อาการปวดไหล่ เจ็บไหล่ เป็นอาการที่พบได้บ่อยในวัยกลางคน เพราะโครงสร้างของข้อไหล่มีความซับซ้อนและเราใช้ข้อไหล่ในการทำกิจกรรมต่างๆ มากมายตลอดชีวิตเพราะเราต้องใช้แขนในการทำกิจกรรมต่างๆตลอดเวลา อะไรก็ตามที่ทำให้ที่ทำให้เราไม่สามารถเคลื่อนไหวแขนเต็มที่ จะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างมาก ภาวะเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาดเป็นปัญหาที่พบบ่อย ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการปวดและไม่สามารถใช้งานไหล่ได้อย่างปกติ ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามีผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยปัญหาภาวะเส้นเอ็นในไหล่ประมาณ 2,000,000 คนต่อปี เมื่อมีเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาดจะทำให้มีภาะวะอ่อนแรงลงของข้อไหล่ ผู้ป่วยจะใช้งานไหล่ในชีวิตประจำวันได้ลดลง

ภาวะเอ็นหัวไหล่อักเสบ


ข้อไหล่ประกอบขึ้นจากกระดูก3ส่วนคือ กระดูกท่อนแขนด้านบน(humerus) กระดูกสะบัก(scapular)และกระดูกไหปลาร้า(clavicle)
ข้อไหล่ (ห้วกระดูกและเบ้า) จะอยู่ด้วยกันได้ด้วยตัวเยื่อหุ้มข้อ (capsule) และเส้นเอ็นไหล่ (rotator cuff) ตัวเส้นเอ็น rotator cuffประกอบขึ้นจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น4มัดมาประกอบกันเป็นแผงโอบหุ้มข้อไหล่ทำหน้าที่ให่ความมั่นคงกับข้อไหล่และเป็นแกนหมุนและยกหัวไหล่ นอกจากนี้ยังมีถุง(bursa)ซึ่งให้ความหล่อลื่นและป้องกันการเสียดสีของเส้นเอ็นrotator cuff กับกระดูกส่วนบนของไหล่(acromion) เมื่อมีการอักเสบของเส้นเอ็นหรือมีการฉีกขาดของเส้นเอ็น rotator cuff ตัวถุง (bursa) นี้ก็จะมีภาวะอักเสบและมี

อาการเจ็บเกิดขึ้นด้วย
เมื่อมีเส้นเอ็นฉีกขาดส่วนใหญ่จะฉีกขาดบริเวณตำแหน่งที่เส้นเอ็นเกาะกับกระดูกส่วนหัว (humerus) ซึ่งอาจฉีกเส้นเดียวหรือหลายเส้นก็ได้ การฉีกขาดอาจเริ่มจากการถลอกบริเวณด้านบนของเส้นเอ็น (ซึ่งเกิดจากการเสียดสีของหินปูนบริเวณกระดูกด้านบน (acromion) กับตัวเส้นเอ็น) หรืออาจกิดจากภาวะเสื่อม (degeneration) ของตัวเส้นเอ็นเองหรือเกิดจากการใช้งานหรืออุบัติเหตุ ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดเส้นเอ็น rotator cuff ฉีกขาด ช่วงแรกอาจเป็นฉีกบางส่วนแล้วเป็นมากขึ้นจนฉีกขาดตลอดความหนาของเส้นเอ็น เราจึงนิยมแบ่งเป็นชนิดต่างๆคือ
แบ่งตามลักษณะของการฉีกขาด เส้นเอ็นฉีกขาดบางส่วน (partial rotator cuff tear), เส้นเอ็นฉีกขาดตลอกความหนา (full thickness rotator cuff tear) เส้นเอ็นฉีกขาดขนาดใหญ่ (massive rotator cuff tear) ซึ่งมักจะมีการหดรั้งของตัวกล้ามเนื้อและปลายเส้นเอ็นที่ฉีกขาดไปไกลจากตำแหน่งเกาะเดิม

แบ่งเป็น2สาเหตุใหญ่คือ จากอุบัติเหตุ เช่น ล้มลงขณะที่แขนเหยียดเท้าพื้น หรือไหล่แขนกระแทกแล้วมีการหดตัวของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอย่างรุนแรง หรือจากความเสื่อมของเส้นเอ็น(degeneration) กลุ่มนี้พบได้บ่อยกว่า เกิดจากการใช้งานมานานๆและอายุที่มากขึ้น ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เป็นได้มากขึ้นก็คือ repetitive stress การใช้งานสะสมมาเป็นเวลานานๆ การใช้งานหนักหนรือผิดสุขลักษณะ พบมากในกลุ่มนักกีฬาที่ต้องใช้ไหล่เช่น นักเบสบองล นักยกน้ำหนัก, ภาวะเลือดไปเลี้ยงน้อยลง(lack of blood supply) เมื่ออายุมากขึ้นเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณนี้มีน้อยลง ทำให้เมื่อมีการฉีกขาดการสมานตัวของเส้นเอ็นจึงเกิดขึ้นเองได้น้อย หรือหินปูนในข้อไหล่(bone spur) จะเกิดขึ้นบริเวณใต้กระดูกส่วนบนของข้อไหล่(acromion)ซึ่งจะทำให่เกิดการเสียดสีของหินปูและเส้นเอ็นrotator cuffทำให้มีการฉีกขาดตามมา ซึ่งเราเรียกภาวะนี้ว่า impingement syndrome

อาการของภาวะเอ็นหัวไหล่อักเสบที่พบได้บ่อย
ปวดเวลานอน โดยเฉพาะตอนนอนตะแคงทับ
ปวดเวลายกแขนขึ้นหรือลงในบางท่า
อ่อนแรงในขณะยกหรืแหมุนหัวไหล่
เสียงเสียดสีในขณะขยับบางท่าของไหล่

การฉีกขาดที่เกิดจากอุบัติเหตุมักจะมีอาการเจ็บทันทีหลังอุบัติเหตุหรือมีเสียงดังในไหล่ขณะเกิดอุบัติเหตุและอาจมีอาการอ่อนแรงทันที ส่วนการฉีกขาดที่เกิดจากความเสื่อมของเส้นเอ็นหรือภาวะหินปูนในข้อไหล่ อาการปวดจะค่อยเป็นค่อยไป ตอนแรกอาจปวดไม่มากหรือหายไปเอง ต่อมาอาการปวดอาตรุนแรงขึ้นหรือถี่ขึ้น มีความยากลำบากในการใช้งานมากขึ้นหรือไหล่ติดมากขึ้น และมีอาการปวดตอนนอนตะแคงมากขึ้น
เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย และอาจทำเอ็กซ์เรย์หรือMRI (เอ็กซ์เรย์แม่เหล็กไฟฟ้า) ซึ่งเป็นอันที่สามารถดูเส้นเอ็น Rotator cuff ได้เป็นอย่างดี
การรักษาภาวะเอ็นหัวไหล่อักเสบขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็น ลักษณะและขนาดของเส้นเอ็นที่ฉีกขาด อาการปวดที่รุนแรงและรบกวนการใช้งานของไหล่ในชีวิตประจำวัน มี 2 รูปแบบคือ การรักษาแบบไม่ผ่าตัด และการรักษาแบบผ่าตัด ดังนี้
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด โดยขั้นแรกแพทย์จะให้ยารับประทานร่วมกับการทำกายภาพ ร่วมกับการพักไหล่และปรับปรุงการใช้งานของไหล่ ประมาณ50% ของผู้ป่วยในกลุ่มที่มีเส้นเอ็นฉีกขาดบางส่วนจะดีขึ้นและสามารถกลับไปใช้งานไหล่ได้อย่างปกติหรือใกล้เคียงปกติ บางครั้งแพทย์อาจใช้วิธีฉีดยา(ยาสเตียรอยด์หรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตีรอยด์)เข้าไปที่ข้อไหล่ถ้ารักษาโดยยารับประทานและ/หรือกายภาพแล้วยังไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
ข้อดีของการรักษาแบบไม่ผ่าตัด คือสามารถหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดได้เช่น ภาวะติดเชื้อ ภาวะไหล่ติด ภาวะแทรกซ้อนจากการดมยา ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้พบได้น้อยในการผ่าตัดแบบส่องกล้องเย็บกรอหินปูนและเย็บซ่อมอมเส้นเอ็นหัวไหล่ ส่วนข้อเสียของการรักษาแบบไม่ผ่าตัดคือขนาดของเส้นเอ็นที่ฉีกขาดอาจขยายขนาดใหญ่ขึ้น อาจมีการจำกัดการใช้งานในบางท่า กำลังของการใช้งานอาจลดลง

การรักษาโดยการผ่าตัด ผู้ป่วยที่เป็นมานานและไม่ดีขึ้นจากการรักษาแบบไม่ผ่าตัด แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ยังต้องใช้งานไหล่มากหรือนักกีฬาที่ต้องใช้ไหล่ หรือผู้ป่วยอุบัติเหตุและมีภาวะเส้นเอ็นฉีกขาดร่วมด้วย
ปัจจุบันการผ่าตัดใช้วิธีส่องกล้องเย็บซ่อมเส้นเอ็นไหล่และ/หรือกรอหินปูน ผลการรักษาค่อนข้างดีมาก ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดน้อย ผู้ป่วยสามารถเริ่มกายภาพหลังผ่าตัดได้อย่างรวดเร็วคือหลังผ่าตัดในวันรุ่งขึ้น
อ้างอิงข้อมูล
https://www.bangkokhospital.com/inde...ator-cuff-tear