อาหารธรรมชาติ

  1. s
    s
    อาหารธรรมชาติเป็นอาหารที่ได้มาจากแหล่งธรรมชาติ ผ่านขบวนการดัดแปลงน้อยที่สุด มีทั้งอาหารธรรมชาติที่มาจากพืช และอาหารธรรมชาติจากสัตว์


    ตัวอย่างอาหารธรรมชาติ

    1. ผักแขยง เป็นอาหารธรรมชาติจากพืช ที่อยู่ในกลุ่มผัก

    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Limnophila geoffrayi Bonati.

    ชื่อวงศ์ : Scorphulariaceae



    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    ไม้ล้มลุกฤดูเดียว สูง 10-35 เซนติเมตร ลำต้นเรียวยาว ตั้งตรง กลมกลวง อวบน้ำ มีขนหนาแน่น ทั้งต้นมีกลิ่นหอมฉุน เผ็ดร้อน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ทุกข้อ ตลอดลำต้น รูปขอบขนานแกมใบหอก รูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 3-10 มิลลิเมตร ยาว 1-3 เซนติเมตร ขอบใบหยักมนแกมฟันเลื่อย ปลายใบ

    ชื่อนิสิต นางสาวศิริกาญจน์ แสงสิทธิ์วัฒนา รหัสนิสิต 5314150441

    แหลม โคนใบห่อติดลำต้น ไม่มีก้านใบ ดอกช่อกระจะออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ออกพร้อมกันทั้งต้น ดอกย่อย 2-10 ดอก ดอกเป็นรูปหลอดเล็กๆคล้ายถ้วย รูปกรวย ยาว 0.5 นิ้ว ปลายบานเล็กน้อย แยกออกเป็น 4 กลีบ กลีบดอกสีม่วง ผิวด้านนอกเรียบ ผิวด้านในตอนล่างของกลีบดอกมีขน ผลแห้งแตกได้ รูปกระสวย เมล็ดรูปร่างกลมรี สีน้ำตาลดำ ขนาดเล็กมาก ชอบขึ้นบริเวณที่มีน้ำขังเล็กน้อย เป็นวัชพืชในนาข้าว ชาวอีสานใช้ใส่ในแกงต้มปลา อ่อมต่างๆ มีกลิ่นหอม ช่วยดับกลิ่นคาว



    สรรพคุณ

    ตำรายาพื้นบ้านอีสาน ใช้ทั้งต้น เป็นยาขับน้ำนม ขับลม และเป็นยาระบายท้อง น้ำคั้นจากต้นใช้แก้ไข้(นำต้นสด 15-30 กรัม มาต้มน้ำกิน) แก้คัน ฝี และกลาก แก้อาการบวม เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้พิษงู ให้นำต้นสด ประมาณ 15 กรัม ตำให้ละเอียด ผสมกับต้นฟ้าทะลายโจรสด 30 กรัม นำไปผสมกับน้ำส้มปริมาณพอควร คั้นแล้วทานน้ำส่วนกากพอกรอบๆแผล อย่าพอกบนแผล ทั้งต้นแห้ง ที่เก็บไว้นาน 1 ปี ต้มน้ำดื่ม แก้พิษเบื่อเมา



    งานวิจัย

    ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเมทานอล น้ำมันหอมระเหย รวมทั้งสารตัวอย่างที่สัมพันธ์กับองค์ประกอบในนํ้ามันหอมระเหยของผักแขยง (Limnophila aromatica Merr.) ด้วยวิธี 1,1-diphenyl-2-picryl-hydrazyl (DPPH), nitric oxide (NO) radical scavenging และการยับยั้งการเกิด lipid peroxidation พบว่า สารสกัดเมทานอลและนํ้ามันหอมระเหยจากผักแขยงมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยสารสกัดเมทานอลจะมีฤทธิ์แรงกว่าน้ำมันหอมระเหย สำหรับสารตัวอย่างพบว่า ยูจีนอลแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยการจับกับ DPPH นอกจากนี้ยูจีนอลและ γ-terpinene ยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเกิด lipid peroxidation ด้วย ขณะที่ในการทดสอบด้วยวิธี nitric oxide (NO) radical scavenging สารตัวอย่างจะมีฤทธิ์อ่อนหรือไม่มีฤทธิ์ในการจับกับ nitric oxide


    2. ยอบ้าน เป็นอาหารธรรมชาติจากพืช ที่อยู่ในกลุ่มพืชสมุนไพร

    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda citrifolia L.

    ชื่อวงศ์ : Rubiaceae



    สรรพคุณ

    ยอเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งนอกจากจะนำใบและผลมาทำเป็นอาหารแล้ว ยังมีสรรพคุณทางสมุนไพรอีกมากมายที่คนไทยสมัยก่อนนำมาใช้กัน และมีบันทึกไว้ในตำหรับยาโบราณหลายขนาน เมื่อผลโตเต็มที่แต่ไม่สุก จิ้มน้ำผึ้งรับประทาน มีคุณสมบัติเป็นยาขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลมในลำไส้ กระเพาะอาหาร แก้เหงือกเปื่อยเป็นขุมบวม ขับเลือดลม ขับโลหิตประจำเดือน ผลดิบ ต้มน้ำรับประทานกับรากผักชี แก้อาการอาเจียนของหญิงมีครรภ์

    การค้นพบสารสำคัญในลูกยอ ดร. ราฟ ไอเนกี (Dr. Ralph Heinicke) นักชีวเคมีชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง ได้ทำการวิจัยและค้นพบเอนไซม์ในสับปะรด ซึ่งเป็นอัลคาลอยด์ชนิดหนึ่งเขาตั้งชื่อไว้ว่า เซโรนีน (Xeronine) นับแต่ปี ค.ศ. 1950 และได้มีการศึกษาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา จนพบว่ามีสารนี้ในลูกยอมากกว่าในสัปปะรดหลายสิบเท่า และได้มีการวิจัยอย่างต่อเนื่อง จนรู้ถึงคุณประโยชน์อันน่าอัศจรรย์ของน้ำลูกยอ และเป็นประโยชน์ทางการแพทย์ ดังนี้



    1. สร้างเสริมปฏิกิริยาชีวเคมีในเซลล์ให้ดีขึ้น ฟื้นฟูเซลล์ที่เสื่อมโทรม ซ่อมแซมเซลล์ที่ถูกทำลาย เพิ่มพลังในเซลล์ ทำให้มีกำลังและขจัดสารพิษในเซลล์

    2. ช่วยสังเคราะห์สารโปรตีนในร่างกาย ทำให้ระบบฮอร์โมนในร่างกายดีขึ้น และเป็นผลดีต่อต่อมต่างๆ ในร่างกายทำให้ทำงานดีขึ้น

    3. มีสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อมของร่างกาย และต่อต้านมะเร็ง

    4. ลดระดับน้ำตาลในคนไข้เบาหวาน

    5. ลดความดันโลหิตสูง

    6. ต่อต้านเซลล์มะเร็ง และเสริมภูมิต้านทานโรคโดยการกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว เพื่อต่อต้านเซลล์มะเร็งและเชื้อโรคต่างๆ

    7. ลดและบรรเทาการอักเสบของเซลล์ ลดและบรรเทาโรคภูมิแพ้

    8. มีวิตามิน แร่ธาตุ อะมิโนแอซิด ช่วยเสริมอาหารและเพิ่มพลังงานในร่างกาย

    9. ระงับความเจ็บปวด และบรรเทาอาหารปวดซ้ำ

    10. ช่วยสมานแผล ทำให้แผลหายเร็ว

    11. ป้องกันและลดอาการของโรคภูมิแพ้

    ลูกยอไทย จากการวิจัยของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ลูกยอสามารถช่วยกระตุ้นภูมิต้านทาน และป้องกันมะเร็งได้ โดยในลูกยอจะมีสารกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรคในร่างกาย และสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งไม่ให้ลูกลาม แต่ไม่ได้รักษามะเร็ง นอกจากนี้มีฤทธิ์แก้ปวดกระตุ้นเอนไซม์ในลำไส้เล็กให้ทำงานดีขึ้น




    งานวิจัย

    ยอเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้กันมานานกว่า 2000 ปี และมีรายงานว่ายอใช้ได้ผลในการรักษาโรคต่างๆ ได้มากมายหลายชนิด เช่น ลดความดันเลือด, ลดเบาหวาน, แก้ปวด, ต้านการอักเสบ และรักษาโรคติดเชื้อ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ แบคทีเรียของสารสกัดจากผลยอ ตามสรรพคุณในการใช้สมุนไพรยอ สารจากผลยอถูกสกัดด้วยเมทานอลและละลายในไดเมทิลซัลฟอกไซด์และน้ำกลั่น นําสารสกัดมาทดสอบกับเชื้อแบคทีเรียรวม 41 สายพันธุ์ แบ่งเป็นชนิดรูปกลมติดสีแกรมบวก 9 สายพันธุ์ และรูปแท่งทั้งชนิดติดสีแกรมบวก 4 สายพันธุ์ และแกรมลบ 28 สายพันธุ์ มีทั้งชนิดที่ก่อโรคและเชื้อประจําถิ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบทางเดินอาหาร ด้วยวิธี disc diffusion และ broth dilutionโดยการควบคุมคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของ NCCLS ผลการศึกษาพบว่าในการทดสอบด้วย disc diffusion สารสกัดยอขนาด 2.5 มก. มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อ Staphylococcus aureus และเชื้อแบคทีเรียรูปแท่งแกรมลบที่เป็นเชื้อก่อโรคในทางเดินอาหารหลายชนิด เช่น Aeromonas hydrophila, Escherichia coli AD group, Shigella boydii, Shigella dysenteriae และ Shigella sonnei รวมถึงฤทธิ์ต้านเชื้อประจําถิ่นในทางเดินอาหารเป็นส่วนใหญ่ เช่น Citrobacter freundii, Enterobacter agglomerans และ Escherichia coli ด้วยขอบเขตการยับยั้งประมาณ 7-13 มม. ซึ่งจัดว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับยาต้านเชื่อแบคทีเรีย เช่น amikacin, ampicillin, cephalothin และchloramphenicol ขนาดยา 5-30 มคก. ต่อแผ่น ซึ่งให้ขอบเขตการยับยั้งการเจริญของเชื้อประมาณ 18-35 มม. และไม่พบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียในการทดสอบด้วยวิธี broth dilution โดยขนาดความเข้มข้นของสารสกัดยอที่ใช้สูงสุดเป็น 255 มก.ต่อ มล. ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าสารสกัดจากยอ มีศักยภาพในการใช้เป็นยาต้านเชื้อแบคทีเรียต่ำ และการบริโภคสารสกัดผลยอไม่น่าจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาณเชื้อประจํา ถิ่นในทางเดินอาหาร





    3. มังคุด เป็นอาหารธรรมชาติจากพืช ที่อยู่ในกลุ่มผลไม้

    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia mangostana L.

    ชื่อวงศ์ : Guttiferae



    สรรพคุณ

    มังคุดได้รับการกล่าวขานว่าเป็น ราชินีแห่งผลไม้ เพราะรสชาติที่อร่อยหอมหวานและกลมกล่อม มังคุดยังอุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมายสารพัด มังคุดผลไม้ไทยในปัจจุบันได้ถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภททั้ง มังคุดอบแห้ง น้ำมังคุด ไวน์มังคุด อาหารเสริมจากมังคุด ยาสระผมมังคุด ครีมนวดผม สบู่ โลชั่น

    โดยผลจากการศึกษาของศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดไทย โดยการนำของ ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา รศ.ดร.วิลาวัลย์ มหาบุษราคัม และคณะ ซึ่งทำการวิจัยเรื่องคุณประโยชน์ของมังคุดมานานกว่า 3 ทศวรรษ ได้พบว่า มังคุดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์สูงมากในเชิงสุขภาพโดยสามารถปรับระดับภูมิคุ้ม กันให้สมดุล ด้วยการลดการหลั่ง Interleukin I และ Tumor Necrosis Factor ซึ่งตามหลักวิชาของศาสตร์ภูมิคุ้มกัน จะช่วยลดอาการที่เกี่ยวกับการแพ้ภูมิตนเอง และการอักเสบ พบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตับเสื่อม ไตวาย ข้อเข่าอักเสบ ความดันโลหิต โรคพาร์กินสัน ไทรอยด์เป็นพิษ และความผิดปกติของสมอง อันเกิดจากการอักเสบ ขณะเดียวกัน มังคุดก็สามารถเพิ่มการหลั่งสาร Interleukin II ของเม็ดเลือดขาวช่วยให้ร่างกายสามารถต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น ไวรัส เชื้อรา แบคทีเรีย หรือ เซลล์มะเร็ง ศูนย์วิจัยและพัฒนา

    ชื่อนิสิต นางสาวศิริกาญจน์ แสงสิทธิ์วัฒนา รหัสนิสิต 5314150441

    มังคุดไทย ได้ร่วมวิจัยกับค่าย Henkel KGa ของประเทศเยอรมนี ค้นพบด้วยว่า สารจากมังคุดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือสาร GM-1 (แซนโทนส์ที่ดีที่สุดในมังคุด) ซึ่งช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตและฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และระงับปวด โดยมีความแรงกว่ายาแอสไพรินถึง 3 เท่า จากจุดนี้เองได้มีการต่อยอดการวิจัยพัฒนาไปสู่การทำเครื่องสำอางค์ต่างๆ จากสารสกัดเปลือกมังคุด เป็นครั้งแรกของโลก เพื่อช่วยเหลือคนที่มีปัญหาสิวเรื้อรัง และอาการแพ้ ขณะที่ในปัจจุบันทางคณะวิจัยดังกล่าวได้ร่วมมือกับเครือข่ายทางการแพทย์ใน ระดับนานาชาติ ทำการศึกษาถึงคุณประโยชน์ของการดื่มน้ำมังคุดสกัดเข้มข้น เพื่อช่วยเยียวยาอาการป่วยของผู้ป่วยมะเร็งขั้นสุดท้าย



    งานวิจัย

    เชื้อ Propionibacterium acnes มีความสมพันธ์กับการเกิดสิวอักเสบ การศึกษานี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของสมุนไพรไทย โดยพิจารณาจากฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและผลลดระดับของไซโตคายน์ ผลการทดลองพบว่าสมุนไพรทั้ง 19 ชนิด มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยมังคุดให้ผลดีที่สุด คือ มีค่า IC50 เท่ากับ 6.17 มคก./มล. ส่วนพลูคาว สาบเสือ และชุมเห็ดเทศให้ผลปานกลาง มีค่า IC50 เท่ากับ 32.52, 67.55, 112.46 มคก./มล. ตามลำดับ ในการทดลองโดยวิธี NBT reduction พบว่า มังคุดสามารถลดระดับ ROS ได้ถึง 77.80± 1.28% นอกจากนี้ยังสามารถยับยั้งการสร้าง TNF-α ได้ถึง 94.59% จากการศึกษานี้ จะเห็นว่า มังคุดเป็นสมุนไพรไทยที่สามารถกำจัดอนุมูลอิสระและลดปริมาณสารสื่ออักเสบได้ ดีมาก ดังนั้น มังคุดจึงเป็นสมุนไพรที่มีศักยภาพในการนำมาพัฒนาในการรักษาสิวอักเสบต่อไป



    4. ไข่โอเมก้า 3 เป็นอาหารธรรมชาติจากสัตว์ ที่อยู่ในกลุ่มไข่

    ไข่สุขภาพ หรือไข่โอเมก้า 3 เป็นไข่ที่มีความพิเศษกว่าไข่ธรรมดาทั่วไป ในแง่ของคุณค่าทางอาหารหลายประการ วัตถุประสงค์เพื่อต้องการจะเพิ่มคุณค่าให้แก่ไข่ไก่ ซึ่งจากเดิมมีครบถ้วนสมบูรณ์อยู่ระดับหนึ่งแล้วให้มีมากขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับอาหารที่ดี และมีประโยชน์ต่อร่างกายเพิ่มมากกว่าที่ เคยได้รับอยู่ตามปกติ โดยนอกเหนือจากคุณค่าทางอาหารที่มีตามปกติแล้วนั้น ไข่สุขภาพยังมีคุณสมบัติอื่นๆ เพิ่มขึ้น ดังนี้ คือ

    ชื่อนิสิต นางสาวศิริกาญจน์ แสงสิทธิ์วัฒนา รหัสนิสิต 5314150441

    1. มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ตระกูลโอเมก้า 3 เพิ่มขึ้น 210 มิลลิกรัม/ฟอง จากปกติที่ยังไม่มีอยู่เลย

    2. ปริมาณคอเลสเตอรอลลดลงจากเดิมประมาณ 215 มิลลิกรัม/ฟอง เป็น 188 มิลลิกรัม

    3. ไม่มียาปฏิชีวนะ หรือสารตกค้าง

    4. มีการเก็บรักษาอย่างดี มีความสด

    5. ไม่ใช้สารเร่งสีไข่แดง



    มีโอเมก้า 3 ขั้นต่ำ 200 มก.ฟอง เทียบเท่ากับน้ำมันปลา 1 แคปซูล (ขนาด 1,000 มก.)

    เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไป

    โอเมก้า 3 เป็นกลุ่มของกรดไขมันชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความจำเป็นต่อร่างกาย กรดไขมันในตระกูลนี้มีอยู่หลายตัวด้วยกัน เริ่มต้นด้วยกรดไลโนเลนิก (linolenic acid) พบในน้ำมันพืช และ อาหารบนบกหลายชนิด ส่วนอนุพันธ์ของกรดไลโนเลนิกที่สำคัญ คือ กรดไอโคซาเพนตะอีโนอิก และ กรดโดโคชาเฮกซาอีโนอิก (Eicosapen-taenoic acid หรือ EPA และ docosabexaenoic acid หรือ DHA) EPA หรือ DHA นี้พบว่ามีอยู่มากในอาหารประเภทปลาและสัตว์ทะเล โดยเฉพาะในทะเลน้ำเย็น จะพบว่ามีปริมาณมาก ปลา และสัตว์ทะเลได้รับกรดไขมันทั้งสองชนิดนี้จากการกินแพลงตอนและสาหร่ายทะเล เป็นอาหาร

    ในปัจจุบันกรดไขมันโอเมก้า 3 นี้ เป็นที่ยอมรับกันทางการแพทย์ว่า สามารถรักษาอาการของโรคไขมันอุดตันเส้นเลือด และโรคหลอดเลือดแดงแข็งและตีบได้ เนื่องจากที่ผ่านมามีการค้นพบว่าชาวเอสกิโม ซึ่งมีอุปนิสัยในการบริโภคไขมันจากปลาและสัตว์ทะเลเป็นประจำนั้นไม่พบว่า เป็นโรคดังกล่าว ทั้งที่ไขมันที่บริโภคนั้นมีผล ให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากไขมันเหล่านี้มี EPA และ DHA กลับพบว่าช่วยลดการจับเกาะกันของเกล็ดเลือด ทำให้หลอดเลือดขยายตัว อีกทั้งยังมีผลลดการสร้างไลโปโปรตีนชนิดที่ขนย้ายคอเลสเตอรรอลจากตับไปสู่ เนื้อเยื่อต่างๆ และเพิ่มปริมาณไลโปโปรตีนชนิดที่ขนย้ายคอเลสเตอรอลจากเนื้อเยื่อกลับเข้าสู่ ตับเพิ่มมากขึ้น จึงช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด และโรคหลอดเลือดแดงแข็งและตีบได้

    นอกจากนี้แล้วยังพบว่า DHA นั้น เป็นกรดไขมันที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาระบบสมอง ระบบการมองเห็น และระบบสืบพันธุ์ของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา โดยพบว่าทารกจะมีการสะสม DHA เพื่อการพัฒนาของระบบดังกล่าวสูงมากในช่วง 3 เดือนสุดท้ายในครรภ์มารดาไปจนถึงอายุ 2 ขวบ ถ้าขาดกรดไขมันดังกล่าว จะมีผลให้การพัฒนาของระบบดังกล่าวผิดปกติ การได้รับเข้าสู่ร่างกายนั้นกลับมีข้อจำกัดคือ ต้องได้รับโดยตรงจากการ บริโภคปลา หรืออาหารทะเล ซึ่งบางครั้งอาจไม่สะดวกต่อผู้บริโภคที่อยู่ห่างไกลทะเล ผู้ที่ไม่ชอบทานปลา ผู้ที่แพ้อาหารทะเล หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่มีความพร้อมในแง่ของรายได้



    งานวิจัย

    รองศาสตราจารย์ ดร.ประไพศรี ศิริจักรวาล หัวหน้าฝ่ายมนุษยโภชนาการ สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ใกล่าวว่า ไข่เป็นอาหารที่มีประโยชน์ มีโปรตีนมาตรฐาน ที่มีกรดอมิโนครบถ้วน นอกจากนี้ในไข่ยังมีวิตามินเอ วิตามินบีต่างๆ โฟเลท และแร่ธาตุอื่นๆ อีกด้วย แต่ไข่ก็มีสารอาหารที่ต้องระวังคือ โคเลสเตอรอล และมีในปริมาณสูง คือ ในไข่ 1 ฟอง มีโคเลสเตอรอลประมาณ 200 มิลลิกรัม ซึ่งเท่ากับ 2 ใน 3 ของปริมาณที่แนะนำว่าไม่ควรบริโภคเกินต่อวันคือ 300 มิลลิกรัม ดังนั้นในกลุ่มคนที่อายุเกิน 35-40 ปีขึ้นไปจึงควรระมัดระวังการบริโภคไข่ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนอื่นๆ ที่จะเกิดความเสี่ยงได้ถ้ารับประทานไข่ทุกวัน ซึ่งได้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ คนอ้วน ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้มีโคเลสเตอรอลสูง และกลุ่มที่มีพันธุกรรมที่ร่างกายไวต่อการดูดซึมโคเลสเตอรอล จึงขอแนะนำให้บุคคลดังกล่าวบริโภคไข่สัปดาห์ละ 3-4 ฟอง หรือ บริโภคไข่วันเว้นวัน หรือบริโภคเฉพาะไข่ขาว ทั้งนี้ไข่ที่บริโภคควรเป็นไข่ที่สุก เพราะไข่ที่ไม่สุกจะเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่จะก่อให้เกิด อันตรายต่อสุขภาพ และไข่ที่ไม่สุกจะขัดขวางการดูดซึมวิตามินไบโอติน ทำให้ได้รับคุณค่าทางโภชนาการจากไข่ ลดลง นอกจากนี้ไข่ที่ไม่สุก ร่างกายจะย่อยได้ยาก สำหรับเด็กเล็ก เด็กวัยเรียน วัยรุ่น และคนวัยทำงานที่ร่างกายปกติ สามารถรับประทานไข่ได้ทุกวัน วันละ 1 ฟอง

    นอกจากนี้มีงานวิจัยของนักวิชาการในต่างประเทศที่ได้ศึกษาและรายงานเรื่อง การบริโภคไข่กับสุขภาพ อาทิเช่น Weggemans RM และคณะ (วารสารทางโภชนาการคลินิกของอเมริกัน : Am J Clin Nutr. 2001;73:885-91)ได้ทำการวิเคราะห์งานวิจัยที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับไข่และโคเล สเตอรอล ซึ่งได้รวบรวม

    งานวิจัยตั้งแต่ปี ค.ศ.1974-1999) และงานวิจัยใหม่ๆ โดยคัดเลือกงานวิจัยที่มีการวางแผนงานวิจัยอย่างถูกต้องและต้องมีการให้กิน ไข่อย่างน้อย 14 วัน จากการศึกษา 222 การศึกษา คัดเลือกตามข้อกำหนดดังกล่าวได้การศึกษาที่นำมาวิเคราะห์ 17 เรื่อง มีอาสาสมัคร 556 คน สรุปว่าการได้รับโคเลสเตอรอลจากอาหารเพิ่มอัตราส่วนโคเลสเตอรอลทั้งหมด ต่อเอชดีแอล จึงแนะนำว่า การจำกัดการบริโภคโคเลสเตอรอลโดยการลดการบริโภคไข่และอาหารที่ให้โคเลสเตอร อลสูงอย่างอื่น จึงยังเป็นข้อแนะนำที่ใช้ได้อยู่

    Nakamura Y และคณะ (วารสารทางโภชนาการคลินิกของอเมริกัน : Am J Clin Nutr 2004;80:58-63) ศึกษาความสัมพันธ์ของการบริโภคไข่กับภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดและ ผลต่อสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรญี่ปุ่น (NIPPONDATA 80) โดยติดตามเรื่องการบริโภคอาหารในคนญี่ปุ่นชาย 5,186 คน หญิง 4,077 คน อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปเป็นเวลา 14 ปี สรุป ว่าการบริโภคไข่ 1-2 ฟองต่อสัปดาห์มีผลลดความเสี่ยงต่ออัตราการตายอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่บริโภคไข่วันละ 1 ฟอง ผลการศึกษานี้พบในผู้หญิง แต่ไม่พบความสัมพันธ์ในผู้ชาย จึงให้คำแนะนำว่า การจำกัดการบริโภคไข่อาจมีผลต่อสุขภาพโดยเฉพาะใน ผู้หญิง

    Schaefer (วารสารทางโภชนาการคลินิกของอเมริกัน : Am J Clin Nutr.2002 ; 75:191-212) ได้ทำการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับไลโปโปรตีน โภชนาการ และความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โดย แนะนำไว้ว่าข้อแนะนำเรื่องการปฏิบัติในการบริโภคอาหารเพื่อลดความเสี่ยงต่อ โรคหัวใจและหลอดเลือดที่เดิมแนะนำให้ลดการบริโภคน้ำมัน น้ำตาล และเกลือ น่าจะเพิ่มในส่วนของการ ลดการบริโภคไข่แดงด้วย

    นิตยสารไทม์ ฉบับเดือน พฤศจิกายน 2003 ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง The Secrets of Eating Smarter ซึ่งแนะนำเรื่องการบริโภคไข่ว่า "ไข่มีโคเลสเตอรอลมากกว่าเนื้อสัตว์ถึง 2 เท่า ดังนั้นการบริโภคไข่เพียงสัปดาห์ละ 3-4 ฟอง ก็มากพอแล้ว" ไข่ เป็นอาหารที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ อาหารในกลุ่มนี้จะให้โปรตีนซึ่งช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ อาหารในกลุ่มนี้ไม่ใช่เฉพาะไข่ที่มีโคเลสเตอรอลสูง ยังมีอาหารประเภทหนังสัตว์ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารทะเลประเภทกุ้ง หอย และน้ำมันจากสัตว์ต่างๆ ก็ล้วนมีโคเลสเตอรอลสูง ดังนั้นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง จึงต้องระมัดระวัง นอกจากไข่ไก่และไข่เป็ดแล้ว ก็ยังมีไข่ของสัตว์อื่นๆ ล้วนมีโคลเลสเตอรอลสูง ไม่ว่าจะเป็นไข่ปลา ไข่ปลาหมึก ไข่กุ้ง ไข่มดแดง เป็นต้น ดังนั้นการรับประทานอาหารเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงจึงควรปฏิบัติตามโภชน บัญญัติ โดยเฉพาะในเรื่องการรับประทานอาหาร ให้ครบ 5 หมู่ และหลากหลาย ซึ่งก็คือในแต่ละหมู่ของอาหารจะมีอาหารหลากชนิดก็ควรรับประทานอาหารหลายชนิด สลับกันไปไม่ซ้ำซากเพื่อที่จะทำให้ได้สารอาหารครบถ้วน และหากอาหารนั้นๆ มีการปนเปื้อน ก็จะได้ไม่เกิดการสะสมจนเกิดอันตรายเพราะร่างกายกำจัดได้ทัน
  2. Euphrates
    Euphrates
    เพิ่งเคยได้ยินชื่อผักแขยง อ่านประโยชน์ของแต่ละอย่างแล้วสุดยอดเลยค่ะ อาหารธรรมชาติของบ้านเรา

    ขอบคุณข้อมูลความรู้ดีๆค่า
Results 1 to 2 of 2