admeadme

อุจจาระตกค้างในร่างกายสามารถป้องกันได้ง่าย ๆ

Rate this Entry
อุจจาระตกค้างสามารถขึ้นเกิดได้กับทุกคน

อาการอุจจาระตกค้างอาจจะเริ่มต้นจากสาเหตุง่าย ๆ คือ อาการท้องผูก เนื่องจากอาหารการกินและการดำเนินชีวิตประจำวัน ส่งผลให้เกิดอุจจาระตกค้างในลำไส้ ซึ่งอุจจาระตกค้างอาการคล้ายกับท้องผูกรุนแรง โดยมีอาการอาเจียนเวียนหัว หายใจไม่สะดวก แน่นท้อง หรือท้องอืด นอกจากนี้อุจจาระตกค้างสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย หรือแม้แต่ใครที่มีสุขภาพแข็งแรงก็สามารถเกิดอาการอุจจาระตกค้างได้เช่นเดียวกัน คุณจำเป็นต้องสังเกตอาการอุจจาระตกค้างอยู่เสมอ

คุณสามารถป้องกันอุจจาระตกค้างได้ เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยตัวคุณเอง

  • คุณสามารถเริ่มต้นฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลาได้ทุกวัน หลังจากตื่นนอน ประมาณ 5-7 นาที โดยเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการขับถ่ายเป็นอย่างมาก
  • คุณสามารถฝึกขับถ่ายให้ถูกวิธีได้ด้วยการนั่งบนชักโครกแล้วโค้งตัวไปข้างหน้าเพียงเล็กน้อย โดยใครที่เท้าไม่สามารถเตะลงพื้นที่ควรจะมีที่เก้าอี้รองเท้า เพื่อให้สามารถขับถ่ายได้มากยิ่งขึ้น
  • คุณสามารถขับถ่ายได้มากยิ่งขึ้นหรือขับถ่ายให้หมดท้องได้โดยใช้มือกดท้องด้านซ้ายล่างในช่วงที่กำลังขับถ่าย เพื่อให้มือของคุณไปกระตุ้นลำไส้ให้เคลื่อนตัวได้ดีมากยิ่งขึ้น
  • ดื่มน้ำเปล่าให้พอเพียง เพื่อช่วยเหลือการขับถ่ายในแต่ละวัน
  • คุณไม่ควรที่จะกลั้นอุจจาระโดยเด็ดขาด หากมีอาการปวดควรรีบไปขับถ่ายทันที
  • คุณไม่ควรที่จะเบ่งอุจจาระขณะที่ยังไม่ปวด เพราะการเบ่งอุจจาระเป็นการกระตุ้นและเพิ่มแรงดันในลำไส้ ซึ่งอาจจะทำให้ลำไส้เกิดการโป่งพอง รวมถึงเกิดริดสีดวงทวารหนักได้
  • คุณไม่ควรเกร็งขณะขับถ่าย
  • คุณควรขยับร่างกายเมื่อรับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อย เพื่อให้ลำไส้ได้บีบตัว และกระเพาะอาหารสามารถย่อยอาหารได้ดีมากยิ่งขึ้น
  • คุณควรฝึกการหายใจวิธีให้ถูกวิธี โดยหายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟบ
  • หากคุณมีอาการท้องผูกควรรับประทานอาหารที่มีโปรไบโอติก ได้แก่ นมเปรี้ยวหรือชาหมัก
  • หากใครที่ต้องการการขับถ่ายที่มากยิ่งขึ้น ควรลดอาหารที่มีไขมันสูง โดยเป็นการเพิ่มอาหารที่มีกากใยสูงแทน ได้แก่ ผักและผลไม้
  • คุณควรออกกำลังกายเป็นประจำ



อุจจาระตกค้างอาการคล้ายกับท้องผูกแล้วต้องสังเกตอย่างไร ?

อุจจาระตกค้างเริ่มต้นอาจจะเป็นเพียงแค่อาการท้องผูก ซึ่งพบได้มากถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของประชากร โดยสามารถพบในผู้สูงอายุและในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่าด้วยกัน อาการท้องผูก คือ อาการของการขับถ่ายยาก ต้องใช้เวลาในการทำการขับถ่ายนานเป็นพิเศษ อีกทั้งการขับถ่ายในแต่ละสัปดาห์จะน้อยกว่า 3 ครั้ง ในแต่ละครั้งของการขับถ่ายจะไม่ค่อยมาก ลักษณะเป็นเม็ด ร่างกายมีความรู้สึกอึดอัดอยู่ตลอดเวลา และมีอาการคล้ายกับการขับถ่ายไม่สุดทุกครั้ง

อาการอุจจาระตกค้างสามารถสังเกตได้

หากคุณมีอาการท้องผูกเป็นเวลานานและยังไม่ได้รับการรักษาแก้ไขที่ถูกต้อง คุณอาจจะต้องพบกับอุจจาระตกค้างภายในร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยที่คุณควรสังเกตอาการของตนเองอย่างเป็นประจำ เพื่อให้การรักษาสามารถทำได้อย่างถูกต้อง ซึ่งอุจจาระตกค้างในลำไส้สามารถสังเกตได้ ดังนี้

  • เกิดอาการท้องอืด ปวดท้อง แน่นท้อง และร่างกายรู้สึกอึดอัดอยู่ตลอดเวลา
  • เกิดอาการคลื่นไส้
  • เกิดอาการขับถ่ายไม่สุดหรือขับถ่ายไม่หมดท้อง
  • เกิดอาการปัสสาวะบ่อยจากปกติ เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะถูกกดทับ
  • เกิดอาการปวดหลังส่วนล่าง
  • เกิดอาการหายใจติดขัด
  • เกิดอาการอ่อนเพลีย
  • ต้องใช้แรงในการขับถ่ายมากขึ้นกว่าเดิม
  • รับประทานอาหารได้น้อยลงมากกว่าปกติที่เคยประทาน
  • เกิดอาการเบื่ออาหาร
  • เกิดอาการผายลมและเรอเปรี้ยวตลอดเวลา


หากเกิดอาการข้างต้นคุณควรรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้แพทย์สามารถประเมินอาการเบื้องต้นและหาวิธีรักษาได้อย่างถูกต้อง โดยเมื่อคุณปล่อยอุจจาระตกค้างเหล่านี้ไว้เป็นเวลานานอาจจะเกิดผลเสียหรือโรคอื่น ๆ ตามมาได้อีกด้วย

อาการท้องผูกที่อาจจะทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา

ใครที่มีอาการท้องผูกนานมากกว่า 3 เดือน หรือมีอาการท้องผูกร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น น้ำหนักลดมากกว่าปกติที่ควรจะเป็น ขับถ่ายออกมามีเลือดสดปนออกมา ขับถ่ายมีอาการท้องผูกสลับกับท้องเสีย ขับถ่ายแล้วก้อนอุจจาระมีขนาดเล็กลงกว่าปกติ คุณควรรีบเข้ารับคำปรึกษาและวินิจฉัย เพื่อหาแนวทางการรักษาต่อไป เนื่องจากอาการที่ได้กล่าวมานั้นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้าย คือ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่มีครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือใครที่มีอาการท้องผูก ซึ่งอายุมากกว่า 50 ปี

อุจจาระตกค้างอาการสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ จากที่ได้กล่าวไปด้านบน เมื่อคุณมีอาการอุจจาระตกค้างผู้ป่วยหรือครอบครัวไม่ควรที่จะหาซื้อยามารับประทานด้วยตนเอง เนื่องจากยาที่รักษาอุจจาระตกค้างในลำไส้อาจจะทำให้เกิดอาการลำไส้ติดยา จนส่งผลให้ลำไส้ของคุณเกิดอาการดื้อยาได้ในที่สุด ซึ่งทำให้คุณต้องเพิ่มประมาณการใช้ยาเพิ่มมากยิ่งขึ้น หากมีอุจจาระตกค้างควรรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยแพทย์จะทำการประเมินอาการและรักษาอาการได้อย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้ลำไส้ของคุณเกิดอาการดื้อยานั้นเอง
Tags: None Add / Edit Tags
Categories
Uncategorized

Comments