เป็นเรื่องวุ่นวายอยู่ในแวดวงพลังงานหลังจาก ที่มีกลุ่ม คปพ. ออกมาคัดค้าน พรบ. ปิโตรเลียม และ พรบ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ซึ่งเนื้อหาสาระสำคัญคงไม่พ้นการเปลี่ยนระบบจากสัมปทานมาเป็นระบบจ้างผลิต และเปิดทางให้กับบรรษัทพลังงานแห่งชาติเข้ามามีบทบาทใหญ่ ซึ่งไม่รู้ว่าการพยายามหยุดสัมปทานในครั้งนี้ จะเกิดผลเสียอย่างไรในอนาคตบ้าง

สาระสำคัญที่จะพูดถึงเรื่องการหยุดสัมปทานในครั้งนี้คงหนีไม่พ้น “บรรษัทพลังงานแห่งชาติ” ซึ่งเป็นความพยายามของกลุ่มคนที่อ้างตัวว่าเป็นภาคประชาชน เพื่อเข้ามามีตำแหน่งและบทบาทในการตัดสินใจเรื่องปิโตรเลียมทั้งหมดในประเทศ และหากจะถามว่าบรรษัทพลังงานแห่งชาติมีผลดีผลเสียอย่างไร ขอหยิบยกตัวอย่างกระทู้หนึ่งใน pantip ซึ่งเป็นการพูดถึงเรื่องราวของการหยุดสัมปทานบรรษัทพลังงานแห่งชาติ ได้น่าสนใจ โดยมีสาระสำคัญดังนี้

หยุดสัมปทาน | บรรษัทพลังงานแห่งชาติ มันจำเป็นสำหรับประเทศเรามากไหมครับ?

“จะว่าไปแล้ววงการพลังงานนี่ก็มีเรื่องสนุกๆ ให้เราได้ติดตามกันอยู่เรื่อยๆ เหมือนกันนะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทวงคืนน้ำมัน ทวงคืน ปตท. ทวงคืนท่อก๊าซ ทวงกันจนเป็นมหากาพย์ยาวเรื่องยาว ลามมายันเรื่องระบบสำรวจและผลิต จนกระทั่งล่าสุดก็ได้มีการเสนอให้จัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติขึ้น
อ่าวๆ แล้วเจ้าบรรษัทพลังงานแห่งชาตินี้มันคืออะไร และมีไว้ทำไม
จากตามข้อเสนอของกลุ่มคนที่บอกว่ามาจากภาคประชาชนเค้าเสนอให้มีการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ (National Oil Company) โดยกำหนดคาแรกเตอร์ ให้มีฐานะเป็นตัวแทนของรัฐ ดำเนินการเกี่ยวกับการให้สิทธิ การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมอย่างเบ็ดเสร็จและครบวงจร คณะกรรมาธิการได้เสนอให้มีการตรากฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ ให้บรรษัทน้ำมันแห่งชาติเป็นผู้มีสิทธิเพียงรายเดียวในการสำรวจและให้สิทธิเกี่ยวกับปิโตรเลียม ในการดำเนินการบริหารจัดการปิโตรเลียมและการบังคับบริษัทเอกชนในฐานะคู่สัญญา

นอกจากนั้นยังกำหนดให้บรรษัทน้ำมันแห่งชาติมีสภาพนิติบุคคลและมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ แต่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เพื่อให้การบริหารจัดการสัญญาที่เกี่ยวกับปิโตรเลียมไม่อยู่ภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการพัสดุของส่วนราชการ หรือกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนกับรัฐ

บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ จะเป็นผู้ถือสิทธิทรัพยากรปิโตรเลียมแทนรัฐในการสำรวจและแสวงหาประโยชน์จากปิโตรเลียม ควบคุมดูแลระบบการสำรวจและแสวงหาประโยชน์ในปิโตรเลียมทั้งหลาย และมีหน้าที่ในการบริหารสัญญาสัมปทาน สัญญาแบ่งปันผลผลิต และสัญญาจ้างผลิต

หากพิจารณาตามข้อเสนอดังกล่าว จะเห็นได้ว่าได้มีการรวมเอาบทบาทของทางราชการในฐานะผู้ให้สิทธิการสำรวจ ผู้กำกับดูแล และผู้ปฏิบัติการเอาไว้ในองค์กรเดียวกัน ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาลและการจัดการที่ดี นอกจากนั้นองค์กรดังกล่าวยังเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชาติเป็นจำนวนเงินมากมายมหาศาล ปีหนึ่งไม่ต่ำกว่า 500,000 ล้านบาท

เป็นไงคาแรกเตอร์เจ้าบรรษัทพลังงานฯ ดูดีเชียว!! ถ้าผมไม่ได้ตามข่าวแล้วได้รับข้อมูลแค่นี้ผมก็คงจะเห็นดีเห็นงามด้วย แต่ช้าก่อน เมื่อข้อดีมีข้อเสียก็ต้องมีเช่นกัน

เมื่อเทียบข้อดีข้อเสียกันแล้ว ผมบอกตรงๆ ว่าผมรับข้อเสียไม่ได้ครับ!!
และเท่าที่ติดตามข่าวมาได้ซักระยะ มันทำให้ผมเริ่มสังเกตแนวทางการเคลื่อนไหวของพวกกลุ่มคนที่บอกว่ามาจากภาคประชาชน กลุ่มนี้มักจะคัดค้าน และทวงคืนแทบจะทุกอย่างที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับพลังงาน แล้วสุดท้ายพอรัฐถามว่าแล้วจะเอาไง? คนกลุ่มนี้ก็จะหงายการ์ดสร้างงานสร้างอาชีพให้ตนเอง จัดตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมาทันที นอกจากนี้ยังสามารถติดตามอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ : www.รู้จริงพลังงานไทย.com/หยุดสัมปทาน-พลังงาน/
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://pantip.com/topic/35308629
แหล่งที่มาของข้อมูล : http://samtahantoptt.blogspot.com/20...po-2544-3.html