DigitalKnowledge

AI คืออะไร อาชีพไหนที่มีความเสี่ยงโดน AI distuption

Rate this Entry
ด้วยเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง AI คือสิ่งที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง และเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้เกิด digital disruption ขึ้น เพราะด้วยการทำงานที่ได้รับการนำไปประยุกต์ใช้ทั่วทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เราสามารถมองเห็นได้หรือมองไม่เห็นก็ตาม วันนี้เราจึงอยากที่จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจกันว่า AI คืออะไร และมีธุรกิจไหนที่กำลังจะโดน AI disruption ไปบ้าง บอกเลยว่าไม่ควรพลาด สำหรับใครที่ต้องการเตรียมตัวให้พร้อม


AI คืออะไร
คำถามนี้คงจะคุ้นเคยกันอยู่บ้างแล้ว AI หรือ Artificial Intelligence คือปัญญาประดิษฐ์ ถ้าจะพูดกันให้ถูกก็จะเป็น AI คือ เทคโนโลยีที่มีการออกแบบและพัฒนาให้มีระบบการทำงานเหมือนสมองมนุษย์ เน้นการวิเคราะห์เชิงลึก สามารถก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นการกระทำได้ เน้นการตอบโต้กับผู้ใช้งานโดยตรง โดยจะเน้นเหตุผลและแนวคิดที่เลียนแบบมนุษย์ เพื่อให้สามารถทำงานได้คล้ายมนุษย์มากที่สุด โดยที่จะมีการพัฒนา ปรับปรุง และเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

AI กับเทคโนโลยีในทุกอุตสาหกรรม
ในปัจจุบันนี้ AI คือตัวช่วยที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการใช้งานมนุษย์ให้เข้าไปทำงานในพื้นที่เสี่ยง หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานต่างๆ ในสายงานนั้นๆ ให้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการผลิต วิเคราะห์ข้อมูล หรือแม้กระทั่งการพัฒนาแอปพลิเคชันต่างๆ วันนี้เราจะพาไปดูกันว่าอาชีพหรือสายงานใดที่มีความเสี่ยงจะถูก AI disruption กันบ้าง

- ด้านการแพทย์: ในปัจจุบันนี้ การผ่าตัดนั้นสามารถทำได้จากทางไกลผ่านการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตและเชื่อมต่อเครื่องมือผ่านการควบคุมบนระบบ IoT ซึ่ง AI จะเข้ามาช่วยลดปัญหาในส่วนนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของแพทย์ขาดแคลน ไปจนถึงการรักษาที่เร่งด่วน
- การคำนวณข้อมูลอันมหาศาล: เนื่องจากการใช้งาน AI ในการคำนวณข้อมูลอันมหาศาล หรือที่เรียกว่า Big Data ได้แล้ว ก็ต้องบอกว่า AI คือตัวช่วยที่จะเข้ามาร่นระยะเวลาในการคำนวณข้อมูล และช่วยให้สามารถโต้ตอบได้ตามต้องการ ผ่านทางการป้อนสิ่งที่ต้องการรู้ลงไปในข้อมูลนั้นๆ ได้อีกด้วย
- ด้านการผลิต: AI จะเข้ามาช่วยในภาคการผลิตได้อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาทำให้การทำงานนั้นรวดเร็วขึ้น ได้มาตรฐาน ลดต้นทุนแรงงาน ควบคุมการผลิตจากระยะไกล
- ด้านการประกันภัย: AI จะเข้ามาเปลี่ยนระบบการวิเคราะห์ของการประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ด้านพฤติกรรมของผู้เอาประกันภัย การคาดคะเนถึงโอกาสในการใช้ประกันภัยนั้นๆ รวมไปถึงพัฒนาทิศทางของการใช้งานในระบบเหล่านี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
Tags: None Add / Edit Tags
Categories
Uncategorized

Comments