Previous
Next
Downtown
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก Downtown
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก
Results 1 to 3 of 3

Thread: แน่ใจหรือ? เพราะสารพิษรุนแรงและใกล้ตัวกว่าที่คุณคิดไว้เยอะมาก

  1. #1
    iDnOuSe4's Avatar
    iDnOuSe4 is offline Trusted Member
    Join Date
    Sep 2010
    Location
    Nontaburi
    Posts
    1,250
    Blog Entries
    6
    Warning Points:
    0/5

    แน่ใจหรือ? เพราะสารพิษรุนแรงและใกล้ตัวกว่าที่คุณคิดไว้เยอะมาก

    ที่ผ่านมาหลายคน รู้และเข้าใจโทษของการได้รับสารพิษเข้าสู่ร่ายกายอย่างดี เป็นจำนวนมาก จึงเลือกหลีกเลี่ยง และป้องกันร่ายกายของตนเอง ด้วยการไม่เข้าไปในพื้นที่เสี่ยงอันตรายจากมลพิษทางอากาศ ป้องกันการดูดซึ่มสารพิษทางผิวหนัง และเลือกไม่รับประทานอาหารที่อาจปนเปื้อนสารพิษ อย่างไรก็ตามมีพิษอีกอย่างหนึ่งที่ใกล้ตัวมาก และยากเหลือเกินที่วัยทำงานอย่างเรา จะหลีกเลี่ยงมันได้ นั้นคือ พิษจากคาร์บอนไดออกไซด์ อันเป็นผลมาจากความเครียด เป็นอย่างไร ตามอ่านจากบทความนี้ได้เลยครับ


    (ขอบคุณรูปภาพจาก http://p3.isanook.com/ho/0/ud/0/3317/b_02653_002.jpg)

    วัยทำงานอย่างพวกเราๆ รู้ดีว่า ความเครียดจากการทำงาน เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย
    นั้น เพราะ ในช่วงชีวิตการทำงาน ย่อมมีบางงานที่ยาก แต่ต้องทำให้สำเร็จให้ได้ ในระยะเวลาจำกัด อยู่เสมอ และหากเราตัดสินใจจะทำให้ได้ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะพาร่างกายเราเข้าสู่อาการอันเกิดจากความเครียดนั้นเอง

    อาการของร่างกาย เมื่อร่างกายเราเข้าสู่ภาวะเครียด เชื่อว่าทุกท่านที่ผ่านช่วงนั้นมา คงพอสังเกตุอาการของตนเองและจำได้ นั้นคือ อาการอ่อนเพลีย หมดแรง ง่วง หาว เป็นต้น อาการเหล่านี้เป็นผลลัพธ์ของพฤติกรรมของร่างกายในขณะที่เราเครียดอยู่ ซึ่งเราไม่ค่อยจะสังเกตุได้ทัน (หากได้อ่านบทความนี้แล้ว ลองไปสังเกตุอาการดู) นั้นคือ เราจะหายใจสั้น และถี่ ถอนหายใจบ่อยมาก ไม่หิวน้ำ ไม่ปวดปัจสาวะ ไม่ปวดอุจจาระ หัวใจเต้นเร็ว พฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นจากการที่กลไกของร่างกายทำงานหนักเพื่อส่งทรัพยากรไปให้อวัยวะส่วนต่างๆ ที่ต้องใช้ทำงาน โดยเฉพาะสมองและตา ให้ทันต่อความต้องการใช้งาน


    (ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.yellowpages.co.th/yellowl.../Sleepy/01.jpg)

    ซึ่งหากอวัยวะทุกส่วนที่ทำงาน ไม่มีความผิดปกติ ผลที่สามารถสังเกตุได้ของร่างกายขณะนั้น ของกลไกนี้คือ ร่ายกายได้รับออกซิเจนน้อยลง ปล่อยก๊าซอื่นๆ ที่ร่ายกายไม่ต้องการ (คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน อื่นๆ) ได้น้อยลง อันเกิดจากการหายใจสั้นและถี่ ร่างกายเราจึงสร้างกลไก การถอนหายใจ ให้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ หากเราร่างกายเราเกิดภาวะนี้ (หากสังเกตุการถอนหายใจ เราจะสูดหายใจลึกมากก่อน 1 ครั้งก่อนถอนออก)

    ร่ายกายมนุษย์มีเซลล์ประสาทอยู่รอบๆ ลำใส้ถึง 70% ของร่ายกาย และสามารถส่งสัญญาณไปหากันและกันได้โดยตรง อย่างไรก็ตามมนุษย์สามารถใช้ใจข่มสัญญาณเหล่านั้นได้ เช่น การอดอาหาร อั้นปัจสาวะ อั้นอุจจาระ เป็นต้น กลไลอย่างเดียวกันนี้เอง หากลำไส้ส่งสัญญาณมาในช่วงเวลาที่เกิดอาการเครียดอยู่ อาจส่งผลให้เราไม่หิวน้ำ ไม่ปวดปัจสาวะ ไม่ปวดอุจจาระ เป็นต้น นอกเหนือจากการอาการที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอาการอื่นๆ สำหรับบางคน เช่น การให้ร่ายกายอยู่ในท่าเดิมๆ เป็นเวลานานๆ ด้วยเช่นกัน

    ช่วงเวลาที่ร่ายกายทนต่อภาวะเครียดนี้ได้ ขึ้นกับความแข็งแรงของร่ายกายของแต่ละคน เมื่อร่ายกายทนต่อไม่ไหว ร่ายกายจะส่งสัญญาณบางอย่างให้เรารับรู้ เพื่อสั่งให้เราหยุดและไปพักผ่อน เติมพลัง เช่น อาการปวดหัว อันเกิดจากเลือดข้นหนืด อาการอ่อนเพลีย หมดแรง ง่วงและหาว ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเป็นประจำหลังจากอาการเครียด ซึ่งจากข้างต้น เราได้รู้ว่าภาวะเครียดส่งผลให้เกิดการสะสมของก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ในร่ายกายได้


    (ขอบคุณรูปภาพจาก https://fonnichakoon.files.wordpress...1012010_01.jpg)

    สารพิษ คือ สารให้โทษแก่ร่าย ดังนั้น ร่ายกายไม่ควรมีอยู่ หากมีอยู่ต้องขจัดออกให้เร็วที่สุด
    ร่ายกายมนุษย์มีความมหัศจรรย์สูงมาก หนึ่งในความมหัศจรรย์นั้นคือ กลไกจากกำจัดสารพิษออกจากร่ายกาย เพราะ ร่ายกายมนุษย์เป็นเสมือนภาชนะที่ที่สารไหลเข้าไหลออกอยู่ตลอดเวลา และมนุษย์ไม่สามารถคัดเลือกรับเฉพาะสารที่เป็นประโยชน์ในสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยุ่ ให้แก่ร่ายกายได้เลย ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ การหายใจ เพราะ ในอากาศมีทั้งสารที่ให้โทษแก่ร่ายกาย และสารที่เป็นประโยชน์ การสูดอากาศเพื่อหายใจ เราสูดเอาอากาศขณะนั้นเข้าไปในร่ายการก่อน ร่ายกายมนุษย์จึงวิวัฒน์การให้มีอวัยวะในการกำจัด และขจัด จากให้โทษเหล่านั้นออกมาจากร่ายกายให้ได้ปริมาณต่อเวลาหนึ่งที่เพียงพอให้ร่ายกายปกติอยุ่ได้ด้วย

    สำหรับกรณีนี้ การถอนหายใจ คือกระบวนการกำจัด และขจัดสารพิษออกจากร่ายกายตามธรรมชาติ ดังนั้น หากเราต้องถอนหายใจ แสดงว่าร่ายกายเรากำลังป้องกันการได้รับพิษจากการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อันเนื่องจากการการได้รับออกซิเจนน้อยจากการหายใจแบบสั้นและถี่นั้นเอง

    การสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไชด์นี้ หากมองเผินๆ จะเห็นว่าเป็นโทษแก่ร่ายกายได้น้อย เพราะ ผลของมันอาจเป็นแค่ การปวดหัว วิงเวียนศรีษะ หรือ กรณีสะสมปริมาณมากและรวดเร็ว อาจเกิดการหมดสติได้ แต่ที่เป็นโทษต่อร่ายกายที่แท้จริง นั้นร้ายแรงกว่าที่คิดเยอะ นั้นเพราะ ตำแหน่งที่มันสะสมคือกระแสเลือด

    กระแสเลือด คือ ของไหลที่บรรจุทั้งสารที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ไหลไปทั่วร่ายกายเป็นรอบๆ ผ่านการให้แรงดันจากการเต้นของหัวใจ การสะสมของก๊าชคาร์บอนไดออกไชด์จะสะสมอยุ่ที่เส้นเลือดดำในรูป เส้นเลือดดำซึ่งเป็นตำแหน่งที่ส่วนใหญ่บรรจุสารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่ายกายไม่ว่าจะเป็นสารพิษอื่นๆ เพื่อเตรียมลำเลียงไปที่ตับเพื่อกำจัดและปล่อยออกจากร่ายกาย นั้นคือ หากมีการสะสมมากเท่าใด ยิ่งทำให้การลำเลียงสารพิษอื่นๆ ไปกำจัดและปล่อยช้าขึ้นเท่านั้น


    ซึ่งการลำเลียงสารพิษไปกำจัดและปล่อยได้ช้านี้เอง คือ โทษที่แท้จริง ซึ่งรุนแรงมาก แต่อาจถูกมองข้ามไปได้อย่างง่ายได้ เพราะ กลไกการกำจัดสารพิษของร่างกายออกแบบให้กำจัดและปล่อยสารพิษ ได้ในอัตราส่วนคงที และ/หรือ ปริมาณคงที่ ต่อเวลา ขึ้นกับชนิดของสารพิษนั้นๆ ดังนั้น การกำจัดและปล่อยสารพิษสามารถทำได้เป็นรอบๆ ถ้ากำจัดและปล่อยไม่หมด จะถูกปล่อยเข้าสู่ร่ายกายอีกรอบ เพื่อเตรียมลำเลียงมากำจัดและปล่อยอีกครั้งในรอบถัดไป หากไม่สามารถลำเลียงไปกำจัดได้ สารพิษจะไปสะสมตามอวัยวะต่างๆ

    สารพิษที่เก็บอยุ่ในรูปสารละลาย ที่ละลายน้ำได้ เช่น ไอนิโคติน หรือสารเคมีอื่นๆ จะมีส่งผลต่อ ข้อต่อ เลือด เนื้อเยื้อ และ กล้ามเนื้อ
    สารพิษที่เก็บอยุ่ในรูปสารละลาย ที่ละลายในน้ำมัน เช่น อนุภาค โฮร์โมน โลหะหนัก จะมีผลต่อ เซลล์ไขมัน ไขกระดูก ตับ และ ระบบประสาทส่วนกลาง


    (ขอบคุณรูปภาพจาก http://detoxknowhow.com/sites/defaul...tal_source.jpg)

    เมื่อร่ายกาย ไม่สามารถกำจัดสารพิษออกได้หมดในระยะเวลาๆ หนึ่งๆ จะส่งผลให้เกิดภาวะสารพิษตกค้างในร่ายกาย จนถึงสารพิษตกค้างสะสมในร่างกาย (ขึ้นกับปัจจัยการรับประทานอาหารและใช้ชีวิตของแต่ละคน) จะส่งผลข้างเคียง และ สัญญาณของ ภาวะดังกล่าว ได้ จากอาการผิดปกติ และอาจเป็นเหตุให้เกิดโรคดังต่อไปนี้

    arthritis/joint pain ไขข้อ
    autoimmune disorders โรคภูมิทำลายตัวเอง
    cardiovascular disease โรคหัวใจและหลอดเลือด
    chronic fatigue อ่อนเพลียเรื้อรัง
    constipation อาการท้องผูก
    diabetes โรคเบาหวาน
    diarrhea โรคท้องร่วง
    fibromyalgia (a chronic disorder characterized by widespread musculoskeletal pain, fatigue, and tenderness in localized areas.)
    headaches ปวดหัว
    homone imbalance สมดุลฮอร์โมนผิดปกติ
    inflammatory disorder ความผิดปกติของการอักเสบ
    IBS (Irritable bowel syndrome (IBS)) ลำใส้แปรปรวน
    neurolagic disorders ความผิดปกติของระบบประสาท
    obesity/overweight โรคอ้วน / น้ำหนักตัวมากเกิน

    (ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.atlasdrugandnutrition.com...oxic-body.png)

    ที่ร้ายกว่านั้นคือ เมื่อร่ายกายส่งสัญญาณมาแล้ว หลายคนแก้ด้วยวิธีกินยาระงับอาการ แต่ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุด้วย ซึ่งปรากฏการ์ณเหล่านี้ เกิดขึ้นได้ไม่ยากเลย ยกตัวอย่างเช่น เครียดจากทีทำงาน แล้วดูดบุหรี ตกเย็นดื่มเหล้า หรือ เครียดจากที่ทำงาน ตกเย็นกินปิ้งย่าง หรือของหวานต่างๆ เป็นต้น หรือแม้แต่ เครียดในขณะนั่งรถประจำทาง ขับรถ เดิน ข้างถนนในเมืองใหญ่ ทั้งหมดนี้อาจก่อให้เกิดสารพิษตกค้างในร่ายกายได้ จนก่อให้เกิดโรคตามอาการเหล่านั้นได้ทั้งสิ้น

    ดังนั้น พิษ และ สารพิษ ใกล้ตัวกว่าที่เราคิดกันเยอะมาก แม้ว่าหลายคนพยายามป้องกันต้นเองด้วยวิธีต่างๆ นานา แต่หากเราเผลอ เราพลาด หรือ จำเป็นต้องเครียดจริงๆ พิษและสารพิษเหล่านั้น ก็เตรียมทำงานอยุ่ทุกเวลาด้วยเช่นกัน
    Last edited by iDnOuSe4; 08-24-2015 at 11:39 AM.
    ชวนเพื่อนใส่ลิ้ง เปิดโลก SBNTown ในลายเซ็นเพื่อแนะนำเพื่อนๆ ในการใช้เครื่องมือของชุมชนให้มีทักษะเท่ากัน

  2. #2
    iDnOuSe4's Avatar
    iDnOuSe4 is offline Trusted Member
    Join Date
    Sep 2010
    Location
    Nontaburi
    Posts
    1,250
    Blog Entries
    6
    Warning Points:
    0/5

    เพราะ พิษใกล้ตัวและรุนแรงกว่าเดิมมาก การดูแลร่ายกายให้ปราศจากพิษจึงสำคัญกว่าที่เคย อย่างไร?

    จากบทความเรื่อง แน่ใจหรือ? เพราะสารพิษรุนแรงและใกล้ตัวกว่าที่คุณคิดไว้เยอะมาก ทำให้เราเข้าใจว่าพิษรุนแรงและใกล้ตัวมากแค่ไหน จนเกิดคำถามที่ว่า เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เราจะดูแลร่ายกายให้ปราศจากพิษได้อย่างไร จึงเป็นที่มาของการเขียนบทความนี้ ซึ่งก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจกระบวนการของความเป็นพิษในร่ายกายเสียก่อน ดังต่อไปนี้

    เราดูแลร่ายกายให้ปราศจากพิษได้อย่างไร
    มนุษย์ไม่สามารถทำให้สิ่งแวดล้อมบริสุทธ์ 100% ก่อนเข้าไปอาศัยอยู่ได้ ร่ายกายมนุษย์จึงมีพัฒนาการอวัยวะต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันจนได้ ระบบป้องกันสารพิษ และกำจัดสารพิษ ร่างกายเราเป็นเสมือนภาชนะที่มีสารไหลเข้าออกอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น การที่ร่ายกายจะปราศจากพิษได้นั้นคือ อัตราการปล่อยสารพิษเข้าสู่ร่ายกาย ต้องเท่ากับอัตราการดูดซึมสารพิษเข้าสู่ร่ายกายนั้นเอง

    เมื่อพิษเข้าสู่ร่ายกายผ่านกระบวนการดูดซึมสารพิษ กระจายสารพิษ และกำจัดสารพิษ ตามลำดับ แต่ละขบวนการขึ้นกับอัตราความเร็วและปริมาณ หากเราต้องการดูแลร่ายกายให้ปราศจากพิษได้ จึงจำเป็นต้องปรับให้ 3 ขบวนการนี้ ทำงานเพื่อลดปริมาณการได้รับสารพิษ และนำพิษออกจากร่างกายได้มาก
    (อ้างอิงจาก บทความ พิษจลนศาสตร์และพิษพลศาสตร์ ของคณะแพทย์ศาตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)

    1. ลด การดูดซึมสารพิษ ร่ายกายสามารถดูดซึมสารพิษได้ 2 ทาง คือ ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ และ การฉีดสารพิษเข้ากล้าม ฉีดสารพิษใต้ผิวหนัง รับประทาน เหน็บทวารหนัก หรือซึมผ่านผิวหนัง การฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ พิษจะทำงานได้เต็มปริมาณทันที เราไม่สามารถแก้ไข อะไรได้ หนทางเดียวที่จะป้องกันได้คือ ไม่ฉีดพิษเข้าทางหลอดเลือดดำ แต่การลดการดูดซึมสารพิษที่เราต้องโฟกัสให้มาก นั้นคือการดูดซึมที่ค่อยๆ ซึม ผ่านเข้าไป นั้นเพราะว่า สารพิษอาจปนเปื้อนมากับอาหาร การสูดอากาศที่ปนเปื้อนมลพิษ หรือแม้แต่การได้รับสารพิษจากการทาครีมบำรุงผิว ที่ถูกดูดซึมทางผิวหนัง ด้วย วิธีการลดการดูดซึม สารพิษประเภทนี้ จึงต้องตรวจสอบอาหารที่เรารับประทานให้ไม่มีพิษก่อนรับประทานเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นการเลือกกินผลิตภัณฑ์แบบออแกนิค ที่ไม่ใช้สารเคมี ในกระบวนการ การนำอาหารมาล้างให้สะอาด แช่ในน้ำด่างเพื่อลดความเป็นพิษ ก่อนนำไปปรุงอาหาร การใช้หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศ และการดูแลตรวจสอบ
    ร่างกายตนเอง และครีมบำรุงผิว ไม่ให้สารพิษเข้าสู่ร่ายกายได้ ทั้งหมดนี้จะช่วยป้องกันร่ายกายจากการได้รับสารพิษ ด้วยวิธีการลดการดูดซึมสารพิษ

    2.ลด การกระจายสารพิษ เพื่อป้องกันกระจายสารพิษไปตกค้างในอวัยวะต่างๆ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทางเคมีของสารพิษและปริมาณเลือด ที่ไหลเวียนไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย ปัจจัยสำคัญที่บ่งถึงการกระจายสารพิษคือ protein binding (โปรตีนที่สามารถจับตัวกับสารพิษได้) ดังนั้น การลดกระจายของสารพิษ คือต้องดูแลร่ายกาย ให้มีปริมาณ protein binding ในปริมาณที่เพียงพอ

    3.เพิ่ม การกำจัดสารพิษ ขึ้นอยู่กับความ เข้มข้นของสารพิษในเลือด ร่ายกายสามารถกำจัดสารพิษได้ 2 รูปแบบ คือ
    กำจัดได้ในอัตราส่วนคงที่ และ กำจัดได้ในปริมาณคงที่ นี้ขึ้นกับประเภทของสารพิษนั้นๆอวัยวะที่มีบทบาทสำคัญในการ กำจัดสารพิษได้แก่ ตับและไต สารพิษบางตัวจะถูกกำจัดออกโดยตับหรือไตอย่างหนึ่งอย่างใด แต่ส่วนใหญ่สารพิษจะถูกกำจัดออกมาทั้งสองทาง
    ดังนั้น การเพิ่มการกำจัดสารพิษ ต้องลดความเข้มข้นของสารพิษในเลือด และบำรุงตับและไตให้สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

    จึงสามารถสรุปได้ว่าเราดูแลร่ายกายให้ปราศจากพิษได้ จากปัจจัยการใช้ชีวิต และ ปัจจัยการรับประทานอาหาร ลดความเสี่ยงต่อการดูดซึมสารพิษ จากการหลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศ การเลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีการปนเปื้อนสารพิษ เพิ่มการดูแลร่ายกาย จากการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

    ซึ่ง โภชนาการเพื่อดูสุขภาพ สำหรับการดูแลร่ายกายให้ปราศจากพิษ
    อาหารที่ดีต่อการดูแลร่ายกายให้ปราศจากพิษ คือ อาหารที่ไม่ปนเปื้อนสารพิษ ที่ช่วยขจัดสารพิษอื่นๆ ที่อาจปนเปื้อนและตกค้างในทางเดินอาหาร และมีสารอาหารที่ช่วยบำรุงอวัยวะในการกำจัดสารพิษ การพักผ่อนให้เพียงพอ และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยให้ร่ายกายแข็งแรง


    (ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.dmc.tv/images/OtherBB/hea8.jpg)


    ด้วยเหตุนี้เอง การดูแลร่างกายให้ปราศจากพิษจึงสำคัญกว่าที่เคย เนื่องจากเราหลีกเลี่ยงให้พิษเข้าสู่ร่างกายได้ยากกว่าเดิม มีสารพิษปนเปื้อนที่สิ่งแวดล้อม มากกว่าเดิม และอาการของร่ายกายหลังได้รับพิษเป็นอาการที่เราอาจมองข้ามได้ง่าย ซึ่งยาระงับอาการเหล่านั้นก็หาซื้อได้ง่าย อีกทั้งอวัยวะหลักที่ใช้กำจัด และปล่อยสารพิษ มีความทนทานต่อการเสียหาย เช่น เซลล์ตับสามารถสร้างขึ้นใหม่ได้หลังจากได้รับพิษจากแอลกอฮอล์ และ เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่าง ปกติแม้ว่าไตถูกทำลายไปแล้วกว่า 70% เป็นต้น
    ชวนเพื่อนใส่ลิ้ง เปิดโลก SBNTown ในลายเซ็นเพื่อแนะนำเพื่อนๆ ในการใช้เครื่องมือของชุมชนให้มีทักษะเท่ากัน

  3. #3
    s's Avatar
    s is offline Trusted Member
    Join Date
    Apr 2010
    Location
    มีหัวใจ
    Posts
    3,111
    Blog Entries
    4
    Warning Points:
    0/5

Comments from Facebook

Tags for this Thread

Posting Permissions

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •