อ่าาาา เป็นผู้หญิงแต่เสียงโหลดต่ำมาก ทำให้ร้องเพลงไม่เพราะ ทำไงดีคะ

  1. KAT
    KAT
    ความฝันอย่างนึงในชีวิตคือ อยากขึ้นไปร้องเพลงบนเวที ให้คนรักและคนในครอบครัวฟัง
    แต่ทุกคนลงความเห็นว่าจะจับไมค์เลยดีที่สุด

    อยากร้องเพลงเพราะๆ แต่ไม่มีเวลาไปเรียน พรสวรรค์ก็น้อยนิด มีวิธีฝึกยังไงบ้างคะ

  2. tulip
    tulip
    Quote Originally Posted by KAT View Post
    ความฝันอย่างนึงในชีวิตคือ อยากขึ้นไปร้องเพลงบนเวที ให้คนรักและคนในครอบครัวฟัง
    แต่ทุกคนลงความเห็นว่าจะจับไมค์เลยดีที่สุด

    อยากร้องเพลงเพราะๆ แต่ไม่มีเวลาไปเรียน พรสวรรค์ก็น้อยนิด มีวิธีฝึกยังไงบ้างคะ
    เพิ่งรู้ว่ามีห้องนี้ด้วย

    มารอฟังเคล็บลับอีกคนค่ะ
  3. PO
    PO
    เคยเรียนฝึกร้องเพลงมาบ้างค่ะ อาจารย์จะสอนให้เราลองเลือกเพลงที่คิดว่าโทนเสียงเราพอจะไปถึงได้ หาเพลงที่เป็น Karaoke มาเปิดดูฟังจนจำได้ ฝึกฮัมเพลงตาม พอเริ่มได้ให้เปิดเพลงแล้วร้องตาม เมื่อมั่นใจว่าร้องได้แล้ว เปิดให้เหลือแต่ทำนองแล้วร้องพร้อมกับอัดเทปไว้ แล้วลองมาเปิดฟังว่าเสียงเพี้ยนไหม ส่วนใหญ่จะฟังออกว่าเสียงเราเพี้ยนหรือเปล่าแต่ตอนร้องเราจะไม่รู้ตัวว่าร้องเพี้ยน จับเสียงเพี้ยนได้แล้วให้เปิดตรงช่วงที่เพี้ยนแล้วฝึกตรงนั้น หรือหาคนอื่นมาช่วยฟังตรงนั้นให้ทำเสียงนำแล้วเราร้องตามจนมั่นใจว่าไม่เพี้ยนแล้วมาเปิดkaraoke ร้องใหม่ จนกว่าจะได้ น่าจะช่วยได้ แล้วต้องฝึกหายใจ ออกเสียงให้เต็มเสียง เป่าลมผ่านริมฝีปาก โดยเอาตากติดกันแล้วเป่าลมออกมาเหมือนเราเล่น บรือๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ และลองอ่านจากที่ท่านนี้เขียนมาน่าจะช่วยได้ค่ะ

    วิธีการฝึกร้องเพลงให้ถูกต้อง โดย นายพงศ์ หาญไชยพิบูลย์กุล

    ปัจจุบันการร้องเพลงให้ถูกต้องตามหลักทฤษฎีเป็นสิ่งจำเป็นในการออกงานสังคมมาก เช่น ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มักถูกเชิญขึ้นไปร้องเพลงในงานเลี้ยงที่เป็นทางการของหน่วยงานต่าง ๆ หรือแม้แต่ในงานเลี้ยงสังสรรค์ระหว่างเพื่อนฝูง ซึ่งมักจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ การร้องเพลงเป็นจะช่วยให้ไม่อายผู้อื่น นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดประโยชน์เป็นอย่างมากในด้านการผ่อนคลายอารมณ์ตึงเครียดจากการงาน และยังเป็นการออกกำลังกายที่ดีอย่างหนึ่งด้วย และหากร้องเพลงได้ไพเราะยังสามารถนำไปประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง ดังนั้นการฝึกร้องเพลงจำเป็นต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักทฤษฎีดังนี้

    1. ท่าทาง การปฏิบัติที่ถูกต้องควรจะให้เป็นไปโดยอัตโนมัติ คือยืนตรง เท้าวางห่างกันประมาณ 1 ฟุต เท้าขวาอยู่หน้าเล็กน้อย ให้รู้สึกว่ากระดูกสันหลังรับน้ำหนักทั้งหมด ฝึกหัดยกหัว เชิดหน้า ไหล่ตรง แขม่วท้อง หดสะโพก หลังตรง ไม่เกร็งตัว วางตัวตามสบายแต่ให้อยู่ในลักษณะที่ถูกต้อง ควรยืนห่างจากไมโครโฟนประมาณ 12 - 15 นิ้ว ออกเสียงแต่พอควรไม่เบาหรือดังจนเกินไป สำหรับผู้ใช้เสียงจากลำคอต้องยืนใกล้ไมโครโฟนมากเพราะเสียงจะออกกังวานต่ำและเบาแผ่ว จึงจำเป็นต้องยืนใกล้ไมโครโฟนเหมือน

    ผู้ใช้เสียงจากนาสิก สำหรับผู้ใช้เสียงจากท้องเสียงจะดังมากไม่ต้องอยู่ใกล้ไมโครโฟนเกินไป

    การฝึกหัดกับกระจกเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะได้เห็นและแก้ไขสิ่งบกพร่องต่างๆ ให้ดีขึ้น และช่วยให้ไม่อายได้

    2. การหายใจ การร้องเพลงให้เสียงดีนั้นขึ้นอยู่กับวิธีการหายใจที่ถูกต้อง ขณะหายใจลมจะผ่านหลอดเสียงเกิดเป็นเสียงต่าง ๆ ขึ้น ถ้าการหายใจสม่ำเสมอเสียงร้องเพลงก็น่าจะสม่ำเสมอด้วย

    - 2 -

    ส่วนของร่างกายที่ช่วยบังคับลมหรือการหายใจเรียกว่ากระบังลม กระบังลมเป็นกล้ามเนื้อผืนใหญ่อยู่ใต้ปอด และอยู่เหนือกระเพาะอาหารทางด้านหน้า ถ้าปอดแฟบแสดงว่าไม่มีอากาศ กระบังลมจะมีลักษณะเหมือนชามคว่ำ ขณะที่หายใจออกกระบังลมจะดึงขึ้นไปดันปอดทำให้อากาศกลับออกมาผ่านไปตามลำคอกระทบกับหลอดเสียงทำให้เกิดเสียงขึ้น นอกจากการขยายกระบังลมแล้ว ผู้ร้องยังใช้อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยขยายโพรงอกคือการพองตัวทำให้ซี่โครงกางออก

    การฝึกหายใจ เริ่มด้วยการยืดอกและยืนตัวตรงให้แขนแนบลำตัว ไม่ควรยกไหล่ หายใจเข้าทางปากครึ่งหนึ่ง จมูกครึ่งหนึ่งพร้อม ๆ กันจะทำให้ไม่เกิดเสียงดัง โดยกระบังลมจะทำหน้าที่ชะลอลมหายใจให้ออกช้าๆ คล้ายกับคาบูเรเตอร์ของเครื่องยนต์ ผู้ร้องจะต้องฝึกหัดหายใจเข้าออกอย่างรวดเร็วแล้วปล่อยออกช้าๆ ให้ได้นานที่สุด

    ข้อสำคัญก็คือ การหายใจเข้า ท้องจะป่องเพื่อเก็บลมและ การหายใจเข้าจะต้องหายใจก่อนเริ่มร้องพอดี พยายามรักษาสุขภาพอย่าให้เป็นหวัด เจ็บคอหรือต่อมทอมซินอักเสบ อย่าขากเสมหะแรงๆ หรือสั่งน้ำมูกแรงๆ อย่าดื่มสุราหรือสูบบุหรี่จัดจะทำให้ปอดและหลอดลมอักเสบ

    3. การจับเสียงและเข้าจังหวะ ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

    3.1 นึกเสียงที่จะร้องในใจ หมายถึงระดับเสียง เสียงสระ

    ความดังเบา

    3.2 หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ เตรียมพร้อมที่จะเปล่งเสียงออกมา

    3.3 ริมฝีปาก แก้ม และขากรรไกรปล่อยตามสบาย

    3.4 ลิ้นไม่กระดกหรือเกร็ง ปล่อยตามสบาย ให้ปลายลิ้น

    แตะกับฐานฟันล่างเล็กน้อย

    - 3 -

    3.5 การส่งลม การปรับหลอดเสียง การบังคับปากและ

    การร้องจะเกิดขึ้นวินาทีเดียวกัน

    4. คุณภาพของเสียง ขึ้นอยู่กับหลอดเสียง กล่องเสียง ลำคอ กระพุ้งปาก ลิ้นและศรีษะ เมื่อสูดอากาศออก อากาศจะผ่านหลอดเสียงทำให้หลอดเสียงสั่นเกิดเป็นเสียงขึ้นมา และเสียงก็จะผ่านลำคอและปาก ดังนั้นทั้งในปากและในศรีษะจะทำหน้าที่เป็นช่องขยายเสียง

    ในขณะที่ร้องเพลงจะรู้สึกเสียงพุ่งไปข้างหน้า และมี “จุด” ที่เสียงรวมกันอยู่ที่หนึ่งที่ใดบนใบหน้า พยายามให้ “จุด” นี้ อยู่ที่แถวฟันเหนือปลายลิ้น ไม่ควรให้ “จุด” นี้อยู่ในลำคอหรือโคนลิ้น เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อแถวนั้นเกร็งและเสียงที่ออกมาจะไม่น่าฟัง การร้องเพลงควรคิดถึงบรรยากาศที่สวยงามเบิกบานใจ อย่าเกร็งคอหรือหน้า อย่าเกร็งลิ้นหรือกระดกลิ้นขึ้นเพราะจะไปบังลำคอ ทำให้เสียงที่ออกมาเกร็ง ฟังไม่ชัดและ

    ไม่ไพเราะ คือเสียงไม่มีคุณภาพนั่นเอง

    5. การออกเสียงของสระและพยัญชนะ ในการร้องเพลง

    ผู้ร้องต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้งสอง คือการออกเสียงสระและพยัญชนะ ถ้าปราศจากอันหนึ่งอันใดจะร้องเพลงไม่ได้ดีถึงแม้จะมีเสียงไพเราะก็ตาม

    หลักการร้องสระ แบ่งออกเป็น 4 ข้อคือ

    (1) ออกเสียงสระให้ตรงตัว อย่าทำเสียงอื่นปนหรืออย่า

    ออกเสียงผิดๆ

    (2) ในการขับร้องหมู่ ผู้ร้องทุกคนควรออกเสียงสระให้เหมือนกัน



    - 4 -

    (3) สำหรับคำที่มีสระผสม (เช่น คำว่า “เดียว” มีสระ

    2 ตัว คือ สระอี และสระอู) ควรร้องสระเอา (ตัวหน้า) ตามค่าของตัวโน้ตไม่เน้นสระโอ (ตัวหลัง) จนเกินไป (ในกรณีนี้ไม่เน้นสระอู จะร้องสระอีจนกว่าหมดค่าของโน้ตและสรุปคำด้วยสระอู)

    (4) ร้องต่อสระคำหนึ่งไปยังอีกคำหนึ่งให้ต่อเนื่องกัน อย่าร้องขาดเป็นห้วงๆ

    สำหรับการออกเสียงพยัญชนะ ผู้ร้องอาจจะปฏิบัติดังนี้คือ พยายามร้องสระให้ยาวที่สุดและร้องพยัญชนะให้สั้นที่สุดแต่ชัดเจน

    หลักการร้องพยัญชนะ แบ่งออกเป็น 5 ข้อคือ

    (1) ถ้าคำใดขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ควรร้องพยัญชนะตรงจังหวะ อย่าร้องช้ากว่าจังหวะ

    (2) ควรจะเปล่งเสียงพยัญชนะ เช่น เชอะ ฟัก ก่อนจังหวะของมันเล็กน้อย เมื่อจังหวะของมันมาถึงเสียงที่ร้องจะได้ตรงจังหวะพอดี แล้วร้องสระของคำนั้นทีหลัง (พยัญชนะจะออกเสียงจากไรฟันและช่องข้างลิ้น)

    (3) เนื่องจากสระเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการร้องเพลง ควรร้องพยัญชนะแต่ละตัวให้สั้น

    (4) เปล่งเสียงพยัญชนะทางส่วนหน้าของปาก เพราะสะดวกในการเปล่งเสียงมากกว่าที่อื่น และเพื่อให้ชัดเจนอย่าออกเสียงพยัญชนะจากโคนลิ้น

    (5) ออกเสียงพยัญชนะทุกตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่พยัญชนะเป็นตัวเดียวกันสองตัว เช่น หนักแน่น



    - 5 -

    หลักการร้องเพลงเสียงต่ำ แบ่งออกเป็น 6 ข้อคือ

    (1) ใช้เลียนแบบเช่นเดียวกับการพูด เสียงจะอยู่ที่ริมฝีปาก พยัญชนะและสระอยู่ที่ริมฝีปากไม่ใช่อยู่ในคอ

    (2) เมื่อจะเริ่มร้องเสียงต่ำจะต้องเริ่มคิดเสียงสูงไว้

    (3) ยิ่งเสียงลงต่ำช่องในปากจะเล็กลง ถ้าปากกว้างไปเสียงจะไม่มีกำลัง

    (4) เวลาร้องเสียงต่ำไม่ควรร้องเสียงดัง

    (5) บังคับลมและกำลังไว้ไม่ให้พลังออกมามากพร้อมกับเสียง เพราะจะทำให้เสียงหนักเกินไป

    (6) ให้เสียงต่ำมีลักษณะก้องหรือสะท้อนกังวานออกมาคล้าย

    เสียงฮัม

    หลักการร้องเพลงเสียงสูง แบ่งออกเป็น 5 ข้อคือ

    (1) ใช้สมองหรือใช้ความคิดช่วยในการร้องเสียงสูง เช่น จะร้องเสียงซอลสูง ให้สมมุติว่าจะร้องเสียงสูงเท่ากับที่เคยร้องมาก่อน

    (2) การร้องเสียงสูงต้องใช้พยัญชนะเร็วและชัด โดยใช้พลังของลมจากพยัญชนะถึงสระ

    (3) การร้องเสียงสูงให้ปล่อยเสียงออกมาตามสบายโดยไม่ต้องบังคับ

    (4) เมื่อร้องเสียงสูงให้ปล่อยขากรรไกร ปล่อยลิ้นตามสบาย อ้าปากกว้างไม่ต้องเงยหน้าและไม่เกร็ง

    (5) ใช้พลังของลมจากกล้ามเนื้อที่หน้าท้อง เอวและสะโพก แต่ใช้กล้ามเนื้อที่คอเปล่งหรือบังคับเสียง

    - 6 -

    6. อักขระ เป็นสิ่งสำคัญในการร้องเพลง โดยเฉพาะ

    คำควบกล้ำ คำสั้นยาว แต่ละคำล้วนมีความหมาย เพราะบทเพลงแต่ละเพลงที่ถ่ายทอดจากจินตนาการของ นักแต่งเพลง ล้วนมีความหมายและอารมณ์อยู่ในตัวของมันเอง ผู้ร้องคือผู้ถ่ายทอดจินตนาการของบทเพลงนั้นๆ ถ้าไม่พิถีพิถันด้านอักขระจะทำให้เพลงนั้นหมดความหมายและอารมณ์ทันที เช่น ฉันรักเธอ เป็น ฉันลักเธอ ขี่ควายชมจันทร์ เป็น ขี่ฟายชมจันทร์ หนัก เป็น หนาก หรือ เพลง เป็น เพง

    ความรู้เรื่องการร้องเพลงที่กล่าวมานี้เป็นเพียงหลักที่

    ต้องนำไปฝึกหัดและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น

    ยังมีความรู้ในด้านอื่นๆ อีกเป็นส่วนประกอบ เช่น สัดส่วนของคำควรจะร้องอย่างไรสำหรับจังหวะนั้น ๆ การฝึกเอื้อน ฝึกลูกคอ การโหนเสียง ความรู้ในการรักษาเสียง ความรู้ในการใช้ไมโครโฟน วิธีการถือไมโครโฟนเป็นอย่างไร การเลือกเพลงที่เหมาะสมกับสถานการณ์ สถานที่ และบุคลิกของตัวเอง รวมทั้งควรมีความเชื่อมั่นในตัวเอง

    สิ่งเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องศึกษาไว้ด้วย

    อีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ร้องควรคำนึงก็คือการวางอิริยาบทในเวลาร้องเพลงบนเวที สำหรับผู้ร้องที่ไม่ประกอบแอ็คชั่นหรือออกท่าทาง

    ในเวลาร้องเพลง ต้องอยู่ในลักษณะสงบ ไม่เอียงหน้าไปมาในขณะร้อง ไม่เอามือไขว้หลังหรือประสานมือไว้ข้างหน้า

    ผู้ที่ยังออกท่าทางไม่ได้ก็ควรออกความรู้สึกของบทเพลงบางตอนทางใบหน้าและสายตาเท่านั้นก็พอ หากบางเพลงจำเป็นต้องมีแอ็คชั่นก็ควรฝึกจากผู้สอนที่มีหลักวิธีจะทำให้ความหมายในบทเพลงดีขึ้น

    - 7 -

    เรื่องมารยาทของผู้ร้องก็เช่นกัน ขณะอยู่บนเวทีสิ่งที่ควรปฏิบัติคือ ยิ้มและร่าเริงทันทีเมื่ออยู่บนเวที (นอกเหนือจากการแสดงที่มีการกำกับไว้ตายตัว)

    ต้องเคารพต่อผู้ฟังผู้ชมทุกครั้ง อย่าปล่อยอารมณ์ที่ไม่พอใจเมื่อได้รับสิ่งที่ไม่พอใจ

    ตรงต่อเวลาโดยเคร่งครัด



    -------------------------------------



    นายพงศ์ หาญไชยพิบูลย์กุล

    งานดนตรีสากล กองนันทนาการ

    สำนักสวัสดิการสังคม

    ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2

    ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง

    กรุงเทพมหานคร 10320

    โทร.2460287, 6406425,6436121,มือถือ 01-9125797
  4. RrabbitZ
    RrabbitZ
    ชอบร้องเพลงเหมือนกันค่ะ

    ส่วนมากจะให้คุณแฟนเล่นกีตาร์ให้

    แต่ร้องไม่ค่อยได้เรื่อง
  5. Siambrandname Webmaster
    Siambrandname Webmaster
    ขออนุญาตเจ้าของกระทู้และเจ้าของกรุ๊ปครับ ทดสอบระบบการเชื่อมต่อกระทู้ระหว่าง Social Group และ Main Forum ครับ

    ขอบคุณครับ
Results 1 to 5 of 5