Previous
Next
Downtown
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก Downtown
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก
กระทู้แนะนำล่าสุดจาก
Results 1 to 8 of 8

Thread: ความรู้อะไรบ้าง กี่อย่าง ที่จำเป็นต่อ อุตสาหกรรม การบริหารโครงการ และ สืบทอดธุรกิจ ?

  1. #1
    Join Date
    May 2010
    Location
    กรุงเทพ หรือ พังงา
    Posts
    51
    Warning Points:
    0/5

    ความรู้อะไรบ้าง กี่อย่าง ที่จำเป็นต่อ อุตสาหกรรม การบริหารโครงการ และ สืบทอดธุรกิจ ?

    ในช่วง 14 ปีในชีวิตการทำงานเป็นวิศวกรควบคุมคุณภาพ เป็นผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ม.เกษตรศาสตร์ ตลอดจนสืบทอดธุรกิจเกษตร ผมได้ศึกษาปัญหาการทำงานทั้งในอุตสาหกรรม การบริหารโครงการ การสืบทอดธุรกิจ นอกจากนี้ ผมพบปัญหาว่าความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของอุตสาหกรรมเกินความจำเป็นในการบริหารโครงการ และการสืบทอดธุรกิจ แล้วความรู้อะไรบ้าง กี่อย่าง ที่จำเป็นต่อ อุตสาหกรรม การบริหารโครงการ และ สืบทอดธุรกิจ ?

    ผมทบทวนในการทำงานในอุตสาหกรรมตลอด 8 ปี ตามวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง PDCA (การวางแผน(Plan) การปฏิบัติ(Do) การตรวจสอบ(Check) การปรับแผน(Action) )


    รูป ดร.เดมมิ่ง ปรมาจารย์ด้านการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ผู้ปูรากฐานเรื่องคุณภาพให้ญี่ปุ่น

    ผมพบว่าในอุตสาหกรรมใหญ่ๆนั้น ทรัพยากรมาก มีความพร้อมทุกด้าน ทั้งวัตถุดิบ ความรู้ คน เครื่องจักร งานถูกแยกส่วนงานหมด ดูคุณภาพคนพวกหนึ่ง(แผนกประกันคุณภาพ) ดูจำนวนคนพวกหนึ่ง(แผนกผลิต) ดูเวลาคนพวกหนึ่ง(แผนกวางแผน) ดูค่าใช้จ่ายเป็นคนพวกหนึ่ง (แผนกการเงิน) ดังนั้นงานในอุตสาหกรรมเป็นการแบ่งงานเล็ก ๆ คนเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน แต่ปริมาณงานด้านนั้นเยอะ ๆ

    และ จากการบริหารโครงการ 4 ปี และ การสืบทอดธุรกิจ 3 ปี พบว่า ในโครงการและการสืบทอดธุรกิจ นั้นมีทรัพยากรน้อยกว่า มีข้อจำกัดมากกว่าในทุกด้าน ทั้งวัตถุดิบ ความรู้ คน เครื่องจักร ที่สำคัญผมพบว่า งานแยกส่วนไม่ได้ ต้องดูภาพรวมทั้งหมด ดูทั้งคุณภาพ ดูทั้งจำนวน ดูทั้งเวลา ดูค่าใช้จ่าย ทำให้การบริหารโครงการ และ สืบทอดธุรกิจ ต้องดูภาพรวมกว้าง แต่ปริมาณงานน้อยกว่าช่วงแรกน้อยกว่า ทำให้คนที่มาจากอุตสาหกรรมไม่เห็นภาพรวมตอนแรก จึงจับต้นชนปลายไม่ถูก

    จากการเปรียบเทียบการทำงานในอุตสาหกรรม กับ การบริหารโครงการ และ การสืบทอดธุรกิจ ผมพบว่า ความรู้ที่จำเป็น คือ ภาพรวมทั้งหมดของงาน ที่ประกอบด้วย 4 ชุดความรู้ ได้แก่ เวลา(Time) คุณภาพ(quality) จำนวน(Quantity) เงิน(Cost) ซึ่งเป็นคุณสมบัติของการจัดการงานที่ผมรู้สึกว่าความรู้เหล่านี้ ถูกแยกออกเป็นส่วน ๆ ที่สำคัญคือ ถ้านำทุกส่วนมาประกอบกัน จะเกิดเป็นภาพรวม ซึ่งทำให้จับต้นชนปลายถูก
    Last edited by Pairoj Phootong; 01-01-2011 at 11:22 PM. Reason: ใส่รายละเอียดรูป

  2. #2
    Join Date
    May 2010
    Location
    กรุงเทพ หรือ พังงา
    Posts
    51
    Warning Points:
    0/5

    คุณภาพ ต้องมาก่อน (Quality First)

    ความรู้อย่างแรก คือ คุณภาพ
    หากไม่รู้ว่า จะแยกแยะคุณภาพระหว่างงานที่ต้องการ กับ งานที่ไม่ต้องการ
    แม้จะทำได้มาก ก็อาจจะผิดพลาดมาก ต้องเสียเวลา เสียทรัพยากร ในการแก้ไขให้เป็นไปตามที่ต้องการ
    ดังนั้น ถ้าผลของงานถูกวัดด้วย เวลา และ ทรัพยากรที่เท่ากัน
    ผู้ที่ทำได้คุณภาพมากกว่า จำนวนมากกว่า จะเป็นผู้ที่ก้าวหน้ามากกว่า

    ในการทำงานด้านคุณภาพ มีแหล่งความรู้จริง หลายเล่ม แต่เล่มที่ผมแนะนำให้มีไว้เป็นคู่มือ คือ
    วิธีทางสถิติเพื่อพัฒนาคุณภาพ



    หนังสือเล่มนี้ ผมได้เลือกจาก หลายสิบเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    เนื่องจาก ผมมีปัญหาว่า แม้จะมีเทคโนโลยีระบบออนไลน์ มีวิศวกรควบคุมคุณภาพจำนวนมาก มีระบบควบคุมคุณภาพระดับโลก แต่ทำไม หน้างานไม่สามารถตัดสินใจแจ้งปัญหา ทำให้งานที่มีปัญหาคุณภาพถูกส่งถึงลูกค้า

    ผมจึงต้องการ หาคำตอบว่า
    ทำไม มีหลักการทำงานที่มีประสิทธิภาพ จึงเกิดขึ้นได้ที่หน้างาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากที่สุดสิ่งหนึ่งในการทำงาน
    จนผมได้เจอหนังสือเล่มนี้ ที่มีภาพชัดเจนว่า
    การตัดสินใจแยกแยะชิ้นงาน ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นเท่านั้น
    แต่ ยังบอกได้ว่าเกิดจาก วัตถุดิบ เครื่องจักร หรือ วิธีการทำงาน หรือ เกิดจากคน
    อีกทั้งสามารถสร้างกลไก การแจ้งปัญหา ให้แก้ปัญหาก่อนที่จะหลุดไปถึงลูกค้าได้ ซึ่งจะนำเสนอตัวอย่างในกรณีศึกษา จบไม่ลง ในโอกาสต่อไป

  3. #3
    Join Date
    Apr 2010
    Posts
    8,389
    Blog Entries
    9
    Warning Points:
    0/5
    ขอบคุณคุณ Pairoj Phootong ที่นำความรู้มาแบ่งปันและแนะนำหนังสือสำหรับการทำงาน

    ขอบคุณครับ
    =======================================================
    เปิดโลก SBNTown
    กระทู้ แนะนำความรู้ในการใช้เครื่องมือของชุมชน SBN Town ที่ทำให้พวกเราสามารถใช้งานได้อย่างเท่าเทียมกัน
    จากกระทู้ "ร่วมรณรงค์ใส่ลิ้ง เปิดโลก SBNTown ใน sign เพื่อแนะนำเพื่อนๆ ในการใช้เครื่องมือของชุมชนให้มีทักษะเท่ากัน" โดยคุณiDnOuSe4

    เมื่อใช้เครื่องมือได้อย่างเท่าเทียมแล้ว ดูตัวอย่างและหลักการในการตั้งกระทู้ให้สวยงามน่าสนใจได้ในกระทู้รีวิวของเพื่อนสมาชิก
    กระทู้ มาร่วมสร้างสีสัน สร้างกระทู้ ให้ดูน่าตื่นตาตื่นใจ ทั้ง ภาพ แสง สี เสียง และตัวหนังสือ ได้ในกระทู้เดียว !!! โดยคุณ itasian


    ขอบคุณเพื่อนสมาชิกทุกคนอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเสียสละ สร้างระบบชุมชน SBN แห่งนี้ขึ้นมา
    ทั้งที่อาศัยอยู่ในชุมชน SBN และ SBNTown
    <--คลิ๊กที่นี่เพื่ออ่านคำขอบคุณ

    และ >>คลิ๊กที่นี่เพื่ออ่านเรื่องราวการเกิดขึ้นของชุมชน SBNTown<<

    =======================================================

  4. #4
    Join Date
    May 2010
    Location
    กรุงเทพ หรือ พังงา
    Posts
    51
    Warning Points:
    0/5

    คิวซีสตอรี่ 7 ขั้นตอนในการแก้ไขปัญหาคุณภาพ

    หลังจาก สามารถแยกแยะ ว่าสิ่งใดเป็นปัญหา และ สิ่งใดไม่เป็นปัญหา
    เครื่องมือ หนึ่งที่จะช่วยให้มือใหม่ สามารถแก้ปัญหาให้หายขาด เป็นขั้นเป็นตอน
    คือ คิวซีสตอรี่ ที่ประเทศญี่ปุ่นใช้ในการพัฒนาคุณภาพของการทำงาน

    เมื่อตอนทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมข้ามชาติ ซึ่งได้วางมาตรฐานให้วิศวกรทุกคนใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งผมได้ใช้กับตนเอง และ ถ่ายทอดให้บุคคลทำงานด้วยกัน ก็เห็นผล
    ที่นอกจากจะเป็นวิธีที่มีมาตรฐานการทำงาน ยังเป็นการสื่อสารในการทำงานไปยังหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน


    คิวซีสตอรี่ หรือ 7 ขั้นตอนการแก้ปัญหาแบบคิวซี (The QC Story)

    คิวซีสตอรี่ คือ วิธีการอย่างหนึ่งในการแก้ปัญหา ซึ่งในที่นี้ ปัญหามีนิยามว่า “ปัญหา คือ ผลที่ไม่พึงประสงค์ของงาน”
    หน้าที่ของผู้รับผิดชอบปัญหาก็คือ ต้องค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดผลอันไม่พึงประสงค์ของงานเพื่อกำจัดออกไป จะได้ควบคุมให้ผลงานอยู่ในเป้าหมายและกรอบของข้อกำหนดที่วางไว้ ขั้นตอนในกระบวนการแก้ปัญหานี้ ไม่ใช่การนั่งคิดบนโต๊ะทำงานหรือการทดลองบนกระดาษเปล่า แต่ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ อันเกี่ยวข้องกับผู้ร่วมงานจำนวนมาก เป็นกิจกรรมที่มีกฏเกณฑ์ กติกา บทบาท และลำดับขั้นตอนต่อเนื่องกันไป จนราวกับว่าเป็นกิจกรรมการแสดงในการทำงานจริง จนมีชื่อเรียกกันว่า QC สตอรี่ หรือสาระคดีทางคิวซี

    กระบวนการทำกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาตามวิธีการคิวซี ประกอบด้วย 7 ขั้นตอนสำคัญ คือ
    1. การระบุตัวปัญหาให้ชัดเจน
    2. การสำรวจ การสังเกตหาลักษณะจำเพาะของปัญหา
    3. การวิเคราะห์หาสาเหตุแห่งปัญหา
    4. การปฏิบัติการเพื่อกำจัดสาเหตุแห่งปัญหา
    5. การตรวจสอบเพื่อสร้างความมั่นใจว่าปัญหาได้รับการป้องกันมิให้เกิดซ้ำ
    6. การจัดทำมาตรการป้องกันปัญหาให้เป็นมาตรฐานปฏิบัติ
    7. การสรุปผล


    ทีมา หนังสือวิธีทางสถิติเพื่อการพัฒนาคุณภาพ, ฮิโตชิ คุเมะ เขียน, วีรพงษ์ เฉลิมจิระวัฒน์ แปล
    เมื่อเห็นหลักการแยกแยะ และ หลักการในการแก้ปัญหาแล้ว ลำดับต่อไป จะมีดูว่าผลของกระบวนการดังกล่าว จะช่วยให้การแก้ปัญหาของคุณง่ายขึ้นได้อย่างไร

  5. #5
    Join Date
    Jun 2010
    Posts
    336
    Warning Points:
    0/5
    สวัสดีครับ พี่ไพโรจน์

    ขอทักทายอย่างเป็นทางการครับ

    ผม พรอนันต์ ครับ เคยเป็นผู้รับการบ่มเพาะธุรกิจ ที่ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตอนสมัยที่พี่ยังเป็นผู้จัดการศูนย์อยู่ ไม่ทราบพี่จำได้ไหมครับ

    ยินดีครับ ที่ได้เจอกันอีกครั้งใน ชุมชน sbntown.com แห่งนี้ครับ


  6. #6
    Join Date
    May 2010
    Location
    กรุงเทพ หรือ พังงา
    Posts
    51
    Warning Points:
    0/5

    Cool ยินดีเช่นกันครับ ขอบคุณ sbn town ที่เชื่อมให้เข้าถึงกัน

    Quote Originally Posted by bit View Post
    สวัสดีครับ พี่ไพโรจน์

    ขอทักทายอย่างเป็นทางการครับ

    ผม พรอนันต์ ครับ เคยเป็นผู้รับการบ่มเพาะธุรกิจ ที่ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตอนสมัยที่พี่ยังเป็นผู้จัดการศูนย์อยู่ ไม่ทราบพี่จำได้ไหมครับ

    ยินดีครับ ที่ได้เจอกันอีกครั้งใน ชุมชน sbntown.com แห่งนี้ครับ

    จำได้ครับ
    สบายดีนะครับ
    ยินดีเช่นกันครับ ขอบคุณ sbn town ที่เชื่อมให้เข้าถึงกัน

  7. #7
    Join Date
    May 2010
    Location
    กรุงเทพ หรือ พังงา
    Posts
    51
    Warning Points:
    0/5

    ความรู้ การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

    คราวที่แล้วได้ เล่าถึงความรู้ 7 tools 7 steps
    ความรู้ต่อมา คือ ความรู้ ในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ที่เรียกว่า ไคเซ็น เพลินเพลินเป็นร้อยเท่า เพื่อช่วยในการทำงานให้ลดการเสียเวลา และ ต้นทุนในการทำงาน 1 ชุด มี 3 เล่ม ดังรูป


    ความรู้ชุดนี้ ได้นำผู้ปฏิบัติ ในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง มาถ่ายทอดในรูปแบบการ์ตูน ซึ่งทำให้เห็นภาพได้ชัด
    ที่สำคัญ ได้นำชุดความรู้นี้ ไปถ่ายทอดให้กับ ทีมงาน ที่ทำงาน ลดต้นทุนให้ SME ในอุตสาหกรรม เครื่องหนัง
    ทำให้เด็กจบใหม่ เห็นภาพ สื่อสารเพื่อการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

    จึงแนะนำ สำหรับ คนทำงานด้านการควบคุมคุณภาพ กิจการด้านการผลิต และ กิจการด้านบริการ ครับ

  8. #8
    itasian's Avatar
    itasian is offline Trusted Member
    Join Date
    Apr 2010
    Location
    GB
    Posts
    1,453
    Blog Entries
    5
    Warning Points:
    0/5
    ขอบคุณ คุณ Pairoj Phootong ครับ ที่นำความรู้มาแบ่งปัน ให้ได้นำไปใช้กันครับ

Comments from Facebook

Similar Threads

  1. กระทู้แนะนำหมวด การประกอบการ การลงทุน กิจการ ธุรกิจ เกษตร อุตสาหกรรม
    By sbntown in forum การประกอบการ การลงทุน กิจการ ธุรกิจ เกษตร อุตสาหกรรม
    Replies: 0
    Last Post: 04-27-2010, 11:34 PM

Tags for this Thread

Posting Permissions

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •