เมื่อใดที่ถกและเถียงกันในเรื่อง “พลังงานไทย พลังงานใคร” ความแตกแยกต้องบานปลายทุกครั้ง และจะลามไปถึงการทวงคืนพลังงานไทย ทวงคืน ปตท จะด้วยการมีข้อมูลไม่เพียงพอ หรือข้อมูลเพียงพอแต่พูดไม่ครบก็ตาม แต่ก็ทำให้เรื่อง “การปฏิรูปพลังงาน” เป็นเรื่องร้อนที่เกินเลยอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้จัดวงเสวนา “ปฏิรูปพลังงาน” เพื่อนำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงพลังงานไทย รวมไปถึงการรู้ทัน ปตท ที่หลายๆ คนต่างกล่าวหาว่า ปตท ปล้นพลังงานไทย และถูกตราหน้ากันอย่างแพร่หลาย โดยกล่าวว่า “ขณะนี้มีการบิดเบือนข้อมูลหรือจงใจให้เกิดความเข้าใจผิด เกี่ยวกับนโยบายพลังงานปรากฏอยู่ในโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก และก่อนที่จะไปพูดถึงเรื่องนโยบายปฏิรูปพลังงาน ต้องรับทราบข้อมูลพื้นฐานด้านพลังงานไทยที่ถูกต้อง หากข้อมูลคลาดเคลื่อนก็จะนำไปสู่การกำหนดนโยบายที่ผิดพลาด จนเกิดกระแสพลังงานไทย พลังงานใคร ในเวลาต่อมา ซึ่งก่อนเริ่มบรรยายผมขอออกตัวก่อนว่าผมไม่ได้รักบริษัท ปตท. สุดชีวิต แต่ต้องให้ความเป็นธรรมกับ ปตท. ด้วย”

จริงๆ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
NGV ของไทยไม่ได้ถูกใครขโมยไป สาเหตุที่ทำให้ตัวเลขการผลิตน้ำมันแตกต่างกันเนื่องจากนิยามในการจัดเก็บข้อมูลของไทยและสหรัฐอเมริกามีความแตกต่างกัน ข้อมูลของกระทรวงพลังงานไทยจะนับเฉพาะน้ำมันดิบและคอนเดนเสทที่ออกมาจากปากหลุม ส่วนกระทรวงพลังงานอเมริกาจะนับรวมของเหลวที่แยกมาจากก๊าซธรรมชาติด้วย แต่เมื่อปรับนิยามให้ตรงกันแล้ว พบว่าตัวเลขการผลิตไม่มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ นำตัวเลขการผลิตก๊าซโซลีนธรรมชาติ (NGL) และ LPG รวมไปถึง NGV ที่ผลิตออกจากโรงแยกก๊าซเข้าไปรวมกับตัวเลขการผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสท

ส่วนประเด็นข้อกล่าวหาที่ว่า บริษัท ปตท. สูบเลือดคนไทย
ปตท ปล้นพลังงานไทย จนมีกำไรสุทธิแสนล้านบาท นายปิยสวัสดิ์ให้ความเห็นว่า “กำไร ปตท. ที่เพิ่มขึ้นมาส่วนสำคัญมาจากการตัดสินใจที่ถูกต้องของผู้บริหาร ปตท. ในอดีตไปซื้อสัมปทานของบริษัท เท็กซัส แปซิฟิก อิงค์ จำกัด, สัมปทานของบริษัทบีพี และแปลงสัมปทานของบริษัทเชลล์ที่กำแพงเพชร ซึ่งบริษัทน้ำมันต่างชาติเหล่านี้เห็นว่าศักยภาพทางด้านปิโตรเลียมน้อยเกินไปไม่คุ้มค่าการลงทุน ไปสำรวจขุดเจาะน้ำมันที่ประเทศอื่นดีกว่า อย่างเช่น รัสเซีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน เป็นต้น ประเด็นนี้ต่างหากที่ทำให้บริษัท ปตท. และ ปตท.สผ. มีกำลังการผลิตปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น และมีความสามารถทำกำไรได้เป็นจำนวนมาก” โดยที่ผ่านมาพัฒนาการทางปิโตรเลียมของไทยถือว่าประสบความสำเร็จมากจากเดิม ประเทศไทยไม่มีความรู้เรื่องการขุดเจาะปิโตรเลียม บุคลากรขุดเจาะสำรวจที่ทำงานตามแท่นขุดเจาะเป็นชาวต่างชาติทั้งนั้น ตอนนั้นคนไทยยังไม่มีความรู้พอ แต่วันนี้คนไทยมีความรู้เกี่ยวกับปิโตรเลียมทุกขั้นตอน วิศวกรมีทั้งผู้หญิงและผู้ชายทำงานบนแท่นขุดเจาะ ชาวต่างชาติแทบจะไม่มีให้เห็นแล้ว

โดยทั้งหมดที่กล่าวมานี้คงจะหายคาใจได้เปราะหนึ่งแล้วว่า ปตท. ก็ไม่เคยมองข้ามคนไทยที่ต้องการพลังงาน เพื่อการขับเคลื่อนกำลังเศรษฐกิจประเทศให้เดินต่อไปได้อย่างแน่นอน


ที่มา:
http://thaipublica.org/2014/03/energy-reform-1/
http://thaipublica.org/2014/03/energy-reform-2/