ข้อมูลนี้เจอจาก blog ของคุณหมอนะคะที่เราอ่านเจอแล้วน่าสนใจ

ปัจจัยที่ทำให้เราเกิดปัญหาผิวหน้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องฝ้า กระ สีผิวไม่สม่ำเสมอ รวมถึงเรื่องริ้วรอย จริง ๆ แล้วเกิดจากสาเหตุใด

แสงแดด และมลภาวะ
ผิวหน้าทีมีปัญหาอันเนื่องจากแสงแดดและมลภาวะจะสังเกตได้จาก เมื่อแต่งหน้าจะเห็นเป็นรูๆ ดูหยาบกร้าน โดยแสงแดดจะไปทำลายคอลลาเจนใต้ผิวให้เล็กลง บางลง หรือแตก แต่เส้นใยคอลลาเจนยังคงหนาเหมือนเดิม พอโครงสร้างเส้นคอลลาเจนมันเสียไป หน้าเราจึงไม่ตึงแน่นกระชับ และเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นเป็นริ้วรอยร่องลึกหยาบและหนา ซึ่งจะแตกต่างกับคนที่ดูแลผิวตัวเองดีและไม่ถูกแดดบ่อย ก็จะดูแก่ช้ากว่าหากมีริ้วรอยก็จะเป็นเส้นเล็กๆ ตื้นๆ
เมื่อผิวหน้าโดนแสงแดดทำลาย ผิวหน้าจะสร้างปฎิกิริยาป้องกันตัวเองขึ้นมา โดยการสร้างฝ้า กระ ขึ้นมาเพื่อป้องกันผิวจากมะเร็งผิวหนัง ซึ่งในความเป็นจริงการเกิด ฝ้า กระเป็นสัญญาณเตือนว่าต้องดูแลเองให้มากกว่านี้

1. อายุประมาณเท่าไหร่ที่มักพบปัญหาเหล่านี้มากที่สุด เพราะว่าอะไร
จะเริ่มพบปัญหาฝ้า กระ ผิวหน้าไม่เรียบ และริ้วรอยได้อย่างชัดเจน ตั้งแต่อายุ 30 – 40 ปีขึ้นไป โดยปัญหาผิวเหล่านี้เป็นปัญหาอันเกิดจากการที่ผิวถูกทำลายสะสมมาซักระยะหนึ่งแล้ว จนกระทั่งถึงจุดที่ร่างกายแสดงผลออกมาเพื่อให้ดูแลตัวเองให้มากกว่านี้

2. ปัญหาผิวหน้าต่าง ๆ เวลาเป็นมักเป็นง่าย แต่รักษายาก บางทีหายไปแล้วซักพักก็กลับมาเป็นใหม่ ตรงนี้เป็นเพราะอะไร
จริงๆแล้วปัญหาผิวดังกล่าวเกิดขึ้นค่อนข้างยาก แต่หากเกิดขึ้นนั่นหมายถึงว่า ผิวถูกแสงแดดทำลายไปมาก เมื่ออายุยังน้อยร่างกายสามารถซ่อมแซมฟื้นตัวได้เร็ว แต่เมื่ออายุมากขึ้นการซ่อมแซมฟื้นผิวจึงทำได้ช้าลง ประกอบกับการไม่ดูแลผิว พอผิวถูกทำลายสะสม จึงเกิดเป็นปัญหาเรื้อรัง ส่งผลให้รักษายาก และเมื่อรักษาหายแล้ว แต่ด้วยผิวถูกทำลายไปมาก เซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพจึงมีเยอะ ผิวจึงต้องการการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง

3 สาเหตุของการเกิดฝ้า กระ คืออะไร
เป็น “ปัจจัยรวมๆ” ไม่ได้มาจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง
1. ภายใน - ยาคุม, ตั้งครรภ์
2. ภายนอก - แสงคอมพิวเตอร์
- แสงแดด / แสงไฟ
- ความร้อน เช่น ทำกับข้าว, Sauna, โยคะร้อน
จากกิจกรรมที่ดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดฝ้าได้ทั้งนั้น

4. ความแตกต่างของฝ้าแต่ละชนิด? : ฝ้าตื้น, ฝ้าลึก, ฝ้าเลือด
- ขึ้นกับระดับความลึกของฝ้าด้วย
- สาเหตุต่างกัน วิธีการรักษาต่างกัน
- ความยากง่ายของการรักษาจะต่างแตกต่างกัน

ฝ้าตื้น
1. ระดับ หนังกำพร้า
2. ลักษณะ แผ่นสีน้ำตาลเข้ม เห็นขอบเขตชัดเจน ดูเหมือนกว่า
3. ความยากง่ายของการทำทรีทเม้นต์ ง่ายกว่า เพราะตื้น เห็นผลเร็วตั้งแต่ครั้งแรก
ฝ้าลึก
1. ระดับ หนังกำพร้า + หนังแท้
2. ลักษณะ แผ่นสีน้ำตาล บางส่วนเป็นสีน้ำตาลอมเทาๆ เห็นขอบเขตไม่ชัดเจน ดูเหมือนจางกว่า
3. ความยากง่ายของการทำทรีทเม้นต์ ยาก ใช้เวลานานกว่าตื้น มักจะมีทั้งลึกตื้นผสมกับดำ ช่วงแรก ฝ้าตื้นหายไปจะเห็นผลช่วงหลัง เหลือแค่ลึกจะค่อยๆ หายไป
ฝ้าเลือด
1.ระดับ หนังกำพร้า + หนังแท้ ผิวบางเห็นเส้นเลือดน้อย
2. ลักษณะ เหมือนฝ้าลึกแต่เห็นเป็นเส้นเลือดฝอยเต็มไปหมด
3. ความยากง่ายของการทำทรีทเม้นต์ ดีขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ผิวจะค่อยๆแข็งแรงขึ้น เส้นเลือดฝอยลดลง

5. ฝ้าแต่ละแบบมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันอย่างไร
การรักษาให้ได้ผลต้องประกอบไปด้วย 3 ปัจจัย
1. การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับปัญหา และรักษาอย่างต่อเนื่อง
2. การใช้ยาทาภายนอกควบคู่อย่างต่อเนื่อง
3. การปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีในระยะยาว

ฝ้าตื้น เทคนิคในการรักษาทางการแพทย์ : 3D Laser
เลือกใช้ 2 มิติคือ บนและกลาง
ฝ้าจะกลายเป็นขี้ไคลแบบเยื่อๆ เหมือนเยื่อไผ่ ซึ่งจะค่อยๆหลุดไปใน 7 – 10 วัน
1 ครั้ง ฝ้าลดลง 25%
4 – 5 ครั้ง ฝ้าตื้นก็จะหายไปเกือบหมด
เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยรักษาปัญหาผิวตามระดับชั้นผิว

ฝ้าลึก เทคนิคในการรักษาทางการแพทย์ : Revlite

พลังงานแสง Laser และคลื่นเสียงจะไปสั่นสะเทือน Melanin (ฝ้า) ในชั้นลึกให้กระจายเป็นเม็ดเล็กๆ
ฝ้าบางลง ดูจางลง
ทำแล้วไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนเหมือนฝ้าตื้น
ไม่มีการลอกเป็นสะเก็ดชัดเจนเหมือนฝ้าตื้น
ฝ้าจะจางลงทันทีหลังทำ และเห็นชัดเจนมากขึ้นที่ 10 -18 วัน
อาจใช้เวลาในการรักษานานกว่า 7 – 10 ครั้ง แล้วแต่ความรุนแรง

ฝ้าเลือด เทคนิคในการรักษาทางการแพทย์ : FEM Laser
พลังงานคลื่นแสงแบบอ่อนโยนต่อผิวมากที่สุด
จะค่อยๆ ไปลดการแตกตัวของเส้นเลือดใต้ผิว
หลังทำเส้นเลือดอาจไม่ได้หายไปทันที แต่ผิวหน้าจะขาวใสขึ้น
ทำไปเรื่อยๆ สักระยะหนึ่งจะสังเกตได้ว่าผิวที่บางดูหนาขึ้นและเส้นเลือดฝอยหายไป
ใช้เวลารักษาประมาณ 7 – 10 ครั้ง

6. ทำเลเซอร์แล้วหายเลย หรือต้องกินยาและทายาร่วมด้วย
การทำเลเซอร์ทำให้ฝ้าจางลงและหายไป แต่ไม่ได้ป้องกันการเกิดฝ้าใหม่
ฉะนั้นการทายาเฉพาะที่ เพื่อป้องกันการเกิดฝ้าใหม่ ระหว่างและหลังการทำการรักษาจึงมีความสำคัญมาก

7. จริงหรือเปล่าที่ “ฝ้ารักษาไม่หายขาด” เพราะอะไร

จริง เพราะการเกิดฝ้าเป็นการบาดเจ็บหรือความผิดปกติใน “ระดับเซลล์”
กล่าวคือ เมื่อเกิดฝ้าในบริเวณใดบริเวณหนึ่งแล้ว หมายความว่าเซลล์ผิวบริเวณนั้นเกิดการบาดเจ็บเรื้อรัง หากเปรียบเทียบเหมือนคนป่วย ก็คือคนป่วยเรื้อรัง
ฉะนั้นการรักษาฝ้าแบบเดิมๆ คือการทำ Laser หรือการทายา หรือ การกินยา สามารถทำได้เพียงขจัด “ฝ้า” ส่วนเกินออกไป แต่ไม่ได้รักษาที่ต้นตอก็คือเซลล์ผิวด้านล่าง ฉะนั้นเซลล์เหล่านี้ซึ่งเป็นเซลล์ที่ป่วย
เมื่อสัมผัสกับแสงแดด หรือมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ก็จะสร้าง Melanin ซึ่งก็คือฝ้าออกมาใหม่ตลอดเวลา

8. แล้วในปัจจุบันมีวิธีการรักษาใดที่ให้ผลการรักษาที่ดีที่สุดและดีต่อการเกิดฝ้าในระยะยาว
ก็คือต้องกลับมาที่ “เซลล์บำบัด” หรือ Cellular Therapy
คือทำอย่างไรให้เซลล์สร้างฝ้าที่ป่วยหรือบาดเจ็บเรื้อรังกลับมาเป็นเซลล์ที่แข็งแรงเหมือนเดิม
ตามทฤษฎีเซลล์ซ่อมเซลล์ จะต้องใช้เซลล์ต้นกำเนิดที่มี DNA สมบูรณ์แบบมาเป็นแม่แบบในการปรับเปลี่ยนเซลล์ที่บาดเจ็บเรื้อรังเหล่านี้ให้กลายเป็นเซลล์ที่แข็งแรงในทางปฏิบัติ เราคงไม่ต้องถึงกับสกัด Stem Cell มาฉีด แต่เราจะใช้ “Biological Peptides” หรือ “เปปไทด์ชีวภาพ” ซึ่งเป็น Protein ที่จำเป็นในการปรับเปลี่ยนเซลล์ร่วมกับสารต้านอนุมูลอิสระผลักลงสู่ใต้ผิวด้วยเครื่องมือพิเศษโดยไม่ต้องฉีด ทำให้เซลล์สร้างฝ้าแข็งแรงขึ้น การสร้างฝ้าจึงลดลง คือลดความเสื่อมในระดับเซลล์นั่นเอง

9. Peptide ชีวภาพคืออะไร
Bio-Peptide หรือ Peptide ชีวภาพคือ
โปรตีนสังเคราะห์เลียนแบบธรรมชาติ
มีโครงสร้างและคุณสมบัติเหมือนกับโปรตีนที่สร้างจาก Stem Cell โดยตรง จึงมีประสิทธิภาพในการซ่อมแซมเซลล์เสื่อมสภาพเช่นเดียวกับ Stem Cell เลย

10. คนไข้ที่มีปัญหาผิวหน้าไหม้จากเลเซอร์ คุณหมอแก้ไขอย่างไร
จะแนะนำให้คนไข้รักษาด้วยโปรแกรม Cellular Therapy เลยทันที

11. ทำแล้วเห็นผลทันทีหรือเปล่า หรือต้องทำกี่ครั้งจึงจะเห็นผล
ทำแล้วเห็นผลทันทีตั้งแต่ครั้งแรก

11. ขณะทำเจ็บหรือไม่ และสามารถแต่งหน้าได้ทันทีหลังการรักษาหรือเปล่า
ขณะทำไม่รู้สึกเจ็บ และไม่มีอาการบวม แดง ช้ำใด และสามารถแต่งหน้าได้ทันทีหลังการรักษา

12. ควรเข้ารับการรักษาบ่อยแค่ไหน
ควรเข้ารับการรักษาทุก 10 -18 วัน

ที่มา / Credit by : แพทย์หญิง สุนิดา
Nida Skin & Cosmetic Surgery Centre
www.nidaskincosmetic.com
www.facebook.com/nidaskin