DigitalKnowledge

เลือกท่อ PVC ได้เหมาะกับความต้องการมากขึ้นเพียงเข้าใจระบบ "หุน"

Rate this Entry
เคยเป็นไหม? เวลาไปเลือกซื้อท่อ PVC ทีไรเป็นอันต้องปวดหัวทุกที เพราะไม่ว่าจะข้อต่อหรือตัวท่อก็ต้องใช้ระบบหุนในการคำนวณแรงดันทั้งนั้น แถมหากดูไม่เป็นหรือคำนวณระบบหุนไม่เป็นก็อาจเลือกท่อได้ไม่เหมาะกับการใช้งานจนทำให้ท่อแตกแล้วต้องเสียเงินซ่อมภายหลังอีก ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการเลือกท่อ เรามาดูกันดีกว่าว่า ระบบหุนคืออะไร แล้วเราจะการเลือกซื้อท่อ PVC ให้เหมาะกับการใช้งานได้อย่างไรโดยการใช้ระบบหุน ว่าแล้วก็มาดูกันเลย!


ระบบหุนคืออะไร?
ระบบหุนถือเป็นอีกเรื่องที่ช่างทำท่อหรือคนตามหาท่อต้องปวดหัวไปตาม ๆ กัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ระบบหุนสำหรับท่อ PVC นั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด โดยระบบหุนนั้นเป็นอีกหนึ่งหน่วยวัดท่อที่ช่างส่วนใหญ่นิยมเรียกกัน หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินช่างพูดว่าต้องเดินท่อ 4 หุนเพื่อให้พอกับแรงดันน้ำ โดยระบบหุนนี้สามารถแปลงเป็นระบบสากลได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ตามบริษัทผู้ผลิตท่อมักแปลงจากระบบหุนเป็นระบบนิ้วเพื่อให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน และจะสกรีนลงไปบนท่อนั่นเอง โดยเราแปลงจากระบบหุนไปเป็นระบบนิ้วได้โดยใช้อัตราส่วน


1 นิ้ว = 8 หุน


ตัวอย่างการคำนวณ
หากช่างพูดกับเราว่า ตอนนี้บ้านต้องการท่อ 4 หุนในการเดินระบบประปา นั่นก็เท่ากับว่า เราต้องตามหาท่อ PVC ขนาด 4/8 นิ้ว หรือ ½ นิ้วมาให้ช่างนั่นเอง

ชั้นความดันท่อสำคัญอย่างไร?
ชั้นความดันของท่อเป็นปัจจัยที่จะมาบอกเราว่า ท่อ PVC ที่เราเลือกนั้นสามารถทนแรงน้ำได้เท่าไหร่บ้าง โดยการเข้าใจระบบหุนจะให้เราเลือกท่อ PVC ให้เหมาะสมกับการใช้งานได้ ซึ่งหลักการเลือกท่อง่าย ๆ นั้น เราต้องดูก่อนว่า ความดันน้ำของบริเวณที่เราจะนำท่อไปวางนั้นเป็นแบบไหน และความดันเท่าไหร่ต้องใช้ท่อขนาดกี่หุนกันแน่ ซึ่งท่อที่ความหนาไม่เท่ากันจะสามารถทนแรงดันน้ำได้ไม่เท่ากัน และหากความดันน้ำยิ่งสูง เราก็ควรเลือกท่อที่หนาและสามารถทนต่อแรงดันน้ำได้ โดยเราสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ จากบนท่อ PVC

เลือกท่อ PVC ให้เหมาะกับการใช้งานอย่างไร?
นอกจากจะเข้าใจความหนาของท่อและความสามารถในการรับแรงดันน้ำแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่เราต้องดูก่อนตัดสินใจ คือ การตรวจสอบว่าท่อที่เราต้องการนั้นได้ผ่านมาตรฐานมอก.หรือไม่ โดยท่อ PVC ที่ได้มาตรฐานและสามารถใช้งานได้อย่างทนทานนั้นต้องผ่านมาตรฐาน มอก. 17-2532 นั่นเอง ซึ่งถ้าหากเราไม่ดูให้ดีกว่าท่อของเราผ่านมาตรฐานหรือไม่ การใช้งานท่ออาจไม่ทนทานและอาจเสี่ยงต่อท่อแตกและการซ่อมบำรุงในอนาคตอีกด้วย ดังนั้น อย่าลืมให้ดีก่อนซื้อทุกครั้งด้วยนะ!
Tags: None Add / Edit Tags
Categories
Uncategorized

Comments