัฐมนตรีมีอยู่แล้ว คือน.ส.ยิ่งลักษณ์ และมีรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย ผมไม่ได้เป็นพระเอก ผมเป็นได้แค่ผู้ช่วยพระเอก ลูกน้องของผมต่างหากที่เป็นพระเอก" ผบ.ทบ. กล่าว

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 4 พฤศจิกายน 2554 19:00 น.
    http://www.manager.co.th/Daily/ViewN...word=%a1%b7%c1
  8. IAm
    IAm

    5 พฤศจิกายน 2554
    ==================================================


    >> กรุงเทพฯ <<



    บางโฉมศรีพังซ้ำ ทะลักเข้าลพบุรี รมว.เกษตรฯ คาดไม่กระทบ กทม.

    ศูนย์ข่าวภูมิภาค - ฝ่ายน้ำล้นบางโฉมศรีพังรอบ 2 ความยาว 6 เมตร ทำน้ำเจ้าพระยาไหลทะลักเข้าคลองเชียงรากไหลบ่าเข้าสู่อำเภอบ้านหมี่-ท่าวุ้ง เมืองลพบุรีอีกครั้ง รมว.เกษตรฯ คาดไม่กระทบ กทม.

    มีรายงานข่าวจากประตูน้ำบางโฉมศรี ตำบลชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรีว่า หลังจากมีการซ่อมแซมประตูน้ำบางโฉมศรี ที่แตกเมื่อวันที่ 13 ก.ย.ที่ผ่านมา และเจ้าหน้าที่ได้ใช้ระยะเวลาในการซ่อมจนเสร้จไปเมื่อวันที่ 11 ต.ค.ที่ผ่านมา จนสามารถปิดกั้นน้ำไม่ให้ไหลทะลักเข้าท่วมในพื้นที่เขตอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี แต่ปรากฎว่าเมื่อเวลาประมาณ 11.00 น.วานนี้ (4 พ.ย.) ประตูระบายน้ำบางโฉมศรี ที่บริเวณหูช้าง ได้พังชำรุดลงมาอีกครั้งโดยมีความยาวประมาณ 6 เมตร ทำให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลทะลักเข้าสู่คลองเชียงราก และเริ่มไหลบ่าเข้าสู่พื้นที่อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรีอีกครั้ง หลังจากที่น้ำในพื้นที่อำเภอบ้านหมี่ เริ่มลดลง เนื่องจากน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงกว่าระดับน้ำในคลองเชียงรากกว่า 2 เมตร

    นายศิระ ศิริสูงเนิน หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด (ปภ.) สิงห์บุรี กล่าวว่า หลังจากประตูระบายน้ำบางโฉมศรี ที่บริเวณหูช้าง ชำรุดพังทะลายลงมาอีกครั้งทำให้น้ำไหลทะลักเข้าเพิ่มขึ้น 10 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งขณะนี้ถือว่าไม่ส่งผลกระทบที่รุนแรงมากนัก และหลังเกิดเหตุตนได้ประสานงานไปทางกรมชลประทาน ซึ่งได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาซ่อมแซมจุดที่พังแล้ว แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะซ่อมแซมได้แล้วเสร็จเมื่อไร

    นายทวีป จูมั่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หัวไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี กล่าวว่า จุดที่ประตูระบายน้ำบางโฉมศรีพัง ในครั้งนี้อยู่ใต้ประตูน้ำบางโฉมศรี โดยเหตุเกิดขณะที่ทางโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามหาราช กำลังทำการก่ออิฐปิดฝายน้ำล้น เพื่อกั้นน้ำไม่ให้ไหลผ่านเข้ามายังคลองเชียงราก แต่ได้เกิดพังลงมา

    "ขณะนี้ทราบว่ามีการรายงานถึงนายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน เพื่อที่จะตัดสินใจว่าจะปิดกั้นไม่ให้น้ำทะลักเข้าบ้านหมี่ หรือจะเปิดให้น้ำบ่าเข้าคลองเชียงรากต่อไป"

    นายศักดิพงษ์ ธรรมอาชวกุล ปลัดเทศบาลตำบลบางงา อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี กล่าวว่า น้ำที่ท่วมในพื้นที่อำเภอบ้านหมี่ และอำเภอท่าวุ้ง กำลังลดลงตามลำดับ แต่พอประตูระบายน้ำบางโฉมศรี ได้พังชำรุดลงมาอีกครั้ง และทำให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลทะลักเข้ามาในพื้นที่อำเภอบ้านหมี่ และอำเภอท่าวุ้ง อีกครั้ง ก็จะต้องทำให้ชาวบ้านรับความเดือดร้อนรอบ 2 อีกอย่างแน่นอน

    ด้านนางญาณิศา เพชรสัมฤทธิ์ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ เปิดเผยว่า หลังจังหวัดนครสวรรค์น้ำลดลงในหลายพื้นที่ พบว่า วัด ศาสนสถาน เสียหายในพื้นที่ 9 อำเภอ จำนวน 189 แห่ง พระ เณร ได้รับความเดือดร้อนจำนวน 2,108 รูป เบื้องต้นจากการสำรวจพบว่า อาคารไม้สัก กำแพงวัด ศาลาเก่าแก่ ถนนเข้าวัด เสียหายจากน้ำที่ท่วมขังยาวนานจำนวนมาก โดยอำเภอชุมแสง วัดเสียหาย 49 แห่ง อำเภอเมือง 38 แห่ง อำเภอท่าตะโก 39 แห่ง อำเภอเก้าเลี้ยว 14 แห่ง อำเภอพยุหะคีรี 14 แห่ง อำเภอโกรกพระ 12 แห่ง อำเภอบรรพตพิสัย 8 แห่ง และอำเภอหนองบัว 4 แห่ง ทั้งนี้ ตัวเลขความเสียหายน่าจะไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท

    นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า มาจากกระแสน้ำที่แรงขึ้น คิดว่าเหตุการณ์ดังกล่าว จะไม่เพิ่มปริมาณให้กับน้ำใน กทม.เพราะทิศทางของน้ำมุ่งหน้าไปที่ จ.ลพบุรี และจ.พระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ น้ำจะเข้าไปในทุ่งแทน ที่จะลงมาในแม่น้ำเจ้าพระยาโดยตรง

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 5 พฤศจิกายน 2554 00:18 น.
    http://www.manager.co.th/Daily/ViewN...word=%a1%b7%c1

    กทม.อ่วมทุกทิศ มีสิทธิ์จมยาวถึงสิ้นเดือน ระวังกองโจรน้ำบุกทะลวงท่อ

    ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ -ต้องนับว่าเป็นเหตุการณ์ความระทึกขวัญคนเมืองหลวงอย่างกทม.อีกคำรบ เพราะในที่สุดแล้วรัฐบาลนำโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ได้แสดงความบ้อท่าล่าช้าในการจัดการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดยเฉพาะกรณีประตูระบายน้ำคลองสามวา ที่ประชาชนภายใต้การชักใยของนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลก่อม็อบ เพื่อบีบบังคับให้เจ้าหน้าที่เปิดประตูระบายน้ำเพิ่มเป็น 150 ซม.และสุดท้ายนายกฯ ยิ่งลักษณ์ก็ได้ตัดสินใจสั่งให้เปิดประตูระบายน้ำคลองสามวาให้สูงขึ้น ซึ่งนั่นส่งผลทำให้ กทม.เข้าสู่ภาวะเสี่ยงที่จะถูกน้ำท่วมทั้ง 50 เขตในทันที

    ดังที่ นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม.ได้คาดการณ์ถึงผลร้ายดังกล่าวว่ามาตรการนี้ว่าจะส่งผลกระทบให้ 20 เขต กทม. ซึ่งเดิมประกาศไปว่าเป็นเขตที่จะไม่ถูกน้ำท่วม กลายเป็นเขตเสี่ยงที่จะถูกน้ำท่วมทั้งหมด โดยเฉพาะเขตบึงกุ่ม สะพานสูงและบางกะปิที่รอดยาก แต่ที่น่าวิตกคือน้ำจะกระจายไปตามคลองย่อยซึ่งมีอยู่กว่า 2,000 คลอง และระบบระบายน้ำของ กทม.ทั่ว 1,000 ตารางกิโลเมตร โดยคาดไม่ได้ว่าน้ำจะไปผุดที่ไหนบ้าง

    แต่ดัชนีที่ทำให้คนกรุงขวัญผวามากที่สุด เห็นจะเป็นคำให้สัมภาษณ์ของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ที่ระบุว่า “ระดับน้ำในทางเหนือได้เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ในวันที่ 6 พ.ย. เราจะรอดแล้ว สถานการณ์หลังวันที่ 6 พ.ย.จะดีขึ้นเรื่อยๆ” เพราะทุกครั้งที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์บอกว่า “เอาอยู่ สู้ไหวค่ะ” เหตุการณ์จะเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามทุกคราไป

    ยิ่งเมื่อตรวจสอบสถานการณ์และข้อเท็จจริงที่เห็นและเป็นอยู่ก็ยิ่งไม่เห็นว่า น้ำจะเลิกถล่มกรุงเมื่อไหร่ เพราะนับวันมีแต่จะยิ่งขยายวงกว้างและทะลุทะลวงเข้าสู่พื้นที่ชั้นในมากขึ้นทุกที

    กล่าวคือ ทางทิศตะวันออก หลังจากที่รัฐบาลได้เปิดประตูระบายน้ำคลองสามวา โดยวิธีการแก้ปัญหาน้ำท่วมในฝั่งตะวันออกยังคงใช้วิธีผันน้ำไปทางทิศตะวันออกผ่านทางคลองสามวาเพื่อระบายน้ำเข้าสู่พื้นที่รับน้ำในเขตมีนบุรีหนองจอก ลาดกระบัง ลงสู่คลองด่านระบายออกอ่าวไทยต่อไป แต่ปัญหาก็คือน้ำบริเวณคลองรังสิตประยูรศักดิ์ยังถูกระบายออกไปได้น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำที่ถูกเติมเข้ามาจากน้ำทุ่งทางตอนเหนือ ส่งผลให้มีน้ำไหลบ่าเข้าสู่พื้นที่ชั้นกลางและชั้นในของกรุงเทพฯมากขึ้น

    แน่นอน ประชาชนที่ต้องสะดุ้งก็หนีไม่พ้น เขตบึงกุ่ม สะพานสูง บางกะปิ มีนบุรี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมลาดกระบังและบางชัน เหมือนที่ถล่ม 7 นิคมอุตสาหกรรมมาแล้วก่อนหน้านี้

    ทั้งนี้ หากนิคมอุตสาหกรรมบางชันยันน้ำไม่อยู่ จะเป็นนิคมอุตสาหกรรมแห่งที่ 8 ที่จมน้ำ โดยนิคมฯ แห่งนี้มีมูลค่าการลงทุน 2 หมื่นล้านบาท มีโรงงาน 93 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มบริษัทผลิตอาหาร โดยมีแรงงานกว่าแรงงาน 1.4 หมื่นคน และขณะนี้น้ำก็เริ่มเอ่อเข้าท่วมให้เห็นกันอย่างระทึกขวัญไปเรียบร้อยแล้ว

    ที่สำคัญคือ หากนิคมอุตสาหกรรมบางชันจมน้ำ หรือกรุงเทพฯ ชั้นในที่ กทม.เคยประเมินสถานการณ์ว่า 20 เขตอาจจะรอด เพราะมีปัจจัยบวกเกิดขึ้น เช่น การระบายน้ำทางตะวันออกเริ่มทำได้ดี แต่ถ้าที่สุดแล้วฝั่งลาดกระบัง มีนบุรี เอาไม่อยู่ก็จะทะลุมาถึง บางกะปิ สะพานสูง บึงกุ่ม คันนายาว และหากผ่านตรงนี้มาได้ก็มีสิทธิ์ที่น้ำจะไหลเข้าทะลักพื้นที่ชั้นในกทม.อีกไม่ว่าจะเป็นเขตห้วยขวาง วังทองหลาง ดินแดง พญาไท วัฒนา ราชเทวี ปทุมวัน

    ก็คงโทษใครไม่ได้นอกเสียจากคำสั่งของยิ่งลักษณ์ ที่ถูกบรรดาส.ส.พรรคเพื่อไทยกดดันจนต้องสั่งให้ กทม.เปิดประตูระบายน้ำคลองสามวาจึงเป็นใบเสร็จชิ้นดีที่มัดการตัดสินใจชนิดไม่เอาอ่าวของน.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี อีกครั้ง

    ขณะที่ ด้านตะวันตก ของกทม.ก็ต้องเรียกว่าอยู่ในขั้นอ่วมอรทัยไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะว่าไปแล้ววิกฤตยิ่งกว่าฝั่งตะวันออกเป็นเท่าตัวก็ว่าได้ เพราะพื้นที่ส่วนนี้ต้องรับน้ำมาจากพื้นที่จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี บางกรวย ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยากว่า 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ได้ไหลข้ามคลองมหาสวัสดิ์เข้าสู่พื้นที่เขตบางพลัด ทวีวัฒนา บางกอกน้อย และตลิ่งชัน เกือบเต็มพื้นที่แล้วโดยทรงตัวอยู่ระดับเป็นเมตรเลยทีเดียว โดยปริมาณส่วนหนึ่งได้ไหลไปทางทิศตะวันตกเข้าสู่พื้นที่ศาลายา พุทธมณฑล แผ่เป็นวงกว้างปริมาณจำนวนนี้มีความเชื่อกันว่าจะถูกระบายออกไป 2 ทิศทาง คือ ผันเข้าสู่แม่น้ำท่าจีน กับถูกระบายผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา

    ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษคือน้ำที่ล้นคลองทวีวัฒนา โดยน้ำเริ่มเอ่อล้นท่วมบ้านเรือนประชาชนริมฝั่งคลอง หากน้ำเอ่อมากขึ้น น้ำมวลนี้จะไหลเข้าเขตบางบอน บางขุนเทียน บางแค ภาษีเจริญ บางกอกน้อย ท่าพระ ซึ่งพื้นที่รอบนอกแม่น้ำเจ้าพระยา ข้างต้นนี้จะได้ผลกระทบน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร

    และเมื่อวันที่ 3 พ.ย. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการ กทม. ได้ประกาศให้เขตบางแค เป็นพื้นที่อพยพ เนื่องจากมีน้ำไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว

    ทั้งนี้ สำหรับฝั่งตะวันตกน่าเป็นห่วงที่สุด เนื่องจากไม่ได้มีการออกแบบผังเมืองเพื่อรองรับสถานการณ์น้ำท่วม อีกทั้งไม่มีถนนขวางทางน้ำ ถนนวงแหวน หรือคันกั้นน้ำ ทำให้น้ำไหลทะลักมาเร็วและแรงกว่าพื้นที่ฝั่งตะวันออก ขนาดนายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยังยอมรับว่าบ้านตัวเองอยู่บริเวณนี้ อาจต้องจมยาวเป็นเดือน

    เรื่องนี้ ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้เชี่ยวชาญภัยพิบัติ ม.รังสิต และผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อม นานาชาติสิรินธร ได้แสดงความวิตกถึงพื้นที่ฝั่งตะวันตกว่า "พยายามชี้ให้รัฐบาลทราบหลายครั้งว่าให้หันมาสนใจการระบายน้ำในฝั่งตะวันตกให้มากๆ เพราะว่าแทบจะมันไม่มีคลองระบายน้ำเลย ที่สำคัญมันยังมีคลองขวาง ขวางอย่างเดียว ฉะนั้นขณะนี้มันจะรับ ส่งก้อนน้ำมหึมาเป็นทอดๆ ท่วมไล่เป็นบล็อกๆ แต่ละพื้นที่จะหนักหนามากกว่าฝั่งตะวันตกมาก เพราะไม่รู้จะระบายน้ำไปไหน จะเอาไปท่าจีนน้ำก็สูง ส่งไปเจ้าพระยาก็สูงอีก แถมขณะนี้คันกั้นน้ำก็แตกหนัก เรื่องนี้รัฐบาลต้องตระหนักให้มากๆ ซึ่งฝั่งตะวันตกรัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาทันที”

    กลับไปทางฝั่งเหนือก็ต้องเรียกว่ากระเจิดกระเจิงกันถ้วนหน้าไม่เว้นแม้แต่ ศปภ.เองก็แทบเอาปี๊ปคลุมหัวเดินกันทั้งคณะ เพราะแม้แต่ศูนย์บัญชาการของรัฐบาลเองแท้ๆ ที่ดอนเมือง ก็ยังปกป้องดูแลเอาไว้ไม่ได้ จนต้องย้ายไปที่เอนเนอยี่ คอมเพล็กซ์ ซึ่งเป็นตึกของบริษัท ปตท. และทำท่าว่าน้ำจะตามไปราวีอย่างไปเลิกรา

    สำหรับทางด้านเหนือนั้น ต้องรับน้ำเอ่อล้นคลองมาจากรังสิตโดยเส้นทางได้รับผลกระทบได้แก่ ดอนเมือง หลักสี่ สายไหม บางเขน รามอินทรา เส้นทางนี้น้ำได้ไหลมาตามทางถนนวิภาวดีรังสิตและพลโยธินแล้วอย่างหนักหน่วง กล่าวคือด้านถนนพหลโยธินน้ำได้บุกเข้าโจมตีราบเป็นหน้ากลองไล่ตั้งแต่วัดพระศรีมหาธาตุบางเขน ราบ 11 สี่แยกเกษตร เสนานิคมมาจนถึงเมเจอร์รัชโยธินและ SCB ปาร์ค ส่วนด้านถนนวิภาวดีรังสิตก็กินยาวมาตั้งแต่สนามบินดอนเมืองอันเป็นที่ตั้งของศปภ. เลี้ยวเข้าถนนแจ้งวัฒนะ ถนนประชาชื่นเลียบคลองประปา แยกพงษ์เพชร ประชานุกูล จนถึงวัดเสมียนนารี

    ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้สูงที่น้ำทั้งสองสายจะมาบรรจบกันที่ห้าแยกลาดพร้าว จากนั้นก็บุกตะลุยเข้าสู่พื้นที่ชั้นในสุดแต่มวลน้ำจะเลือกทางเดินไปทางไหน โดยถ้าหากน้ำจากพหลโยธินเลี้ยวซ้ายก็มุ่งหน้าเข้าสู่รัชดาภิเษก ห้วยขวาง ดินแดง ทะลุไปจนถึงสุขุมวิท ส่วนน้ำจากห้าแยกลาดพร้าวก็จะบุกตะลุยผ่านใจกลางเมืองมุ่งหน้าเข้าสู่บางซื่อและอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

    และคำเตือนที่ชวนให้คนกรุงระทึกขวัญปิดท้ายเห็นจะหนีไม่พ้น คำเตือนของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ที่ให้สัมภาษณ์ภายหลังขึ้นเฮลิคอปเตอร์บินสำรวจพื้นที่ กทม.และปริมณฑลที่ประสบอุทกภัยวันที่ 3 พ.ย.ว่า ปริมาณน้ำทางทิศเหนือที่มาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา เหนือคลองรังสิตยังมีจำนวนมาก
    หรือนั่นหมายความว่า ยังมีมวลน้ำก่อนใหญ่จาก “อยุธยา” และ “รังสิต” เตรียมบุกเข้า กทม.อีกระลอกหนึ่ง

    ขณะเดียวกันที่คนกรุงเทพฯ ต้องระวังไม่แพ้กันคือกองทัพน้ำที่บุกทะลวงเข้ามาทาง “ท่อระบายน้ำ” ของ กทม.ดังเช่นที่ปรากฏในหลายพื้นที่ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้พื้นที่กรุงเทพฯ เสี่ยงหนักเข้าไปอีก ดังคำสารภาพของ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) ที่ยอมรับว่า อาจมีเอ่อท่วมขึ้นมาจากท่อระบายน้ำบ้าง ซึ่ง การควบคุมน้ำที่เอ่อมาจากท่อระบายน้ำนั้น ทำได้อยาก

    ดังนั้น จงอย่าถามว่า กทม.จะตกอยู่ในวงล้อมของน้ำนานแค่ไหน

    แต่ขอให้เตรียมตัวและเตรียมใจ รับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ด้วยใจระทึกไปอีกนานนับเดือนทีเดียว

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 5 พฤศจิกายน 2554 06:08 น.
    http://www.manager.co.th/Daily/ViewN...word=%a1%b7%c1

    รมว.คค.ปฏิเสธใช้ ถ.วิภาวดี เป็นคลองระบายน้ำ

    พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การวางกระสอบทรายใหญ่ หรือ บิ๊กแบ็ค ขณะนี้ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะสามารถลดปริมาณน้ำจากทางเหนือของกรุงเทพมหานครให้น้อยลงได้ แต่ทั้งนี้ ยังไม่สามารถประเมินได้ว่า น้ำที่ไหลเข้าท่วมพื้นที่ กทม.ขณะนี้ จะไหลเข้าท่วมจุดใดบ้าง นอกจากนี้ ยังปฏิเสธว่า เป็นไปไม่ได้ ที่จะใช้ถนนวิภาวดีรังสิต เป็นคลองระบายน้ำ

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 5 พฤศจิกายน 2554 00:13 น.
    [http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1

    “จากอีเอ็มบอล”ถึงมรณะที่น่ากลัวกว่าน้องน้ำ”

    ระหว่างที่สถานการณ์น้ำท่วม ตามมาด้วยภาพน้ำเน่า ขังอยู่ทั่ว กทม.และปริมณฑลขณะนี้ เราลองมาดูมุมมมองจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์กันบ้างว่าเป็นอย่างไร

    โดย นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ (American Board of Anti-aging medicine) อธิบายไว้อย่างขัดเจนในงานเขียน เรื่อง “จากอีเอ็มบอล”ถึงมรณะที่น่ากลัวกว่าน้องน้ำ”

    โดยมีเนื้อหาพอสังเขป ว่า อีเอ็ม หรือ EM ย่อมาจาก Effective Microorganisms ขอแปลง่ายๆว่าก้อนเชื้อบำบัดน้ำเสีย โดยในช่วงน้ำท่วมแถวคลองลาดพร้าวจ่อคอหอยเต็มทีผมได้เข้าไปทำรายการที่ช่องโมเดิร์นไนน์เลยได้มีโอกาสพบกับท่านอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ โดยท่านมีความเห็นต่างออกไปในเรื่องของเจ้าลูกจุลินทรีย์นี้ซึ่งในแง่ของสื่อผมเห็นว่ามีแง่มุมน่าสนใจจึงได้ไปค้นหาข้อมูลจากแหล่งอื่นๆที่เชื่อถือได้มาเล่าสู่กันฟังดังนี้ครับลูกอีเอ็มบอลลูกหนึ่งโดยทั่วไปดูแลน้ำได้แค่ราว 4X4 ตารางเมตรและควรใช้ในน้ำนิ่งจึงจะได้ผลดีที่สุด อย่างใน 2 กรณีคือ

    - โยนในคอห่าน ใช้กับสุขาในบ้านหรือในสุขาลอยน้ำก็ได้ ช่วยป้องกันไม่ให้ห้องน้ำของท่านกลายสภาพเป็นห้องแพร่เชื้อ

    - โยนในน้ำเน่าขังที่บ้าน หากท่านรับน้องน้ำเข้าไว้ในห้องรับแขกแล้วเริ่มเน่า เอาลูกนี้โยนไปตามขนาดพื้นที่เลยครับ

    การใส่ลูกที่สองต่อไปควรใช้ในอีกราว 1 เดือนครับ ส่วนประกอบของเจ้าลูกกลมปั้นได้นี้ก็มีเชื้อจุลินทรีย์โดยมีแกลบและรำเป็นอาหารหลัก ต้นทุนต่อลูกไม่เกิน 2 บาท ซึ่งนับว่าถูกมาก
    นี่เป็นข้อมูลจากทางการได้มาครับ

    ดังนั้นสรุปว่าลูกบอลนี้ก็มีที่ใช้และมีประโยชน์อยู่แต่ควรต้องใช้ให้ตรงกับข้อบ่งใช้ ไม่ใช่เห็นน้ำที่ไหนก็เอาไปหย่อนไว้เสมอ เช่นเห็นน้ำท่วมกำลังไหลซู่ซ่าอย่างกับน้ำตกไนแองการ่าก็เอาอีเอ็มบอลไปใส่ อย่างนี้ไม่มีประโยชน์ครับ หรือมวลน้ำปริมาณมหาศาลแล้วใส่อีเอ็มบอลไม่พอก็ไม่ช่วยครับ
    เผลอๆจะกลายเป็นทำให้น้ำยิ่ง “ป่วย” หนักขึ้น


    เพราะลูกบอลนี้มีส่วนประกอบที่คล้ายขยะดีๆนี่เอง เน่าเสียได้ง่ายนะครับเหมือนกับกรณีที่เรือน้ำตาลพลิกคว่ำในแม่น้ำจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไม่นานมา ลูกบอลอีเอ็มจะแปรสภาพจากพระเอกน้ำเน่าไปเป็นผู้ร้ายที่ทำให้น้ำยิ่งเน่าหนักขึ้น เห็นท่านผู้มีจิตอาสามาช่วยกันปั้นแล้วก็อนุโมทนาด้วยครับ แต่ขอให้นำมาใช้ให้ถูกจุดนะครับไม่อย่างนั้นน่าเสียดายที่สู้อุตส่าห์ช่วยกันปั้น

    สุขสันต์กับอีเม้ยบอล

    มรณะซ่อน แผนซ้อนจาก “น้ำ”

    พอพูดถึงน้ำเน่าแล้วก็ขอเพิ่มเรื่อง “ผู้ร้ายตามน้ำ” แถมพกเข้ามาสักนิดนะครับ สำหรับกระแสชลาลัยที่ผ่านตัวเราไปไม่ได้มีภัยเฉพาะจากจระเข้หรืองูกรีนแมมบ้าเท่านั้นนะครับ สิ่งที่ตามน้องน้ำมายังมีได้อีกครับ

    1) กรดกำมะถัน เป็นกรดที่ละลายน้ำได้มักอยู่ในโรงงานหล่อยางรถยนตร์และแบตเตอรีรถยนตร์ครับ น้ำที่ผ่านตามนิคมอุตสาหกรรมเป็นน้ำที่ไม่น่าไว้วางใจ มิไยที่ใครต่อใครจะออกมาบอกว่าโรงงานของเขาปลอดภัย แต่จะมีใครให้ความมั่นใจได้บ้างไหมว่าน้ำที่ผ่านออกมาจะปลอดภัยไปด้วยร้อยเปอร์เซนต์ เพราะเท่าที่ทราบยังไม่มีใครนำน้ำเน่าเหล่านี้มาตรวจอย่างจริงจังเลย จึงอยากให้ท่านผู้อ่านระวังไว้ก่อนก็จะดีครับเป็นการไม่ประมาทด้วย

    2) เชื้อบาดทะยัก โดยปกติเชื้อนี้อยู่กับ “พี่ดิน” ครับแต่เมื่อน้องน้ำ(เน่า)พบเข้ากับพี่ดินก็จะชะเชื้อที่อยู่ติดดินตามมาด้วย กลายเป็นน้ำที่อุดมเชื้อโรค หากท่านมีบาดแผลแค่เพียงเล็กน้อยเชื้อจากน้ำเน่าก็สามารถเข้าได้แล้วครับ เช่นเพิ่งตัดแต่งตะไบเล็บมาแล้วมีแผลนิดๆก็ติดเชื้อได้ หรือในเด็กน้อยแรกเกิดที่ภูมิยังอ่อนแออยู่ เชื้อบาดทะยักสามารถผ่านเข้าทางสายสะดือที่ปนเปื้อนได้นะครับ

    3) โลหะหนักปนเปื้อน โดยปกติโลหะหนักอย่างตะกั่ว,สังกะสี,ทองแดง ส่วนหนึ่งจะอยู่ในผืนดินที่เรายืนอยู่ทุกวันนี่แหละครับ แต่เมื่อน้ำผ่านมาก็เป็นธรรมดาว่าพี่ดินก็จะต้องปล่อยของตามน้องน้ำออกไปไม่มากก็น้อยขึ้นอยู่กับพื้นที่ แถบนิคมอุตฯที่เป็นทางผ่านน้ำก็น่าจะมากหน่อย กว่าจะกู้นิคมได้ก็คงปล่อยของออกมาเยอะพอดูครับ ส่วนตามบ้านก็มีตะกั่วอยู่ในสีทาบ้านแล้วก็ผ่านตามน้ำออกมา โลหะเหล่านี้สามารถผ่านเข้าไปทางเยื่อบุร่างกายได้ โดยเฉพาะในเด็กน้อยนี่ดูดซึมตะกั่วได้ดีกว่าผู้ใหญ่ 5-8 เท่าเชียวนะครับ ยิ่งอยู่กับน้ำนานก็ยิ่งมีโอกาสรับสารมรณะมาก ถ้าไม่อยากให้ลูกเสริมตะกั่วโดยไม่จำเป็นก็ขอให้ป้องกันให้ดีครับ

    จำเนียรกาลผ่านไป เชื้อและสารปนเปื้อนจากน้ำเน่าก็จะมีความเสี่ยงเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้มากขึ้น ท่านที่พยายามสู้ยิบตากับน้ำมานับเดือนจะทราบดีครับ การอยู่ในบ้านที่แวดล้อมด้วยน้ำเสียนอกจากเสียสุขภาพจิตแล้วยังเสียสุขภาพกายโดยรวมอีกด้วย ท่านจะรู้สึกได้ทันทีถึงสภาพร่างกายที่แย่ลง
    ติดเชื้อง่ายขึ้น เป็นหวัดไม่สบายได้ง่ายๆ
    แค่เชื้อขำๆผ่านมาก็ติดได้แล้ว

    กลายเป็นสุขภาพที่พลอยจมอยู่ในน้ำไปด้วย ซึ่งทางช่วยยังพอมีอยู่บ้างครับแม้จะไม่มากเพราะทางหลักๆอยู่ที่ทางการจะจัดการให้ “น้ำลด” ลงเร็วเท่าไร ถ้ายังไม่ไวพอสุขภาพของผู้คนก็จะตกกราฟลงเรื่อยๆตามเวลาที่ผ่านไป ไม่เป็นไรครับยังมีชีวิตอยู่ก็ต้องสู้กันไปให้กำลังใจกันไปในฐานะที่เป็นผู้ประสบภัยเหมือนๆกัน

    สิ่งสำคัญที่จะพอช่วยป้องกันภัยจากน้ำร้ายที่ว่านี้ได้คือ “รองเท้าบู้ท” ครับ หาซื้อไว้สักท่านละคู่ ใช้ใส่ยามจำเป็นต้องย่ำลงไปชั้นล่างของบ้านที่เฉอะแฉะและยังใช้ป้องกันไฟฟ้าดูดได้ด้วยครับ ผมได้รับไอเดียนี้มาจากคุณแม่ที่ท่านแนะให้ซื้อเก็บเอาไว้ตั้งแต่น้ำยังไม่มา และยามน้ำลดก็ยังเอามาใช้ได้ต่อ

    แต่ขอให้อย่าต้องเอามาใช้อีกปีหน้าเลย

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 5 พฤศจิกายน 2554 12:43 น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...word=%a1%b7%c1

    สั่งอพยพ ซ.จรัญฯ 13 แขวงท่าพระ-4 แขวงเขตภาษีเจริญ เฝ้าระวังเขตดินแดง

    ผู้ว่าฯกทม.ประกาศเขตอพยพเพิ่ม "ซ.จรัญฯ 13 แขวงท่าพระ -4 แขวงเขตภาษีเจริญ "คลองขวาง-บางด้วน-บางแวก-บางจาก พร้อมเฝ้าระวังพื้นที่ริมคลองบางซื่อ เขตดินแดง

    วันนี้(5 พ.ย.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. แถลงว่า
    กทม.ประกาศพื้นที่อพยพเพิ่มเติม คือ เขตบางกอกใหญ่ เฉพาะ พื้นที่ ซ.จรัญฯ13 แขวงท่าพระ และ เขตภาษีเจริญเฉพาะ 4 แขวง คือ แขวงคลองขวาง แขวงบางด้วน แขวงบางแวก แขวงบางจาก

    ทั้งนี้ ยังประกาศ พื้นที่เฝ้าระวังเพิ่มเติมคือ เขตดินแดง เฉพาะชุมชนริมคลองบางซื่อ ชุมชนอยู่เจริญ ซ.อินทามะระ 41 ชุมชนอยู่เจริญโครงการ 3

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 5 พฤศจิกายน 2554 13:21 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1

    ประกาศอพยพ! บางกอกใหญ่-ภาษีเจริญ 4 แขวง

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงภายหลังประชุมสถานการณ์น้ำร่วมกับผู้บริหาร กทม.ว่า ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองหลังต่างๆ ส่วนใหญ่ยังทรงตัว แต่ที่น่าเป็นห่วงขณะนี้ คือ สถานการณ์น้ำถนนวิภาวดีรังสิต และถนนพหลโยธิน ที่ไหลลงห้าแยกลาดพร้าว และกำลังจะขยายวงกว้างไปยังดินแดง สะพานควาย จากเดิมจะใช้คลองบางซื่อเป็นที่รับน้ำ แต่เนื่องจากคลองบางซื่อมีปริมาณน้ำเต็ม ไม่สามารถรองรับมวลน้ำเหล่านี้ได้ เหลือเพียงบึงมักกะสันเท่านั้นที่จะสามารถพึ่งได้ แต่ต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด
    ทั้งนี้ จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้กรุงเทพมหานครจำเป็นต้องประกาศให้เขตดินแดงบางพื้นที่ เป็นเขตเฝ้าระวังพิเศษ ได้แก่ ชุมชนริมคลองบางซื่อ ชุมชนหมู่บ้านอยู่เจริญ ซอยอินทรามระ 41 และชุมชนหมู่บ้านอยู่เจริญ โครงการ 3 รวมถึงประกาศให้เขตบางกอกใหญ่ แขวงท่าพระ ซอยจรัญสนิทวงศ์ 13 และเขตภาษีเจริญ แขวงคลองขวาง บางด้วน บางแวก และบางจาก เป็นพื้นที่อพยพ เนื่องจากกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก ยังคงมีน้ำแผ่ขยายวงกว้าง
    อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวอีกว่า ดีใจที่ ศปภ.สามารถปิดประตูระบายน้ำคลอง 8 และ คลอง 10 ได้ เหลือเพียงคลอง 9 เท่านั้น ซึ่ง กทม.จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมให้เวลา 48 ชั่วโมงนับจากนี้ไป หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้น จะทบทวนมาตรการในการจัดการกับสถานการณ์น้ำต่อไป โดยยังไม่ระบุถึงการดำเนินการ

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 5 พฤศจิกายน 2554 14:30 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1

    กทม.ประกาศเขตดินแดงเฝ้าระวัง

    “สุขุมพันธุ์” น้ำเจ้าพระยาลดลงแล้ว แต่เขตดินแดงต้องระวังเป็นพิเศษ

    วันนี้ (5พ.ย.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการ กทม.กล่าวแถลงข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วม ว่า ขณะนี้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มลดลงแล้ว ขณะที่คลองหลักต่างๆ ส่วนใหญ่ยังคงทรงตัว แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ สถานการณ์น้ำจากถ.วิภาวดีรังสิต และถ.พหลโยธิน ได้ไหลลงมายังห้าแยกลาดพร้าวและกำลังจะแผ่ลงไปยังดินแดงและสะพานควาย เดิมจะใช้คลองบางซื่อเป็นที่รับน้ำ แต่เนื่องจากคลองบางซื่อมีปริมาณน้ำเต็ม จึงไม่สามารถรองรับมวลน้ำได้ เหลือแต่เพียงบึงมักกะสันเท่านั้น ซึ่งต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด

    ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ กทม.จำเป็นต้องประกาศให้เขตดินแดงบางพื้นที่เป็นเขตเฝ้าระวังพิเศษได้แก่ ชุมชนริมคลองบางซื่อ ชุมชนหมู่บ้านอยู่เจริญ ซอยอินทามระ 41 และชุมชนหมู่บ้านอยู่เจริญ โครงการ 3 รวมถึงประกาศให้เขตบางกอกใหญ่ แขวงท่าพระ ซอยจรัญสนิทวงศ์ 13 และเขตภาษีเจริญ แขวงคลองขวาง บางด้วน บางแวก และบางจาก เป็นพื้นที่อพยพเนื่องจาก กทม.ฝั่งตะวันตกยังคงมีน้ำแผ่ลงไปเรื่อยๆ และดีใจที่ศปภ.สามารถปิดประตูระบายน้ำคลอง 8 และคลอง 10 ได้ เหลือเพียงคลอง 9 เท่านั้น ซึ่งทางกทม.จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และให้เวลา 48 ชั่วโมงจากนี้ไป หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นก็จะมีการทบทวนมาตรการในการจัดการกับสถานการณ์น้ำต่อ ไป แต่ยังไม่มีการระบุถึงการดำเนินการ

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 5 พฤศจิกายน 2554 15:03 น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...word=%a1%b7%c1

    บก.จร.แจ้งปิดการจราจร-เส้นทางเลี่ยงน้ำท่วม

    กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) แจ้งปิดเส้นทางการจราจรล่าสุดดังนี้

    ทิศเหนือ ถนนสายหลัก ปิดการจราจรเพิ่ม จำนวน 3 แห่ง

    1) ถ.วิภาวดีรังสิต ขาเข้า-ขาออก ขยายพื้นที่ปิดการจราจร ถึง สำนักงานใหญ่การบินไทย ระดับน้ำ 80-120 ซม.

    2) ถ.รัชดาภิเษก ขาเข้า-ขาออก ขยายพื้นที่ปิดการจราจร ตั้งแต่ทางต่างระดับรัชวิภา ถึงแยกรัชดา- ลาดพร้าว ระดับน้ำ 40-80 ซม.

    3) ถ.ลาดพร้าว ขาเข้า -ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่ห้าแยกลาดพร้าว ถึง แยกถ.รัชดาตัดลาดพร้าว ระดับน้ำ 80 ซม.

    ทิศตะวันตก ถนนสายหลัก ปิดการจราจรเพิ่ม จำนวน 1 แห่ง

    1) ถ.เพชรเกษม ขาเข้า-ขาออก ขยายพื้นที่ปิดการจราจร จากแยกพุทธมณฑลสาย 4 ถึงสะพานข้ามคลองบางไผ่ (ซ.เพชรเกษม 22 )ระดับน้ำ 60 -120 ซม.

    ทิศตะวันออก ถนนสายรอง ปิดการจราจรเพิ่ม จำนวน 1 แห่ง

    1) ถ.ประชาร่วมใจ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 50 ซม.

    เส้นทางเลี่ยง เวลา 11.00 น. เพิ่มเติม

    ทิศเหนือ จำนวน 2 แห่ง

    1) ถ.รัชดาภิเษก ตั้งแต่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงอุโมงสุทธิสาร (ปิดทางลงอุโมงค์) ระดับน้ำ 30-40 ซม.

    2) ถ.รามอินทรา ตั้งแต่ รามอินทรา กม. 5 ถึง รามอินทรา กม.8 ระดับน้ำ 20-30 ซม.

    เส้นทางเลี่ยงที่ใช้การได้

    ทิศเหนือ1) ดอนเมืองโทลเวย์ ขึ้นด่านดินแดง - ลงสุดทางบริเวณโรงกษาปณ์

    2) ถ.วิภาวดีรังสิต มุ่งหน้าห้าแยกลาดพร้าว ขาเข้า - ขาออก ใช้การได้ ถึงบริเวณแยกสุทธิสาร

    3) ถ.พหลโยธิน มุ่งหน้าห้าแยกลาดพร้าว ขาเข้า-ขาออก ใช้การได้ ถึงบริเวณแยกสะพานควาย

    4) ถ.ลาดพร้าวมุ่งหน้าห้าแยกลาดพร้าว ขาเข้า - ขาออก ใช้การได้ ถึงบริเวณแยกภาวนา

    5) ถ.รามอินทรา ใช้การได้ตั้งแต่ กม.5 ถึง กม.8

    6) ถ.นวมินทร์มุ่งหน้า ถ.รามอินทรา ขาเข้า - ขาออก ใช้การได้ ถึงบริเวณสะพานข้ามแยกเกษตรนวมินทร์

    7) ถ.ประเสริฐมนูญกิจ(เกษตรนวมินทร์ ) มุ่งหน้าแยกเกษตร ขาเข้า- ขาออก ใช้การได้ ถึงบริเวณลาดปลาเค้า

    ทิศตะวันออก

    1) ถ.เลียบท่างด่วนรามอินทรา ใช้การได้ตลอดสาย

    2) ถ.เสรีไทย ใช้การได้ตลอดสาย

    3) ถ.รามคำแหง ใช้การได้ตลอดสาย

    4) ถ.ศรีนครินทร์ ใช้การได้ตลอดสาย

    5) ถ.สุวินทวงศ์ ขาเข้า - ขาออก จากจังหวัดฉะเชิงเทรา มุ่งหน้ามีนบุรี ใช้การได้ถึงแยกตัดถ.ราษฎร์อุทิศ

    6) ถ.มอเตอร์เวย์ ใช้การได้ตลอดสาย

    7) ถ.วงแหวนตะวันออก(ใต้) ขาเข้า - ขาออก ใช้การได้ตั้งแต่ทางต่างระดับรามอินทรา ถึงทางขึ้น-ลงสุขสวัสดิ์บางขุนเทียน

    8) ถ.บางนาตราด ใช้การได้ตลอดสาย

    9) ถ.บูรพาวิถี ใช้การได้ตลอดสาย

    10) ถ.ลาดกระบัง ใช้การได้ตลอดสาย

    11) ถ.อ่อนนุช ใช้การได้ตลอดสาย

    12) ถ.สุขุมวิท ใช้การได้ตลอดสาย

    ทิศใต้

    1) ถ.พระราม 2 ใช้การได้ตลอดสาย

    ทิศตะวันตก

    1) ถ.ราชพฤกษ์ ขาเข้า -ขาออกใช้การได้ตั้งแต่ถ.เพชรเกษม ถึง เชื่อมถ.กรุงธนบุรี

    สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่ใช้การได้

    1) สะพานพุทธฯ

    2) สะพานพระปกเกล้าฯ

    3) สะพานตากสิน(สาธร)

    4) สะพานกรุงเทพ

    5) สะพานพระราม 3

    6) สะพานพระราม 9 (สะพานแขวน)

    7) สะพานภูมิพลฯ(วงแหวนอุตสาหกรรม)

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 5 พฤศจิกายน 2554 15:47 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000141204

    กทม.ประกาศให้ชุมชนริมคลองบางซื่อเป็นพื้นที่เฝ้าระวังพิเศษ

    ขณะนี้ระดับน้ำในคลองบางซื่อ ในพื้นที่เขตดินแดงได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้หลายพื้นที่ที่อยู่ติดริมคลองได้รับความเดือดร้อน ล่าสุดกรุงเทพมหานครได้ประกาศให้ชุมชนริมคลองบางซื่อ หมู่บ้านอยู่เจริญ ซอยอินทามระ41 และหมู่บ้านอยู่เจริญ โครงการ 3 เป็นพื้นที่เฝ้าระวังเป็นพิเศษ โดยขอให้ประชาชนยกสิ่งของมีค่าขึ้นที่สูง และล่าสุดระดับน้ำได้ท่วมหมู่บ้านอยู่เจริญซอยอินทามระ41 อยู่ที่ระดับ 40-50 เซนติเมตร รถเล็กไม่สามารถผ่านได้ ขณะนี้เขตดินแดงได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปเจรจาทำความเข้าใจกับชาวบ้านกว่า 200 หลังคาเรือนจำนวน 500 คน ให้ปฏิบัติตามที่กรุงเทพมหานครประกาศอย่างเคร่งครัด เพราะก่อนหน้านี้ได้มีการแจ้งเตือนกันหลายครั้ง แต่ชาวบ้านไม่ยอมปฏิบัติตาม ส่วนระดับน้ำในคลองบางซื่อที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้ ส่งผลให้ถนนรัชดาภิเษกตั้งแต่ช่วงหน้าโรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค มีน้ำท่วมสูงประมาณ 20 เซนติเมตร เป็นระยะทางประมาณ 100 เมตร โดยหลังจากนี้น้ำมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงค่ำวันนี้

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 5 พฤศจิกายน 2554 16:23 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1

    กทม.ยันระบายน้ำตามลำคลองเต็มกำลัง

    นายวสันต์ มีวงษ์ รองโฆษกกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงประสิทธิภาพในการจัดการระบายน้ำภายในของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ว่า ขณะนี้ กทม.สามารถระบายน้ำออกได้กว่า 70 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ในอุโมงค์หลัก และคลองแสนแสบ คลองลาดพร้าว คลองเปรมประชากร คลองบางซื่อ และคลองต่างๆ ทั้งหมดอย่างเต็มกำลัง ขณะนี้น้ำในห้าแยกลาดพร้าวที่ลดลงอย่างรวดเร็วแล้ว เนื่องจากน้ำได้เข้าสู่ระบบการจัดการของกรุงเทพมหานคร ทำให้มีการระบายน้ำได้เร็วขึ้น
    ส่วนการจะเร่งระบายน้ำที่ยังคงท่วมอยู่ในพื้นที่เหนือขึ้นไป ในเขตลาดพร้าวนั้น ก็จะสามารถจัดการได้ หลังจากที่มีการวางบิ๊กแบ็คเสร็จสิ้น ซึ่งจะทำให้มวลน้ำที่ไหลลงสู่กรุงเทพมหานครมีปริมาณลดลง


    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 5 พฤศจิกายน 2554 16:51 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1

    น้ำจากคลองมหาสวัสดิ์แผ่จ่อเขตบางบอนแล้ว

    น้ำจากคลองมหาสวัสดิ์ได้แผ่ขยายครอบคลุมบริเวณกว้าง ตั้งแต่ทวีวัฒนา ศาลายา หนองแขม บางแค และล่าสุดได้ไปจ่อที่เขตบางบอนแล้ว

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 5 พฤศจิกายน 2554 17:30 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000141236

    ภาษีเจริญวิกฤต!! ชาวบ้านร้องขอเรือ-รถใหญ่เร่งอพยพ

    ประชาชนในเขตภาษีเจริญ บางแค และหนองแขม กำลังเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วมอย่างหนัก โดยชาวบ้านบริเวณถนนเพชรเกษม ต่างเร่งขนย้ายสิ่งของอพยพออกจากพื้นที่ หลังจากไม่แน่ใจว่าระดับน้ำจะสูงขึ้นอีกหรือไม่ ซึ่งระดับน้ำจากแยกบางแคถึงแยกท่าพระยังสูงต่อเนื่อง อยู่ที่ระดับ 85 เซนติเมตรแล้ว และภายในชุมชนสูงกว่า 1 เมตร

    ส่วนชาวบ้านที่ยังปักหลักอยู่ภายในบ้าน ต้องอาศัยเรือรับจ้างที่วิ่งให้บริการบนท้องถนน และรถทหารที่มาช่วยอพยพชาวบ้านออกจากพื้นที่ในการเดินทางเข้า-ออก ซึ่งมีจำนวนไม่เพียงพอ จึงร้องขอทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้จัดหารถและเรือเพิ่ม ขณะที่ห้างโลตัส สาขาเพชรเกษม ยังเปิดบริการตามปกติ ตั้งแต่ 07.00 น.ถึง 23.00 น. โดยชาวบ้านต้องเดินฝ่าสายน้ำระดับเอวเข้าไปซื้อของจำเป็นภายในห้าง

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 5 พฤศจิกายน 2554 17:37 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000141240

    เขตพระนครทำพนังกั้นน้ำริมเจ้าพระยายาวกว่า 100 ม.

    นายมนัส อยู่นาม หัวหน้าฝ่ายรักษาความสะอาด สำนักงานเขตพระนคร กล่าวว่า ผู้อำนวยการเขตพระนคร ได้มีคำสั่งให้สำนักงานเขตพระนครลงพื้นที่เพื่อทำพนังกั้นน้ำ บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งท่าพระจันทร์ ตั้งแต่ตรอกมหาธาตุจนถึงซอยกลาง เพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ โดยได้ร่วมกับกองทัพบกนำกำลังทหารกว่า 100 นาย เข้ามาสมทบ โดยทางเขตพระนครได้จัดส่งเจ้าหน้าที่กว่า 130 นาย สร้างพนังกั้นน้ำยาวกว่า 100 เมตร สูง 60 เซนติเมตร เพื่อกั้นน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่จะไหลเข้าพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ใกล้เสร็จสิ้นแล้ว โดยขั้นตอนต่อไปจะเป็นการอุดท่อระบายน้ำในพื้นที่ เพื่อป้องกันน้ำที่จะหนุนมาจากพื้นที่ โดยพื้นที่ตรอกสนามพระ เป็นพื้นที่ต่ำที่สุดในบริเวณ ซึ่งระดับน้ำที่เคยสูงที่สุดอยู่ที่ 1 เมตร

    นายมนัส กล่าวต่อไปว่า สำนักงานเขตพระนครได้เคยทำพนังกั้นน้ำดังกล่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่พอถึงช่วงเวลาที่น้ำลด พ่อค้าแม่ค้าในพื้นที่รื้อออก เนื่องจากกีดขวางการเดินทาง แต่ภายหลังจากที่บริเวณดังกล่าวเริ่มถูกน้ำท่วมบ่อยขึ้น และมีปริมาณน้ำสูงขึ้น ทางผู้อำนวยการเขตพระนคร จึงได้มีคำสั่งให้สร้างขึ้นใหม่

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 5 พฤศจิกายน 2554 17:58 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000141249

    เขตภาษีเจริญเร่งระบายน้ำลงแม่น้ำเจ้าพระยา

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานระบายน้ำของเขตภาษีเจริญกำลังพยายามที่จะระบายน้ำจากคลองภาษีเจริญ รวมไปถึงคลองบางกอกใหญ่นั้นให้ลงแม่น้ำเจ้าพระยาให้มากที่สุด
    ทั้งนี้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ฝั่งธน

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 5 พฤศจิกายน 2554 17:59 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000141250

    ศปภ.ยันน้ำขยายวงกว้างแต่จะไม่ท่วมสูง แนะกทม.ชั้นในติดตามข่าวใกล้ชิด

    ศปภ.ยันน้ำในกทม.ขยายวงกว้าง - ระดับสูงขึ้น แต่จะไม่หนักเท่าพื้นที่ที่ท่วมช่วงแรกๆ แนะกทม.ชั้นใน ติดตามข่าวใกล้ชิด พร้อมวอนอย่าทำลายบิ๊กแบ็ค แจงพื้นที่เหนือคันขึ้นไปจะเร่งสูบน้ำออกเช่นเดียวกัน ไม่ต้องห่วงโดนละเลย อีกทั้งกำลังเร่งกู้ถนน 340 เพื่อเป็นเส้นทางสำรองลงภาคใต้

    วันนี้ 5 พ.ย. เมื่อเวลาประมาณ 21.15 น. ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ชี้แจงสถานการณ์ประจำวันโดยนายธงทอง จันทรางศุ เผยว่า ขณะนี้กทม.มีระดับน้ำเพิ่มขึ้น แต่ไม่น่ากังวลเท่ากับหลายๆเขตที่ประสบภัยในช่วงแรก ปริมาณยังไหลกระจายวงกว้างมากขึ้นแต่ระดับน้ำจะไม่สูง ขอแนะนำให้เขตดินแดง และกทม.ตอนในเฝ้าระวัง คอยตรวจสอบประกาศจากภาครัฐว่าอยู่ในเขตอพยพหรือไม่

    ทั้งนี้ทางกรุงเทพมหานครได้ทำหนังสือถึงศปภ.ต้องใช้เครื่องสูบน้ำ ขนาด 1 ลบ.ม.ต่อวินาที จำนวน 20 เครื่อง , เครื่องสูบน้ำขนาด 2 ลบ.ม.ต่อวินาที จำนวน 20 เครื่อง และเครื่องสูบน้ำขนาด 3 ลบ.ม.ต่อวินาที จำนวน 20 เครื่อง รวมแล้ว 60 เครื่อง เพื่อนำไปเร่งในการระบายน้ำพื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร แต่ศปภ.ไม่สามารถจัดหาตามจำนวนนี้ได้ ซึ่งจะมีการจัดซื้อแต่ต้องใช้เวลาหลายวัน จึงต้องขอจากพี่น้องประชาชนก่อน หากใครมีเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่จะขายให้ศปภ. หรือให้เช่า หรือให้ยืม ก็ได้

    ส่วนบิ๊กแบ็คที่ทำขึ้นเพื่อชะลอน้ำเข้าสู่กทม.ชั้นใน เวลานี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยจากนี้จะสูบน้ำที่เข้ามาลงสู่คลองเปรมประชากร เพื่อลดระดับน้ำที่ท่วมถนนวิภาวดี ส่วนที่กังวลว่าจะทำให้บริเวณตอนเหนือของบิ๊กแบ็คน้ำไม่ลดลง จนมีการใช้ของมีคมทำลาย จึงขอยืนยันว่าน้ำที่ขังพื้นที่เหนือบิ๊กแบ็คจะรีบสูบลงคลองรังสิตประยูรศักดิ์และคลองอื่นๆในระบบ ไม่ต้องกังวล รวมถึงคันกั้นน้ำบริเวณต่างๆ ด้วย ขอความกรุณาทุกท่านคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม

    เรื่องการจราจร ถนนพระราม 2 ที่เป็นเส้นทางหลักออกจากกทม. ขณะนี้ยังใช้สัญจรไปมาได้ และวันนี้ได้ใช้กระสอบทรายจำนวน 100,000 ใบเป็นแนวกั้นน้ำ เพื่อกู้ถนนสาย 340 บางบัวทอง-สุพรรณบุรี สำหรับใช้เป็นเส้นทางสำรองในการสัญจรลงไปยังภาคใต้

    ทั้งนี้การอำนวยความสะดวกงดเว้นจัดเก็บค่าผ่านทางถึง 14 พ.ย. อาจขยายออกไปตามความเหมาะสม โดยทางที่งดเว้นการเก็บเงิน มีดังนี้ 1.มอเตอร์เวย์ 2.กาญจนาภิเษก 3.ด่วนรามอินทรา 4.บูรพาวิถี 5.บางปะอิน-ปากเกร็ด 6.โทลล์เวย์ ส่วนพื้นที่กทม.ชั้นในที่สถานการณ์ปกติ ยังคงเก็บเงินตามปกติ

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 5 พฤศจิกายน 2554 21:52 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1
  9. IAm
    IAm

    6 พฤศจิกายน 2554

    ==================================================


    >> กรุงเทพฯ <<


    ตรวจเส้นทางถนนในกรุงเทพฯวิ่งได้เช้านี้
    อัปเดตเส้นทางน้ำท่วมขังใน กทม.รถผ่านไม่ได้และถนนที่ยังใช้งานได้เช้านี้ก่อนเดินทางออกจากบ้าน

    ทิศเหนือ ถนนสายหลักปิดการจราจร จำนวน 7 แห่ง
    1.ถ.วิภาวดีรังสิต ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรถึงห้าแยกลาดพร้าว ระดับน้ำ 80-120 ซม.(หมายเหตุ : เดิมขยายพื้นที่การปิดจราจรมาถึงหน้าการบินไทย (สำนักงานใหญ่) เลื่อนมาปิดห้าแยกลาดพร้าว เนื่องจากมีการสูบน้ำ ลงคลองบางซื่อ ทำให้ปริมาณน้ำลดลง
    2.ถ.รัชดาภิเษก ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจร ตั้งแต่ทางต่างระดับรัชวิภา ถึงแยกรัชดา-ลาดพร้าว ระดับน้ำ 40-80 ซม.
    3.ถ.ลาดพร้าว ขาเข้า-ขาออก ขยายพื้นที่ ปิดการจราจร ตั้งแต่ห้าแยกลาดพร้าว ถึง ซ.ภาวนา (ลาดพร้าว 39) ระดับน้ำ 60 ซม.
    4.พหลโยธิน ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรถึงห้าแยกลาดพร้าว ระดับน้ำ 90-130 ซม.
    5.ถ.รามอินทรา ขาเข้า-ขาออก ขยายพื้นที่ปิดการจราจรจากแยกวงเวียนบางเขน ถึง กม.5 ระดับน้ำ 100-110 ซม.
    6.ถ.แจ้งวัฒนะ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่วงเวียนบางเขน ถึงแยกคลองประปา ระดับน้ำ 90-100 ซม.
    7.ถ.งามวงศ์วาน ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกพงษ์เพชร ถึงแยกเกษตร ระดับน้ำ 100 ซม.

    ทิศเหนือ ถนนสายรองปิดการจราจร จำนวน 17 แห่ง
    1.ถ.พระยาสุเรนทร์ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 40-80 ซม.
    2.ถ.เทอดราชันย์ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.
    3.ถ.แจ้งวัฒนะ ซอย 5 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 80 ซม.
    4.ถ.ช่างอากาศอุทิศ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.
    5.ถ.นวมินทร์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ ซ.นวมินทร์ 163 ถึง รามอินทรา กม.8 ระดับน้ำ 70 ซม.
    6.ถ.กำแพงเพชร 6 (ถ.โลคัลโรด) ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่หน้าหมู่บ้านเมืองเอก ถึงหน้าวัดเสมียนนารี ระดับน้ำ 80-150 ซม.
    7.ถ.สรงประภา ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกศรีสมานถึงแยก กสบ.ระดับน้ำ 80 ซม.
    8.ถ.เชิดวุฒากาศ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 150 ซม.
    9.ถ.โกสุมร่วมใจ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.
    10.ถ.เดชะตุงคะ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.
    11.ถ.เวฬุวนาราม (วัดไผ่เขียว) ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.
    12.ถ.แจ้งวัฒนะ ซอย 14 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 150 ซม.
    13.ถ.เลียบคลองสอง ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกพลาธิการกองทัพอากาศ ถึงแยกสะพานปูน ระดับน้ำ 60 ซม.
    14.ถ.จันทรุเบกษา ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยก ร.ร.นายเรืออากาศ (คปอ.) ถึงแยกจันทรุเบกษา ระดับน้ำ 60 ซม.
    15.ถ.วัชรพล ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกตัดถนนเพิ่มสิน ถึงห้าแยกวัชรพล ระดับน้ำ 60 ซม.
    16.ถ.เพิ่มสิน (พหลโยธิน 54/1- ถ.สุขาภิบาล 5) ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.
    17.ถ.สุขาภิบาล 5 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.

    ทิศตะวันตก ถนนสายหลักปิดการจราจร จำนวน 9 แห่ง
    1.ถ.เพชรเกษม ขาเข้า-ขาออก ขยายพื้นที่ปิดการจราจร จากแยกพุทธมณฑลสาย 4 ถึงสะพานข้ามคลองบางไผ่ (ซ.เพชรเกษม 22) ระดับน้ำ 60-120 ซม.
    2.ถ.จรัญสนิทวงศ์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกบางขุนนนท์ ถึง สะพานพระราม 7 ระดับน้ำ 70-150 ซม.
    3.ถ.สิรินธร ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกบางพลัด ถึงทางต่างระดับสิรินธร ระดับน้ำ 60-150 ซม.
    4.ถ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถึงแยกบรมราชชนนี ระดับน้ำ 80-150 ซม.
    5.ถ.อรุณอมรินทร์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกอรุณอมรินทร์ ถึงแยก รพ.ศิริราช ระดับน้ำ 80-150 ซม.
    6.ถ.บรมราชชนนี ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกบรมราชชนนี ถึงทางต่างระดับสิรินธร (สายใต้เก่า) ระดับน้ำ 60-150 ซม.
    7.ถ.ทางคู่ขนานลอยฟ้า ปิดการจราจรตลอดสาย ไม่สามารถลงพื้นราบได้
    8.ถ.บรมราชชนนี (ช่วงพุทธมณฑล) ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกพุทธมณฑลสาย 4 ถึงแยก ถ.ราชพฤกษ์ ระดับน้ำ 60-80 ซม.
    9.ถ.กาญจนาภิเษก ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่สะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ถึงคลองบางไผ่ ระดับน้ำ 60-80 ซม.

    ทิศตะวันตก ถนนสายรอง ปิดการจราจร จำนวน 14 แห่ง
    1.ถ.ราชพฤกษ์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.บรมราชชนนี ถึงสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ระดับน้ำ 60-70 ซม.
    2.ถ.สวนผัก ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกกาญจนา ถึงสะพานข้ามทางรถไฟ ระดับน้ำ 70-100 ซม.
    3.ถ.บางระมาด ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.กาญจนาภิเษก ถึงตัด ถ.ราชพฤกษ์ ระดับน้ำ 60-90 ซม.
    4.ถ.ทวีวัฒนา ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่คลองทวีวัฒนา ถึงตัด ถ.กาญจนาภิเษก ระดับน้ำ 40-60 ซม.
    5.ถ.ทวีวัฒนา ขาเข้า-เขาออก ตั้งแต่ ประตูระบายน้ำทวีวัฒนา ถึงคลองบางไผ่ ระดับน้ำ 40-60 ซม.
    6.ถ.พุทธมณฑลสาย 1 ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ขนส่งรถไฟสายใต้ ถึงคลองบางไผ่ ระดับน้ำ 40-60 ซม.
    7.ถ.ทุ่งมังกร ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.บรมราชชนนี ถึงตัด ถ.สวนผัก ระดับน้ำ 80-120 ซม.
    8.ถ.ฉิมพลี ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกทุ่งมังกร ถึงหน้า สน.ตลิ่งชัน ระดับน้ำ 40-60 ซม.
    9.ถ.ชัยพฤกษ์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.บรมราชชนนี ถึงตัดวัดชัยพฤกษ์ ระดับน้ำ 40-60 ซม.
    10.ถ.บางแวก ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่คลองทวีวัฒนา ถึง สน.บางเสาธง ระดับน้ำ 40- 80 ซม.
    11.ถ.พุทธมณฑลสาย 2 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 50-60 ซม.
    12.ถ.พุทธมณฑล สาย 3 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 50-80 ซม.
    13.ถ.อุทยาน ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 50-70 ซม.
    14.ถ.ศาลาธรรมสพน์ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 80-150 ซม.

    ทิศตะวันออก ถนนสายหลัก ปิดการจราจร จำนวน 2 แห่ง
    1.ถ.สุวินทวงศ์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกตัด ถ.ราษฎร์อุทิศ ถึงแยกการไฟฟ้ามีนบุรี ระดับน้ำ 60 ซม.
    2.ถ.สุวินทวงศ์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกไปรษณีย์ ถึงตัด ถ.ร่มเกล้า ระดับน้ำ 60 ซม.
    ทิศตะวันออก ถนนสายรอง ปิดการจราจร จำนวน 3 แห่ง
    1.ถ.ราษฎร์อุทิศ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซม.
    2.ถ.หทัยราษฎร์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกตัด ถ.สุวินทวงศ์ ถึง ซ.หทัยราษฎร์ 1 ระดับน้ำ 60 ซม.
    3.ถ.ประชาร่วมใจ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 50 ซม.

    ทิศเหนือ เส้นทางควรหลีกเลี่ยง รถยนต์ขนาดเล็กผ่านไม่ได้
    1.ถ.รัชดาภิเษก ตั้งแต่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงอุโมงสุทธิสาร (ปิดทางลงอุโมงค์) ระดับน้ำ 30-40 ซม.
    2.ถ.พหลโยธิน ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ห้าแยกลาดพร้าว ถึง กรมการขนส่งทางบก ระดับน้ำ 30-40 ซม.
    3.ถ.ลาดปลาเค้า ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกลาดปลาเค้า ถึงหน้าวัดใหม่เสนา ระดับน้ำ 40-60 ซม.
    4.ถ.สายไหม มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 40-50 ซม.
    5.ถ.เสนานิคม 1 ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกเสนานิคม ถึงแยกวังหิน ระดับน้ำ 40 ซม.
    6.บริเวณแยกวัดเสมียนนารี ระดับน้ำ 60 ซม.
    7.ถ.นาวงประชาพัฒนา มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 50 ซม.
    8.ถ.คู้บอน ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ ซ.คู้บอน 19 ถึงหน้า สน.คันนายาว ระดับน้ำ 30- 50 ซม.
    9.ถ.บูรพา (ดอนเมือง) มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 50 ซม.

    ทิศตะวันออก เส้นทางควรหลีกเลี่ยง รถยนต์ขนาดเล็กผ่านไม่ได้
    1.ถ.นิมิตรใหม่ ขาเข้า-ขาออก มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 20-30 ซม.
    2.ถ.ไมยลาภ ขาเข้า-ขาออก มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 30-50 ซม.
    3.ถ.ประชาร่วมใจ ขาเข้า-ขาออก มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 30-50 ซม.

    เส้นทางเลี่ยงที่ใช้การได้
    ทิศเหนือ
    1.ดอนเมืองโทลเวย์ ขึ้นด่านดินแดง-ลงสุดทางบริเวณโรงกษาปณ์
    2.ถ.วิภาวดีรังสิต มุ่งหน้าห้าแยกลาดพร้าว ขาเข้า-ขาออก ใช้การได้ ถึงบริเวณแยกสุทธิสาร
    3.ถ.พหลโยธิน มุ่งหน้าห้าแยกลาดพร้าว ขาเข้า-ขาออก ใช้การได้ ถึงบริเวณแยกสะพานควาย
    4.ถ.ลาดพร้าวมุ่งหน้าห้าแยกลาดพร้าว ขาเข้า-ขาออก ใช้การได้ ถึงบริเวณแยกภาวนา
    5.ถ.รามอินทรา ใช้การได้ตั้งแต่ กม.5 ถึง แยกมีนบุรี
    6.ถ.นวมินทร์มุ่งหน้า ถ.รามอินทรา ขาเข้า-ขาออก ใช้การได้ ถึงบริเวณสะพานข้ามแยกเกษตร-นวมินทร์
    7.ถ.ประเสริฐมนูญกิจ (เกษตร-นวมินทร์) มุ่งหน้าแยกเกษตร ขาเข้า-ขาออก ใช้การได้ถึงแยกลาดปลาเค้า

    ทิศตะวันออก
    1.ถ.เลียบท่างด่วนรามอินทรา ใช้การได้ตลอดสาย
    2.ถ.เสรีไทย ใช้การได้ตลอดสาย
    3.ถ.รามคำแหง ใช้การได้ตลอดสาย
    4.ถ.ศรีนครินทร์ ใช้การได้ตลอดสาย
    5.ถ.สุวินทวงศ์ ขาเข้า-ขาออก จาก จ.ฉะเชิงเทรา มุ่งหน้ามีนบุรี ใช้การได้ถึงแยกตัด ถ.ราษฎร์อุทิศ
    6.ถ.มอเตอร์เวย์ ใช้การได้ตลอดสาย
    7.ถ.วงแหวนตะวันออก (ใต้) ขาเข้า-ขาออก ใช้การได้ตั้งแต่ทางต่างระดับรามอินทรา ถึงทางขึ้น - ลงสุขสวัสดิ์ บางขุนเทียน
    8.ถ.บางนา-ตราด ใช้การได้ตลอดสาย
    9.ถ.บูรพาวิถี ใช้การได้ตลอดสาย
    10.ถ.ลาดกระบัง ใช้การได้ตลอดสาย
    11.ถ.อ่อนนุช ใช้การได้ตลอดสาย
    12.ถ.สุขุมวิท ใช้การได้ตลอดสาย

    ทิศใต้
    1.ถ.พระราม 2 ใช้การได้ตลอดสาย

    ทิศตะวันตก
    1.ถ.ราชพฤกษ์ ขาเข้า-ขาออกใช้การได้ตั้งแต่ ถ.เพชรเกษม ถึงเชื่อม ถ.กรุงธนบุรี
    สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่ใช้การได้
    1.สะพานพระพุทธยอดฟ้า (สะพานพุทธ)
    2.สะพานพระปกเกล้า
    3.สะพานตากสิน (สาธร)
    4.สะพานกรุงเทพ
    5.สะพานพระราม 3
    6.สะพานพระราม 9 (สะพานแขวน)
    7.สะพานภูมิพลฯ (วงแหวนอุตสาหกรรม)

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astv ผู้จัดการออนไลน์ 6 พฤศจิกายน 2554 09:21น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000141343

    ชาวบ้านจวก ทางเชื่อม ศปภ.เปลืองงบ ทำน้ำท่วมเพิ่ม-แนะขับอ้อมจตุจักรยังได้

    ชาวบ้านโวย ศปภ.เทหินคลุกราดยางมะตอย สร้างทางเชื่อมวีไอพี เปลืองงบ ทำน้ำท่วมสูงขึ้น ย่านชุมชนรถไฟ 11-19 น้ำท่วมขังสูงกว่า 40-80 ซม.ประชาชนต้องขนของขึ้นไปอยู่ที่บริเวณชั้น 2 ของบ้าน วอนผู้นำเสียสละ ขับรถอ้อมเข้าสวนจตุจักรก็ยังได้

    เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 6 พ.ย.ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำ บริเวณปากซอยวิภาวดี 11 ทางเข้าอาคารเอนเนอร์ยี คอมเพล็กซ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ว่า ระดับน้ำสูงจากพื้นผิวถนนประมาณ 80-90 เซนติเมตร ทางด้านฝั่งขาเข้ามุ่งหน้าห้าแยกลาดพร้าว ระดับสูงประมาณ 1 เมตร รถเล็กไม่สามารถสัญจรไปมาได้ ส่วนรถใหญ่เคลื่อนตัวไปได้อย่างยากลำบาก ขณะที่บริเวณทางเชื่อมโทลล์เวย์เพื่อเข้าสู่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย มีการเทหินคลุก ราดยางมะตอย เป็นถนนถาวร ตัดเข้ามายังศูนย์แล้วยังมีการนำถุงทรายยักษ์ หรือบิ๊กแบ็ก 2 ชั้น มาวางตามแนวถนนเพื่อกันน้ำซัดเซาะพื้นถนน โดยมีระดับความสูงล่าสุดประมาณ 1 เมตร เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่เข้ามาติดต่องานใน ศปภ.

    ขณะเดียวกัน ปรากฏว่า บริเวณหน้าทางเข้าซอย ยังคงมีน้ำผุดออกมาจากท่อระบายหลายจุดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สำนักงานประปา สาขาพญาไท มีน้ำท่วมขังเกือบเต็มพื้นที่ โดยระดับความสูงของน้ำอยู่ที่ประมาณ 20 เซนติเมตร

    ส่วนบริเวณซอยวิภาวดี 11 นั้น ช่วงที่เป็นซอยแยกเริ่มมีน้ำทะลักออกมาจากท่อระบายน้ำ ทำให้บ้านของประชาชนที่มีพื้นที่ต่ำกว่าพื้นถนน มีน้ำท่วมขังหลายหลังคาเรือน ขณะเดียวกัน ย่านชุมชนรถไฟ 11-19 มีน้ำท่วมขังสูงกว่า 40-80 ซม.โดยประชาชนบางส่วนต้องขนของอพยพชั้น 1 ขึ้นไปอยู่ที่บริเวณชั้น 2 ของบ้าน

    ตัวแทนชาวบ้านในบริเวณดังกล่าว เปิดเผยว่า ตั้งแต่ ศปภ.ทำทางเชื่อมพิเศษ โดยอ้างว่าเป็นที่เดินทางสำหรับบุคคลวีไอพีนั้น ตรงนี้เห็นว่าเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ และทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน เพราะเชื่อว่า ก่อนที่ทำทางเชื่อมนี้ โรงสูบน้ำ 2 แห่งที่อยู่ในบริเวณนี้ยังสามารถทำงานได้ และต้านทานน้ำได้ไหว แต่หลังจากที่ทำทางเชื่อมขึ้นมา ส่งผลให้ปริมาณน้ำเพิ่มสูงเป็นเท่าตัว เพราะน้ำไม่มีทางไป เนื่องจากมีทางให้ระบาย ตรงนี้จึงอยากจะถามกลับไปยังนายกฯ ว่า เหตุใดจึงมาทำทางเชื่อมตรงถนนวิภาวดี ทั้งที่สามารถขับรถไปอ้อมโดยใช้เส้นทางถนนกำแพงเพชรก็สามารถทำได้ แม้จะเสียเวลาสักหน่อย แต่ไม่เปลืองงบประมาณ

    “ที่คุณเคยพูดว่าเป็นผู้นำต้องเสียสละ แต่คุณกลับไม่เสียสละลุยน้ำเข้าหาประชาชนเอง อีกทั้งทาง ศปภ.น่าจะมีบทเรียนอยู่แล้ว ที่ดอนเมือง ซึ่งพยายามจะกั้นน้ำเอาไว้แล้วไม่ย้ายศูนย์ สุดท้ายน้ำก็ท่วมของบริจาคลอยเกลื่อนกลาด ก็ได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตาม เราจะไม่รวมตัวกันไปประท้วงอะไรทั้งนั้น เพราะได้ทำไปแล้ว และคงช้าไป ฉะนั้นเราต้องก้มหน้ารับผลกระทบต่อไป แต่คราวหน้าถ้าน้ำลด ถ้าคิดจะทำอะไร ให้คิดถึงผลกระทบของชาวบ้านบ้าง” ตัวแทนชาวบ้าน กล่าว



    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astv ผู้จัดการออนไลน์ 6 พฤศจิกายน 2554 15:42 น.
    http://www.manager.co.th/Politics/Vi...=9540000141516

    ร้านค้าย่านตลาดมีนบุรีปิดหนีน้ำ หลังน้ำท่วมทั้ง 2 ฝั่งถนน

    ความคืบหน้าสถานการณ์น้ำบริเวณหน้าตลาดมีนบุรี พบว่าน้ำท่วมได้ท่วมทั้งสองฝั่งถนน โดยระดับน้ำบางจุดอยู่ที่ประมาณ 40 เซนติเมตร การคมนาคมเป็นไปด้วยความยากลำบาก
    ส่วนบริเวณตลาดมีนบุรีหลังเก่า พบว่าน้ำได้เข้าท่วมทั้งตลาด ซึ่งระดับน้ำอยู่ที่ประมาณ 30 เซนติเมตร จึงต้องมีการนำแผ่นคอนกรีตมาเรียงต่อกันเป็นทางเดินเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเลือกซื้อของ อย่างไรก็ตาม ด้วยระดับน้ำที่สูง ประกอบกับความสกปรกของน้ำที่เริ่มจะมีสีดำ จึงทำให้ประชาชนไม่ค่อยมาจับจ่ายซื้อของมากนัก ขณะที่ร้านค้าต่างๆ ได้ทำการปิดร้านเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากการสอบถามเจ้าของร้านโชห่วยตลาดมีนบุรีหลังเก่า ระบุว่า เนื่องจากระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ของได้รับความเสียหายจนต้องปิดร้านเป็นการชั่วคราว พร้อมกับชะลอการสั่งซื้อสินค้าเข้ามา ทำให้ขาดรายได้ แต่ก็ต้องยอมรับเพื่อไม่ให้ขาดทุนไปมากกว่านี้

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astv ผู้จัดการออนไลน์ 6 พฤศจิกายน 2554 16:32 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000141530

    เพชรเกษมขาออกน้ำท่วมสูงต่อเนื่อง-ตร.จัดรถรับส่ง ปชช.

    พ.ต.อ.ธนวัฒน์ ตั้งวงษ์เจริญ ผู้กำกับการ สน.หนองแขม กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ สน.หนองแขม ว่า ขณะนี้มีน้ำท่วมขังบน ถ.เพชรเกษม โดยเฉพาะช่วงฝั่งขาออก ตั้งแต่ซอยเพชรเกษม 79 เป็นต้นไป ระดับน้ำสูงประมาณ 50 เซนติเมตร และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รถเล็กผ่านค่อนข้างลำบาก
    พร้อมกันนี้ ผู้กำกับการ สน.หนองแขม ยังให้คำแนะนำสำหรับรถกระบะที่จะผ่านเส้นทางพื้นที่น้ำท่วม ว่า ควรดัดแปลงท่อไอเสีย โดยยกให้สูงขึ้น และใช้พลาสติกซีลฝาถังน้ำมัน อย่าให้น้ำเข้า เพียงเท่านี้ก็จะสามารถขับรถฝ่าน้ำที่มีระดับไม่สูงมากนักได้
    อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ สน.หนองแขม ได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่ในการรับเรื่องร้องทุกข์ขอความช่วยเหลือไว้ตลอด 24 ชั่วโมง และเตรียมรถขนาดใหญ่ไว้ 4 คัน เพื่อรับส่งประชาชนไปยังศูนย์พักพิงในพื้นที่ด้วย

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astv ผู้จัดการออนไลน์ 6 พฤศจิกายน 2554 17:14 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000141535

    ถนนเป็นคลองหน้าศาลอาญา คาดน้ำท่วมไปถึงสะพานควายแน่

    หน้าศาลอาญากลายสภาพเป็นคลองแล้ว บางจุดสูงกว่า 1 เมตร คลองบางซื่อ-คลองลาดพร้าว ระดับสูงขึ้น ทำสะพานสองในพื้นที่โชคชัย ถนนเจริญมนูญกิจ ท่วม คาดไปถึงสะพานควายแน่ หลัง กทม.สูบน้ำท่วมวิภาวดีฯลงคลองเพิ่มเติม ด้าน ศปภ.แจ้งปิดจราจรเพิ่มเติม
    สถานการณ์น้ำท่วมบริเวณถนนรัชดาภิเษก วันนี้ (6 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค ต่อเนื่องไปจนถึงแยกรัชโยธิน และเชื่อมต่อไปจนถึงถนนวิภาวดีรังสิต มีน้ำท่วมสูงประมาณ 80 เซนติเมตร รถเล็กไม่สามารถสัญจรได้ เจ้าหน้าที่ได้มีการติดตั้งประกาศห้ามรถเล็กสัญจรผ่านเส้นทางนี้ โดยยังมีรถของเจ้าหน้าที่ทหารและรถโดยสารของ ขสมก.ให้บริการแก่ประชาชนที่ต้องการเดินทางเข้า-ออกบริเวณนี้

    ขณะที่น้ำในคลองบางซื่อ บริเวณฝั่งถนนรัชดาภิเษก ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และระดับน้ำได้สูงเพิ่มขึ้นเกือบถึงระดับทางเดินริมคลองแล้ว ส่วนถนนรัชดาภิเษกฝั่งมุ่งหน้าไปยังแยกสุทธิสาร และแยกห้วงขวางยังไม่มีน้ำท่วมสูง แต่บริเวณหน้าห้างบุญถาวรได้มีน้ำผุดขึ้นมาตามท่อระบายน้ำ และได้เอ่อล้นขึ้นมาบนถนนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่า บริเวณดังกล่าวระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นในช่วงเย็นนี้

    ด้าน พ.ต.ท.พิษณุ โกสิยวัฒน์ สารวัตรจราจร สน.พหลโยธิน กล่าวว่า ถนนรัชดาภิเษก ตลอดหน้าศาลอาญาระดับน้ำสูงขึ้น บางจุดเกือบ 1 เมตร รถทุกชนิดไม่สามารถสัญจรได้ ส่วนห้าแยกลาดพร้าว ถนนลาดพร้าว น้ำท่วมสูงขึ้นจนถึงซอยภาวนา และไปติดคลองลาดพร้าว แต่เริ่มมีน้ำผุดตามท่อระบายน้ำ ขณะที่น้ำในคลองลาดพร้าว และคลองบางซื่อ ล้นเข้าท่วมสะพานสองในพื้นที่โชคชัยบ้างแล้ว

    ขณะที่ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) แจ้งปิดการจราจรเพิ่มเติม ได้แก่ กรุงเทพฯทิศเหนือ ถนนสายหลักปิดการจราจรเพิ่ม 1 แห่ง ได้แก่ ถ.ลาดพร้าว ขาเข้า-ขาออก ขยายพื้นที่ปิดการจราจร ตั้งแต่ 5 แยกลาดพร้าว ถึง ถ.ลาดพร้าว ซ.45 ระดับน้ำ 40-80 เซนติเมตร (กลับรถแยกโชคชัย 4)

    ถนนรัชดาภิเษก ขาเข้า-ขาออก ขยายพื้นที่ปิดการจราจร ตั้งแต่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงคลองบางซื่อ (โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค) ระดับน้ำ 30-40 เซนติเมตร (กลับรถเหนืออุโมงค์สุทธิสาร)

    ส่วนเส้นทางที่ควรหลีกเลี่ยง ในทิศเหนือจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ 1.ถนนพหลโยธิน ขาเข้า-ขาออก ขยายพื้นที่ตั้งแต่แยกลาดพร้าวถึงคลองบางซื่อ ระดับน้ำ 30-40 เซนติเมตร และ 2.รามอินทรา ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ กม.5 ถึง กม.8 มีน้ำท่วมขังเป็นระยะ มีระดับน้ำ 20-30 เซนติเมตร ขณะที่ทิศตะวันตก ควรหลีกเลี่ยง ถ.ราชพฤกษ์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่คลองบางแวก ถึงตัด ถ.เพชรเกษม มีระดับน้ำ 30 เซนติเมตร

    ขณะที่ นายบพิตร แสงแก้ว ผู้อำนวยการเขตลาดพร้าว กล่าวว่า น้ำในคลองลาดพร้าวมีระดับน้ำสูงประมาณ 3 เซนติเมตร และคาดว่าน่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งบริเวณถนนประเสริฐมนูญกิจ น้ำเอ่อขึ้นและไหลเข้าท่วมทุกพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง ส่วนทางด้านใต้ริมคลองลาดพร้าว บริเวณถนนลาดพร้าว-วังหิน น้ำก็ได้เพิ่มระดับขึ้นเช่นเดียวกัน

    ส่วนกรณีการอพยพประชาชนเพิ่มเติมหรือไม่นั้น นายบพิตร กล่าวว่า ประชาชนในพื้นที่ยังสามารถอาศัยอยู่ในบ้านเรือนได้ ยังไม่จำเป็นต้องย้าย ขณะเดียวกัน ในวันนี้ จะต้องมีการเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

    นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์ระดับน้ำบริเวณปากซอยวิภาวดี 11 ด้านของอาคารเอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ศปภ.ว่า น้ำยังคงท่วมขังทุกพื้นผิวการจราจร และโดยเฉพาะฝั่งถนนพหลโยธินฝั่งขาเข้ามุ่งหน้าห้าแยกลาดพร้าว โดยความสูงของระดับน้ำอยู่ที่ 1-1.20 เมตร

    ส่วนถนนพหลโยธินบริเวณหน้าสวนจตุจักรทั้งฝั่งขาเข้าและขาออกน้ำได้ท่วมเต็มพื้นที่ทั้งสองฝั่ง และหนุนเข้ามาเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ที่ตลาดนัดสวนจตุจักรยังคงเปิดตามปกติแต่มีร้านค้าน้อยรายที่เปิด โดยในตลาดมีเครื่องสูบน้ำออกไม่ให้น้ำเข้าท่วม สำหรับหัวน้ำขณะนี้กำลังอยู่ที่ปากซอยพหลโยธิน 18 ซึ่งจากที่ กทม.ได้ระดมสูบน้ำจากถนนวิภาวดีรังสิตลงคลองบางซื่อ ทำให้น้ำจากทางจตุจักรและน้ำจากทางวิภาวดีรังสิตมารวมกัน และเริ่มเอ่อเข้าท่วมชุมชนริมคลองบางซื่อทั้งสองฝั่ง และน้ำอาจจะทะลักล้นไปถึงสะพานควาย ในเร็วๆ นี้

    ขณะที่บริเวณแยกรัชโยธิน ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น โดยถนนลาดพร้าวตัดกับรัชดาภิเษก ระดับน้ำสูงเกือบประมาณ 1 เมตร และจากที่มีการสูบน้ำลงคลองบางซื่อทำให้น้ำในคลองเอ่อล้นเข้าท่วมรัชดาภิเษกขาเข้า ที่มุ่งหน้าพระราม 9 ต้องปิดการจราจร รถเล็กไม่สามารถผ่านได้ นอกจากนี้ มวลน้ำที่ไปถึงลาดพร้าว ขณะนี้ยังอยู่ที่ซอยภาวนา และทำให้ต้องปิดการจราจรบริเวณแยกลาดพร้าว-ลาดพร้าว 45











    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astv ผู้จัดการออนไลน์ 6 พฤศจิกายน 2554 17:22น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000141542

    เตือน ปชช.ย่านลาดพร้าว เกาะติดสถานการณ์ใกล้ชิด
    พ.ต.ท.จิรภัทร มุ่งดี รองผู้กำกับการจราจร สน.โชคชัย เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำล่าสุด ว่า ระดับน้ำยังไม่ได้ไหลมาบริเวณแยกโชคชัย 4 ซึ่งขณะนี้ยังอยู่บริเวณลาดพร้าวซอย 1 มาจนถึงลาดพร้าวซอย 45 ความสูงอยู่ที่ 40-80 เซนติเมตร
    ส่วนบริเวณพื้นที่รับผิดชอบของ สน.โชคชัย ชั้นในจะมีน้ำท่วมขังบริเวณหน้าวัดลาดพร้าว ตลอดจนแยกลาดพร้าว-วังหิน ซึ่งบางจุดมีความสูงอยู่ที่ 50 เซนติเมตร
    ทั้งนี้ ได้มีการประกาศเตือนให้ประชาชนเตรียมความพร้อมติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดแล้ว
    ขณะที่บริเวณตำหนักเจ้าแม่กวนอิม ภายในซอยโชคชัย 4 ซอย 39 ได้มีน้ำผุดขึ้นมาตามท่อระบายน้ำ และเข้าท่วมพื้นที่บริเวณดังกล่าวประมาณ 10 เซนติเมตร ส่วนบ้านเรือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในซอย 39 ไปจนถึงซอย 46 ได้มีน้ำผุดเข้าท่วมบ้านเรือนด้วยเช่นกัน

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astv ผู้จัดการออนไลน์ 6 พฤศจิกายน 2554 17:42 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000141551

    มวลน้ำแยกลาดพร้าวถึงหน้าการบินไทยแล้ว

    บรรยากาศที่บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ระดับน้ำอยู่ที่ 20-40 เซนติเมตร ขณะที่บางจุดสูงประมาณ 50-60 เซนติเมตร ซึ่งน้ำยังท่วมต่อเนื่องไปจนถึง ถ.ลาดพร้าว บริเวณซอยลาดพร้าว 43
    ขณะที่เส้นฝั่งพหลโยธิน ตั้งแต่หน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว ยังคงท่วมต่อเนื่องไปจนถึงแยกรัชโยธิน
    ส่วนพหลโยธินฝั่งสถานีรถไฟฟ้า BTS หมอชิต น้ำได้เอ่อท่วมไปถึงสวนสาธารณะจตุจักร ต่อเนื่องไปจนถึงหน้าตลาดนัดจตุจักร และสิ้นสุดอยู่ที่แยกกำแพงเพชร ก่อนถึงสถานีรถไฟฟ้าสะพานควาย
    สำหรับ ถ.วิภาวดีรังสิต จากห้าแยกลาดพร้าว ระดับน้ำจากห้าแยกได้เอ่อล้นมาเกือบถึงอาคารบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยน้ำในคลองหน้าการบินไทยเอ่อล้นเข้ามา บวกกับน้ำที่ผุดขึ้นมาจากท่อระบายน้ำ รวมถึง ถ.วิภาวดีรังสิต ที่แยกมาจากลาดพร้าว มีน้ำเอ่อล้นถนนบ้างแล้วในบางจุด

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astv ผู้จัดการออนไลน์ 6 พฤศจิกายน 2554 17:53น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000141552

    แจ้งปิดการจราจรย่านปิ่นเกล้า-จรัญสนิทวงศ์-บรมราชชนนี

    เส้นทางจราจรในพื้นที่บริเวณพระปิ่นเกล้า และจรัญสนิทวงศ์ ยังคงปิดในหลายเส้นทางจากปัญหาน้ำท่วมสูง เช่น ถ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า จากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถึงแยกบรมราชชนนี น้ำสูง 80-150 เซนติเมตร ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร
    ถ.อรุณอัมรินทร์ จากสะพานอรุณอัมรินทร์ ถึงใต้สะพานพระราม 8 น้ำท่วมสูง 80-150 เซนติเมตร ถ.บรมราชชนนี จากแยกบรมราชชนนี ถึงจุดกลับรถสายใต้เก่า น้ำท่วมสูง 60-80 เซนติเมตร
    ถ.จรัญสนิทวงศ์ จากสะพานพระราม 7 ถึงคลองบางกอกน้อย มีระดับน้ำท่วมสูง 70-120 เซนติเมตร ระยะทางประมาณ 6.5 กิโลเมตร
    ถ.ราชวิถี ถึง ถ.สิรินธร จากสะพานกรุงธนบุรี ถึงต่างระดับสายใต้เก่า น้ำท่วมสูง 60-80 เซนติเมตร ระยะทาง 4 กิโลเมตร และ ถ.จรัญสนิทวงศ์ 13 จากคลองบางกอกใหญ่ ถึงปากซอยพาณิชยการธนบุรี น้ำท่วมสูง 20-50 เซนติเมตร

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astv ผู้จัดการออนไลน์ 6 พฤศจิกายน 2554 18:01น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000141553

    น้ำทะลักเข้า ศปภ.!! ระดับน้ำสูง 20 ซ.ม.

    สถานการณ์น้ำล่าสุด ที่ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเผลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ (ศปภ.) ภายในกระทรวงพลังงาน ขณะนี้น้ำจากถนนวิภาวดี-รังสิต ฝั่งขาออก ได้ไหลเข้ามายังซอยวิภาวดี-รังสิต 71 ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ศปภ.แล้ว โดยน้ำมีระดับความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร ซึ่งหัวน้ำนั้นห่างจากประตูทางเข้ากระทรวง เพียง 15 เมตรเท่านั้น ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่กำลังเร่งวางแนวกระสอบทรายอย่างต่อเนื่อง
    อย่างไรก็ตาม ยังมีน้ำไหลออกจากท่อระบายน้ำตลอดเวลา เนื่องจากน้ำที่อยู่ภายนอกคันกั้นน้ำ ภายในถนนวิภาวดี-รังสิต มีระดับความสูงถึง 80 เซนติเมตร

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astv ผู้จัดการออนไลน์ 6 พฤศจิกายน 2554 18:29น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000141564

    ศปภ.ทำชาววิภาวดี 11 แตก! ระดมกระสอบทรายทำคันกั้นเพิ่ม ฝ่ายหนุน-ต้านโต้กันนัว

    จนท.ระดมกระสอบทรายสร้างแนวท่อกั้นปาก ซ.วิภาวดี 11 กันน้ำทะลักจากท่อพักน้ำตึก ตปท. เข้าไปใน ศปภ. ทำน้ำท่วมซอยเพิ่ม ขณะคนท้องถิ่นรุมด่า เหตุทำน้ำขังหนัก เจอชาวบ้านอีกกลุ่มออกมาหนุน จนท.พร้อมตอบโต้ พวกไม่รู้จริง ด้านนครบาลส่งกำลังเข้าสังเกตการณ์ ส่วนปลัด คค.ซุ่มสั่งอุดท่อแล้วสูบน้ำทิ้งเข้า ถ.วิภาวดีรังสิต

    เมื่อเวลา 16.00น. วันที่ 6 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานจากปากซอยวิภาวดี 11 ด้านหน้าอาคารเอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) โดยมีเจ้าหน้าที่จากกรมทางหลวง กรมอุทยานแห่งชาติและกรมป่าไม้ประมาณ 50 คน ได้นำกระสอบดินปนทรายจำนวนประมาณ 15,000 กระสอบ มาสร้างแนวกั้นท่อบริเวณปากทางเข้าซอยวิภาวดี 11 ทั้งสองฝั่ง ซึ่งมีระดับความสูงประมาณ 1 เมตร เพื่อป้องกันน้ำที่เอ่อล้นมาจากท่อพักน้ำของสำนักงานใหญ่ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ไม่ให้ขยายวงกว้างเคลื่อนตัวเข้าไปภายใน ศปภ.

    บรรยากาศเป็นไปด้วยความวุ่นวาย เจ้าหน้าที่ต่างระดมกำลังในการวางกระสอบดินปนทรายด้วยความเร่งรีบ ท่ามกลางกลุ่มชาวบ้านในซอยวิภาวดี 11 ที่จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันมีชาวบ้านคนหนึ่งได้ตะโกนว่า “ย้ายออกมาจากดอนเมืองแล้ว พอย้ายมาที่นี่ ที่นี่ท่วมอีกแล้วจะย้ายต่อไปที่ไหนอีกครับ”

    จากนั้นเวลาประมาณ 17.30 น.มีชาวบ้านในบริเวณนี้ประมาณ 30 คนรวมตัวเข้ามาต่อว่าการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ว่าการที่กั้นน้ำในบริเวณนี้ ส่งผลกระทบให้มีน้ำท่วมขังภายในซอยมากขึ้น พร้อมทั้งขู่ว่าจะระดมคนออกมาต่อต้านการทำงานของ ศปภ.ขณะเดียวกันได้มีชาวบ้านในย่านนี้อีกหนึ่งกลุ่ม ออกมาสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ พร้อมทั้งต่อว่าชาวบ้านกลุ่มแรกว่า “พวกไม่รู้เรื่อง ที่เขาสร้างก็เพื่อไม่ให้น้ำท่วมในซอย พวกเราพร้อมที่จะสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่” อย่างไรก็ตามภายหลังเหตุการณ์ที่ชาวบ้านโต้เถียงกัน ศปภ.ได้ร้องขอเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลประมาณ 30 นาย มาดูและสถานการณ์

    ขณะที่นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้เข้ามาสังเกตการณ์และสั่งงานด้วยตัวเอง พร้อมทั้งระบุว่า ต้องทำให้พื้นผิวถนนบริเวณนี้แห้งก่อนด้วยวิธีการอุดท่อระบายน้ำแล้วสูบน้ำออกด้วยรถสูบน้ำจากกรมทางหลวงโดยน้ำที่สูบจะปล่อยลงบนถนนวิภาวดีฝั่งมุ่งหน้าเข้าห้าแยกลาดพร้าว

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astv ผู้จัดการออนไลน์ 6 พฤศจิกายน 2554 19:01น.
    http://www.manager.co.th/Politics/Vi...=9540000141570

    เปิดเส้นทางน้ำท่วม-ทางหนีน้ำ 4 จังหวัดรอบกทม.

    "ผู้จัดการออนไลน์" รวบรวบเส้นทางหลวง ที่มีน้ำท่วมขังสูง 4 จังหวัดปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร และ 4 จังหวัดทางสายเหนือ พร้อมเส้นทางที่ใช้ทดแทน และเบอร์โทรศัพท์สอบถามเส้นทาง

    จังหวัดนนทบุรี
    ทางหลวงหมายเลข 9 วงแหวนตะวันตกสาย 9(ต่างระดับฉิมพลี-คลองมหาสวัสดิ์) ท้องที่เขตตลิ่งชัน ที่ กม. 20-31 น้ำท่วมสูง 60 ซม.

    ทางหลวงหมายเลข 9 ตลิ่งชัน-บางบัวทอง-ลาดหลุมแก้ว(หน้าหมู่บ้านสมบัติบุรี-คลองมหาสวัสดิ์)ท้องที่อำเภอบางบัวทอง ที่ กม. 30-58 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 30-140 ซม. ให้ใช้สาย 35 พระราม 2 (ดาวคะนอง-วังมะนาว)-สาย 4 ราชบุรี-นครปฐม -สาย 321 กำแพงแสน-สุพรรณบุรี เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ล่องภาคเหนือ

    ทางหลวงหมายเลข 306 กรุงเทพมหานคร-แคราย ท้องที่อำเภอปากเกร็ด ที่กม. 19-21ระดับน้ำสูง 30 ซม. ไม่มีเส้นทางทดแทน

    ทางหลวงหมายเลข 307 ปากเกร็ด-ปทุมธานี ท้องที่อำเภอปากเกร็ด ที่กม. 0-4 ระดับน้ำสูง 80-100 ซม. ไม่มีเส้นทางทดแทน

    ทางหลวงหมายเลข 340 บางบัวทอง-ลาดบัวหลวง ท้องที่อำเภอบางบัวทอง ที่กม. 25-55 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 30-120 ซม. ใช้สาย 35 พระราม 2 (ดาวคะนอง-วังมะนาว) -สาย 4 ราชบุรี-นครปฐม- สาย 321 กำแพงแสน-สุพรรณบุรี เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ล่องภาคเหนือ

    ทางหลวงหมายเลข 345 สะพานนนทบุรี-บางบัวทอง ท้องที่อำเภอบางบัวทอง ที่กม. 0-10 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 100-150 ซม. ใช้ทางของเทศบาล

    ทางหลวงหมายเลข 346 ลาดหลุมแก้ว-ปทุมธานี ท้องที่อำเภอลาดหลุมแก้ว ที่กม. 20-29 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 80-100 ซม. ไม่มีเส้นทางทดแทน

    ลาดหลุมแก้ว-บางเลน ท้องที่อำเภอไทรน้อย ที่กม. 32-42 ระดับน้ำสูง 140 ซม. ไม่มีเส้นทางทดแทน

    ทางหลวงหมายเลข 3215 บางกรวย-ราษฎร์นิยม ท้องที่อำเภอบางบัวทอง ที่กม. 0-35 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 80-140 ซม. ไม่มีเส้นทางทดแทน

    ทางหลวงหมายเลข 3901 คลองบางไผ่-ลาดหลุมแก้ว(ทางคู่ขนานวงแหวนตะวันตก) ขาออก ท้องที่อำเภอบางบัวทอง ที่กม. 30-45 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 80-140 ซม. ไม่มีเส้นทางทดแทน

    ทางหลวงหมายเลข 3902 คลองบางไผ่-ลาดหลุมแก้ว (ทางคู่ขนานวงแหวนตะวันตก) ขาเข้า ท้องที่อำเภอบางบัวทอง ที่กม. 42-44 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 80-140 ซม. ไม่มีเส้นทางทดแทน สอบถาม สน.บท.นนทบุรี โทร. 02-527-2488-9

    ทางหลวงหมายเลข 3312 ลำลูกกา-นครนายก ท้องที่อำเภอลำลูกกา ที่กม. 0-8 มีน้ำท่วมเป็นแห่งๆ น้ำท่วมสูง 25-150 ซม.ไม่มีเส้นทางทดแทน สอบถาม แขวงฯกรุงเทพ โทร. 02-552-7299

    ทางหลวงหมายเลข 338 บางบำหรุ-พุทธมณฑล สาย 4 ท้องที่เขตตลิ่งชัน ที่กม. 2-18 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 50-100 ซม. ใช้สาย 35 พระราม 2 (ดาวคะนอง-วังมะนาว) -สาย 4 ราชบุรี-นครปฐม -สาย 321 กำแพงแสน-สุพรรณบุรี เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ล่องภาคเหนือ สอบถาม สน.บท.ธนบุรี โทร. 02-433-1688

    จังหวัดนครปฐม
    ทางหลวงหมายเลข 346 ลาดหลุมแก้ว-บางเลน ท้องที่อำเภอบางเลน ที่กม. 43-51 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 40-70 ซม. ไม้มีสายทางทดแทน

    ทางหลวงหมายเลข 338 สามพราน-นครชัยศรี ท้องที่อำเภอสามพราน ที่กม. 22-23 ระดับน้ำสูง 40-60 ซม.

    ทางหลวงหมายเลข 3094 ทางแยกเข้านครชัยศรี ท้องที่อำเภอนครชัยศรี ที่กม. 0-2 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 25 ซม.

    ทางหลวงหมายเลข 3097 พระประโทน-บ้านบ่อ ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 35-36 ระดับน้ำสูง 10 ซม.

    ทางหลวงหมายเลข 3233 นครชัยศรี-วัดสามง่าม ท้องที่อำเภอบางเลน ที่กม. 1-13 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 15 ซม.

    ทางหลวงหมายเลข 3296 วัดสามง่าม-บางเลน ท้องที่อำเภอบางเลน ที่กม. 7-12 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 15 ซม.

    ทางหลวงหมายเลข 3310 อ้อมน้อย-พุทธมณฑล ท้องที่อำเภอพุทธมณฑล ที่กม. 1-10 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 40-50 ซม. ไม่มีเส้นทางทดแทน

    ทางหลวงหมายเลข 3316 สามพราน-วัดไร่ขิง ท้องที่อำเภอสามพราน ที่กม. 8-9 ระดับน้ำสูง 10 ซม.

    ทางหลวงหมายเลข 3351 บางเลน-สุพรรณบุรี ท้องที่อำเภอบางเลน ที่กม. 3-17 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 10-20 ซม.

    ทางหลวงหมายเลข 3414 อ้อมน้อย-เขตการรถไฟ ท้องที่อำเภอพุทธมณฑล ที่กม. 8-10 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 30-100 ซม. ไม่มีเส้นทางทดแทน

    ทางหลวงหมายเลข 3422 บัวปากท่า-สองพี่น้อง ท้องที่อำเภอบางเลน ที่กม. 12-22 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 25 ซม. สอบถาม แขวงฯนครปฐม โทร. 034-258-856

    จังหวัดสมุทรสาคร
    สะพานข้ามแม่น้ำฝังตะวันตก-สมุทรสงคราม ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 38-39 ระดับน้ำสูง 20 ซม.

    กระทุ่มแบน-สมุทรสาคร ท้องที่เขตกระทุ่มแบน ที่กม. 0-2 มีน้ำท่วมเป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 25 ซม.

    ทางหลวงหมายเลข 35 สะพานข้ามแม่น้ำฝังตะวันตก-สมุทรสงคราม ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 38-39 ระดับน้ำสูง 20 ซม.

    ทางหลวงหมายเลข 3901 กระทุ่มแบน-สมุทรสาคร ท้องที่เขตกระทุ่มแบน ที่กม. 0-2 มีน้ำท่วมเป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 25 ซม. สอบถาม แขวงฯสมุทรสาคร โทร. 034-830-874

    จังหวัดสมุทรปราการ
    ทางหลวงหมายเลข 34 บางนา-ฉะเชิงเทรา ท้องที่อำเภอบางบ่อ ที่กม. 8-30 มีน้ำท่วมเป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 20 ซม. สอบถาม แขวงฯสมุทรปราการ ฌทร. 02-312-5118

    จังหวัดชัยนาท
    ทางหลวงหมายเลข 32 สรรพยา-ชัยนาท ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 126 ใช้ช่องทางพิเศษด้านซ้ายทางแทน

    ทางหลวงหมายเลข 3183 ชัยนาท-วัดสิงห์ ท้องที่อำเภอวัดสิงห์ ที่กม. 25-28 ระดับน้ำสูง 10 ซม. (ประชาชนอพยพขึ้นมาอยู่บนพื้นผิวจราจร) ใช้ทาง อบต.
    ทางหลวงหมายเลข 3213 วัดสิงห์-หนองมะโมง ท้องที่อำเภอวัดสิงห์ ที่กม. 0-1 ระดับน้ำสูง 30 ซม. ใช้ทาง อบต.

    ทางหลวงหมายเลข 3244 ชัยนาท-ท่าหาด ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 0-4 ระดับน้ำสูง 30 ซม. ไม่มีเส้นทางทดแทน สอบถาม แขวงฯชัยนาท โทร. 056-411-649

    จังหวัดนครสวรรค์
    ทางหลวงหมายเลข 1084 ป่าแดง-บรรพตพิสัย-โพทะเล ท้องที่อำเภอเมือง ทางขาดที่ กม. 18 และน้ำท่วม ที่กม. 48-52 ระดับน้ำสูง 70 ซม. ใช้สาย 1 กำแพงเพชร-นครสวรรค์แทน
    ทางหลวงหมายเลข 3319 โกรกพระ-อุทัยธานี ท้องที่อำเภอโกรกพระ ที่กม. 0-6 มีน้ำท่วมเป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 15 ซม.

    ทางหลวงหมายเลข 3475 ทับกฤช-พนมรอก ท้องที่อำเภอชุมแสง อ.ท่าตะโก ที่กม. 0-8 มีน้ำท่วมเป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 10-25 ซม. (คันทางอ่อนตัว) ใช้สาย 1119 บ.หนองบัว-บ.พนมรอกและ สาย 3004 บ้านท่าตะโก-นครสวรรค์แทน

    ทางหลวงหมายเลข 3522 ทางแยกเข้าพยุหะคีรี ท้องที่อำเภอพยุหะคีรี ที่กม. 2-4 ระดับน้ำสูง 50 ซม. ใช้สาย 1 พยุหะคีรี-นครสวรรค์แทน สอบถาม แขวงฯนครสวรรค์ที่ 1 โทร. 056-221-286 แขวงฯนครสวรรค์ที่ 2 โทร. 056-241-402

    จังหวัดสิงห์บุรี
    ทางหลวงหมายเลข 11 อินทร์บุรี-ตากฟ้า ท้องที่อำเภออินทร์บุรี น้ำกัดเซาะคอสะพานขาด ที่กม. 5 ใช้สาย 32 สิงห์บุรี-ชัยนาทแทน

    ทางหลวงหมายเลข 3028 บางงา-บ้านหมี่ ท้องที่อำเภอท่าวุ้ง และอำเภอบ้านหมี่ ที่กม. 1-24 มีน้ำท่วมเป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 40 ซม. ใช้สาย 3196 บ้านหมี่-ลพบุรีแทน สอบถาม แขวงฯสิงห์บุรี โทร. 036-532-523

    จังหวัดลพบุรี
    ทางหลวงหมายเลข 311 เลี่ยงเมืองลพบุรี ท้องที่อำเภอเมือง และอำเภอท่าวุ้ง ที่กม. 8-19 มีน้ำท่วมเป็นแห่งๆ และคอสะพานขาดที่ กม. 16 ระดับน้ำสูง 35-60 ซม. ใช้สาย 1 ลพบุรี-เฉลิมพระเกียรติ์แทน

    ทางหลวงหมายเลข 3196 ลพบุรี-โพธิ์เก้าต้น ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 76-94 มีน้ำท่วมเป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 15 ซม. สอบถาม แขวงฯลพบุรีที่ 1 โทร. 036-411-602

    ตำรวจทางหลวง 1193 สอบถามเส้นทางน้ำท่วมได้ 24 ชม.
    สายด่วนกรมทางหลวง โทร 1586
    กรมทางหลวงชนบท 1146

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 7 พฤศจิกายน 2554 23:54 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000141644
    >> นครปฐม <<


    “บางเลน” แม่น้ำท่าจีนทรงตัว ส่วนถนนบรมราชชนีกลายสภาพเป็นเมืองร้าง

    นครปฐม - ระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน อำเภอบางเลน นครปฐม ทรงตัว สภาพกลายเป็นเมืองร้าง เกษตรกรเซ็ง ริมแม่น้ำสวนส้มโอจมอยู่ใต้บาดาลเสียหายหมด

    วันนี้ (6 พ.ย.) นายชูชาติ รักจิตร ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครปฐม เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2554 ว่า ยังต้องเฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน ช่วงตั้งแต่อำเภอบางเลน-อำเภอสามพราน นอกจากนี้ ในพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัดนครปฐม ก็มีน้ำท่วมขัง มีพื้นที่น้ำท่วมรวมทั้งสิ้น 579,652 ไร่ โดยอำเภอบางเลน จำนวน 322,468 ไร่, อำเภอดอนตูม จำนวน 52,019 ไร่, อำเภอกำแพงแสน จำนวน 64,819 ไร่, อำเภอเมืองนครปฐม จำนวน 10,472 ไร่, อำเภอนครชัยศรี จำนวน 67,031 ไร่, อำเภอสามพราน จำนวน 24,659 ไร่ และอำเภอพุทธมณฑล จำนวน 36,184 ไร่

    ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ตำบลหินมูล อำเภอบางเลน ที่วัดศิลามูล ได้มีการจัดงานฌาปนกิจให้แก่นายใจ รื่นนุศาล อายุ 70 ปี ที่เสียชีวิตเนื่องจากถูกไฟฟ้าช็อตภายในบ้านพักโดยมีชาวบ้านมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก ส่วนสถานการณ์ในพื้นที่พบว่าหลายจุดในพื้นที่ยังมีน้ำท่วมสูงโดยเฉพาะจุดที่ติดกับแม่น้ำท่าจีน และท้องนาจะมีน้ำสูงราว 2-3 เมตร และมีการทรงตัวเป็นวันที่ 2 ต่อเนื่อง

    ส่วนที่ตำบลบางเตย อำเภอสามพราน พบว่า ระดับน้ำยังขึ้นไม่มากเพียงวันละ 2 ซม.ส่วนที่ที่บริเวณบนถนนบรมราชชนนียังมีระดับน้ำสูงกว่า 1.20 เมตร บ้านเรือนที่อยู่ริมถนนทั้ง 2 ฝั่งหลายหลังบ้านจมมิดหลังคา ส่วนสวนส้มโอที่ปลูกไว้ริม 2 ฝั่งแม่น้ำท่าจีนล่มทั้งหมด ขณะที่กำลังรอการตัดจำหน่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่พื้นที่ไม่ต่างกับอำเภอบางเลน ที่มีสภาพกลายเป็นทะเลสาบ

    นอกจากนี้ ชาวบ้านอำเภอสามพราน ยังจับตาถึงมวลน้ำที่ ศปภ.กำลังจะเร่งผลักดันลงสู่ทะเลที่ จ.สมุทรสาคร ว่า จะเป็นเช่นไร เพราะเป็นปลายทางที่จะนำมวลน้ำมหาศาลผ่านพื้นที่เพื่อมุ่งผ่านถนนพระราม 2 ซึ่งจะทำให้มวลน้ำจะถูกผลักดันเข้ามาในพื้นที่อีกมาก

    สำหรับกระแสข่าวที่มีจระเข้หลุดจากฟาร์มในเขต อ.นครชัยศรี จำนวน 4 ตัว ซึ่งเป็นพ่อและแม่พันธุ์นั้น ยังไม่สามารรถจับได้ เนื่องจากน้ำท่วมเอ่อเป็นบริเวณกว้างหลายอำเภอ ทำให้เจ้าหน้าที่เกรงว่าจระเข้าอาจจะว่ายหนีลงแม้น้ำท่าจีน หรือตามผืนน้ำต่างๆ ซึ่งจะเป็นอันตรายมาก เนื่องจากเป็นจระเข้าขนาดใหญ่มีความยาวกว่า 4 เมตร โดยขณะนี้ทางกรมประมงได้ร่วม

    กับจังหวัดนครปฐมส่งทีมติดตามแกะรอยและป้องกันความปลอดภัยให้กับชาวบ้านในจุดที่มีประชาชนอาศัยอยู่จำนวนมาก เช่น ศูนย์พักพิงตำบลลานตากฟ้า ที่มีน้ำท่วมสูงอยู่ในขณะนี้








    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astv ผู้จัดการออนไลน์ 6 พฤศจิกายน 2554 16:15 น.
    http://www.manager.co.th/Local/ViewN...a4%c3%bb%b0%c1

    ชาวบ้านคลองนกกระทุม 11 หมู่บ้าน วอนหน่วยงานช่วยเหลือหลังจมบาดาลนาน

    นครปฐม - ชาวบ้าน ในตำบลคลองนกกระทุม อำเภอบางเลน นครปฐม วอนเจ้าหน้าที่ช่วยบริจาคถุงยังชีพและน้ำดื่มหลัง 11 หมู่บ้าน น้ำสูงระดับคอมานานนับเดือน ส่วนตำบลบางภาษี จับจระเข้ยาว 2 เมตรได้อีก 1 ตัว ขณะที่ประมงจังหวัดเตรียมออกล่าจระเข้ที่เหลือและหลุดออกมาเพิ่มอีก

    วันนี้ (5 พ.ย.) โครงการชลประทานนครปฐมรายงานสถานการณ์น้ำซึ่งต้อง จับตาอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะอำเภอบางเลน มีน้ำท่วมแล้ว 322,737 ไร่ อำเภอดอนตูม มีน้ำท่วมแล้ว 51,904 ไร่ อำเภอกำแพงแสน มีน้ำท่วมแล้ว 64,168 ไร่ อำเภอเมืองนคปฐม มีน้ำท่วมแล้ว 10,636 ไร่ อำเภอนครชัยศรี มีน้ำท่วมแล้ว 67,996 ไร่ อำเภอสามพราน มีน้ำท่วมแล้ว 16,406 ไร่ และที่อำเภอพุทธมณฑล มีน้ำท่วมแล้ว 75,206 ไร่

    สำหรับแนวโน้มของระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน อยู่ในที่ช่วงที่ต้องระวังอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ จากข้อมูลของสถานีวัดระดับน้ำบ้านบางการ้อง ต.บางตาเถร อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ขณะนี้วัดระดับน้ำได้ 3.89 เมตร สูงกว่าตลิ่ง 89 เซนติเมตร ระดับน้ำคงทรงตัว ส่วนระดับน้ำท่วมทุ่งที่ไหลบ่ามาจากพื้นที่การเกษตร ทุ่งผักไห่ และทุ่งเจ้าเจ็ด ซึ่งไหลผ่านมาที่คลองพระยาบันลือ ขณะนี้ต่ำกว่าตลิ่งที่อยู่ในแนวป้องกัน 30 เซนติเมตร และระดับน้ำยังคงทรงตัวที่ 4.30 เมตร โดยได้มีการเปิดประตูระบายน้ำพระยาบรรลือ ลงสู่แม่น้ำท่าจีน บริเวณ ต.บัวปากท่า อ.บางเลน จ.นครปฐม ซึ่งจะมีผลโดยตรงกับระดับน้ำของอำเภอนครชัยศรี และอำเภอพุทธมณฑล ที่ยังมีน้ำท่วมสูงอยู่ในขณะนี้ โดยได้มีการนำเครื่องสูบน้ำทั้งหมด 26 เครื่องในการเร่งระบายน้ำ

    วันเดียวกันผู้สื่อข่าวได้รับการติดต่อจากชาวบ้าน ตำบลคลองนกกระทุม อำเภอบางเลน เพื่อขอความช่วยเหลือให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ กว่า 11 หมู่บ้านว่ายังไม่ได้รับการติดต่อหรือช่วยเหลือจากภายนอก เนื่องจากเป็นพื้นที่เป็นรอยต่อระหว่างอำเภอบางเลน และอำเภอพุทธมณฑล ซึ่งทั้ง 2 พื้นที่มีสภาพน้ำท่วมสูงอยู่ในขั้นวิกฤต ขณะนี้ประชาชนกว่า 900 ครัวเรือนกำลังขาดแคลนเรื่องน้ำดื่มและอาหาร ต้องอาศัยการติดต่อประสานงานจากภายนอกให้เข้าไปช่วยเหลือ แม้ขณะนี้ไฟฟ้าจะยังไม่ถูกตัดก็ตาม แต่เรื่องอาหารที่ชาวบ้านเก็บไว้เริ่มใกล้หมดแล้ว โดยก่อนหน้านี้ชาวบ้านได้อพยพหนีน้ำออกมานอกพื้นที่หลายราย แต่มีขโมยออกมาลักทรัพย์สินที่เป็นเครื่องมือประกอบอาชีพทางการเกษตร ชาวบ้านจึงต้องตัดใจกลับไปอาศัยอยู่ในบ้านที่ระดับน้ำสูงกว่า 1.50-1.80 เมตรอีกครั้ง

    ส่วนที่หมู่ 5 ตำบลบางภาษี อ.บางเลน ได้รับการยืนยันว่า สามารถจับจระเข้ได้แล้ว 1 ตัวมีความยาว 2 เมตร ขณะเดียวกันยังมีกระแสข่าวลืออีกว่า ได้มีจระเข้หลุดออกมาอยู่ในพื้นที่ตำบลบางภาษี อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งชาวบ้านได้ประสานไปทางประมงจังหวัดนครปฐมเพื่อลงพื้นที่สำรวจและเตรียมออกล่าจระเข้ที่คาดว่า จะมีหลายตัวในพื้นที่แล้ว

    ทั้งนี้ เนื่องจากพื้นที่หมู่ 12 นั้นมีฟาร์มจระเข้อยู่แห่งหนึ่งซึ่งระดับน้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตร โดยต้องเข้าไปตรวจสอบว่า จระเข้หลุดจากฟาร์มหรือว่ามาจากแม่น้ำท่าจีนหรือไหลตามกระแสน้ำมาจากอำเภอบางบัวทอง และต้องให้ผู้นำชุมชนออกประกาศแจ้งให้ชาวบ้านระวังตัวในช่วงนี้ด้วย

    ส่วนที่ตำบลหินมูล อำเภอบางเลน อุทยาทนการอาชีพ มูลนิธิชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม ได้เดินหน้านำถุงยังชีพ เรือ และสุขาลอยน้ำออกแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างต่อเนื่อง โดยได้เข้าไปในสถานที่น้ำท่วมเกือบครบทุกอำเภอที่เดือดร้อนหนักและได้เก็บข้อมูลเพื่อจะนำมาประกอบในการช่วยเหลือในระยะสั้นและระยาวแล้ว

    นอกจากนี้ยังมีกลุ่มบิ๊ก คลีนนิ่ง เดย์ ที่เป็นการรวมตัวของคนรุ่นใหม่ที่มีจิตอาสานำถุงยังชีพและน้ำเปล่ารวมถึงสุขาเข้าแจกจ่ายให้กับชาวบ้านที่เดือดร้อน ซึ่งได้พร้อมกลับมาช่วยชาวบ้านในพื้นที่อีกครั้ง เนื่องจากสมาชิกในกลุ่มหลายคนได้ประสบปัญหาถูกน้ำท่วมเช่นกัน แต่ได้เห็นจากข่าวจึงได้มีการรวมตัวในเบื้องต้น ในการแสดงความห่วงใยก่อนกลับไปกู้สถานการณ์น้ำท่วมบ้านของตัวเองในเขตกรุงเทพฯ ในช่วงนี้ที่หลายท้องที่อยู่ในสภาวะต้องอพยพเช่นกัน

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astv ผู้จัดการออนไลน์ 6 พฤศจิกายน 2554 17:25น.
    http://www.manager.co.th/Local/ViewN...a4%c3%bb%b0%c1

    ผู้แทนพระองค์นำถุงยังชีพพระราชทานแจกผู้ประสบอุทกภัยนครปฐม

    นครปฐม - ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงพระกรุณาโปรดให้กรรมการและผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน มูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์ฯ เป็นผู้แทนพระองค์ มอบถุงยังชีพพระราชทานแก่ผู้ประสพอุทกภัยที่จังหวัดนครปฐม

    วันนี้ (5 พ.ย.54) เวลา 13.00 น. ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงพระกรุณาโปรดให้ ดร.มนัส โนนุช กรรมการและผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน มูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์ฯเป็นผู้แทนพระองค์ มอบถุงยังชีพพระราชทานแก่ผู้ประสพอุทกภัยจำนวน 500 ชุดตามโครงการ “ หนึ่งใจ ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย” ที่สถานสงเคราะห์คนชราเฉลิมราชกุมาร (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์) ตำบลวัดสำโรง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

    ต่อจากนั้นได้เดินทางไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดสำโรง ตำบลวัดสำโรง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม มอบถุงยังชีพพระราชทานจำนวน 140 ชุดให้แก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนในเบื้องต้น รวมถึงเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้ประสบอุทกภัยสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ ซึ่งมูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ ได้จัดตั้งโครงการ “หนึ่งใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย” ตามพระดำริของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ที่ทรงมีความห่วงใยพสกนิกรชาวไทยที่ประสบสาธารณภัยทั่วประเทศ และทรงพระกรุณาโปรดให้มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯดำเนินโครงการในพระดำริ เพื่อช่วยเหลือแก่ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบสาธารณภัยด้านต่างๆ ทุกพื้นที่ให้มีขวัญกำลังใจในการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น

    ส่วนที่มหาวิทยาลัยคริสเตียน จังหวัดนครปฐม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง อธิการบดีมหาวิทยาลัยคริสเตียน พร้อมด้วยนางพรทิพย์ กวินสุพร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยคริสเตียน นายสุเทพ วุฒิวโรภาส ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยคริสเตียน ดร.เสาวณีย์ กานต์เดชารัก ที่ปรึกษาคณบดีสหเวชศาสตร์ นางโสภิณ ทวีพงศากร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานักศึกษา และนายสมโภช พรหมจำรัส อาจารย์ฝ่ายกิจการนักศึกษา ได้นำคณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมที่จุดพักพิงโรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดนครปฐม ซึ่งได้จัดตั้งเป็นจุดที่พักอาศัยชั่วคราวผู้ประสบอุทกภัย โดยมีนายไพฑูรย์ ศรีทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งนำเยี่ยมชมโรงนอน ภายในศูนย์ฯ

    ต่อมาอธิการบดีมหาวิทยาลัยคริสเตียน พร้อมคณาจารย์และนักศึกษาได้เดินทางไปยังสถานีตำรวจภูธรอำเภอนครชัยศรีเพื่อมอบเรือพาย 8 ลำให้กับทางสถานีตำรวจภูธรอำเภอนครชัยศรี 4 ลำและให้กับสถานีตำรวจอำเภอพุทธมณฑล 4 ลำ โดยมี พันตำรวจโท ชัยยศ มุกดาหาร รองผู้กำกับการป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจภูธรอำเภอนครชัยศรี เป็นผู้แทนรับมอบเพื่อให้ตำรวจในท้องที่อำเภอนครชัยศรีและพุทธมณฑลนำไปใช้ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย

    จากนั้นได้เดินทางไปยังโครงการบ้านเอื้ออาทร อำเภอนครชัยศรี ซึ่งได้จัดตั้งเป็นจุดพักพิงอาศัยชั่วคราวผู้ประสบอุทกภัยอีกแห่งหนึ่ง เพื่อนำอาหาร น้ำดื่ม สิ่งของ และยาเวชภัณฑ์ ไปมอบให้กับผู้อพยพภายในศูนย์ฯ ซึ่งมีนายชาติ กันล้อม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตำหนัก ให้การต้อนรับและมี พันตำรวจโท นิติพัฒน์ แสงทอง สารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจภูธรอำเภอนครชัยศรี มาให้การดูแลและอำนวยความสะดวก สำหรับจุดพักพิงแห่งนี้มีผู้อพยพอาศัยอยู่แล้วทั้งสิ้นกว่า 5,000 คน

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astv ผู้จัดการออนไลน์ 6 พฤศจิกายน 2554 17:39 น.
    http://www.manager.co.th/Local/ViewN...a4%c3%bb%b0%c1
  10. IAm
    IAm

    7 พฤศจิกายน 2554
    ==================================================



    เลขาฯ “มูลนิธิสืบ” วิเคราะห์ชัดเจน ทิศทางน้ำไหล-พื้นที่ไหนเสี่ยง

    เลขาฯ “มูลนิธิสืบ” ระบุ “จอมทอง-บางบอน” เตรียมรับน้ำจากคลองภาษีเจริญ โซน “ห้วยขวาง” เจอน้ำบ้างเล็กน้อย ส่วนตั้งแต่แนวใต้คลองสามเสนลงมา น้ำจะมาตามท่อเพื่อให้ระดับเท่ากับฝั่งเหนือ เตือนสมุทรสาครฝั่งคลองดำเนินสะดวก ระวังน้ำที่วกลงมาจากนครปฐม กระทุ่มแบนตะวันออกและมหาชัย รับน้ำแน่ๆ คาดมวลน้ำน่าจะมาถึงในอาทิตย์นี้




    เมื่อวันที่ 6 พ.ย.54 อาจารย์ศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ประเมินสถานการณ์น้ำท่วม ผ่านเฟซบุ๊ก Sasin Chalermlarp ความว่า “สถานการณ์น้ำท่วมใน กทม. เป็นธรรมชาติดีครับ คือ เป็นน้ำเอ่อจากถนนและคลอง รวมทั้งท่อ หมายความว่าน้ำจะค่อยๆ ขึ้นมา ไม่มีกำแพงป้องกันชุมชนที่จะพังโครมเดียวแล้วน้ำทลายมาถล่มบ้าน เหมือนบ้านผมที่อยุธยา น้ำเดินทางมาช้าๆ ประมาณ 2-3 กม./วัน นั่นคือถ้าเรารู้ว่าน้ำถึงไหน ดูจากไลน์น่าจะประมาณการน้ำที่มาถึงบ้านเราได้ โดยเช็กจากเว็บ gamling.org วันนี้น้ำถึงลาดพร้าว 40 กว่าๆ แล้ว แต่ยังไม่สูง เราต้องรู้ก่อนว่าน้ำไม่สูงถึงไหน แล้วประมาณการมาถึงบ้านเรา ถ้ามาถึงตื้นๆ ที่บ้านเราแล้วก็จะขึ้นสูงค่อนข้างเร็วในทางลึกขึ้น นะครับ ครึ่งวันอาจจะตาตุ่มมาเข่าได้ แล้วแต่พื้นที่ครับ กระทุ่มแบนล่างๆ ไล่มาถึงบางขุนเทียน ดาวคะนอง บางมด บนๆ พญาไท ดินแดง ห้วยขวาง วังทองหลาง บางกะปิ บึงกุ่ม สะพานสูง บางชัน มีนบุรี … พื้นที่ที่ยังไม่ถึงน่าจะค่อยๆ เอ่อ ในเวลาวันสองสามวันนี้



    ภาพรวม กทม.แบ่งเป็นสี่วง วงแรก คือ น้ำท่วมฝั่งตะวันตก น้ำกำลังจะข้ามคลองภาษีเจริญ โดยเฉพาะบางแค เข้าต่อจอมทองและบางบอน ถ้าเขาระบายได้มากลงท่าจีนก็จะช่วยได้มาก แต่อย่าลืมว่าทั้งหมดคือการเพิ่มน้ำให้ท่าจีน ทำให้นครชัยศรี สามพราน และกระทุ่มแบน ที่ท่าจีนเต็มที่แล้วไปต่อยาก และขยายเขตน้ำท่วมสองฝั่งน้ำท่าจีนไปถึงสมุทรสาคร ได้ตลอด วงที่สอง คือ สองฝั่งเจ้าพระยา ตอนนี้แนวกั้นน้ำยังเอาอยู่ แต่สายๆ ค่ำ น้ำจะขึ้นจากน้ำหนุน วงกรุงเทพชั้นใน มาถึงลาดพร้าว จตุจักร คันนายาว ขยายวงสู่ บางซื่อ พญาไท บางกะปิ บึงกุ่ม อย่าถามเลยว่าน้ำลึกแค่ไหน เพราะมันมาเรื่อยๆ แข่งกับการระบาย และการใช้ถุงทรายกั้นด้านบน มันมาได้สูงเท่าอก หรือท่วมหัวในที่บ้านต่ำๆ และท่วมถนนจนรถวิ่งไม่ได้ ก็แล้วกัน ถ้ามันยังมากกว่าการระบายมากๆ

    จากภาพที่แล้วอีกวงคือ นอกคันถนนหทัยราษฎร์-ร่มเกล้า ค่อยๆ ขึ้นอย่างช้า ๆ เต็มหนองจอก คลองสามวา ถึงมีนบุรีแล้ว กำลังเริ่มที่ลาดกระบัง ผมไม่รู้จริงๆ ว่า คลองต่างๆ ที่ด้านใต้ และถนนมอเตอร์เวย์ เขาเตรียมทำอะไรกับช่วงลอดหรือยัง ปัจจัยความสูงของน้ำยังขึ้นกับถนนต่างๆ อีกด้วย เช่น สุวินทวงศ์ และการระบายจากคลองแสนแสบ และประเวศบุรีรมย์ ไปออกนอก กทม.



    ขยายภาพสู่กรุงเทพชั้นใน มีสองวง วงบนคือ ดอนเมือง ลงมาลาดพร้าว บึงกุ่ม คันนายาว ในวงแดง “ไม่รอด” นานแล้ว จะลดหรือไม่ขึ้นกับความสามารถในการระบายลงท่อ อุโมงค์ยักษ์ (ที่ไม่ใช่ยักษ์ใหญ่) พื้นที่ไม่ท่วมช่วงนี้คือ ปากเกร็ด แคราย ดุสิต เพราะความสามารถในการป้องกัน ระบาย และพื้นที่สูง นอกจากนี้ปริมาณน้ำที่เข้ามาได้เฉพาะ โลคอลโรด เปรมประชากร และวิภาวดี มีไม่พอที่จะข้ามแนวกั้นของคลองประปา วงล่างสีดำ คือเขตที่ตอนบนต้องได้รับน้ำบ้าง และตอนล่างๆ ยังน่าจะยังป้องกันไว้ได้ ตั้งแต่แนวใต้คลองสามเสน ต่อแสนแสบลงมา คือ พระนคร ราชเทวี ป้อมปราบ ปทุมวัน วัฒนา สวนหลวง แต่สำหรับ บางกะปิ สะพานสูง เนื่องจากต่ำมาก ดังนั้น น้ำจะมาตามท่อ เพื่อให้ระดับเท่ากับฝั่งเหนือ ไม่น่ารอดนะครับถ้าระบายและสูบออกไม่ได้ ใต้จากนั้นมาว่ากันอีกที ส่วนด้านนอกก็ต้องดูการระบายน้ำทั้งด้านแนวนอน และแนวตั้งตามลูกศรสีส้ม

    บางพลี บางบ่อรอน้ำอีกนาน แต่เข้าใจว่าคลองเยอะ น้ำมาไม่มาก มาช้า น่าจะไม่มีปัญหามากนัก ยกเว้นคนที่ทำนากุ้ง นาปลา ไงๆ ก็ต้องเตรียมระวังให้ดี อาจจะล้นหรือรับน้ำเสีย



    ฝั่งตะวันตก มีห้าวง วงสมุทรสาครฝั่งคลองดำเนินสะดวก ควรระวังน้ำเหนือที่วกลงมาจากนครปฐม น่าจะกระทบกับคนทำนาปลา นากุ้ง แต่พอมาเจอระบบคลองแพรกลำประโดงที่บางยางลงมา น่าจะไม่เท่าไหร่ แต่คุณภาพน้ำและน้ำที่สูงขึ้น ไงๆ ก็อาจจะกระทบกับสวน และแปลงกล้วยไม้ ตั้งแต่สามพราน คลองจินดา แน่นอน ส่วนล่างลงมา ก็ต้องหาทางลดความเสียหายและระบายน้ำไม่ให้ล้นร่องคลองซอยต่างๆ แต่ใกล้ท่าจีนไงๆ ก็มีเอ่อ ในอาทิตย์นี้จนท่วมออกมาตามที่ต่ำแน่ เมืองนครปฐม น่าจะ ไม่มาก ยกเว้นคลองเจดีย์บูชา รวมถึงคลองอื่นๆ ที่เชื่อมท่าจีน วงสีแดงๆ ใต้เมืองนครปฐม ต้องระวังน้ำลงบ่อปลาครับ

    จากรูปที่ผ่านมา วงสีขาวฝั่งกระทุ่มแบนตะวันออก และมหาชัย เป็นพื้นที่รับน้ำแน่ๆ ถ้าข้ามภาษีเจริญ ผมยังคิดว่าน้ำจะมาถึงในอาทิตย์นี้ น้ำที่ว่าหากมีหน้าตัดมวลน้ำ สิบกิโลเมตร ในอัตราเร็ว 2.5 กม./วัน ก็จะมีน้ำมาถึงหน้าถนนพระรามสองเพียง 20-30 ล้าน ลบ.ม./วัน ถ้าหาทาง “รอด+ข้าม” พระรามสองได้ เราอาจจะมีถนนลงใต้ และหากหาทางระบายลงคลองแนวตั้ง และพื้นที่แก้มลิงสองฝั่งคลองมหาชัย ที่ว่าๆ กันได้ในปริมาณใกล้เคียงนี้ เมืองสมุทรสาคร จะไม่ท่วม แต่ต้องลุยกันไปสองเดือนนะครับ วงสีดำเป็นวงกรุงเทพชายทะเล น้ำกำลังหาทางล้นคลองภาษีเจริญ จอมทอง ฝั่งตะวันตกขอบๆ ของราษฎร์บูรณะ และบางขุนเทียนด้านเหนือ มาจรดพระรามสอง ช่วยกันระบายลงท่อ เพื่อรักษาพระรามสองกันครับ พอลงชายทะเล ก็ต้องระวังนากุ้ง บ่อปลาอาครับ ส่วนวงเหลืองถัดมาผมว่ามีลุ้น “รอด” แต่อาจจะมีน้ำขึ้นจากเจ้าพระยาช่วงน้ำขึ้นครับ



    ในภาพรวมของน้ำท่วมภาคกลางวันนี้ เราเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นดังที่ว่ามา ยกเว้น “มีเหตุคันหลักหก คันลำลูกกา และแนวกั้นเจ้าพระยามีปัญหา” พื้นที่ที่ผมไม่กล้าวิเคราะห์มากคือ ฝั่งธนชั้นใน ไม่รู้ว่าน้ำจะมาจากทางฝั่งตลิ่งชันและบางพลัดถึงบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ฝั่งธน คลองสาน ต้องระวังไว้ครับ แนวน้ำน่าจะมาทางลูกศรสีส้มที่วงไว้ ส่วนจะข้ามท่าจีน ไปแม่กลองหรือไม่ ขึ้นกับว่ากรมชลเขาจะผันต่อจากท่าจีนไปหรือเปล่า ช่วงนี้เอาแค่นี้ก่อนนะครับ ส่วนรวมการวิเคราะห์สักครู่ ค่อยว่ากัน ช่วยกันผลักให้ภาครัฐเร่งดำเนินการผันลงทะเล ตามแนวคิดที่ภาคประชาชนว่าๆ กันครับ พอเห็นวันนี้แล้วเสียดาย แจ้งวัฒนะ-รามอินทรา จังครับ ถ้าเราใช้ถนนใหญ่เส้นนี้ทำอะไรสักอย่างเราน่าจะคุมน้ำได้ดีกว่านี้ วันนี้เลยต้องมาใช้ถนนลาดพร้าวกั้นทั้งๆ ที่ต่ำกว่า ใต้กว่าตั้งเยอะ แค่นี้ครับ”

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 7 พฤศจิกายน 2554 03:13 น.
    http://www.manager.co.th/Politics/Vi...c3%ca%d2%a4%c3


    รวม ประกาศ 23 มหาวิทยาลัย เลื่อนเปิดเทอม เลื่อนสอบ

    เว็ปไซต์ กระปุกดอทคอม เผยแพร่ข้อความะบุว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของไทย ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตต่อผู้คนจำนวนมาก กระทบเศรษฐกิจที่จะต้องสูญเสียรายได้จากเครื่องจักรจมน้ำ ผู้คนเดินทางมาทำงานไม่ได้เพราะกลายสภาพเป็นผู้อพยพเพราะที่พักโดนน้ำท่วมจนอยู่ไม่ได้ ไม่เว้นแม้กระทั่งสถานศึกษาที่กำลังรอการเปิดเทอมในช่วงนี้ ยังต้องมีประกาศเลื่อนเพราะได้รับลผลกระทบจาดน้ำท่วมด้วยเช่นกัน ข้อมูลการเลื่อนเปิดเทอมของสถาบันต่างๆ จากพิษน้ำท่วมมีดังนี้

    จุฬาลงภรณ์มหาวิทยาลัย
    เลื่อนเปิดเทอมจากวันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2554 เป็นวันที่ 14 พฤศจิกายน 2554 ทั้งนี้ วันเปิดเรียนอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์น้ำท่วมซึ่งจะประกาศให้ทราบต่อไป นอกจากนี้ยังยกเลิกงานวันลอยกระทง ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 ที่จะถึงนี้ นอกจากนั้น ยังสั่งยกเลิกงานวันลอยกระทง ในวันที่ 10 พ.ย. 54 และเลื่อนงานจุฬาฯ วิชาการ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 23-27 พ.ย. 54 ออกไปอย่างไม่มีกำหนด ติดตามรายละเอียดได้ที่ www.chula.ac.th

    มหาวิทยาลัยมหิดล
    สำหรับกำหนดการเปิดภาคการศึกษาที่เคยประกาศไว้เป็นวันที่ 14 พฤศจิกายน 2554 นั้น ทางมหาวิทยาลัยมหิดลอาจต้องพิจารณาอีกครั้ง โดยรอดูจากสถานการณ์น้ำท่วมต่อไป แต่หลักสูตรใดที่สามารถบริหารจัดการได้ เช่น ย้ายไปจัดการเรียนการสอนในสถานที่อื่น หรือจัดลำดับการเรียนการสอนให้ออกไปฝึกภาคปฏิบัติในต่างจังหวัดก่อนในระยะนี้ ติดตามรายละเอียดได้ที่ http://www.mahidol.ac.th/

    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ประกาศหยุดงานไม่มีกำหนด จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง ยกเว้นผู้ที่มีหน้าที่ หรือได้รับคำสั่งเป็นการเฉพาะ ส่วนม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ หยุดงาน ระหว่างวันที่ 25 ต.ค.- 6 พ.ย.54 เว้นแต่ผู้มีหน้าที่ หรือคณบดีสั่งการเป็นอย่างอื่น

    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) วิทยาเขตบางเขน ประกาศเลื่อนวันเปิดภาคเรียน จากเดิมในวันที่ 31 ตุลาคม 2554 เป็นวันที่ 14 พฤศจิกายน 2554 แทน รวมถึงเลื่อนวันปิดภาคเรียน จากเดิมในวันที่ 12 มีนาคม 2555 เป็น 19 มีนาคม 2555 นอกจากนั้น ยังได้ประกาศเลื่อน/ยกเลิก/ปิด กิจกรรมต่าง ๆ ของ มก. วิทยาเขตบางเขนอีกด้วย โดยสามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://www.ku.ac.th/

    มหาวิทยาลัยศิลปากร
    ประกาศเลื่อนเปิดการศึกษาภาคปลายเป็นครั้งที่สอง จากเดิมในวันที่ 14 พ.ย. ไปเป็นวันที่ 28 พฤศจิกายน 2554 โดยสามารถติดตามข่าวสารหรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.su.ac.th/

    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
    มจธ.บางมด เลื่อนเปิดภาคเรียน ภาคการศึกษาที่ 2/2554 จากเดิมในวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2554 เป็น วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม 2554 แทน โดยสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www2.kmutt.ac.th หรือโทร. สอบถามได้ที่ 02-470-8000

    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
    มจพ. เลื่อนกำหนดเปิดภาคการศึกษา เป็นวันที่ 14 พ.ย. 54 และกำหนดลงทะเบียน วันที่ 7-11 พ.ย. 54 สอบถามข้อมูลได้ที่ โทรศัพท์. 0-2913-2500 ต่อ 1621-1635 หรือที่ http://www.kmutnb.ac.th/

    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
    เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อนักศึกษาและการจัดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยฯ จึงให้เลื่อนเปิดภาคเรียน ประจำภาคการศึกษาที่ 2/2554 จากเดิม วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2554 เป็น วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม 2554 ติดตามข่าวสารหรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.kmutt.ac.th/

    สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
    สจล. เลื่อนการเปิดภาคการศึกษาที่ 2/2554 สำหรับหลักสูตรที่เรียนวันเสาร์อาทิตย์ เลื่อนเป็นวันที่ 19 พฤศจิกายน 2554 และหลักสูตรที่เรียนวันธรรมดา เลื่อนเป็นวันที่ 21 พฤศจิกายน 2554 แทน หรือโทร. สอบถามที่ 0-2329-8000

    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)
    ประกาศเลื่อนเปิดเทอม จากวันที่ 31 ตุลาคม 2554 มาเป็น วันที่ 14 พฤศจิกายน 2554 ด้าน สาธิต มศว (ฝ่ายประถม-ฝ่ายมัธยม) สาธิต มศว ปทุมวัน และ สาธิต มศว องครักษ์ (ส่วนขยาย) เลื่อนเปิดเทอมเป็นวันที่ 14 พฤศจิกายน 2554 เช่นกัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ 0-2649-5000 # 5614

    มหาวิทยาลัยรามคำแหง
    จากเดิมที่กำหนดเปิดเรียน ภาค 2/554 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 นั้น มหาวิทยาลัยรามคำแหง ขอเลื่อนการเปิดเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี ภาค 2/2554 เป็นวันที่ 11 พฤศจิกายน 2554 และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถมและฝ่ายมัธยม) ขอเลื่อนการเปิดเรียน ภาค 2/2554 เป็นวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.ru.ac.th/

    มหาวิทยาลัยบูรพา
    ประกาศเลื่อนการเปิดภาคเรียน 2/54 จากวันที่ 7 พฤศจิกายน 2554 ไปเป็นวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ http://www.buu.ac.th/ หรือติดต่องานทะเบียนและสถิตินิสิต โทรศัพท์ 038-102715-29

    สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์
    ประกาศเลื่อนการจัดงาน CGI Open House ในวันที่ 29 ตุลาคม 2554 ออกไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วม หากมีการกำหนดวัน เวลาในการจัดงาน จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง หรือสามารถติดตามประกาศได้ที่ http://www.cgi.ac.th/

    กสพท.
    เลื่อนสอบตรงแพทย์-ทันตแพทย์ สอบวิชาเฉพาะ จากเดิมในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2554 เลื่อนไปเป็นวันที่ 25 ธันวาคม 54 แทน โดยผู้สมัครสอบสามารถตรวจสนามสอบและพิมพ์บัตรประจำตัวผู้เข้าสอบใหม่หลังวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 หรือสอบถามการสมัครสอบ กสพท.ปีการศึกษา 2555 ได้ที่หมายเลข 0-2419-6446, 0-2419-6463 หรือที่ www9.si.mahidol.ac.th

    มหาวิทยาลัยรังสิต
    จากสถานการณ์น้ำท่วมที่อยู่ในภาวะวิกฤต มหาวิทยาลัยรังสิต ขอเลื่อนกำหนดการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย อาทิ การเปิดทำการ การเปิดการเรียนการสอน การลงทะเบียน การเลื่อนสอบแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ การเปิดหอพักใน และ พิธีประสาทปริญญา ออกไปโดยไม่มีกำหนด โดยหลังจากสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลายมหาวิทยาลัยจะแจ้งรายละเอียดต่างๆ ให้ทราบอย่างเป็นทางการผ่านทาง http://www.rsu.ac.th/ อีกครั้ง

    มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC)
    เลื่อนเปิดเรียนในภาคการศึกษา 2/2554 จากเดิมในวันที่ 31 ตุลาคม เป็นวันที่ 14 พฤศจิกายน 2554 โดยนักศึกษาสามารถติดตามข่าวสารของมหาวิทยาลัยได้ที่ http://www.au.edu/

    มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
    เลื่อนการเปิดภาคเรียน จากเดิมวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2554 เลื่อนไปเป็น วันจันทร์ ที่ 21 พฤศจิกายน 2554 ทั้งนี้ สำหรับการประสาทปริญญาบัตรยังคงเป็นวันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ เหมือนเดิม โดยจะมี การรับชุดครุย วันที่ 25-27 มกราคม และการซ้อมใหญ่ในวันที่ 28-29 มกราคม 2554 ติดตามความคืบหน้าได้ที่ www.dpu.ac.th

    มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
    ประกาศเลื่อนเปิดภาคเรียน 2/2554 จากเดิมเปิดเรียนในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 เป็นวันที่ 14 พฤศจิกายน 2554 โทรสอบถามได้ที่ 0-2942-6900 - 99 หรือ http://www.chandra.ac.th/

    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
    มทร.พระนคร ประกาศเลื่อนการเปิดภาคเรียนในปีการศึกษาที่ 2/2554 จากวันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2554 เป็นวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2554 สอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โทร. 02-282 9009-15 ต่อ 6409 ในวันและเวลาราชการ และ http://www.rmutp.ac.th/

    มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (มกท.)
    ประกาศเลื่อนเปิดเทอม จากเดิมวันที่ 31 ตุลาคม 2554 เลื่อนเป็นวันที่ 28 พฤศจิกายน 2554 ทั้งวิทยาเขตรังสิต และวิทยาเขตกล้วยน้ำไท ติดตามข้อมูลและสอบถามได้ที่ ฝ่ายทะเบียน 02-350-3500 ต่อ 1551,1552,1553 หรือ http://www.bu.ac.th/

    มหาวิทยาลัยศรีปทุม
    เลื่อนการเปิดภาคเรียน 2/54 ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ เป็นวันที่ 28 พฤศจิกายน 2554 ภาคเสาร์-อาทิตย์ เป็นวันที่ 26 พฤศจิกายน 2554 สำหรับระดับบัณฑิตศึกษา เลื่อนการเปิดภาคเรียน 2/54 เป็นวันที่ 28 พฤศจิกายน 2554 ตรวจสอบสถานการณ์ได้ที่ http://www.spu.ac.th/ หรือ http://www.facebook.com/sripatum.inter

    มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช
    มสธ. ประกาศเลื่อนกำหนดการสอบไล่ภาค 1/2554 ของนักศึกษาทุกระดับ และผู้เรียนโครงการสัมฤทธิบัตร รุ่นที่ 76 จากวันเสาร์ที่ 29 และวันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2554 เป็นวันเสาร์ที่ 10 และวันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม 2554 นอกจากนั้น ทาง มสธ.ยังงดจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการเรียนการสอนของนักศึกษาทุกระดั สอบถามรายละเอียดได้ที่ 02-504-7788

    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
    มทร.ธัญบุรี เลื่อนการเปิดภาคเรียนไปเป็นวันที่ 14 พฤศจิกายน 2554 โทรสอบถามข้อมูลได้ที่ ทร. 02-549-3613-15 หรือที่ www.rmutt.ac.th/ หรือทวิตเตอร์ @pr_rmutt

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 30 ตุลาคม 2554 12:26 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000141675

    >> กรุงเทพฯ <<



    วันนี้ น้ำขึ้นเต็มที่ เวลา 15.43 น. สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 2.07 เมตร

    กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ แจ้งสภาวะระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณหน้ากองบัญชาการกองทัพเรือ ประจำวันที่ 7 พฤศจิกายน 2554 ดังนี้
    1.ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2554 น้ำขึ้น 2 ครั้ง เมื่อเวลา 02.44 น. สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 1.80 เมตรและ เมื่อเวลา 15.32 น. สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 2.04 เมตร
    2.ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2554 คาดว่าน้ำขึ้นเต็มที่ เวลา 04.40 น. สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 1.87 เมตร น้ำลงเต็มที่ เวลา 09.01 น. สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 1.79 เมตร และน้ำขึ้นเต็มที่ เวลา 15.43 น. สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 2.07 เมตร น้ำลงเต็มที่ เวลา 23.57 น. สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 1.63 เมตร
    3.ระดับน้ำที่ให้ไว้เป็นระดับซึ่งรวมระดับน้ำทะเลหนุนและอิทธิพลอื่น ๆ ไว้แล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงการระบายน้ำ หรือ มีปริมาณน้ำฝนที่ผิดปกติ ระดับน้ำอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงจากนี้ได้

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 7 พฤศจิกายน 2554 07:35 น.
    http://www.manager.co.th/qol/viewnew...=9540000138124

    สะพานควายน้ำผุดท่อ น้ำท่วมซ.ภาวนา แนะทางลัด ลาดพร้าว 48, 64

    ถ.พหลโยธิน มวลน้ำขยายวงกว้างมาอยู่บริเวณแยกกำแพงเพชร ระดับน้ำสูงประมาณ 30 ซม. (น้ำยังไม่ข้ามคลองบางซื่อ) ถ.พหลโยธิน จะมีรถทหารรับ-ส่งตั้งแต่แยกกำแพงเพชร ถึง ตลาดสะพานใหม่ สำหรับผู้ใช้เส้นทางถ.พหลโยธิน ขาออก ที่จะมุ่งหน้าแยกกำแพงเพชร ให้เลี้ยวขวาที่แยกสะพานควายไปสุทธิสาร หรือเลี้ยวซ้ายไปประดิพัทธ์ แทน เนื่องจากช่วงจุดกลับรถแยกกำแพงเพชร มีน้ำท่วมสูง รถเล็กผ่านลำบาก
    ถ.พหลโยธิน สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส หมอชิต ปริมาณน้ำสูงขึ้น น้ำไหลเข้าไปใกล้สะพานควาย มีน้ำผุดขึ้นมาตามท่อ การจราจรเริ่มสัญจรได้ลำบากขึ้น

    ถ.วิภาวดี ขาออก น้ำท่วม ผ่านนสพ.ไทยรัฐ สูง 50 ซ.ม. ถ.วิภาวดีขาเข้า หน้าบริษัทการบินไทย ระดับน้ำ 30-50 ซ.ม. มุ่งหน้า ดินแดง เหลือระยะทางไม่เกิน 5 กิโลเมตรก็จะถึงแยกดินแดง

    ถ.ลาดพร้าว ขาเข้า มวลน้ำอยู่ปากซอยลาดพร้าว 48 ให้เลี่ยงใช้ ถ.ลาดพร้าว 64 หรือ ถ.ลาดพร้าว 48 ออกสุทธิสาร-ห้วยขวาง ได้
    ถ.ลาดพร้าว ขาออก มวลน้ำอยู่ปากซอยลาดพร้าว 43 ระดับน้ำทั้ง 2 ฝั่งสูงประมาณ 30 ซ.ม. ส่วนที่ ถ.ลาดพร้าว 41 ซอยภาวนา น้ำท่วมสูง 80 ซ.ม. ขสมก.งดเดินรถเมล์ช่วง ห้าแยกลาดพร้าวถึงโชคชัย 4 ยกเว้นรถร่วมฯบางคัน เช่น สาย 8 และส่วนขาเข้าเมือง รถเมล์วิ่งแค่ ซอยภาวนา

    ถ.รัชดาภิเษก ขาเข้า เจ้าหน้าที่ กทม.ทำแนวป้องกันน้ำ สูง 50 ซ.ม. ทางลงอุโมงค์ห้วยขวาง เปิดให้ใช้ได้ตามปกติ

    ถ.รามอินทรา ขาเข้า-ออก มวลน้ำอยู่บริเวณใต้สะพานข้ามแยกกม. 8 ระดับน้ำสูงประมาณ 40-50 ซม.
    ถ.นวลจันทร์ มีน้ำท่วมแล้วระดับ 30 ซ.ม.
    ถ.สุวินทวงศ์ แยกตัดราษฎร์อุทิศ ถึงแยกการไฟฟ้ามีนบุรี น้ำสูง 1.20 ม. แยกไปรษณีย์ถึง ตัด ถ.ร่มเกล้าระดับน้ำ 60 ซ.ม.

    ถ.จรัญสนิทวงศ์ ช่วงซอย 65-68 น้ำลดลงแล้ว
    ถ.ราชวิถี จากสะพานกรุงธนบุรี ถึง แยกบางพลัด ระดับได้น้ำลดลงแล้ว รถเล็กสามารถผ่านได้
    บริเวณแยกบางพลัด ผิวการจราจรเริ่มแห้งเกือบเป็นปกติแล้ว
    ถ.พระรามที่2 ยังไม่มีน้ำท่วมขัง

    รถไฟฟ้า BTS , รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT เปิดให้บริการทุกสถานี, เรือคลองแสนแสบวิ่งให้บริการ วัดศรีบุญเรือง ถึงประตูน้ำ

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 7 พฤศจิกายน 2554 08:42 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000141679

    แยกภาวนาน้ำสูง 80 ซม.รถเครื่องดับขวางการจราจรจำนวนมาก

    สถานการณ์น้ำล่าสุดบริเวณแยกภาวนา ขณะนี้ระดับน้ำสูงขึ้นถึง 80 เซนติเมตร การจราจรค่อนข้างลำบาก รถที่สัญจรเส้นทางนี้เมื่อมาถึงแยกภาวนา ต้องเลี้ยวรถกลับเนื่องจากพบกับน้ำที่ท่วมสูง ส่วนรถบางคัน ไม่ว่าจะเป็นรถโดยสาร ขสมก. รถกระบะ ที่ใช้เส้นทางดังกล่าว ต้องหยุดกลางแยก เนื่องจากเครื่องยนต์ดับ ไม่สามารถวิ่งต่อไปได้แล้ว ผู้โดยสารรถ ขสมก.ต้องพากันเดินลงจากรถ เพื่อไปต่อรถโดยสารสายอื่นแทน ส่วนรถที่จอดเสียก็กีดขวางการจราจรแยกภาวนา ขณะที่ ประชาชนบางส่วนยอมใช้บริการ รถจักรยานยนต์รับจ้าง โดยคิดค่าบริการแพงกว่าปกติ เพื่อเลี่ยงเส้นทางในการเดินทางไปทำงานในเช้าวันจันทร์

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 7 พฤศจิกายน 2554 10:00 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000141691

    คู้บอนน้ำท่วม 50 ซ.ม.ส่งกลิ่นเหม็น

    สถานการณ์น้ำท่วม บริเวณถนนรามอินทรา ช่วง กม. 5 ปากทางเข้าซอยวัชรพล ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 10-15 เซนติเมตรแต่ผ่านพ้นจนมาถึงรามอินทรา 67 ไม่มีน้ำท่วมขัง ต่อเนื่องจนมาถึงรามอินทรา ช่วง กม.8 ก่อนขึ้นสะพานข้ามแยกคู้บอน มีระดับน้ำท่วมขังถนนในช่องทางด้านซ้าย รถยนต์ต้องวิ่งชิดขวาเพื่อขึ้นสะพาน ส่วนใต้สะพาน ปากทางเข้าซอยคู้บอน ระดับน้ำสูงประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนฝั่งกลับกันมีระดับน้ำสูง 30 เซนติเมตร และขณะนี้น้ำเริ่มมีสีดำและมีกลิ่นเหม็นแล้ว
    รถยนต์ที่จะมุ่งหน้าไปยัง มีนบุรี ส่วนมากจะเป็นรถกระบะขนาดใหญ่ รถตู้ รถโดยสารประจำทาง เท่านั้น เพราะหากผ่านทางจุดนี้ไปก็มีน้ำท่วมขังเป็นระยะ

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 7 พฤศจิกายน 2554 10:02 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000141693

    20 พื้นที่ กทม. ส่อรอดน้ำท่วม

    กรมแผนที่ทหาร ประเมินพื้นที่ กทม.ที่อาจรอดจากภัยน้ำท่วม หลังได้ศึกษาภาพถ่ายดาวเทียมของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ...
    ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เลขานุการคณะทำงานบริหารจัดการน้ำ กล่าวถึงข้อถกเถียงเกี่ยวกับมวลน้ำที่ยังสับสนในข้อมูลว่ามีจำนวนเท่าไหร่ โดยกล่าวว่าตั้งแต่สุโขทัยลงมา ถึงแม้ว่าจะมีมวลน้ำกระจายอยู่ราว 12,000 ล้านลบ.ม. แต่เป็นน้ำหลากตามท้องทุ่งตามปกติที่กักขังเพื่อการเกษตร และน้ำในระบบแม่น้ำลำคลองเป็นส่วนใหญ่ มีเพียงราว 3,000 ล้านลบ.ม.ที่จะหลากลงมาหา กทม.เท่านั้น ปกติน้ำในระบบทางภาคเหนือลงมาจะมีราว 12,000 ล้านลบ.ม. แต่ปีนี้มีมากถึง 16,000 ล้านลบ.ม. ซึ่งขณะนี้ได้ระบายลงทะเลแล้วราว 4,000 ล้านลบ.ม. จึงเหลือราว 12,000 ล้านลบ.ม. ซึ่งจะได้เร่งผลักดันลงทะเลมากที่สุด
    ขณะที่การประเมินพื้นที่น้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกรมแผนที่ทหารใช้แผนที่ทหารประกอบกับข้อมูลจาก 2 หน่วยงาน คือ ข้อมูลเกี่ยวกับน้ำที่กำลังท่วม เป็นข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA กับข้อมูลความสูงภูมิประเทศ และข้อมูลแผนที่กรุงเทพฯของกรมแผนที่ทหาร ประเมินได้ว่า ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา...พบว่า เขตบางซื่อ ดินแดง วังทองหลาง ห้วยขวาง พญาไท ราชเทวี ปทุมวัน สาทร วัฒนา สวนหลวง ประเวศ จะไม่ถูกน้ำท่วม
    ขณะที่ทางด้าน บางเขน ดอนเมือง หลักสี่ สายไหม คลองสามวา มีนบุรี ลาดกระบัง จตุจักร ลาดพร้าว บึงกุ่ม สะพานสูง คันนายาว บางกะปิ บางนา พระโขนง คลองเตย บางรัก ยานนาวา บางคอแหลม คลองสาน ธนบุรี พระนคร สัมพันธวงศ์ ดุสิต เหล่านี้อาจเกิดน้ำท่วมได้ จากการพิจารณาตามแผนที่ พบว่านิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังและนิคมอุตสาหกรรมบางชัน ก็อยู่ในจุดทางน้ำและเสี่ยงน้ำท่วมเช่นกัน
    ทางด้านฝั่งตะวันตกของเจ้าพระยา ประเมินว่าเขตที่คาดว่าจะรอดจากน้ำท่วม คือ บางกอกน้อย ภาษีเจริญ จอมทอง บางบอน บางขุนเทียน ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ ขณะที่ทางด้าน บางพลัด บางกอกใหญ่ ธนบุรี คลองสาน ตลิ่งชัน บางแค หนองแขม ทวีวัฒนา จะท่วม

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก ไทยรัฐออนไลน์ 7 พฤศจิกายน 2554 12:38 น.
    http://www.thairath.co.th/content/region/213935

    กทม.สั่งอพยพ หนองแขม ส่วนหนองจอก เฉพาะคลอง 10-คู้ฝั่งเหนือ โคกแฝด

    “สุขุมพันธุ์” ประกาศเขตหนองแขม อพยพทั้งเขต เขตหนองจอก เฉพาะ คลอง 10-คู้ฝั่งเหนือ โคกแฝด พร้อมขอบคุณนายกฯ ศปภ.ให้ความร่วมมืออย่างดี เตรียมเข้าพบ “ประชา” ที่ ศปภ.พรุ่งนี้ เวลา 10.00 น.รับยังห่วง คลอง 8-10 ที่ยังซ่อมประตูระบายน้ำไม่เสร็จ รวมถึงอีก 14 จุดในพื้นที่ทางเหนือและตะวันออกของ กทม. น้อมรับคำแนะนำ “บรรหาร” มาพิจารณา

    เมื่อเวลา 11.45 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงภายหลังการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำ พร้อมลงพื้นที่ตรวจระดับน้ำที่สถานีสูบน้ำคลองแสนแสบ-หนองจอก ว่า ตนเองได้ลงนามในประกาศให้เขตธนบุรี ถนนวุฒากาศ ถนนเทอดไท แขวงตลาดพลู เขตลาดพร้าว แขวงลาดพร้าว ถนนประเสริฐมนูกิจ จนถึงสุดเขตลาดพร้าว เขตมีนบุรี แขวงมีนบุรี เป็นพื้นที่เฝ้าระวัง และขอประกาศให้เขตดังต่อไปนี้เป็นเขตอพยพ ได้แก่ เขตหนองจอก แขวงคลอง 10 แขวงคู้ฝั่งเหนือ แขวงโคกแฝด และเขตภาษีเจริญ แขวงปากคลองภาษีเจริญ แขวงบางหว้า แขวงคูหาสวรรค์ เขตมีนบุรี แขวงแสนแสบ เขตหนองแขม แขวงหนองแขม ซึ่งก่อนหน้านี้ ตนได้ประกาศให้แขวงหนองค้างพลู เป็นเขตอพยพ ซึ่งเท่ากับว่าเขตหนองแขมเป็นเขตอพยพทั้งเขต

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า ตนต้องขอขอบคุณ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) และ ศปภ.ที่ในช่วง 24 ชม.ที่ผ่านมา ได้สนับสนุนแนวคิดความต้องการ ของ กทม.อย่างดียิ่ง โดยทาง ศปภ.ได้นำเครื่องสูบน้ำมาติดตั้งเพิ่มเติม ในคลองหกวาสายล่าง ในพื้นที่ จ.ปทุมธานี เพื่อจะเร่งระบายนำออกของฝั่งตะวันออก โดยจากเดิมมีเครื่องสูบน้ำ 12 เครื่อง ล่าสุด มี 24 เครื่อง ทำให้มีกำลังระบายน้ำเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัว ส่วนที่สถานีสูบน้ำหนองจอก จากเดิมที่กรมชลประทานเปิดสูบน้ำ จำนวน 8 เครื่อง จากทั้งหมด 20 เครื่อง วันนี้ (6 พ.ย.) ได้เปิดเป็น 16 เครื่อง ส่วนที่เหลืออีก 4 เครื่องเก็บไว้สำรองหาก 16 เครื่องที่เปิดสูบน้ำเกิดการชำรุด

    นอกจากนี้ ทาง ศปภ.ยังได้ประสานจะนำเครื่องสูบน้ำมาติดตั้งเพิ่มให้ กทม.เพื่อระบายน้ำคลองพระโขนง เช่นเดียวกับ กระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้ประสานจัดหาเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมให้ กทม.ด้วย นอกจากนี้ กทม.ได้เพิ่มจำนวนเครื่องสูบน้ำไปติดตั้งที่ ซ.จรัญสนิทวงศ์ 13 เพื่อสูบน้ำลงคลองมอญมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในวันพรุ่งนี้ (7 พ.ย.) พล.ต.อ.ประชา ได้ประสานมายัง กทม.เพื่อประชุมหารือ ที่ ศปภ.เวลา 10.00 น.ซึ่งตนจะหารือเรื่องรายละเอียดการติดตั้งเครื่องสูบ การผันน้ำไปยังสถานที่ต่างๆ

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ ตนยังมีความเป็นห่วงคลอง 8 คลอง 9 และคลอง 10 ที่ยังดำเนินการปิดประตูระบายน้ำไม่สำเร็จ รวมถึงยังเป็นห่วงใน 14 จุด ในพื้นที่ทางด้านเหนือและตะวันตกของ กทม.ซึ่งหาก ศปภ.ไม่สามารถไปซ่อมแซมได้ครบทั้งหมดนั้น ในที่ประชุม นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ ระบุว่า ฝั่งธนบุรีทั้งหมดอาจจะได้รับผลกระทบ

    “ตอนนี้การทำงานกับ ศปภ.ก็ดีอยู่แล้ว มีเพียงข้อกังวลแต่ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงผมก็ตค้องทบทวนการทำงานของผม แต่ก็ดีใจที่ 24 ชม.ที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุน ผมยิ้มออกแล้วครับ ผมได้รับการสนับสนุนเพื่อจะมาดูแลได้ดียิ่งขึ้น” ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าว

    อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวด้วยว่า ตราบใดที่มวลน้ำยังเข้า ย่านนนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม เราทำได้อย่างดียว คือ เพิ่มขีดความสามารถในการบรรเทาซึ่งคงไม่สามรถเอาน้ำออกได้ในทันที ทั้งนี้ อีกประมาณ 1 เดือน หากไม่มีน้ำเข้ามาเพิ่มเติม กทม.จะเข้าสู่ภาวะปกติแต่ถ้ามีน้ำมาอีก ปัญหาน้ำท่วมขังก็ยังคงอยู่กับเรา

    ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณี นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกมาให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ กทม.ทำหนังสือขอเครื่องสูบน้ำไปยังกรมชลประทาน แต่ระบุว่า กรมชลฯไม่ให้ เนื่องจากทำหนังสือไปถึง มท.ซึ่ง รมว.มหาดไทย เห็นหนังสือวันที่ 4 พ.ย.พร้อมแนะ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ โทรศัพท์สายตรงถึงอธิบดีกรมชลประทานหรือ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ก็ยินดีช่วยเหลือเต็มที่ โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ท่านบรรหาร เป็นผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ตนเองก็เคารพนับถือท่าน ดังนั้น ท่านพูดอะไรตนก็น้อมรับฟังมาไว้พิจารณา ซึ่งก็ดีใจที่ท่านติดตามสถานการณ์

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 7 พฤศจิกายน 2554 13:38 น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...=9540000141468

    >> นครปฐม <<



    นครปฐมน้ำหนุน จ่อทะลักมหาชัย จระเข้นับร้อยหลุดฟาร์มนครชัยศรี

    สถานการณ์นครปฐมยังอ่วม ถูกน้ำล้อม หนุนหลายทางจนระบายไม่ออก ไหลทะลักไป ต.อ้อมน้อย จ.สมุทรสาคร ชาวบ้านผวา พบจระเข้หลายจุดในอำเภอบางเลน-นครชัยศรี หวั่นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ หลุดจากฟาร์มแห่งหนึ่งในนครชัยศรี...
    วันที่ 6 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วม จ.นครปฐมว่า น้ำจากคลองทวีวัฒนา ที่รับน้ำมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ระบายออกจากพื้นที่ กทม.ยังเอ่อล้น ไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ทำให้พื้นที่ติดต่อ เช่น พุทธมณฑล สามพราน ยังต้องจมอยู่ในน้ำสูงระหว่าง 1 เมตร ถึง 1.50 เมตร ถึงแม้ว่าทั้ง 2 อำเภอ ของ จ.นครปฐม จะเร่งระบายลงแม่น้ำท่าจีน แต่ก็ยังไม่สามารถลดปริมาณน้ำลงได้ เพราะน้ำในแม่น้ำท่าจีนก็ยังเอ่อล้นสูงกว่าพื้นที่ตลิ่งร่วม 1 เมตร ทำให้น้ำระบายไม่ออก
    นอกจากนี้น้ำที่ท่วมขังล้นอยู่ตลอดเวลา ยังไหลไปอย่างต่อเนื่องลงที่ต่ำกว่า เช่น ต.อ้อมน้อย จ.สมุทรสาคร และ ต.อ้อมใหญ่ อ.สามพราน จ.นครปฐม ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรม และเป็นพื้นที่เศรษฐกิจของทั้ง 2 จังหวัด ถนนเพชรเกษม ถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ถนนเส้นทางเพชรเกษมแยกไปกระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ระยะทางกว่า 5 กม. น้ำได้เข้าท่วมแล้ว ระดับน้ำสูง 50-80 ซม. รถเล็กไม่สามารถวิ่งผ่านได้
    ล่าสุด กรมชลประทาน และกรมเจ้าท่า ได้รายงานว่า ขณะนี้มีการเปิดบานประตูระบายน้ำพระยาบรรลือ จ.สุพรรณบุรี เพื่อระบายน้ำลงแม่น้ำท่าจีน และเปิดรับน้ำเข้าพื้นที่เกษตรฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน บริเวณ ต.บัวปากท่า อ.บางเลน จ.นครปฐม อีก ซึ่งจะส่งผลถึง อ.นครชัยศรี และ อ.พุทธมณฑล จะทำให้ทั้ง 2 อำเภอ ระดับน้ำจะสูงขึ้นและจะมีผลกระทบต่อไปถึง อ.สามพราน
    ขณะเดียวกันได้นำเรือผลักดันน้ำ เดินเครื่องผลักดันน้ำที่สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีนทุกสะพาน เช่น สะพานสำโรง-ลานตากฟ้า, สะพานรวมเมฆ ในเขต อ.นครชัยศรี ส่วน อ.สามพราน โดยใช้เรือผลักดันน้ำ 6 จุด ตามสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน มีที่ ต.ทรงคนอง 5 ลำ, คลองลัดนางแท่น 2 ลำ, สะพานโพธิ์แก้ว 3 ลำ, คลองลัดท่าคา 4 ลำ, สะพานวัดเทียนดัด 5 ลำ และสะพานวัดท่าไม้ 5 ลำ เดินเครื่องในเวลา 18.00 น. และจะหยุดเดินเครื่องในเวลา 16.00 น. ของอีกวัน เพื่อเร่งผลักดันน้ำลงทะเลปากอ่าวสมุทรสาคร
    ขณะเดียวกันในช่วงเช้า ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานว่า ชาวบ้านใน ต.สำโรง อ.นครชัยศรี พบจระเข้ ขนาดใหญ่ 4 ตัว ยาว 4 เมตร คาดว่าจะเป็นพ่อและแม่พันธุ์ของฟาร์มใดฟาร์มหนึ่ง ในเขต อ.นครชัยศรี หลุดออกมาในช่วงน้ำท่วมฟาร์ม เห็นเวียนว่ายอยู่ในคลองสำโรง-ลานตาฟ้า ขอกำลังเจ้าหน้าที่มูลนิธิสุขศาลานุเคราะห์ออกตามล่า เพราะเกรงว่าอาจะทำร้ายคน หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่มูลนิธิได้ส่งกำลังออกล่า แต่ยังไร้ร่องรอย พร้อมประกาศเตือนผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณริมคลองทั้ง 2 ฝั่ง ให้ระวังอย่าให้ลูกหลานลงเล่นน้ำเด็ดขาด เพราะกลัวว่าจระเข้เลี้ยง หากไม่มีอาหาร จะทำให้ทำร้ายคนได้
    นอกจากนี้ในเขต อ.บางเลน จ.นครปฐม มีชาวบ้านพบจระเข้หลุดออกจากฟาร์มเช่นกัน เช่นที่สวนเกษตรพระมอพิสัย หมู่ 11 ต.นราภิรมย์ อ.บางเลน ชาวบ้านช่วยกันจับไว้ได้ ยาว 1.5 เมตร และฆ่าทิ้งเอาเนื้อมาแบ่งกันทาน และที่ปลายคลองนกกระทุง หมู่ 8 ต.นกกระทุง อ.บางเลน ชาวบ้านพบลอย คออยู่ในน้ำ แจ้งเจ้าหน้าที่ล่าแต่ไม่พบ และที่หมู่ 4 ต.บางเลน อ.บางเลน ขึ้นจากแม่น้ำท่าจีน ตัวยาวประมาณ 3 เมตร มาคาบสุนัขไปกิน ชาวบ้านเห็นจึงช่วยกันฆ่าตาย อย่างไรก็ตาม ในวันที่ผ่านมา ชาวบ้าน หมู่ 13 ต.บางภาษี อ.บางเลน ก็พบจระเข้ตัวยาวขนาด 3 เมตร ขึ้นจากทุ่งนาที่ถูกน้ำท่วม มานอนอยู่บนถนนสายบางบัวทอง-บางเลน ซึ่งถูกน้ำท่วมถนนขาด ถึง 3 ตัว แต่ชาวบ้านช่วยกันใช้ปืนยิง ปรากฏว่าจระเข้ว่ายหนีลงไปในทุ่งนา ซึ่งชาวบ้านพยายามตามล่าแต่ไม่พบ

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก ไทยรัฐออนไลน์ 7 พฤศจิกายน 2554 11:30 น.
    http://www.thairath.co.th/content/region/214718

    >> นนทบุรี <<


    ไฟฟ้าช็อต-ไฟดูด ภัยร้ายคร่าชีวิตคนน้ำท่วม

    สถานการณ์น้ำท่วมที่ยังคงวิกฤตหนักอยู่ในขณะนี้ โดยกระแสมวลน้ำที่ได้แผ่ขยายวงกว้างไหลเข้าสู่กรุงเทพมหานครเกือบจะครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ได้สร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนเป็นอย่างมาก ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ได้สร้างความทุกข์ระทมให้กับผู้ประสบภัย โดยได้คร่าชีวิตประชาชนไปแล้ว นั่นก็คือภัยจากกระแสไฟฟ้ารั่วออกมาจากสายไฟฟ้าแรงสูง ปลั๊กไฟ หรือแหล่งจ่ายไฟต่าง ๆ ที่จมน้ำ

    ดั่งเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นได้สร้างความสลดใจและน่าจะเป็นอุทาหรณ์ในภาวะน้ำท่วม โดยสองพี่น้อง คือนายสกล เทิดฉิม อายุ 40 ปี กับนายพนิพัด เทิดฉิม อายุ 41 ปี นอนเสียชีวิต อยู่ข้างรถขาก๋วยเตี๋ยว ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ขณะที่เดินลุยน้ำที่ปริ่มอยู่ระดับหน้าอก โดยทั้งสองได้พากันเดินลุยน้ำออกมารับถุงยังชีพ เพื่อนำไปประทังชีวิต ซึ่งเมื่อได้รับถุงยังชีพคนละถุงแล้ว ทั้งสองพี่น้องได้ช่วยกันหอบอุ้มถุงยังชีพเดินฝ่ากระแสน้ำเชี่ยว เดินกลับไปยังที่พัก โดย "นายสกล เทิดฉิม" ผู้เป็นน้องได้เอามือไปจับรถขายก๋วยเตี๋ยวที่จอดแช่น้ำอยู่บริเวณทางเดินผ่าน ซึ่งจังหวะนั่นเองนายสกลได้ถูกไฟดูดจนร้องเสียงดังก่อนจะล้มแน่นิ่ง ซึ่งนายพนิพัด เทิดฉิม พี่ชายที่เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวจึงรีบเข้าไปกระชากร่างน้องชายออกมา จึงทำให้ถูกไฟดูดตายไปอีกคน โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ตรวจสอบจุดเกิดเหตุพบว่ารถเข็นคันดังกล่าวจอดล้อตะแคงอยู่ในน้ำ และไปเกี่ยวกับสายไฟฟ้าแรงสูงจนเป็นเหตุให้ไฟรั่ว ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ 2 พี่น้องไปจับถูกเหล็กของตัวรถเข็น จึงทำให้ถูกไฟดูดเสียชีวิตทั้งคู่

    ก่อนนำอุปกรณ์ไฟฟ้ามาใช้งาน ควรตรวจสอบว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าอยู่ในสภาพปลอดภัย ซึ่งเมื่อเปิดใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้วพบสิ่งผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็นไหม้ มีเสียงดังมาจากเครื่อง ให้หยุดใช้งานในทันที พร้อมนำไปให้ช่างผู้ชำนาญการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพปลอดภัยอย่าไรก็ตาม เพื่อไม่ให้ประชาชนต้องถูกซ้ำเติมมากไปกว่านี้ ขอนำเสนอแนะวิธีเบื้องต้นในการป้องกันไฟฟ้าช็อตในกรณีน้ำท่วมบ้าน หากเป็นบ้านชั้นเดียว ให้รีบตัดกระแสไฟฟ้า โดยยกสะพานไฟขึ้น ย้ายสวิตซ์ไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าขึ้นที่สูง ห่างจากระดับที่น้ำท่วมถึง พร้อมงดใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างเด็ดขาด

    หากบ้าน 2 ชั้น ให้ดำเนินการแยกวงจรไฟฟ้าชั้นบนและชั้นล่างของบ้าน เพื่อปลดตัดกระแสไฟฟ้าบริเวณชั้นล่างของบ้าน และให้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่อยู่ชั้นบนของบ้านเท่านั้น "ห้ามใช้และสัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดในขณะที่ตัวเปียกชื้น" ห้ามยืนบนพื้นที่ชื้นแฉะหรือตัวแช่อยู่ในน้ำ

    ห้ามนำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมมาใช้งานเด็ดขาด ขณะเดียวกันก็ให้เพิ่มความระมัดระวังการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ตั้งอยู่บริเวณที่ชื้นแฉะเป็นพิเศษ เช่น ปั๊มน้ำ เครื่องซักผ้า เครื่องทำน้ำอุ่น เพราะหากมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหล จะทำให้ได้รับอันตรายได้ และถ้าหากไม่มีความรู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ห้ามซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยตนเอง เพราะอาจเกิดข้อผิดพลาดทำให้ถูกไฟฟ้าดูดเสียชีวิตได้

    นอกจากนี้ ที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐมีความห่วงใยผู้ประสบภัยในชุมชนเมือง และ กทม. หวั่นเกรงว่าจะถูกไฟฟ้าช็อต หลังพบสถิติตายเพิ่มขึ้นรวดเร็วเกือบ 6 เท่าตัว ภายใน 4 สัปดาห์ โดยจากข้อมูลผู้เสียชีวิตหลังจากเกิดน้ำท่วมตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม จนถึงวันนี้ขณะนี้ มีรายงานผู้เสียชีวิตทั้งหมด 366 ราย ซึ่งวิเคราะห์สาเหตุพบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 86 มาจากการจมน้ำ รองลงมาได้แก่ ไฟฟ้าช็อตร้อยละ 6

    ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสีย และประชาชนต้องอยู่กับน้ำอย่างเสี่ยงเป็น เสี่ยงตาย หน่วยงานภาครัฐได้เร่งประชาสัมพันธ์ พร้อมกับชี้แนะชุมชนปิดป้ายเตือนประชาชนไม่ให้เดิน หรือพายเรือเข้าใกล้บริเวณที่มีสายไฟห้อยต่ำใกล้น้ำท่วม อีกทั้งในพื้นที่ที่ประชาชนไม่อพอพออกมา และมีบางพื้นที่ที่หน่วยงานรัฐยังไม่ได้ตัดกระแสไฟฟ้า แม้ว่าน้ำเข้าท่วมในเขตชุมชนเมืองและกทม. สูงแล้วก็ตาม โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งมีคนอยู่หนาแน่น ส่วนใหญ่ยังใช้ชีวิตอยู่ในบ้าน จึงขอให้ประชาชนระมัดระวัง ปฏิบัติตามคำแนะนะอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของประชาชนเอง

    ที่สำคัญ ในการป้องกันไฟฟ้าช็อต ขอแนะนำให้ประชาชน และคนในชุมชนสำรวจว่ามีสายไฟแรงสูงที่ใดบ้างที่ห้อยต่ำใกล้ระดับน้ำท่วมถึง และปิดป้ายเตือนประชาชนไม่ให้เดินหรือพายเรือเข้าใกล้บริเวณนั้น ห้ามใช้และสัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดขณะที่ตัวเปียกชื้น นอกจากนี้ เครื่องไฟฟ้าที่ย้ายไม่ทันและถูกน้ำท่วมไปแล้ว ควรหยุดใช้งานจนกว่าจะได้รับการตรวจสอบสภาพ หากพบเสาไฟฟ้าขาด เสาล้ม สายไฟฟ้าขาด หรือแช่อยู่ในน้ำอย่าเข้าใกล้ ต้องรีบแจ้งการไฟฟ้าที่อยู่ในพื้นที่รีบแก้ไขโดยด่วน

    ส่วนในการช่วยเหลือผู้ที่ถูกไฟฟ้าช็อต จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้บาดเจ็บไม่ได้สัมผัสกับสายไฟฟ้าหรือตัวนำไฟฟ้าใดๆ และตัดวงจรไฟฟ้าก่อนเข้าไปช่วย โดยผู้ที่เข้าไปช่วยร่างกายต้องไม่เปียกชื้น ไม่เปียกน้ำ ยืนบนที่แห้ง และสวมรองเท้า ไม่สัมผัสตัวผู้ที่ถูกไฟฟ้าช็อตโดยตรง ให้ใช้ผ้าแห้งหรือเชือกดึงตัวออกมาจากจุดเกิดเหตุโดยเร็ว แล้วรีบปฐมพยาบาล ถ้าหยุดหายใจให้เป่าปากช่วยหายใจ หากคลำชีพจรไม่ได้ให้นวดหัวใจ และรีบส่งโรงพยาบาลทันที หรือขอความช่วยเหลือหน่วยแพทย์ฉุกเฉินหมายเลข 1669 แต่หากไม่มีความรู้ในการตัดกระแสไฟฟ้าหรือวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้องให้รีบตามคนมาช่วยทันที

    ขณะเดียวกัน ภัยใกล้ตัวในช่วงภาวะน้ำท่วมที่ประชาชนบางพื้นที่ได้โทรแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ไปช่วยจับด่วน แต่พอไปถึงกลับไม่พบตามที่แจ้งเหตุ ดังนั้นเพื่อให้ผู้พบเห็นแน่ใจว่าสิ่งที่เห็นเป็นจระเข้จริง ทางกรมประมงแนะนำวิธีสังเกตเบื้องต้นอย่างง่าย ๆ ดังนี้
    1. ขณะว่ายน้ำ จระเข้- ลำตัวนิ่ง มีเฉพาะส่วนหางเท่านั้นที่เคลื่อนไหว ส่วนตัวเงินตัวทองเคลื่อนไหวทั้งตัว เป็นรูปตัว S ระหว่างว่ายน้ำหัวจะมองซ้าย-ขวา ตลอดเวลา และแลบลิ้นเป็นระยะๆ
    2. ขณะหยุดนิ่ง (ช่วงเวลาที่อยู่ในน้ำ) จระเข้- จะมีเฉพาะส่วนจมูก (ก้อนขี้หมา) และตาเท่านั้นที่โผล่เหนือน้ำ ส่วนตัวเงินตัวทอง สามารถมองเห็นส่วนหัวทั้งหมดได้อย่างชัดเจน
    3. บริเวณที่มักพบ จระเข้ พบได้ง่ายในเวลากลางคืน ส่วนตัวเงินตัวทองจะพบเห็นได้ทั้งวันตามแหล่งอาหาร โดยเฉพาะตามแหล่งอาหารที่เน่าเปื่อยหรือบริเวณต้นไม้ (เนื่องจากสามารถปีนต้นไม้ได้)

    หากเราพบเจอจระเข้ช่วงกลางวันไม่ค่อยจะมีปัญหา เพราะถ้ามันเห็นคนก็จะตกใจและหนีไปเอง แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือช่วงเวลากลางคืน เพราะสัญชาตญาณจระเข้จะออกหากินในเวลากลางคืน จึงอยากเตือนประชาชนว่าตอนกลางคืนหากไม่จำเป็นไม่ควรเดินลุยน้ำเข้าไปในบริเวณพงหญ้าหรือกองไม้ ซึ่งเมื่อสังเกตจนมั่นใจแล้วว่าเป็นจระเข้ ขอให้ผู้พบเห็นรีบโทรแจ้ง ศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมประมง โทร.02 -562-0546 ได้ตลอด 24 ชั่วโม

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 7 พฤศจิกายน 2554 10:41 น.
    http://www.manager.co.th/Crime/ViewN...=9540000141712

    >> พระนครศรีอยุธยา <<



    ชาวกรุงเก่าโวยจังหวัดออกข่าวมั่วอยุธยาน้ำลดแล้ว แต่พอกลับมาน้ำยังสูงถึงคอ

    พระนครศรีอยุธยา - ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลลุมพลี เมืองกรุงเก่าโวยจังหวัดให้ข่าวมั่ว บอกน้ำท่วมในพระนครศรีอยุธยาลดแล้ว แต่พอเดินทางกลับจากหนีน้ำท่วมมาเพื่อกอบกู้บ้านกลับเรือนตนเองกลับเจอน้ำยังท่วมสูงถึงคอ

    วันนี้ (7 พ.ย.54) ชาวบ้านในพื้นที่ ต.ลุมพลี อ.พระนครศรีอยูธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ยังเดือดร้อนหนัก เนื่องจากน้ำยังท่วมสูงถึงอก ต้องนั่งเรือจ้างเข้าบ้าน แม้ว่าทางจังหวัดจะออกมาบอกว่าในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำลดลงแล้วก็ตาม แต่ปริมาณน้ำที่ ต.ลุมพลี อ.พระนครศรีอยูธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ยังคงมีน้ำท่วมสูง 100% ชาวบ้านยังใช้ชีวิตอยู่อย่างลำบาก

    "ถ้าทางจังหวัดออกข่าวว่าน้ำลดแล้วให้ลงมาดูที่ ต.ลุมพลี ดูว่าน้ำยังท่วมขนาดไหน อยากให้แจ้งเป็นจุด ๆ ว่าที่ไหนแห้ง ที่ไหนยังท่วมอยู่ เพราะคนที่หนีน้ำไปอยู่ต่างจังหวัด พอทางจังหวัดแจ้งว่าน้ำลดก็กลับมาเพื่อที่จะเข้ามาเก็บกวาดบ้านเรือน แต่พอมาถึงบ้านน้ำกลับยังไม่ลด ยังท่วมถึงคออยู่ ทำให้เสียเวลาเดินทางมา นอกจากเข้าบ้านยังไม่ได้แล้ว ยังไม่มีที่หลับนอนอีกด้วย การเดินทางก็ลำบากอยากจะให้ทางจังหวัดให้ข่าวให้ถูกต้องว่า ที่ไหนแห้งที่ไหนน้ำยังท่วมอยู่มากกว่า" ชาวบ้านคนหนึ่งในพื้นที่ตำบลลุมพลี กล่าว

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 7 พฤศจิกายน 2554 12:54 น.
    http://www.manager.co.th/Local/ViewN...2%d8%b8%c2%d2+

    >> สมุทรสาคร <<


    ส.ว.จวกรัฐแก้น้ำท่วมไม่ตรงจุด - เร่งเตือนสมุทรสาครท่วมสูง 2 เมตร

    ส.ว.สรรหาอภิปรายติงรัฐช่วยเหยื่อน้ำท่วมซ้ำซ้อน แต่บางจุดกลับไม่ทั่วถึง ทั้งยังแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ประเทศไทยส่งออกปลากระป๋อง สินค้าไม่ขาดแคลน กลับให้นำเข้า แนะเร่งเตือนสมุทรสาคร น้ำท่วมสูง 1-2 เมตร เผยเอกชนเสนอให้ใช้ ถ.ถนนพุทธสาครตัดถนนเศรษฐกิจ 1 เป็นฟลัดเวย์

    วันที่ 7 พ.ย.54 ที่รัฐสภา นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ส.ว.สรรหา อภิปรายในการประชุมวุฒิสภาวาระพิจารณาปัญหาสถานการณ์การเกิดอุทกภัยร้ายแรงในพื้นที่กรุงเทพมหานครและหลายจังหวัดของประเทศไทยว่า การทำงานของรัฐบาลที่ผ่านมา ตนมองว่ามีสิ่งที่ควรปรับปรุงในหลายด้าน อาทิ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับมวลน้ำที่ทันเหตุการณ์และชัดเจนต่อประชาชน เพื่อให้ประชาชนนำไปประกอบการตัดสินใจในการอพยพ หรือป้องกันความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชน การให้ความช่วยเหลือและการอพยพประชาชนที่พบว่ามีความซ้ำซ้อน และบางพื้นที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆ แก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่ควรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไข เพื่อป้องกันปัญหามวลชนที่เคยเกิดขึ้น

    นอกจากนั้นแล้ว ตนมองว่าการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลเรื่องเครื่องอุปโภค บริโภคขาดแคลนนั้น ไม่มีความรอบคอบ เช่น การสั่งซื้อปลากระป๋องจากต่างประเทศของรัฐบาล ทั้งนี้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตปลากระป๋องส่งออก และปลากระป๋องยังไม่ขาดแคลน เป็นตัวสะท้อนการทำงานของรัฐบาลที่ไม่รอบคอบ

    นายวิชาญกล่าวอีกว่า ในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร ที่คาดว่ามวลน้ำจากทางเหนือจะไหลเข้าสู่พื้นที่ 4-6 วันที่จะถึงนี้ เพราะรัฐบาลได้ผันน้ำเข้าสู่พื้นที่ดังกล่าวเพื่อให้ไหลลงสู่ทะเล จนถึงขณะนี้รัฐบาลได้แจ้งเตือนไปยังประชาชนแล้วหรือไม่ ว่าน้ำจะไหลเข้าสู่พื้นที่สูง 1-2 เมตร และหากน้ำท่วมถนนพระราม 2 สูง 10 ซม.จะทำให้ระดับน้ำในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร สูง 80 ซม. อีกทั้งรัฐบาลมีแผนป้องกันพื้นที่ จ.สมุทรสาครที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญแล้วหรือไม่ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมานั้น ภาคเอกชนและภาคราชการในส่วนจังหวัดได้หารือถึงแนวทางผันน้ำลงสู่ทะเล คือ ให้ ถนนพุทธสาครตัดถนนเศรษฐกิจ 1 ที่อยู่ใกล้กับแม่น้ำท่าจีนเป็นทางระบายน้ำ (ฟลัดเวย์) เพื่อให้มวลน้ำไหลลงสู่ทะเลได้โดยเร็ว ทั้งนี้ในพื้นที่ดังกล่าวนั้นมีชุมชนและโรงงานอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นรัฐบาลหรือหน่วยงานราชการส่วนกลางต้องเจรจากับประชาชน

    “หากใช้ถนนเป็นฟลัดเวย์ จำเป็นต้องใช้บิ๊กแบ๊ก มาวางข้างถนน และสูบน้ำลงไปในฟลัดเวย์ด้วย แม้ว่าถนนพุทธสาครตัดกับถนนเศรษฐกิจ 1 จะมีพื้นที่ไม่มาก แต่สามารถทำเป็นพื้นที่เพื่อเปิดให้น้ำไหลลงสู่ทะเลได้เร็วขึ้น ซึ่งดีกว่าการปล่อยให้น้ำเอ่อไปทุกหนทุกแห่ง ประชาชนสมุทรสาครยอมให้พื้นที่จังหวัดเป็นทางผ่านของน้ำ แต่รัฐบาลต้องเข้าไปสำรวจพื้นที่ วันนี้ช่วงบ่ายหรือวันพรุ่งนี้ อยากให้ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ตรวจดูพื้นที่ หาช่องผ่านน้ำ หากสิ่งเหล่านี้เร่งดำเนินการ จะเป็นการเร่งระบายน้ำเหนือให้ลงสู่ทะเลได้เร็วที่สุด และผมมองว่าการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครเป็นความท้าทายต่อการแก้ไขปัญหาน้ำของรัฐบาล ซึ่งหากรัฐบาลสามารถจัดการปัญหาได้ เชื่อว่าจะเรียกความเชื่อมั่นในตัวรัฐบาลกลับคืนมาได้” นายวิชาญกล่าว

    อนึ่ง ในที่ประชุมวุฒิสภาได้มีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายฐานิสร์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เข้ารับฟังในฐานะตัวแทนจากรัฐบาลด้วย





    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 7 พฤศจิกายน 2554 12:29 น.
    http://www.manager.co.th/Politics/Vi...c3%ca%d2%a4%c3

    จ.สมุทรสาคร ประชุมรับมือสถานการณ์น้ำ

    การประชุมแก้ไขและรับมือสถานการณ์น้ำ จ.สมุทรสาคร ในวันนี้ มีประเด็นสำคัญคือการวางแผนรับมือมวลน้ำกว่า 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่กำลังไหลมาจาก ต.อ้อมน้อย เขตบางแค หรือที่อยู่ทางตอนเหนือของ จ.สมุทรสาคร ในขณะนี้ แนวทางการแก้ปัญหาคือต้องสูบน้ำจากคลองภาษีเจริญ ออกสู่แม่น้ำท่าจีน และใช้เรือผลักดันน้ำออกจากคลองภาษีเจริญ ลงสู่คลองสี่วาตากล่อม ซึ่งจะส่งน้ำไปยังคลองมหาชัย ก่อนระบายลงสู่ทะเล ซึ่งขณะนี้พื้นที่รับน้ำ หรือคลองสี่วาตากล่อม ใน ต.สวนหลวง อ.กระทุ่มแบน กำลังได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมแล้ว
    สิ่งที่ต้องติดตามหลังจากนี้ คือแนวโน้มสถานการณ์น้ำเหนือที่จะไหลมายังพื้นที่ อ.กระทุ่มแบน รวมทั้งแนวโน้มที่มีการคาดการณ์กันว่าน้ำอาจจะไหลเข้าท่วมถนนพระราม 2

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 7 พฤศจิกายน 2554 12:58 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...c3%ca%d2%a4%c3
  11. IAm
    IAm

    15 พฤศจิกายน 2554
    ==================================================

    สถานการณ์น้ำ​โดยดาวเทีย​ม Aqua sensor MODIS ณ เวลา ๑๔.๑๐ น
    ของวันอังคา​ร ที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ โดย ดร. วีรชัย ตันพิพัฒน์
    ขอบคุณข้อมูลจาก http://situation.thaiflood.com/151154/1410/

















    ฉี่หนู อาละวาด ป่วยเพิ่ม 5% เตือนปวดน่อง-ตาแดง สงสัยไว้

    "ฉี่หนู"อาละวาดพบป่วยเพิ่ม5% เตือนปวดน่อง-ตาแดงสงสัยไว้ (ไทยโพสต์)


    ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

    กรมควบคุมโรคยันตัวเลขผู้ป่วยฉี่หนูเพิ่มขึ้นจาก 1% เป็น 5% แม้ยังไม่มีสัญญาณถึงขั้นเป็นโรคระบาด ชี้สาเหตุที่เสียชีวิตเพราะประชาชนไม่ตระหนัก ไปพบหมอช้า เตือนถ้ามีไข้ ปวดกล้ามเนื้อน่อง ตาแดงให้สงสัยว่าเป็นโรคฉี่หนู

    นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงสถานการณ์การเกิดโรคในช่วงสถานการณ์น้ำท่วม โดยเฉพาะที่ศูนย์พักพิงว่า จากการเฝ้าระวังโรค เช่น ไข้หวัด ท้องร่วง ฉี่หนู ซึ่งมีผู้ป่วยบ้าง แต่ยืนยันว่าไม่ถึงขั้นเป็นโรคระบาด เนื่องจากไม่มีการป่วยเป็นกลุ่มก้อน ส่วนกรณีที่มีข่าวว่าอัตราการป่วยเป็นโรคฉี่หนูเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 5 นั้นถือว่าเป็นอัตราที่สอดรับกับสถานการณ์น้ำท่วม โดยเฉพาะพื้นที่ที่น้ำลดลงและเข้าสู่ระยะฟื้นฟู ซึ่งประชาชนจะกลับเข้าไปยังบ้านเรือน ไร่นา อาจจะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว จึงพบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น

    อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าห่วงคือแม้โรคดังกล่าวจะสามารถป้องกันและรักษาให้หายได้ แต่จากข้อมูลของสำนักโรคระบาด กระทรวงสาธารณสุข จะเห็นว่าการเสียชีวิตส่วนมากเกิดจากการที่ประชาชนไม่ตระหนักถึงอันตรายของโรค และการไปพบแพทย์ช้า ดังนั้นจึงต้องรณรงค์เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้ให้มาก โดยเฉพาะในพื้นที่น้ำท่วมหากพบว่ามีอาการต้องสงสัยว่าจะเป็นโรคฉี่หนู เช่น ปวดกล้ามเนื้อน่อง ตาแดง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นโรคฉี่หนู และดำเนินการรักษาทันทีเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคดังกล่าว

    "ช่วงนี้จะเห็นว่ามีทั้งพื้นที่น้ำท่วม น้ำไหลหลาก น้ำขัง น้ำเน่า น้ำลดน้ำแห้ง ดังนั้นความเสี่ยงของแต่ละพื้นที่จึงมีความแตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตาม โรคที่ยังมีความเสี่ยงในทุกพื้นที่คือ โรคฉี่หนู และโรคท้องร่วง โดยเฉพาะในเด็กและผู้สูงอายุ ตามมาด้วยโรคไข้เลือดออก หลังน้ำลดจะพบมากขึ้น" นพ.สุวรรณชัยกล่าว และว่า นอกจากนี้การเสียชีวิตจากการถูกไฟฟ้าช็อต ไฟฟ้าดูด กรมควบคุมโรค โดยสำนักระบาดวิทยากำลังทำการวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการถูกไฟฟ้าช็อต เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาทางป้องกันและลดจำนวนผู้เสียชีวิต

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก http://health.kapook.com/view33249.html

    >> กรุงเทพฯ <<



    ทีมกรุ๊ปอัพเดตแผนที่ บางพลี-สุขุมวิท พื้นที่เสี่ยงมาก!


    >>คลิ๊กที่ภาพ เพื่อดูภาพขนาดใหญ่<<

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุุกดอทคอม
    ขอขอบคุณข้อมูลและภากประกอบจาก TEAM Group

    ทีมกรุ๊ปอัพเดตแผนที่ เตือน บางพลี สุขุมวิท เสี่ยงมาก ส่วนพื้นที่เสี่ยงสูง ได้แก่ บางบ่อ บางปะกง คลองสำโรง หนองแขม ตลิ่งชัน คลองภาษีเจริญ คลองทวีวัฒนา

    ทีมกรุ๊ปอัพเดตภาพน้ำท่วมกรุงเทพฯ ล่าสุด วานนี้ (14 พฤศจิกายน) โดยใช้โมเดล "River Network Model" คำนวณน้ำมาตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจากแผนที่ดังกล่าวพบว่า ย่านบางพลี สุขุมวิท อยู่ในกลุ่ม "สีเหลืองเข้ม" นั่นแสดงให้เห็นว่า เป็นพื้นที่ "เสี่ยงมาก" เช่นเดียวกันกับแถบ พระราม 2 สมุทรสาคร และ อ.กระทุ่มแบน

    ขณะที่เขตบางนา ประเวศ และสวนหลวง แผนที่แสดง "สีเหลืองอ่อน" หมายถึงว่า มีความเสี่ยงแค่ปานกลางเท่านั้น ส่วนเขตที่แสดง "สีแดง" ซึ่งหมายถึงมีความเสี่ยงสูงนั้น ได้แก่ อ.บางบ่อ บางปะกง คลองสำโรง และทางตะวันตกได้แก่ หนองแขม ตลิ่งชัน คลองภาษีเจริญ คลองทวีวัฒนา

    สำหรับเขตดอนเมือง แจ้งวัฒนะ สายไหม ถึงแม้ว่าจะถูกน้ำท่วมแล้ว ก็ยังอยู่ในเขตสีแดง หรือเสี่ยงสูงสุด ทั้งนี้รวมไปถึงถนนสองสายสำคัญ ทั้ง วิภาวดี พหลโยธิน นวมินทร์ และรามอินทรา ส่วนฝั่งลาดพร้าว บางกะปิ คันนายาว บึงกุ่ม อยู่ในกลุ่ม "สีเหลืองอ่อน" คือเสียงปานกลางเท่านั้น

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก http://hilight.kapook.com/view/64507

    โทรด่วน 1586 เส้นทางเลี่ยงน้ำท่วมพุ่งกระฉุด

    สายด่วน 1586 ถามเส้นทางหลวงเลี่ยงน้ำท่วมแทบไหม้ เดือนตุลาคมพุ่งเกือบแสนราย กรมทางหลวงแจงเร่งกู้ถนนสายสำคัญ...
    นายวันชัย ภาคลักษณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ตามที่กรมทางหลวงได้เปิดสายด่วน 1586 เพื่อให้บริการประชาชนสอบถามข้อมูลเส้นทางการเดินทางตลอด 24 ชั่วโมงนั้น ในเดือนตุลาคมซึ่งถือเป็นเดือนแห่งวิกฤติการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า มีประชาชนสอบถามการเดินทางเพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางที่ถูกน้ำท่วม เป็นจำนวน 94,510 ราย เพิ่มจากยอดการให้บริการในเดือนกันยายน 2554 จำนวน 74,955 ราย
    นายวันชัย กล่าวว่า คำถามที่ประชาชนสอบถามส่วนใหญ่คือ เส้นทางเลี่ยงที่จะออกจากกรุงเทพมหานครไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และเส้นทางการเดินทางในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งสอบถามข้อมูลเพื่อขอรับความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ เช่น ศูนย์พักพิงสำหรับประชาชน การใช้เรือ เส้นทางรถเมล์ ปริมาณน้ำ การติดต่อเรื่องรถทหาร เป็นต้น
    อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมทางหลวงกำลังเร่งกู้ทางหลวงสายต่าง ๆ ที่ถูกน้ำท่วม เพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยในการเดินทางให้กับประชาชนในการเดินทางไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศให้ได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยก่อนเดินทางขอให้ประชาชนตรวจสอบเส้นทางการเดินทางได้ที่ สายด่วนกรมทางหลวง 1586 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือตรวจสอบเส้นทางก่อนการเดินทางได้ที่เว็บไซต์กรมทางหลวง www.doh.go.th ซึ่งได้แนะนำแผนที่เส้นทางเลี่ยงน้ำท่วมไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศทุกวัน

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก ไทยรัฐออนไลน์ 15 พฤศจิกายน 2554 00:35 น.
    http://www.thairath.co.th/content/eco/216612

    ร.ร.สังกัด กทม.ทุกแห่ง เปิดเทอม 1 ธ.ค.นี้ พร้อมแผนเรียนชดเชย

    โรงเรียนสังกัด กทม.ทุกแห่ง เลื่อนเปิดเทอมครั้งที่ 2 เป็นวันที่ 1 ธ.ค.นี้ พร้อมให้สอนชดเชยจนครบหลักสูตรตอนเย็นหลังเวลาเลิกเรียนปกติวันละ 1 ชม. และชดเชยวันเสาร์ 11 วัน

    นางนินนาท ชลิตานนท์ รองปลัดกทม. ปฎิบัติราชการแทน ปลัดกทม. ได้สั่งการให้เลื่อนวันเปิดเทอมภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ทุกโรงเรียนในสังกัด กทม. เป็นวันที่ 1 ธ.ค. 2554 และให้โรงเรียนจัดการเรียนการสอนชดเชยเพื่อให้นักเรียนมีเวลาเรียนครบตามโครงสร้างเวลาเรียนของหลักสูตร

    ทั้งนี้ ให้โรงเรียนทุกแห่งดำเนินการ ดังนี้ 1 ระดับประถมศึกษาให้สอนชดเชยตอนเย็นหลังเวลาเลิกเรียนปกติวันละ 1 ชม. (14.30-15.30 น.) ทุกวันเป็นเวลา 11 สัปดาห์ และจัดสอนชดเชยในวันเสาร์อีก 11 วัน วันละ 4 ชม. (08.30-14.30 น.)

    2 ระดับมัธยมศึกษาให้สอนชดเชยตอนเย็นหลังเวลาเลิกเรียนปกติวันละ 1 ชม. (15.30-16.30 น.)ทุกวันเป็นเวลา 11 สัปดาห์ และจัดสอนชดเชยในวันเสาร์อีก 11 วัน วันละ 7 ชม.(08.30-16.30 น.)

    อ่าน รายชื่อโรงเรียนสังกัด กทม.มีดังนี้ >>คลิ๊กที่นี่<<

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤศจิกายน 2554 15:35 น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...=9540000145761

    ศธ.ประกาศเลื่อนเปิดเทอม กทม.นนทบุรี ปทุมธานี และนครปฐม เป็นวันที่ 6 ธ.ค. 54

    ศธ.ประกาศเลื่อนเปิดเทอมใน กทม. นนทบุรี ปทุมธานี และ 4 อำเภอของนครปฐม ไปวันที่ 6 ธ.ค. 54 “วรวัจน์” ชี้เป็นวันสุดท้ายที่จะขยับได้ ระบุหากถึงวันนั้นยังเปิดเทอมไม่ได้ ศธ.จะเลื่อนเปิดเทอมและการสอบประเมินทั้งหมด รวมถึง O-Net ออกไปทั้งหมด

    นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ.ว่า ศธ.จะออกประกาศให้สถานศึกษาทุกสังกัดของ ศธ.ใน กทม.นนทบุรี ปทุมธานีและ 4 อำเภอในจังหวัดนครปฐม ได้แก่ สามพราน นครชัยศรี พุทธมณฑล และบางเลน เลื่อนเปิดภาคเรียนไปเป็นวันที่ 6 ธันวาคม 2554 ยกเว้นโรงเรียนนานาชาติบางแห่งที่ขอผ่อนผันเปิดก่อนกำหนด ทั้งนี้ หากประเมินดูแล้วสถานศึกษาใน 4 จังหวัดนี้ยังไม่สามารถเปิดเทอมในวันที่ 6 ธันวาคม 2554 ได้ ศธ.จะเลื่อนวันเปิดเทอมและการสอบประเมินผลต่าง ๆ ทั้งระบบรวมถึงการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ด้วย เพราะวันที่ 6 ธันวาคม 2554 สุดท้ายที่จะสามารถเลื่อนเปิดเทอมได้โดยไม่กระทบกับการเรียนการสอนและการสอบ เมื่อเปิดภาคเรียนแล้ว ให้สถานศึกษาจัดสอนเสริมในวันเสาร์และหลังเลิกเรียนวันละ 1 ชั่วโมง เพื่อชดเชยเวลาเรียนที่เสียไป

    นายวรวัจน์กล่าวต่อว่า ส่วนตัวเลขความเสียหายในส่วนของโครงสร้างอาคารต่างๆ ของสถานศึกษานั้น เบื้องต้นพบความเสียหายมูลค่า 956.2 ล้าน บาท แต่ยังไม่รวมความเสียหายของมหาวิทยาลัย และโรงเรียนเอกชน ซึ่งบางแห่งมีการทำประกันภัยไว้ ต้องรอตรวจสอบข้อมูลก่อน เพื่อจะได้ไม่เสนองบประมาณเยียวยาจากรัฐบาลซ้ำซ้อนกับเงินประกัน และในวันที่ 18 พฤศจิกายน จะมีการจัด Big Cleaning day ที่โรงเรียนวัดบ้านสร้าง จ.พระนครศรีอยุธยา


    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤศจิกายน 2554 16:35 น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...=9540000145808

    กทม.ปิดสวนสาธารณะ 6 แห่งถูกน้ำท่วม

    กรุงเทพมหานครประชาสัมพันธ์ปิดให้บริการสวนสารธารณะชั่วคราว 6 แห่ง เนื่องจากประสบปัญหาน้ำท่วม ได้แก่ สวนวชิรเบญจทัศ หรือสวนรถไฟ สวนจตุจักร เขตจตุจักร สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง สวนกีฬารามอินทรา เขตบางเขน สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา และสวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด ซึ่งสวนสาธารณะหลายแห่งยังมีน้ำท่วมขังอยู่ เมื่อสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ สำนักงานสวนสาธารณะจะเร่งเข้าไปทำความสะอาด ซ่อมแซมไฟฟ้าส่องสว่าง และทางวิ่ง เพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปใช้บริการก่อน จากนั้นจึงจะดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ ดูแลฟื้นฟูสภาพต้นไม้ภายในสวนใหม่ทั้งหมด

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤศจิกายน 2554 12:10 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1.

    กทม.ยังเฝ้าระวังหลังรื้อแนว “บิ๊กแบ็ก” เขตดอนเมือง-จตุจักร

    กทม.สรุปสถานการณ์น้ำประจำวัน ล่าสุดเวลา 07.00 น. ภาพรวมกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี พื้นที่ศาลายาน้ำทะลักต่อเนื่อง ส่วนทางเหนือน้ำลดระดับ ขณะที่ฝั่งพระนคร เขตดอนเมือง จตุจักร ระดังน้ำยังล้น เฝ้าระวังการรื้อแนวบิ๊กแบ็ก

    วันนี้ (15 พ.ย.) เมื่อเวลา 07.00 น. ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย กรุงเทพมหานคร สรุปสถานการณ์น้ำประจำวันว่า ปริมาณน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา 2,398 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ลบ.ม./วินาที) ลดลงจากเมื่อวาน 135 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา 3.75 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) น้ำทะเลหนุนสูงสุดวันนี้เวลา 11.21 น. ระดับ 1.16 ม.รทก. และเวลา 19.17 น. ระดับ 0.95 ม.รทก. ในวันพรุ่งนี้ระดับน้ำทะเลหนุนสูง เวลา 12.04 น. ระดับ 1.14 ม.รทก. และเวลา 19.45 น. ระดับ 0.93 ม.รทก.

    ส่วนระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ตรวจวัดที่ปากคลองตลาด สูงสุดวันนี้ (15 พ.ย.) เวลา 09.15 น. ระดับ 2.34 ม.รทก. ต่ำกว่าแนวคันกั้นน้ำ 0.46 เมตร คาดการณ์วันนี้โดยกรมอุทกศาสตร์ระดับน้ำจะสูงสุดเวลา 11.21 น. ระดับ 2.32 ม.รทก.

    สำหรับ สถานการณ์น้ำทุ่ง ระดับน้ำบริเวณดอนเมืองที่รั่วจากรังสิต (24 ชั่วโมงที่ผ่านมา) ระดับน้ำลดลง 1 ซม. คลองหกวาสายล่าง ระดับน้ำที่ประตูระบายน้ำคลองสอง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา) ระดับน้ำลดลง 3 ซม. ฝั่งธนบุรี ระดับน้ำคลองมหาสวัสดิ์ที่ประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนา 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา) ระดับน้ำทรงตัว

    ส่วนสถานการณ์ระดับน้ำในคลองต่างๆ ระดับน้ำล้นตลิ่ง ได้แก่ ระดับ น้ำในคลองต่างๆ น้ำล้นตลิ่งคลองน้ำแก้ว ตอนถนนรัชดาภิเษก, คลองเปรมประชากร ช่วงวัดเทวสุนทร, คลองบางเขน ตอนถนนวิภาวดี, คลองบางซื่อ ตอนถนนพหลโยธิน, คลองลาดพร้าว ตอนวัดลาดพร้าว ซอยเสนานิคมและซอยลาดพร้าว 56 ส่วนฝั่งธนบุรี น้ำล้นตลิ่งคลองมหาสวัสดิ์ ตอนพุทธมณฑลสาย 2, คลองบางพรม ตอนคลองชักพระ ตอนถนนกาญจนาภิเษกและตอนถนนพุทธมณฑลสาย 3, คลองบางเชือกหนัง ตอนถนนพุทธมณฑลสาย 2, คลองบางแวก ตอนคลองทวีวัฒนา ตอนถนนพุทธมณฑลสาย 1, คลองบางจาก ตอนถนนพุทธมณฑลสาย 2, คลองพระยาราชมนตรี ตอนถนนพระราม 2

    ภาพรวมสถานการณ์ในกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี น้ำจากนอกพื้นที่ (ศาลายา) ยังคงทะลักเข้าพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ยังไม่มีการแก้ไข ระดับน้ำพื้นที่ตอนเหนือของฝั่งธนบุรีเริ่มลดลง ส่วนฝั่งพระนคร ด้านดอนเมือง จตุจักร น้ำยังคงล้น การรื้อแนวกระสอบทรายยักษ์ หรือ บิ๊กแบ๊ก ต้องเฝ้าระวังระดับน้ำอย่างใกล้ชิด คลองเปรมประชากรช่วงในเมืองระดับน้ำลดลง ด้านสายไหม คลองลาดพร้าวด้านบนยังคงล้นตลิ่ง ด้านซอยเสนานิคม วัดลาดพร้าว ซอยลาดพร้าว 56 ระดับ น้ำในคลองลดลงเล็กน้อย ด้านตะวันออกน้ำในคลองแสนแสบ ระดับน้ำเริ่มลดลงเล็กน้อย คลองประเวศบุรีรมย์ระดับน้ำทรงตัว และระดับน้ำในคลองบางซื่อ ช่วงถนนรัชดาภิเษกระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤศจิกายน 2554 12:41 น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...word=%a1%b7%c1.


    ผู้ว่าฯ กทม.ตรวจ 5 แยกลาดพร้าว-คาดอีก 3 วันจตุจักรแห้ง

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ตรวจน้ำท่วมขังที่ถนนกำแพงเพชร ถนนพหลโยธินตั้งแต่หน้าสวนจตุจักร ผ่าน 5 แยกลาดพร้าว โดยพบว่าปริมาณน้ำที่ท่วมขังหน้าสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสลดลงอย่างเห็นได้ชัดและแห้งในหลายจุด ส่วนบริเวณ 5 แยกลาดพร้าวระดับน้ำลดลงเช่นกันอยู่ที่ประมาณ 10 เซนติเมตร ทำให้รถยนต์ขนาดเล็กสามารถสัญจรได้ ส่วนบริเวณถนนพหลโยธินตั้งแต่เซ็นทรัลลาดพร้าวจนถึงหน้าซอยเสือใหญ่อุทิศ ปริมาณน้ำลดลงอย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน แต่บริเวณแยกรัชโยธินยังมีน้ำท่วมขังสูงอยู่ที่ระดับ 30-50 เซนติเมต
    โดยสภาพน้ำมีสีเหลืองขุ่น ส่งกลิ่นเหม็นเป็นบางช่วง ทำให้สำนักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร นำสารจุลินทรีย์มาฉีดพ่นเพื่อปรับสภาพน้ำบนถนน
    นอกจากนี้พบว่าเต็นท์รถยนต์บนถนนรัชดาภิเษกต่างยกรถสูงขึ้นประมาณ 50 เซนติเมตรเพื่อหนีน้ำท่วม จากนั้นได้เดินทางเข้ามาในซอยเสือใหญ่อุทิศ ซึ่งมีระดับน้ำท่วมสูงได้ลดลงเหลือ 15-20 เซนติเมตร และพบว่ามีขยะตกค้างในซอยเป็นจำนวนมาก
    ทั้งนี้ หากภายใน 3-7 วันไม่มีน้ำเหนือเข้ามาเพิ่มเติมจากคลองสอง คาดว่า ระดับน้ำในพื้นที่จตุจักรจะลดลงอย่างชัดเจนภายใน 3 วัน โดยจะระบายน้ำลงคลองเปรมประชากรและคลองลาดพร้าว ส่วนกรณีที่ยังมีน้ำท่วมขังสูงในเขตดอนเมือง หลักสี่ สายไหม เนื่องจากยังมีน้ำทุ่งที่อยู่เหนือพื้นที่กรุงเทพมหานคร อยู่เป็นจำนวนมากซึ่งยืนยันว่า ไม่ได้เกิดจากน้ำที่ผ่านเข้ามาจาก บิ๊กแบ็กอย่างแน่นอน

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤศจิกายน 2554 17:11 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1.

    ชาวบ้าน ซ.ฉลองกรุง 48 สุดทน! น้ำท่วมนานกว่า 2 เดือน

    นางคำไพ สะทองมา อายุ 60 ปี ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ภายในซอยฉลองกรุง 48 ซึ่งติดกับคลองลำกอไผ่ ที่ถูกน้ำท่วมร่วม 2 เดือน กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้หนักที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยระดับน้ำภายในซอยจุดต่ำสุดอยู่ที่ระดับประมาณ 1 เมตร ชาวบ้านต้องอยู่ด้วยความลำบาก รวมทั้งการสัญจรไป-มา ที่ต้องใช้วิธีเดินด้วยเท้า เนื่องจากไม่มีเรือ เช่นเดียวกับตนที่ต้องเดินทางออกมาทำงานทุกวัน จนถึงวันนี้รู้สึกทนไม่ไหวกับความลำบาก จึงตัดสินใจย้ายไปอยู่กับญาติในพื้นที่ใกล้เคียงที่ยังไม่ถูกน้ำท่วม ทั้งนี้ อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแล เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาดูแลแต่อย่างใด โดยสิ่งที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ต้องการ คือเรือเพื่อใช้ในการสัญจร
    อย่างไรก็ตาม จากการสังเกตพบว่า น้ำที่ท่วมขังภายในซอยฉลองกรุง 48 นั้น เริ่มมีสีและมีกลิ่นแล้ว

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤศจิกายน 2554 17:22 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000145848

    ชาวรังสิตเดือดร้อนหนัก น้ำท่วมสูงจาก"บิ๊กแบ็ก"

    ชาวรังสิตจำนวนหนึ่งได้มาอาศัยอยู่บนสะพานเป็นเวลานานกว่า 1 เดือนแล้ว เนื่องจากบ้านที่อยู่เหนือแนวกระสอบทราบบิ๊กแบ็ก น้ำยังท่วมสูง ชาวบ้านบอกว่าอยากให้รื้อแนวบิ๊กแบ็กออก เพราะว่าหลังจากมีการวางแนวบิ๊กแบ็กแล้ว ทำให้น้ำไม่ระบาย น้ำที่ท่วมอยู่จึงไม่ลดและเริ่มเน่าเสีย
    ส่วนอีกจุดหนึ่งย่านดอนเมือง ซึ่งกลุ่มชาวบ้านได้รื้อแนวบิ๊กแบ็กออกเป็นระยะทางประมาณ 10 เมตร วันนี้ทหารได้เข้าไปซ่อมแซมและเสริมเป็นฝายชะลอน้ำ 5 เมตร ส่วนอีก 5 เมตรเปิดเป็นเส้นทาง เพื่อระบายน้ำและให้เรือผ่าน โดยน้ำเหนือแนวสูงกว่าใต้แนวบิ๊กแบ็กประมาณ 25 เซนติเมตร และน้ำเหนือแนวบิ๊กแบ็กยังลดลงอีก 10-20 เซนติเมตร
    พ.ต.อ.รังสรรค์ ประดิษฐผล ผู้กำกับการ สน.ดอนเมือง เปิดเผยว่า จากการวัดระดับน้ำ หลังมีการรื้อแนวบิ๊กแบ็กออกพบว่า ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านช่องระบายประมาณ 4 แสนลูกบาศก์เมตรต่อวัน และหลังจากทางการเข้ามาซ่อม และทำเป็นฝายน้ำยังไม่มีชาวบ้านออกมาเคลื่อนไหวหรือคัดค้านแต่อย่างใด ส่วนน้ำที่ไหลผ่านใต้แนว ชาวบ้านอาจได้รับผลกระทบบ้างแต่ไม่มากนัก

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤศจิกายน 2554 18:11 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000145876

    เจาะถนนระบายน้ำนิคมฯ สหรัตนนคร

    นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ว่า ขณะนี้ยังมีน้ำท่วมสูงอยู่ที่ 2.25 เมตร จำเป็นต้องมีการเจาะถนนเพื่อระบายน้ำออก จนกว่าจะเห็นคันดิน และจะเริ่มต้นสูบน้ำออกได้ในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ คาดว่าจะใช้เวลาสูบน้ำประมาณ 1 สัปดาห์ น้ำจึงจะแห้งทั้งหมด และสามารถเดินเครื่องใหม่ได้ภายในเดือนธันวาคม เช่นกัน
    ขณะที่การกู้นิคมอุตสาหกรรมนวนคร จะต้องรอให้ระดับน้ำลดลงก่อน ซึ่งขณะนี้ระดับน้ำยังคงเหนือคันดินมาก นอกจากนี้ ในนิคมอุตสาหกรรมบางชันระดับน้ำเริ่มทรงตัวและลดลงเรื่อยๆ โดยเชื่อว่า จะสามารถป้องกันได้

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤศจิกายน 2554 18:39 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000145897

    น้ำจ่อเซ็นทรัลพระราม 2 อีก 200 ม.ถึงประตู

    สถานการณ์ล่าสุดที่เซ็นทรัลพลาซ่า พระราม 2 พบว่า น้ำที่ท่วมอยู่ด้านหน้าสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาเขตบางขุนเทียน ซึ่งอยู่ด้านข้างของเซ็นทรัลฯ พระราม 2 น้ำจากจุดดังกล่าว เข้าสู่พื้นที่รั่วเซ็นทรัลฯ พระราม 2 โดยน้ำเข้ามาทางประตูเข้า - ออกของรถยนต์ที่สามารถผ่านไปยังสำนักงานที่ดิน ระยะทางประมาณ 20 เมตร โดยระดับน้ำที่วัดได้ในจุดดังกล่าว ประมาณ 20 เซนติเมตร การเดินทางสัญจรด้วยรถยนต์ยังสามารถทำได้
    อย่างไรก็ตาม น้ำที่เข้ามาในพื้นที่เซ็นทรัลฯ พระราม 2 ซึ่งวัดจากหัวน้ำที่เข้ามา ห่างจากประตูเข้า - ออกด้านหลังของตัวเซ็นทรัลฯ พระราม 2 ประมาณ 200 - 300 เมตร ขณะที่ทางเซ็นทรัลฯ พระราม 2 ได้มีการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ด้วยการสร้างแนวกระสอบทรายความสูงประมาณ 1.20 เมตร รอบห้างมาก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ ยังมีเครื่องสูบน้ำประจำตามจุดต่างๆ อีกด้วย ส่วนการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในห้างฯ ยังเป็นปกติ

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤศจิกายน 2554 19:44 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000145923

    ชาวรังสิตให้เวลากรมชลฯ 3 วันซ่อมเครื่องสูบ ถ้าน้ำไม่ลดนัดหารืออีกครั้ง

    พล.ต.ต.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง รักษาราชการแทน ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 เปิดเผยภายหลังจากร่วมเจรจากับ นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน และ นายดำรงชัย นันทปราโมทย์ ตัวแทนชาวบ้านใน 5 ชุมชน ย่านรังสิต ประกอบด้วย หมู่บ้านรัตนโกสินทร์ 200 ปี หมู่บ้านเมืองเอก ชุมชนตลาดหวั่งหลี ชุมชนริมคลองโรงเรียนศิริฯ และชุมชนตลาดพรพัฒน์ ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปทุมธานี ตรงสะพานแก้วรังสิต นานกว่า 1 ชั่วโมงว่า ผลการเจรจาเป็นที่น่าพอใจทั้ง 2 ฝ่าย โดยชาวบ้านให้เวลากรมชลประทาน 3 วันนับตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป ในการดำเนินการซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำ จำนวน 9 ตัว จากทั้งหมด 18 ตัว ที่บริเวณประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ ให้แล้วเสร็จ และเดินเครื่องสูบน้ำอย่างเต็มกำลัง เพื่อให้น้ำในชุมชนย่านรังสิตนั้น ได้มีการไหลเวียนตามระบบ และไม่เน่าเสีย ตามแผนการจัดการน้ำของรัฐบาล
    ตัวแทนชาวบ้าน ได้กล่าวว่า จากนี้หาก กรมชลประทานดำเนินการตามที่พูดไว้จะไม่มีการรวมตัวกับชาวดอนเมือง เพื่อชุมนุมรื้อคันกั้นน้ำบิ๊กแบ็กแต่อย่างใด แต่หากหลังจาก 3 วัน พบว่ายังไม่มีการดำเนินการตามที่ได้รับปากไว้จะมีการหารือกับกลุ่มชาวบ้านอีกครั้งว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร


    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤศจิกายน 2554 19:53 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000145925

    ฮอนด้า ซ่อมรถมอเตอร์ไซค์ถูกน้ำท่วม ฟรี 6 จังหวัด 15-29 พ.ย.นี้

    ฮอนด้า ร่วมกับ ผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ฮอนด้า, กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดขบวนคาราวาน Free Service “ฮอนด้าห่วงใย เพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วม” ให้บริการซ่อมบำรุงรถจักรยานยนต์ฮอนด้าที่เสียหายจากภัยน้ำท่วม ในพื้นที่ประสบภัยหลังระดับน้ำลด ประกอบไปด้วย การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง น้ำมันเฟืองท้าย หัวเทียน พร้อมไปกับการเปลี่ยนไส้กรองอากาศให้ฟรี! กับรถที่มีปัญหาในจุดดังกล่าว รวมถึงการตรวจสภาพ และซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ ให้รถกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม โดยจะลงพื้นที่ใน 6 จังหวัดภาคกลาง เริ่มต้น 15 พ.ย.นี้ ที่ นครสวรรค์, อุทัยธานี, สิงห์บุรี, อ่างทอง, ลพบุรี และอยุธยา ดังนี้
    วันที่ 15-17 พ.ย. ที่อุทยานนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์
    วันที่ 19-21 พ.ย. ที่หอนาฬิกา จ.อุทัยธานี
    วันที่ 23-25 พ.ย. ที่ฝาครอบคลอง จ.สิงห์บุรี
    วันที่ 27-29 พ.ย. บริเวณหน้าศาลากลาง จ.อ่างทอง
    วันที่ 15-17 พ.ย. ที่ตลาดศรีนคร จ.นครสวรรค์
    วันที่ 19-21 พ.ย. วงเวียนสระแก้ว จ.ลพบุรี
    วันที่ 23-26 พ.ย. สะพานปรีดีฯ อ.เมือง จ.อยุธยา
    วันที่ 28-29 พ.ย. หน้าร้านผู้จำหน่ายสมชายมอเตอร์เซลล์ อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา
    สำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในการซ่อมบำรุงรถจักรยานยนต์ฮอนด้าที่เสียหายจากอุทกภัย สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมของบริการ Free Service ในพื้นที่ของท่านผ่านทางร้านผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ฮอนด้าใกล้บ้านท่านได้ทันที

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤศจิกายน 2554 19:55 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000145929

    ผอ.ศูนย์วิจัยสารสนเทศฯค้านย้ายเมืองหลวง ชี้เงื่อนไขน้อยเกิน

    ผอ.ศูนย์วิจัยสารสนเทศฯค้านข้อเสนอ 20 ส.ส. เพื่อไทย ที่จะให้ย้ายเมืองหลวง แจงไม่ใช่เรื่องง่าย สถานที่สำคัญหลายแห่งอยู่ที่นี่ อีกทั้งข้อมูลกทม.ทรุดปีละ 20 ซม.ไม่จริง ขนาดเมื่อก่อนทรุดแค่ 1-3 ซม.ต่อปี ยิ่งทุกวันนี้แทบไม่ทรุดเลยเพราะเลิกใช้น้ำบาดาลแล้ว ซัดถ้ามีเงื่อนไขแค่นี้อย่าพูด มั่นใจใช้แนวคิด "ในหลวง" จัดการน้ำอย่างยั่งยืน และทุกคนช่วยกันทำงานตั้งแต่วันนี้ สู้น้ำได้แน่นอน

    >>คลิี๊กที่นี่ เพื่อรับชมวีดีโอ 15/11/54 คนเคาะข่าว ช่วงที่2 วิกฤตน้ำท่วม!!! <<

    วันนี้ (15 พ.ย.) ผศ.ดร.สมบัติ อยู่เมือง ผอ.ศูนย์วิจัยสารสนเทศแห่งประเทศไทย ในคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) กล่าวในรายการ "คนเคาะข่าว" ว่า ที่พูดกันว่ากทม.จะจมบาดาลใน 50 ปีข้างหน้า อันนั้นไม่น่ากังวลนักหนา แผ่นดินเราไม่ได้ทรุดถึง 20 ซม. ต่อปี อันนั้นข้อมูลคลาดเคลื่อน เมื่อก่อนทรุดประมาณ 1-3 ซม.ต่อปี ซึ่งปัจจุบันก็แทบไม่ทรุดแล้วเพราะเราเลิกใช้น้ำบาดาลมานาน

    แม้แต่การศึกษาระดับโลกก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าน้ำจะขึ้นทุกที่เหมือนกัน บางประเทศต่ำกว่าน้ำก็ยังอยู่ได้ การที่กังวลว่ากทม.จะจมน้ำใน 25 - 50 ปี มันไม่ได้เกิดขึ้นฉับพลันแน่นอน มันมีจะเงื่อนไขระหว่างทาง ตนไม่กลัวกรุงเทพฯจมน้ำ เพราะเราอยู่กับน้ำมานานแล้ว เราต่างหากที่รู้สึกว่าต้องไม่มีน้ำ

    ผศ.ดร.สมบัติ กล่าวอีกว่า มีบางคน (ส.ส.เพื่อไทย) เสนอให้ย้ายเมืองหลวง ถ้ามันง่ายอย่างนั้นก็ดี การเสนออะไรโดยมีเงื่อนไขแค่นี้ไม่ควรพูด เราต้องจำกัดการเติบโตของเมือง ไม่ไปปลูกสร้างในที่ที่ไม่ควร อะไรที่กีดขวางคลองก็ต้องไปจัดการ ที่ผ่านมาเราปล่อยปละละเลย ให้รุกรานทางน้ำผ่าน

    แล้วที่บอกว่านครนายก พื้นที่ลาดชันน้ำมาจะระบายออกได้สะดวก ซึ่งพื้นที่ลาดชันในประเทศมีเต็มไปหมด เลือกเอาได้ทั้งอีสาน มีเงื่อนไขแค่นี้มันไม่ควรพูดเรื่องนี้ในตอนนี้

    จัดโซนนิ่ง ทำผังเมืองใหม่ หาเมืองรองรับการขยายตัวของเมือง ได้ทำหรือยัง สิ่งนั้นคือสิ่งที่ต้องทำ แล้วมาออกแบบวิศวกรรมในการป้องกันดูแล ไม่ว่าจะเป็นฟลัดเวย์ คันกั้นน้ำ หรืออะไรก็แล้วแต่ ถอยไม่ได้ เมืองเราอยู่นี่ สถานที่สำคัญอยู่ที่นี่ทั้งหมด แล้วจะย้ายไปไหน มันสู้ได้ ไม่อยากให้โดดข้ามช็อตแล้วพูดอะไรออกมาไม่สมเหตุสมผล อยากให้อยู่กับความเป็นจริงแล้วแก้ปัญหา

    เมื่อถามว่าการจัดลำดับวางแผนการจัดการทรัพยากรน้ำที่จะนำเสนอต่อรัฐบาลในฐานะคณะกรรมการกยน.มีอย่างไรบ้าง ผศ.ดร.สมบัติ กล่าวว่า ตนก็ยังใช้แนวคิดของพระองค์ท่าน ที่ดร.สุเมธ ได้ให้สัมภาษณ์หลายๆครั้ง เราต้องดูลุ่มน้ำย่อยทุกระบบ ลุ่มน้ำใหญ่ ให้ยั่งยืน ความหมายคือ ป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร จัดการทรัพยากรในพื้นที่ ทุกอย่างต้องมีข้อมูลการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม นั่นคือความยั่งยืนอย่างแน่นอน จะใช้เวลา 20 ปี ก็ต้องทำ เราจะมาแก้ไขปัญหาระยะกลาง ระยะปลายอย่างเดียวไม่ได้

    หลายคนกังวลว่าเราจัดการพิบัติภัยอย่างเดียวหรือจัดการน้ำทั้งระบบ มันแยกไม่ออก เพราะหากเราจะจัดการพิบัติภัยเราก็ต้องดูแลน้ำต้นทุน ทั้งใช้ในการเกษตร ทั้งใช้ลดพิบัติภัย ใช้ในหน้าแล้ง การจัดการชายฝั่ง อุตสาหกรรม ใช้ในการอุปโภค บริโภค ซึ่งเราก็ต้องใช้ เราหนีไม่พ้น
    ต้องใช้ที่ดินให้เหมาะสม ต้องโซนนิ่งมันให้ดี แล้วใส่วิศวกรรมในพื้นที่ที่เราตั้องสู้ นั่นคือมาตรฐานสากล แค่มาดูแลส่วนล่างแล้วผลักน้ำไปให้ดีที่สุด โดยหน้าแล้งไม่มีน้ำใช้ อันนั้นไม่ยั่งยืน ต้องเป็นธรรมกับทุกลุ่มน้ำ

    คนมักถามปีหน้าจะน้ำท่วมหนักแบบนี้หรือไม่ ตนคิดว่าทุกคนต้องช่วยกัน ทำงานอย่างเป็นระบบ ทำงานหนักอย่างตลอด ตั้งแต่วันนี้ ไม่ใช่น้ำท่วมแล้วค่อยมาพูดกัน มันไม่ได้


    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤศจิกายน 2554 23:33 น.
    http://www.manager.co.th/Politics/Vi...word=%a1%b7%c1.
    >> สตูล<<

    ข่าวนี้ไม่เกี่ยวกับน้ำท่วมค่ะ เป็นข่าวเตือนธรณีพิบัติ อยากนำมาให้ได้อ่านค่ะ

    กรมทรัพย์ “เฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัยสตูล”

    สตูล - กรมทรัพย์ จัดสัมมนา เครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัยในพื้นที่เสี่ยงภัย จ.สตูล เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับระบบการเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยบริเวณต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ หลังพบบางพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งอาจเสี่ยงต่อดินโคลนถล่มยิ่งขึ้น

    วันนี้ (15 พ.ย.) ที่ห้องประชุมโรงแรมพินนาเคิลวังใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล นายเหนือชาย จิระอภิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานเปิดการสัมมนา "เครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัยในพื้นที่เสี่ยงภัย” จังหวัดสตูล จัดโดยกรมทรัพยากรธรณี ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับระบบการเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยบริเวณต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย เครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัยในพื้นที่เสี่ยงภัย ปลัดอำเภอ กำนัน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนจำนวน 150 คน

    โดยการเตรียมความพร้อมก่อนเกิดเหตุธรณีพิบัติภัยเป็นเวทีให้อาสาสมัครเครือข่ายฯ ของกรมทรัพยากรธรณีได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กระบวนการ และวิธีการในการเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัย รวมทั้งเป็นการกระตุ้นเตือนเครือข่ายฯให้มีความพร้อมในการเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัย ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยดินถล่มให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด อันจะนำมาซึ่งการสูญเสียน้อยที่สุดหากเกิดธรณีพิบัติภัย

    นายธวัชชัย เทพสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 4 กล่าวว่า จังหวัดสตูล เป็น 1 ใน 51 จังหวัดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณีจึงได้ดำเนินการจัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัยในพื้นที่เสี่ยงภัยขึ้นในปี 2550 ครอบคลุมพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่อำเภอทุ่งหว้า อำเภอละงู อำเภอมะนัง อำเภอควนกาหลง และอำเภอควนโดน

    อย่างไรก็ตาม จากการประเมินสถานการณ์และตรวจสอบข้อมูลจากเครือข่าย พบว่าระบบการเตรียมความพร้อมในการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยมีประสิทธิภาพเฉพาะในบริเวณต้นน้ำ โดยยังไม่ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณกลางน้ำและปลายน้ำ อีกทั้งภายหลังจัดตั้งเครือข่ายแล้วบางพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดดินโคลนถล่มเพิ่มขึ้น กรมทรัพยากรธรณีจึงได้ดำเนินการจัดตั้งระบบเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยดินถล่มให้ครอบคลุมทั้งระบบต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤศจิกายน 2554 20:23 น.
    http://www.manager.co.th/Local/ViewN...=9540000145859

    >> นนทบุรี<<


    กู้ ถ.340 เริ่มเสร็จแล้วบางจุด! "สุกำพล" โผล่ตรวจงาน


    ถ.ตลิ่งชัน - สุพรรณบุรี ช่วงคลองแยกไทรน้อย - คลองลำรี

    เจ้าหน้าที่เร่งกู้ บางใหญ่ - สุพรรณบุรี ขาออก ถ.กาญจนาภิเษก ช่วงสมบัติบุรีน้ำเริ่มแห้งเหลือไม่ถึง 20 ซม. ด้านหน้า ซ.ลาดปลาดุกวางท่อเสร็จแต่ยังไม่ได้สูบน้ำ ส่วนวงแหวนแยกบางใหญ่เริ่มวางท่อบ้างแล้ว ด้านสาย 340 ฝั่งนนท์ เร่งขุดดินทำคันกั้นฝั่งถนน ส่วนช่วงลาดหลุมแก้ว กู้เสร็จแล้ว ด้าน รมว.คมนาคม โผล่ตรวจงาน

    วันนี้ (15 พ.ย.) ที่ จ.นนทบุรี ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปสำรวจการกู้ถนนตลิ่งชัน - สุพรรณบุรี และถนนทางหลวงสาย 340 บางบัวทอง - สุพรรณบุรี พบว่า บน ถ.ตลิ่งชัน - สุพรรณบุรี ทางหลักขาออก จุดแรกที่เริ่มทำการกู้คือช่วงตั้งแต่คลองลำรี - คลองแยกไทรน้อย เจ้าหน้าที่ได้สูบน้ำจนมีระดับลดลงอย่างมากเหลือราว 5 - 20 ซม. โดยได้ใช้เครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่สูบออกไปทางหมู่บ้านสมบัติบุรี แต่ก็ยังพบมีน้ำซึมอยู่ตามแนวกั้นกระสอบทรายหลายแห่ง จนเจ้าหน้าที่แขวงการทางต้องรื้อกระสอบทรายฝั่งในถนนเพื่อวางอุดรอยรั่วอีกครั้ง

    ขณะจุดที่ 2 บริเวณปากซอยวัดลาดปลาดุก ก็ได้เริ่มมีการวางท่อคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดความสูง 1 เมตรอย่างต่อเนื่องจนครบทั้งสองข้างของถนนรวมทั้งเว้นจุดที่จะสูบน้ำแล้ว พร้อมทั้งมีการเริ่มวางถุงทรายกั้นน้ำบางส่วน แต่จากระดับน้ำที่มีความสูงราว 50 - 100 ซม.ทำให้ปฏิบัติภารกิจได้ยากลำบากขึ้น

    ด้านจุดที่ 3 คือบริเวณ ถ.รัตนาธิเบศร์ ทางหลักขาออกช่วงขึ้นวงแหวนแยกบางใหญ่ จนไปถึงทางลงบน ถ.กาญจนาภิเษก มุ่งหน้าสู่ อ.บางบัวทอง เจ้าหน้าที่แขวงการทางบางใหญ่ได้เริ่มนำถังยางมะตอยเก่าบรรจุถุงทรายมาวางบน ถ.รัตนาธิเบศร์ ก่อนถึงสะพานวงแหวนแล้ว พร้อมทั้งนำถุงทรายมากั้นกันน้ำซึมเข้าพื้นที่ รวมทั้งนำท่อคอนกรีตฯ มาเสริมกั้นช่วงจุดขึ้นสะพานซึ่งมีระดับน้ำลึกถึง 60 ซม. ส่วนอีกข้างก็จะใช้แผ่นปูนที่ใช้ปิดการจราจรของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง มากั้นน้ำด้านทิศเหนือพร้อมใช้ถุงทรายกั้นอีกชั้นหนึ่ง โดยหลังจากวางคันกั้นเรียบร้อยก็จะนำหินคลุกมาทำเป็นเนินความสูงราว 60 ซม.กั้นขวางช่วงจุดเริ่มวางถังยางมะตอยเพื่อไม่ให้น้ำซึมเข้ามาด้วย ส่วนทางลงของสะพานวงแหวนเจ้าหน้าที่ก็ได้เริ่มนำท่อคอนกรีตฯ มาวางไว้นำเส้นทางกั้นน้ำแล้ว โดยจะกั้นปิดเส้นทาง ถ.ตลิ่งชัน - สุพรรณบุรี ทางคู่ขนานขาออก และจะนำหินคลุกทำเป็นเนินให้รถสัญจรบริเวณทางหลักแทน โดยระดับน้ำบริเวณนี้อยู่ที่ราว 40 - 90 ซม.

    ขณะที่บริเวณ ถนนทางหลวงสาย 340 ขาออก บริเวณทางแยกบางบัวทองในพื้นที่ จ.นนทบุรี เจ้าหน้าที่ได้ทำคันดินกั้นน้ำไว้ทั้ง 2 ข้างทางแล้ว แต่ยังไม่แล้วเสร็จในบางจุด โดยเจ้าหน้าที่ได้ใช้รถแบ็กโฮกว่า 10 คันขุดดินทำแนวกั้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนพื้นที่ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ตั้งแต่คลองเจ๊ก - แยกนพวงศ์ ขณะนี้ได้มีการวางคันดินกั้นน้ำเสร็จสิ้นแล้ว และสูบน้ำออกจนเหลือความสูงของน้ำแค่ 5 - 15 ซม. แต่บนถนนก็มีดินเลนอยู่เป็นจำนวนมากด้วย

    ส่วนระดับน้ำบนถ.ตลิ่งชัน - สุพรรณบุรี ช่วงที่ไม่ได้มีการกู้ก็ยังคงมีน้ำท่วมขังอยู่ราว 5 - 30 ซม. ล่าสุด พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ก็ได้เดินทางโดยรถบรรทุกน้ำของกรมทางหลวงมาตรวจสอบความคืบหน้าการกู้ถนนดังกล่าวด้วยเช่นกัน


    จนท.เร่งอุดรอยรั่วของน้ำที่ซึมเข้ามา






    ถ.ตลิ่งชัน - สุพรรณบุรี ช่วงปากซอยวัดลาดปลาดุก






    ถ.รัตนาธิเบศร์ ช่วงทางขึ้นสะพานวงแหวนแยกบางใหญ่




    ถ.ตลิ่งชัน - สุพรรณบุรี ช่วงแยกบางใหญ่


    ถนนทางหลวงสาย 340 ช่วงแยกบางบัวทอง






    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วน จาก astvผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤศจิกายน 2554 21:09 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000145950

    >> พิษณุโลก <<


    คนบางระกำทุกข์หนัก น้ำท่วมขัง-เจอหนาวซ้ำ

    ชาวบ้าน อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ยังคงอพยพหนีน้ำ อาศัยอยู่บนถนน เดือดร้อนหนัก เผชิญอากาศหนาวซ้ำ

    วันนี้ (15 พฤศจิกายน) มีรายงานข่าวว่า ที่ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ยังมีชาวบ้านที่อพยพมาอาศัยอยู่ที่พักชั่วคราวริมถนน เนื่องจาก บ้านถูกน้ำท่วมขัง และยังคงเดือดร้อน เนื่องจาก เผชิญกับสภาพอากาศที่หนาวเย็น แม้ว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ ปริมาณน้ำจะลดลงจนเกือบเข้าสู่ภาวะปกติ โดย นางสังเวียน ดีอินทร์ อายุ 52 ปี อยู่บ้านเลขที่ 302/9 บ้านวังกุ่ม ต.บางระกำ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ชาวบ้านผู้อพยพรายหนึ่ง เปิดเผยว่า บ้านพักอาศัยของตน ถูกน้ำท่วมทั้งหมด ตนและครอบครัว จำนวน 6 คน จึงต้องมาอาศัยอยู่ที่พักชั่วคราว ริมถนน สายพิษณุโลก – บางระกำ มากว่า 4 เดือนแล้ว

    ถึงแม้ว่า ขณะนี้หลายพื้นที่น้ำจะลดลงไปมากแล้วก็ตาม แต่ยังมีอีกหลายสิบหลังคาเรือน ที่ยังคงเผชิญกับน้ำท่วมขังอยู่ ซึ่งตอนนี้ยังคงเดือดร้อน เพราะเผชิญกับอากาศหนาวซ้ำ เพิงพักชั่วคราว ไม่สามารถต้านทานลมหนาวได้ ทำให้เริ่มมีอาการเจ็บป่วย

    อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำที่ท่วมขัง เริ่มลดลงเรื่อยๆ ประกอบกับ สภาพอากาศที่แห้งและไม่มีฝนตกในพื้นที่ คาดว่า 1 สัปดาห์ จะสามารถรื้อถอนเพิงพักชั่วคราว กลับเข้าไปอยู่อาศัยในบ้านได้ตามปกติ

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก http://hilight.kapook.com/view/64783
  12. IAm
    IAm
    ต้องขอโทษเพื่อนๆ SBN Town ด้วยนะคะ ที่ไม่ได้มา Update ข่าวสถานการณ์น้ำท่วมเป็นสัปดาห์เลย
    ขอโทษจริงๆค่ะ เนื่องจากติดภาระงาน ยังไม่ได้จัดเวลาในการมา Update ข่าวสาร
    วันต่อๆไปจะพยายามจัดเวลาเข้ามาโพสต์ข่าว เพื่อให้เพื่อนๆได้อ่านกันค่ะ ส่วนวันก่อนหน้านี้ที่หายไป จะมาโพสต์ย้อนหลังนะคะ

    หากเพื่อนๆ คนไหน มีข่าวสาร ข่าวสถานการณ์น้ำท่วม ที่อยากนำมาแบ่งปัน ก็สามารถเข้ามาโพสต์ในกระทู้นี้ได้เลยนะคะ ขอบคุณค่ะ ^^
  13. IAm
    IAm
    แนะนำเว็บไซด์ www.thaiflood.com ศูนย์ข้อมูลเพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย



    เป็นเว็บไซด์ที่รวบรวมข้อมูล ข่าวสาร เกี่ยวกับน้ำท่วม ที่น่าสนใจหลายอย่างเลยค่ะ เช่น

    -รวมภาพถ่ายสถานการณ์น้ำท่วม จากดาวเทียม

    -HotLine สายด่วน & รวมเบอร์ติดต่อฉุกเฉิน

    -เป็นพื้นที่ ในการขอความช่วยเหลือ และ ต้องการมอบความช่วยเหลือ ให้ผู้ประสบอุทกภัย

    -แผนที่วิกฤตการณ์น้ำท่วมประเทศไทย 2554

    -รวมข่าวสถานการณ์น้ำท่วม เช็คข่าวน้ำท่วมล่าสุด รวบรวมข้อมูลข่าวสาร และการเตือนภัย

    -เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับน้ำท่วม เรื่องน่ารู้รับมือสถานการณ์นํ้าท่วม ฯลฯ
  14. IAm
    IAm

    16 พฤศจิกายน 2554
    ==================================================



    >> กรุงเทพฯ <<


    กทม.จับมือพันธมิตรจัดรถรับ-ส่งผู้ประสบภัยเพิ่มเป็น 36 เส้นทางทั่วกรุง

    กทม.ร่วมกับหลายหน่วยงาน จัดรถรับส่งผู้ประสบภัยเพิ่มเป็น 36 เส้นทาง ฟรี

    วันนี้ (16 พ.ย.) นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยว่า กรุงเทพมหานคร หน่วยงานภาครัฐ ทหาร และ ขสมก.ได้เพิ่มรับ-ส่งประชาชนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมเป็น 36 เส้นทาง รวมจำนวน 121 คัน โดยมีเส้นทางใหม่ ดังนี้ ซอยพหลโยธิน 48-สุขาภิบาล 5 จำนวน 3 คัน, ถนนสิรินธร จากคลองมหาสวัสดิ์-แยกซังฮี้ จำนวน 1 คัน, ถนนจรัญสนิทวงศ์ จากแยกบางพลัด-สะพานพระราม 7 จำนวน 2 คัน, ถนนจรัญสนิทวงศ์ เชื่อมถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า จากแยกบางพลัด-สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า จำนวน 1 คัน, ถนนบรมราชชนนี จากแยกสมเด็จพระปิ่นเกล้า-สายใต้ใหม่ จำนวน 1 คัน,พื้นที่เขตภาษีเจริญ บางแค หนองแขม ตลิ่งชัน จำนวน 1 คัน, ถนนพหลโยธิน ตั้งแต่แยกสะพานควาย-เมเจอร์รัชโยธิน จำนวน 1 คัน, ถนนพหลโยธิน ตั้งแต่แยกสะพานควาย-เมเจอร์รัชโยธิน จำนวน 1 คัน, ถนนพหลโยธิน ตั้งแต่เมเจอร์รัชโยธิน-สะพานใหม่ จำนวน 1 คัน, ถนนรัชดาภิเษก-ถนนลาดพร้าว-ถนนวิภาวดีรังสิต-ตั้งแต่แยกสุทธิสาร รัชดาฯ-แยกลาดพร้าว-แยกสุทธิสารวิภาวดีฯ จำนวน 1 คัน

    ถนนรัชดาภิเษก-ถนนลาดพร้าว ตั้งแต่แยกสุทธิสาร รัชดาฯ-ซอยลาดพร้าว 48 จำนวน 1 คัน, ถนนรัชดาภิเษก-ถนนวิภาวดี ตั้งแต่แยกสุทธิสารรัชดาฯ-รัชวิภา-แยกสุทธิสาร วิภาวดีฯ จำนวน 1 คัน, ถนนพหลโยธิน-ถนนเกษตรนวมินทร์ ตั้งแต่สะพานควาย-วัดพระศรีฯ-ลาดปลาเค้า-เสนานิคม จำนวน 1 คัน, ถนนกำนันแม้น ระหว่างถนนกัลปพฤกษ์-ถนนเอกชัย จำนวน 2 คัน, ถนนเอกชัย ตั้งแต่เอกชัย ซอย 8-ชุมชนพัฒนา หมู่ 11 จำนวน 1 คัน และถนนวุฒากาศ ตั้งแต่ซอยวุฒากาศ 42-ซอยชุมชนศาลาครืนรวมใจ จำนวน 1 คัน

    สำหรับเส้นทางเดิมซึ่งยังคงให้บริการอยู่ ประกอบด้วย ถนนกำแพงเพชร 6 (Local Road) จากแยกบางเขนตลอดสาย สุดเขตดอนเมือง จำนวน 6 คัน, ถนนแจ้งวัฒนะ-ถนนเลียบคลองประปา จำนวน 2 คัน, ถนนพหลโยธิน ตั้งแต่สะพานควาย-อนุสรณ์สถานฯ จำนวน 10 คัน, ถนนวิภาวดี ตั้งแต่แยกสุทธิสาร-อนุสรณ์สถานฯ จำนวน 10 คัน, ถนนประชานิเวศน์ ตั้งแต่ถนนวิภาวดีรังสิต-ถนนเลียบคลองประปา จำนวน 2 คัน, ถนนลาดพร้าว-วังหิน ตลอดสาย จำนวน 2 คัน, ถนนลาดปลาเค้า ตั้งแต่รามอินทรา-แยกวังหิน-โชคชัย 4 จำนวน 2 คัน, ถนนช่างอากาศอุทิศ ประชาอุทิศ โกสุมร่วมใจ วัดเวฬุวนาราม เชิดวุฒากาศ จำนวน 8 คัน, ถนนสรงประภา-นาวงษ์ประชาพัฒนา-เตชะตุงคะ-ซ.สรณคมน์-เชิดวุฒากาศ จำนวน 8 คัน, ถนนงามวงศ์วาน ตั้งแต่แยกเกษตร-แยกพงษ์เพชร จำนวน 2 คัน

    ถนนรัชดาภิเษก ตั้งแต่แยกสุทธิสาร-ถ.วิภาวดี จำนวน 2 คัน, ถนนสายไหม ตลอดสาย จำนวน 3 คัน, ซอยวัชรพล-ถนนสุขาภิบาล 5 จำนวน 5 คัน, ถนนรามอินทราจากแยกหลักสี่- กม.8 จำนวน 4 คัน, ถนนนวมินทร์ กม.8-คลองลำชะล่า จำนวน 2 คัน, ถนนสุวินทวงศ์ ตั้งแต่คลองสามวา-วัดแสนสุข จำนวน 2 คัน, ถนนพระยาสุเรนทร์ตลอดสาย จำนวน 4 คัน, ถนนบรมราชชนนีตั้งแต่แยกบรมราชชนนีตลอดสาย (จรัญสนิทวงศ์-พุทธมณฑลสาย4) จำนวน 8 คัน, ถนนเพชรเกษม จากแยกท่าพระ-ถนนพุทธมณฑลสาย 4 จำนวน 8 คัน, ถนนบางบอน 1 (ถนนบางบอน-บางแค) ตั้งแต่แยกเอกชัย-ถนนเพชรเกษม จำนวน 2 คัน, ถนนกาญจนาภิเษก ตั้งแต่เพชรเกษม-คลองมหาสวัสดิ์ จำนวน 5 คัน

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 16 พฤศจิกายน 2554 13:59 น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...=9540000146225

    น้ำมาแล้ว! ถนนพระราม 2 ขาเข้า น้ำท่วม 1 เลน


    ถนนพระราม 2 น้ำผุดจากท่อแล้ว กิน 1 เลน (ไอเอ็นเอ็น)
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ครอบครัวข่าว 3

    ถนนพระราม 2 ขาเข้า ซ.70-68 น้ำผุดจากท่อเอ่อกินพื้นที่ 1 เลน จราจร ระดับน้ำ 5-10 ซม. จราจรยังปกติ ซอยติดคลองลาดลำภู น้ำผุดจากท่อต่อเนื่อง

    สถานการณ์น้ำล่าสุด ที่ถนนพระราม 2 ฝั่งขาเข้า ระหว่างพระราม 2 ซอย 70 - พระราม 2 ซอย 68 พบว่า น้ำได้ท่วมบนพื้นผิวการจราจร อันเนื่องมาจากน้ำได้เอ่อล้นบริเวณท่อระบายน้ำ แม้ว่าทางเจ้าหน้าที่ได้นำกระสอบทราย มาปิดปากท่อระบายน้ำไว้แล้วก็ตาม ซึ่งระดับน้ำที่ท่วมกินพื้นที่ 1 เลน การจราจร โดยระดับน้ำจุดนี้วัดได้ 5 - 10 ซม. แต่การจราจรยังคงเป็นปกติ

    ขณะที่บรรยากาศในพระราม 2 ซอย 68 ซึ่งเป็นซอยที่ติดกับคลองลาดลำภู พบว่า น้ำได้ผุดขึ้นมาตามท่อระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง ส่วนความคืบหน้าสถานการณ์น้ำ บนถนนพระราม 2 จะรายงานให้ทราบต่อไป

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก http://hilight.kapook.com/view/64513 16 พฤศจิกายน 2554

    กทม.เตือน 8 ชุมชน แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ ระวังน้ำท่วม

    กทม.ประกาศแจ้งเตือน 8 ชุมชน แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ เฝ้าระวังสถานสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หลังน้ำเหนือไหลบ่าเข้าพื้นที่บางกะปิ และคลองแสนแสบอย่างต่อเนื่อง

    เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 16 พฤศจิกายน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ลงนามประกาศแจ้งเตือนสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่บางส่วนของแขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ เนื่องจากในขณะนี้น้ำเหนือได้ไหลบ่าเข้ามาในพื้นที่เขตบางกะปิอย่างต่อเนื่องถึงคลองแสนแสบ และคลองย่อยต่างๆ ได้แก่ คลองบ้านม้า 2 คลองหัวหมากน้อย และคลองลำสาลี ซึ่งมีแนวโน้มจะเข้าพื้นที่หลายชุมชน กทม.ได้ประเมินสถานการณ์จากตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องโดยรอบแล้ว กรณีดังกล่าวอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ จำนวน 8 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนวังใหญ่ ชุมชนวังโสม ชุมชนสามัคคีพัฒนา ชุมชนลำสาลี ชุมชนลำสาลีพัฒนา ชุมชนหมู่บ้านอยู่สบาย ชุมชนมัจฉา และชุมชนประชาร่วมใจ

    ทั้งขอให้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวขนย้ายสิ่งของ ทรัพย์สินมีค่า รถยนต์ ปลั๊กไฟฟ้าขึ้นที่สูง และให้ผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวเคลื่อนย้ายไปอยู่ศูนย์พักพิงที่กทม.ได้จัดเตรียมไว้ให้เพื่อความปลอดภัย โดยให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วย เด็ก คนชรา และสตรีมีครรภ์ ทั้งนี้ขอให้ประชาชนเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์จาก กทม.อย่างใกล้ชิด

    ขณะที่ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย กรุงเทพมหานคร สรุปสถานการณ์จุดน้ำท่วมขังประจำวัน ได้แก่ ซอยโยธินพัฒนา 3 เขตบางกะปิ น้ำสูง 5 ซม., ถนนนวมินทร์ 50 เขตบึงกุ่ม น้ำสูง 20 ซม., ถนนนวมินทร์ 68 น้ำสูง 15 ซม., หมู่บ้านปัฐวิกรณ์ นวมินทร์ 72 น้ำสูง 15 ซม., ถนนนวมินทร์ 74 น้ำสูง 25 ซม. ถนนลาดพร้าว-วังหิน น้ำสูง 30 ซม. // แยกวังหิน น้ำสูง 22 ซม. ถนนนิมิตรใหม่ ขาเข้า-ขาออก มีน้ำท่วมขังตลอดสาย ระดับน้ำ 30-40 ซม. ถนนนาวงประชาพัฒนา มีน้ำท่วมขังเป็นระยะ ตลอดสาย ระดับน้ำ 50 ซม. บริเวณแยกวัดเสมียน ระดับน้ำ 20-30 ซม. ถนนสายไหม มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 40 - 50 ซม. ถนนรามอินทรา เปิดการจราจร ตั้งแต่ถ.รามอินทรา กม.2 ถึง กม.8 (ระดับน้ำ 10-20 ซม.) ถนนบรมราชชนนี ตั้งแต่แยกบรมราชชนนี ถึงหน้าเซ็นทรัลปิ่นเกล้า (เปิดการจราจร) ถนนราชวิถี ตั้งแต่เชิงสะพานกรุงธน ถึงแยกบางพลัด (เปิดการจราจร)

    ล่าสุด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปริมาณน้ำท่วมบนถนนกรุงเทพกรีฑาได้เริ่มลดระดับลง เจ้าหน้าที่ทหารจึงได้เร่งเข้าเสริมแนวกระสอบทรายหลังคันดินเพื่อเพิ่มความแข็งแรง พร้อมทั้งทางสำนักงานเขตบางกะปิได้ส่งเจ้าหน้าที่เร่งสูบน้ำลงคลองลำสาลี เพื่อระบายน้ำออกเช่นกัน









    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 16 พฤศจิกายน 2554 16:25 น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...=9540000146145

    รถโดยสารให้บริการรับ-ส่ง ในซอยกำนันแม้น หลังน้ำลดระดับ

    ซอยกำนันแม้น-ถนนเอกชัย แม้ระดับน้ำยังคงท่วมสูง แต่ยังมีรถโดยสารวิ่งผ่านรับ-ส่งประชาชน ซึ่งบางส่วนยังดำเนินชีวิตตามปกติ และบางส่วนยังตั้งร้านค้าขายของอยู่เช่นเดิม

    วันนี้ (16 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ถนนในซอยกำนันแม้น ระดับน้ำได้ลดลงบ้างแล้ว แต่ยังคงท่วมสูงอยู่ประมาณ 50-60 เซนติเมตร รถโดยสารสามารถเข้าไปให้บริการได้ ประชาชนยังคงใช้ชีวิตตามปกติ

    ขณะที่ ถนนเอกชัย ระดับน้ำยังคงท่วมสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร รถยนต์ยังคงสัญจรได้ ส่วนประชาชนจำนวนมากต่างรอขึ้นรถโดยสาย เพื่อเดินทางเข้าออกภายในพื้นที่ บางส่วนยังคงตั้งร้านค้าขายของตามปกติ













    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 16 พฤศจิกายน 2554 17:51 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000146393

    รื้ออีก!! ชาวบ้านฮือรื้อบิ๊กแบ็กแยก คปอ.พังไปแล้ว 8 ม.น้ำทะลักเข้าพหลฯ

    ชาวบ้านย่านหมู่บ้านการ์เด้นโฮม ชุมชนจามร ประมาณ 200 คน รวมตัวประท้วงขอรื้อบิ๊กแบ็ก หน้า คปอ.ยาวกว่า 10 เมตร ขอช่วยลดระดับน้ำ ด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าเจรจาขอนำข้อเรียกร้องเสนอ ศปภ.แต่ไม่เป็นผล ชาวบ้านฮือดึงกระสอบยาว 8 เมตร น้ำทะลักเข้าถนนพหลโยธิน

    ชาวบ้านย่านหมู่บ้านการ์เด้นโฮม ชุมชนจามร ประมาณ 200 คน รวมตัวประท้วงขอรื้อบิ๊กแบ็ก หน้า คปอ.ยาวกว่า 10 เมตร ขอช่วยลดระดับน้ำ ด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าเจรจาขอนำข้อเรียกร้องเสนอ ศปภ.แต่ไม่เป็นผล ชาวบ้านฮือดึงกระสอบยาว 8 เมตร น้ำทะลักเข้าถนนพหลโยธิน

    วันนี้ (16 พ.ย.) (เบื้องต้น) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริเวณแนวคันกั้นน้ำบิ๊กแบ็ก บนถนนพหลโยธิน ช่วงแยกกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ หรือ คปอ.มีชาวบ้านจากชุมชนหมู่บ้านเอนก หมู่บ้านการ์เด้นโฮม ชุมชนจามร และอีกหลายชุมชนบริเวณใกล้เคียง ที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างแนวคันกั้นน้ำบิ๊กแบ็กในบริเวณนี้ ประมาณ 200 คน มาชุมนุมประท้วง พร้อมยื่นข้อเสนอขอเปิดแนวบิ๊กแบ็ก ระยะทาง 10 เมตร เพื่อให้ระดับน้ำในชุมชนเหนือคันลดระดับลง หลังต้องเผชิญน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร มาเป็นเวลากว่า 3 สัปดาห์

    พล.ต.ต.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 2 และ พ.ต.อ.หาญ เลิศทวีวิทย์ ผู้กำกับการ สน.สายไหม พยายามเจรจาทำความเข้าใจกับชาวบ้าน พร้อมระบุว่า จะนำข้อเสนอของชาวบ้านไปเสนอ ศปภ.เพื่อให้มาดำเนินการช่วยเหลือ แต่ข้อตกลงไม่เป็นผล ชาวบ้านบางส่วนจึงดึงกระสอบทรายด้านบนออก 2 จุด รวมระยะทางน้ำไหลผ่านในลักษณะฝายน้ำล้น 8 เมตร ทำให้น้ำบริเวณดังกล่าวทะลักลงถนนพหลโยธิน มุ่งหน้าโรงพยาบาลภูมิพล










    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 16 พฤศจิกายน 2554 19:17 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000146361

    สะพานใหม่ น้ำยังสูง 40 ซม.เริ่มส่งกลิ่นเหม็น


    สะพานใหม่ น้ำยังสูง 40 ซม. (ไอเอ็นเอ็น)

    สถานการณ์น้ำบริเวณสะพานใหม่ ระดับทรงตัวประมาณ 40 ซ.ม. และเริ่มส่งกลิ่นเหม็น ประชาชนอาศัยเรือและรถใหญ่เดินทาง เนื่องจากระดับน้ำยังสูง

    สำหรับสถานการณ์น้ำล่าสุด บริเวณถนนพหลโยธิน ช่วงสะพานใหม่ จากการสังเกตพบว่า ระดับน้ำนั้นยังคงทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 40 - 60 ซม. ขณะที่สภาพน้ำที่ท่วมขังเป็นเวลานาน ก็ได้มีสีดำและส่งกลิ่นเหม็น เป็นอย่างมาก สำหรับความเป็นอยู่ของประชาชนในบริเวณนี้ ก็ยังคงเป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องอาศัยเรือและรถขนาดใหญ่ในการเดินทางเท่านั้น เนื่องจากรถเล็กยังไม่สามารถสัญจรไป-มา ในบริเวณนี้ได้

    ทั้งนี้ จากการสังเกต ยังพบว่า อาคารพาณิชย์ที่ตั้งอยู่ 2 ข้างทางนั้น ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก จากคลื่นน้ำ ที่รถขนาดใหญ่วิ่งผ่าน ซึ่งทำให้ประตูเหล็กม้วน และประตูกระจกพังเสียหายเป็นจำนวนมาก

    อย่างไรก็ตาม บนถนนเยื้องกับตลาดยิ่งเจริญ ซึ่งเป็นเนินหลังเต่า ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง ก็ได้มีพ่อค้า แม่ค้า นำอาหารสดและอาหารปรุงสำเร็จ ออกมาตั้งขายกันเป็นจำนวนมาก ทำให้ในบริเวณนี้ดูคึกคักไปถนัดตา
    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก http://hilight.kapook.com/view/64813 16 พฤศจิกายน 2554

    >> สมุทรสาคร <<


    เพิ่มเครื่องสูบน้ำ 13 ตัว ที่กระทุ่มแบน ดึงน้ำคลองภาษีเจริญลงท่าจีน


    กรมชลประทานตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มอีก 13 ตัว รวมที่มีของเดิมเป็น 19 ตัว ที่ประตูระบายน้ำกระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร โดยเดินเครื่องทั้งหมดเพื่อสูบน้ำเต็มกำลังจากคลองภาษีเจริญลงแม่น้ำท่าจีน หวังพื้นที่ใกล้เคียง อาทิ บรมราชชนนี เพชรเกษม มีระดับน้ำลดลง

    วันนี้ (16 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณประตูระบายน้ำกระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ไก้มีเจ้าหน้าที่กรมชลประทานจากหลายจังหวัด ร่วมกับหน่วยงานเอกชน ทำการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่ม 13 ตัว จากเดิมที่มีอยู่ 6 รวมเป็นทั้งหมด 19 ตัว เพื่อเร่งระบายน้ำจากคลองภาษีเจริญลงสู่แม่น้ำท่าจีน โดยหวังว่าจะส่งผลช่วยให้ระดับน้ำในพื้นที่และถนนบรมราชชนนี ถนนเพชรเกษม และบริเวณใกล้เคียงมีระดับน้ำที่ลดลงและสามารถใช้งานได้ตามปกติ









    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 16 พฤศจิกายน 2554 15:22 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000146285

    >> นนทบุรี <<


    ปิดถนนหลายเส้นบางบัวทอง ต้องสัญจรผ่านเรือรับจ้าง

    บางบัวทองน้ำ ยังคงท่วมสูง กรมทางหลวงแจ้งปิดการจราจรหลายเส้นทาง สร้างโอกาสกลุ่มเรือรับจ้างหารายได้บริการรับส่งผู้เข้าออกอำเภอบางบัวทอง ด้านเต็นท์รถไม่หวั่นโดนยกรถ หลังมีเส้นตายวันนี้ นำรถที่จะขายขึ้นทางยกระดับบรมราชชนนี สวนกระแส ปชช.ที่เริ่มทยอยนำรถออกแล้ว

    วันนี้ (16 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริเวณทางเข้าอำเภอบางบัวทองยังคงมีปริมาณน้ำสูงอยู่ โดยมีกลุ่มเรือรับจ้างนำเรือมาจอดคอยบริการสำหรับผู้ที่จะเดินทางเข้าไปในตัวอำเภอบางบัวทอง เพราะไม่สามารถสัญจรด้วยรถได้ เนื่องจากกรมทางหลวงแจ้งปิดเส้นทางในอำเภอบางบัวทอง ได้แก่

    1.ทางหลวงหมายเลข 9 ตลิ่งชัน-บางบัวทอง-ลาดหลุมแก้ว (หน้าหมู่บ้านสมบัติบุรี-คลองมหาสวัสดิ์) ท้องที่อำเภอบางบัวทอง มีน้ำท่วมสูงที่กม. 30-58 เป็นแห่งๆ ให้ใช้ทางด่วนดอนเมืองโทลล์เวย์-รังสิต

    2.ทางหลวงหมายเลข 340 บางบัวทอง-ลาดบัวหลวง ท้องที่อำเภอบางบัวทอง มีน้ำท่วมสูงที่กม.25-55 เป็นแห่งๆ ให้ใช้ทางด่วนดอนเมืองโทลเวย์-รังสิต-อยุธยา

    3.ทางหลวงหมายเลข 345 สะพานนนทบุรี-บางบัวทอง ท้องที่อำเภอบางบัวทอง มีน้ำท่วมสูงที่กม.0-10 เป็นแห่งๆ ใช้ทางของเทศบาล

    4.ทางหลวงหมายเลข 3215 บางกรวย-ราษฎร์นิยม ท้องที่อำเภอบางบัวทอง มีน้ำท่วมสูงที่กม.0-35 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน

    5.ทางหลวงหมายเลข 3901 คลองบางไผ่-ลาดหลุมแก้ว (ทางคู่ขนานวงแหวนตะวันตก) ขาออก ท้องที่อำเภอบางบัวทอง มีน้ำท่วมสูงที่ กม.30-58 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน

    6.ทางหลวงหมายเลข 3902 คลองบางไผ่-ลาดหลุมแก้ว (ทางคู่ขนานวงแหวนตะวันตก) ขาเข้า ท้องที่อำเภอบางบัวทอง มีน้ำท่วมสูงที่ กม.30-58 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน

    นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์ที่จอดบนทางคู่ขนานลอยฟ้าและสะพานพระราม 8 ต่างทยอยกันมานำรถที่จอดหนีน้ำท่วมออกไปแล้วภายหลังกองบังคับการตำรวจจราจรและทีมงานโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติทำการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อให้มีการเคลื่อนย้ายรถที่จอดบนทางด่วน บนสะพานข้ามแยกต่างๆ และบนทางคู่ขนานลอยฟ้าออกนอกพื้นที่เพื่อเตรียมเปิดการจราจรให้รถผ่านไปมาได้คล่องตัวมากขึ้น โดยมีกำหนดเส้นตายภายในวันนี้หากไม่มีการเคลื่อนย้ายรถก็จะทำการยกรถในทันที แต่ยังคงมีบรรดาเต็นท์รถได้นำรถที่จะขายหนีน้ำขึ้นไปจอดบนทางยกระดับบรมราชชนนี เนื่องจากปริมาณน้ำถนนบรมราชชนนีตั้งแต่พุทธมณฑลสาย 2 ยังคงไม่ลดปริมาณลง











    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 16 พฤศจิกายน 2554 16:01 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000146331

    ฝ่ากระแสต้าน เร่งกู้ถนน 340 จนใช้ได้ แต่ “สุกำพล” แนะใช้ พระราม 2 เหมือนเดิม

    กู้ถนนเส้น 340 คืบหน้า คาด สามารถเปิดใช้ได้ในวันนี้ “สุกำพล” กลับลำ บอกไม่แนะนำให้ใช้ถนนเส้นดังกล่าว เพราะกู้ได้เพียง 2 เลน และมีรถจอดบริเวณถนนสูง ขณะที่ รมว.คมนาคม ชี้ การสูบน้ำออก ทำให้ระดับน้ำสองข้างทางเพิ่มสูงขึ้น

    วันนี้ (16 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานการกู้ทางหลวงหมายเลข 340 บางบัวทอง-สุพรรรบุรี ว่า การกู้ถนนมีความคืบหน้าไปมาก โดยจะทำการกู้เป็นระยะทาง 27 กิโลเมตร ท่ามกลางน้ำท่วมที่สูงกว่า 1 เมตร เพื่อใช้เป็นทางสำรองให้ผู้ใช้รถใช้ถนนในกรณีที่ถนนพระราม 2 ถูกน้ำท่วม ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่มั่นใจว่าสามารถเปิดใช้ได้ภายในวันนี้

    ด้าน พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า ถนนพระราม 2 น้ำคงไม่ท่วมแล้ว และถนนเส้น 340 ตนได้ไปกู้เองเมื่อวันที่ 15 พ.ย.ที่ผ่านมา คาดวันนี้ช่วงเย็นจะแล้วเสร็จ แนะนำว่าถ้าจะเดินทางไปภาคใต้ ควรใช้ถนนพระราม 2 จะดีกว่า เพราะเส้น 340 มี 4 เลน แต่กู้เพียง 2 เลน จะทำให้ถนนแคบ และมีรถจอดบริเวณถนนสูงสามารถสัญจรลำบาก อาจใช้ได้เลนเดียว นอกจากนี้ยังมีโคลนที่ยังเลอะเทอะอยู่ ไม่แนะนำให้ไป หรือจะไปต้องใช้ปิ๊กอัพ แต่เห็นว่าไม่ควรไปให้ชาวบ้านแถบนั้นใช้ถนนเส้นนั้นดีกว่า

    ขณะที่ รมว.คมนาคม และอธิบดีกรมทางหลวง ได้ระบุว่า การสูบน้ำออกจากถนนสาย 340 จะไม่ทำให้พี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่สองข้างทางเดือดร้อน ทั้งๆ ที่ความเป็นจริง หลังจากมีการระบายน้ำออกจากแนวถนนสายดังกล่าว กลับทำให้ระดับน้ำสองข้างทางสูงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ ไทรน้อย บางบัวทอง บางใหญ่ และบางกรวย ต้องลอยคอน้ำที่ท่วมสูงขึ้น และรอคอยการสูบน้ำออกจากพื้นที่เพี่อที่จะกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เช่นเดิม ชาวบ้านก็ต้องรอความช่วยเหลือต่อไปอีกยาวนาน











    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 16 พฤศจิกายน 2554 18:17 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000146408
  15. IAm
    IAm

    17 พฤศจิกายน 2554
    ==================================================


    สถานการณ์น้ำโดยดาวเทียม Terra sensor MODIS ณ เวลา 10.50 น
    ของวันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2554 โดย ดร. วีรชัย ตันพิพัฒน์
    ขอบคุณข้อมูลจาก http://situation.thaiflood.com/171154/1050/























    >> กรุงเทพฯ <<



    ชาวบางกะปิเตรียมพร้อม!! หลัง กทม.ประกาศเตือน

    จากกรณีที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ประกาศเตือนชุมชนริมคลองแสนแสบ 8 ชุมชนในเขตบางกะปิ ให้เฝ้าระวัง เนื่องจากอาจได้รับผลกระทบจากน้ำเหนือที่มาถึงคลองแสนแสบ โดยจากการสำรวจภาพรวมของชุมชนต่างๆ พบว่ามีการเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมเต็มที่ ซึ่งจากการสอบถามชาวบ้านในชุมชนลำสาลี และชุมชนลำสาลีพัฒนา ซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบว่า ได้มีการเตรียมความพร้อมยกของขึ้นที่สูงไว้ก่อนหน้านี้แล้ว เนื่องจากน้ำได้ไหลเข้าท่วมมาหลายวัน อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีความวิตกกังวลกับประกาศของทาง กทม. เนื่องจากก่อนหน้านี้ทางสำนักงานเขตบางกะปิได้เข้ามาแจ้งเตือนชาวบ้านในชุมชนเป็นระยะ ซึ่งชาวบ้านก็มีความตื่นตัวออกมาเฝ้าดูระดับน้ำอย่างต่อเนื่อง
    ส่วนระดับน้ำภายในคลองแสนแสบ พบว่าลดลงจาก 4 วันก่อนหน้านี้เล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานเขตได้มีการเตรียมความพร้อมต่างๆ รวมถึงเตรียมศูนย์พักพิงไว้ก่อนหน้านี้แล้ว 11 ศูนย์

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 17 พฤศจิกายน 2554 09:31 น.
    http://manager.co.th/Home/ViewNews.a...word=%a1%b7%c1.

    หลายพื้นที่ใน กทม.น้ำลด เริ่มกลับสู่ภาวะปกติ

    สถานการณ์น้ำเช้าวันนี้ ที่ ถ.วิภาวดีรังสิต พหลโยธิน บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ได้ลดลงจนแห้ง แต่การจราจรยังสับสน เนื่องจากยังมีน้ำท่วมขังหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว ซึ่งห้างยูเนี่ยนมอลล์ และเซ็นทรัล ลาดพร้าว จะเปิดให้บริการในวันพรุ่งนี้ (18 พ.ย.) ส่วนหน้าห้างเมเจอร์ รัชโยธิน เริ่มแห้ง แต่เลยไปบริเวณ ซ.เสนา น้ำยังท่วมสูงจนถึงสี่แยกเกษตร รถผ่านได้ลำบาก ขณะที่ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ น้ำยังท่วมสูง 40-50 เซนติเมตร
    ส่วน ถ.รัชดาฯ เลยไปถึงต่างระดับรัชวิภา ยังมีน้ำท่วมขัง
    สำหรับพื้นที่เขตบางกะปิ บริเวณ ถ.เกษตร-นวมินทร์ คันนายาว และคู้บอน ระดับน้ำเริ่มลดลงเล็กน้อย ส่วนในฝั่งตะวันตก พื้นที่บางขุนเทียน ระดับน้ำเริ่มลดลงเล็กน้อย แต่น้ำในคลองสี่บาท ยังสูงขึ้น ซึ่งวันนี้ทางสำนักงานเขตเร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำให้ครบ 4 เครื่อง หลังติดตั้งไปแล้ว 1 เครื่องวานนี้ เพื่อสูบน้ำลงคลองราชมนตรี ทำให้น้ำในพื้นที่เริ่มลดลง

    >>คลิ๊กที่นี่เพื่อรับชมคลิปวีดีโอ สถานการณ์น้ำท่วม แยกรัชโยธิน<<

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 17 พฤศจิกายน 2554 10:20 น.
    http://manager.co.th/Home/ViewNews.a...word=%a1%b7%c1

    กทม.สั่งอพยพแขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน บางจุด

    กรุงเทพมหานคร ประกาศอพยพเพิ่มเติมในพื้นที่บางส่วนของแขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน เนื่องจากขณะนี้มวลน้ำไหลเข้าท่วมในพื้นที่เขตบางขุนเทียนเพิ่มมากขึ้น โดยระดับน้ำได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ทางกรุงเทพมหานครได้ประเมินสถานการณ์จากตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องโดยรอบแล้ว กรณีดังกล่าวจะก่อให้เกิดภัยอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน บริเวณ ถ.บางขุนเทียน ตั้งแต่แยกพระราม 2 ถึงทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่มหาชัย รวมถึงประชาชนที่อาศัยอยู่ในซอยต่างๆ ของ ถ.บางขุนเทียน จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวอพยพไปยังศูนย์พักพิงที่ทางกรุงเทพมหานครจัดเตรียมไว้ หรือสถานที่ที่มีความปลอดภัย โดยให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วย เด็ก สตรีมีครรภ์ และคนชรา เป็นลำดับแรก

    >>คลิ๊กที่นี่เพื่อรับชมคลิปวีดีโอ กทม.ประกาศอพยพแขวงแสมตั้งแต่แยกพระราม2ถึงทางรถไฟฯ<<

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 17 พฤศจิกายน 2554 11:45 น.
    http://manager.co.th/Home/ViewNews.a...word=%a1%b7%c1.

    กทม.ระบุน้ำฝั่งธนฯ ยังทะลักเข้ากรุงต่อเนื่อง

    กทม.รายงานสถานการณ์น้ำฝั่งธนบุรี น้ำจากนอกพื้นที่ยังคงทะลักเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพฯ ต่อเนื่อง ขณะฝั่งตะวันออกลดลงเล็กน้อย

    วันนีั (17 พ.ย.) ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย กรุงเทพมหานคร (กทม.) รายงานสรุปสถานการณ์น้ำประจำวัน ปริมาณน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา 2,191 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ลบ.ม./วินาที) ลดลงจากเมื่อวาน 93 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา 3.68 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) ลดลงจากเมื่อวาน 4 ซม. น้ำทะเลหนุนสูงสุดวันนี้เวลา 12.44 น. ระดับ 1.11 ม.รทก. และเวลา 20.15 น.ระดับ 0.87 ม.ทรก. สำหรับวันพรุ่งนี้เวลา 13.19 น. ระดับ 1.07 ม.รทก. เวลา 20.48 น. ระดับ 0.75 ม.รทก. ส่วนระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตรวจวัดที่ปากคลองตลาดสูงสุด เมื่อวานนี้ เวลา 10.45 น. ระดับ 2.23 ม.รทก. ต่ำกว่าแนวคันกั้นน้ำ 0.57เมตร คาดการณ์วันนี้จากกรมอุทกศาสตร์ เวลา 12.44 น. ระดับ 2.20 ม.รทก.

    สำหรับสถานการณ์น้ำทุ่ง ระดับน้ำบริเวณดอนเมืองที่รั่วจากรังสิต 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ระดับน้ำทรงตัว คลองหกวาสายล่าง ระดับน้ำที่ประตูระบายน้ำคลองสอง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ระดับน้ำลดลง 5 ซม. ส่วนฝั่งธนบุรีระดับน้ำคลองมหาสวัสดิ์ที่ประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนา 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ระดับน้ำลดลง 1 ซม.

    สถานการณ์น้ำในคลองต่างๆ ที่ระดับน้ำล้นตลิ่ง ได้แก่ คลองน้ำแก้ว ตอนถนนรัชดาภิเษก, คลองเปรมประชากร ช่วงวัดเทวสุนทร, คลองบางซื่อ ตอนถนนพหลโยธิน, คลองลาดพร้าว ตอนวัดลาดพร้าว ซ.เสนานิคมและซอยลาดพร้าว 56 ส่วนฝั่งธนบุรี น้ำล้นตลิ่งในคลองมหาสวัสดิ์ ตอนพุทธมณฑลสาย 2, คลองบางพรม ตอนคลองชักพระ ตอนถ.กาญจนาภิเษกและตอนถ.พุทธมณฑลสาย 3, คลองบางเชือกหนัง ตอนถ.พุทธมณฑลสาย 2, คลองบางแวก ตอนถ.พุทธมณฑลสาย 1 ตอนคลองทวีวัฒนา, คลองพระยาราชมนตรี ตอนถนนพระราม 2, ส่วนคลองอื่นๆ ยังปกติ

    ภาพรวมสถานการณ์ในกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี น้ำจากนอกพื้นที่ (อ.ศาลายา จ.นครปฐม) ยังคงทะลักเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีการแก้ไข ระดับน้ำพื้นที่ตอนเหนือของฝั่งธนบุรี ในเขตทวีวัฒนา-ตลิ่งชัน เริ่มลดลงเป็นลำดับ ด้านพื้นที่เขตดอนเมือง-จตุจักร ระดับน้ำลดลงแต่ยังคงล้นตลิ่ง ระดับน้ำลดลง 6-8 ซม. ด้านพื้นที่เขตสายไหม คลองลาดพร้าวด้านบนน้ำยังคงล้นตลิ่ง ด้านซอยเสนานิคม-วัดลาดพร้าว ซอยลาดพร้าว 56 ระดับน้ำในคลองล้นตลิ่งแต่ระดับน้ำเริ่มลดลงเรื่อยๆ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาลดลง 3-6 ซม. ด้านตะวันออกน้ำในคลองแสนแสบช่วงนอกเมือง (ตั้งแต่บางกะปิออกไป) ระดับน้ำลดลงเล็กน้อยช่วงในเมือง (ตั้งแต่บางกะปิเข้ามา) ระดับน้ำลดลง คลองประเวศบุรีรมย์ระดับน้ำลดลงเล็กน้อย และระดับน้ำคลองบางซื่อ ระดับน้ำตลอดลำคลองลดลงเป็นลำดับ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาระดับลดลง 5-10 ซม.



    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 17 พฤศจิกายน 2554 11:53 น.
    http://manager.co.th/QOL/ViewNews.as...word=%a1%b7%c1.

    ชาวพระราม 2 ซอย 69-แสมดำ เร่งอพยพเข้าศูนย์เยาวชนบางขุนเทียน

    ชาวบ้านพระราม 2 ซอย 69 รวมถึงคนในพื้นที่แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน เร่งขนย้ายสิ่งของ รวมทั้งเด็กและคนชรา หลัง กทม.ประกาศเป็นพื้นที่อพยพ โดยศูนย์เยาวชนบางขุนเทียน เป็นศูนย์พักพิงชั่วคราวในพื้นที่ที่ใกล้ที่สุดและยังมีสภาพไม่แออัด

    วันนี้ (17 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านบริเวณถนนพระราม 2 ซอย 69 ได้อพยพออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงชาวบ้านในบริเวณที่ กทม.ได้ประกาศให้เป็นพื้นที่อพยพ อาทิ แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน บริเวณถนนบางขุนเทียน ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 2 ถึงทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย รวมถึงซอยต่างๆ ของถนนบางขุนเทียน เนื่องจากมีมวลน้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่เขตบางขุนเทียนมากขึ้น และระดับน้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว

    ทั้งนี้ กทม.ให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวขนย้ายสิ่งของ ทรัพย์สินมีค่า รถยนต์ ปลั๊กไฟฟ้า ขึ้นที่สูง และให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่จะก่อให้เกิดภยันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน อพยพไปยังศูนย์พักพิงที่ กทม.จัดเตรียมไว้หรือสถานที่ปลอดภัย โดยให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วย เด็ก สตรีมีครรภ์ และคนชราเป็นลำดับแรก โดยศูนย์พักพิงชั่วคราวภายในพื้นที่ดังกล่าว คือ ศูนย์เยาวชนบางขุนเทียน ซึ่งสภาพความเป็นอยู่ยังไม่แออัด และมีหน่วยแพทย์คอยดูแลสุขภาพร่างกายให้แก่ผู้ประสบภัย

    นอกจากนี้ ยังขอให้ประชาชนเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์จากกทม.อย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด โดยประชาชนสามารถแจ้งขอความช่วยเหลือ และคำปรึกษาได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่สำนักงานเขต และ ศปภ.กทม. โทร.1555 และโทร.0-2221-1212 หรือทางเว็บไซต์ www.bangkokgis.com/flood









    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 17 พฤศจิกายน 2554 16:13 น.
    http://manager.co.th/Home/ViewNews.a...word=%a1%b7%c1.

    “คลองแสนแสบ” น้ำเอ่อล้นท่วมขังบางจุด-ปชช.บางกะปิเตรียมพร้อมหากวิกฤต

    สถานการณ์น้ำท่วมเขตบางกะปิ บางช่วงระดับน้ำลดลง รถเล็กสามารถสัญจรไปมาได้ ด้าน ปชช.ตื่นตัวเฝ้าระวัง ประกาศเตือนของ กทม. เพื่อเตรียมพร้อมอพยพ ขณที่ระดับน้ำที่คลองแสนแสบยังมีระดับสูงกว่าปกติ

    วันนี้ (17 พ.ย.) ผู้สื่ข่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำท่วมขังบนถนนกรุงเทพกรีฑา พบว่า บริเวณต้นซอยน้ำเริ่มลดระดับลงบ้างแล้ว จาก 40 เซนติเมตร หรือ 30 เซนติเมตร โดยรถเล็กสามารถสัญจรผ่านไปมาได้

    บริเวณแยกสวนสน เขตบางกะปิ มีน้ำขังบนถนนที่ล้นมาจากคลองแสนแสบ
    ทำให้น้ำจากคลองแสนแสบ ขยายวงกว้างเข้าไปท่วมขังในบริเวณซอยตรงข้ามตลาดบางกะปิ

    ขณะที่ท่าเรือรามคำแหงในคลองแสนแสบน้ำ ด้วยระดับน้ำที่ขึ้นมาใกล้เสมอกับท่าเรือ และล้นเข้าไปในซอยของถนนรามคำแหงบางส่วน

    ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่เขตบางกะปิกำลังเร่งวางแนวกระสอบทราย เพื่อป้องกันคันดินกั้นน้ำพังทลาย ไม่เช่นนั้นน้ำที่อยู่เหนือคันดินซึ่งสูงกว่าพื้นถนน 30 เซนติเมตรจะทะลักเข้าท่วมถนน โดยวางแนวกระสอบทรายจากบริเวณคลองบ้านม้ามาถึงคลองลำสาลีเป็นระยะทาง 1.7 กิโลเมตร

    ส่วนระดับน้ำภายในคลองแสนแสบ พบว่าลดลงจาก 4 วันก่อนหน้านี้เล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานเขตได้มีการเตรียมความพร้อมต่างๆ รวมถึงเตรียมศูนย์พักพิงไว้ก่อนหน้านี้แล้ว 11 ศูนย์

    พร้อมกันนี้ กรณีที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ประกาศเตือนชุมชนริมคลองแสนแสบ 8 ชุมชนในเขตบางกะปิ ให้เฝ้าระวัง เนื่องจากอาจได้รับผลกระทบจากน้ำเหนือที่มาถึงคลองแสนแสบ โดยจากการสำรวจภาพรวมของชุมชนต่างๆ พบว่ามีการเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมเต็มที่ ซึ่งจากการสอบถามชาวบ้านในชุมชนลำสาลี และชุมชนลำสาลีพัฒนา ซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบว่า ได้มีการเตรียมความพร้อมยกของขึ้นที่สูงไว้ก่อนหน้านี้แล้ว เนื่องจากน้ำได้ไหลเข้าท่วมมาหลายวัน อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีความวิตกกังวลกับประกาศของทาง กทม. เนื่องจากก่อนหน้านี้ทางสำนักงานเขตบางกะปิได้เข้ามาแจ้งเตือนชาวบ้านในชุมชนเป็นระยะ ซึ่งชาวบ้านก็มีความตื่นตัวออกมาเฝ้าดูระดับน้ำอย่างต่อเนื่อง









    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 17 พฤศจิกายน 2554 16:54 น.
    http://manager.co.th/Home/ViewNews.a...word=%a1%b7%c1.

    กรมชลฯ เร่งสูบน้ำในคลองรังสิตประยูรศักดิ์ลงเจ้าพระยา

    นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า วันนี้ (17 พ.ย.) กรมชลประทานเดินเครื่องสูบน้ำเพื่อระบายน้ำจากด้านในของคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาผ่านประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ โดยใช้เครื่องสูบน้ำถาวร 9 เครื่อง เรือนาคอีก 4 เครื่อง
    นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ได้ซ่อมเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่แล้วเสร็จสามารถสูบน้ำได้จำนวน 5 เครื่อง ทำให้สามารถสูบน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้ประมาณ 45 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
    สำหรับเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ที่เหลือเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการซ่อมทั้งในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน เพื่อให้สามารถกลับมาสูบน้ำได้โดยเร็ว คาดว่าจะสามารถดำเนินการแล้วเสร็จในวันพรุ่งนี้ (18 พ.ย.) ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงกับภาคประชาชน
    อย่างไรก็ตาม กรมชลประทานได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดเพื่อควบคุมและดำเนินการสูบน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาอย่างเต็มที่

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 17 พฤศจิกายน 2554 19:35 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000146966

    มือมืดป่วน! ปาวัตถุคล้ายระเบิดใส่ ชาวสายไหม ที่ซ่อมคันกั้นน้ำ บาดเจ็บ 6 คน

    กรณีที่ชาวบ้านลาดสวาย ลำลูกกาจำนวนประมาณ 200 คน ได้มารื้อแนวคันกั้นน้ำคลองหกวาสายล่าง เขตสายไหม ทำให้น้ำเข้าท่วมเขตสายไหมอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นชาวบ้านสายไหมกว่า 100 คน ได้ช่วยกันซ่อมแนวกระสอบทรายที่ถูกพังลงกว่า 100 เมตร จนเสร็จสิ้น แต่ยังมีการรวมตัวกันอยู่ในบริเวณดังกล่าว ได้มีเสียงดังขึ้นคล้ายเสียงระเบิด ภายหลังจากเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.สายไหม เข้าไปตรวจสอบ พบว่า เป็นลักษณะของก้อนอิฐที่พันติดกับดินปืน และโยนเข้ามาบนสะพานข้ามคลองหกวา โดยคาดว่า เหตุดังกล่าวเป็นฝีมือของกลุ่มผู้ไม่หวังดีที่ต้องการสร้างสถานการณ์
    เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้กลุ่มชาวบ้านสายไหม และเจ้าหน้าที่ อปพร. ที่ยืนอยู่ในบริเวณใกล้เคียงจำนวน 6 คน ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยจากเศษก้อนอิฐที่แตกกระจายถูกตามแขน และขา หลังจากเกิดเหตุได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจกองร้อยควบคุมฝูงชน กองบังคับการตำรวจนครบาล 2 จำนวนหนึ่ง มาคอยดูแล และเฝ้าสังเกตการณ์ในบริเวณดังกล่าว

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 17 พฤศจิกายน 2554 20:37 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000146986

    ชาวบ้านปิดทางคู่ขนานหน้าโลตัส พระราม 2 เรียกร้องเร่งระบายน้ำเน่า

    เมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. มีชาวบ้านจากชุมชนเคหะธนบุรี 1 ประมาณ 100 คน ประท้วงปิดถนนช่องทางคู่ขนาน ถ.พระราม 2 ขาออก ปากซอย 69 บริเวณหน้าโลตัสพระราม 2 เนื่องจากต้องการให้สูบน้ำออกจากหมู่บ้านเคหะธนบุรี เพราะน้ำเน่าท่วมขังนาน

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 17 พฤศจิกายน 2554 20:51 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000146989

    ชาวบ้านเหนือแนวบิ๊กแบ็ก โอดแช่น้ำเน่าเหม็น ฮือรื้อแนวกั้น



    บรรยากาศชาวบ้านลำลูกกา คลองสอง ที่อาศัยอยู่บริเวณสะพานข้ามคลองหกวา นับพันคน ชุมนุมประท้วงพร้อมกับรื้อแนวกระสอบทรายริมคลองหกวา เป็นระยะทางเกือบ 100 เมตร จนน้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่เขตสายไหมมุ่งหน้าไปทางตลาดวงศกร และโรงพยาบาลสายไหม ส่งผลให้ชาวบ้านที่อยู่ใต้แนวกระสอบทรายต้องเร่งขนของหนีน้ำกันอย่างโกลาหลอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้านี้พื้นที่นี้น้ำแห้งไปแล้ว



    ทั้งนี้ สาเหตุที่ชาวบ้านรื้อกระสอบทราย เป็นผลสืบเนื่องมาจาก น้ำที่ขังอยู่ด้านบนเริ่มมีกลิ่นเน่าเสีย กระทบความเป็นอยู่ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ในการนี้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบได้เรียกร้อง 3 ข้อ (1.)เปิดประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์ในระดับ 1 เมตร (2.)ลดระดับคันกั้นน้ำเป็นลักษณะฝายน้ำล้นตลอดแนว ระยะทางทั้งสิ้น 60 กิโลเมตร และ (3.)จ่ายค่าเสียหาย เยียวยาเป็นกรณีพิเศษ













    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 17 พฤศจิกายน 2554 23:26 น.
    http://manager.co.th/Home/ViewNews.a...=9540000147043

    >> สมุทรสาคร <<


    “คลองประดิษฐ์สมุทรสาคร” ใกล้สมบูรณ์พร้อมดันน้ำลงทะเล

    การดำเนินงานการก่อสร้างคลองประดิษฐ์เสร็จไปแล้วกว่า 70% เหลือเพียงการติดตั้งท่อสูบน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมบริเวณริมถนนพระราม 2 ประตูระบายน้ำคลองบางน้ำจืด

    วันนี้ (17 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชัยสิทธิ์ วรคำแหง อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร เปิดเผยถึงความร่วมมือของภาครัฐ และ บริษัท สิงห์ชัย อุตสาหกรรม จำกัด สร้างฟลัดเวย์ หรือคลองประดิษฐ์ บริเวณประตูระบายน้ำบางน้ำจืด ว่า เนื่องจากปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร และกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเขตติดกันนั้น ทำให้มวลน้ำจำนวนมากจะไหลลงทะเลผ่าน จ.สมุทรสาคร โดยเฉพาะคลองบางน้ำจืด ซึ่งรับมาจากคลองภาษีเจริญเป็นหลัก มีน้ำเอ่อล้นมาก ขณะนี้การสร้างฟลัดเวย์ได้ปูพื้นแผ่นพลาสติกแล้วเสร็จประมาณ 90% และอยู่ระหว่างเร่งติดตั้งท่อพญานาค เพื่อสูบน้ำจากคลองบางน้ำจืดลงคลองมหาชัย ผ่านบริเวณประตูระบายน้ำบางน้ำจืด ล่าสุด จากการประสานกับ น.ส.ธนัชพร สิงห์ชัย ฝ่ายประสานงานโครงการคลองประดิษฐ์ คาดว่า จะเริ่มผลักดันน้ำได้ภายใน 1-2 วันนี้ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการระบายน้ำถึง 900,000 ลบ.ม









    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 17 พฤศจิกายน 2554 19:38 น.
    http://manager.co.th/Home/ViewNews.a...c3%ca%d2%a4%c3

    จนท.เจาะถนนพุทธสาคร ระบายน้ำให้สามารถสัญจรได้ปกติ

    วันนี้ (17 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ทำการขุดเจาะทำบายพาส ระบายน้ำริมถนนพุทธสาคร เป็นถนนเชื่อมระหว่างพุทธมณฑล กับ จ.สมุทรสาคร ภายหลังมีน้ำท่วมสูงบริเวณผิวการจราจร รถเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านได้ ทั้งนี้ ประชาชนในเขตพื้นที่นั้น ยังเดินทางลำบากอีกด้วย











    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 17 พฤศจิกายน 2554 20:01 น.
    http://manager.co.th/Home/ViewNews.a...c3%ca%d2%a4%c3


    >> นครปฐม <<


    พุทธมณฑลสาย 5 น้ำยังทรงตัว - สวนกล้วยไม้เสียหายเกือบ 100%


    นครปฐม - สถานการณ์น้ำท่วมที่พุทธมณฑลสาย 5 ระดับน้ำยังทรงตัว เดินทางลำบาก ความเป็นอยู่ลำบาก การขับถ่ายไม่มีห้องสุขา และน้ำเริ่มเน่าเหม็น สวนกล้วยไม้ที่ปลูกไว้ส่งออกต่างประเทศเสียหายเกือบ 100%

    วันนี้ (17 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณตามถนนซอยแยกจากถนนพุทธมณฑลสาย 5 และถนนเพชรเกษม ในเขตตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ระดับน้ำที่ท่วมขังยังมีอยู่ปริมาณมาก เช่น ที่ตามหมู่บ้านและชุมชนต่างๆ ยังใช้เรือเป็นพาหนะในการสัญจร ส่วนภายในสถาบันพัฒนาครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา และวิทยาลัยการอาชีพนครปฐม ซึ่งอยู่ในเขตตำบลไร่ขิง ยังมีน้ำท่วมขัง ลดลงเพียงเล็กน้อย และชาวสวนบางรายต้องอาศัยอยู่ตามสะพานข้ามคลองหรือต่อพื้นที่พักอาศัยให้พ้นน้ำ อยู่ตามถนน

    จากการสอบถามชาวบ้าน แจ้งว่า ความเป็นอยู่ลำบาก การขับถ่ายไม่มีห้องสุขา และน้ำเริ่มเน่าเหม็น ซึ่งทางหน่วยงานที่รับผิดชอบในท้องที่ยังรีบเร่งใช้เครื่องสูบน้ำระบายน้ำแต่ทำได้ยากมากเพราะปริมาณน้ำมีมาก

    ส่วนตามสวนกล้วยไม้ที่ปลูกไว้ส่งออกต่างประเทศเสียหายเกือบ 100% ของพื้นที่ และนาข้าว ตายหมด สวนส้มโอ ฝรั่ง มะพร้าวน้ำหอม กำลังจะยืนต้นตายบ้างแล้ว หลังจากน้ำท่วมในพื้นที่มาเป็นเวลากว่า 20 วัน คาดว่า หากดน้ำไม่ลดจะตายทั้งหมดเช่นกัน





    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 17 พฤศจิกายน 2554 12:26 น.
    http://www.manager.co.th/qol/viewnew...=9540000138124

    >> นนทบุรี <<


    บางบัวทองเดือดร้อนหนัก เดินทางลำบาก-ค่าเรือแพงหลักพัน

    การเดินทางเข้าออกของชาวบ้านในพื้นที่ถนนกาญจนาภิเษก อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ส่วนใหญ่ยังคงต้องอาศัยรถบรรทุกทหารและรถโฟร์วิลยกสูง หลังจากถูกน้ำท่วมมานานกว่า 1 เดือน ชาวบ้านบางคนต้องต่อรถหลายคันกว่าจะเดินทางเข้าออกหมู่บ้านเพื่อไปทำงานได้ ทำให้แต่ละวันเสียเวลาไปกับการเดินทาง ขณะเดียวกันก็มีค่าใช้จ่ายเดินทางที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเรือรับจ้างที่วิ่งให้บริการคิดค่าบริการตั้งแต่ 100 บาทไปจนถึงหลักพัน แม้ว่าระดับน้ำจะลดลงไปบ้างจากที่ก่อนหน้านี้น้ำท่วมสูง แต่ว่าในหลายจุด ทั้งถนนและหมู่บ้านจัดสรรต่างๆ โดยเฉพาะหมู่บ้านสมบัติบุรีและบัวทองธานียังคงถูกน้ำท่วมสูง
    ขณะที่การกู้ถนนกาญจนาภิเษกจนถึงทางหลวงหมายเลข 340 ทั้ง 4 จุด ขณะนี้เจ้าหน้าที่ยังเร่งงระบายน้ำออก เพื่อใช้เส้นทางนี้ลงสู่พื้นที่ภาคใต้แทนถนนพระราม 2 หากถูกน้ำท่วม ซึ่งคาดว่าจะกลับมาเปิดให้รถทุกชนิดวิ่งได้ตามปกติเร็วๆ นี้

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 17 พฤศจิกายน 2554 12:54 น.
    http://manager.co.th/Home/ViewNews.a...b7%ba%d8%c3%d5
  16. IAm
    IAm

    18 พฤศจิกายน 2554
    ==================================================



    >> กรุงเทพฯ <<



    ชาวบ้านพระราม 2 ยอมสลายการชุมนุมแล้ว

    ชาวบ้านพระราม 2 ยอมสลายการชุมนุมแล้ว (ไอเอ็นเอ็น)



    ความคืบหน้า กรณีชาวบ้านชุมชนเคหะธนบุรี 1 กว่า 100 คน รวมตัวกัน ปิดถนนพระราม 2 ฝั่งขาออก เพื่อเรียกร้องให้สำนักงานเขตบางขุนเทียน ระบายน้ำออกจากซอยพระรามสอง 69 หลังน้ำท่วมสูงมาเป็นระยะเวลานาน และน้ำเริ่มมีกลิ่นเน่าเหม็นแล้ว โดยชาวบ้านต้องการให้มีการสูบน้ำออกจากซอยพระรามสอง 69 ลงสู่คลองลาดลำภูและคลองรางแก้ว รวมทั้งอยากให้มีการนกระสอบทรายที่ปิดกั้นพื้นที่ของการเคหะ ในอีกฝั่งหนึ่งออกไป เพราะเป็นการปิดทางน้ำไหลผ่าน

    ล่าสุด ชาวบ้าน และตัวแทนของกรุงเทพมหานคร สามารถเจรจากันได้แล้ว โดยได้มีการนัดหมาย เพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน ในเวลา 09.00 น. วันนี้ (18 พ.ย.) ทำให้ชาวบ้าน สลายการชุมนุม และเดินทางกลับบ้านแล้ว

    สำหรับระดับน้ำในพื้นที่ซอยพระรามสอง 69 นั้น ล่าสุด บริเวณปากซอยอยู่ที่ประมาณ 15-20 เซนติเมตร แต่เมื่อเข้าไปในซอยแล้ว ระดับน้ำสูงสุดยังคงอยู่ที่ ประมาณ 1 เมตร

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก http://thaiflood.kapook.com/view33493.html 18 พฤศจิกายน 2554

    แยก คปอ.ระดับน้ำ 2 ฝั่งแนวบิ๊กแบ็กเกือบเท่ากันแล้ว



    สถานการณ์ล่าสุดที่บริเวณแนวคันกั้นน้ำบิ๊กแบ็ก บน ถ.พหลโยธิน ช่วงแยกกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ (คปอ.) หลังจากชาวบ้านในพื้นที่เขตสายไหม และ ต.คูคต ซึ่งอยู่หลังแนวคันบิ๊กแบ็กกว่า 200 คน ได้มาชุมนุมเรียกร้องให้มีการรื้อคันกั้นน้ำบิ๊กแบ็ก อยู่ในลักษณะฝายน้ำล้นระยะทาง 5 เมตร รวมถึงข้อเรียกร้องอื่นๆ โดยจากสังเกตในเช้าวันนี้พบว่าน้ำที่ไหลจากแนวคันบิ๊กแบ็กที่เปิดไว้ 5 เมตร เข้ามาท่วม ถ.พหลโยธิน มุ่งหน้าสะพานใหม่ ค่อนข้างแรง โดยระดับน้ำด้านบนกับด้านล่างนั้นเกือบเสมอกันแล้ว
    ทั้งนี้ จุดดังกล่าวเจ้าหน้าที่ทหารได้นำเรือจำนวนหลายสิบลำ รวมถึงจุดรถมาคอยรับ-ส่งประชาชน เพื่อส่งต่อไปยังจุดอื่นๆ อาทิ สะพานใหม่ สายไหม ส่วนผู้ที่จะเดินทางไปยัง ถ.วิภาวดีรังสิต และชุมชนที่อยู่เหนือเขื่อน ยังต้องใช้เรือเป็นยานพาหนะ โดยมีทั้งเรือของกองทัพ และเรือรับจ้างที่คิดค่าบริการ 100 บาทต่อครั้ง

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤศจิกายน 2554 11:38 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000147192

    กทม.เตรียมประเมินรื้อคันคลองหกวาสายล่าง

    วันนี้ กรุงเทพมหานครจะมีการประเมินผล หลังจากการรื้อแนวกระสอบทรายคลองหกวาสายล่าง และยอมเปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ 1 เมตร ตามข้อเรียกร้องของชาวบ้านลำลูกกาที่มีการชุมนุมกันเมื่อวานนี้

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤศจิกายน 2554 11:48 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1.

    น้ำทะลักสายไหมต่อเนื่อง มุ่งหน้าตลาดวงศกร-ร.พ.สายไหม

    ตลอดช่วง 1 ชั่วโมงที่ผ่านมา หลังจากที่มีกลุ่มชาวบ้านเข้าไปรื้อแนวกระสอบทรายคลองหกวาสายล่างเป็นระยะทางเกือบ 100 เมตร จนถึงขณะนี้น้ำก็ยังไหลเข้าท่วมพื้นที่เขตสายไหมมุ่งหน้าไปทางตลาดวงศกร และโรงพยาบาลสายไหม
    ขณะที่ทางด้าน พ.ต.อ.หาญ เลิศทวีวิทย์ ผู้กำกับการ สน.สายไหม ได้ให้ข้อมูลเบื้องต้นว่า ได้รับรายงานยังไม่เกิดความเสียหายมากนัก แต่ระดับน้ำเริ่มเข้าท่วมพื้นที่สายไหมอย่างรวดเร็ว ขณะที่ทาง ศปภ.ทราบเรื่องแล้ว และอยู่ระหว่างส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปเจรจาทำความเข้าใจกับชาวบ้านในพื้นที่ โดยจะเน้นไม่ให้เกิดความกระทบกระทั่งกัน และเน้นการแก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้าน

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤศจิกายน 2554 16:29 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000146856

    เพชรเกษมน้ำเน่าบางช่วง กองทัพยุงเข้าจู่โจมชาวบ้าน

    ปิด ถ.เพชรเกษมขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกพุทธมณฑลสาย 4-คลองบางไผ่ หลังน้ำท่วมสูงประมาณ 50-60 ซม.ส่วนบริเวณแยก 5 เพชรเกษมตัดบรมราชชนนี ตัดกระทุ่มแบน ยังท่วมสูงมากกว่า 1 เมตร พบน้ำเริ่มเน่าเสีย และมีกองทัพยุงเข้าก่อกวนชาวบ้าน

    วันนี้ (18 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมบริเวณถนนเพชรเกษม ว่า ระดับน้ำสูงประมาณ 50-60 เซนติเมตร ทำให้ตำรวจต้องปิดการจราจรถนนเพชรเกษมทั้งขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกพุทธมณฑลสาย 4 ถึงคลองบางไผ่ ส่วนถนนเพชรเกษม ช่วงนครชัยศรี ถึงแยกเทียน อ.สามพราน น้ำยังท่วมฝั่งขาเข้า กทม.ระดับน้ำสูง 30-50 เซนติเมตร รถยนต์เล็กยังสามารถวิ่งได้ แต่บริเวณที่น้ำท่วมหนักอยู่ คือ บริเวณตั้งแต่ห้างบิ๊กซี อ้อมใหญ่ ไปจนถึงสี่แยกหลัก 5 เพชรเกษมตัดบรมราชชนนี ตัดกระทุ่มแบน น้ำยังท่วมสูงระดับ 100-150 เซนติเมตร รถไม่สามารถวิ่งเข้าไปได้ นอกจากรถบรรทุกสูงและเรือเท่านั้น

    ทั้งนี้ ชาวบ้านที่อยู่บริเวณแยกสาย 5 เพชรเกษมตัดกระทุ่มแบน และชาวบ้านในซอยเพชรเกษม ตั้งแต่เพชรเกษม 90 จนถึงเพชรเกษม 106 ต่างร้องเข้ามายัง ศภจ.ภาค 7 ส่วนหน้า ที่ตั้งอยู่หน้าห้างบิ๊กซี อ้อมใหญ่ ว่า ขณะนี้น้ำเริ่มเน่าเสีย และมียุงจำนวนมากเข้าก่อกวนชาวบ้าน แต่เมื่อร้องขอไปยังเจ้าหน้าที่รัฐก็ไม่ได้รับความสนใจ นอกจากนี้ น้ำภายในซอยต่างๆ สูงกว่า 1 เมตร ยังไม่มีทีท่าว่าน้ำจะลดลง ซึ่งยังขาดน้ำดื่มและอาหาร ขอให้เจ้าหน้าที่ช่วยนำสิ่งของส่งให้ด้วย และให้แจ้ง อบต.ในพื้นที่ให้ช่วยด้วย ทาง ศภจ.ภาค 7 ส่วนหน้า จึงประสานไปยัง อบต.หลายแห่ง และขอบริจาคยากันยุงเพื่อนำไปแจกจ่ายให้ เพื่อเป็นการบรรเทาชั่วคราว

















    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤศจิกายน 2554 17:19 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%b9%e9%d3

    ชาวมีนบุรีโล่งน้ำไม่ท่วมนิคมฯ บางชัน แต่เฝ้าระวังต่อหลัง กทม.เปิดประตูระบายน้ำ

    ชาวบ้านมีนบุรีโล่ง น้ำในคลองแสนแสบลดระดับลง มั่นใจนิคมฯบางชัน ไม่ท่วม แม้ด้านหน้าจะมีน้ำท่วมขัง เนื่องจากมีมาตรการป้องกันดี แต่อาจได้รับผลกระทบเพิ่มจากการเปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ หลัง กทม.เจรจาลงตัวกับชาวบ้านเขตสายไหม

    วันนี้ (19 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำภายในคลองแสนแสบ ว่า บริเวณด้านหลังวัดบำเพ็ญเหนือ ช่วงชุมชนแสนแสบตอนบน แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี ซึ่งติดด้านหลังนิคมอุตสาหกรรมบางชัน ระดับน้ำสูงกว่าปกติ ประมาณ 30-40 ซม.สอบถามจากประชาชนในพื้นที่ทราบว่า ระดับน้ำลดลงจากหลายวันก่อน ประมาณ 10 ซม.โดยปกติแล้ว ระดับน้ำจะลดลงตลอดทุกๆ วัน วันละ 1-2 ซม.ทั้งนี้ ประชาชนยังเชื่อว่า จากระดับน้ำที่ลดลงทุกวันนี้ น่าจะเป็นสัญญาณที่ดีของสถานการณ์น้ำในพื้นที่ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม บริเวณดังกล่าวนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่ทหาร จากกองทัพบกเฝ้าดูสถานการณ์อย่างต่อเนื่องด้วย

    ส่วนสถานการณ์น้ำบริเวณด้านหน้านิคมอุตสาหกรรมบางชัน บางจุดมีระดับน้ำท่วมขังบนถนน โดยเฉพาะตั้งแต่แยกบางชันมุ่งหน้ามีนบุรี ระดับน้ำสูงประมาณ 10-40 เซนติเมตร ส่วนด้านหน้าบริษัทสหยูเนียน ปริมาณน้ำเอ่อล้นอยู่บ้างเล็กน้อย เนื่องจากมีการทำแนวกระสอบทราย และคันบิ๊กแบ็กกั้น รวมถึงการใช้เครื่องสูบน้ำสูบน้ำออกอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ บริเวณแยกบางชันฝั่งถนนเสรีไทยทั้งสองฝั่ง ได้มีการเสริมคันถนนให้สูงขึ้น จึงทำให้ระดับน้ำไม่สามารถล้นเข้ามาท่วมบนถนนด้านหน้านิคมอุตสาหกรรมบางชันได้มาก

    ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า กรณีการเปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ อาจจะส่งผลกระทบต่อนิคมอุตสาหกรรมบางชันได้ เนื่องจากทาง กทม.ได้เจรจากับตัวแทนชาวบ้าน ต.ลาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ได้ข้อสรุปว่า ชาวบ้านจะไม่เข้ารื้อแนวกระสอบทรายที่คลองหกวาสายล่าง เขตสายไหม จากที่กทม.และศปภ.ยืนยันจะเปิด 3 ประตูระบายน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำ บรรเทาความเดือดร้อนให้ชาวปทุมธานีที่ระดับน้ำท่วมสูง โดยจะเปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์สูง 1 เมตรตลอดไป เปิดประตูระบายน้ำคลองสอง สูง 1.20 เมตร เปิดประตูคลองลำหม้อแตกเพิ่มอีก 50 ซม.และ กทม.จะเร่งระบายน้ำให้ระดับน้ำลดลงวันละ 3-5 ซ.ม. ขณะที่การเยียวยา ได้ครัวเรือนละ 5,000 บาทตามมติ ครม.ซึ่งชุดแรกจะได้รับเงินในสิ้นเดือนนี้ และบ้านที่เสียหายบางส่วนได้ 20,000 บาท ส่วนบ้านที่เสียหายทั้งหลังได้ 30,000 บาท

    นอกจากเขตมีนบุรีแล้ว การเปิดประตูระบายน้ำดังกล่าวอาจจะมีผลกระทบกับพื้นที่ในเขตสายไหม คลองสามวา และบึงกุ่ม ด้วย แต่ กทม.เชื่อว่า จะสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ จึงทำให้ทุกฝ่ายต่างเฝ้าระวังสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา




















    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤศจิกายน 2554 17:24 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1.

    >> ปทุมธานี <<


    ตลาดรังสิตน้ำท่วมสูง ชาวบ้านต่อนั่งร้านเชื่อมโทลล์เวย์

    ตลาดรังสิตน้ำยังคงท่วมสูง บางจุดลึกถึง 1.50 เมตร รถเล็กยังไม่สามารถผ่านได้ ต้องอาศัยเรือในการสัญจร ขณะที่ชาวบ้านย่านเซียร์รังสิตทำการต่อนั่งร้านเหล็กเชื่อมโทลล์เวย์กับสะพานลอยข้ามถนน เพื่อความสะดวกในการต่อรถ ด้านฟิวเจอร์พาร์ครังสิตเปิดให้บริการแล้วหลังปิดนานกว่า 1 เดือน

    วันนี้ (18 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมบริเวณตลาดรังสิตว่า ระดับน้ำยังคงท่วมสูง โดยบางจุดมีความลึกถึง 1.50 เมตรแล้ว ทำให้ประชาชนต้องสัญจรโดยทางเรือ เนื่องจากรถเล็กยังไม่สามารถผ่านได้

    ขณะที่บนทางด่วนโทลล์เวย์หน้าเซียร์รังสิต ชาวบ้านได้ต่อนั่งร้านเหล็กจากทางด่วนโทลล์เวย์ลงมาเชื่อมต่อกับสะพานลอยข้านถนน เพื่อความสะดวกในการเดินทางไปต่อรถโดยสาร

    ส่วนที่ ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ได้เปิดให้บริการในวันนี้เป็นวันแรก หลังจากปิดบริการเป็นระยะเวลา 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 19 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยศูนย์ได้ทำการปรับปรุงเส้นทางพิเศษ 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางที่ 1 ตั้งแต่ช่องทางด่วน ถนนพหลโยธินขาเข้า บริเวณด้านหน้าศูนย์การค้า ให้ประชาชนสามารถใช้เป็นเส้นทางลัด ไปเส้นรังสิต-นครนายก ส่วนเส้นทางที่ 2 ถนนรังสิต-นครนายก เชื่อมต่อทางลงโทลล์เวย์ รังสิต-นครนายก และกรุงเทพฯ เพื่อใช้เป็นเส้นทางไปรังสิต-นครนายก และกรุงเทพฯ ได้สะดวกยิ่งขึ้น

























    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤศจิกายน 2554 15:12 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%b9%e9%d3

    มวลน้ำอยุธยายังทะลักเข้าปทุมฯ สถานการณ์ไม่คลี่คลาย

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    ประตูระบายน้ำคลองหนึ่ง ยังคงเปิดอย่างสุดบาน ทำให้มวลน้ำจาก อ.วังน้อย จ.อยุธยา ยังคงไหลเข้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานีอย่างต่อเนื่อง

    เมื่อวานนี้ (17 พฤศจิกายน) มีรายงานว่า หลังจากตรวจสอบประตูระบายน้ำคลองหนึ่ง ซึ่งเป็นเขตรอยต่อระหว่าง อ.วังน้อย จ.อยุธยา กับ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี พบว่า ประตูน้ำมีการเปิดบานประตูไว้จนสุด ทำให้น้ำจาก อ.วังน้อย ไหลเข้าสู่คลองระพีพัฒน์ ผ่านประตูน้ำคลองหนึ่ง สู่คลองรังสิตประยูรศักดิ์ส่งท้าย ทำให้พื้นที่ต้นน้ำมีน้ำลดลง แต่ท้ายน้ำอย่าง ตลาดรังสิตและหมู่บ้านรัตนโกสินทร์ 200 ปี อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี มีมวลน้ำมากขึ้น

    นอกจากนี้ มวลน้ำที่มาจากคลองระพีพัฒน์ได้ล้นแนวประตูระบายน้ำคลองหนึ่ง ไหลท่วมถนนสุขาภิบาล อ.วังน้อย และ อ.คลองหลวง จำนวนมาก ทำให้นายยงยุทธ วิรางกูล นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองท่าโขลง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ต้องออกเสียงตามสายห้ามประชาชนรื้อกระสอบทรายบริเวณเลียบคลองระพีพัฒน์ เพราะระดับน้ำยังคงสูงกว่าคลองส่งน้ำที่หนึ่งและสองประมาณ 80 เซนติเมตร ซึ่งถือว่ายังไม่ปกติ แม้ว่าน้ำท่วมในพื้นที่จะลดลงก็ตาม

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก http://thaiflood.kapook.com/view33499.html 18 พฤศจิกายน 2554


    >> นนทบุรี <<


    ชาวเมืองนนท์สุดทนถูกน้ำท่วมขังกว่าเดือน รวมพลจี้ผู้ว่าฯ เร่งแก้ปัญหา

    ชาวเมืองนนท์สุดทนต้องทนถูกน้ำท่วมขังเดือนกว่าไม่มีท่าทีว่าจะลด แถมเจ้าหน้าที่รัฐไม่สนใจแก้ปัญหา นัดรวมพลผ่านเฟชบุ๊ก รวมตัวหน้าศาลากลาง จ.นนทบุรี เรียกร้องผู้ว่าฯ เร่งแก้ปัญหา ไม่ใช่ปล่อยให้ประชาชนเผชิญชะตากรรมไปวันๆ

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เช้าวันนี้ (18 พ.ย.) ชาว จ.นนทบุรี ที่ถูกน้ำท่วมขังสูงนานเดือนกว่า ทั้ง อ.บางบัวทอง อ.บางกรวย อ.บางใหญ่ อ.เมืองนนทบุรี อ.ปากเกร็ดบางส่วน โดยไม่มีท่าทีว่าจะลดลง ขณะที่เจ้าหน้าที่ภาครัฐก็ไม่เคยสนใจที่จะแก้ไข ได้นัดหมายผ่านทางเฟซบุ๊ก “ชุมชนคนรักเมืองนนท์” รวมตัวหน้าศาลากลางจังหวัดนนทบุรี (หลังใหม่) ยื่นหนังสือถึงนายวิเชียร พุฒิวิญญู ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ให้เร่งแก้ปัญหาน้ำท่วม หลังจากผ่านไป 1 เดือนน้ำลดลงเล็กน้อย

    หลังจากก่อนหน้านี้ ประชาชนหลายพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมนานนับเดือนไม่ได้รับความสนใจเข้าไปดำเนินการของรัฐบาล ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (ศปภ.) หรือเจ้าหน้าที่ภาครัฐจนทนไม่ไหวต้องรวมตัวกันเองออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รื้อคันกั้นน้ำเพื่อลดระดับน้ำที่สูงในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นชุมชนย่านดอนเมือง ชุมชนย่านรังสิต ชุมชนลำลูกกา และล่าสุดชุมชนเคหะธนบุรี ที่ปิดถนนหน้าโลตัสพระราม 2 เมื่อคืนนี้ เรียกร้องให้เขตบางขุนแทียนเร่งระบายน้ำออกจากชุมชน หลังน้ำท่วมสูงแต่ไม่มีทางระบายออกนั้น ซึ่งนายพงษ์ศักดิ์ พันธุ์สวาสดิ์ ผอ.เขตบางขุนเทียน ได้นัดหมายให้แกนนำชุมชน 1-3 มาประชุมเพื่อหาทางออกร่วมกันในวันนี้ เวลาประมาณ 10.30 น. ที่สำนักงานเขตบางขุนเทียน เบื้องต้นชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมสูงขณะนี้คือ เคหะธนบุรี 1 และ 2 ส่วนเคหะธนบุรี 3 ยังไม่ถูกน้ำท่วม หากมีการระบายน้ำลงคลอง 2 คลอง คือ คลองลำภู และคลองบางแก้ว จะทำให้น้ำอาจท่วมเคหะธนบุรี 3 ที่อยู่อีกฝั่งของถนนพระราม 2 ได้ ดังนั้น ต้องพูดคุยหาทางออกกันอย่างเดียว โดยทาง บก.น.9 จะส่ง ผกก.สน.ท่าข้าม เจ้าของพื้นที่เข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อหาทางป้องกันเหตุวุ่นวาย หากไม่สามารถตกลงกันได้

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤศจิกายน 2554 11:23 น.
    http://www.manager.co.th/Politics/Vi...=9540000147184

    กู้ ถ.340 กระบะวิ่งได้แล้ว! ทางหลวง จี้ ตร.เคลียร์รถบนสะพานแยกบางใหญ่


    ถนนทางหลวงสาย 340

    กู้ ถ.340 ใกล้ความจริง! รถกระบะวิ่งปร๋อทั้งสาย ตั้งแต่แยกนพวงศ์ ลาดหลุมแก้ว ยันเข้า ถ.ตลิ่งชัน - สุพรรณบุรี แม้ยังมีน้ำขังเล็กน้อยบางจุด ส่วนกู้ลาดปลาดุก จนท.เร่งสูบน้ำใกล้เสร็จแล้ว เหลือแค่แยกบางใหญ่ ด้าน ผอ.แขวงการทางนนท์ รับรถจอดเพียบบนสะพานข้ามแยกบางใหญ่อุปสรรคทำงาน จี้ตำรวจจัดการ ยันเปิดคันดินให้น้ำผ่านตามคำเรียกร้องแล้ว

    วันนี้ (18 พ.ย.) ที่ จ.นนทบุรี ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปสำรวจการกู้ถนนทางหลวงสาย 340 และ ถ.ตลิ่งชัน - สุพรรณบุรี ขาออก พบว่า ถนนทางหลวงสาย 340 ตั้งแต่ช่วงแยกนพวงศ์ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี มาจนถึงสะพานคลองเจ๊ก เจ้าหน้าที่ได้ทำคันดินกั้นไว้เสร็จสิ้นแล้ว รถยนต์สามารถวิ่งผ่านได้ตามปกติ แม้จะมีน้ำท่วมขังและดินโคลนเล็กน้อย ขณะที่ตั้งแต่สะพานคลองเจ็ก ฝั่ง อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ไปจนถึงแยกบางบัวทอง ซึ่งเป็นทางเชื่อมไปสู่ ถ.ตลิ่งชัน - สุพรรณบุรี หรือ ถ.กาญจนาภิเษก ก็ได้มีคันดินกั้นน้ำไว้รอบหมดแล้วเช่นกัน ทำให้รถยนต์ รวมถึงรถจักรยานยนต์สามารถวิ่งผ่านได้ตามปกติ แม้บางจุดจะยังมีน้ำขังบ้างแต่ก็อยู่ที่ระดับ 5 - 20 ซม.

    ส่วน ถ.ตลิ่งชัน - สุพรรณบุรี ในช่วงคลองลำรี หน้าหมู่บ้านสมบัติบุรี - คลองแยกไทรน้อย นั้น ล่าสุดรถยนต์ปกติสามารถวิ่งผ่านได้แล้ว แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังอยู่เล็กน้อย ราว 5 - 25 ซม. โดยเจ้าหน้าที่แขวงการทางยังคงสูบน้ำออกอยู่เรื่อยๆ แต่ใช่เครื่องสูบน้ำเหลือเพียงแค่ 1 เครื่องเท่านั้น ด้านช่วงคลองบ้านกล้วย ปากซอยวัดลาดปลาดุก เจ้าหน้าที่ได้ระดมเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ 1 เครื่อง และเครื่องสูบน้ำขนาดกลางอีก 4 เครื่อง สูบน้ำออกไปทางฝั่งหมู่บ้านจันทิมา โดยระดับน้ำบนถนนได้ลดลงไปมากจากเดิมที่น้ำสูงเกือบ 1 เมตร เหลืออยู่ที่ราว 5 - 40 ซม. โดยเจ้าหน้าที่ยังคงคอยนำกระสอบทรายมาอุดรอยรั่วซึมบนถนนและตามท่อระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ช่วงแยกบางใหญ่ - ทางเชื่อม ถ.รัตนาธิเบศร์ ด้านฝั่ง ถ.กาญจนาภิเษก ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้นำท่อคอนกรีตเสริมเหล็กมาวางเป็นแนวกั้นสะพานข้ามแยกบางใหญ่ทั้งขาเข้าและขาออก พร้อมนำถุงกระสอบทรายอัดประกบไม่ให้น้ำเข้า รวมทั้งใช้ถุงทรายขนาดใหญ่หรือบิ๊กแบ๊กมาเป็นแนวกั้นอีกด้วย โดยในช่วงขาออกได้นำหินคลุกมาเทเพื่อทำทางขึ้นสู่ทางหลักของถนนแทนทางคู่ขนานที่จะถูกปิดการจราจรบริเวณดังกล่าว ซึ่งตรงจุดนี้ระดับน้ำอยู่ที่ 30 - 70 ซม. และยังไม่มีการสูบน้ำออก ส่วนทางฝั่งทางเชื่อม ถ.รัตนาธิเบศร์ ด้านขาออกได้มีการนำกระสอบทรายลงอุดรอยรั่วจากถังยางมะตอยที่วางเป็นแนวกั้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามพบว่าบนสะพานดังกล่าวได้มีรถยนต์มาจอดอยู่เป็นจำนวนมาก รวมทั้งบริเวณทางเชื่อม ถ.รัตนาธิเบศร์ และจุดกลับรถหน้าหมู่บ้านกฤษดานคร 10 ทำให้การจราจรติดขัดพอสมควร ขณะที่ ถนนทั้งสายน้ำเริ่มลดลงแล้วจนแห้งสนิทในบางจุด

    ด้านนายชนินทร ชูขวัญ ผู้อำนวยการแขวงการทาง จ.นนทบุรี กรมทางหลวง เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวว่า ตนยอมรับว่ารถยนต์ที่จอดอยู่บนสะพานเป็นอุปสรรคในการทำงานพอสมควร ซึ่งถ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถมาเคลียร์พื้นที่ได้ก็จะทำให้การทำงานของเจ้าหน้าที่เป็นไปได้เร็วขึ้น ขณะที่การกู้ถนนระยะทางกว่า 12 กม.ก็ไม่ได้เป็นการทำให้น้ำแห้งหมดทุกจุด แต่เป็นการกั้นให้มีระดับน้ำอยู่แต่แตกต่างจากภายนอกบ้างเพื่อให้รถสามารถสัญจรไปมาได้และไม่ให้น้ำที่สูบออกเข้าไปสู่พื้นที่ของชาวบ้านมากเกินไป โดยการกู้ในจุดปากซอยวัดลาดปลาดุกก็เริ่มที่จะเสร็จสิ้นลงแล้ว ส่วนกรณีที่มีชาวบ้านบางหนึ่งไปร้องเรียนผู้ว่าราชการ จ.นนทบุรี เพื่อขอให้รื้อคันดินกั้นน้ำบน ถ.340 นั้น ทางเจ้าหน้าที่ก็ได้เปิดช่องคันดินบางจุดมีระยะทางยาวกว่า 50 เมตร เพื่อให้น้ำไหลข้ามผ่านถนนไปได้แล้ว แต่้ก็ไม่ได้ทำให้กระทบต่อการสัญจรแต่อย่างใด

    อย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวได้สอบถามชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่อ.บางบัวทอง ที่เป็นเส้นทางผ่านของการกู้ถนนทั้งสองสายหลายคนพบว่า ส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะให้มีการกู้ถนนเนื่องจากจะทำการสัญจรในพื้นที่ได้ดีขึ้น ขณะที่ชาวบ้านหมู่บ้านบัวทองธานีรายหนึ่งยอมรับว่า การสูบน้ำกู้ถนนไม่ได้ทำให้ระดับน้ำในบ้านของตนเพิ่มขึ้น






    จุดที่ทางหลวงเปิดคันกั้นน้ำให้น้ำผ่าน










    ถ.ตลิ่งชัน - สุพรรณบุรี ช่วงหน้าหมู่บ้านบัวทองธานี


    ถ.ตลิ่งชัน - สุพรรณบุรี ช่วงหน้าปากซอยวัดลาดปลาดุก








    ทางเชื่อมสะพานข้ามแยกบางใหญ่ - ถ.รัตนาธิเบศร์ ขาออก




    ทางเชื่อมสะพานข้ามแยกบางใหญ่ - ถ.รัตนาธิเบศร์ ขาเข้า




    สะพานข้ามแยกบางใหญ่


    ถ.รัตนาธิเบศร์ ขาเข้า


    ถ.รัตนาธิเบศร์ ทางเชื่อมสะพานข้ามแยกบางใหญ่ ขาออก

    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤศจิกายน 2554 20:03 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%b9%e9%d3


    >> สมุทรสาคร <<


    เขตอ้อมน้อยยังท่วมเต็มพื้นที่ จุดลึกสุดโดยเฉลี่ย 80 ซม.-1 เมตร

    ประมวลภาพ สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ตำบลอ้อมน้อย น้ำยังท่วมเต็มพื้นที่ จุดลึกสุดโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 80 ซม. - 1 เมตร ทั้งนี้เนื่องจากจากพื้นที่แห่งนี้น้ำท่วมขังเป็นเวลานาน และเริ่มเน่าเสีย ทางเจ้าหน้าที่จากเทศบาล ได้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการฉีดสารจุลินทรีย์ EM ลงในน้ำเพื่อฟื้นฟูสภาพน้ำแล้ว ด้านผู้ว่าฯ วางแผนเตรียมกู้ให้กลับสู่สภาพเดิม ด้วยการกำหนดพื้นที่เป็นจุดๆ เนื่องจากเทศบาลนครอ้อมน้อยมีเนื้อที่กว่า 1,000 ไร่ ทำให้ไม่สามารถสูบน้ำทีเดียวได้ทั้งพื้นที่ จะต้องค่อยๆ สูบเป็นช่วงๆ ไป ซึ่งจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ต้นสัปดาห์หน้าเป็นต้นไป































    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤศจิกายน 2554 05:47 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000147095

    >> นครปฐม <<


    ปศุสัตว์นครปฐมเตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก ร่วมเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก

    นครปฐม - ปศุสัตว์จังหวัดนครปฐมเตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก ให้หมั่นดูแลสุขภาพสัตว์ปีกของตน เพื่อเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกอย่าปล่อยให้นอนตากลมหนาว หรือโดนฝน รวมทั้งป้องกันจากสัตว์พาหะนำโรคไข้หวัดนก

    นายสำเริง ครุฑดำ ปศุสัตว์จังหวัดนครปฐม เปิดเผยว่า ช่วงนี้เป็นช่วงเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หวัดนก จึงขอเตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก ให้หมั่นตรวจสอบดูแลสุขภาพสัตว์ปีกอยู่เป็นประจำ หากพบอาการผิดปกติให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทันที พร้อมจัดเตรียมป้องกันคอกสัตว์จากลม ฝน และสัตว์พาหะนำโรคไข้หวัดน

    โดยเฉพาะนก หนู ต่างๆ สืบเนื่องจากในช่วงนี้เริ่มเข้าสู่หน้าหนาว หลายแห่งมีอากาศหนาวเย็น ประกอบกับบางพื้นที่ยังมีฝนตกชุก ทำให้สัตว์ปีกเสี่ยงต่อการเป็นโรคไข้หวัดนก และโรคระบาดสัตว์ปีกอื่นๆ ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกควรจัดให้มีเล้า หรือโรงเรือนสำหรับสัตว์ปีกนอนในตอนกลางคืน สามารถป้องกันแดด ลม ฝน และพาหะนำโรคระบาดสัตว์ได้ อีกทั้งยังง่ายต่อการดูแลสุขภาพอีกด้วย

    นอกจากนี้ ควรมีการเสริมวิตามินและแร่ธาตุ รวมทั้งถ่ายพยาธิภายนอกและภายในตามโปรแกรมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สัตว์ปีกมีสุขภาพแข็งแรง หากพบสัตว์ปีกป่วย หรือตายผิดปกติ ไม่ทราบสาเหตุ อย่าได้นำสัตว์ปีกที่ป่วยตายไปประกอบอาหาร หรือโยนทิ้งน้ำอย่างเด็ดขาด เพราะจะเป็นการทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่นๆ ได้เร็วยิ่งขึ้น

    หากพบสัตว์ปีกป่วย หรือตายผิดปกติให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ ปศุสัตว์ตำบล อาสาปศุสัตว์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์การบริหารงานส่วนตำบล (อบต.) ในพื้นที่ทันที หรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครปฐม โทร.0-3425-7705, 0-3425-0981 และโทร.แจ้งสายด่วนของกรมปศุสัตว์ เบอร์โทรศัพท์ 086-6609906 เพื่อความรวดเร็วในการเข้าควบคุมโรคมิให้แพร่ระบาดได้ทันท่วงที



    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤศจิกายน 2554 15:14 น.
    http://www.manager.co.th/Local/ViewN...word=%b9%e9%d3
  17. IAm
    IAm

    19 พฤศจิกายน 2554
    ==================================================



    >> กรุงเทพฯ <<



    ทีมกรุ๊ป อัพเดตแผนที่ ชี้ 13 เขตรอดท่วมแน่นอน



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุุกดอทคอม
    ขอขอบคุณข้อมูลและภากประกอบจาก TEAM Group

    ทีมกรุ๊ป ชี้ส่วนใต้คลองแสนแสบได้รับผลกระทบ จากการเปิดประตูน้ำพระยาสุเรนทร์ ระดับเพิ่มขึ้น 10 ซม. พร้อมฟันธง 13 เขต กทม.ชั้นใน รอดท่วมแน่นอน

    วันนี้ (19 พฤศจิกายน) นายชวลิต จันทรรัตน์ กรรมการบริหารทีมกรุ๊ป ในฐานะวิศวกรแหล่งน้ำได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำว่า ขณะนี้มีการเปิดประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์ เพิ่มขึ้นจาก 40 เซนติเมตร เป็น 1 เมตรนั้น จะส่งผลให้คลองแสนแสบ มีระดับน้ำสูงขึ้นไม่เกิน 10 เซนติเมตร อย่างแน่นอน ส่วนใต้คลองแสนแสบ เขตบางกะปิ สะพานสูง สวนหลวง จะได้รับน้ำจากคลองแสนแสบ ทำให้มีระดับน้ำเพิ่มขึ้นเช่นกัน

    กรรมการทีมกรุ๊ป ยังกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ถนนศรีนครินทร์ และร่มเกล้า ปริมาณน้ำจะเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ไม่มากนัก เช่นเดียวกับ เขตสวนหลวง ประเวศ กิ่งแก้ว ถึงราชาเทวะ จะได้รับผลกระทบแต่ไม่มาก เฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 10 ซม.

    อย่างไรก็ตาม แผนที่เตือนภัยล่าสุด แสดงให้เห็นพื้นที่ที่รอดพ้นจากน้ำท่วมแน่นอน ซึ่งได้เป็นเขตพื้นที่ กทม. ชั้นใน ได้แก่...


    1.บางคอแหลม
    2.เขตสาธร
    3.บางรัก
    4.ปทุมวัน
    5.พญาไท
    6.เขตบางซื่อ
    7.ดุสิต
    8.ดินแดง
    9.ห้วยขวาง
    10.วัฒนา
    11.คลองเตย
    12.พระโขนง
    13.บางนา ฝั่งตะวันตก

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก http://thaiflood.kapook.com/view32894.html 19 พฤศจิกายน 2554

    ประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์เปิด 1.05 ม. ระดับน้ำต่าง 60 ซม.

    สถานการณ์น้ำล่าสุด บริเวณประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์ ขณะนี้มีการเปิดประตูระบายน้ำที่ระดับ 1.05 เมตร ทำให้ระดับน้ำหน้าประตูและหลังประตู ต่างกันอยู่ที่ 60 เซนติเมตร
    โดยคลองพระยาสุเรนทร์เป็นคลองกั้นระหว่างเขตสายไหมของกรุงเทพมหานคร และ ต.คูคต จ.ปทุมธานี ที่มีกระแสข่าวว่า ชาวบ้านฝั่งคูคตเข้ามารื้อคันบิ๊กแบ็กบริเวณท้ายซอยสายไหม 85 เมื่อสองวันก่อน และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ อปพร. เปิดเผยว่า ชาวบ้านบริเวณประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์ ยังใช้ชีวิตอย่างปกติ แม้มีกระแสข่าวที่ชาวบ้านมาพังคันกั้นน้ำ

    ในขณะที่ชาวบ้านชุมชนร่มรื่น ชุมชนหนองใหญ่ ที่ติดกับคลองพระยาสุเรนทร์ ในเขตคลองสามวา เช้านี้ได้ทยอยเดินทางไปสำนักงานเขตคลองสามวา เพื่อลงทะเบียนรับเงิน 5,000 บาท ช่วยเหลือน้ำท่วม

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 19 พฤศจิกายน 2554 09:10 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...c1%b8%d2%b9%d5

    พณ.ขายสินค้าธงฟ้า 13 จุด กทม.-ปริมณฑลช่วยผู้ประสบอุทกภัย

    กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน จัดรถโมบายยูนิต และเรือธงฟ้า ออกจำหน่ายสินค้าจำเป็นต่อการครองชีพ ในราคาถูกกว่าท้องตลาด ร้อยละ 20-40 เป็นการช่วยเหลือประชาชนในภาวะน้ำท่วม วันนี้จำนวน 13 เส้นทาง อาทิ หมู่บ้านบุศรินทร์ พุทธมณฑลสาย 4 วัดไทรใหญ อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี สะพานวัดลาดปลาดุก อาคารสงเคราะห์ลาดพร้าว 71 แฟลตเคหะรามคำแหง วัดสุทธาราม วงเวียนใหญ่ ชุมชนแสงมณี ถนนรามคำแหง แยกศรีสมาน เขตดอนเมือง วัดบุญรอดธรรมาราม เขตพระโขนง และชุมชนมิตรภาพ ซอย 6 เขตประเวศ

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 19 พฤศจิกายน 2554 12:10 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1

    กทม.เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำฝั่งธนบุรี 40 เครื่องรับมือมวลน้ำก้อนใหญ่

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานครว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำดีขึ้นตามลำดับ เนื่องจากคลองสำคัญในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครลดลงแล้ว ส่วนคลองมหาสวัสดิ์ลดลงเล็กน้อย แต่สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังคือ น้ำก้อนใหญ่จากพื้นที่ศาลายา ที่อาจจะทะลักเพิ่มเข้ามาอีก จำนวน 7.5 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งรวมกับของเก่าอีกจำนวน 5 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งอาจจะทำให้มีน้ำที่จะทะลักเข้าพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้งหมดรวม 12.5 ล้านลูกบาศ์เมตรต่อวัน ซึ่งกรณีเองกรุงเทพมหานครอาจจะรับมือไม่ไหว จึงจำเป็นต้องเร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำในพื้นที่ของฝั่งธนบุรี จำนวน 40 เครื่อง ซึ่งทางกรุงเทพมหานครติดตั้งแล้วเสร็จ จำนวน 26 เครื่อง เหลืออีกจำนวน 14 เครื่อง โดยคาดว่าอีก 2 วันจะแล้วเสร็จ ซึ่งจะช่วยเร่งระบายน้ำจากคลองทวีวัฒนาลงคลองภาษีเจริญ ลงแม่น้ำท่าจีนต่อไป
    นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครอยากเสนอแนะให้มีการสร้างแนวคันกั้นน้ำทั้งสองฝั่ง เพื่อกั้นน้ำจากคลองมหาสวัสดิ์ ในพื้นที่ของฝั่ง จ.นนทบุรีอีกด้วย
    อย่างไรก็ตาม การเปิดประตูระบายน้ำที่คลองพระยาสุเรนทร์ที่วัดหนองใหญ่ อยู่ที่ระดับ 1.05 เมตร ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานว่า มีผลกระทบกับนิคมอุตสาหกรรมบางชันแต่อย่างใด

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 19 พฤศจิกายน 2554 13:13 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1

    เจรจา 4 ฝ่ายตกลงเปิด ปตร. 3 แห่งช่วยระบายน้ำ-ศปภ.ยันจ่าย 5 พันภายในสิ้น พ.ย.นี้

    หลังจากร่วมเจรจาเพื่อหาข้อยุติระหว่างชาวบ้านลำลูกกา ชาวบ้านเขตสายไหม โดยมีตัวแทนจาก ศปภ. กทม. ผู้ว่าราชการ จ.ปทุมธานี ตำรวจภูธรภาค 1 โดย พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ โฆษก ศปภ. เปิดแถลงข่าวถึงข้อสรุปว่า วันนี้ชาวบ้านทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับผลเจรจาด้วยดี โดยจะเปิดประตูระบายน้ำ 3 แห่ง คือ ประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์ เปิด 1 เมตรตลอด ประตูระบายน้ำลำหม้อแตก เปิด 50 เซนติเมตร ประตูระบายน้ำคลองสอง เปิด 1.20 เมตร จะทำให้ระดับน้ำลดลงวันละ 3-5 เซนติเมตร ส่วนมาตรการเยียวยา โฆษก ศปภ.จะรับเรื่องไปหารือกับรัฐบาลอีกครั้ง ยืนยันว่า เงินเยียวยาครอบครัวละ 5,000 บาท จะดำเนินการและรับเงินชุดแรกภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายน

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 19 พฤศจิกายน 2554 15:06 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1

    ผู้ว่าฯ กทม.ยันไม่ลดคันคลองมหาสวัสดิ์ -รับห่วงขยะดอนเมือง

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ชี้แจงกรณีที่ผู้ว่าราชการ จ.นนทบุรี ประสานให้กรุงเทพมหานคร ลดระดับคันกั้นน้ำในคลองมหาสวัสดิ์ เพื่อเร่งระบายน้ำ ไม่สามารถทำได้นั้น เพราะจะทำให้น้ำไหลเข้าเพิ่มอีกวันละ 7,500,000 ลูกบาศก์เมตร รวมกับน้ำเก่าที่มีอยู่ 5,000,000 ลูกบาศก์เมตร จะกลายเป็น 12,500,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะส่งผลต่อการระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร จึงจะเปิดประตูระบายน้ำที่คลองทวีวัฒนา เป็น 50 เซนติเมตร เพื่อให้เข้าสู่ระบบระบายน้ำเร็วขึ้น
    สำหรับการเก็บขยะนั้น ผู้ว่าราชการ จ.กรุงเทพมหานคร ยอมรับว่า เขตดอนเมืองน่าเป็นห่วง เนื่องจากน้ำยังท่วมสูง ทำให้การจัดเก็บลำบาก ซึ่งขณะนี้ เก็บได้เพียงร้อยละ 30 เท่านั้น

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 19 พฤศจิกายน 2554 16:16 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1

    ชาวมีนบุรีโล่งน้ำไม่ท่วมนิคมฯ บางชัน แต่เฝ้าระวังต่อหลัง กทม.เปิดประตูระบายน้ำ

    ชาวบ้านมีนบุรีโล่ง น้ำในคลองแสนแสบลดระดับลง มั่นใจนิคมฯบางชัน ไม่ท่วม แม้ด้านหน้าจะมีน้ำท่วมขัง เนื่องจากมีมาตรการป้องกันดี แต่อาจได้รับผลกระทบเพิ่มจากการเปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ หลัง กทม.เจรจาลงตัวกับชาวบ้านเขตสายไหม

    วันนี้ (19 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำภายในคลองแสนแสบ ว่า บริเวณด้านหลังวัดบำเพ็ญเหนือ ช่วงชุมชนแสนแสบตอนบน แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี ซึ่งติดด้านหลังนิคมอุตสาหกรรมบางชัน ระดับน้ำสูงกว่าปกติ ประมาณ 30-40 ซม.สอบถามจากประชาชนในพื้นที่ทราบว่า ระดับน้ำลดลงจากหลายวันก่อน ประมาณ 10 ซม.โดยปกติแล้ว ระดับน้ำจะลดลงตลอดทุกๆ วัน วันละ 1-2 ซม.ทั้งนี้ ประชาชนยังเชื่อว่า จากระดับน้ำที่ลดลงทุกวันนี้ น่าจะเป็นสัญญาณที่ดีของสถานการณ์น้ำในพื้นที่ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม บริเวณดังกล่าวนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่ทหาร จากกองทัพบกเฝ้าดูสถานการณ์อย่างต่อเนื่องด้วย

    ส่วนสถานการณ์น้ำบริเวณด้านหน้านิคมอุตสาหกรรมบางชัน บางจุดมีระดับน้ำท่วมขังบนถนน โดยเฉพาะตั้งแต่แยกบางชันมุ่งหน้ามีนบุรี ระดับน้ำสูงประมาณ 10-40 เซนติเมตร ส่วนด้านหน้าบริษัทสหยูเนียน ปริมาณน้ำเอ่อล้นอยู่บ้างเล็กน้อย เนื่องจากมีการทำแนวกระสอบทราย และคันบิ๊กแบ็กกั้น รวมถึงการใช้เครื่องสูบน้ำสูบน้ำออกอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ บริเวณแยกบางชันฝั่งถนนเสรีไทยทั้งสองฝั่ง ได้มีการเสริมคันถนนให้สูงขึ้น จึงทำให้ระดับน้ำไม่สามารถล้นเข้ามาท่วมบนถนนด้านหน้านิคมอุตสาหกรรมบางชันได้มาก

    ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า กรณีการเปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ อาจจะส่งผลกระทบต่อนิคมอุตสาหกรรมบางชันได้ เนื่องจากทาง กทม.ได้เจรจากับตัวแทนชาวบ้าน ต.ลาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ได้ข้อสรุปว่า ชาวบ้านจะไม่เข้ารื้อแนวกระสอบทรายที่คลองหกวาสายล่าง เขตสายไหม จากที่กทม.และศปภ.ยืนยันจะเปิด 3 ประตูระบายน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำ บรรเทาความเดือดร้อนให้ชาวปทุมธานีที่ระดับน้ำท่วมสูง โดยจะเปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์สูง 1 เมตรตลอดไป เปิดประตูระบายน้ำคลองสอง สูง 1.20 เมตร เปิดประตูคลองลำหม้อแตกเพิ่มอีก 50 ซม.และ กทม.จะเร่งระบายน้ำให้ระดับน้ำลดลงวันละ 3-5 ซ.ม. ขณะที่การเยียวยา ได้ครัวเรือนละ 5,000 บาทตามมติ ครม.ซึ่งชุดแรกจะได้รับเงินในสิ้นเดือนนี้ และบ้านที่เสียหายบางส่วนได้ 20,000 บาท ส่วนบ้านที่เสียหายทั้งหลังได้ 30,000 บาท

    นอกจากเขตมีนบุรีแล้ว การเปิดประตูระบายน้ำดังกล่าวอาจจะมีผลกระทบกับพื้นที่ในเขตสายไหม คลองสามวา และบึงกุ่ม ด้วย แต่ กทม.เชื่อว่า จะสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ จึงทำให้ทุกฝ่ายต่างเฝ้าระวังสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 19 พฤศจิกายน 2554 17:24 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1

    กทม.จัด “Big Cleaning Day” ถ.พหลโยธิน ห้าแยกลาดพร้าว

    กทม.จัด “Big Cleaning Day” คืนความสวยงามสู่ถนนพหลโยธินเริ่มตั้งแต่บริเวณคลองบางซื่อถึงแยกรัชโยธิน รวมระยะทาง 6 กม. “สุขุมพันธุ์” ชี้ทำความสะอาดเสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ธ.ค.54 เพื่อเป็นของขวัญแก่ชาวกทม.

    เมื่อเวลา 08.30 น.วันนี้ (19 พ.ย.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดกิจกรรม “Big Cleaning Day คืนความสวยงามสู่ถนนพหลโยธิน” เพื่อทำความสะอาดถนนพหลโยธินครั้งใหญ่ ตั้งแต่บริเวณคลองบางซื่อถึงแยกรัชโยธิน รวมระยะทาง 6 กม. ภายหลังปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณห้าแยกลาดพร้าวลดลง โดยมีคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัดกรุงเทพมหานคร นายทวีศักดิ์ เดชเดโช รองปลัดกรุงเทพมหานคร พลโทอุดมเดช สีตะบุตร แม่ทัพภาคที่ 1 กองทัพบก ตำรวจ ข้าราชการ เอกชน และอาสาสมัครกว่า 1,000 คน ร่วมงาน ณ บริเวณห้าแยกลาดพร้าว

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าวว่า ที่ผ่านมาห้าแยกลาดพร้าวประสบปัญหาน้ำท่วมขังนานพอสมควร และภายหลังน้ำลดก็มีคราบความสกปรก และสิ่งปฏิกูล จึงขอขอบคุณ กองทัพบก ตำรวจ และหน่วยงานทุกภาคส่วน ที่ร่วมมือร่วมใจในการดูแลทุกข์สุขของพี่น้องชาว กทม. ทั้งนี้ กทม.จะจัดกิจกรรมเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง และจะให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ธ.ค.54 เพื่อเป็นของขวัญแก่ชาว กทม.



















    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 19 พฤศจิกายน 2554 17:46 น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...word=%a1%b7%c1

    กทม.รับเปิดประตูระบายน้ำ 3 แห่ง ส่งผลระบายน้ำช้ากว่าเดิม 1 สัปดาห์

    (19 พ.ย.54) ที่ศาลาว่าการกทม. เวลา 16.30 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ภายหลังจากกทม.ได้ส่งตัวแทนเข้าเจรจาเพื่อหาข้อยุติกรณีประชาชนลำลูกกา และคลองสอง ชุมนุมประท้วง พร้อมทั้งรื้อกระสอบทรายริมคลองหกวาสายล่าง เป็นระยะทางประมาณ 100 เมตร เนื่องจากได้รับความเดือดร้อนจากปริมาณน้ำท่วมสูงเป็นเวลากว่า 1 เดือน
    ผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยผลการประชุมเมื่อเวลาประมาณ 17.45 น. ว่า กทม. ได้มอบหมายให้ นายสมภพ ระงับทุกข์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นตัวแทนกทม.เข้าร่วมเจรจา กับตัวแทนศปภ. โดยมี พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ โฆษก ศปภ. นายขจรศักดิ์ สิงโตกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี พร้อมด้วยตัวแทนชาวลำลูกกา จ.ปทุมธานี ซึ่งกทม. ได้รับข้อพิจารณาของชาวจ.ปทุมธานีทุกข้อ โดยสรุปว่า จะเปิดประตูระบายน้ำ 3 แห่ง ดังนี้
    1.ประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์ ที่ระดับ 1 เมตรตลอดไป
    2.ประตูระบายน้ำลำหม้อแตก จาก 20 ซม. เป็น 50 ซม.
    3.ประตูระบายน้ำคลองสอง จากเดิม 1 เมตร เป็น 1.20 เมตร พร้อมทั้งจะเร่งระบายน้ำสู่คลองคูคตให้ได้ 3-5 ซ.ม.ต่อวัน
    ทั้งนี้ กทม.ได้พิจารณาข้อเสนอดังกล่าวแล้ว สามารถรับข้อเสนอได้ แต่หากสถานการณ์เปลี่ยนไปเป็นที่เข้าใจได้ว่า กทม.ยังคงมีอำนาจที่จะปรับลดหรือเพิ่มในส่วนที่เกี่ยวการเปิดประตูระบายน้ำ และมีสิทธิที่จะเปิดหรือหรี่ประตูระบายน้ำ ทังนี้จะแจ้งให้ประชาชนปทุมธานีทราบล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม กทม.จะติดตามการเปิดประตูระบายน้ำทั้ง 3 แห่งอย่างใกล้ชิด และจะต้องไม่เกิดผลกระทบต่อนิคมอุตสาหกรรมบางชัน โดยผลกระทบนี้อาจเกิดขึ้นต่อคลองบางบัว และคลองลาดพร้าว มีอัตราลดช้าลง รวมถึงทำให้การระบายน้ำบนถนนสู่คลองทั้งสองล่าช้ากว่าเดิม ประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งอาจจะทดแทนด้วยการเพิ่มเครื่องสูบน้ำพื้นที่ต่างๆ
    ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวดีใจที่ทั้ง ศปภ. กทม. และจ.ปทุมธานี ได้ร่วมกันหารือด้วยเหตุและผล รวมถึงหาทางออกร่วมกัน ซี่งกทม.ขอขอบคุณทุกฝ่าย ที่ร่วมกันทำงานเพื่อประโยชน์ในวันข้างหน้าต่อไป

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 19 พฤศจิกายน 2554 19:07 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1

    >> ปทุมธานี <<


    ถ.วงแหวนตะวันออกติดขัด! ปชช.แห่ใช้หนี้น้ำ

    สถานการณ์น้ำท่วมขังบนถนนหลายสาย ทำให้ประชาชนในพื้นที่ จ.ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ใกล้เคียงต่างเลี่ยงไปใช้เส้นทางด่านเก็บเงินธัญบุรี อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ส่งผลให้มีปริมาณรถหนาแน่นในเส้นทางวงแหวนตะวันออก ซึ่งเป็นเส้นทางตัด อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ออก จ.นครนายก ฉะเชิงเทรา เพื่อผ่านออกบางปะอิน คลองหลวง โดยเฉพาะการจราจรเส้นทาง ถ.ลำลูกกา และวงแหวนตะวันออก ติดขัดหนัก เนื่องจากน้ำยังท่วมขังผิวการจราจร บริเวณหน้าด่านเก็บเงิน จึงต้องใช้การจราจรขวาสุด

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 19 พฤศจิกายน 2554 11:03 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...c1%b8%d2%b9%d5

    เจรจา 4 ฝ่ายตกลงเปิด ปตร. 3 แห่งช่วยระบายน้ำ-ศปภ.ยันจ่าย 5 พันภายในสิ้น พ.ย.นี้

    หลังจากร่วมเจรจาเพื่อหาข้อยุติระหว่างชาวบ้านลำลูกกา ชาวบ้านเขตสายไหม โดยมีตัวแทนจาก ศปภ. กทม. ผู้ว่าราชการ จ.ปทุมธานี ตำรวจภูธรภาค 1 โดย พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ โฆษก ศปภ. เปิดแถลงข่าวถึงข้อสรุปว่า วันนี้ชาวบ้านทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับผลเจรจาด้วยดี โดยจะเปิดประตูระบายน้ำ 3 แห่ง คือ ประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์ เปิด 1 เมตรตลอด ประตูระบายน้ำลำหม้อแตก เปิด 50 เซนติเมตร ประตูระบายน้ำคลองสอง เปิด 1.20 เมตร จะทำให้ระดับน้ำลดลงวันละ 3-5 เซนติเมตร ส่วนมาตรการเยียวยา โฆษก ศปภ.จะรับเรื่องไปหารือกับรัฐบาลอีกครั้ง ยืนยันว่า เงินเยียวยาครอบครัวละ 5,000 บาท จะดำเนินการและรับเงินชุดแรกภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายน

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 19 พฤศจิกายน 2554 15:06 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...c1%b8%d2%b9%d5

    พท.วอนชาวปทุมธานีอย่าพังแนวคันกั้นน้ำ

    นายสุทิน นพขำ ส.ส.ปทุมธานี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า อยากขอร้องประชาชนชาว จ.ปทุมธานีทุกตำบล ทุกพื้นที่ว่า อย่าไปพังแนวคันกั้นน้ำ รื้อแนวคันดินที่กั้นน้ำตามจุดต่างๆ โดยเฉพาะพื้นที่เขตติดต่อกับกรุงเทพมหานคร โดยอยากให้พี่น้องประชาชนชาว จ.ปทุมธานี ภาคภูมิใจในการร่วมกันปกป้องกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย พร้อมกันนี้ในส่วนราชการทุกส่วนงาน กำลังเร่งดำเนินการกู้พื้นที่ต่างๆ ให้กลับสู่สภาพเดิมอย่างเต็มที่ จึงอยากขอร้องพี่น้องประชาชนชาว จ.ปทุมธานีทุกคน ร่วมกันป้องกันไม่ให้น้องเข้ากรุงเทพมหานคร และขอให้อดทนรออีกสักระยะ โดยขอเป็นกำลังใจให้ชาวปทุมธานีทุกคนด้วย

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 19 พฤศจิกายน 2554 17:15 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...c1%b8%d2%b9%d5

    นายกเล็กลำลูกกา แนะ ศปภ.กู้ ถ.คลอง 5-6

    นายยงยุทธ มั่นบุปผชาติ นายกเทศมนตรี ตำบลลำลูกกา อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี กล่าวว่า ต้องการให้ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ. พิจารณากู้ถนนลำลูกกา ช่วงคลอง 5 ถึงคลอง 6 รวมระยะทาง 4 กิโลเมตร และหากเป็นไปได้ ควรใช้หินคลุกเข้าถมเพื่อเปิดเส้นทางการจราจร ซึ่งไม่เพียงบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนใน ต.ลำลูกกา เท่านั้น แต่ยังเกิดประโยชน์กับประชาชนทั่วไปในด้านการคมนาคมด้วย

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 19 พฤศจิกายน 2554 17:27 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...c1%b8%d2%b9%d5

    >> สมุทรสาคร <<


    สูบน้ำคลองบางน้ำจืดได้ผล!! น้ำลดฮวบ

    การเดินเครื่องสูบน้ำจากคลองบางน้ำจืด ต.บางน้ำจืด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ลงคลองประดิษฐ์ เพื่อช่วยระบายน้ำจากหน้าประตูระบายน้ำบางน้ำจืด ลงสู่ท้ายประตูระบายน้ำเป็นครั้งแรก ปรากฏว่า ระดับน้ำในคลองบางน้ำจืด บริเวณท้ายประตูระบายน้ำลดลงตามที่คาดการณ์ไว้ อยู่ที่ชั่วโมงละ 10 เซนติเมตร ซึ่งถือว่าประสิทธิภาพของคลองประดิษฐ์ ได้ผลเป็นอย่างดี โดยจะสามารถช่วยระบายน้ำ และรองรับปริมาณน้ำที่ไหลมาเติมหน้าประตูระบายน้ำ ก่อนผันน้ำลงสู่คลองมหาชัย และลงทะเลที่ จ.สมุทรสาคร

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 19 พฤศจิกายน 2554 15:13 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...c3%ca%d2%a4%c3
  18. IAm
    IAm

    20 พฤศจิกายน 2554
    ==================================================



    >> กรุงเทพฯ <<


    ศอส.สรุปน้ำท่วม ปชช.เดือดร้อน 1.8 ล้านครัวเรือน ตาย 602 คน

    ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) กรุงเทพมหานคร สรุปรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบัน พบว่า ขณะนี้เหลือพื้นที่ประสบอุทกภัย 17 จังหวัด กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ประสบภัยจำนวน 36 เขต จาก 50 เขต ประชาชนได้รับความเดือดร้อน จำนวน 1,800,000 ครัวเรือน รวมยอดผู้เสียชีวิต 602 คน

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤศจิกายน 2554 13:01 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000147894

    ทอท.คาดใช้งบฯ 1.5 พันล.ฟื้นฟูดอนเมือง-หามาตรการป้องกันระยะยาว

    นายสมชัย สวัสดีผล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยถึงแผนการกู้ท่าอากาศยานดอนเมือง โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณในการฟื้นฟูราว 1,500 ล้านบาท แต่ในขณะนี้ ยังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้ ซึ่งภายหลังน้ำลด 2 - 3 เดือน จึงจะเข้าไปทำการสำรวจ อีกทั้งต้องรอให้น้ำแห้งสนิท จึงจะสามารถสำรวจความเสียหายบริเวณทางวิ่งทางขับได้ เนื่องจากต้องดำเนินการตามขั้นตอนของระบบวิศวกรรม ที่จะต้องเจาะพื้นเพื่อสำรวจอย่างละเอียด
    อย่างไรก็ตาม สถานการณ์น้ำบริเวณท่าอากาศยานดอนเมือง มีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ โดยระดับน้ำอยู่ที่ 30 - 40 เซนติเมตร นอกจากนี้ทาง ทอท. ยังเตรียมหามาตรการเพื่อป้องกัยระยะยาวต่อไป

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤศจิกายน 2554 14:44 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000147938

    “สุขุมพันธุ์” ยอมเปิด ปตร.คลองทวีวัฒนา สูงขึ้นเพิ่ม ช่วยเหลือคนนนท์ แต่ไม่ยอมลดระดับคันกั้นน้ำ หวั่นคนฝั่งธนฯเจอท่วมซ้ำซาก

    “สุขุมพันธุ์” เผย กทม.จะเปิดประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนาให้สูงขึ้น เพื่อเร่งระบายน้ำช่วยคนนนทบุรี พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติม แต่ปฏิเสธลงความสูงคันกั้นน้ำ เพราะหากน้ำจะเข้ามากเกินกำลังระบาย คนฝั่งธนฯเจอน้ำท่วมซ้ำซาก

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ประสานขอความร่วมมือกับ กทม.ในการช่วยลดความเดือดร้อนของชาวนนทบุรีจากปัญหาน้ำท่วม ว่า ได้มีการประสานแล้ว เบื้องต้น กทม.จะเปิดประตูระบายน้ำ (ปตร.) คลองทวีวัฒนา ให้สูงขึ้น และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำให้ลงคลองทวีวัฒนา คลองภาษีเจริญ และคลองต่างๆ เพื่อให้น้ำไหลลงโคลงการแก้มลิงคลองสนามชัย มหาชัย และลงแม่น้ำท่าจีนโดยเร็ว ส่วนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีร้องขอให้ลดระดับคันกั้นน้ำ ตลอดแนวเขต กทม.และนนทบุรี ระยะทาง 6 กม.นั้น คงไม่สามารถทำได้ เนื่องจากจะส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าในพื้นที่ กทม.ถึงวันละ 7.5 ล้าน ลบ.ม.ซึ่งเกินกำลังการระบายน้ำของ กทม.

    "ทุกวันนี้ พื้นที่ ฝั่งธนบุรี มีปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 5 ล้านลบ.ม.เมื่อรวมกับน้ำที่ท่วมพื้นที่แล้ว ยังอยู่ในภาวะที่รับมือ และระบายลงสู่ช่องทางระบายน้ำได้ แต่หากน้ำมาเพิ่ม อย่างมหาศาล หรือ อีกกว่า 7.5 ล้าน ลบ.ม.อาจทำให้พื้นที่ฝั่งธนบุรี เจอกับปัญหาน้ำท่วมขังซ้ำอีก” ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าว

    ผู้สื่อข่าวถามว่า หากเป็นเช่นนั้น ภายใน 20 วัน สถานการณ์น้ำฝั่งธนบุรีจะยังไม่คลี่คลายไปกว่านี้หรือไม่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ปริมาณน้ำฝั่งธนบุรีมีมาก หากสามารถติดตั้งเครื่องสูบน้ำได้มากอย่างที่ต้องการ เชื่อว่า จะสามารถระบายไปได้เร็ว แต่ปัญหาคือว่า ขณะนี้ไม่สามารถผันน้ำไปได้เร็วตามที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ดังกล่าวมีโครงการแก้มลิงคลองสนามชัย มหาชัย รองรับ และเขตบางขุนเทียน มีพื้นที่ติดทะเล จะยังสามารถระบายน้ำออกไปได้ ขณะนี้ตนอยากขอความร่วมมือไปยังทุกภาคส่วนช่วยประคับประคองสถานการณ์ เชื่อว่า จะไม่นาน ทุกอย่างจะเรียบร้อย

    สำหรับระดับน้ำในหมู่บ้านการเคหะธนบุรี 1 ถนนพระราม 2 เช้าวันนี้ระดับน้ำลดลงกว่า 15 เซนติเมตร ก่อนเข้าซอย 200 เมตร น้ำท่วมสูง 30-60 เซนติเมตร รถเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านได้ ประชาชนต้องอาศัยรถขนาดใหญ่ของทหารและหน่วยงานเอกชนที่มาให้บริการ รวมถึงเรือ

    ส่วนที่คลองลาดลำพู เช้าวันนี้ เจ้าหน้าที่จากเขตบางขุนเทียน ร่วมกับประชาชนจากหมู่บ้านการเคหะธนบุรี 2 และ 3 รวมทั้งหมู่บ้านศรัญญา และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขุดลอกคูคลองเพื่อสามารถระบายน้ำลงคลองสี่บาทได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากก่อนหน้านี้มีขยะสะสมมาก ทำให้การระบายน้ำเป็นไปอย่างล่าช้า

    ด้านนายพงษ์ศักดิ์ พันธุ์สวาสดิ์ ผู้อำนวยการเขตบางขุนเทียน กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมดีขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากกทม.ได้นำเครื่องสูบน้ำมาติดตั้งเพิ่มเติมทำให้การระบายน้ำรวดเร็วขึ้น ขณะนี้น้ำท่วมขังเหลือเพียงร้อยละ 1 ของพื้นที่ ส่วนใหญ่ค้างตามซอยต่างๆ เช่น หมู่บ้านการเคหะธนบุรี 1 และซอยต่างๆ ในถนนพระราม 2 เชื่อว่าหากไม่มีน้ำเหนือไหลลงมาเพิ่มเติม ก่อนปีใหม่นี้พื้นที่บางขุนเทียนน่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

    ส่วนถนนตลิ่งชัน-นครชัยศรี น้ำยังท่วมสูงตั้งแต่ทางลงสะพานยกระดับบรมราชชนนี ทั้งขาเข้าและขาออก ระดับน้ำยังสูง 50 เซนติเมตร ระยะทางยาวถึงพุทธมณฑลสาย 4 ประชาชนที่จะเดินทางยังต้องใช้รถทหาร ชาวบ้านแจ้งว่า แม้ระดับน้ำลดลงต่อเนื่อง แต่บางพื้นที่น้ำยังท่วมสูง เช่น ถนนพุทธมณฑลสาย 3 ระดับน้ำยังสูงกว่า 80 เซนติเมตร ชาวบ้านเรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำออกโดยเร็ว ทำให้การเดินทางยากลำบาก ต้องอาศัยเรือหรือรถขนาดใหญ่ ซึ่งต้องเสียค่าโดยสารไม่ต่ำกว่าเที่ยวละ 100-200 บาท

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤศจิกายน 2554 16:06 น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...word=%a1%b7%c1.

    กทม.ประสาน ศปภ.เร่งระบายน้ำคลองหกวาสายล่าง-คลองมหาสวัสดิ์

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงว่า ได้ทำหนังสือถึงศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ.เพื่อให้ดูแลเรื่องการระบายน้ำให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะคลองหกวาสายล่าง ที่จะระบายน้ำฝั่งตะวันออกกรุงเทพมหานคร และคลองมหาสวัสดิ์ กรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตก
    กรณีข้อเรียกร้องของชาว จ.นนทบุรี ให้เปิดประตูระบายน้ำเป็น 1 เมตร ขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินการได้ ต้องขอเวลาประเมินอีกสักระยะ เพราะหากเปิดกว้างเกินไปจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่กรุงเทพมหานคร

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤศจิกายน 2554 19:24 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1.

    >> พิจิต <<


    ชาวพิจิตจมน้ำ 1 ม.กว่า 6 เดือนไม่มีทีท่าลดลง

    ระดับน้ำใน อ.สามง่าม โพธิ์ประทับช้าง บึงนาราง และโพธิ์ทะเล จ.พิจิตร ยังสูงเกือบ 1 เมตร ทำให้ชาวบ้านเกือบ 10,000 ครัวเรือน ต้องประสบปัญหาน้ำท่วมขังนานกว่า 6 เดือนแล้ว โดยระดับน้ำยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลง
    นอกจากนี้ ในช่วงเช้าและกลางคืนยังประสบกับภัยหนาว หลังมวลอากาศเย็นเข้าปกคลุมพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17 องศา ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังขาดแคลนเครื่องกันหนาว และยังไม่มีหน่วยงานรัฐให้การช่วยเหลือ


    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤศจิกายน 2554 13:11 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000147901

    >> นนทบุรี <<


    คนเมืองนนท์บุกห้องประชุมทวงถามแก้น้ำท่วม

    ชาวบ้านใน จ.นนทบุรี กว่า 300 คน ที่มารอฟังคำตอบการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมจากทาง จ.นนทบุรี ได้บุกเข้าห้องประชุมชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี ซึ่งภายในห้องดังกล่าว ทางจังหวัดได้มีการประชุมหารือในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ซึ่งบรรยากาศภายในห้องประชุมหลังจากที่ประชาชนเข้ามาเป็นไปด้วยความตึงเครียด เพราะชาวบ้านที่เข้ามามีความเดือดร้อน ทำให้บางคนมีอารมณ์ที่รุนแรง

    อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ประชาชนใน จ.นนทบุรี เรียกร้องคือ เมื่อไหร่น้ำที่ท่วมใน จ.นนทบุรี จะลด รวมทั้ง การที่กรุงเทพมหานคร เปิดประตูระบายน้ำ 50 เซนติเมตร ที่ประตูระบายน้ำ 6 แห่ง ที่เชื่อมกับคลองมหาสวัสดิ์ เพื่อช่วยระบายน้ำ จ.นนทบุรี ลงสู่แม่น้ำท่าจีน อยากทราบว่าจะทำให้ระดับน้ำใน จ.นนทบุรี ลดลงเท่าใด รวมทั้ง ชาวบ้านต้องการให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาชี้แจงในรายละเอียดด้วยตนเอง

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤศจิกายน 2554 14:41 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000147937

    น้ำท่วมเมืองนนท์ 500 โรงงานจม แรงงานยังไม่ถูกเลิกจ้าง

    นายธาราธร สมิทธิภานนท์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรม จ.นนทบุรี เปิดเผยถึงภาคอุตสาหกรรมใน จ.นนทบุรี ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ว่า ในเขตบางบัวทอง ไทรน้อย มีโรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 500 โรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ อาหาร เครื่องสำอาง และให้หยุดการประกอบธุรกิจชั่วคราวแล้ว ซึ่งขณะนี้ ยังไม่สามารถประเมินมูลค่าความเสียหาย เนื่องจากโรงงานยังถูกน้ำท่วม แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้รับร้องเรียนว่าแรงงานถูกเลิกจ้าง
    ทั้งนี้ ทางภาคเอกชน เข้าใจสถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดดี เพราะขณะนี้ ระดับน้ำในจังหวัดยังคงท่วมสูงอยู่ แต่เมื่อการกู้ถนนทางหลวงหมายเลข 340 ตลิ่งชัน - สุพรรณบุรี เป็นผลสำเร็จ ทำให้การฟื้นฟูโรงงานเป็นไปได้เร็วขึ้น รวมทั้งการคมนาคมขนส่งและการเดินทางของประชาชนเป็นไปอย่างไม่ติดขัด

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤศจิกายน 2554 14:49 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000147941

    ทางหลวงหมายเลข 9 มุ่งหน้า 340 รถสัญจรค่อนข้างมาก

    สถานการณ์น้ำท่วมใน อ.บางบัวทอง ตั้งแต่หน้าวัดลาดปลาดุก ยังคงมีน้ำท่วมขังประมาณ 50 - 60 เซนติเมตร ส่วนทางหลวงหมายเลข 9 ที่มุ่งหน้าตัดกับทางหลวงหมายเลข 340 (บางบัวทอง - สุพรรณบุรี) ได้มีการวางแนวบิ๊กแบ็ก และถุงทรายขนาดเล็ก ป้องกันน้ำทั้ง 2 ฝั่งถนน ไม่ให้ไหลเข้าท่วมเลนกลาง เพื่อให้รถนั้นสามารถสัญจรไปทางหลวงหมายเลข 340 ได้ โดยขณะนี้มีรถสัญจรค่อนข้างมาก แต่ในบางจุดอาจจะมีน้ำท่วมขังเล็กน้อย ซึ่งได้มีการสูบน้ำออกแล้ว
    ทั้งนี้บ้านเรือนประชาชนและหมู่บ้านที่ตั้งติด 2 ฝั่งถนน อาทิ หมู่บ้าน ป.ผาสุขนิเวศน์ มีระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 60 - 70 เซนติเมตร

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤศจิกายน 2554 15:13 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000147957

    ชาวนนท์รวมตัวปิด ถ.รัตนาธิเบศร์ กดดันเปิด ปตร.

    ชาวชุมชนใน 3 อำเภอของ จ.นนทบุรี ได้แก่ อ.บางบัวทอง บางใหญ่ และบางกรวย เดินทางมาที่ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี ทวงสัญญากับทางผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องให้ประสานงานกับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ขอเปิดประตูระบายน้ำเพิ่ม เพื่อให้น้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ระบายออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และออกสู่ทะเลโดยเร็ว
    ทั้งนี้รองผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าหน้าที่กรมชลประทานได้เข้าร่วมเจรจา พร้อมแสดงหนังสือที่ทางกรุงเทพมหานครแจ้งกลับมาว่า จะเปิดประตูระบายน้ำต่างๆ ที่อยู่ริมคลองมหาสวัสดิ์ขึ้นเป็น 50 เซนติเมตร แต่ชาวบ้านยังไม่พอใจเรียกร้องให้เปิดขึ้นเป็น 1 เมตร พร้อมเปิดประตูระบายน้ำเพิ่มอีก 3 จุด คือ ประตูระบายน้ำบางพลัด บางอ้อ และบางบำหรุ ทางรองผู้ว่าราชการจังหวัดได้โทรศัพท์ไปยังผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่มีเพียงเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครรับสาย สร้างความไม่พอใจให้กับชาวบ้าน และทั้งหมดได้ชักชวนกันไปพังแนวคันกั้นน้ำริมคลองมหาสวัสดิ์ โดยลุกออกจากห้องประชุมทันที
    ล่าสุดชาวบ้านได้รวมตัวปิดถนนรัตนาธิเบศร์บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดนนทบุรี

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤศจิกายน 2554 16:25 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000147985

    ชาวนนท์รวมตัวปิด ถ.รัตนาธิเบศร์ จี้เปิดประตูมหาสวัสดิ์ 1 ม.

    ชาวบ้านนนทบุรี รวมตัวปิดถนนรัตนาธิเบศร์หน้าศาลากลางจังหวัด หวังจี้ “กทม.” ให้ยอมเปิดประตูน้ำในคลองมหาสวัสดิ์1 เมตร เพื่อหวังได้กลับเข้าบ้านภายในวันที่ 1 ธ.ค.นี้





    วันนี้ (20 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวชุมชนใน 3 อำเภอของ จ.นนทบุรี ได้แก่ อ.บางบัวทอง บางใหญ่ และบางกรวย เดินทางมาที่ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี ทวงสัญญากับทางผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องให้ประสานงานกับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ขอเปิดประตูระบายน้ำเพิ่ม เพื่อให้น้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ระบายออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และออกสู่ทะเลโดยเร็ว


    ทั้งนี้รองผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าหน้าที่กรมชลประทานได้เข้าร่วมเจรจา พร้อมแสดงหนังสือที่ทางกรุงเทพมหานคร แจ้งกลับมาว่า จะเปิดประตูระบายน้ำต่างๆ ที่อยู่ริมคลองมหาสวัสดิ์ขึ้นเป็น 50 เซนติเมตร แต่ชาวบ้านยังไม่พอใจเรียกร้องให้เปิดขึ้นเป็น 1 เมตร พร้อมเปิดประตูระบายน้ำเพิ่มอีก 3 จุด คือ ประตูระบายน้ำบางพลัด บางอ้อ และ บางบำหรุ ทางรองผู้ว่าราชการจังหวัดได้โทรศัพท์ไปยังผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่มีเพียงเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครรับสาย สร้างความไม่พอใจให้กับชาวบ้าน และทั้งหมดได้ชักชวนกันไปพังแนวคันกั้นน้ำริมคลองมหาสวัสดิ์ โดยลุกออกจากห้องประชุมทันที พร้อมกับไปรวมตัวกันปิดถนนรัตนาธิเบศร์ เพื่อประท้วง

    ความคืบหน้าล่าสุด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวจังหวัดนนทบุรีได้เสนอข้อเรียกร้อง 4 ข้อ คือ 1.ให้เปิดประตูระบายน้ำที่เชื่อมคลองมหาสวัสดิ์ ทุกประตูภายในวันนี้ ให้สูง 1 เมตร 2.ให้เร่งซ่อมคันดินแม่น้ำเจ้าพระยาและบางบัวทองให้เร็วที่สุด 3.ให้เร่งระบายน้ำออกจากจังหวัดนนทบุรี ทุกอำเภอ จนอยู่ในระดับที่จะกลับเข้าบ้านได้ 4.ให้ประกาศพื้นที่ของจ.นนทบุรีเป็นพื้นที่ภัยพิบัติพิเศษ รวมถึงเงินเยียวยาที่จะได้รับพิเศษด้วย

    ล่าสุด ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ยืนยันจะเร่งนำข้อเสนอดังกล่าวประสานกับศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมหรือ (ศปภ.) พร้อมจะเร่งระบายน้ำออกให้เร็วที่สุด ซึ่งทำให้ชาวบ้านบางส่วนพอใจ แต่ได้นัดเพื่อจะกลับมาฟังผลทางปฏิบัติอีกครั้งในวันอังคารที่ 23 พฤศจิกายนนี้เวลา 10.00 น.

    ชาวบ้านจึงได้ตัดสินใจนั่งปิดถนนรัตนาธิเบศร์ ทั้ง 2 ฝั่ง ทำให้การจราจรติดขัด มาเมื่อเวลา 15.20 น.จึงยอมเปิดถนนรัตนาธิเบศร์ขาออก 1 เลน ในช่องทางหลัก หลังจากที่เจ้าหน้าที่ได้เจรจา แต่ยังไม่ยอมเปิดด้านคู่ขนาน











    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤศจิกายน 2554 18:38 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000148032

    ชาวนนท์โวย กทม.ไม่เปิด ปตร.บีบผู้ว่าฯนนท์ บุกปิดถนนหน้าศาลากลาง



    ชาวบ้านกว่า 200 คน จาก อ.บางบัวทอง อ.บางกรวย อ.บางใหญ่ และ อ.ไทรน้อย โวยไม่พอใจคำชี้แจงแก้ปัญหาน้ำท่วม บุกปิดถนนหน้าศาลากลางจังหวัดกดดันบี้ผู้ว่าฯนนท์ ประสาน กทม.เปิดประตูระบายน้ำในคลองมหาสวัสดิ์ เพื่อระบายน้ำ ขู่รื้อกระสอบทรายที่คลองมหาสวัสดิ์

    เมื่อเวลา 13.00 น.วันนี้ (20 พ.ย.) ที่ห้องประชุมใหญ่ศาลากลาง จ.นนทบุรี ชาวบ้านกว่า 200 คน จาก อ.บางบัวทอง อ.บางกรวย อ.บางใหญ่ และ อ.ไทรน้อย ได้เข้าฟังคำชี้แจงถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาการป้องกันน้ำท่วม จากนายประดิษฐ์ สุคนธสวัสดิ์ รอง ผวจ.นนทบุรี หลังจากที่มีการรับปากว่าจะมีการเปิดประตูระบายน้ำในคลองมหาสวัสดิ์เพื่อระบายน้ำ

    ด้าน นายประดิษฐ์ กล่าวว่า ทาง จ.นนทบุรี มิได้นิ่งนอนใจได้ประสานกับทาง กทม.เพื่อเปิดประตูระบายน้ำไปแล้วหลายคลองตามข้อเรียกร้อง อีกทั้งยังขอเครื่องสูบน้ำจากทาง ศปภ.มาเพิ่ม คาดว่าระดับน้ำจะลดลง

    ระหว่างนั้นได้มีตัวแทนชาวบ้านเข้ามาร้องเรียนและโวยวายเสียงดังในห้องประชุม ว่า หลังจากที่ กทม.เปิดประตูระบายน้ำให้แล้วนั้น เมื่อชาวบ้านเดินทางกลับปรากฏว่าทาง กทม.ได้ปิดประตูระบายน้ำทันที สร้างความไม่พอใจให้กลับผู้ที่เข้าร่วมประชุม จนนายฉลอง เรี่ยวแรง และ นายอุดม รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี ต้องขอให้ทุกคนอยู่ในความสงบ ก่อนที่จะเจรจาต่อรองให้กับนายประดิษฐ์ เพื่อต่อสายโทรศัพท์คุยกับ ผ.อ.สำนักระบายน้ำ ขอยื่นเงื่อนไขเพิ่มเติมเปิดประตูระบายน้ำทุกคลองใน จ.นนทบุรี เป็น 1 เมตร จาก 50 ซม.แต่ทาง ผอ.สำนักระบายน้ำไม่สามารถตัดสินใจได้ขอหารือกับทางผู้ว่าฯ กทม.ก่อน สร้างความไม่พอใจให้กับผู้ร่วมประชุมและต่างส่งเสียงโวยวาย เพราะเชื่อว่าน้ำจะไม่ลดลงอย่างแน่นอนในวันที่ 1 ธ.ค.54 ทุกคนจึงรวมตัวกันประท้วงเพื่อจะไปรื้อคันกระสอบทรายที่ประตูระบายน้ำคลองมหาสวัสดิ์ แต่เนื่องจากหารถไปไม่ได้จึงพากันปิดถนนหน้าศาลากลาง จ.นนทบุรี ประท้วงแทน จนเป็นสาเหตุให้รถติดเป็นระยะทางยาว โดยต้องการทราบคำตอบภายในวันนี้และเรียกร้องให้นายวิเชียร พุฒิวิญญู ผู้ว่าฯ จ.นนทบุรี ออกมาเจรจากับชาวบ้าน แต่ทาง ผวจ.นนทบุรี ติดภารกิจรับเสด็จ หม่อมเจ้าศรีรัศมิ์ ที่เสด็จเยี่ยมชมคลองมหาสวัสดิ์ มาไม่ได้ จึงให้รอง ผวจ.มาเจรจา และชี้แจงแทน

    ต่อมาชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วมต่างไม่พอใจคำชี้แจงของทางจังหวัดนนทบุรี จึงได้รวมตัวกันลงมาประท้วงปิดถนนหน้าศาลากลางจังหวัดนนทบุรี โดยมี พ.ต.อ.สมศักดิ์ชัย อมรส่งเจริญ ผกก.สภ.เมืองนนทบุรี นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจนับร้อยนายมารักษาความสงบ ซึ่งกลุ่มชาวบ้านเรียกร้องต้องการพบ นายวิเชียร พุฒิวิญญู เพื่อขอคำตอบที่น่าพอใจ ทำให้การจราจรหน้าศาลากลางเป็นอัมพาตรถไม่สามารถวิ่งผ่านไปได้ ทำให้ผู้ขับรถจำนวนมากต่างพากันลงมาจากรถ และประจันหน้ากันกับกลุ่มผู้ประท้วงจนเกือบจะวางมวยกันกลางถนน ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเจรจาอยู่นานกลุ่มผู้ประท้วงจึงยอมเปิดถนนให้ 1 ช่องทาง

    เวลาเดียวกันนั่นเองนายประดิษฐ์ สุคนธสวัสดิ์ รอง ผวจ.นนทบุรี ได้เดินทางมาเจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง พร้อมทั้งชี้แจงว่าทางจังหวัดนนทบุรีได้ประสานไปทาง กทม.และได้รับคำตอบกลับมาว่ายินดีเปิดประตูระบายน้ำตามคลองต่างๆ ที่ชาวบ้านต้องการให้แล้วในเบื้องต้น 50 ซม.พร้อมขอเครื่องสูบน้ำมาเพิ่มอีกหลายร้อยเครื่อง โดยคาดว่าจะทำให้ระดับน้ำในพื้นที่ต่างๆ ลดลง ทำให้ชาวบ้านต่างพอใจและนัดมาฟังผลกากรดำเนินการต่างๆ ที่ทางจังหวัดพูดไว้ว่ามีความคืบหน้าแค่ไหน ก่อนนัดมารวมตัวกันอีกครั้งในวันอังคารที่ 22 พ.ย.54 เวลา 11.00 น.จากนั้นจึงแยกย้ายกันกลับไป

    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤศจิกายน 2554 19:05 น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...word=%a1%b7%c1.

    ม็อบนนท์สลายตัวพอใจ กทม.เปิด ปตร.มหาสวัสดิ์-บางพลัด

    นายประดิษฐ์ สุคนธสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี เปิดเผยหลังเข้าเจรจาชาวบ้านที่เปิดถนนรัตนาธิเบศร์หน้าศาลากลาง เรียกร้องให้ กทม. และ ศปภ. เปิดประตูระบายน้ำในว่า ล่าสุดชาวบ้านยินยอมเปิดถนน หลังทางตัวแทน กทม. และ ศปภ. เข้าเจรจา พร้อมเปิดประตูระบายน้ำ ในคลองมหาสวัสดิ์ คลองบางพลัด โดยชาวบ้านพอใจในข้อตกลงดังกล่าว โดยในวันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน แกนนำชาวบ้านจะรวมตัวกันอีกครั้ง เพื่อประเมินระดับน้ำในพื้นที่ หลังมีการเปิดประตูระบายน้ำในคลองต่างๆ ร่วมกับ กทม. และ ศปภ. อีกครั้ง
    ด้าน พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ โฆษก ศปภ. กล่าวว่า ในวันอังคารนี้ จะลงพื้นที่ร่วมรับฟังปัญหา กับตัวแทนชาว จ.นนทบุรี อีกครั้ง โดยได้แสดงความเห็นใจชาวบ้าน ที่ได้รับความเดือดร้อนที่ถูกน้ำท่วม และยอมรับว่า การเข้าไปดูแลชาวบ้านของเจ้าหกน้าที่รัฐ ไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร ซึ่งทำให้มีการประท้วง

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤศจิกายน 2554 19:05 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...word=%a1%b7%c1.

    >> พระนครศรีอยุธยา <<


    3 กระทรวงหลักจับมือฟื้นฟูนิคมฯ บางปะอิน นำร่องเปิด 5 แห่ง ธ.ค.นี้

    นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการ จ.พระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า วันพรุ่งนี้ (21 พ.ย.) เวลา 09.30 น. กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงสาธารณสุข ได้จับมือรวมพลังคืนพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน โดยจะนำร่องฟื้นฟูอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 5 แห่ง ซึ่งทางจังหวัดจัดทำแผนปฏิบัติการฟื้นฟู 58 วัน คือระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม - 16 ธันวาคม 2554 ทั้งในเรื่องการทำให้น้ำไหลผ่านนิคมฯ และเขตอุตสาหกรรม ลดปริมาณน้ำเข้าสู่กรุงเทพมหานคร เพิ่มการระบายน้ำและลดระดับน้ำให้ได้ประมาณ ร้อยละ 50 สูบน้ำและกู้พื้นที่ให้เข้าไปยังโรงงานได้ ผู้ประกอบการเข้าซ่อมแซมอุปกรณ์ ปรับปรุงโรงงาน และเริ่มประกอบกิจการ และแรงงานเข้าทำงานได้ในวันที่ 16 ธันวาคมนี้
    ผู้ว่าราชการ จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวอีกว่า สำหรับนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน ในวันที่ 1-15 ธันวาคม คาดว่า จะมีโรงงานเปิดทำการได้ 60-70 โรง จากทั้งหมด 90 โรง

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤศจิกายน 2554 15:25 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...c2%d8%b8%c2%d2

    3 กระทรวงหลักจับมือฟื้นฟูนิคมฯ บางปะอิน นำร่องเปิด 5 แห่ง ธ.ค.นี้

    นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการ จ.พระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า วันพรุ่งนี้ (21 พ.ย.) เวลา 09.30 น. กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงสาธารณสุข ได้จับมือรวมพลังคืนพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน โดยจะนำร่องฟื้นฟูอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 5 แห่ง ซึ่งทางจังหวัดจัดทำแผนปฏิบัติการฟื้นฟู 58 วัน คือระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม - 16 ธันวาคม 2554 ทั้งในเรื่องการทำให้น้ำไหลผ่านนิคมฯ และเขตอุตสาหกรรม ลดปริมาณน้ำเข้าสู่กรุงเทพมหานคร เพิ่มการระบายน้ำและลดระดับน้ำให้ได้ประมาณ ร้อยละ 50 สูบน้ำและกู้พื้นที่ให้เข้าไปยังโรงงานได้ ผู้ประกอบการเข้าซ่อมแซมอุปกรณ์ ปรับปรุงโรงงาน และเริ่มประกอบกิจการ และแรงงานเข้าทำงานได้ในวันที่ 16 ธันวาคมนี้
    ผู้ว่าราชการ จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวอีกว่า สำหรับนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน ในวันที่ 1-15 ธันวาคม คาดว่า จะมีโรงงานเปิดทำการได้ 60-70 โรง จากทั้งหมด 90 โรง

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤศจิกายน 2554 15:25 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000147964

    ผู้เชี่ยวชาญชี้โบราณสถาน “อยุธยา” เสี่ยงพังทลายหลังผ่านอุทกภัยครั้งใหญ่



    ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณสถานเตือน อุทกภัยซึ่งท่วมขังเกาะเมืองอยุธยานานหลายสัปดาห์อาจบั่นทอนฐานรากของสิ่งปลูกสร้างเก่าแก่ จนเกิดการพังทลายลงในที่สุด

    เอเอฟพี - แม้โบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจะยืดหยัดผ่านกาลเวลามานานหลายร้อยปี แต่ผู้เชี่ยวชาญกังวลว่า อุทกภัยซึ่งท่วมขังแผ่นดินกรุงเก่านานนับเดือนอาจส่งผลให้โบราณสถานบางแห่งเกิดการพังทลาย


    ปริมาณฝนที่มากผิดปกติในฤดูมรสุมปีนี้ทำให้มวลน้ำมหาศาลไหลบ่าจากภาคเหนือลงมาท่วมที่ราบลุ่มภาคกลางของไทยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม กระแสน้ำได้คร่าชีวิตประชาชนไปกว่า 600 ราย และอีกหลายล้านคนต้องสูญเสียบ้านเรือนรวมถึงวิถีชีวิตของตนเอง

    พระนครศรีอยุธยา ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางเหนือราว 80 กิโลเมตร เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยหนักหนาสาหัสที่สุด ภาพถ่ายทางอากาศเผยให้เห็นวัดวาอารามและโบราณสถานประหนึ่งจมอยู่กลางทะเลสาบขนาดใหญ่

    สิ่งปลูกสร้างอายุหลายร้อยปีต้องจมอยู่ใต้น้ำขุ่นข้นนานหลายสัปดาห์ ส่งผลให้เจดีย์สำคัญในเมืองมรดกโลกแห่งนี้เริ่มปรากฎรอยร้าว

    หลังจากระดับน้ำในอยุธยาลดลงจนเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ทางการจึงประกาศเตือนนักท่องเที่ยวไม่ให้ปีนป่ายขึ้นไปบนตัวโบราณสถาน เพราะอาจเกิดการพังทลายได้

    ชัยนันท์ บุษยรัตน์ ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ประเมินความเสียหายในครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 650 ล้านบาท และชี้ว่ายังไม่อาจสรุปผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดได้

    “โครงสร้างโบราณสถานไม่ได้ถูกออกแบบให้รับน้ำหนัก (น้ำ) มากขนาดนี้ น้ำซึ่งท่วมขังเป็นเวลานานยังทำให้พื้นดินอ่อนตัว ซึ่งจะส่งผลให้ฐานรากของโบราณสถานไม่มั่นคง อาคารบางแห่งอาจจมลง หรือที่ร้ายที่สุดก็อาจจะถล่มลงมา” ชัยนันท์ ให้สัมภาษณ์

    ขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ใจกลางเมืองอยุธยาน้ำเริ่มแห้ง แต่วัดวาอารามซึ่งตั้งอยู่รอบนอกอุทยานประวัติศาสตร์ยังคงมีน้ำท่วมขัง

    เกาะเมืองอยุธยาตั้งอยู่กลางวงล้อมของแม่น้ำ 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี ซึ่งทำให้โบราณสถานบนเกาะเสี่ยงต่ออุทกภัยเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก

    ผู้เชี่ยวชาญด้านมรดกโลกจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ซึ่งไม่ขอเปิดเผยชื่อ อธิบายว่า ในอดีตเกาะเมืองอยุธยาเคยมีเครือข่ายลำคลองอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งช่วยระบายน้ำไม่ให้ท่วมเมือง

    “ปัจจุบันลำคลองหลายสายถูกถม หรือไม่ก็ตื้นเขินไปตามกาลเวลา” ผู้เชี่ยวชาญรายนี้กล่าว หลังเจ้าหน้าที่ยูเนสโกลงพื้นที่สำรวจความเสียหายบนเกาะเมืองอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดี(17)

    “มีความกังวลว่า รากฐานของโบราณสถานบางแห่งอาจได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ซึ่งจะทำให้โบราณสถานเหล่านั้นไม่มั่นคงแข็งแรงอีกต่อไป... แต่เวลานี้คงยากที่จะสรุปว่า ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นรุนแรงเกินว่าตัวโบราณสถานจะรับได้ หรือยังอยู่ในระดับที่รับไหว”

    ที่วัดพระราม ชัยนันท์ ชี้ให้ดูรอยแตกแนวดิ่งบนโครงสร้างอิฐ ซึ่งมีความยาวร่วม 2 เมตร

    “ผมว่ารอยแตกคงจะเกิดในช่วงที่น้ำท่วม สำหรับเจดีย์ขนาดเล็กนี่ยังถือว่าไม่รุนแรง แต่ถ้าเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักหลายตัน จะน่าเป็นห่วงและน่ากลัวมากกว่าสำหรับผม”

    อย่างไรก็ดี สิ่งที่หลายฝ่ายกังวลมากที่สุดก็คือ ความจำเป็นที่จะต้องเปิดโบราณสถานอยุธยาให้นักท่องเที่ยวเข้าชมอีกครั้ง

    กระแสน้ำแห้งเหือดไป ทิ้งไว้เพียงเศษขยะและสิ่งปฏิกูลกระจัดกระจายอยู่เต็มพื้นที่ ตั้งแต่ถุงพลาสติกไปจนถึงกิ่งไม้หัก

    สุนีวรรณ พุดซ้อน วัย 65 ปี หนึ่งในพนักงานทำความสะอาดซึ่งกำลังเก็บกวาดขยะรอบๆองค์พระพุทธไสยาสน์ วัดโลกยสุธาราม บอกว่า เธอและเพื่อนๆตั้งใจจะทำให้โบราณสถานแห่งนี้กลับมางดงามอีกครั้ง แต่ก็ไม่ใช่งานที่ง่าย เพราะระหว่างน้ำท่วมมีชาวบ้านบางคนหนีน้ำขึ้นมาอาศัยบนโบราณสถาน และทิ้งเศษขยะเอาไว้เกลื่อนกลาด ไม่เว้นแม้กระทั่งซากรถตุ๊กตุ๊ก

    “ฉันก็รู้สึกเสียใจ เพราะนี่เป็นโบราณสถานเก่าแก่และเป็นแหล่งท่องเที่ยว เราก็ควรจะช่วยกันปกป้องไว้ แต่เราไม่รู้ว่าน้ำจะมามากขนาดนี้ ไม่เคยเกิดเหตุการณ์อย่างนี้มาก่อน” สุนีวรรณ กล่าว





    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤศจิกายน 2554 15:37 น.
    http://www.manager.co.th/Around/View...c2%d8%b8%c2%d2

    >> บุรีรัมย์ <<


    พิษน้ำท่วมกรุง “นกแอร์” หยุดบิน “กทม.-บุรีรัมย์” ไร้กำหนด

    บุรีรัมย์ - ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ อ.สตึก ประกาศแจ้งผู้ใช้บริการสายการบินนกแอร์ กรุงเทพฯ-บุรีรัมย์ ยังระงับให้บริการอย่างไม่มีกำหนด จนกว่าสถานการณ์น้ำท่วมที่สนามบินดอนเมืองคลี่คลายและสามารถเปิดทำการได้ปกติ ขณะประชาชน นักธุรกิจ ยังโทรศัพท์สอบถามต่อเนื่อง

    วันนี้ (20 พ.ย.) นายสมหมาย ไชยนิจ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานบุรีรัมย์ อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ เปิดเผยว่า ขอแจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน นักธุรกิจ และผู้โดยสาร ที่ใช้บริการเดินทางกับสายการบินนกแอร์ ทราบว่า ทางสายการบินนกแอร์ยังระงับให้บริการเที่ยวบิน บุรีรัมย์-กรุงเทพมหานคร ออกไปอีกโดยไม่มีกำหนดหรือจนกว่าสถานการณ์น้ำท่วมที่ท่าอากาศยานดอนเมืองจะคลี่คลาย และสามารถเปิดทำการบินได้ปกติ จากที่ก่อนหน้านี้ได้ประกาศระงับการบินชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 28 ต.ค.-10 พ.ย.2554 เนื่องจากน้ำได้เอ่อท่วมขังรันเวย์ของท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งเป็นฐานการบินของสายการบินนกแอร์ ทำให้ไม่สามารถนำเครื่องบินลงจอดได้


    นายสมหมาย ไชยนิจ ผอ.ท่าอากาศยานบุรีรัมย์

    ทั้งนี้ สายการบินนกแอร์ ได้เปิดให้บริการเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-บุรีรัมย์ สัปดาห์ละ 2 วัน คือ วันศุกร์ และวันอาทิตย์ เดินทางออกจากกุรงเทพเวลา 15.00 น.ถึงบุรีรัมย์ เวลา 16.05 น.และ เที่ยวขากลับ ออกจาก จ.บุรีรัมย์ เวลา 16.35 น.ถึงท่าอากาศยานดอนเมืองเวลา 17.40 น.ซึ่งขณะนี้ได้มีผู้โดยสารโทรศัพท์มาติดต่อสอบถาม และมาจองตั๋วด้วยตนเองหลายรายแต่ต้องผิดหวัง อย่างไรก็ตาม หากมีการเปลี่ยนแปลงทางท่าอากาศยานจะแจ้งให้ผู้โดยสารที่จะมาใช้บริการได้ทราบอีกครั้ง

    สำหรับสายการบินของบริษัทนกแอร์ เส้นทาง กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี, จ. อุดรธานี และ จ.สกลนคร ขณะนี้ยังเปิดทำการบินตามปกติ เนื่องจากทางสายการบินได้ย้ายฐานการบินไปขึ้น-ลงจอดที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแทนชั่วคราว

    นายสมหมาย กล่าวต่อว่า สำหรับท่าอากาศยานบุรีรัมย์มีสายการบินนกแอร์เพียงสายการบินเดียวที่มาเปิดให้บริการ ดังนั้น การหยุดให้บริการครั้งนี้ ได้ส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการสายการบิน นักธุรกิจ และประชาชนที่ต้องการเดินทางโดยสารเครื่องบิน เพื่อไปต่างจังหวัด ติดต่อราชการ หรือติดต่องานด้านธุรกิจเป็นอย่างมาก จึงขออภัยในความสะดวกในครั้งนี้ด้วยและเชื่อว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะเข้าสู่สภาวะปกติ และจะสามารถเปิดไฟท์บินบริการประชาชนได้ตามปกติในไม่ช้านี้ เพราะหลายฝ่ายกำลังเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาอยู่

    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤศจิกายน 2554 16:51 น.
    http://www.manager.co.th/Local/ViewN...word=%a1%b7%c1.
  19. IAm
    IAm

    28 พฤศจิกายน 2554
    ==================================================



    “ในหลวง” และ “พระราชินี” พระราชทานถุงยังชีพแก่ผู้ประสบอุทกภัยในพัทลุง

    พัทลุง - ในหลวง และ พระราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถุงยังชีพแก่ชาวบ้านที่ประสบอุทกภัยใน อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

    วันนี้ (28 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพัทลุงว่า ที่บ้านปากคลองเก่า ม.ที่ 2 ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน พ.อ.อนุวัฒน์ ธรรมจักร ผบก.กองพันทหารช่าง 402 ค่ายอภัยบริรักษ์ ได้นำถุงยังชีพพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จำนวน 200 ชุด มอบให้ชาวบ้านผู้ประสบภัยในพื้นที่บ้านปากคลองเก่า ม.ที่ 2 ต.มะกอกเหนือ และหมู่ที่ 9 ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

    หลังจากชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าวประสบภัยน้ำท่วมมานานกว่า 7 วัน และสถานการณ์น้ำยังท่วมสูง ถนนในหมู่บ้านยังไม่สามารถใช้สัญจรผ่านไปมาได้





    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554 17:32 น.
    http://www.manager.co.th/Local/ViewN...=9540000151626


    >> กรุงเทพฯ <<



    กทม.เตรียมแผน 3 ระยะดูแลเมืองกรุงให้ปลอดน้ำท่วม

    กทม.เตรียมแผนฟื้นฟู เยียวยา ป้องกันภายหลังน้ำลดเผยระยะสั้น 90 วัน เน้นดูแลจิตใจประชาชน ระยะกลางเน้นประสิทธิภาพการระบายน้ำ ส่วนระยะยาวเตรียมพัฒนาระบบลำเลียงน้ำ

    วันนี้ (28 พ.ย.) ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) แพทย์หญิงมาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าฯ กทม. เป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำและการแก้ไขในพื้นที่ก ทม. ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์ฟื้นฟู เยียวยา ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554 โดย กทม.จะเร่งประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน เพื่อฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยในทุกมิติอย่างรวดเร็ว พร้อมวางระบบบริหารจัดการน้ำท่วม และลดความสูญเสียของกทม.ในอนาคต แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ มาตรการระยะสั้น (90 วัน), มาตรการระยะปานกลาง (1 ปี) และมาตรการระยะยาว (มากกว่า 1 ปี) โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับ พร้อมกำหนดกิจกรรมและระยะเวลาในการดำเนินงานต่อไป

    **ระยะสั้นเร่งเยียวยาจิตใจประชาชน

    สำหรับมาตรการระยะสั้นจะเร่งเยียวยาประชาชนในพื้นที่ประสบภัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ พร้อมเร่งสำรวจข้อมูล และการจ่ายเงินชดเชยความเสียหาย สร้างโอกาสทางธุรกิจ เช่น การฝึกอาชีพ การจัดหาแหล่งงาน แหล่งเงินกู้ จัดสรรงบประมาณเร่งด่วนในการปรับปรุงทางกายภาพในพื้นที่ชุมชน พื้นที่สาธารณะ ปรับปรุงทางระบายน้ำ ภูมิทัศน์ บูรณะศาสนสถาน ซ่อมแซมโรงเรียน ดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

    **ระยะกลางเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ

    ในส่วนของมาตรการระยะปานกลาง เน้นเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำระบบคลองและแนวป้องกันน้ำท่วมที่ยังมีจุดอ่อนรองรับการระบายน้ำในปี 2555 โดยขุดลอกคลอง 2,000 แห่ง ก่อสร้างเขื่อนถาวรในแนวป้องกันน้ำท่วมที่ยังมีจุดอ่อน จัดการอุปสรรคขวางทางระบายน้ำต่างๆ พร้อมติดตั้งเครื่องเร่งผลักดันน้ำในคูคลองออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและอ่าวไทย จัดวางระบบการประสานงานและให้มีระบบเตือนภัยให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งจัดระบบข้อมูลสารสนเทศให้ประชาชนสามารถติดตามสถานการณ์น้ำท่วม และให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการวางแผนฟื้นฟูเมืองและป้องกันน้ำท่วมในอนาคต

    **เตรียมพัฒนาระบบลำเลียงน้ำและระบบป้องกันน้ำท่วมในระยะยาว

    นอกจากนี้ กทม.ยังได้เตรียมแผนฟื้นฟูฯ ระยะยาวโดยเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการลำเลียงน้ำและระบบป้องกันน้ำท่วม เช่น อุโมงค์ และระบบระบายน้ำต่างๆ ขุดลอกคลองขนาดเล็ก-ใหญ่ พร้อมปรับปรุงกฎหมาย ผังเมือง และกำหนดมาตรการดูแลผู้ถูกรอนสิทธิ สร้างระบบฐานข้อมูลการบริหารจัดการน้ำให้รองรับการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจังหวัดใกล้เคียง

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554 13:05 น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...=9540000151465

    ชาวการ์เด้นโฮมร้อง ศปภ.เร่งระบายน้ำ-ขอเครื่องสูบน้ำ

    นายอดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ อดีตอธิบดีกรมวิชาการส่งเสริมการเกษตร แกนนำชุมชนหหมู่บ้านการ์เด้นโฮม ได้นำชาวชุมชนยื่นหนังสือและข้อเรียกร้องต่อ ศปภ.โดยมีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรับเรื่อง
    ชาวชุมชนการ์เด้นโฮม ยืนยันว่า ตลอดระยะเวลาที่น้ำท่วมขังกว่าเดือนเศษ ในหมู่บ้านนั้นน้ำอยู่ในระดับ 1-1.50 เมตร ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 770 หลังคาเรือน จึงอยากเรียกร้องให้ ศปภ.ช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนด้วยการระบายน้ำ รวมถึงการผันน้ำให้มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งขอเครื่องสูบน้ำภายในหมู่บ้าน และซ่อมกำแพง เนื่องจากชาวบ้านต้องการกลับเข้าบ้านให้ได้ก่อนวันที่ 5 ธันวาคม เพื่อจัดงานวันพ่อ ซึ่งทางหมู่บ้านได้ดำเนินการมาทุกปี
    ขณะที่ นายปลอดประสพรับปากในเรื่องของเครื่องสูบน้ำ และการซ่อมกำแพง รวมถึงการเปิดประตูระบายน้ำ โดยขณะนี้ได้เปิดประตูระบายน้ำคลอง 2 มีความกว้าง 1.50 เมตร และเชื่อว่าหลังจากเร่งผันน้ำ จะทำให้ระดับน้ำภายในหมู่บ้าน และเหนือคันบิ๊กแบ็กลดระดับลง พร้อมกันนี้เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้รื้อบิ๊กแบ็กทั้งหมดภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากการหารือผลเป็นที่น่าพอใจของทั้งสองฝ่าย โดยยังไม่รับปากกับชาวบ้านว่า จะกลับเข้าบ้านได้ก่อนวันที่ 5 ธันวาคมหรือไม่
    โดยชาวบ้าน กล่าวว่า หากการร้องเรียนในครั้งนี้ไม่เป็นผล เตรียมจะยื่นฟ้องทั้งแพ่งและอาญากับ ศปภ.และ ครม.ทั้งคณะ ฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554 15:54 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000151600

    หมู่บ้านย่านดอนเมืองยังมีน้ำท่วมขังสูงครึ่งเมตร

    สถานการณ์น้ำเขตดอนเมือง แม้ว่าระดับน้ำถนนสรงประภา ถนนโกสุมรวมใจ และถนนช่างอากาศอุทิศ ลดลงแล้ว แต่น้ำที่ยังท่วมขังในหมู่บ้านและชุมชนทางเข้าหมู่บ้านย่านดอนเมือง ยังสูงกว่า 50 เซนติเมตร เช่นเดียวกับหมู่บ้านที่อยู่ย่านดอนเมืองฝั่งวิภาวดีรังสิตขาเข้า เลยฐานทัพอากาศ น้ำยังท่วมสูง ชาวบ้านกลับที่พักอาศัยไม่ได้

    ขณะที่ระดับน้ำในคลองเปรมประชากร ยังเอ่อล้นคันคลอง เป็นปัญหาในการระบายน้ำท่วมขังออกจากพื้นที่เขตดอนเมือง ชาวบ้านเรียกร้องให้ กทม.เปิดประตูระบายน้ำ อย่ากักน้ำเนื่องจากน้ำท่วมขังนานกว่า 1 เดือน
    ทั้งนี้ โรงเรียนสีกัน ยังมีน้ำท่วมขัง อุปกรณ์การเรียน เช่น คอมพิวเตอร์ สื่อการเรียนการสอน ตู้เก็บเอกสารเสียหาย ยังไม่พร้อมเปิดเทอม วันที่ 6 ธันวาคม ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ กำหนด แจ้งเลื่อนเปิดเทอมออกไปเป็นวันที่ 3 ธันวาคม
    สำหรับถนนแจ้งวัฒนะ น้ำแห้งหมดแล้ว เจ้าหน้าที่ระดมกำลังฉีดล้างทำความสะอาดเพื่อเคลียร์เส้นทาง ขณะนี้ถนนแจ้งวัฒนะเปิดใช้งานได้ตามปกติ

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554 17:37 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000151678

    ศธ.พร้อมปล่อยกู้ช่วยครูน้ำท่วมรายละไม่เกิน 3 แสนบาท เริ่ม ธ.ค.เป็นต้นไป

    ศธ.พร้อมปล่อยกู้เยียวยาครูน้ำท่วม ผ่านกองทุนหมุนเวียน และ ธ.ออมสิน-กรุงไทย ให้วงเงินเท่ากันไม่เกินรายละ 3 แสนบาท โดยส่วนกองทุนหมุนเวียนยอมปลอดหนี้ให้ 3 ปี ขณะที่ส่วนของธนาคาร 2 แห่งนั้น จ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 4 เริ่มยื่นขอกู้ตั้งเดือน ธ.ค.นี้ พร้อมกันนี้ ในวันที่ 1 ธ.ค.ศธ.จะจัดกิจกรรม 5 ธันวา ส่งทีมจิตอาสาร่วมฟื้นฟูบ้านเรือน ซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และจัดหาอุปกรณ์จำเป็นมาจำหน่ายราคาถูกให้แก่ประชาชนพื้นที่ กทม.และปริมณฑล

    นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ศธ.ได้เตรียมการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อนำมาปล่อยกู้ช่วยเหลือครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ประสบภัยน้ำท่วม ได้กู้เพื่อนำเงินไปซ่อมแซมบ้าน หรือใช้จ่ายในส่วนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรก ปล่อยกู้กองทุนเงินหมุนเวียน ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ดูแล จำนวน 700 ล้านบาท ให้แก่ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักบริหารงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) วงเงินรายละไม่เกิน 3 แสนบาท ปลอดดอกเบี้ย 3 ปี สำหรับผู้กู้รายเก่าที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเช่นกันก็จะปลอดดอกเบี้ยให้ 3 ปีเช่นกัน

    ส่วนที่สอง ปล่อยกู้ในส่วนของธนาคารกรุงไทย และธนาคารออมสิน วงเงิน 2,000 ล้านบาท สำหรับผู้กู้รายใหม่ไม่เกิน 3 แสนบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ส่วนผู้กู้รายเก่าของทั้ง 2 ธนาคารก็จะได้รับการขยายวงเงินกู้เพิ่มตามศักยภาพแต่ไม่เกิน 3 แสนบาท ซึ่งในส่วนนี้กำหนดระยะเวลาผ่อนชำระ 8 ปี อย่างไรก็ตาม ครูที่เดือดร้อนสามารถทะยอยยื่นเรื่องขอกู้ยืมได้ในเดือน ธ.ค.นี้

    นายวรวัจน์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ในวันที่ 1 ธ.ค.2554 ที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ศธ.จะจัดกิจกรรม 5 ธันวา รวบรวมจิตอาสาทั่วประเทศประมาณ 15,000 คน มาร่วมกันลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ กทม. และปริมณฑลที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและน้ำลดแล้วในการทำความสะอาดบ้านเรือน ที่พัก ซ่อมแซมเครื่อใช้ไฟฟ้า ขจัดเชื้อรา ฉีดยาฆ่ายุง โดยจะจัดส่งทีมศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน หรือ Fix it center ออกหน่วยเคลื่อนที่ไปให้บริการ รวมถึงส่วนของวิทยาลัยเกษตร จะร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการฟื้นฟูดิน เพาะพันธุ์พืชในพื้นที่การเกษตร นอกจากนี้ จะจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นใช้การซ่อมแซมบ้าน หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาจำหน่ายในราคาถูกด้วย

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554 18:20 น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...=9540000151711

    ชาวแจ้งวัฒนะ 14 รวมตัวปากซอย จี้ ศปภ.เร่งระบายน้ำออก

    ชาวบ้านในซอยแจ้งวัฒะ 14 เริ่มรวมตัวบริเวณปากซอยยื่นข้อเสนอ ศปภ.ช่วยระบายน้ำท่วมให้แห้งภายใน 3 วัน ชี้ท่วมขังเป็นเดือนสูง 60-70 ซม.ไม่มีหน่วยงานใดช่วยเหลือ แถมน้ำเน่า ยุงชุม ยันหากไม่ส่งตัวแทนรับเรื่องจะเคลื่อนไหวต่อ





























    วันนี้ (28 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านในซอยแจ้งวัฒนะ 14 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กทม.ที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมขังมานานนับเดือน ได้เดินทางมารวมตัวกันที่ปากซอย ใกล้ๆ กับโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ เพื่อเรียกร้องให้ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) เร่งดำเนินการสูบน้ำออกจากซอยให้แห้งภายใน 3 วัน และหากยังไม่มีตัวแทนจากภาครัฐเข้ามารับเรื่องจะมีมาตรการเคลื่อนไหวต่อไป ล่าสุดการชุมนุมของกลุ่มชาวบ้านยังเป็นไปด้วยความสงบ ยังไม่มีการปิดถนนแต่อย่างใด

    ด้าน นายสมเดช แจ้งประสิทธิ์ แกนนำชาวบ้าน เปิดเผยว่า ภายในซอยแจ้งวัฒนะ 14 มีชุมชนขนาดใหญ่ 6-7 หมู่บ้าน ถูกน้ำท่วมขังมา 1 เดือนกว่าแล้ว ระดับความสูง 60-70 ซม.ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาดูแลชาวบ้านอยู่กันอย่างลำบาก เพราะน้ำเน่ายุงชุมมาก จึงมีความเห็นร่วมกันว่าต้องมารวมตัวกันที่ปากซอยแจ้งวัฒนะ14 เช้าวันนี้ เพื่อให้ทาง ศปภ.ส่งตัวแทนเข้ามารับเรื่องร้องเรียนของชาวบ้าน หากไม่มีใครออกมารับเรื่องจะกำหนดมาตรการเคลื่อนไหวต่อไป

    จี้เปิดประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์ 1.5 เมตร ผู้ว่าฯ สุขุมพันธุ์ รุดเจรจา

    หลังจากเมื่อคืนนี้เวลา 22.30 น. มีประชาชน 30-40 คน เดินทางชุมนุมที่ประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์ เพื่อเรียกร้องให้เปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ 1.50 เมตร โดยอ้างว่าได้รับหนังสือคำสั่งมาจากทาง ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (ศปภ. ) ที่ได้ให้กรุงเทพมหานครเปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ ช่วงวัดหนองใหญ่ที่ระดับ 1.50 เมตร จากเดิมที่เปิดอยู่ระดับ 1 เมตร และจากการเปิดเผยของพ.ต.ท.สุรพล รื่นสุข รอง ผกก.ปป.สน.คันนายาว ว่าทางชาวบ้านได้ทำการเปิดประตูระบายน้ำกันเองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยไม่ได้เกิดเหตุวุ่นวายแต่อย่างใด

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันนี้ ( 28 พ.ย.) เวลา 08.00 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร (กทม.) จะลงพื้นที่ไปยังสำนักเขตสายไหมเพื่อตรวจสอบและเจรจากับชาวบ้าน

    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554 19:03 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000151325

    "รศ.เสรี" ชี้ลำลูกกาจมน้ำนาน ต้องเปิดบิ๊กแบ็ก เพิ่มสูบ ทอยน้ำออกคลองหกวาฯ

    หมู่บ้านการ์เด้นท์โฮม หมู่บ้านเสมาฟ้าคราม ลำลูกกา อ่วม ปล่อยตามยถากรรมน้ำจะท่วมขังอีก 24 วัน ต้องเปิดบิ๊กแบ็กช่วย ทะลวงคลองสองเร่งระบายน้ำให้หมดใน 10 วัน แนะปตร.พระยาสุเรนทร์ ไม่ต้องเปิดเพิ่ม ให้ทอยน้ำออกปลายคลองหกวาสายล่างแทนชดเชยได้

    เมื่อเวลา 20.30 น. รศ.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร กล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ภาพรวมวันนี้(28 พ.ย.) น้ำทะเลยังหนุนสูงอยู่อีก 2 วัน หลังจากวันที่ 1 ธ.ค.น้ำทะเลจะหนุนต่ำลง จะทำให้การระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาลงทะเลได้รวดเร็วมากขึ้น

    ในวันนี้(28 พ.ย.) ได้ไปตรวจสถานการณ์น้ำที่ ถนนสายไหม ถนนสุขาภิบาล 5 และถนนลำลูกกา โดยถนนสายไหม และสุขาภิบาล 5 สถานการณ์เบาลง น้ำในคลองหกวาล่างลดลง ส่วนที่ลำลูกกา น้ำยังลดลงไม่มากประมาณ 20 ซ.ม. แต่ยังท่วมสูงอยู่ หมู่บ้านเสมาฟ้าครามยังหนักมาก และส่วนใหญ่เป็นบ้านชั้นเดียว รัฐบาลจะต้องตอบคำถามชาวบ้านว่าเมื่อไรเขาจะกลับมาอยู่บ้านได้ ที่ถนนลำลูกกา การระบายยังเป็นปัญหา เนื่องจากอาศัยคลองสอง คลองหกวาสายล่าง และคลองพระยาสุเรนทร์ เป็นทางระบายน้ำ ซึ่งมีข้อจำกัดระบายน้ำได้ช้า เช่นคลองพระยาสุเรนทร์มีความยาวถึง 16 ก.ม.

    ในพื้นที่หมู่บ้านเสมาฟ้าคราม มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 48 ล้านลูกบาศก์เมตร มีหนทางระบายน้ำ 4 ทาง คือ ระบายน้ำออกผ่านแนวกระสอบทรายยักษ์ หรือ บิ๊กแบ็กซึ่งสามารถเปิดบิ๊กแบ็กเพิ่มได้, การระบายออกทางคลองสอง ยังเป็นอุปสรรค ระบายไม่ค่อยไป, การระบายผ่านคลองหกวาสายล่าง น้ำก็ยังระบายไม่ค่อยไป, และการระบายผ่านคลองพระยาสุเรนทร์ ก็ระบายได้ช้า ทำให้ปริมาณที่ท่วมขังทั้งหมด 48 ล้านลบ.ม. ซึ่งในพื้นที่นี้ระบายออกได้วันละ 2 ล้านลบ.ม. จะต้องใช้เวลา 24 วันจึงจะระบายได้หมด

    สำหรับความเป็นห่วงปริมาณน้ำเหนือที่จะเข้ามาเติม ปริมาณน้ำในบล็อคบนเหนือคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ขึ้นไปทางถนนพหลโยธิน ทางอ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำท่วมขัง 120 ล้านลบ.ม. โดยน้ำจะไหลเติมลงมาที่คลองหนึ่ง ซึ่งคลองรังสิตฯจะสกัดน้ำไว้ ถ้าน้ำในคลองรังสิตฯต่ำกว่าคันกั้นก็จะไม่มีน้ำใหม่เติมเข้ามา

    ดังนั้น ปริมาณน้ำ 48 ล้านลบ.ม. จะใช้เวลาะบายน้ำกว่า 20 วัน ถ้าไม่มีน้ำเติมเข้ามา ในพื้นที่หมู่บ้านการ์เด้นท์โฮม หมู่บ้านเสามาฟ้าคราม จะปล่อยไว้แบบนี้ไม่ได้ ต้องเร่งเพิ่มการสูบน้ำ สูบออกให้หมดใน 10 วัน แนวบิ๊กแบ็กจะต้องเปิดให้มากขึ้น เพราะน้ำเหนือไม่เติมลงมาแล้ว ส่วนที่คลองสอง คลองพระยาสุเรนทร์ ต้องเพิ่มการระบายน้ำ

    สำหรับการเปิดประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์นั้น ถ้าเปิดประตูเพิ่มจาก 1 เมตร เป็น 1.50 เมตร ก็จะกระทบถนนสุขาภิบาล 5 ควรจะแก้ปัญหาโดยการไปทอยน้ำที่หกวาสายล่าง ให้ออกไปทางตะวันออกให้มากขึ้น ก็ทำให้ไม่จำเป็นต้องเปิดประตูระบายน้ำเพิ่ม

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554 21:11 น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...=9540000151767

    ศธ.เล็งเลื่อนเปิดเทอม ร.ร.ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล พร้อม ร.ร.กทม.13 ธ.ค.นี้

    ศธ.จ่อเลื่อนเปิดเทอมอีก 1 สัปดาห์เฉพาะ ร.ร.ใน กทม./ปริมณฑล ที่ยังน้ำไม่ลด ขยับไปเปิดวันที่ 13 ธ.ค.พร้อม ร.ร.ใน กทม.ส่งผลเลื่อนวันสอบ O-Net ป.6 และ ม.3 ขยับออกไปอีก 2 สัปดาห์ รมว.ศธ.แจง เพื่อไม่ให้เหลือเวลาเรียนกระชั้นเกินไป จนต้องมาสอนชดเชยวันเสาร์-อาทิตย์ ย้ำ นโยบาย ศธ.ไม่ยอมให้เด็กเรียน 7 วัน หวั่นทำเด็กเหนื่อยและเครียดเกินไป

    นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ศธ.เตรียมแผนสำรองรองรับไว้เผื่อกรณีที่มีโรงเรียนจำนวนหนึ่งไม่สามารถเปิดภาคเรียนในวันที่ 6 ธ.ค. ได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็จำเป็นต้องเลื่อนกำหนดการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) อีกรอบ รวมถึงต้องเลื่อนปฏิทินรับนักเรียนออกไปด้วย อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ต้องมีแผนสำรองไว้ เพราะจากการประเมินเบื้องต้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) คาดว่า จะมีโรงเรียนจำนวนหนึ่งใน กทม. นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม หรือแม้แต่ในจังหวัดรอบนอก ไม่สามารถเปิดภาคเรียนได้ภายในวันที่ 6 ธ.ค.นี้ ซึ่งในวันที่ 29 พ.ย.นี้ สพฐ.จะรายงานข้อมูลที่ชัดเจนมาอีกครั้ง ว่า มีโรงเรียนใดบ้างที่ต้องเลื่อนเปิดภาคเรียนออกไปอีก ทั้งนี้ โรงเรียนกลุ่มนี้มีแนวโน้มจะเลื่อนเปิดภาคเรียนออกไปอีก 1 สัปดาห์ เปิดวันที่ 13 ธ.ค.แทน แต่โรงเรียนอื่นที่น้ำลด มีความพร้อมเพียงพอแล้วให้เปิดภาคเรียนวันที่ 6 ธ.ค.ตามเดิม

    รมว.ศธ.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ได้หารือเบื้องต้นว่า เมื่อโรงเรียนจำนวนหนึ่งจำเป็นต้องเปิดภาคเรียนหลังวันที่ 6 ธ.ค. แล้ว ก็จำเป็นต้องเลื่อนวันสอบ O-Net ระดับชั้นประถมศึกษาที่ 6 และ มัธยมศึกษาที่ 3 อีกรอบ ซึ่งจากเดิมได้เลื่อนไปแล้ว 1 ครั้ง โดยนักเรียนชั้น ป.6 เดิมสอบวันที่ 1 ก.พ.2555 เลื่อนเป็นวันที่ 15 ก.พ.2555 นักเรียนชั้น ม.3 เดิมสอบวันที่ 2-3 ก.พ.2555 เลื่อนเป็นวันที่ 16-17 ก.พ.2555 และประกาศผลสอบวันที่ 31 มี.ค.2555 ส่วน นักเรียนชั้น ม.6 ให้สอบตามปฏิทินเดิม คือ วันที่ 18-19 ก.พ.55 และประกาศผลสอบวันที่ 10 เม.ย. 2555

    อย่างไรก็ตาม ได้มอบให้ รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และ สพฐ.ไปหารือกันในเรื่องนี้ แต่มีแนวโน้ม อาจขยับวันสอบออกไปอีก 2 สัปดาห์ เพื่อให้โรงเรียนส่วนใหญ่มีเวลาจัดการเรียนการสอนได้โดยไม่ต้องสอนชดเชยในวันเสาร์และอาทิตย์ นโยบายของ ศธ.ชัดเจนว่า อยากให้โรงเรียนสอนชดเชยเฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ หากจำเป็นจริงๆ จึงค่อยสอนชดเชยในวันเสาร์ แต่จะไม่ให้เรียน 7 วันตั้งแต่จันทร์-อาทิตย์ เพราะจะทำให้เด็กเหนื่อยเกินไปและเป็นการสร้างความเครียดให้ทั้งเด็กและผู้ปกครอง

    “ ถ้าเลื่อนวันสอบO-Net ออกไปอีก 2 สัปดาห์ จะมีเวลาเหลือเพียงพอให้โรงเรียนที่เปิดภาคเรียนในวันที่ 13 ธ.ค.จัดการเรียนการสอนได้จบครบหลักสูตรโดยอาศัยแค่การสอนชดเชยในวันปกติ ไม่ต้องสอนชดเชยในวันเสาร์ ยกเว้นโรงเรียนที่น้ำท่วมหนัก จำเป็นต้องเลื่อนเปิดเทอมออกไปมาก อาจต้องสอนชดเชยในวันเสาร์ตามความจำเป็น แต่จะไม่ให้สอนชดเชยในวันอาทิตย์เด็ดขาด เมื่อเลื่อนวันเปิดภาคเรียนออกไปแล้ว ก็จำเป็นต้องเลื่อนสอบ O-Net และต้องเลื่อนปฏิทินรับนักเรียนของ สพฐ.ออกไปด้วย ทั้งนี้ กำหนดการสอบ O-Net ที่แน่นอน จะสามารถประกาศได้ เมื่อผ่านความเห็นชอบจากบอร์ด สทศ.ก่อน จากนั้น สพฐ.ก็จะสามารถประกาศปฏิทินรับนักเรียนใหม่” นายวรวัจน์ กล่าว

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554 18:06น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...d3%b7%e8%c7%c1


    >> นนทบุรี <<


    กรมชลฯ มั่นใจเมืองนนท์น้ำลดก่อนสิ้นปีนี้

    นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงแผนการเร่งระบายน้ำในพื้นที่ จ.นนทบุรี แบ่งพื้นที่การระบายน้ำออกเป็น 29 บล็อก ว่า กรมชลประทานเร่งระบายน้ำในพื้นที่วิกฤต ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา เช่น อ.บางกรวย บางใหญ่ บางบัวทอง ส่งผลให้ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยระบายน้ำทั้ง 29 บล็อก ลงคลองพระพิมล คลองพระยาบรรลือ คลองมหาสวัสดิ์ คลองบางกรวย คลองบางบัวทอง ถนนกาญจนาภิเษก เพื่อระบายน้ำออกแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะนี้เร่งสูบน้ำในหมู่บ้านชลลดา ทั้งหมู่ 1 และ หมู่ 2 อ.บางใหญ่ ซอยประมวลสุข หมู่บ้านธนากร 2 และ 4 ออกไปยังคลองบางกอกน้อย บางกรวย-ไทรน้อย ต.บางไผ่ ต.บางศรีทอง ทั้งนี้ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำใต้สะพานพระราม 5 ฝั่งวัดนครอินทร์ อ.เมือง
    ด้านเทศบาล อ.เมืองปทุมธานี และเทศบาลนครรังสิต จ.ปทุมธานี เร่งระดมสูบน้ำ โดยใช้เครื่องสูบน้ำ จำนวน 10 เครื่อง โดยเฉพาะหมู่บ้านรัตนโกสินทร์ 200 ปี และตลาดรังสิต ส่วนหมู่บ้านเมืองเอก อยู่ระหว่างการหาแนวทางระบายน้ำที่เหมาะสม เนื่องจากปริมาณน้ำท่วมขังสูงมาก โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำบริเวณประตูระบายน้ำคลองเปรมใต้ และประตูระบายน้ำจุฬา เพื่อระบายลงคลองรังสิต ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อว่าช่วยปริมาณน้ำในเมืองเอกลดระดับลงเช่นเดียวกับพื้นที่เขตสายไหม คาดว่ามีโอกาสเป็นไปได้ ภายในเดือนธันวาคม จะมีพื้นที่น้ำลดมากขึ้

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554 16:42 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...b7%ba%d8%c3%d5

    >> นครปฐม <<


    ถ.เพชรเกษม มุ่งหน้านครปฐมระดับน้ำลดลงเกือบหมด

    ตลอดเส้นทางถนนเพชรเกษม มุ่งหน้าไป จ.นครปฐม ระดับน้ำได้ลดลงจนเกือบแห้ง 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว มีเพียงบางจุดที่มีน้ำขังอยู่แต่น้อยมาก โดยขณะนี้สำนักการโยธากรุงเทพมหานคร และสำนักงานเขตบางแค ได้ระดมเจ้าหน้าที่มาเร่งปรับปรุงซ่อมผิวการจราจร และเก็บขยะจำนวนมากที่กองอยู่ริมถนน แต่จุดที่ยังมีปัญหาน้ำท่วมขังอยู่คือ หมู่บ้านเศรษฐกิจ
    ซึ่งวันนี้มีชาวบ้านกว่า 50 คน มารวมตัวกันเรียกร้องให้หน่วยงานราชการเข้ามาดูแล เพราะถูกน้ำท่วมขังมานานกว่าเดือนแล้ว และไม่สามารถประกอบอาชีพได้เหมือนกับจุดอื่นภายในเขตเดียวกัน และยังมีสัตว์มีพิษจำนวนมาก
    ผู้อำนวยการเขตบางแค เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในพื้นที่โดยรวมคลี่คลายลงมาก จุดที่เป็นห่วงคือ หมู่บ้านเศรษฐกิจที่มีน้ำท่วมสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ซึ่งทางเขตได้ไปทำสะพานไม้ไว้ให้ เพื่อใช้เดินทางเข้าออกภายในหมู่บ้าน และฝากถึงประชาชนในพื้นที่ขอให้ใจเย็นๆ สถานการณ์น้ำกำลังคลี่คลาย รวมทั้งเรื่องปัญหาซึ่งกำลังเร่งเก็บอยู่ จากเดิมวันละ 1-2 เที่ยว เพิ่มเป็น 4 เที่ยวต่อวันแล้ว เนื่องจากเขตบางแคเป็นพื้นที่ใหญ่ทำให้มีขยะมาก และยังพบว่าเป็นขยะใหญ่จากเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านที่ถูกน้ำท่วม ไม่สามารถใช้แรงงานคนได้ ต้องใช้รถยกมาช่วย และขอบคุณประชาชนที่ช่วยวางขยะเป็นจุด ทำให้ง่ายต่อการขนย้าย

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554 16:51 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...a4%c3%bb%b0%c1

    สสจ.นครปฐมลั่นฆ้องฟื้นฟูคืนสุขภาพดีให้ประชาชนหลังน้ำลด

    นครปฐม - สสจ.เมืองเจดีย์ใหญ่ รณรงค์ประชาชนฟื้นฟูบางส่วนหลังน้ำลด แนะวิธีใช้อีเอ็มแก้ปัญหาส้วมตันส้วมเหม็น รณรงค์ 6 กิจกรรม ได้แก่ “น้ำลด ล้างลดโรค บริโภคปลอดภัย พาหะร้ายเร่งกำจัด บำบัดด้วยอีเอ็ม จัดเต็มบริการ รักษาพยาบาลฟื้นฟู”

    วันนี้ (28 พ.ย.) ดร.นพ.ถวัลย์ พบลาภ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครปฐม เปิดเผยว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) นครปฐม ได้จัดการดีเดย์ วันครบรอบสถาปนากระทรวงสาธารณสุข เปิดกิจกรรมรณรงค์ “รวมพลังคืนสุขภาพดีสู่พี่น้องจังหวัดนครปฐม” ที่ตลาด-บางหลวง ร.ศ.112 ระดมภาคีเครือข่ายเข้าร่วมรณรงค์ 6 กิจกรรมหลักลดโรค ได้แก่ การทำความสะอาดอาคารบ้านเรือน ตรวจสอบสารปนเปื้อนในน้ำและอาหาร การกำจัดสัตว์และแมลงนำโรค การบำบัดน้ำเสียด้วยสารอีเอ็ม แนะการฟื้นฟูสุขภาพกาย-สุขภาพจิตหลังน้ำลด และการตรวจรักษาพยาบาล

    “สถานการณ์น้ำจังหวัดนครปฐมเริ่มคลี่คลาย จึงเชิญชวนประชาชนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรภาคีเครือข่ายอาสาสมัครต่างๆ ฟื้นฟูและดูแลให้พี่น้องทุกคนกลับเข้าสู่บ้านอย่างปกติสุข มีสุขภาพดี และในสภาพแวดล้อมที่ไม่ก่อให้เกิดโรคหลังผ่านช่วงเวลาที่วิกฤตอุทกภัย สิ่งแรกที่ต้องทำ คือตั้งสติ

    ส่วนผู้ที่มีภาวะเสี่ยง เช่น ผู้มีโรคเรื้อรัง คนพิการ คนชราควรพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพอย่างละเอียด การดูแลจิตใจให้พูดคุยปรึกษากัน สังเกตอาการคนในครอบครัวหากเครียด ซึมเศร้านอนไม่หลับควรพบแพทย์

    จากนั้นต้องฟื้นฟูอาคารที่พักอาศัย ขัดล้างทำความสะอาดกำจัดเชื้อโรค โดยนอกจากเชื้อโรคที่มากับน้ำอาจมีสารเคมี เชื้อราจึงต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันตนเอง สิ่งของที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคได้หมดควรตัดใจทิ้ง เสื้อผ้า จานชาม ต้องซักทำความสะอาดใหม่ เปิดบ้านให้มีลมระบายอากาศ น้ำกิน-น้ำใช้ ต้องสำรวจร่องรอยแตกรั่ว และคุณภาพน้ำว่ามีตะกอนหรือไม่

    หากไม่มั่นใจควรปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนใช้ด้วยวิธีง่ายๆ เช่น การแกว่งสารส้ม ส่วนน้ำกินหลังน้ำลดควรดื่มน้ำที่มั่นใจว่าสะอาด หรือควรดื่มต้มสุก ห้องน้ำห้องส้วมในบ้านเรือน เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องดูแล เนื่องจากเป็นแหล่งรองรับสิ่งขับถ่าย คาดว่าจะได้รับความเสียหายไม่ต่ำกว่า 2 ล้านครัวเรือน

    ปัญหาที่พบ คือ ส้วมอุดตัน ราดน้ำไม่ลง ส้วมเต็ม เพราะน้ำเข้าไปท่วม มีกลิ่นเหม็น แนะนำให้ขัดทำความสะอาดและใช้อีเอ็ม ชนิดน้ำหรือชนิดผงละลายน้ำราดลงในโถส้วม เพื่อให้จุลินทรีย์ไปย่อยสลายสิ่งสกปรกที่อยู่ในส้วม กลิ่นจะลดลงเห็นผลภายใน 1-2 วัน ไม่ควรใช้น้ำยาล้างห้องน้ำ หรือน้ำยาดับกลิ่นราดลงในโถส้วมเนื่องจากสารเคมีจะไปทำลายจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทำให้การย่อยสลายช้าและไม่ได้ผล

    ขยะเก็บรวบรวมกำจัด อีกทั้งการซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดที่จมน้ำควรทำโดยช่างและตัดวงจรไฟฟ้าก่อน จนกว่าจะแน่ใจว่าปลอดภัย การซ่อมโครงสร้างบ้านที่เสียหาย และการตรวจสอบท่อแก๊สว่าปลอดภัยก่อนใช้งาน

    ดร.นพ.ถวัลย์ กล่าวถึงการดูแลสุขภาพผู้ประสบภัยที่ผ่านมา ว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐมได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการ ศูนย์พักพิงต่างๆ จนถึงวันนี้พบผู้ป่วยจากน้ำท่วมรวม 68,381 ราย อาการไม่รุนแรง ส่วนใหญ่เป็นโรคน้ำกัดเท้า ไข้หวัด ปวดเมื่อย ผื่นคัน โรคเรื้อรัง และเครียด แต่ยังไม่พบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคฉี่หนู

    ส่วนการดูแลสุขภาพจิต ได้ตรวจคัดกรองผู้ประสบภัยและประชาชนทั่วไปแล้ว 12,032 คน พบผู้มีความเครียด ร้อยละ 8 พบผู้ที่มีอารมณ์ซึมเศร้า คิดเป็นร้อยละ 6 พบผู้ที่มีความเสี่ยงฆ่าตัวตาย ร้อยละ 2 ผู้ประสบภัยที่ต้องติดตามดูแลพิเศษเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะดูแลอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะกลับคืนสู่ภาวะปกติ

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554 17:19 น.
    http://www.manager.co.th/Local/ViewN...a4%c3%bb%b0%c1

    >> พระนครศรีอยุธยา <<


    หลายกิจการในนิคมฯ โรจนะทยอยเลิกจ้างแรงงาน

    นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จ.พระนครศรีอยุธยา ขณะนี้กลับเข้าสู่สภาพปกติ พบว่าโรงงานถูกน้ำท่วมเสียหายจำนวนมาก ต้องใช้เวลาฟื้นฟูให้กลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง ทำให้โรงงานหลายแห่งตัดสินใจปลดพนักงานแล้วหลายแห่ง บางโรงงานย้ายฐานการผลิตไปที่อื่น เช่น บริษัทนิคอน แห่งประเทศไทย และบริษัทเอ็มเอ็นบี พบว่ามีโรงงานขนาดใหญ่แห่งหนึ่งเตรียมปลดพนักงาน 2,000 คน หลังจากปลดพนักงานแล้วกว่า 500 คน

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554 11:59 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...2%d8%b8%c2%d2+

    กรมศิลป์เร่งสูบน้ำออกจากวัดไชยวัฒนาราม

    แม่น้ำเจ้าพระยา ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ลดลงต่อเนื่อง ทำให้การสูบน้ำออกจากโบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม สะดวกขึ้น วันนี้พบว่าการสูบน้ำออกเกือบแห้ง เหลือเพียงพื้นสนามหญ้าชั้นล่างที่ยังท่วมสูง 60 เซนติเมตร เจ้าหน้าที่กรมศิลปากา ยังต้องเลี้ยงระดับน้ำนี้ไว้ เพื่อไม่ให้ตัวโบราณสถานเสียหาย หากสูบน้ำแห้งทั้งหมด กลัวว่าโบราณสถานจะทรุดตัวได้

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554 12:46 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...2%d8%b8%c2%d2+

    พิษน้ำท่วมกรุงเก่าประเดิมตกงานล็อตแรก รง.จ้างพนักงานออก 1,700 คน

    พระนครศรีอยุธยา - ประเดิมน้ำท่วมพระนครศรีอยุธยา 2 โรงงาน ลงขันเลิกจ้างพนักงานกว่า 1,700 คน อีก 59 บริษัทระส่ำ ทยอยจ้างออกเพิ่มอีกกว่า 4,000 คน


    วันนี้ (28 พ.ย.) พนักงานบริษัท มินอิก เทคโนโลยี ประเทศไทย จำกัด และพนักงานบริษัท เอ็มยูเทคโนโลยี ประเทศไทย จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา 1,723 คน ทยอยเข้าแถว เพื่อรับเงินชดเชยจากทางบริษัท หลังจากทั้ง 2 บริษัท เลิกจ้างพนักงาน เนื่องมาจากสภาพปัญหาน้ำท่วมในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จนไม่สามารถเปิดการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ส่งต่อให้กับบริษัทแม่ที่อยู่ในเมืองไทย และมาเลเซีย ได้ ทั้งนี้ พนักงานที่ถูกเลิกจ้างจะมีทั้งพนักงานทั้งที่เป็นพนักงานรายวัน และพนักงานประจำ

    นางวาณี อินทกูลอายุ 35 ปี อยู่บ้านเลขที่ 37/3 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พระนครศรีอยูธยา พนักงานบริษัท มินอิก เทคโนโลยี ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ก่อนที่จะมีการเลิกจ้าง ทางบริษัทฯ ไม่เคยแจ้งให้พนักงานทั้งหมดทราบล่วงหน้า ซึ่งการบอกเลิกจ้างทางบริษัทจะต้องแจ้งก่อนล่วงหน้า

    นอกจากนี้ น้ำท่วมที่ผ่านมา ทางบริษัทอ้างว่าขาดทุน และไม่มีแผนที่ชัดเจนให้กับพนักงาน ว่า จะเปิดการผลิตเมื่อใด อย่างไรก็ตาม ยังมีการฝากไปยังรัฐบาล หาทางแก้ปัญหาแรงงานตกงานหลังจากนี้ ไม่ใช่ออกมาพูดในลักษณะนโยบาย ซึ่งจะต้องมีการทำงานทันที

    สำหรับการจ่ายเงินชดเชยวันนี้ ทางบริษัทจ่ายเป็นเช็คให้กับพนักงาน 1,723 คน รวมเป็นเงิน 62 ล้านบาท โดยล่าสุดจากการตรวจสอบผู้ประกันตนกรณีว่างงานที่ขึ้นทะเบียน ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม - 25 พฤศจิกายน 2554 กับทางสำนักงานจัดหางานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีจำนวน 58 แห่ง รวมผู้ว่างงาน 4,047 คน

    ส่วน นางอุไรวรรณ ทาสะอาด อายุ 32 ปี ชาวจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นพนักงานซับคอนเทคของบริษัท เวิร์ล เอเชีย เป็นบริษัทที่รับงานมาจากบริษัท มินอิก บอกว่ายังไม่มีความชัดเจนที่บริษัทจะจ่ายเงินให้กับพนักงานบริษัทซับคอนเทค

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554 17:59 น.
    http://www.manager.co.th/Local/ViewN...2%d8%b8%c2%d2+

    >> ภาคใต้ <<



    สบส.เร่งทำแผนฟื้นฟูหลังน้ำลด พร้อมส่งทีมดูแลสถานบริการภาคใต้

    สบส.เร่งทำแผนฟื้นฟูหลังน้ำลด เผยเครื่องมือแพทย์ชุดใหญ่เสียหายหนักสุด น้อมรับนโยบาย สธ.เดินหน้าซ่อมบำรุง พร้อมส่งเจ้าหน้าที่ดูแลภาคใต้ หวั่นกระทบหนัก

    นพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวถึงแผนการฟื้นฟูสถานบริการสาธารณสุขหลังน้ำลดว่า สำหรับแผนการฟื้นฟูนั้นจะเน้นที่การสนับสนุนอุปกรณ์ปั่นไฟ และเครื่องอำนวยความสะดวกด้านอื่นๆ เช่น เครื่องซักผ้า ตู้เก็บของ ซึ่งเป็นเครื่องมือขนาดใหญ่ที่เคลื่อนย้ายยากจึงได้รับความเสียหายมากที่สุด และกสรสร้างกำแพงโรงพยาบาล (รพ.) บางส่วน ที่พังทลายและเสียหายจากมวลน้ำ ซึ่ง รพ.พระนครศรีอยุธยานั้นได้รับความเสียหายมากที่่สุด สส่วนเครื่องมือแพทย์อื่นๆ นั้นสามารถขนย้ายได้ทัน ยังมีบางส่วนเท่านั้นที่เสียหาย ส่วนมากจะเป็นในโรงพยาบาลขนาดเล็กซึ่งมีเครื่องมือแพทย์สำรองบางส่วนแล้ว เช่น ชุดตรวจสุขภาพ เครื่องมือวัดต่างๆ เป็นต้น

    นพ.สมชัยกล่าวว่า หลังจากน้ำในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคกลาง รวมทั้ง กทม.บางส่วนสถานการณ์น้ำเริ่มลดลงแล้ว สบส.จะเร่งดำเนินการซ่อมบำรุงพื้นที่ให้บริการเพื่อให้กลับมาบริการได้ 100% โดยเร็วที่สุดตาม นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รวมทั้งกำหนดแผนยุทธศาสตร์ในการป้องกันภัยพิบัติครั้งหน้าด้วย ทั้งอุทกภัย วาตภัย และแผ่นดินไหว ระหว่างที่พื้นที่ภาคเหนือ และภาคกลางอยู่ระหว่างการฟื้นฟูนั้น สบส.ยังมีการส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจความเสียหายที่พื้นที่ภาคใต้ในทุกจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมจากฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องอีกด้วย เพื่อจะได้ดำเนินการป้องกันสถานบริการในพื้นที่ให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554 10:45 น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...2%d8%b8%c2%d2+

    ศอส.สรุปน้ำท่วมภาคใต้-ประกาศภัยพิบัติแล้ว 6 จว.

    ศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม หรือ ศอส. สรุปสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ ว่า มีพื้นที่ถูกประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพัทลุง ตรัง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช นราธิวาส และสงขลา
    ส่วนจังหวัดยะลา มีฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่มในพื้นที่ 5 อำเภอ ขณะที่สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ตอนบนของประเทศไทย 16 จังหวัด ยังมีอยู่


    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554 17:11 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...d3%b7%e8%c7%c1

    >> ปัตตานี <<


    น้ำท่วมปัตตานีคงที่เตรียมรับมือมรสุมอีกครั้ง 1 ธ.ค.นี้

    ปัตตานี - สถานการณ์น้ำท่วมในปัตตานีเริ่มคงที่ แต่ทางจังหวัดประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติทั้ง 12 อำเภอ เพื่อจะได้ดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบราชการได้อย่างสะดวก ส่วนภายในเขตเทศบาลเร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่ม เผย 1 ธ.ค.นี้ เตรียมรับมือมรสุมอีกครั้ง



    วันนี้ (28 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ปัตตานี ว่าสถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดปัตตานีวันนี้เริ่มคงที่ เนื่องจากฝนได้หยุดตก แต่ยังคงได้รับผลกระทบจากน้ำทะเลที่หนุนสูงในระยะนี้ ประกอบกับยังต้องระบายน้ำจากที่สูงเพื่อไหลออกสู่ทะเล ส่งผลให้สถานการณ์น้ำท่วมไม่ขยายวงกว้างแต่ยังคงมีหลายตำบลที่เป็นทางผ่านแม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำสายบุรี มีน้ำท่วมขังสูงในบางตำบลที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ทั้งใน อ.เมือง อ.กะพ้อ อ.หนองจิก อ.ยะหริ่ง อ.สายบุรี แต่สถานการณ์ไม่น่าเป็นห่วงมากนัก เพราะฝนได้หยุดตกแล้ว

    จากสถานการณ์น้ำที่ยังคงท่วมในหลายตำบลแม้จะไม่รุนแรง ในวันนี้ทางจังหวัดปัตตานีได้ประกาศให้ทั้ง 12 อำเภอ จำนวน 60 ตำบล 247 หมู่บ้านของ จ.ปัตตานี เป็นพื้นที่ประสบอุทกภัยทั้งจังหวัด เพื่อความสะดวกของส่วนราชการในการให้การช่วยเหลือตามระเบียบราชการแก่ประชาชนได้ได้อย่างทันท่วงที ซึ่งคาดว่า จ.ปัตตานี ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำอีกระยะหนึ่งจากภาวะน้ำทะเลหนุนตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงสิ้นเดือน และจะได้รับผลกระทบจากฝนตกนักจากอิทธิพลของลมมรสุมอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 1ธันวาคมนี้

    อย่างไรก็ตาม น้ำทะเลหนุนสูงระยะนี้ส่งผลต่อการระบายน้ำของแม่น้ำปัตตานีที่ไหลผ่าน อ.เมืองปัตตานี เพื่อออกสู่ปากอ่าวปัตตานี ทางเทศบาลเมืองปัตตานีจึงได้เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติม เพื่อเร่งระบายน้ำและป้องกันน้ำไหลย้อนกลับเข้าท่วมพื้นที่ในเขตเมือง

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554 14:57 น.
    http://www.manager.co.th/Local/ViewN...=9540000151540

    >> นราธิวาส <<


    นราฯ ประกาศเตือนประชาชนระวังอุบัติเหตุช่วงน้ำท่วม

    นราธิวาส - จังหวัดนราธิวาสประกาศเตือนประชาชนระมัดระวังอุบัติเหตุช่วงเกิดอุทกภัย หลังในพื้นที่มีประชาชนเสียชีวิตแล้ว 2 ราย

    วันนี้ (28 พ.ย.) ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหา อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม จังหวัดนราธิวาส ประกาศเตือนประชาชนในพื้นที่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียและได้รับบาดเจ็บจากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ โดยขอให้ประชาชนช่วยกันดูแลบุตรหลานไม่ให้ลงเล่นน้ำ ไม่ควรขี่ยานพาหนะฝ่าลงกระแสน้ำ ระมัดระวังการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ระวังสัตว์มีพิษ และให้ดูแลเรื่องการรับประทานอาหาร ตลอดจนผู้ที่มีโรคประจำตัวไม่ควรออกจากบ้านตามลำพังขณะที่มีสถานการณ์อุทกภัยเกิดขึ้น

    อย่างไรก็ตาม สำหรับในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส หลังจากเกิดสถานการณ์อุทกภัยขึ้นในพื้นที่ต่างๆ มีประชาชนเสียชีวิตแล้ว 2 ราย เป็นประชาชนในพื้นที่ อ.จะแนะ 1 ราย คือ นายสุเปียน อาบู อายุ 23 ปี บ้านเลขที่ 172 หมู่ 1 ต.ดุซงญอ อ.จะแนะ เป็นโรคลมชักขณะเดินลุยน้ำในพื้นที่ และอีก 1 ราย จากการเล่นน้ำในพื้นที่ อ.สุไหงโก-ลก ซึ่งขณะนี้ยังไม่พบศพ







    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554 16:55 น.
    http://www.manager.co.th/Local/ViewN...d3%b7%e8%c7%c1

    >> ปัตตานี <<


    กว่า 10 โรงเรียนที่ถูกน้ำท่วมในปัตตานียังปิดไม่มีกำหนด

    ปัตตานี - โรงเรียนกว่า 10 แห่ง ใน 5 อำเภอที่ถูกน้ำท่วมยังคงปิดไม่มีกำหนด โดยเฉพาะโรงเรียนบ้านกือยา ต.ปะกาฮารัง และโรงเรียนบ้านปาการีมอปูโละ ต.บาราเฮาะ อ.เมือง คาดว่าจะต้องใช้เวลาร่วม 1 เดือนจึงจะเปิดเรียนตามปกติได้

    วันนี้ (28 พ.ย.) สถานการณ์น้ำท่วมใน จ.ปัตตานี เริ่มคลี่คลายแล้ว แต่ยังคงมีน้ำท่วมสูงในหลายพื้นที่และยังขยายวงกว้างกินพื้นที่ในหลายอำเภอ ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก ซึ่งเหตุดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อนักเรียนที่จะต้องหยุดเรียนไปด้วย เนื่องจากโรงเรียนถูกน้ำท่วมสูง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดปัตตานี ทั้ง 3 เขต จึงได้ออกสำรวจในแต่ละอำเภอ

    โดยพบว่า โรงเรียนต้องปิดการเรียนการสอนไปแล้วกว่า 10 โรง ในพื้นที่ 5 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมือง อ.ยะรัง อ.หนองจิก อ.แม่ลาน และ อ.กะพ้อ ซึ่งเป็นพื้นที่ติดแม่น้ำสายบุรี และแม่น้ำปัตตานี ที่ยังคงมีน้ำท่วมสูงอยู่กว่า 2 เมตร อาคาเรียน โรงอาหาร จมอยู่ใต้น้ำ ทำให้โรงเรียนต้องปิดการเรียนการสอนโดยปริยาย และไม่มีกำหนดจนกว่า สถานการณ์น้ำจะกลับเข้าสภาวะปกติ

    โดยเฉพาะที่โรงเรียนบ้านกือยา ต.ปะกาฮารัง และโรงเรียนบ้านปาการีมอปูโละ ต.บาราเฮาะ อ.เมือง คาดว่าจะต้องใช้เวลาร่วม 1 เดือนจึงจะเปิดเรียนตามปกติได้

    อย่างไรก็ตาม จังหวัดปัตตานียังคงประกาศให้พื้นที่ทั้ง 12 อำเภอ เป็นพื้นที่ภัยพิบัติและมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ล่าสุดพบว่ามีพื้นที่เกิดอุทกภัย 66 หมู่บ้าน 258 ตำบล ประชาชนได้รับความเดือนร้อน 15,355 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมกว่า 4,000 ไร่











    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554 21:09 น.
    http://www.manager.co.th/Local/ViewN...d3%b7%e8%c7%c1

    >> ฉะเชิงเทรา <<


    อุตสาหกรรมใต้แนวน้ำทิ้งเริ่มเชื่อมั่นไม่ถูกน้ำท่วมแล้ว

    ฉะเชิงเทรา-เขตนิคมอุตสาหกรรมใต้แนวน้ำทิ้งฝั่งตะวันออก พร้อมกลุ่มโรงงานย่านบางปะกงเริ่มเชื่อมั่นไม่ถูกน้ำท่วมแล้ว หลังพากันตะลุยรื้อพังแนวกระสอบทรายพร้อมกำแพงป้องน้ำทิ้งออกจากพื้นที่ด้านหน้าสถานประกอบการจนหมดเกลี้ยงแล้ว

    วันนี้ (28 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมใต้แนวเดินน้ำทิ้งจากทางภาคเหนือ และ กทม. ย่านอ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา จำนวนหลายร้อยโรงงาน ที่ได้ทำการก่อสร้างกำแพงกั้นน้ำสูงถึงกว่า 2-4 เมตร พร้อมแนวกระสอบทรายจำนวนมหึมา ได้พากันรื้อทำลายกำแพงทั้งหมดที่ได้เร่งระดมก่อสร้างขึ้น ตลอดเมื่อช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา นำออกทิ้งจากบริเวณรอบกำแพงรั้วจนหมดแล้ว หลังจากมีความเชื่อมั่นว่าจะไม่มีน้ำไหลเข้ามาท่วมพื้นที่อีก

    โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ ที่ก่อนหน้านี้ได้เคยวิตกกังวลอย่างหนัก เพราะหวั่นเกรงว่าจะถูกรัฐบาลผันน้ำ ปล่อยระบายผ่านเข้ามาลงใส่ในพื้นที่เหมือนกับนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งในแถบลุ่มน้ำภาคกลาง และ กทม.จึงได้ตั้งแนวกำแพงกระสอบทรายขนาดมหึมาสูงถึงกว่า 3-4 เมตร โดยเฉพาะรอบบริเวณพื้นที่ของนิคม ซึ่งมีโรงงานตั้งอยู่ภายในมากถึงกว่า 300 โรงงานนั้น ขณะนี้แนวกำแพงกั้นน้ำดังกล่าวได้ถูกรื้อออกทิ้งจนหมดเกลี้ยงแล้วเช่นกัน

    สอบถามนายทวี มงคลรัตน์ อายุ 38 ปี หัวหน้างานฝ่ายซ่อมบำรุงของผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง ย่านริมถนนสายบางนา-ตราด กม.37 เลขที่ 64 ม.5 ต.บางสมัคร อ.บางปะกง ซึ่งกำลังทำการควบคุม ให้คนงานเข้าทำการรื้อกระสอบทราย ที่บริเวณด้านหน้าโรงงาน กล่าวว่า ขณะนี้ผู้บริหารของบริษัทมีความมั่นใจแล้วว่า จะไม่มีน้ำไหลเข้ามาท่วมพื้นที่ของโรงงานแล้ว

    หลังจากได้มีการจับตาเฝ้าดูสถานการณ์และติดตามข่าวสารผ่านทางสื่อมาโดยตลอด ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ที่มีความตกใจกันมาก เพราะมีข่าวว่าจะมีการผันปล่อยระบายน้ำทิ้งมาทางนี้ และยังเห็นว่ามีนิคมอุตสาหกรรมอีกหลายแห่งถูกปล่อยจมน้ำด้วย จึงได้พากันเร่งสร้างกำแพงสูงกว่า 3 เมตรขึ้นมาล้อมรอบตัวโรงงานเอาไว้

    ซึ่งโรงงานมีความอ่อนไหว และเสี่ยงต่อความเสียหายสูงมาก เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ นั้นเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ แต่พอมาถึงตอนนี้แล้วเชื่อว่าสถานการณ์ได้ผ่านเลยจุดวิกฤติสูงสุดไปแล้ว เพราะไม่มีน้ำไหลผ่านมาทางนี้สักหยด และยังเห็นได้ว่าพื้นที่หลายแห่งโดยเฉพาะพื้นที่ภายในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ตามอำเภอต่างๆ ที่เคยถูกน้ำท่วมนั้น น้ำได้แห้งลดลงหมดแล้ว ถึงวันนี้จึงมั่นใจแล้วว่าจะไม่มีน้ำจากที่ไหนไหลเข้ามาท่วมโรงงานอีกเพราะว่าน้ำมาไม่ได้

    ถึงขณะนี้จึงอยากฝากความมั่นใจไปถึงยังนักลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุนจากต่างชาติ ด้วยว่า พื้นที่ในเขตย่าน อ.บางปะกง แห่งนี้ ปลอดภัยจากน้ำท่วม จนสามารถฝ่าผ่านวิกฤติต่างๆ ที่หลายพื้นที่ถูกน้ำท่วมทั้งทางภาคกลาง และ กทม. แต่ที่นี่รอดพ้นผ่านจากภัยพิบัติทั้งหมดมาได้แล้ว









    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554 18:42 น.
    http://www.manager.co.th/Local/ViewN...d3%b7%e8%c7%c1

    ข่าวน้ำท่วมในต่างประเทศ

    >> ออสเตรเลีย <<


    ออสเตรเลียสั่ง ปชช.เร่งอพยพออกจากพื้นที่น้ำท่วม

    ทางการออสเตรเลีย ประกาศให้ประชาชนในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ที่ยังสามารถออกจากบ้านเรือนได้ให้เร่งอพยพออกจากพื้นที่ไปยังที่ปลอดภัย หลังเมื่อวานนี้ (27 พ.ย.) เกิดฝนตกหนักจนน้ำเอ่อท่วมสูง ขณะที่พื้นที่ทางตอนเหนือของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประชาชนราว 2,000 คน ยังติดอยู่ท่ามกลางวงล้อมของน้ำท่วม ทำให้ไม่สามารถเดินทางออกจากพื้นที่ได้
    ด้านหน่วยบรรเทาสาธารณภัย ต้องใช้เฮลิคอปเตอร์และเครื่องบินเล็ก ลำเลียงสิ่งไปช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยอย่างยากลำบาก

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554 15:59 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...d3%b7%e8%c7%c1
    >> สหรัฐอเมริกา <<


    สหรัฐน้ำท่วมหนัก!! ชาวบ้านเร่งอพยพจากบ้านเรือน

    สถานการณ์น้ำท่วมทางตอนเหนือของรัฐนิวเซาท์เวลส์ขณะนี้ อาสาสมัครระดมกำลังค้นหาเด็กชายวัย 7 ขวบคนหนึ่ง ซึ่งถูกกระแสน้ำพัดพาสูญหายไป ขณะกำลังเล่นกับเพื่อนๆ ริมแม่น้ำ
    นอกจากอาสาสมัครแล้ว ยังมีทีมนักประดาน้ำ ที่เข้าร่วมในการค้นหาด้วย ที่เมืองโมลีนชาวบ้านรวม 2,000 คน ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก หลังถนนหลายสายถูกน้ำท่วม ทางการต้องใช้เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงอาหาร และยารักษาโรค เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมทั้งขอให้ชาวบ้านในหลายพื้นที่อพยพออกจากบ้านเรือน หลังระดับน้ำยังคงท่วมสูงขึ้นเรื่อยๆ และจนถึงขณะนี้มีชาวเมืองอพยพออกจากบ้านเรือนแล้วหลายสิบหลัง

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554 14:19 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000151529
  20. IAm
    IAm

    29 พฤศจิกายน 2554
    ==================================================


    >> กรุงเทพฯ <<


    ชาวสายไหมโวยม็อบปทุมฯเปิด ปตร.พระยาสุเรนทร์

    ชาวบ้านเหนือ ปตร.พระยาสุเรนทร์ อ้างน้ำเริ่มลดระดับ หลังบุกเปิด ปตร.ที่ระดับ 1.50 เมตร และยังคงเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ชี้ หาก กทม.ช่วยระบายน้ำชาวสายไหมและบางเขน ไม่น่าได้รับผลกระทบ ด้านชาวสายไหมรีบโวยทันที บอกทำให้เดือดร้อน หวิดปะทะกัน แต่ไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น ส่วน กทม.ส่งผู้แทนเจรจาแต่ชาวบ้านยันเจรจากับผู้ว่าฯ กทม.คนเดียวเท่านั้น

    วันนี้ (29 พ.ย.) ชาวบ้านย่านลำลูกกา ซึ่งอยู่เหนือประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ ยังคงรวมตัวกันบริเวณสะพานด้านหน้าประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ อย่างต่อเนื่อง หลังจากที่คืนวานนี้ได้รวมตัวบุกเปิดประตูระบายน้ำจาก 1 เมตร ให้กลายเป็น 1.50 เมตร และยังปักหลักเฝ้าติดตามสถานการณ์ เพราะเกรงว่า กทม.จะปิดประตูระบายน้ำเหลือเพียง 1 เมตร โดยชาวบ้านระบุว่า เมื่อเปิดประตูระบายน้ำ ระดับ 1.50 เมตร พบว่า น้ำที่เคยท่วมสูงในชุมชนเหนือประตูระบายน้ำ ทั้ง อ.ธัญบุรี คลองหลวง และลำลูกกา จ.ปทุมธานี เริ่มลดลง หากกรุงเทพมหานครช่วยเร่งระบายน้ำ เชื่อว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชาวบ้านเขตสายไหม หรือเขตบางเขน ที่อยู่ใต้ประตูระบายน้ำ น่าจะไม่มี

    ทั้งนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ชาวบ้านย่านสายไหม ซึ่งอยู่ด้านใต้ประตูระบายน้ำ ไม่พอใจการกระทำดังกล่าว จึงได้ออกมารวมตัวเช่นกัน โดยมีชาวบ้าน 2 ราย ที่แสดงอาการโกรธไม่พอใจ และตะโกนต่อว่า พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ ซึ่งเป็นแกนนำในการเปิดประตูระบายน้ำว่า การกระทำครั้งนี้ ทำให้ชาวบ้านย่านสายไหม พื้นที่ใต้ประตูระบายน้ำได้รับความเดือดร้อน เพราะเชื่อว่าระดับน้ำจะเพิ่มขึ้น จากนั้น พ.ต.ต.เสงี่ยม จึงได้เดินทางเข้าไปเจรจาถึงเหตุผลในการรวมตัวกัน ก่อนที่คนทั้ง 2 จะแยกย้ายเดินทางออกไป โดยไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรงใดๆ เกิดขึ้น

    นอกจากนี้ ยังคงมีชาวบ้านย่านสายไหม บางส่วนที่เห็นเหตุการณ์กล่าวว่า อยากให้ ศปภ.และ กทม.หาข้อยุติในเรื่องการเปิดประตูระบายน้ำในจุดนี้อย่างชัดเจน เพราะไม่ต้องการให้ชาวบ้าน 2 พื้นที่ทะเลาะกัน

    อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีตัวแทนจาก ศปภ.และ กทม.ทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ซึ่งกองบังคับการตำรวจนครบาล 2 ส่งเจ้าหน้าที่จาก สน.คันนายาว และ สายไหม เข้ามาควบคุมสถานการณ์ เนื่องจากเกรงว่า หากปล่อยเวลาให้นานออกไปสถานการณ์อาจรุนแรงได้ แต่ชาวบ้านยืนยันเรียกร้องด้วยความสงบ ไม่มีเรื่องการเมืองเกี่ยวข้อง เป็นเรื่องความเดือดร้อนล้วนๆ และหากเปิดประตูระบายน้ำเพียง 1 เมตร ชาวบ้านจะหามาตรการที่เปิด 1.50 เมตรให้ได้

    ล่าสุด กรุงเทพมหานคร ส่ง นายณรงค์ เรืองศรี ผู้อำนวยการกองอาคารบังคับน้ำ เป็นผู้แทนมาเจรจากับชาวบ้านปทุมธานี นำโดย พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ เป็นแกนนำ ขณะที่ พล.ต.ท.วินัย ทองสอง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ร่วมเป็นสักขีพยาน โดยชาวบ้านเสนอข้อเรียกร้องให้คงที่การเปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ที่ 1.50 เมตร เพื่อช่วยระบายความเดือดร้อนชาวปทุมธานีในขณะนี้ลงมา

    นอกจากนี้ ยังยืนยันที่จะเจรจากับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพียงคนเดียว เพราะมีอำนาจตัดสินใจให้เปิดหรือปิดประตูระบายน้ำ โดยเฉพาะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าใจผิดว่า ที่ชาวบ้านมาเรียกร้องเป็นผู้ชุมนุมที่จัดตั้งโดยรัฐบาล หรือ ศปภ.ซึ่งชาวบ้าน ยืนยันว่า ผู้ที่มาเป็นผู้ที่เดือดร้อนจากสถานการณ์น้ำท่วมมานานหลายเดือน พร้อมกับขอให้ทางตำรวจเป็นพยาน ว่า ผู้ชุมนุมมาเรียกร้องโดยสันติ และจะไม่มีการทำลายทรัพย์สิน สิ่งของของทางราชการ หากเกิดความเสียหายใดๆ ให้สามารถดำเนินการได้ทั้งทางคดีอาญา และทางแพ่ง

    ด้านผู้แทนกรุงเทพมหานคร ขอนำผลการเจรจากลับไปเสนอให้ผู้บริหารตัดสินใจ นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ได้มี 2 เจ้าหน้าที่ได้นำกล้องวงจรปิดมาติดตั้งบริเวณเสาไฟฟ้าใกล้กับประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ สายไหม 86 ด้วย











    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤศจิกายน 2554 17:29 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000152211

    คลองมอญน้ำยังสูง,ขยะเยอะ-ประสาน กทม.เร่งกำจัด

    นายอุเทน ชาติภิญโญ ที่ปรึกษาด้านน้ำของนายกรัฐมนตรี สรุปผลการตรวจสถานีสูบน้ำคลองมอญและคลองบางกอกใหญ่ โดยสถานีสูบน้ำคลองมอญระดับสูงเกินกว่าที่ควร มีขยะกีดขวางไม่มีการเปิดเครื่องสูบน้ำที่มีอยู่ ทำให้น้ำไหลได้ช้า ส่วนคลองบางกอกใหญ่ระดับน้ำต่ำ คลองยังสามารถระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้อีกมาก และมีขยะ ส่วนเครื่องสูบน้ำขนาด 2 คิวต่อวินาทีจำนวน 5 เครื่องที่ติดตั้งอยู่ เจ้าหน้าที่ประจำประตูระบายน้ำเคยแจ้งว่าเครื่องใช้การไม่ได้ จึงแจ้งให้นำเครื่องไปติดตั้งที่สถานีสูบน้ำคลองมหาสวัสดิ์และคลองโยง ซึ่งผ่านไปกว่า 10 วันแล้วยังไม่มีการดำเนินการใดๆ จึงขอให้ทาง กทม.เก็บขยะทั้งหมด เพื่อเร่งระบายน้ำ และขณะนี้เขตตลิ่งชัน บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ น้ำแห้งแล้ว ทำให้เขตภาษีเจริญ บางแค หนองแขม น้ำลดลงได้เร็วขึ้น รวมถึงการเร่งรัดให้ กทม.ประสานกรมชลประทานนำเครื่องสูบน้ำ 2 คิวต่อวินาที จำนวน 2 เครื่องไปติดตั้งที่สถานีสูบน้ำคลองมหาสวัสดิ์และคลองโยง

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤศจิกายน 2554 17:42 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000152227

    กทม. พร้อมส่งผู้อพยพกลับบ้าน ชวนจิตอาสาร่วมล้างโรงเรียน 1-5 ธ.ค.นี้

    โรงเรียนสังกัดกทม. จำนวน 345 โรงเรียน ในพื้นที่ 40 สำนักงานเขต จะเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ในวันที่ 6 ธ.ค. 54 นี้ ซึ่งกทม. ได้กำหนดจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน โดยในวันที่ 30 พ.ย. 54 นี้ จะทยอยส่งผู้อพยพที่ประสบภัยน้ำท่วม และสมัครใจกลับบ้าน พร้อมมอบถุงทำความสะอาดเพื่อนำไปใช้ในการทำความสะอาดบ้านเรือนด้วย โดยสำนักงานเขตจะจัดรถรับ–ส่งประชาชนไปยังจุดรวมพล ณ ชุมชนต่างๆ ส่วนผู้อพยพที่ยังไม่สามารถกลับบ้านได้ กทม. จะเปิดศูนย์เยาวชนฯ ศูนย์กีฬาฯ รวมทั้งค่ายลูกเสือของกทม. ให้เป็นที่พักอาศัยชั่วคราวจนกว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะคลี่คลาย
    สำหรับโรงเรียนในพื้นที่ที่ยังมีระดับน้ำท่วมสูง จำนวน 91 โรงเรียน ในพื้นที่ 10 สำนักงานเขต ซึ่งยังไม่สามารถเปิดเรียนได้ในวันที่ 6 ธ.ค. 54 จะเลื่อนไปเปิดเรียนในวันที่ 13 ธ.ค. 54 ประกอบด้วย เขตสายไหม เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง เขตบางบอน เขตทวีวัฒนา เขตหนองแขม เขตบางแค เขตคลองสามวา เขตมีนบุรี และเขตบางเขน
    ทั้งนี้ กทม. ขอเชิญชวนทุกภาคส่วนร่วมทำความสะอาดโรงเรียนตั้งแต่ 1–5 ธ.ค. 54 สำหรับหน่วยงานที่ประสงค์จะเข้าร่วมฯ สามารถประสานโดยตรงที่สำนักงานเขตทุกแห่ง โดยในวันเสาร์ที่ 3 ธ.ค. 54 คณะผู้บริหารกทม. จะร่วมกับภาคเอกชน และกลุ่มจิตอาสา ทำความสะอาด ฉีดพ่นยุง ฆ่าเชื้อรา ในโรงเรียนวัดหลักสี่ เขตหลักสี่ โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ) และโรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์) เขตดอนเมือง

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤศจิกายน 2554 19:21 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000152277

    "รศ.เสรี" ชี้หลัง 1 ธ.ค.น้ำต่ำกว่าตลิ่ง ระบายลงเจ้าพระยาได้ดีขึ้น

    คลองพระยาสุเรนทร์ระบายน้ำช้า ติดขยะ ตอม่อทางด่วน มีคอคอดหลายจุด คลองเปรมประชากรระบายน้ำได้ดีขึ้นมาก พื้นที่ในบล็อค ถ.สรงประภา ถ.ประชาอุทิศ ต้องรอน้ำในคลองเปรมฯลด จึงระบายน้ำท่วมขังออกได้ หลัง 1 ธ.ค.น้ำทะเลหนุนลดลง ระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้มากขึ้น

    เมื่อเวลา 20.30 น. รศ.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร กล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กล่าวว่า วันนี้( 29 พ.ย.)ได้ไปสำรวจสถานการณ์น้ำที่คลองพระยาสุเรนทร์ และคลองเปรมประชากร

    ถึงแม้ปริมาณน้ำเหนือลดลงต่อเนื่อง แต่ต้องรอว่าเมื่อไรจะลดลงต่ำกว่าตลิ่ง ขณะนี้ที่แม้น้ำเจ้าพระยาระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่งทั้งหมด ยกเว้นที่จ.ปทุมธานี ในวันพรุ่งนี้( 30 พ.ย.) น้ำจะลงต่ำกว่าตลิ่ง ก็สามารถระบายน้ำในทุ่งลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้ดีขึ้น โดยระดับน้ำทะเลหนุน วันนี้ยังสูงอยู่ แต่หลังจากนี้ ในวันที่ 1 ธ.ค. น้ำทะเลหนุนลดลง การระบายน้ำจะทำได้ดีขึ้น

    สถานการณ์น้ำที่คลองพระยาสุเรนทร์ ไหลช้า เนื่องจากมีขยะ โดยเฉพาะช่วงกลางคลองก.ม.ที่ 8 ส่วนที่เป็นคลองซอยเชื่อมกับคลองพระยาสุเรนทร์น้ำก็ไหลช้า ซึ่งทำให้มีปัญหาน้ำเอ่อในพื้นที่ ถนนสุขาภิบาล 5 ถนนวัชรพล หลายจุดในคลองมีตอม่อ ทำให้น้ำเอ่อขึ้นมา น้ำไม่ไหล

    สำหรับที่คลองเปรมประชากร ที่ถนนประชาอุทิศ ถนนสรงประภา น้ำยังมีอยู่บนถนน ขณะที่คลองเปรมประชากร ระบายน้ำได้ดีขึ้นมาก จาก 4 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีระบายได้เป็น 15 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยที่เมืองเอกมีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำออก และที่ประตูระบายน้ำคลองเปรมก็มีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเช่นกัน

    สำหรับพื้นที่ในบล็อค ถนนประชาอุทิศ ถนนช่างอากาศอุทิศ ถนนสรงประภา มีน้ำขังประมาณ 5 แสนลูกบาศก์เมตร แต่เนื่องจากน้ำในคลองเปรมฯบริเวณนี้ยังล้นอยู่ จึงต้องใช้เวลา ต้องรอให้ระดับน้ำในคลองเปรมฯลดลง เพราะตอนนี้มีปริมาณน้ำเข้าและออก 15 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีเท่ากัน เมื่อน้ำในคลองเปรมฯลดระดับลง ก็จะสูบน้ำท่วมขัง ที่มีอยู่ 5 แสนลูกบาศก์เมตร ออกจากพื้นที่ได้

    สำหรับคลองพระยาสุเรนทร์ มีความยาว 16 ก.ม. หลายจุดเป็นคอคอด มีตอม่อของทางด่วน และถนนวงแหวนหลายจุดอยู่ในคลอง ทำให้การระบายน้ำทำได้ช้า ในอัตรา 8 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ดังนั้นการจะเปิดหรือไม่เปิดประตูระบายน้ำไม่สำคัญ ถ้าทำให้ระบายน้ำลงได้เร็วขึ้น ก็สามารถเปิดประตูระบายน้ำได้

    ภาพรวมสถานการณ์น้ำในทุ่งภาคกลาง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มลดลง แต่ด้านเหนือของกรุงเทพมหานครยังรับน้ำทุ่งอยู่ บนถนนอาจจะแห้ง แต่น้ำในทุ่งก็ยังมีอยู่บางแห่งท่วมสูงถึง 1 เมตร จึงต้องใช้เวลาในการระบายน้ำออก ขณะที่น้ำเหนือยังเติมอยู่ต่อเนื่อง แต่ที่กทม.มีคลองสกัดอยู่ ทั้งคลอรังสิตประยูรศักดิ์ และคลองหกวาสายล่าง จึงทำให้น้ำไม่เข้ากทม. ส่วนฝั่งตะวันตกของกทม.ใช้คลองมหาสวัสดิ์ เป็นคลองหลักในการระบายน้ำลงแม่น้ำเจ้าพระยา ถ้าตั้งคันได้ก็จะสูบน้ำลงได้ แต่น้ำตอนนี้น้ำก็ยังมีอยู่มาก

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤศจิกายน 2554 21:00 น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...=9540000152316

    5 ใน 7 นิคมฯ แห้งแล้ว ก.อุตฯ หนุนน้ำทำความสะอาด

    นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม รวม 7 แห่งใน จ.พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี ขณะนี้สูบน้ำแห้งแล้วรวม 5 แห่ง ยังคงเหลือที่อยู่ระหว่างสูบน้ำอีก 2 แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ที่คาดว่าจะเริ่มต้นสูบน้ำในวันที่ 2 ธันวาคมนี้ และสวนอุตสาหกรรมนวนคร ซึ่งคาดว่าน้ำจะแห้งในวันที่ 10 ธันวาคม
    นอกจากนี้ เขตประกอบการอุตสาหกรรมบางกะดี ที่ประสบอุทกภัยตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม ที่ผ่านมา การฟื้นฟูมีความคืบหน้าอย่างมาก โดยได้กำหนดให้วันที่ 5 ธันวาคมนี้ เป็นวันบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ด้วย
    สำหรับนิคมอุตสาหกรรมบางหว้า หรือนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค มีการกำหนดให้วันที่ 1 ธันวาคมนี้ เป็นวัน Restore Full Operation เพื่อดำเนินเครื่องสู่ภาคการผลิต
    ทางด้านเขตประกอบการอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์ มีโรงงานเริ่มเดินเครื่องแล้ว 47 โรงงาน จากทั้งหมด 93 โรงงาน
    นายแพทย์วรรณรัตน์ กล่าวด้วยว่า การฟื้นฟูโรงงานแต่ละแห่งใช้เวลาแตกต่างกัน เนื่องจากผลกระทบทีได้รับแตกต่างกัน ขณะเดียวกัน กระทรวงอุตสาหกรรมจะให้การสนับสนุนและการจัดหาน้ำสะอาดให้แก่โรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงงานด้านอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความจำเป็นจะต้องใช้ในการทำความสะอาดโรงงานและเครื่องจักร

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤศจิกายน 2554 17:25 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000152209

    >> นนทบุรี <<


    ชาวบ้านบางกรวยเร่งกู้พื้นที่น้ำท่วม ยังคงสัญจรด้วยเรือ

    บางกรวย นนทบุรี น้ำยังคงท่วม ชาวบ้านต้องใช้สะพานทางเดินเล็กในการสัญจรและใช้เรือ ในชีวิตประจำวัน คาดต้น ธ.ค.กู้ ถ.กาญจนาภิเษก ได้

    สถานการณ์น้ำท่วมหลายพื้นที่ฝั่งตะวันตกกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่น บริเวณถนนเพชรเกษม เขตบางแค ต่อเนื่องไปจนถึงตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร มีเพียงบางพื้นที่ซึ่งเป็นที่ลุ่มต่ำน้ำยังท่วมขัง

    ที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ในพื้นที่เขตเทศบาลน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง อยู่ที่ระดับ 50-70 เซนติเมตร แต่บางชุมชน เช่น ชุมชนริมถนนเทอดพระเกียรติ น้ำยังท่วมเกือบ 1 เมตร เพราะเป็นที่ลุ่ม ชาวบ้านยังเดือดร้อนเรื่องการเข้าออกพื้นที่

    ตำบลปลายบาง ถนนกาญจนาภิเษก ยังมีน้ำท่วมเป็นบางจุด โดยเฉพาะในชุมชนซอยวัดส้มเกลี้ยง หลายหมู่บ้านน้ำยังท่วมสูงตั้งแต่ 50 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร ชาวบ้านไม่สามารถเข้าออกพื้นที่ได้ เนื่องจากรถยนต์ไม่สามารถสัญจรได้ องค์การบริหารส่วนตำบลจึงสร้างสะพานชั่วคราว เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับชาวบ้านในเบื้องต้น แต่สะพานมีความยาวเพียง 1 กิโลเมตร













    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤศจิกายน 2554 20:02 น.
    http://www.manager.co.th/qol/viewnew...=9540000138124

    >> อุบลราชธานี <<


    น้ำท่วมอุบลฯตาย 9 ราย วอนรัฐเร่งสำรวจความเสียหายจ่ายเงินซ่อมบ้าน

    อุบลราชธานี -สรุปน้ำท่วมอุบลราชธานี เสียชีวิต 9 ราย ส่วนชาวบ้านเร่งซ่อมบ้านที่เสียหายจากน้ำท่วม พร้อมวอนเจ้าหน้าที่เร่งสำรวจจ่ายช่วยซ่อมแซม โดยนายกเล็กเทศบาลเมืองวารินชำราบ ระบุ ตั้งชุดสำรวจไปถ่ายรูปเก็บข้อมูล เพื่อหาทางช่วยเหลือชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมแล้ว ขณะที่เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ พบบ้านทรุดตัวจากดินสไลด์เพิ่มเป็น 6 หลังคาเรือน และชาวบ้านในตำบลนี้ ยังไม่ได้รับเงินเยี่ยวยา 5,000 บาท

    วันนี้ (29 พ.ย.) ที่ชุมชนหาดสวนยา เทศบาลเมืองวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี นักเรียน ครูอาจารย์ ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานเทศบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข นำน้ำที่ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อฉีดลงตามพื้นห้องเรียน และขัดถูบริเวณเสาประตูที่ถูกสัมผัสจากเด็กนักเรียน เพื่อป้องกันเชื้อราและเชื้อโรคอื่นที่ปะปนมาขณะเกิดน้ำท่วมในโรงเรียนเป็นเวลานาน และได้เปิดทำการเรียนการสอนในโรงเรียนได้ตามปกติ ตอนช่วงสายของวันเดียวกัน

    ขณะที่ชาวบ้านเริ่มซ่อมแซมบ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วมมานานกว่า 3 เดือน เพราะพื้นและประตูหน้าต่างถูกน้ำพัดเสียหายหมดทั้งหลัง โดยเฉพาะบ้านชั้นเดียวได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งนี้มากที่สุด

    นางอรัญญา แสนโคตร ชาวชุมชนหาดสวนยา ที่บ้านได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม กล่าวว่า ต้องการให้เจ้าหน้าที่เข้ามาสำรวจความเสียหายเร็วขึ้น เพราะบ้านได้รับความเสียหายมาก ไม่สามารถทิ้งรอเป็นเวลานาน เพราะเป็นปัญหาในการเข้าอยู่อาศัย เมื่อชาวบ้านทราบวงเงินค่าซ่อมแซมจากรัฐบาล จะได้ซ่อมแซมบ้านได้อย่างถูกต้อง ไม่เกิดเป็นภาระหนี้สินที่ต้องเพิ่มขึ้นอีก

    ด้าน นายจีระชัย ไกรกังวาร นายกเทศบาลเมืองวารินชำราบ กล่าว่วา ขณะนี้ยังมีประชาชนในเขตเทศบาลไม่สามารถย้ายกลับเข้าอยู่อาศัยในบ้านได้ประมาณ 10% ของผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมด หลังน้ำลดเจ้าหน้าที่ได้เข้าเก็บกวาดทำความสะอาดวัชพืชที่น้ำพัดพามาตกค้างในพื้นที่

    สำหรับการสำรวจความเสียหายที่เกิดกับอาคารบ้านเรือนของประชาชนในพื้นที่ 14 ชุมชน ได้ตั้งชุดเข้าสำรวจโดยการถ่ายภาพ เพื่อรายงานให้อำเภอและสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของบประมาณช่วยเหลือจากรัฐบาล โดยเน้นจ่ายช่วยเหลือตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งการสำรวจคาดว่าจะแล้วเสร็จไม่เกินกลางเดือนธันวาคมศกนี้

    ขณะเดียวกัน ที่ชุมชนช่างหม้อ ในเขตเทศบาลตำบลคำน้ำแซบ อ.วารินชำราบ บ้านเรือนประชาชนที่ปลูกสร้างอยู่ติดแม่น้ำมูล ดินเกิดการสไลด์ตัว เพราะถูกน้ำท่วมไหลกัดเซาะเป็นเวลานาน ทำให้บ้านพังเสียหายทั้งหลังจำนวน 6 หลังคาเรือน

    นายณรงค์ พันธุโสรี รองนายกเทศบาลตำบลคำน้ำแซบ กล่าวว่า จากการสำรวจหลังน้ำลดพบบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ตามริมแม่น้ำมูล ถูกน้ำกัดเซาะหน้าดินจนบ้านทรุดตัวจำนวน 6 หลัง ซึ่งได้รายงานขอความช่วยเหลือไปทางจังหวัด เพื่อของบสนับสนุนการซ่อมแซมให้กับประชาชน สำหรับการแก้ปัญหาไม่ให้ดินทรุดตัว ต้องทำผนังกั้นน้ำ ซึ่งต้องรองบประมาณจากรัฐบาลกลาง

    ส่วนการให้ความช่วยเหลือบ้านเรือนประชาชนที่ถูกน้ำท่วมขังนานเกิน 7 วัน ได้ทำเรื่องขอรับงบประมาณครอบครัวละ 5,000 บาท จำนวน 207 ครอบครัวไปทางอำเภอแล้ว แต่ชาวบ้านยังไม่ได้รับเงิน เพราะงบประมาณยังไม่ตกมา ทั้งที่พื้นที่ใกล้เคียงกันชาวบ้านได้รับเงินหมดแล้ว

    สำหรับจังหวัดอุบลราชธานี ที่ผ่านมาได้ขอเบิกเงินให้ผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขังนานเกิน 7 วัน และถูกน้ำท่วมแบบฉับพลันไปแล้วจำนวน 3,955 ครอบครัว เป็นเงินกว่า 19 ล้านบาท และมีผู้เสียชีวิตจากน้ำท่วมรวมทั้งสิ้น 9 ราย


    สภาพบ้านที่สร้างริมตลิ่งถูกน้ำกัดเซาะพัง


    ผู้ประสบภัยน้ำท่วมเรียกร้องให้รัฐเร่งจ่ายเงินชดเชย เพราะต้องใช้ซ่อมแซมบ้าน

    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤศจิกายน 2554 17:47 น.
    http://www.manager.co.th/Local/ViewN...=9540000152196


    >> ภาคใต้ <<


    4 อำเภอรอบทะเลสาบสงขลา ยังอ่วม เหตุน้ำทะเลหนุน

    ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - พื้นที่ริมทะเลสาบสงขลายังได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำทะเลหนุนเข้าท่วมจากมวลน้ำที่ไหลมาจากลำคลองสาขาทั้งใน จ.สงขลา และ จ.พัทลุง โดยเฉพาะพื้นที่หมู่ 7 บ้านดอนเคดเหนือได้ประกาศเป็นเขตภัยพิบัติเนื่องจากสถานการณ์ค่อนข้างหนัก

    วันนี้ (29 พ.ย.) ความคืบหน้าสถานการณ์น้ำท่วมใน จ.สงขลา จนถึงขณะนี้เหลือเพียงพื้นที่ที่อยู่ติดริมทะเลสาบสงขลารวม 4 อำเภอ ที่ยังได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำในทะเลสาบสงขลาหนุนเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ติดริมทะเล ประกอบด้วย อ.สิงหนคร อ.สทิงพระ อ.ระโนด และบางส่วนของ อ.บางกล่ำ เป็นผลมาจากปริมาณน้ำในทะเลสาบสงขลาที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำที่ไหลมาจากลำคลองสาขาทั้งในพื้นที่ จ.สงขลา และมวลน้ำที่ไหลมาจาก จ.พัทลุง ซึ่งประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก

    สำหรับพื้นที่ริมทะเลสาบสงขลาที่สถานการณ์ค่อนข้างหนักคือที่บ้านดอนเคดเหนือ หมู่7 ต.คูขุด อ.สทิงพระ ซึ่งเป็นหนึ่งในหมู่บ้านที่ได้มีการประกาศเป็นเขตภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน เนื่องจากน้ำได้หนุนเข้าท่วมบ้านเรือน และถนนภายในหมู่บ้าน บางครอบครัวที่ไม่มีเรือต้องใช้ถังผสมปูนเป็นพาหนะในการเข้าออกจากบ้าน

    ขณะที่สถานการณ์ในอำเภออื่นๆ ทั้ง อ.ควนเนียง อ.สะบ้าย้อย อ.รัตภูมิ อ.จะนะ และ อ.เมือง ซึ่งอยู่ในพื้นที่สูงและเชิงเขา สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ยังเหลือเพียงชาวบ้าน บ้านแลแบง ใน อ.สะบ้าย้อย ทั้ง 99 ครัวเรือนที่ยังคงพักพิงอยู่ภายในศูนย์อพยพในโรงเรียนสะบ้าย้อย แม้น้ำที่ท่วมในหมู่บ้านจะลดลงแต่ชาวบ้านยังไม่กลับเข้าไปเนื่องจากเกรงว่าจะเกิดน้ำท่วมอีกครั้งในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ที่จะมีมรสุมเกิดขึ้นอีกระลอก



    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤศจิกายน 2554 17:44 น.
    http://www.manager.co.th/Local/ViewN...=9540000152178

    ประมงสงขลาเก็บตัวอย่างน้ำทะเลสาบ หลังเกิดปลาตายอย่างต่อเนื่อง

    ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - นักวิชาการประมง ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำในทะเลสาบสงขลา ไปตรวจสอบหาเหตุที่ทำให้ปลากะพงขาวในกระชังของเกษตรกรตาย เมื่อสองวันที่ผ่านมาว่ามาจากผลกระทบจากปริมาณน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้น้ำจืดและมีแบคทีเรียปนเปื้อนมากับน้ำ

    วันนี้ (29 พ.ย.) นายนิคม ละอองศิริวงศ์ นักวิชาการประมง ชำนาญการ สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จ.สงขลา ลงพื้นที่ตรวจสอบ และเก็บตัวอย่างน้ำในทะเลสาบสงขลาพื้นที่ ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา หลังจากที่เมื่อช่วงสองวันที่ผ่านมาปลากะพงขาวในกระชังของเกษตรกรใน ต.เกาะยอ ทยอยตายอย่างต่อเนื่อง

    เพื่อนำตัวอย่างน้ำไปตรวจสอบหาสาเหตุว่า มาจากสภาพแวดล้อมของน้ำในทะเลสาบสงขลาที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงนี้หรือไม่ เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำทั้งจากในพื้นที่ จ.สงขลา และ จ.พัทลุง ซึ่งจะทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียจากสภาพน้ำที่เพิ่มขึ้นทำให้น้ำทะเลจืด ซึ่งพบบ่อยในปลาเล็กที่อยู่ในช่วงอายุประมาณ 3 เดือน

    ทั้งนี้ เพื่อเร่งหาทางป้องกัน และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังรอบทะเลสงขลา โดยเฉพาะใน ต.เกาะยอ ซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงปลากะพงขาวมากที่สุดใน จ.สงขลามีกระชังเลี้ยงปลากะพงกว่า 500 กระชัง และเป็นสัตว์เศรษฐกิจของ จ.สงขลา ที่ส่งออกไปยังมาเลเซีย และประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำใน จ.สงขลา





    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤศจิกายน 2554 17:40 น.
    http://www.manager.co.th/Local/ViewN...=9540000152165

    >> ปัตตานี <<


    น้ำท่วมขังปัตตานีเริ่มลดลงแต่ชาวบ้านกว่า 2 หมื่นครัวเรือนยังเดือดร้อน

    ปัตตานี - จ.ปัตตานี ยังคงให้ 12 อำเภอของปัตตานีเป็นพื้นที่ภัยพิบัติน้ำท่วม โดยบางจุดมีการสูบน้ำทำให้ระดับน้ำเริ่มลดลง ประกอบกับไม่มีฝนตกลงมา ทว่าชาวบ้านกว่า 2 หมื่นครัวเรือนยังประสบความเดือดร้อน

    วันนี้ (29 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมว่า ทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ปัตตานี ยังคงประกาศให้พื้นที่ 12 อำเภอเป็นพื้นที่เกิดภัยพิบัติต่อไปอีก โดยเฉพาะ ต.ปะกาฮารัง, ต.บาราเฮาะ, ต.ตะลุโบ๊ะ, ต.ปูยุด, ต.รูสะมิแล อ.เมือง

    ต.ลิปะสะโง, ต.คอลอตันหยง, ต.ยาบี, ต.ดอนรัก อ.หนองจิก ยังคงมีน้ำท่วมสูงที่สุด เนื่องจากมวลน้ำจาก จ.ยะลายังไหลหลากทำให้แม่น้ำปัตตานีได้อ้อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่ม ราษฎรทั้ง 2 อำเภอ เกือบ 200,000 ครัวเรือน ยังคงได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก

    ขณะที่ อ.ยะรัง อ.แม่ลาน อ.มายอ อ.กะพ้อ อ.ทุ่งยางแดง ระดับน้ำเริ่มลดลงมีเพียงน้ำท่วมขัง ส่วนอำเภออื่นๆ สถานการณ์น้ำเริ่มคลี่คลายลงแล้ว ทั้งนี้สืบเนื่องจากฝนที่หยุดตก

    เช่นเดียวกับในเขตเทศบาลเมืองปัตตานีที่ ต.จะบังติกอ ต.สะบังรัง น้ำได้ลดลงแล้ว มีเพียงบางจุดยังคงมีน้ำท่วมขัง เนื่องจากเทศบาลเมืองปัตตานีได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่จำนวน 3 ตัว รอบเขตเทศบาลเมืองปัตตานี เพื่อเร่งระบายน้ำไหลลงสู่แม่น้ำโดยเร็ว จึงทำให้การระบายน้ำเป็นไปอย่างรวดเร็ว และน้ำไม่ขยายวงกว้างเข้าท่วมย่างเศรษฐกิจของจังหวัดปัตตานี









    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤศจิกายน 2554 16:05 น.
    http://www.manager.co.th/Local/ViewN...=9540000152133
  21. wnonach
    wnonach
    Thank you very much kha. [/COLOR]
  22. IAm
    IAm

    1 ธันวาคม 2554
    ==================================================



    ศอส.เผย ยังมีน้ำท่วม 21 จังหวัด เสียชีวิตรวม 666 ราย

    ศอส.ระบุ ไทยตอนบนมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 15 จังหวัด มี ปชช.ได้รับความเดือดร้อน 1,800,043 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 657 ราย สูญหาย 3 ส่วนในภาคใต้มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 6 จังหวัด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 9 ราย

    วันนี้ 1 ธ.ค.ที่กระทรวงมหาดไทย ศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์ อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) รายงานถึงสถานการณ์อุทกภัยและประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ใน 2 พื้นที่ คือ ประเทศไทยตอนบนมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 15 จังหวัด 104 อำเภอ 773 ตำบล 4,898 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,800,043 ครัวเรือน 4,827,958 คน ได้แก่ นครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ นครนายก ฉะเชิงเทรา และ กทม.มีผู้เสียชีวิต 657 ราย สูญหาย 3 คน (จ.แม่ฮ่องสอน 2 ราย จ.อุตรดิตถ์ 1 ราย)

    ส่วนสถานการณ์ในภาคใต้มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 6 จังหวัด 42 อำเภอ 228 ตำบล 1,421 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 100,233 ครัวเรือน 334,361 คน ได้แก่ พัทลุง ตรัง นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา และ ปัตตานี มีผู้เสียชีวิต 9 ราย (จ.พัทลุง 2 ราย สงขลา 2 ราย ยะลา 2 ราย นราธิวาส 3 ราย)

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 ธันวาคม 2554 20:44 น.
    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...d3%b7%e8%c7%c1

    >> นราธิวาส <<


    เร่งซ่อมถนนในศรีสาครถูกน้ำเซาะพังเสียหายกว่า 20 เมตร

    นราธิวาส - เร่งขนเครื่องจักรกลหนักจาก อบจ.นราธิวาส เข้าซ่อมแซมถนนใน อ.ศรีสาคร ที่ถูกน้ำท่วมกัดเซาะผิวดินริมถนน กว่า 20 เมตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้าน และถวายเป็นพระราชกุศล 5 ธันวามหาราช

    สืบเนื่องจากกรณี นายการี อูมูมิยง กำนัน ต.เชิงคีรี อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส นำลูกบ้านจาก 3 หมู่บ้าน ใน ต.เชิงคีรี คือบ้านกะดี หมู่ 1, บ้านลาเวง หมู่ 3 และบ้านดาฮง หมู่ 4 ประมาณ 100 คน เข้าร้องทุกข์ผ่านส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ช่วยแก้ปัญหากรณีกระแสน้ำจากคลองไอร์ปาเก๊าะกัดเซาะผิวดินของถนนบ้านดาฮง หมู่ 4 ต.เชิงคีรี จนดินพังเสียหาย กว่า 20 เมตร ซึ่งส่งผลให้ชาวบ้านใน 3 หมู่บ้านประมาณ 1,000 ครัวเรือน รวม 4,500 คน ไม่สามารถใช้ถนนเพื่อขนถ่ายสินค้าทางการเกษตรออกสู่ตลาดได้ โดยได้เข้าร้องเรียนเมื่อวันที่ 26 พ.ย. ที่ผ่านมา

    ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าว่า ล่าสุดในวันนี้ (1 ธ.ค.) นายเดชรัฐ สิมศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ได้ประสานขอเครื่องจักรกลหนัก ได้แก่ รถแมคโคร รถไถเกลี่ยถนน และรถบรรทุกดิน จากสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นราธิวาส เข้าทำการซ่อมแซมถนนสายนี้แล้ว คาดว่า อีก 4- 5 วัน การดำเนินการซ่อมแซมจึงจะแล้วเสร็จ

    โดยการดำเนินการซ่อมแซมครั้งนี้ นอกจากเป็นการช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนแล้ว จังหวัดนราธิวาสได้ถือเป็นการทำงานที่ร่วมมือร่วมใจกันเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวามหาราช ด้วย



    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 ธันวาคม 2554 12:26 น.
    http://www.manager.co.th/qol/viewnew...=9540000138124

    ผู้เลี้ยงปลากระชังนราโอดรัฐปล่อยน้ำจืดลงทะเลปลาตายนับแสนตัว

    นราธิวาส - กลุ่มผู้เลี้ยงปลาในกระชังโอดปลาตายนับแสนตัว หลังรัฐเปิดประตูเร่งระบายน้ำจืดเหนือเขื่อนลงทะเล วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลือด่วน ขณะที่ 26 โรงเรียนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เตรียมเปิดพร้อมกันสัปดาห์หน้า

    วานนี้(1 ธ.ค.)ที่บริเวณชายหาดนราทัศน์ เขตเทศบาลเมืองนราธิวาส กลุ่มเลี้ยงปลากระชังในคลองโคกเคียน ได้ร้องทุกข์ไปยังสื่อมวลชนในพื้นที่เพื่อให้ทำการบันทึกภาพข่าวภายหลังจากทางราชการเปิดประตูระบายน้ำบางนราตอนบน เพื่อระบายน้ำจืดลงทะเล ซึ่งน้ำจืดดังกล่าวเป็นน้ำป่าและน้ำโคลน ขณะที่น้ำคลองโคกเคียน เป็นพื้นที่น้ำเค็มที่ชาวบ้านกว่า 1,000 ครัวเรือนใช้เป็นพื้นที่เลี้ยงปลาในกระชัง เช่น ปลากะพง และปลาเก๋า แต่ภายหลังจากการเปิดประตูระบายน้ำดังกล่าว ทำให้ปลาในกระชัง โดยเฉพาะปลาเก๋า ลอยตัวเหนือน้ำและตายนับหลายแสนตัว

    นายซาการียา เจะยิ ผู้เลี้ยงปลาในกระชังคลองโคกเคียน กล่าวว่า ตนเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดประตูระบายน้ำเขื่อนระบายน้ำป่าที่ไหลหลาก เพื่อป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ตอนบนของเขื่อน ในขณะที่ชาวบ้านผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงปลาในกระชังในแม่น้ำบางนรา และในคลองโคกเคียนต้องได้รับความเดือดร้อน เพราะเงินทุกบาททุกสตางค์ได้ลงทุนซื้อลูกปลาและเลี้ยงปลาลงกระชัง ซึ่งปลากำลังโตเต็มที่แล้วเพียงอีก 2 เดือนก็จะสามารถยกปลาในกระชังทั้งหมดเพื่อนำไปขายแก่พ่อค้าแม่ค้า โดยราคาขายส่งปลาเก๋าอยู่ที่ประมาณ 370 บาทต่อกิโลกรัม

    "แต่ขณะนี้แทบหมดสิ้นเนื้อประดาตัว เนื่องจากปลาที่เลี้ยงโดยเฉพาะปลาเก๋า ลอยตายและตายอืดอยู่ใต้น้ำหลายหมื่นตัวทุกวันตั้งแต่มีการปล่อยน้ำป่า ซึ่งผมเลี้ยงปลา 12 กระชัง กระชังละประมาณ 1,000 ตัว ขณะนี้เหลือไม่กี่ตัวแล้ว ขาดทุนจริงๆ เงินทุนที่กู้มา ยังไม่รู้จะชดใช้หนี้สินได้อย่างไร ทั้งนี้ ไม่เพียงเฉพาะผมเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ กลุ่มเลี้ยงปลาในกระชังอีกหลายรายก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน จึงขอวิงวอนไปยังหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง โปรดเข้าไปดูแลและให้การช่วยเหลือชาวบ้านอย่างเร่งด่วน อย่างจริงจัง และจริงใจด้วย"

    สำหรับความคืบหน้าเกี่ยวกับสภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ จ.นราธิวาส ล่าสุดบริเวณแม่น้ำสุไหงโก-ลก ซึ่งไหลผ่าน 3 อำเภอ คือ อ.ตากใบ อ.แว้ง และ อ.สุไหงโก-ลก พบว่าปริมาณน้ำในแม่น้ำสุไหงโก-ลก ที่เอ่อล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่ทางการเกษตรของราษฎรเป็นเวลานานกว่า 1 สัปดาห์ มีปริมาณน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง จากผลพวงของการเปิดประตูระบายน้ำลงสู่ทะเล ทำให้ปริมาณน้ำท่วมมีความสูงโดยเฉลี่ยล้นจากตลิ่งอยู่ที่ระดับ 30-40 ซม.และชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนหนักที่สุดคือ ชุมชนหัวสะพาน ซึ่งตั้งอยู่เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีผู้อพยพ 227 คน 45 ครัวเรือน ซึ่งยังคงอาศัยปักหลักอยู่ที่ศูนย์อพยพของโรงเรียนเทศบาล 4 เนื่องจากยังไม่มั่นใจในสถานการณ์น้ำ หลังกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเตือนว่าลมมรสุมจะพัดผ่านอีกระลอก

    ในส่วนของสถานศึกษาต่างๆ ที่ประกาศปิดการเรียนการสอนทั้งสิ้น 26 โรงล่าสุดหลายโรงเรียนได้ทยอยเปิดทำการเรียนการสอน โดยบางแห่งคณะครู นักเรียน รวมทั้งนักการภารโรง ได้ร่วมกันเก็บกวาดและทำความสะอาดห้องเรียนแล้ว เพื่อเตรียมตัวเปิดการเรียนการสอนในสัปดาห์หน้า ครบทั้ง 26 โรง



    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 ธันวาคม 2554 19:08 น.
    http://www.manager.co.th/Daily/ViewN...d3%b7%e8%c7%c1

    >> ปัตตานี <<


    ปัตตานีลมแรงพัดบ้านริมชายฝั่งพัง 1 หลัง

    ปัตตานี - ลมพัดบ้านเรือนราษฎรริมชายฝั่ง ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี เสียหาย 1 หลัง ขณะน้ำท่วมเริ่มคลี่คลาย ด้านอุตุฯ เตือนในระยะ 5 วันนี้ทะเลมีคลื่นลมแรง เรือเล็กงดออกจากฝั่ง

    วันนี้ (1 ธ.ค.) นายปัญญาศักย์ โสภณวสุ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ปัตตานี เปิดเผยว่า จากรายงานของสถานีอุตุนิยมวิทยา จ.ปัตตานี ในวันนี้ แจ้งว่า แม้ระยะนี้ใน จ.ปัตตานี จะไม่มีภาวะฝนตกหนักในพื้นที่ แต่ยังคงได้รับอิทธิพลจากร่องความกดอากาศสูงกำลังแรงที่พัดผ่านทะเลอ่าวไทย ส่งผลให้เกิดคลื่นลมแรงในทะเลปัตตานีตั้งแต่วันนี้ไปอีก 5 วัน

    ดังนั้น ในวันนี้ทางศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม จ.ปัตตานี จึงได้ออกประกาศแจ้งเตือนเรือประมงใน จ.ปัตตานี โดยเฉพาะเรือเล็กห้ามออกจากฝั่ง เพราะอาจจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์คลื่นลมแรงในทะเล ความสูงคลื่น 1-2 เมตร

    ขณะเดียวกัน ก็ได้แจ้งเตือนไปยังบ้านเรือนประชาชนที่อาศัยตลอดริมชายฝั่งทะเลปัตตานีในหลายอำเภอให้ระมัดระวังสถานการณ์กระแสลมแรงพัดเข้าสู่ฝั่งในช่วงนี้ ซึ่งรายงานเบื้องต้นพบบ้านเรือนประชาชนเสียหาย 1 หลัง จากลมพัดแรงที่ ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี โดยทางอำเภอได้เร่งเข้าไปสำรวจและให้ความช่วยเหลือเป็นการด่วนแล้ว

    สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในปัตตานีวันนี้ แทบทุกพื้นที่ถือได้ว่ากลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ยังคงมีบางพื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมซ้ำซากที่นำระบายออกยังไม่หมด แต่ในภาพรวมสถานการณ์ดีขึ้นเรื่อยๆ และจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในเร็วๆ นี้ หากไม่มีฝนตกลงมาอีก

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 ธันวาคม 2554 17:37 น.
    http://www.manager.co.th/Local/ViewN...d3%b7%e8%c7%c1
    >> สงขลา <<


    ตลาดน้ำคลองแหยังคงเจิ่งนอง คาดสัปดาห์หน้าสู่ภาวะปกติ

    ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - น้ำยังหนุนท่วมท่าน้ำตลาดน้ำคลองแห แหล่งท่องเที่ยวของ จ.สงขลา สุดสัปดาห์นี้ยังต้องย้ายเรือไปขายริมฝั่งแทน ขณะที่พื้นที่โดยรอบมีร่องรอยของตลิ่งพังต้นไม้ล้มลงมาในคลอง คาดสัปดาห์หน้าพร้อมเปิดให้บริการตามปกติ

    วันนี้ (1 ธ.ค.) สภาพตลาดน้ำคลองแห แหล่งท่องเที่ยวทางน้ำของ จ.สงขลา ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองแห เขตเทศบาลเมืองคลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา บริเวณท่าน้ำซึ่งเป็นทางเดินสำหรับนักท่องเที่ยวเพื่อเลือกซื้อของจากเรือ ยังคงถูกน้ำหนุนท่วมแม้จะลดระดับลงจากเดิมมากแล้ว แต่สภาพทางเดินและที่นั่งยังมีน้ำเจิ่งนองและเต็มไปด้วยโคลนตมสกปรก ทำให้ในสุดสัปดาห์นี้แม้ตลาดน้ำคลองแหจะเปิดให้บริการตามปกติ แต่บรรดาพ่อค้าแม่จำเป็นต้องย้ายเรือไปขายยังริมตลิ่งที่อยู่ใกล้เคียงแทนติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่สอง

    โดยหลังจากนี้ แม้น้ำจะลดลงจนกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่จำเป็นต้องฟื้นฟูบริเวณท่าน้ำครั้งใหญ่ เนื่องจากเต็มไปด้วยโคลน และบริเวณริมตลิ่งมีร่องรอยของดินพัง ต้นไม้ทรุดลงไปอยู่ในคลอง ทั้งนี้ คาดว่าตลาดน้ำคลองแหจะกลับมาสู่สภาพเดิมอีกครั้งภายในสัปดาห์หน้า

    อย่างไรก็ตาม แม้สภาพตลาดน้ำคลองแหจะไม่เหมือนเดิม เพราะไม่สามารถลงไปเดินบริเวณท่าน้ำได้ แต่ในทุกวันศุกร์, เสาร์, อาทิตย์ ที่เปิดให้บริการ ยังคงมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและมาเลเซียเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก





    ขอบคุณข้อมูลข่าวและรูปภาพบางส่วนจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 ธันวาคม 2554 21:03 น.
    http://www.manager.co.th/Local/ViewN...=9540000153449


    3 แนวทางแก้น้ำท่วมภาคใต้แบบยั่งยืน สร้างเศรษฐกิจแข็งแกร่ง

    กูรูน้ำแนะแนวทางแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคใต้แบบบูรณาการและนำมาใช้ได้ทันที “บริหารการจัดการโครงสร้างชลประทานรักษาคูคลองและพื้นที่ป่า - ปัดฝุ่นเหมืองเก่า - รวมการบริหารจัดการเมืองหาดใหญ่ ” เพื่อแก้ปัญหาการระบายน้ำในเขื่อนรัชประภาและบางลางลงสู่ทะเลได้มีอย่างประสิทธิภาพ และลดข้อขัดแย้งเวรคืนที่ดินชาวบ้านเพื่อนำมาสร้างแกล้มลิงและผลิตน้ำปะปา ช่วยให้เศรษฐกิจภาคใต้แข็งแกร่ง

    สถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ ที่เป็นธรรมชาติที่มีแนวโน้มความรุนแรงขึ้นทุกปี อีกทั้งพื้นที่การระบายน้ำที่ลดลงจนไม่สามารถระบายน้ำฝนที่เพิ่มปริมาณขึ้นนั้น ได้สร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจภาคใต้ติดต่อกันมาหลายปี โดยความเสียหายล่าสุด ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน จากมีน้ำท่วมใน 4 จังหวัดใต้ ได้แก่ สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวมทั้งหมด 27 อำเภอ 145 ตำบล 606 หมู่บ้าน และมีพื้นที่การเกษตร 33,848 ไร่ สัตว์ปีก 309 ตัว บ่อปลา กุ้งตะพาบ 92 บ่อ

    สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคใต้แบบยั่งยืน “ดร.รอยล จิตรดอน” ผู้อำนวยการ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) กล่าวกับ “ ผู้จัดการ 360 องศารายสัปดาห์ ” ถึงแนวทางการแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ซ้ำซากมานาน ผ่านโครงสร้างระบบชลประทาน โดยการบริหารจัดการคูคลองและพื้นที่ป่า โดยบริหารจัดการคูคลอง ปรับสภาพฟื้นคลองให้กลับมามีประสิทธิภาพในการระบายน้ำจากเขื่อน 2 แห่งของภาคใต้ คือ เขื่อนรัชประภาและเขื่อนบางลางให้มีศักยภาพในการระบายน้ำฝนที่ตกมาในปริมาณมากจนล้นเขื่อนให้สามารถไหลลงสู่ทะเลได้ดี


    เขื่อนทะเลน้อย


    เขื่อนรัชประภา

    ที่ผ่านมา ปัญหาน้ำท่วมที่จังหวัดพัทลุง นับว่าเป็นตัวอย่างพื้นที่ชี้ให้เห็นถึงการบริหารจัดการน้ำในทะเลสาบที่ไม่ดี เพราะมี 1.การบุกรุกที่ดิน 2.สภาพตื้นเขินที่มาจากตะกอน 3.ป่าชายเลนเสียหาย โดยผลที่ตามมา คือ มีน้ำท่วมและน้ำขังในจังหวัดพัทลุง เห็นได้จากตั้งแต่ต้นปีนี้เผชิญน้ำท่วมถึง 3 - 4 ครั้ง

    ปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมานั้นเกิดจากคูคลองมีสภาพตื้นเขินจนทำให้ไม่สามารถระบายน้ำเช่นในอดีต อีกทั้งการขุดลอกคูคลองที่ผ่านมานั้น ไม่ได้มองทางแก้ปัญหาในเรื่องการเกาะเซาะบริเวณตลิ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ใช้วิธีการแก้โดยทำเป็นคลองคอนกรีต ซึ่งต้องมองว่าจะเป็นแนวกันชนได้หรือไม่ แล้วจะทำอย่างไร ซึ่งเวลาขุดลอกบริเวณตลิ่ง ทำให้ต้นไม้บริเวณริมตลิ่งก็ถูกตัดด้วย ซึ่งต้นไม้ช่วยแก้ปัญหาการกัดเซาะได้ ซึ่งถ้าไม่มีอยู่ก็ต้องมีการอนุรักษ์รักษาไว้ แต้ถ้าไม่มีรณรงค์ให้มีการปลูกขึ้นมา

    กรณีตัวอย่างของจังหวัดสมุทสาครมีสภาพดินอ่อน เมื่อมีการขุดลอกจะส่งให้ดินพังลงมา เมื่อมีการขุดลอกในระยะเวลาเพียง 7 - 8 เดือน คลองกับไปตื้นเขินอีกเนื่องจากมีสภาพดินที่อ่อน อย่างไรก็ตามระยะหลังก่อนขุดลอกมีการแก้ปัญหาโดย ปลูกโกงกาง กับแสมที่ริมตลิ่ง ซึ่งจะช่วยเกาะยึดตลิ่งไว้ หลังจากนั้นพบว่าการขุดลอกเริ่มได้ผลตามเป้าหมาย

    ส่วนการแก้น้ำท่วมที่อำเภอหาดใหญ่ ซึ่งระยะหลังมีปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากมาหลายปีติดกัน ผู้อำนวยการ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร บอกว่า แม้จะมีคลองรอบนอกคือคลอง ร.1 -ร.6 ที่มีการระบายน้ำได้ดี แต่พื้นที่ด้านในเป็นแอ่งกะทะ เมื่อมีฝนตกลงมาในปริมาณมากและทำให้บริเวณรอบนอกมีระดับน้ำสูงทำให้น้ำรั่วเข้าไป รวมถึงมีน้ำล้นจากคลองรอบนอกเข้ามาสมทบอีกด้วย

    นอกจากนั้นหลังจากที่มีการขุดคลองรอบนอกขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ระบายน้ำลงสู่ทะเลสาบ ทำให้การความสำคัญกับคลองระบายน้ำที่อยู่ในตัวเมืองหลายๆแห่งลดลง ไม่มีการดูแลสภาพคลองในตัวเมืองไม่ให้ตื้นเขิน ดังนั้นเมื่อน้ำเข้าไปในตัวเมืองทำให้การระบายน้ำเป็นไปได้ยาก

    รวมพื้นที่ปกครองแก้น้ำท่วม

    อีกแนวทาง คือ การบริหารการจัดการการปกครองส่วนท้องถิ่นที่แยกออกไป คือ อำเภอหาดใหญ่ ,คอหงส์ ,คลองแห ถือว่าเป็นจุดอ่อนทำให้การแก้น้ำท่วมไม่เป็นศูนย์รวม ซึ่งพื้นที่ทั้ง 3 ส่วนต้องมีการรวมตัวเป็นเทศบาลเดียวกัน ซึ่งเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด โดยการรวมเป็นเทศบาลเดียวกันจะทำให้มีการบริหารน้ำไปทิศทางเดียวกันเป็น 1 ลุ่มน้ำย่อย จะทำให้การบริหารจัดการน้ำง่ายขึ้น


    เขื่อนบางลาง

    หากไม่แก้ปัญหาเรื่องระบบบริหารในส่วนท้องถิ่น แต่แก้ที่การบริหารจัดการน้ำให้ไปในทิศทางเดียวกันนั้น นับว่าการระบายน้ำลงสู่ทะเลของ หาดใหญ่ คอหงส์ และคลองแห มีความไปได้น้อยมาก ที่สำคัญจะเผชิญปัญหาเช่นเดียวกับปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งปัจจุบันเกิดปัญหาการถกเถียงกันในเรื่องของการระบายน้ำจากนนทบุรีเข้ากรุงเทพฯ และกรุงเทพฯเข้านนทบุรี ซึ่งเป็นปัญหาที่ชัดเจนมาก

    ปรับเหมืองเก่าเสร้างแกล้มลิง

    ทั้งนี้การแก้น้ำท่วมโดยการสร้างเขื่อน-คูคลองเพื่อใช้เป็นเส้นทางการระบายน้ำลงทะเล ที่ผ่านมามักประสบปัญหาเรื่องการเวนคืนที่ดิน ในส่วนนี้ ผู้อำนวยการ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร บอกว่า ที่ผ่านมามีความพยายามผลักดัน โดยสร้างแกล้มลิงจากเหมืองเก่า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ 2 ทาง คือ 1. เพื่อมาแก้ปัญหาน้ำท่วม 2.หลังหาวิธีการแก้เรื่องโลหะหนักได้แล้ว ยังเป็นแหล่งผลิตน้ำปะปา ช่วยแก้ปัญหาการขาดน้ำปะปาดิบในพื้นที่ ซึ่งเผชิญปัญหานี้มานานอีกด้วย

    แนวทางแก้น้ำท่วมนี้ ยังมีการศึกษเพื่อนำมาใช้กับจังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี โดยปรับเหมืองเก่า ชื่อเหมืองตาสา ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 1000 ไร่ให้มาเป็นโครงการแกล้มลิง อย่างไรก็ตามแนวทางนี้ สอดคล้องกับพื้นที่ทางภาคใต้ซึ่งมีเหมืองเก่าหลายแห่ง อาทิ เหมืองลูกรังเก่าตั้งอยู่ในพื้นที่ด้านหลังเขาสิงหนคร จังหวัดสงขลา นับว่าเป็นอีกทางเลือกในการแก้ปัญหาน้ำท่วมที่ภาคใต้

    ส่วนที่จังหวัดภูเก็ตเองก็มีเหมืองเก่าหลายแห่ง ที่ผ่านมีปัญหาน้ำท่วมอยู่บ้าง ควรเอามาใช้ประโยชน์อื่น นอกจากท้องถิ่นนำเหมืองเก่ามาออกโฉนดกัน ที่ผ่านมามีการผลักดันในส่วนนี้ มีการเดินหน้านำเสนอแนวทาวทางเหล่านี้ผ่านสส. มาตลอด และยังพูดกันในเรื่องเดิมๆ ซึ่งในปัจจุบันเมื่อมีปัญหาน้ำท่วมใหญ่ขึ้นในหลายพื้นที่ก็ตาม แต่แนวทางการแก้ไขเหล่านี้มีความเป็นไปได้น้อยมาก

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 ธันวาคม 2554 11:06 น.
    http://www.manager.co.th/mgrWeekly/V...d3%b7%e8%c7%c1
    >> กรุงเทพฯ <<


    แจ้งเส้นทางสัญจรถนนสายหลัก-สายรอง

    บก.จร.แจ้งปิดเส้นทางจราจรมีน้ำท่วมขัง และแจ้งเปิดการจราจรหลังน้ำลดอย่างไม่เป็นทางการ 1 เส้นทาง คือถนนโกสุมร่วมใจ

    วันนี้ (1 ธ.ค.) ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร กองบังคับการตำรวจจราจร หรือ บก.จร. แจ้งระดับน้ำลดลงเปิดการจราจรอย่างไม่เป็นทางการ 1 เส้นทาง คือ ถ.โกสุมร่วมใจ เปิดการจราจรตลอดสาย

    ทิศเหนือ ถนนสายหลัก ปิดการจราจร 2 เส้นทาง

    1. ถ.พหลโยธิน ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่ สะพานข้ามคลองถนน ถึงอนุสรณ์สถาน มีน้ำท่วมขัง

    2. ถ.วิภาวดี-รังสิต ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่ สะพานกลับรถศูนย์ลูกเรือ ถึงอนุสรณ์สถาน มีน้ำท่วมขัง, ถ.วิภาวดีรังสิต รถยนต์ขนาดเล็กใช้ได้ถึงสะพานกลับรถศูนย์ลูกเรือ

    ถนนสายรอง ปิดการจราจร 7 เส้นทาง
    1. ถ.ช่างอากาศอุทิศ ปิดการจราจรตลอดสาย มีน้ำท่วมขัง
    2. ถ.เทิดราชันย์ ปิดการจราจรตลอดสาย มีน้ำท่วมขัง
    3. ถ.กำแพงเพชร 6 ตั้งแต่ทางเข้า สน.ดอนเมือง ถึง สุดเขตนครบาล มีน้ำท่วมขัง
    4. ถ.สรงประภา ปิดการจราจรตลอดสาย มีน้ำท่วมขัง
    5. ถ.เชิดวุฒากาศ ปิดกาจราจรตลอดสาย มีน้ำท่วมขัง
    6. ถ.เตชะตุงคะ ปิดการจราจรตลอดสาย มีน้ำท่วมขัง
    7. ถ.แจ้งวัฒนะ ซอย 14 ปิดการจราจรตลอดสาย มีน้ำท่วมขัง

    ทิศตะวันตก-ใต้ ถนนสายหลัก ปิดการจราจร 1 เส้นทาง

    1. ถ.บรมราชชนนี ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่ ทางลงคู่ขนานลอยฟ้า ถึง ถ.พุทธมณฑลสาย 4 มีน้ำท่วมขัง

    ถนนสายรอง ปิดการจราจร 4 เส้นทาง

    1. ถ.ทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจร ตั้งแต่คลองทวีวัฒนา ถึงตัด ถ.พุทธมณฑลสาย 2 มีน้ำท่วมขัง
    2. ถ.ฉิมพลี ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจร ตั้งแต่แยกทุ่งมังกร ถึงหน้า สน.ตลิ่งชัน มีน้ำท่วมขัง
    3. ถ.บางแวก ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ ถ.พุทธมณฑลสาย 2 ถึงคลองทวีวัฒนา มีน้ำท่วมขัง
    4. ถ.พุทธมณฑล สาย 3 ปิดการจราจรตลอดสาย มีน้ำท่วมขัง

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 ธันวาคม 2554 11:28 น.
    http://www.manager.co.th/Crime/ViewN...d3%b7%e8%c7%c1

    กทม.เร่งหารือแผนกู้หมู่บ้านถูกน้ำท่วมขัง

    กทม.ร่วมมือภาคเอกชนวางแผนกู้หมู่บ้านน้ำท่วมขัง คาดเร็วสุด 5 ธ.ค. แต่หากน้ำท่วมสูงเสร็จ 14 ธ.ค. หวังทุกพื้นที่แห้งทันเป็นของขวัญปีใหม่ ยันเปิด ปตร.คลองพระยาสุเรนทร์ที่ 1.40 เมตร

    วันนี้ (1 ธ.ค.) ที่ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เวลา 14.00 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. แถลงข่าวความร่วมมือกับภาคเอกชนในการกู้พื้นที่น้ำท่วมขังภายในชุมชนและ หมู่บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร โดยการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำจากหน่วยงานภาคเอกชน 8 บริษัท จำนวน 36 เครื่อง สำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร 20 เครื่อง และสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย 1 เครื่อง รวมทั้งสิ้น 57 เครื่อง เพื่อเร่งสูบน้ำในพื้นที่น้ำท่วมขัง 4 พื้นที่ที่สามารถ ดำเนินการได้ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 5 ธ.ค. ได้แก่ 1.หมู่บ้านโกสุมนิเวศน์ 2 เขตดอนเมือง ซึ่งมีน้ำสูง 25 ซม.จากผิวจราจร โดยจะเร่งระบายน้ำในพื้นที่ลงสู่คลองตาอูฐและคลองบางพูด จะทำให้ระดับน้ำในหมู่บ้านลดลงโดยเฉลี่ยวันละ 5 ซม. 2.ซอยแจ้งวัฒนะ 14 เขตหลักสี่ น้ำท่วมขังสูง 50-60 ซม. จะสูบน้ำสู่คลองเปรมประชากร คลองบางตลาด และท่อระบายน้ำ ซึ่งจะทำให้น้ำในพื้นที่ลดลงวันละประมาณ 10 ซม. 3.เคหะชุมชนทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ ระดับน้ำสูง 20-30 ซม.จะระบายน้ำสู่คลองตาอูฐและทำให้น้ำลดลงประมาณ 5-7 ซม. และ 4.ถนนรามอินทรา ซอย 1-39 เขตบางเขน ระดับน้ำสูง 15-20 ซม.จะเร่งสูบน้ำลงคลองถนนและคลองกระเฉด ทำให้น้ำลดลงวันละประมาณ 10 ซม. ส่วนในพื้นที่น้ำท่วมขังสูงกว่านี้คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในวันที่ 14 ธ.ค.นี้

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าวว่า กทม.ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในทุกพื้นที่ แต่การจะเร่งระบายน้ำในพื้นที่น้ำท่วมขังจะต้องทำการปิดล้อมพื้นที่เพื่อไม่ให้น้ำเข้ามาเพิ่มอีก และเร่งระบายน้ำออกโดยใช้เครื่องสูบน้ำจำนวนมากสูบลงท่อระบายน้ำหรือคลองในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้การระบายน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็วยิ่งขึ้น ในส่วนของหมู่บ้านเศรษฐกิจ เขตบางแคนั้น ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากมีขนาดพื้นที่กว้างทำการปิดล้อมพื้นที่ได้ยาก อีกทั้งระดับน้ำในคลองทวีวัฒนายังสูงมาก หากสูบน้ำออกตอนนี้น้ำจะไหลวนกลับเข้ามาในพื้นที่ได้ อย่างไรก็ตาม หากระดับน้ำในคลองทวีวัฒนาลดลงและสามารถทำการปิดล้อมพื้นที่ได้ กทม.จะระดมเครื่องสูบน้ำและทำการระบายน้ำหมู่บ้านเศรษฐกิจ รวมถึงพื้นที่อื่นๆ ที่มีน้ำท่วมขังในกรุงเทพฯ ทันที และทุกพื้นที่ของกรุงเทพฯ จะแห้งภายใน 31 ธ.ค. 2554 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับคนกรุงเทพฯ

    สำหรับภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพื่อกู้หมู่บ้านน้ำท่วม จำนวน 36 เครื่อง ประกอบด้วย บริษัท ริเวอร์ เอนจีเนียริ่ง จำกัด 14 เครื่อง บริษัท อมตะคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 5 เครื่อง ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามประสิทธิ์ 5 เครื่อง บริษัท ซิโน-ไทย เอนจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) 4 เครื่อง บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง จำกัด 2 เครื่อง บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) 2 เครื่อง บริษัท ไออีทีแอล จำกัด 2 เครื่อง และบริษัท เสริมสงวนก่อสร้าง จำกัด 2 เครื่อง

    ส่วนกรณีที่ยังมีชาวบ้านไปกดดันจะปิดถนนให้ กทม.เปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ที่ระดับ 1.50 เมตร นั้น ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ยืนยันว่า จะเปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ที่ระดับ 1.40 เมตร ตามระบบขั้นบันได และได้มอบหมายให้ข้าราชการฝ่ายประจำ กทม.ไปดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีในเรื่องดังกล่าวแล้ว

    ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก astvผู้จัดการออนไลน์ 1 ธันวาคม 2554 16:52 น.
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...d3%b7%e8%c7%c1
Results 1 to 22 of 22